-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 249 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรต่างแดน3




หน้า: 1/2




1.  ลาวมีที่ว่างเยอะพร้อมต้อนรับไทยลงทุนเกษตร

ดร.ทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการแผนการและการลงทุน แห่ง
สปป.ลาว ร่วมบรรยายพิเศษระหว่างอาหารมื้อค่ำ เรื่อง "จะลงทุนอะไร อย่างไรในลาว" ในวัน
อาทิตย์ (8 ม.ค.) ที่ผ่านมา  
  
ผู้จัดการรายวัน - ดร.ทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการแผนการและ
การลงทุน แห่ง สปป.ลาว กล่าวว่า ลาวพร้อมรับการลงทุนจากบรรดานักธุรกิจและนักลงทุนจาก
ประเทศไทย เพราะมีทัพยาการมากและมีเนื้อที่ว่างมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ เหมาะอย่างยิ่ง
สำหรับทำการเกษตร
       
      
รองนายกฯ ลาวระบุดังกล่าวระหว่างการบรรยายพิเศษระหว่างอาหารมื้อค่ำ เรื่อง "จะลงทุนอะไร
อย่างไรในลาว" ในวันอาทิตย์ (8 ม.ค.) ที่ผ่านมา ณ วิเทศสโมสร กระทรวงต่างประเทศ งานนี้
จัดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างสมาคมไทย - ลาว เพื่อมิตรภาพ กรมเอเชียตะวันออก กระทรวง
การต่างประเทศ โดยมีนายประจวบ ไชยสาสน์ ผู้แทนการค้าไทย พร้อมทั้งบรรดาสมาชิก
สมาคม และผู้แทนนักธุรกิจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
       
ดร.ทองลุนกล่าวว่า แม้ลาวจะเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (Land-locked) แต่ในระยะ
10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลลาวได้พัฒนาเป็นประเทศที่มีเส้นทางบกเชื่อมออกสู่ทะเล (Land Link) มีโครงการก่อสร้างถนนสำคัญเชื่อมระหว่างประเทศหลายสายด้วยกัน ทำให้เป็นศูนย์กลางการ
เชื่อมต่อการขนส่งทางบกที่สำคัญในภูมิภาค ลาวยังมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ จึงมีศักยภาพ
ในการลงทุนสูงมาก
       
      
"อีกประมาณ 3 - 4 ปีข้างหน้าข้าพเจ้าคิดว่าลาวจะกลายเป็นเส้นทางทางการค้า การลงทุน
และการท่องเที่ยวที่สำคัญของภูมิภาค การเดินทางสะดวกรวดเร็วขึ้น นักท่องเที่ยวก็จะเพิ่มขึ้น
ด้วย" ดร.ทองลุน กล่าว
       
รองนายกฯ ลาว กล่าวว่าลาวมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ และขอเชิญชวนให้นักลงทุนไทยเข้า
ไปลงทุนในลาว โดยเฉพาะด้านการเกษตร เพราะลาวยังมีพื้นที่ว่างอีกกว่า 60% ของประเทศ
สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาการเกษตรได้ ซึ่งทางการลาวได้สนับสนุนให้นักธุรกิจเข้ามาลงทุน
ปลูกพืชพลังงานทดแทน เช่น อ้อย สบู่ดำ หรืออื่นๆ
       
      
ด้านเหมืองแร่ลาวยังมีศักยภาพอยู่อีกมาก รัฐบาลลาวยินดีต้อนรับนักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุน ทั้ง
ในการทำเหมืองทองแดง เหล็ก ตะกั่ว โปแตสเซียม ส่วนทองคำนั้น ทางรัฐยังคงควบคุม และ
จำกัดขอบเขตการลงทุน ซึ่งในปัจจุบันได้อนุญาตให้บริษัทออสเตรเลียเข้าไปลงทุนด้านนี้
       
      
ดร.ทองลุน กล่าวว่า นักลงทุนไทยที่สนใจสามารถเข้าไปดำเนินการติดต่อได้โดยตรง ที่สำนัก
งานส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนภายในและต่างประเทศ ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการ
แผนการและการลงทุน ซึ่งมีระเบียบ ข้อบังคับ และกฏหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนอย่าง
ชัดเจน อยู่เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักลงทุนไทย
      
       "ข้าพเจ้าอยากเชิญชวนให้นักธุรกิจ นักลงทุนจากไทยเข้าไปลงทุนในลาว ได้ไปพบปะพูด
คุยกันถึงเงื่อนไขการลงทุนกัน และเมื่อปลายปีที่แล้วทางการลาวก็ได้ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วย
การลงทุนฉบับใหม่ขึ้นซึ่งเป็นการส่งเสริมการลงทุนจากประเทศเพื่อนบ้านให้ดีขึ้น มีการยกเว้น
ภาษีอากรเป็นระยะ รับรองว่าดีขึ้นกว่าฉบับเก่าแน่นอน" ดร.ทองลุน กล่าว.
 
ที่มา  :  ผู้จัดการ





2. ลาวรวยทองอีก $80 ล้าน เพิ่งสำรวจแค่ 10% มีอีกมหาศาล

นายสมสะหวาด เล่งสะหวัด ผู้ประจำการรัฐบาล (สวมเสื้อสูทสีดำ) กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ
ทางการ กำลังชื่นชมทองคำแท่ง ที่ผลิตได้จากเหมืองเซโปน ในภาพแฟ้มครั้งที่รองนายก
รัฐมนตรีลาว ไปเยี่ยมชมกิจการของเหมืองแห่งนั้นในแขวงสะหวันนะเขต 7 ปีที่ผ่านมาเพิ่ง
สำรวจเพียง 10% ของพื้นที่สัมปทาน 1,200 ตารางกิโลเมตรในแขวงสะหวันนะเขต จึงมี
โอกาสที่จะพบทองอีกมหาศาล. 
 
ปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาลาวได้รับเงินอีก 57,519,277 ดอลลาร์เป็นภาษีผลกำไรปี 2552
จากบริษัท MMG Lane Xang Mineral Ltd เจ้าของสัมปทานเหมืองทองคำ-ทองแดงเซ
โปนในแขวงสะหวันนะเขต และได้รับอีก 19.49 ล้านดอลลาร์เป็นภาษีทรัพยากรแร่ธาตุ อีก
3.37 ล้านดอลลาร์เป็นภาษีเงินได้จากเงินเดือนพนักงาน
      
       เมื่อรวมค่าสัมปทานที่ดินกับรายการอื่นๆ ทำให้รัฐบาลลาวมีรายได้จากเหมืองทองแห่ง
แรกของประเทศ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 80.5 ล้านดอลลาร์ สื่อของทางการกล่าว
      
       ในเดือน ธ.ค.รัฐบาลซึ่งถือหุ้น 10% ในเหมืองยังได้รับเงินปันผลอีก 2 ล้านดอลลาร์
หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่กล่าว
      
       ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่มีการผลิตทองคำ-ทองแดงที่เหมืองเซโปน บริษัทได้มอบ
รายได้ให้แก่รัฐบาลลาวกว่า 430 ล้านดอลลาร์ ในนั้น 280 ล้านดอลลาร์เป็นภาษีกำไร ทั้งหมด
นี้ยังไม่ได้นับรวมผลประโยชน์อื่นๆที่มีหลายรูปแบบ รวมทั้งผลประโยชน์โดยตรงที่ราษฎรใน
ท้องถิ่นเมืองวีละบูลีได้รับจากเหมืองภายใต้สัญญาสัมปทาน
      
       ตามรายงานซึ่งลงวันที่ 20 เม.ย.2553 MMG LXML กล่าวว่าปีนี้จะลงทุนอีก 10.8
ล้านดอลลาร์ขยายพื้นที่สำรวจทองคำและทองแดง เทียบกับปีที่แล้วซึ่งบริษัทลงทุนเพื่อการนี้
เพียง 4 ล้านดอลลาร์ เท่านั้น ขณะเดียวกันที่ผ่านมาเพิ่งทำการสำรวจพื้นที่ได้เพียงประมาณ
10% ของทั้งหมด จึงมีโอกาสที่จะพบทรัพยากรล้ำค่าอีกจำนวนมาก
      
       "การสำรวจที่เซโปนยังอยู่ในชั้นปฐมเท่านั้น ยังคงมีศักยภาพอันยิ่งใหญ่ที่จะพบทองคำ
กับทองแดงเพิ่มขึ้น" รายงานของ MMG ระบุ.


ที่มา  :  ผู้จัดการ




3. "ดาวเฮือง" ตั้งโรงงานผลิตกาแฟผงสำเร็จรูปในจำปาสัก

ยวดยานต่างๆ กำลังแล่นผ่านหน้าสำนักงานและร้านจำหน่ายสินค้าของกลุ่มดาวเฮือง ที่ตั้งอยู่
ริมถนนล้านช้าง นครเวียงจันทน์ สัปดาห์ที่แล้วดาวเฮืองซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกกาแฟรายใหญ่
ที่สุดในลาวขณะนี้ ได้เริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตกาแฟผงสำเร็จรูปในแขวงจำปาสัก ซึ่งเป็นเขต
สวนกาแฟของประเทศ 
 
กลุ่มดาวเฮือง ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกกาแฟรายใหญ่ที่สุดของลาววางศิลาฤกษ์ก่อสร้าง โรง
งานผลิตกาแฟผงสำเร็จรูปหรือ อินสแตนต์คอฟฟี (Instant Coffee) ในวันที่ 16 เม.ย.ที่
ผ่านมา โดย พล.อ.คำไต สีพันดอน อดีตประธานประเทศ กับ นายสมสะหวาด เล่งสะหวัด รอง
นายกรัฐมนตรี "ผู้ประจำการรัฐบาล" ร่วมเป็นประธานในพิธี มีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเข้าร่วมเป็น
จำนวนมาก
      
       โรงงานของดาวเฮืองตั้งอยู่ที่เมือง (อำเภอ) บางเจียงจะเลินสุก แขวงจำปาสัก ทางตอน
ใต้สุดของประเทศ เมื่อสร้างแล้วเสร็จในเดือน พ.ย.ปีหน้า จะผลิตกาแฟสำเร็จรูป 3,000 ตัน
ต่อปี ซึ่งจะต้องใช้เม็ดกาแฟประมาณ 8,000 ตัน สำนักข่าวสารปะเทดลาวกล่าว
      
       กลุ่มดาวเฮืองก่อตั้งขึ้นในปี 2541 ปัจจุบันผลิตกาแฟเม็ดได้ 3,500-4,000 ตัน เป็นผู้
ส่งออกเม็ดกาแฟและกาแฟสำเร็จรูปรายใหญ่ที่สุดของลาว
      
       แม้ว่ากลุ่มดาวเฮืองจะผลิตกาแฟผงสำเร็จรูปแบบสเปรย์ดรายด์ (Spray-dried) ภายใต้
เครื่องการค้า "ดาว" (Dao) มาหลายปีแล้วก็ตาม แต่เป็นกาแฟที่ผลิตจากโรงงานในต่าง
ประเทศ จนกระทั่งแผนการสร้างโรงงานของบริษัทได้รับอนุมัติจากรัฐบาลในปี 2552
      
       ในลาวยังมีกาแฟอีกหลายยี่ห้อ รวมทั้งกาแฟสีหนุก ซึ่งวางจำหน่ายทั้งเม็ดกาแฟคั่วและ
คั่วบด จนถึงกาแฟชงละลายแบบสเปย์ดรายด์ ทั้งหมดเป็นกาแฟที่ปลูกในเขตเมืองปากซอง
แขวงจำปาสักของลาว.


ที่มา  :  ผู้จัดการ





4. โครงการฝึกอบรมเกษตรลาวเป็นความร่วมมือระหว่างลาว-ไทย

บรรยาย สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ร่วมกับศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วย
ซอน-ห้วยซั้ว (หลัก 22) จัดโครงการฝึกอบรมเทคนิคด้านการเกษตร แก่ประชาชนลาว จำนวน
4 รุ่น ที่เมืองนาทรายทอง นครหลวงเวียงจันทน์ โดยมีผู้เข้าอบรมจากนครหลวงเวียงจันทน์และ
แขวงต่างๆ ทั่วประเทศ รวม 170 คน


โครงการฝึกอบรมเกษตรลาวเป็นความร่วมมือระหว่างไทย-ลาว เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรลาวนำ
ความรู้ไปพัฒนาการประกอบอาชีพ อาทิ การอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยหญ้าแฝก การผลิตเห็ด และ
การผสมพันธุ์ปลา ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลลาวที่ต้องการพัฒนาการเกษตรให้ก้าว
หน้า ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ได้พยายามส่งเสริมให้ศูนย์พัฒนาและบริการ
ด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว เป็นแหล่งความรู้ด้านการเกษตรครบวงจร โดยเน้นความต้อง
การที่แท้จริงของชุมชน


ศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว (หลัก 22) เป็นโครงการพัฒนาชนบทที่
มุ่งให้เป็นสถานที่ที่ให้ความรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่ราษฎร ตามพระราชดำริของพระ
บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่บนพื้นที่ 350 ไร่ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทรง
เปิดศูนย์นี้ร่วมกับนายหนูฮัก พูมสะหวัน ประธานประเทศลาว เมื่อวันที่ 8 เมษายน2537


บรรยาย และนี่คือบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศในการเสริมสร้างความร่วมมืออันดีกับ
ประเทศลาวในด้านต่างๆ เพื่อความไว้เนื้อเชื่อใจและความเข้าใจอันดีระหว่างไทยและลาวซึ่ง
เป็นอันจะนำไปสู่ความร่วมมือที่ดีในด้านอื่นๆ ต่อไป



สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ร่วมกับศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วย
ซั้ว (หลัก 22) จัดโครงการฝึกอบรมเทคนิคด้านการเกษตร แก่ประชาชนลาว จำนวน 4 รุ่น
ระหว่างวันที่ 18 สิงหาคม-26 กันยายน 2551 ณ เมืองนาทรายทอง นครหลวงเวียงจันทน์
โดยมีผู้เข้าอบรมจากนครหลวงเวียงจันทน์และแขวงต่างๆ ทั่วประเทศ รวม 170 คน


โครงการฝึกอบรมเกษตรลาวเป็นความร่วมมือระหว่างลาว-ไทย เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรลาวนำ
ความรู้ไปพัฒนาการประกอบอาชีพ อาทิ การอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยหญ้าแฝก การผลิตเห็ด และ
การผสมพันธุ์ปลา ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลลาวที่ต้องการพัฒนาการเกษตรให้ก้าว
หน้า ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ได้พยายามส่งเสริมให้ศูนย์พัฒนาและบริการ
ด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว เป็นแหล่งความรู้ด้านการเกษตรครบวงจร โดยเน้นความต้อง
การที่แท้จริงของชุมชน


ศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว (หลัก 22) เป็นโครงการพัฒนาชนบทที่
มุ่งให้เป็นสถานที่ที่ให้ความรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่ราษฎร ตามพระราชดำริของพระ
บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่บนพื้นที่ 350 ไร่ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทรง
เปิดศูนย์นี้ร่วมกับนายหนูฮัก พูมสะหวัน ประธานประเทศลาว เมื่อวันที่ 8 เมษายน2537



การช่วยเหลือคนไทยที่ติดค้างในยุโรปแฟชั่นระดับโลกภาพข่าว: คณะเอกอัครราชทูตกงสุล
ใหญ่และอัครราชทูตเยี่ยมชม CPFภาพข่าว: เอกอัครราชทูตเยอรมัน ประจำประเทศไทยเยือนอ
มารีออคิดรีสอร์ทแอนด์ทาวเวอร์ พัทยาก.ต่างประเทศเผยยังไม่มีรายงานคนไทยเจ็บ-ตาย จาก
เหตุแผ่นดินไหวในจีนหัวข้อที่เกี่ยวข้อง


กระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูต ลาว กรุงเทพ โครงการฝึกอบรม การเกษตร
โครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยจำปาสัก ซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองปาก
ซอง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ส.ป.ป.ลาว) ตามพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


สนองพระราชดำริ โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ประเทศไทยนั้น นับเป็นก้าวสำคัญ
ของความสัมพันธ์ทางด้านการศึกษาระหว่างกันที่มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรับมือกับ
ความเจริญก้าวหน้าในโลกยุคโลกาภิวัตน์


 รศ.ดร.วุฒิชัย กบิลกาญจน์ อธิการบดีมหวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ย้อนอดีตให้ฟังว่าโครงการดัง
กล่าวนี้ถือเป็น 1 ใน 6 โครงการตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม
บรมราชกุมารี ภายใต้กรอบความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัยกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งใน
และต่างประเทศ ซึ่งได้แก่

1. โครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยจำปาสัก ส.ป.ป.ลาว
2. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อพ.สธ.)
3. โครงการสนับสนุนงานของมูลนิธิพระดาบส
4. โครงการผลิตพลังงานจากทรัพยากรชีวภาพตามต้นแบบที่ดำเนินการ ณ ประเทศกัมพูชา
5. โครงการพัฒนาความร่วมมือกับแขวงสะหวันนะเขต ส.ป.ป.ลาว และ
6. โครงการตามพระราชดำริและพระราชประสงค์อื่นๆ


"โครงการนี้เริ่มขึ้นเมื่อครั้งที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราช
ดำเนินเยือน ส.ป.ป.ลาว เมื่อเดือนมีนาคม 2548 และได้โปรดเกล้าฯ ให้มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ สนองพระราชดำริในการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนา
มหาวิทยาลัยจำปาสัก ซึ่งนับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติแห่งที่ 2 ของ ส.ป.ป.ลาว"


อธิการบดี มก. เผยต่อว่า หลังจากที่มหาวิทยาลัยได้หารือร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องและ ดร.สีคำตาด
มิตาไล (Srikhamtath Mitaray) อธิการบดีมหาวิทยาลัยจำปาสัก คนปัจจุบัน เพื่อพัฒนา
ความร่วมมือระหว่างกัน และเห็นพ้องในการดำเนินโครงการความร่วมมือนี้เป็นโครงการเฉลิม
พระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมา
ยุ 50 พรรษา ในปี 2548 โดยมีศูนย์นานาชาติสิรินธรเพื่อการวิจัย พัฒนาและถ่ายทอด
เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหน่วยงานหลักในการประสานการดำเนินงาน


"เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2548 ทั้งสองฝ่ายมีการลงนามในเอกสารบันทึกความเข้าใจในความ
ร่วมมือทางวิชาการร่วมกัน โดยกำหนดกิจกรรมความร่วมมือในด้านต่างๆ ประกอบด้วยการแลก
เปลี่ยนคณาจารย์และบุคลากร การแลกเปลี่ยนนิสิต การดำเนินโครงการวิจัยร่วม การแลกเปลี่ยน
วัสดุทางการศึกษา สิ่งพิมพ์ เอกสารต่างๆ ตลอดจนการจัดกิจกรรมทางวิชาการร่วมกัน"


รศ.ดร.วุฒิชัย ระบุอีกว่า นอกจากนี้ยังได้ร่วมกันกำหนดแผนการดำเนินงานประกอบด้วยแผน
ระยะสั้น ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาด้านการเรียนการสอนและการฝึกอบรมบุคลากรให้แก่มหาวิทยาลัย
จำปาสัก แผนระยะกลาง จะมุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนการสอน การแลกเปลี่ยนนิสิตนักศึกษา
และบุคลากร การพัฒนาฐานข้อมูล การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและพื้นที่ ส่วนแผนระยะยาว
มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาต่อ การวิจัยร่วมและการสร้าง
เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ
พระราชดำเนินไปเยือนมหาวิทยาลัยจำปาสักและทรงติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง


"ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทูลเกล้าฯ ถวายวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษาเพื่อพระราช
ทานแก่มหาวิทยาลัยจำปาสัก ประกอบด้วยตำราเรียน หุ่นจำลองเพื่อการศึกษาจากยางพารา อร
รถาภิธานศัพท์เกษตรลาว ฐานข้อมูลกสิกรรมและป่าไม้ลาว แผ่นรวมเว็บเกษตรไทย ลาว แผ่นซี
ดีการฝึกอบรมอาชีพต่างๆ คอมพิวเตอร์ 15 ชุด พร้อมเครื่องพิมพ์ ชุดตรวจคุณภาพดิน น้ำ และ
ปุ๋ย ตลอดจนตัวอย่างแมลงศัตรูพืช รวมมูลค่ากว่า 1.23 ล้านบาท นอกจากนี้ยังได้ขอถวาย
พันธุ์โคเนื้อ "กำแพงแสน" จำนวน 9 ตัว เพื่อพระราชทานแก่มหาวิทยาลัยจำปาสักสำหรับการ
เรียนการสอนและการวิจัยอีกด้วย" อธิบการบดี มก. กล่าวย้ำ


นับเป็นอีกก้าวของความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัย
จำปาสัก ในการพัฒนาศักยภาพที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตภาคการเกษตรที่มีคุณภาพให้ตรงตาม
ความต้องการของประเทศ ส.ป.ป.ลาวที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่องในเขตพื้นที่ลาวใต้ ทั้งยัง
เสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านวิชาการ ด้านการวิจัย ด้านการให้บริการทางวิชาการ ด้านทำน
บำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านการพัฒนานิสิตนักศึกษา ด้านการบริหารจัดการและด้านการพัฒนา
เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการให้มีมาตรฐานและมีศักยภาพในการพัฒนาประเทศอย่าง
ยั่งยืนสืบไป
    
โครงการร่วมมือระหว่างสองมหาวิทยาลัย
ดร.สีคำตาด มิตาไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยจำปาสัก กล่าวถึงความร่วมมือทางวิชาการและการ
สนับสนุนการเรียนการสอนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในช่วงที่ผ่านมา มีหลายประการด้วย
กัน อาทิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้สนับสนุนการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
เพื่อพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยจำปาสักในสาขาต่างๆ โดยในปี 2551 จำนวน 5 ทุน ปี
2552 จำนวน 2 ทุน


ในขณะที่มหาวิทยาลัยจำปาสักเองก็ได้ขอสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อ
พัฒนาการจัดการศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และขอรับการสนับ
สนุนจากสำนักงานพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) กระทรวงการต่างประเทศ นอก
จากนี้ยังมีการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับเทคโนโลยียางพาราเพื่อเตรียมความพร้อมในอนาคต
เนื่องจากยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในแขวงจำปาสัก


ประการที่สี่ มีการจัดทำโครงการเสริมสร้างเครือข่ายผู้นำนิสิตของทั้งสองมหาวิทยาลัย มีวัตถุ
ประสงค์เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและแนวคิดประสบการณ์ในกิจกรรม
ประการที่ห้า มีการพัฒนาความร่วมมือกับแขวงสะหวันนะเขต โดยขอให้วิทยาเขตเฉลิมพระ
เกียรติสกลนครช่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านการเกษตรและความหลากหลายทางชีวภาพ
โดยมีการจัดทำแผยทั้งระยะสั้นและระยะยาว และสุดท้ายการประสานงานเพื่อสนองพระราชดำริ
โดยร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนาในการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการต่างๆ อย่างใกล้ชิด


สุรัตน์ อัตตะ

ที่มา  :  คม ชัด ลึก






5. ไปดูงานการเกษตรตอนใต้ ประเทศลาว

มหาวิทยาลัยจำปาสัก เป็นมหาวิทยาลัยตอนใต้ของลาว ที่มีอายุจัดตั้งประมาณ ๘ ปี มีนักศึกษาประมาณ ๘,๐๐๐ คน มีคณะเปิดสอนประกอบด้วย คณะเกษตร ศึกษา 


เมื่อวันที่ ๑๑-๑๓ ก.พ. ๕๓ สภาคณบดี สาขาการเกษตร ได้จัดให้มีการดูงานการเกษตร ประเทศลาว ประสานการดำเนินการโดย คณะเกษตรศาสตร์ ม.อุบลราชธานี


การเดินทางจะผ่านไปทางจังหวัดอุบลราชธานี โดยรถยนต์ของบริษัทท่องเที่ยว ผ่านด่านช่องเม็ก ติดแขวงจำปาสักของลาว ด่านช่องเม็กอยู่ห่างจาก อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ประมาณ ๙๐ กม. เมื่อถึงด่าน ก็ต้องลงจากรถเพื่อผ่านกระบวนการตรวจคนออกจากไทย และเข้าเมืองลาว


ความต่างระหว่างฝั่งไทยกับฝั่งลาว คือ ฝั่งไทยจะมีร้านค้าอุปโภค บริโภคทั่วไป ที่คนฝั่งลาวมาซื้อเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนฝั่งลาว เข้าไปมีร้านการปลอดภาษี ชื่อดาวเรือง และลูกค้าส่วนใหญ่คือคนไทย ในร้านหลัก ๆ มีเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ประเภทวิสกี้และไวน์ จากทั่วมุมโลก ราคาค่อนข้างย่อมเยาว์ บุหรี่ น้ำหอม จะมีสินค้าของลาวก็เป็นจำพวกผ้าไหม (ราคาค่อนข้างสูง) กาแฟสำเร็จรูป ซึ่งร้านค้าปลอดภาษีมีคนไทยเป็นผู้ดำเนินการ รวมถึงโรงงานทำกาแฟสำเร็จรูปโดยใช้วัตถุดิบการแฟที่ปลูกในลาวตอนใต้นี้ ซึ่งผู้ประกอบการร้านดาวเรืองเป็นผู้ดำเนินการและเรียกยี่ห้อ กาแฟดาว

  
จากด่านช่องเม็ก ได้เดินทางต่อไปยังเมืองหลวงของแค้วนจำปาสัก ชื่อ ปากเซ  ซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงผ่าน แสดงว่าตอนใต้ของลาวนั้น ไม่ได้กันด้วยแม่น้ำโขงเหมือนแถวเวียงจันทร์-หนองคาย หรือมุกดาหาร-สุวรรณเขต แต่จะห่างจากฝั่งไทยไป ๔๕ กม. และมีสะพานญี่ปุ่น-ลาวข้ามแม่น้ำโขง ซึ่งสร้างโดยความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่น เปิดใช้ปี ค.ศ. ๒๐๐๒     


พื้นที่การเกษตรในลาวใต้ ถึงแม้มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน และมีป่าเป็นต้นน้ำลำธารหลายแห่ง แต่สภาพอากาศค่อนข้างแห้งเช่นเดียวกับภาคอีสาน ถึงจะเป็นตอนใต้ของลาว แต่ก็มีพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลทำให้มีชา กาแฟปลูกได้ดี รวมถึงกะหล่ำปลี ซึ่งเป็นพืชหนึ่งที่ลาวส่งมาขายทางจังหวัดอุบลฯ รวมถึงกล้วยน้ำว้า


อาหารเมืองลาวมีปลาน้ำจืดที่อุดมสมบูรณ์เป็นหลัก ประชาชน ยังมีการเลี้ยงวัว ควาย ซึ่งเป็นสัตว์หลักในวัฒนธรรมลาว เช่น มีวัว ควายเดินบนถนน ทั่วไป และรถยนต์ต้องหลบให้ การแต่งงานต้องวัว ควายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการเป็นของหมั้นในการสู่ขอและแต่งงาน นอกจากแก้วแหวน เงินทอง หลายๆ ที่ในชนบท แก้วแหวนเงินทองมีน้อย หรือไม่มีไม่เป็นไร แต่วัว ควายต้องมี โดยจะนำมาใช้ทำอาหารเลี้ยงแขก


ดูสภาพการเกษตรเมืองลาว ดูจะย้อนหลังไปประมาณ ๒๐-๓๐ ปี เมื่อเทียบกับไทย  และพื้นที่ของแขวงจำปาสักที่ติดกับจังหวัดอุบลฯ นั้นเป็นพื้นที่ปลูกข้าวที่ดีที่สุดของลาวตอนใต้ ที่ทางลาวยังเน้นเกษตรธรรมชาติหรือเกษตรอินทรีย์ นอกจากนี้ เริ่มมีการปลูกยางพารา แต่มักเป็นการลงทุนจากเวียดนาม และคนไทย


มหาวิทยาลัยจำปาสัก เป็นมหาวิทยาลัยตอนใต้ของลาว ที่มีอายุจัดตั้งประมาณ ๘ ปี มีนักศึกษาประมาณ ๘,๐๐๐ คน ส่วนใหญ่ ๘๐%เป็นนักศึกษาชาย มีคณะเปิดสอนประกอบด้วย คณะเกษตร ศึกษาศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และบริหารธุรกิจ อาคารเรียนเป็นอาคารสองชั้น สำนักอธิการบดีมีขนาดใกล้เคียงกับที่ว่ากี่อำเภอบ้านเรา แต่มีพื้นที่ของมหาวิทยาลัยประมาณหมื่นกว่าไร่ ถนนภายในเป็นถนนลูกรัง อาจารย์จำนวนหนึ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยไทย ทั้งจาก ม.เกษตรศาสตร์ เชียงใหม่ และขอนแก่น


นักศึกษาจะอยู่หอพักรอบ ๆ มหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่ต้องทำอาหารทานเอง ทางด้านการเกษตรมีมูลนิธิชัยพัฒนาเข้าไปช่วยเหลือร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย การเรียนการสอนยังเน้นการเรียนการปฏิบัติ ยังไม่เน้นการเกษตรที่มีวิทยาศาสตร์เป็นฐาน คนลาวผู้หญิงนิยมนุ่งผ้าถุงหรือผ้าซิ่นเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ ผู้ชายก็สวมกางเกง เสื้อเชิ๊ต ไม่ค่อยมีคนสวมกางเกงยีน คงเป็นเพราะมีราคาแพง และอากาศร้อน ในหน่วยราชการและวัดบางแห่ง ผู้หญิงต้องนุ่งผ้าซิ่นถึงจะเข้าไปได้  


ค่าครองชีพในลาวยังต่ำมากเมื่อเทียบกับไทย ครูที่สอนระดับประถมมีเงินเดือนราว พันต้นๆ ครูสอนระดับมัธยมมีเงินเดือนประมาณ พันปลายๆ  และถ้าเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยมีเงินเดือนประมาณ สองพันต้น ๆ เทียบกับประเทศไทยก็ประมาณ สามสิบกว่าปีที่แล้ว ดังนั้น ร้านค้า โรงแรม ห้องอาหาร จึงเป็นที่บริการและขายให้แก่นักท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่ อย่างของอุปโภคบริโภคที่ไปจากประเทศไทย จะขายแพงกว่าประมาณ ๓-๕ บาท เช่นขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ ไกด์นำทางบอกว่าสินค้าส่วนนี้ต่อราคาไม่ได้ เพราะเป็นราคามาตรฐาน ที่เรียกว่าขายต่ำกว่านี้ก็ขาดทุนแล้ว แต่ของอื่น ๆ สามารถต่อรองได้และราคาถูก เช่น กระเป่าเดินทาง อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ โทรศัพท์มือถือจากจีน เครื่องประดับจำพวกเงิน นาก สายสร้อย กำไล ต่างหู


ไปประเทศลาวสามารถใช้เงินบาทไทยได้ทุกที่เช่นเดียวกับภาษาไทย และการเข้าประเทศลาวด้วยหนังสือผ่านแดนสามารถอยู่ได้ ๓ วัน ถ้ามากกว่านั้น ต้องใช้หนังสือเดินทาง


ถึงแม้โดยสภาพทั่วไป ประเทศลาวจะดูเหมือนย้อนหลังกว่าไทย ๒๐-๓๐ ปี แต่ก็มีโทรศัพท์มือถือใช้ มีจานดาวเทียวจากจีน ราคาประมาณ ๒,๐๐๐ บาท อยู่ทั่วไป และรับทีวีได้ทั้ง ไทยและ จีน นอกจากของลาว  ชาวลาวนิยมใช้รถจักรยายยนต์ที่ทำจากจีน มีบ้างที่ไปจากไทยแต่ราคาจะสูงกว่าประมาณเท่าตัว รถยนต์จากจีน เกาหลี ที่ราคาไม่สูงนัก ความจริงคนลาวนิยมรถจากประเทศไทย แต่ส่วนใหญ่ยังสู้ราคาไม่ไหว มีคนที่มีเงินซื้อได้ก็จะนิยมของไทย ไม่ว่าจักรยายนต์หรือรถยนต์  

การจราจรในลาวเดินรถทางขวา อะไรที่เล็กกว่าจะเหนือส่วนที่ใหญ่กว่า เช่น คน วัว ควาย หากรถไปชน เจ้าของรถต้องเป็นผู้รับผิดชอบไม่ว่ากรณีใด ๆ แม้รถยนต์จอดอยู่ หากรถจักรยานยนต์มาชน รถยนต์ก็เป็นฝ่ายผิด ดังนั้น การขับรถ จอดรถต้องระวังให้ดีให้มาก ความจริงในภาษาลาว จะไม่มีรถชนกัน แต่เรียกการชนว่า ตำ การขับรถในลาวมีกติกาว่า อย่าขับรถไปตำคนอื่น อย่าให้รถคนอื่นมาตำเรา และอย่าขับรถตำกัน ทำเช่นได้ก็ขับรถในลาวอย่างปลอดภัย พูดถึงการจราจรในลาว ไฟแดงคนลาวเรียกว่า ไฟอำนาจ ไฟเหลืองเรียกไฟลังเล หรือไฟเกียม และไฟเขียวเรียกไฟเสรี




6. ลาว-เกาหลีลง $30 ล้าน ผลิตไบโอดีเซลจากสบู่ดำ
บริษัทโคลาว กรุ๊ป (Kolao Group) และบริษัทเอสออยล์ (S Oil Company) จากเกาหลีใต้จะร่วมกันลงทุนก่อตั้งโรงงานผลิตเชื้อเพลิงดีเซลชีวภาพ (Bio-Diesel) หรือไบโอดีเซลจากสบู่ดำ โดยสนับสนุนให้เกษตรกรทั่วประเทศปลูกในพื้นที่กว่า 600,000 ไร่ และ ซื้อผลผลิตไปป้อนโรงงาน    ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้มหาศาล   ตามรายงานของสำนักข่าวสารปะเทดลาว (ขปล.) ได้มีการลงนามในข้อตกลงการลงทุนดังกล่าวไปในเดือน ต.ค.นี้ ระหว่างผู้แทนทั้งสองบริษัท เพื่อตั้งโรงงานกลั่นไบโอดีเซลแห่งแรกใน สปป.ลาว


โคลาวกรู๊ป เป็นบริษัทร่วมทุนลาว-เกาหลี ปัจจุบันเป็นผู้นำเข้าและประกอบรถยนต์ รถจักรยานยนต์กับเครื่องจักรกลต่างๆ รายใหญ่ในลาว บริษัทจะรวบรวมเกษตรลาวจากทั่วประเทศให้เข้าร่วมโครงการปลูกพืชน้ำมันดังกล่าวซึ่งเรียกกันในลาวว่า "หมากเยา" จากนั้นก็จะรับซื้อผลผลิตทั้งหมดนำเข้าโรงงานสู่กระบวนการผลิต นับเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรลาวอีกทางหนึ่ง


ประธานบริษัทโคลาว กรุ๊ป กล่าวว่า  "สบู่ดำเป็นพืชที่ปลูกง่ายและนำมาผลิตน้ำมันดีเซลได้ซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างดี"   เกษตรกรที่เพาะปลูกสบู่ดำสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรกได้ในระยะเวลาประมาณ 9 เดือน จากนั้นก็จะเก็บเกี่ยวได้ถึง 3 ครั้งต่อปี บริษัทโคลาวกรุ๊ป จะลงทุนปลูกต้นสบู่ดำในพื้นที่ทั่วประเทศกว่า 625,000 ไร่ และจะซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคากิโลกรัมละ 600 กีบ (2 บาทเศษ) "นับเป็นโครงการแรกที่เกี่ยวกับพลังงานทดแทนของบริษัทโคลาว ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างงาน และเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรในท้องถิ่นได้อย่างมาก อีกทั้งยังช่วยลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงในอนาคตได้ด้วย"
ประธานบริษัทโคลาวกล่าว


โรงกลั่นน้ำมันจากสบู่ที่จะสร้างขึ้นนั้นมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจะเริ่มดำเนินการในต้นปีหน้า (2550) คาดว่าจะใช้เวลาในการก่อสร้าง 6 เดือน และจะเริ่มการผลิตได้ในปลายปีเดียวกัน ตามสถิติของกระทรวงการค้า ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมาลาวได้นำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2548 มีการน้ำเข้าสินค้าเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 686 ล้านดอลลาร์ ลาวขาดดุลกว่า 230 ล้านดอลลาร์


สินค้านำเข้าที่สำคัญคือน้ำมันเชื้อเพลิง ในปีงบประมาณ 2545-2546 มูลค่าการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเท่ากับ 107 ล้านดอลลาร์ และเพิ่มเป็น 148 ล้านดอลลาร์ในปี 2547-2548 และ จากการประมาณของทางการนั้นคาดว่า เชื้อเพลิงชีวภาพไบโอดีเซลที่ผลิตได้จากโรงงานแห่งแรกนี้จะช่วยลดการนำเข้าน้ำมันลงได้ถึง 50% ในอนาคต อย่างไรก็ตามบริษัท โคลาว กรุ๊ป และบริษัทเอส ออยล์ จะได้มีการลงนามในข้อตกลงร่วมทุนกันเพื่อดำเนินโครงการพลังงานทดแทนในลาวให้เป็นผลสำเร็จอีกครั้งในเดือน พ.ย.นี้ ขปล.กล่าว


ในปีนี้ สปป.ลาวได้เริ่มเอาจริงเอาจังกับการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกพืชน้ำมันเพื่อผลิตไบโอดีเซล เพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปชนิดต่างๆ หลังจากการทดลองปรากฏว่า ไบโอดีเซลที่ผลิตจากสบู่ดำสามารถใช้เป็นเชื้อเพลงในเครื่องจักรกลต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ยังช่วยลดมลภาวะอีกด้วย ในประเทศเพื่อนบ้านเช่นพม่า มีการรณรงค์ปลูกสบู่ดำอย่างกว้างขวางในทุกภูมิภาคของประเทศที่เป็นไปได้ โดยมีเป้าหมายคลุมพื้นที่หลายล้านไร่ในระยะ 3-5 ปีข้างหน้านี้ เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันที่มีราคาสูงขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา




7. "เสี่ยเจริญ"  ลุยธุรกิจเกษตร ปลูกกาแฟในลาว-ปาล์มที่เขมร
เปิดขุมทรัพย์ธุรกิจเกษตร "เจ้าสัวเจริญ" ใต้เงา บริษัทพรรณธิอร พบปี'53 เริ่มทำกำไรเป็นปีแรก โดยธุรกิจสวนยางพาราเป็นตัวสร้างรายได้หลัก เล็งใช้งบลงทุนราว 5,000 ล้าน ซื้อโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ที่สุโขทัย พร้อมสยายปีกปลูกกาแฟอาราบิก้า ที่ ลาว สวนปาล์มในเขมร พร้อมถ่อมตัวไม่กล้าเทียบชั้นบิ๊กเกษตรอย่าง "ซีพี" 
                        

นายประเสริฐ เมฆวัฒนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัท พรรณธิอร จำกัด ผู้ประกอบการด้านธุรกิจการเกษตร และเกษตรแปรรูป ในเครือทีซีซี ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เปิดเผยว่า หลังจากบริษัทพรรณธิอรทำการลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท ในธุรกิจการเกษตรบนที่ดินสะสมกว่า 100,000 ไร่ ที่นายเจริญซื้อสะสมไว้กว่า 30-40 ปีนั้น ล่าสุดพบว่า ในปี 2553 ถือเป็นปีแรกที่บริษัทเริ่มมีผลกำไรอย่างเป็นรูปธรรม และจะมีรายได้รวมประมาณ 5,000 ล้านบาท เติบโต 100% จากปี 2552 และในปี 2554 คาดว่าจะมีกำไรแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้นด้วย รับแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว                         


ทั้งนี้ในปี 2553-2554 บริษัทจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตทางด้านเกษตรสำคัญอย่างยางพารา จำนวนกว่า 50,000 ไร่ ที่จ.หนองคาย, 20,000-30,000 ไร่ ที่จ.กาญจนบุรี และระยอง ขณะที่ธุรกิจไร่ส้ม 3,600ไร่ ในอ.แม่จัน จ.เชียงราย ก็เริ่มสร้างแบรนด์ "ส้มดอยแก้ว"ให้เป็นที่รับรู้แก่ผู้บริโภคมากขึ้นด้วย ขณะที่ธุรกิจเกษตรอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นไร่อ้อย, สวนปาล์มฯลฯ ยังคงสร้างรายได้กับบริษัทต่อเนื่อง                         


ทั้งนี้ แผนการดำเนินงานในปี 2553 บริษัทยังคงทำการเกษตรบนที่ดินสะสมของนายเจริญที่มีอยู่ ส่วนการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกใหม่ๆในปีนี้ มองในต่างประเทศด้วยการปลูกกาแฟอาราบิก้า ที่ประเทศลาว เนื้อที่กว่า 10,000 ไร่ และเตรียมทำสวนปาล์มที่ประเทศกัมพูชา 8,000 เฮกตาร์ หรือราว 5,200 ไร่ ในรูปแบบของการขอสัมปทานพื้นที่เพาะปลูก โดยเป้าหมายในกัมพูชา ต้องการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกเป็น 30,000 เฮกตาร์ หรือราว 19,5000 ไร่ ส่วนในประเทศนั้นต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของนายเจริญ ว่าจะมีการซื้อที่ดินเพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้เพาะปลูกเพิ่มหรือไม่
                         

นอกจากนี้ บริษัทได้ใช้งบลงทุนราว 5,000 ล้านบาท เพื่อซื้อโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ในจ.สุโขทัย เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตขนาด 18,000 ตันอ้อย/วัน จากปัจจุบันบริษัทมีโรงงานน้ำตาลอุตรดิตถ์ โรงงานน้ำตาลแม่วัง, โรงงานน้ำตาลสุพรรณบุรี หลังจากบริษัททำการปิดโรงงานน้ำตาลชลบุรีไปแล้ว โดยปัจจุบันบริษัทยังเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายเล็กมีส่วนแบ่งทางการตลาดราว 2% เทียบกับอุตสาหกรรมโดยรวม                         


ในส่วนของแผนธุรกิจผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมีตรามงกุฎ ที่เพิ่งเปิดตัวเข้าทำตลาดเมื่อปี 2552 ที่ผ่านมา ได้ท่มงบ 100 ล้านบาท เพื่อทำการตลาดและประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เจาะกลุ่มเป้าหมายเกษตรกรต่อ เนื่อง หวังผลักดันยอดขายปุ๋ยขึ้นแท่น 1 ใน 3 ผู้นำตลาดในปี 2555 จากปัจจุบันผู้นำตลาดปุ๋ยคือ บริษัท เจี๋ยไต๋ จำกัด บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผลิตเมล็ดพันธุ์เครือซีพี มีส่วนแบ่งทางการตลาดราว 25% ใกล้เคียงกับบริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) ขณะที่ปู่ยตราม้าบินเป็นเบอร์ 3 มีส่วนแบ่งราว 10% และหากเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ บริษัทวางแผนจะใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท ลงทุนขายโรงงานเพิ่มกำลังการผลิตปุ๋ยอีก 250,000 ตันต่อปี จากปัจจุบันผลิตที่ 250,000 ตันต่อปี และปัจจุบันบริษัทได้ใชปุ๋ยเพื่อทำการเกษตรประมาณ 25% ที่เหลือ 75% จำหน่ายให้ลูกค้า                         


นายประเสริฐ กล่าวอีกว่า จากวิสัยทัศน์ของนายเจริญ สิวิวัฒนภักดีที่ต้องการดำเนินธุรกิจการเกษตรแบบครบวงจรเพื่อพัฒนาคุณภาพ ชีวิตเกษตรกร และเสริมสร้างรายได้ให้สูงขึ้น บริษัทจึงยึดมั่นแนวนโยบายการดำเนินธุรกิจโดยสอดคล้องไปกับวิสัยทัศน์ดัง กล่าว ส่วนจะเทียบชั้นธุรกิจการเกษตรในเครือซีพีหรือไม่นั้น เป้าหมายสูงสุดของบริษัทคือการบริการจัดการและพัฒนาที่ดิน(เอสเตท เมเนจเมนท์)เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ที่มา



8. “ริเวอร์แคว” ขยายฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์สู่ประเทศลาว
บริษัท ริเวอร์แคว อินเตอร์เนชั่นแนล อุตสาหกรรมอาหาร จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำในการส่งออกข้าวโพดหวานและผักสดของประเทศไทยได้เริ่มขยายฐานการผลิตสู่ประเทศลาว โดยตั้งเป้าจะเป็นผู้นำการส่งออกผลิตภัณฑ์อินทรีย์ในแถบภูมิภาค


คุณสุนทร ศรีทวี รองประธานกรรมการบริษัทฯ กล่าวว่า “การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงก้าวแรกของการผลิตผักและผลไม้อินทรีย์เพื่อป้อนสู่ตลาดโลก โดยทางบริษัทฯ พร้อมที่จะขยายฐานการผลิตไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เพื่อเพิ่มวัตถุดิบอินทรีย์ให้กับทางกลุ่ม”


นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ยังได้ลงทุนกว่า 20 ล้านบาทในการสนับสนุนระบบการผลิตด้วยเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ 800 ไร่ ณ เมืองปากซ่อง ที่อยู่ห่างจากเขตชายแดนประเทศไทยจากช่องเม็ก จ.อุบลราชธานีราว 100 กิโลเมตร การลงทุนในครั้งนี้ทางบริษัทฯ จะลงทุนในสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด โดยส่วนที่เหลือจะเป็นการลงทุนจากนักลงทุนในประเทศลาว  ซึ่งภายในปีหน้านี้ ทางบริษัทยังได้ศึกษาการลงทุนต่อยอดในธุรกิจรีสอร์ทและสปาในประเทศลาวอีกประมาณ 1,000 ล้านบาท


นายสุนทรกล่าวเพิ่มเติมว่า “เหตุผลที่เลือกเมืองปากซ่องเป็นพื้นที่นำร่องในการขยายฐานการผลิต เนื่องจากมีสภาพดินที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ และเหมาะสมต่อการเพาะปลูกผัก ผลไม้เมืองร้อน ตลอดจนกาแฟ”


ประสบการณ์ในการผลิตด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ของบริษัทฯ ในประเทศไทย ได้ดำเนินการมามากกว่า 10 ปีในพื้นที่ของตนเองประมาณ 600 ไร่ ในแถบจังหวัดกาญจนบุรี เชียงราย และเชียงใหม่  นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ของเกษตรกรที่อยู่ภายใต้สัญญาซื้อขายอีกประมาณ 800 ไร่ และยังมีเกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกอีกประมาณ 1,000 ไร่ที่ยังอยู่ในระยะปรับเปลี่ยนสู่ระบบเกษตรอินทรีย์


ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศนโยบายในการขยายพื้นที่การผลิตภายในประเทศไทยเป็น 200,000 ไร่ ภายในระยะเวลา 2 ปีข้างหน้าเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดเกษตรอินทรีย์โลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันพื้นที่เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 140,963 ไร่ โดยร้อยละ 80 ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจะเป็นข้าว ผัก ผลไม้ และพืชสมุนไพร


ที่มา : http://www.organicmonitor.com




9. กล้วยไม้  "เอื้องสายน้ำผึ้ง"
ผู้อ่านไทยรัฐ จำนวนมากที่นิยมปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ โดยเฉพาะกล้วยไม้ไทยแท้ๆ มีข้อสงสัยว่า ระหว่างกล้วยไม้ “เอื้องสายน้ำผึ้งลาว” ที่เป็นสายพันธุ์นำเข้าจากประเทศลาว กับเอื้องสายน้ำผึ้งของไทยแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งเป็นจังหวะพอดีมีผู้นำเอา “เอื้องสายน้ำผึ้งลาว” แขวนขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ และกำลังอยู่ในช่วงผลิดอกบานสะพรั่งอวดสีสันสวยงามอยู่พอดี จึงรีบถ่ายภาพเสนอให้ชมพร้อมชี้จุดแตกต่างให้ทราบทันที


เอื้องสายน้ำ ผึ้งลาว หรือ DENDROBIUM PRIMULINUM LINDL. เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นเป็นแท่งดินสอกลมและยาวได้เกือบ 1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้อง เป็นกล้วยไม้ที่มีการเจริญทางด้านข้าง ได้แก่กล้วยไม้ที่มีเหง้า ส่วนทอดเลื้อยหรือไหล เมื่อต้นเจริญเต็มที่แล้วสามารถแตกต้นใหม่หรือหน่อใหม่จากโคนกอหรือตามข้อ ได้ มีหลากหลายสายสกุลรวมทั้ง “เอื้องสายน้ำผึ้งลาว” และเอื้องสายน้ำผึ้งไทย เส้นผ่า ศูนย์กลางลำต้นเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.5-1.3 ซม. ยาวประมาณ 40-80 ซม. ลำต้นห้อยลง


ใบ ออกเรียงสลับ โดยจะออกตามข้อลำต้น เป็นรูปรี แกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือเกือบมน โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น เนื้อใบหนา ผิวใบเรียบเป็นมัน สีเขียวสด เวลามีดอกจะทิ้งใบหมดเหลือเพียงดอกบานสะพรั่งดูเป็นสายยาวตามลำต้นที่ห้อยลง งดงามมาก


ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆตามข้อลำต้นทุกข้อ บางข้อจะมีดอกย่อยได้ 1-3 ดอก ดอกห้อยลง ก้านช่อดอกเป็นสีแดงอมชมพู ลักษณะดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นสีชมพูเข้ม กลีบปากแผ่กางออก เกือบกลม ปลายกลีบปากมีแฉกละเอียด แต่สีของกลีบปาก

“เอื้องสายน้ำผึ้งลาว” จะเป็น 2 สี คือ ปลายกลีบสีเหลืองนวล โคนกลีบปากเป็นสีเหลืองอมส้ม ต่างจากกลีบปากของเอื้องสายน้ำผึ้งสายพันธุ์ไทยที่กลีบปากจะเป็นสีเหลืองนวล อย่างเดียว ไม่มีสีอื่นเจือปนเลย สามารถแยกได้อย่างชัดเจน ดอกเมื่อบานเต็มที่มีขนาดไล่เลี่ยกัน โดยจะมีความกว้างประมาณ 4.5 ซม. ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆเหมือนกัน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกัน จะดูเป็นระย้า ห้อยเป็นสายยาวสวยงามน่ารักมาก ดอกออกช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีแยกต้น ซึ่งกล้วยไม้สกุลนี้พบขึ้นตามป่าดิบเขาทั่วไป ทั้งในประเทศไทย ลาว อินเดีย เนปาล จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย และ “เอื้องสายน้ำผึ้งลาว” มีขายที่แผง “คุณวิรัช” หน้าธนาคารออมสิน ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาสอบถามกันเองครับ.


“นายเกษตร”




10. คูเวตสนใจลงทุนเกษตรลาว
นายกรัฐมนตรีคูเวตแสดงความสนใจเข้าลงทุนโครงการพลังงานและเกษตรในลาว ส่วนหนึ่งของแผนเดินหน้าลงทุนในเอเชีย


นายยง จันทะลังสี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศลาว เปิดเผยวานนี้ (6 ส.ค.) ว่า ชีค นัสเซอร์ อัล-โมฮัมหมัด อัล-อาเหม็ด อัล-ซาบาห์ นายกรัฐมนตรีคูเวต แสดงความสนใจเข้าลงทุนในภาคพลังงานและเกษตรของลาว ส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะมองหาโอกาสการลงทุนใหม่ในภูมิภาคเอเชีย


ผู้นำคูเวต ซึ่งอยู่ระหว่างเดินทางเยือนเอเชีย ได้เข้าพบกับนายบัวสอน บุพผาวัน นายกรัฐมนตรีลาว เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (5 ส.ค.) และเห็นพ้องที่จะดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นความร่วมมือด้านพลังงานและการเกษตร ฝ่ายลาวให้คำมั่นจัดหาสถานที่เหมาะสม เพื่อตั้งสถานทูตคูเวตในกรุงเวียงจันทน์


"คูเวตมองว่าลาวมีศักยภาพมากในด้านเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ปลูกพืชจำนวนมาก" นายยง ระบุก่อนหน้านี้ ระหว่างการเยือนกัมพูชา นายกรัฐมนตรีคูเวต ก็ได้แสดงความสนใจลงทุนแบบเดียวกันนี้ โดยเสนอให้มีการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านการเกษตรสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับปลูกพืช ซึ่งอาจได้แก่ข้าว สำหรับส่งออกไปยังตะวันออกกลาง


ทั้งนี้ คูเวต เป็นประเทศที่ร่ำรวยทรัพยากรน้ำมัน แต่เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย จึงเป็นเรื่องยากที่จะปลูกพืชอาหาร เพื่อเลี้ยงประชากรกว่า 2 ล้านคนในประเทศ


นายยง ยังมองว่า การลงทุนดังกล่าว เป็นนโยบายใหม่ของคูเวต และประเทศรอบอ่าวเปอร์เซียทั้งหมด ซึ่งสามารถทำเงินจากการขายน้ำมันได้มากขึ้น และต้องการเข้าลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ ถือเป็นผลดีต่อลาวเพราะลาวมีศักยภาพทางเศรษฐกิจแต่ขาดเงินทุน


วันเดียวกันนี้ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เผยว่า มีกำหนดเดินทางเยือนคูเวต และกาตาร์ในเดือน ม.ค.ปีหน้า เพื่อหารือถึงการส่งออกข้าวไปยังตลาดตะวันออกกลาง เพราะแม้ประเทศเหล่านี้จะร่ำรวยน้ำมัน แต่ก็ขาดแคลนข้าว และกัมพูชา ที่มีฐานะเป็นประเทศยากจน เมื่อขายของก็ต้องการเงินสด ซึ่งไม่น่าจะเป็นปัญหาสำหรับประเทศฐานะร่ำรวยในแถบอ่าวเปอร์เซียเหล่านี้แต่อย่างใด  

--จบ--


ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com




11. ลาวฝ่าวงล้อมหนีแหลมฉบัง ไปออกทะเลเวียดนาม

คนภายนอกจำนวนไม่น้อย อาจจะยังไม่ทราบว่า ลาวซึ่งไม่มีทางออกทะเล แต่เป็นเจ้าของเรือเดินทะเลมานานหลายปีแล้ว โดยใช้ท่าเรือในภาคกลางเวียดนามเป็นที่จอด ด้วยความเอื้อเฟื้อจากเจ้าของประเทศ และวันนี้ลาวได้เข้าไปร่วมเป็นเจ้าของท่าเรือแห่งนั้นเสียเอง
       
       ตามรายงานของสื่อทางการ บริษัท ลาวพัฒนาท่าเรือหวุงอาง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างเอกชนลาวกับเวียดนาม ได้เซ็นสัญญากับกลุ่มบริษัท แร่ธาตุและการค้า (MITRACO) แห่งเวียดนาม เพื่อก่อตั้งอีกบริษัทหนึ่งเข้าลงทุนพัฒนาและบริหารจัดการท่าเรือหวุงอาง (Vung Ang) โดยถือหุ้นฝ่ายละ 50% เท่ากัน พิธีเซ็นสัญญาจัดขึ้นในนครเวียงจันทน์วันที่ 16 เม.ย.
       
       สื่อของทางการไม่ได้รายงานตัวเลขการลงทุนหรือแผนพัฒนาใดๆ แต่ หวุงอาง เป็นท่าเรือหลักในภาคกลางตอนบนของเวียดนาม ที่รัฐบาลพัฒนาให้เป็นท่าเรือน้ำลึกสำหรับขนส่งสินค้าขาออก-ขาเข้า เพื่อรองรับการขนส่งที่ต้นทางถนนระเบียงเศรษฐกิจสายตะวันออก-ตะวันตก
       
       ลาวกับเวียดนามได้เซ็นความตกลงเกี่ยวกับใช้ท่าเรือแห่งนี้ตั้งแต่เดือน ก.ค.2544 หรือ 9 ปีมาแล้ว เวียดนามได้มอบเรือสินค้าลำหนึ่งให้แก่รัฐบาลลาวในความร่วมมือด้านการขนส่งทางทะเลระหว่างสองประเทศ แต่เนื่องจากเส้นทางคมนาคมที่ยังไม่สะดวก การขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือดังกล่าวจึงยังมีไม่มาก และ ลาวยังคงใช้ท่าเรือแหลมฉบังของไทยเป็นหลักเรื่อยมา
       
       แต่หลายปีมานี้ “พรรคและรัฐบาลลาวได้ลงทุนปรับปรุงและก่อสร้างเส้นทางแนวตะวันตกตะวันออก เส้นทางเลขที่ 12 ทางเลข 8 และทางเลข 9 ให้สามารถรองรับปริมาณการสัญจรได้อย่างสะดวก” นายสมมาด พนเสนา รัฐมนตรีกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง กล่าวในพิธีเซ็นสัญญาดังกล่าว


ภาพจากหนังสือพิมพ์ "เศรษฐกิจและสังคม" การเซ็นสัญญาร่วมทุนระหว่างฝ่ายเวียดนามกับฝ่ายลาว มีขึ้นในนครเวียงจันทน์เมื่อกลางเดือนนี้ ลาวที่ไม่มีทางออกทะเลได้ร่วมเป็นเจ้าของท่าเรือน้ำลึกในทะเลตะวันออก และมีเรือสินค้าเป็นของตนเอง
       ตั้งอยู่ใน จ.ห่าตี๋ง (Ha Tinh) หวุงอางมีการพัฒนามาหลายระยะ มีท่าเทียบยาวกว่า 450 เมตร ระดับน้ำลึกตั้งแต่ 10-15 เมตร รับเรือสินค้าขนาด 50,000 ตัน (DWT) ได้ อยู่ใกล้เส้นทางเดินเรือสินค้าทะเลจีนใต้และใกล้กับไทย ตามทางหลวงเลข 8 เลข 12 และเลข 9 ในลาว ซึ่งเป็นถนนลาดยางตลอดสาย
       
       ปัจจุบันหวุงอางเป็นท่าเรือทันสมัยแห่งหนึ่ง ติดตั้งอุปกรณ์ที่ทันสมัย และ อยู่ใกล้ทางหลวงเลข 9 ลาว-เวียดนาม มากกว่าท่าเรือเตี่ยนซา (Tien Sa) นครด่าหนัง เพราะฉะนั้นในอนาคตอาจจะเป็นทางออกของสินค้าจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยอีกด้วย
       
       หลายปีมานี้ผู้ส่งออกในลาวได้ร้องเรียนผ่านสื่อของทางการมาหลายครั้งเกี่ยวกับต้นทุนที่สูงลิ่ว ในการขนสินค้าไปยังท่าเรือในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญทำให้สินค้าจากลาวไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
       
       ขณะเดียวกัน ก็จะต้องพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง ลาวเป็นประเทศหนึ่งในเอเชียที่เศรษฐกิจขยายตัวสูงในอันดับต้นๆ 8.7-8.8% ในช่วงหลายปีมานี้ โดยการส่งออกเป็นพลังขับเคลื่อนหลัก ธนาคารโลกระบุในรายงานประจำเดือน มี.ค.ว่า ปีนี้เศรษฐกิจของลาวอาจจะขยายตัวสูงถึง 7.7%


ท่าเรือหวุงอางสร้างขึ้นในปี 2541 ค่อยๆ พัฒนาให้เป็นท่าเรือน้ำลึก ศูนย์กลางส่งออกในภาคกลางตอนบนของประเทศ เป็นทางออกใหม่ของสินค้าจากลาว
       ปีที่แล้วขณะที่โลกภายนอกระบมด้วยพิษเศรษฐกิจถดถอย แต่ลาวยังเติบโตต่อไปได้ การส่งออกทองแดงนำรายได้เข้าประเทศในอันดับต้นๆ โดยมีจีนเป็นตลาดใหญ่ แต่การส่งแร่ธาตุล้ำค่าไปยังจีน จะต้องใช้รถบรรทุกขนไปจากเหมืองในภาคกลางของประเทศ ข้ามแดนไปยังท่าเรือแหลมฉบังของไทย เพื่ออ้อมแหลมญวนวกกลับไปยังจีนอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งทำให้มีต้นทุนที่สูงมาก
       
       ปัจจุบันมีลาวมีการลงทุนทำสวนยางพาราในเนื้อที่หลายแสนไร่ทั้งในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศ อีกไม่กี่ปีก็จะผลิตยางได้ปริมาณมหาศาลซึ่งเกือบทั้งหมด จะส่งออกไปยังตลาดใหญ่จีนเช่นเดียวกัน
       
       ปัจจุบันการส่งออกสินค้าของลาวเกือบทุกชนิดล้วนแต่พึ่งพาท่าเรือในประเทศไทยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นการมีท่าเรือใกล้ตัวจึงเป็นทางออก ช่วยประหยัดทั้งค่าขนส่งและบริการอื่นๆ ทำให้สินค้าแข่งขันได้
       
       การลดต้นทุนมีความจำเป็นเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ลาวกำลังจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก ซึ่งระบบโควตากับสิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรที่เคยได้รับจะหมดไป

ที่มา  :  ผู้จัดการ



******************************************************************************************************************************************



พานิชย์ ยศปัญญา panit@matichon.co.th



12. เยี่ยมยาม เมืองงาม ปากเซ จำปาสัก
(ตอน 1) โครงการความร่วมมือฯ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เมื่อได้รับการชักชวนให้ไปทำข่าว อดตื่นเต้นไม่ได้ เพราะเป็นการเดินทางไปทำข่าวต่างประเทศ พร้อมกับท่านนายกฯ

การเดินทางครั้งนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นเจ้าภาพ ได้พาไปชมโครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยจำปาสัก ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อากาศช่วงปลายปี 2552 ลมหนาวพัดมาบางเบา แต่หัวใจก็ชุ่มฉ่ำ เพราะมีสิ่งที่น่าค้นหารออยู่ข้างหน้า ไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ถามเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ความว่า ผู้นำทีม คือ ท่านรองศาสตราจารย์วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะตามไปทีหลัง การเดินทางไปสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวครั้งนี้ มีผู้ร่วมเดินทางไปมากหน้าหลายตา ผู้อาวุโสท่านหนึ่งที่ผู้สื่อข่าวสายเกษตรรู้จักกันดีคือ คุณปัญญา เจริญวงศ์ นายกสมาคมผู้สื่อข่าวเกษตรแห่งประเทศไทย จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ออกจากสนามบินสุวรรณภูมิราว 6 โมงเช้า 7 โมงเศษๆ ก็ถึงอุบลราชธานี ที่สนามบินได้รับการดูแลอย่างดี จาก คุณสมชาย สุรพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุบลเถกิงทัวร์ จำกัด คุณสมชายพาไปกินอาหารเช้าร้านอร่อยที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองอุบล จากนั้นจึงมุ่งสู่ด่านชายแดนช่องเม็ก ระยะทางจากเมืองราว 90 กิโลเมตร ถนนหนทางไปมาสะดวก

คุณสมชาย เป็นคนท้องถิ่นแถวนั้น เขาบุกเบิกเรื่องการท่องเที่ยว และพิเศษสุดนั้นเป็นผู้รู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นลาว เวียดนาม กัมพูชา และจีนบางส่วน

ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มอบหมายให้คุณสมชายและคณะ เป็นผู้ดูแลพวกเรา ในการเดินทางไปเยี่ยมไปยามจำปาสักครั้งนี้

ทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้าน เคยเดินทางไปทำข่าวที่จำปาสัก เมื่อปี 2542 เวลาผ่านมา 10 ปีแล้ว การเดินทางครั้งนั้นนำรถไปเอง ค่าใช้จ่ายช่วงผ่านแดนสูงพอสมควร เพราะระบบระเบียบยังไม่ชัดเจนนัก ลุถึงปัจจุบัน หลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนไป จากเรื่องที่ยากๆ กลับกลายเป็นง่ายขึ้น

ไปมาสะดวกสบาย......มีรถโดยสารจากเมืองอุบลถึงปากเซ
ผู้ที่สนใจเดินทางจากอุบลราชธานี ไปเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก มีรถออกจากขนส่ง เช้าเที่ยวหนึ่ง บ่ายเที่ยวหนึ่ง ขณะเดียวกัน รถออกจากปากเซ มาตัวเมืองอุบล มีเช้าและบ่ายอย่างละเที่ยวเช่นกัน สนนราคาค่ารถ 200 บาท อัตราค่าแลกเปลี่ยนแตกต่างกันมาก วันแรกที่ไปถึง สั่งกาแฟขึ้นไปจิบบนห้องในโรงแรม

ถามพนักงานบริการว่า "เก็บเงินเลยบ่....ถ่อใด"  ........ "หมื่นหนึ่ง..." พนักงานบริการตอบ

ดูเงินในกระเป๋าแล้วใจหายวาบ นี่ขนาดดื่มกาแฟยังแก้วละหมื่น หากดื่มเบียร์ดื่มเหล้าไม่ขวดละแสนหรือ กำลังจะควักเงินจ่าย เพื่อนร่วมห้องช่วยคิดตัวเลข แล้วบอกว่า อย่าตกใจ 40 บาทเอง อัตราแลกเปลี่ยน 1 บาทไทย มีมูลค่าเป็นเงินกีบลาว 250 บาท ดังนั้น ค่ารถจากเมืองอุบลไปปากเซ อยู่ที่ 50,000 กีบ สำหรับการทำใบผ่านแดน ทำได้ไม่ยุ่งยาก ใช้บัตรประชาชน 1 ใบ พร้อมกับเงินอีกราว 7,500 ก็ทำใบผ่านแดนได้ ทำตกใจอีกแล้ว เพียง 30 บาท เท่านั้น ที่แนะนำมานี้ อยากให้ไปเที่ยวดูสิ่งสวยๆ งามๆ กัน ปัจจุบันไปได้ไม่ยาก

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แบ่งการปกครองออกเป็นแขวง ปัจจุบันมีอยู่ 16 แขวง ด้วยกัน หากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นคือรัฐนั่นเอง ผู้ปกครองสูงสุดคือ เจ้าแขวง หรือผู้ว่าการรัฐ

แต่ละแขวงประกอบด้วยเมืองต่างๆ หากเปรียบเทียบกับไทยคือ อำเภอ ไทยมีนายอำเภอ แต่ทางลาวมีเจ้าเมือง ซึ่งมียศต่ำกว่าเจ้าแขวง

จำปาสัก เป็นแขวงที่อยู่ทางใต้ มีเมืองเอกอย่างปากเซ ส่วนเมืองสำคัญอื่นๆ ก็อย่างเมืองบาเจียง เมืองปากซอง

การเดินทางไปมาระหว่างชาวไทยและชาวลาว ทุกวันนี้ถือเป็นเรื่องปกติ เสาร์และอาทิตย์ มีชาวลาวมาช็อปปิ้งที่บิ๊กซีกันเป็นจำนวนมาก คนที่มีฐานะดีก็มารักษาที่โรงพยาบาลในตัวเมืองอุบล ส่วนคนไทยนั้นก็ข้ามไปเที่ยวเปิดหูเปิดตาไม่น้อย

คุณสมชาย เป็นมืออาชีพ ทำให้พวกเราเดินผ่านด่านไปได้อย่างง่ายดาย ฝั่งทางด้านเมืองลาว เรียกกันว่า "ด่านวังเต่า" เหมือนกับรู้ใจ คุณสมชาย ปล่อยให้คณะของพวกเราอยู่ที่ร้านปลอดภาษีนานพอสมควร ที่ร้านปลอดภาษี มีของกิน ของใช้ ของดื่มประเภทมีแอลกอฮอล์ รวมทั้งกาแฟ

ซื้อหากันพอสมควร จึงได้เวลาเดินทางไปยังเมืองปากเซ เมื่อขึ้นรถ มีสมาชิกมาเพิ่มอีกคนหนึ่ง นามว่า "ปุ้ย" เป็นไกด์ท้องถิ่นที่อัธยาศัยดี

เมื่อรถวิ่งออกจากวังเต่า มีความรู้สึกแปลกๆ เพราะรถวิ่งชิดขวาตลอด ลาว เวียดนาม วิ่งรถเอาอย่างฝรั่งเศส คือชิดขวา ส่วนประเทศทางอินเดีย มาเลเซีย วิ่งรถชิดซ้าย เอาอย่างอังกฤษ จริงๆ แล้วไทยน่าจะวิ่งตรงกลาง เพราะไม่เคยเป็นลูกน้องทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส

ระหว่างทาง ยวดยานผ่านไปมาไม่มากนัก ไม่ว่าจะเป็นรถจักรและรถถีบ รวมทั้งรถยนต์ รถถีบคงทราบกันดีแล้วคือ รถจักรยาน ส่วนรถจักรนั้นคือ รถมอเตอร์ไซค์

โครงการความร่วมมือฯ

ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
คณะจากเมืองไทย นำกระเป๋าเข้าที่พัก ณ โรงแรมจำปาสัก แกรนด์ ตั้งอยู่ริมฝั่งโขง ติดกับสะพานมิตรภาพลาว-ญี่ปุ่น จากนั้นจึงมุ่งสู่ร้านอาหารเวียดนาม "นางน้อย" อาหารอร่อยมาก

หลังรับประทานอาหาร จึงมุ่งสู่มหาวิทยาลัยจำปาสัก อยู่ห่างจากตัวเมือง 4-5 กิโลเมตร สภาพของมหาวิทยาลัยเพิ่งเริ่มก่อตั้ง ถาวรวัตถุต่างๆ ยังไม่เข้าที่เข้าทาง

ตั้งใจจะถามท่านอธิการบดีเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยแห่งนี้ แต่ท่านได้พูดออกมาก่อนว่า

"คล้ายกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ในยุคเริ่มต้น"  เมื่อ 50-60 ปี มาแล้ว

ทำไม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต้องชวนผู้สื่อข่าว ข้ามน้ำจากเมืองไทยสู่จำปาสัก
ในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อเดือนมีนาคม 2548 ได้มีพระราชกระแสโปรดเกล้าให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สนองพระราชดำริในการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยจำปาสัก ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติ แห่งที่ 2 ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ แขวงจำปาสัก

ดังนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้หารือร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง และ ดร.สีคำตาด มิตาไลย อธิการบดีมหาวิทยาลัยจำปาสัก เพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างกัน และเห็นพ้องในการดำเนินโครงการความร่วมมือนี้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษา ในปี 2548 โดยมีศูนย์นานาชาติสิรินธร เพื่อการวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหน่วยงานหลักในการประสานการดำเนินงาน

ในวันที่ 30 สิงหาคม 2548 ทั้งสองฝ่ายได้มีการลงนามในเอกสารบันทึกความเข้าใจในความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยจำปาสัก

โดยกำหนดกิจกรรมความร่วมมือในด้านต่างๆ ประกอบด้วยการแลกเปลี่ยนคณาจารย์และบุคลากร การแลกเปลี่ยนนิสิต การดำเนินโครงการวิจัยร่วม การแลกเปลี่ยนวัสดุทางการศึกษา สิ่งพิมพ์ เอกสารต่างๆ การจัดกิจกรรมทางวิชาการร่วมกัน เช่น การสัมมนา การประชุมทางวิชาการ และการดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ตามที่สถาบันทั้งสองเห็นร่วมกัน

นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกำหนดแผนการดำเนินการ

ประกอบด้วย
หนึ่ง...แผนระยะสั้น มุ่งเน้นการพัฒนาด้านการเรียนการสอน และการฝึกอบรมบุคลากรให้แก่มหาวิทยาลัยจำปาสัก

สอง...แผนระยะกลาง มุ่งเน้นพัฒนาการเรียนการสอน การแลกเปลี่ยนนิสิต นักศึกษา และบุคลากร การพัฒนาฐานข้อมูล การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและพื้นที่

สาม...แผนระยะยาว เน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษาต่อ การวิจัยร่วม และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เยือนมหาวิทยาลัยจำปาสัก และทรงติดตามความคืบหน้าอยู่เสมอ

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ขอพระราชทานพระราชานุญาต ทูลเกล้าฯ ถวายวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา เพื่อพระราชทานแก่มหาวิทยาลัยจำปาสัก ประกอบด้วยตำราเรียน หุ่นจำลองเพื่อการศึกษาจากยางพารา อรรถาภิธานศัพท์เกษตรลาว ฐานข้อมูลกสิกรรมและป่าไม้ลาว แผ่นซีดีรวมเว็บเกษตรไทย-ลาว แผ่นซีดีการฝึกอบรมอาชีพต่างๆ คอมพิวเตอร์ 15 ชุด พร้อมเครื่องพิมพ์ ชุดตรวจคุณภาพดิน น้ำ และปุ๋ย ตลอดจนตัวอย่างแมลงศัตรูพืช รวมมูลค่าทั้งสิ้น 1,234,500 บาท นอกจากนี้ ยังได้ขอถวายพันธุ์โคเนื้อ "กำแพงแสน" จำนวน 9 ตัว เพื่อพระราชทานแก่มหาวิทยาลัยจำปาสัก สำหรับการเรียนการสอนและการวิจัย

ในอนาคต เมื่อมหาวิทยาลัยจำปาสักได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพในการผลิตบัณฑิต ให้ตรงตามความต้องการของประเทศแล้ว จะสามารถรองรับนักเรียนจาก 6 แขวง ในภาคใต้ของประเทศ และจะสามารถเสริมสร้างพัฒนาความเข้มแข็งทางด้านวิชาการ ด้านการวิจัย ด้านการให้บริการทางวิชาการ ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านการพัฒนานิสิตนักศึกษา ด้านการบริหารจัดการ และด้านการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ให้มีมาตรฐานและมีศักยภาพในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

อยากไปเที่ยวจำปาสัก ถามได้ที่ คุณสมชาย สุรพัฒน์ โทร. (087) 776-2277, (045) 242-400 และ (045) 245-100
มีให้อ่านต่อฉบับหน้า

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
- เมืองหลวง นครหลวงเวียงจันทน์

- นายกรัฐมนตรี บัวสอน บุบผาวัน

- เนื้อที่ทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร (ลำดับที่ 81)

- ประชากร 5,924,000 (อันดับที่ 103 สำรวจ ปี 2548 )

- สกุลเงิน กีบ 1 บาท : 248 กีบ (พฤษภาคม 2552)

- ลักษณะภูมิประเทศ

ความยาวพื้นที่ประเทศลาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ ยาวประมาณ 1,700 กว่ากิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 500 กิโลเมตร และที่แคบที่สุด 140 กิโลเมตร

ภูมิประเทศของลาวแบ่งได้เป็น 3 เขต คือ

1. เขตภูเขาสูง เป็นพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตร ขึ้นไป พื้นที่นี้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ

2. เขตที่ราบสูง คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฏตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดนกัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง), ที่ราบสูงนากาย (แขวงคำม่วน) และที่ราบสูงบริเวณ (ภาคใต้)

3. เขตที่ราบลุ่ม เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำต่างๆ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสะหวันนะเขต ซึ่งอยู่ตอนใต้เซบั้งไฟและเซบั้งเหียง และที่ราบจำปาสักทางภาคใต้ของลาว ซึ่งปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา

ทั้งนี้ เมื่อนำเอาพื้นที่ของเขตภูเขาสูงและเขตที่ราบสูงมารวมกันแล้ว จะมากถึง 3 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศลาวทั้งหมด โดยจุดที่สูงที่สุดของประเทศลาวอยู่ที่ภูเบี้ย ในแขวงเชียงขวาง วัดความสูงได้ 2,817 เมตร (9,242 ฟุต)

ประเทศลาว มีแม่น้ำสายสำคัญอยู่หลายสาย โดยแม่น้ำซึ่งเป็นสายหัวใจหลักของประเทศคือ แม่น้ำโขง ซึ่งไหลผ่านประเทศลาวเป็นระยะทาง 1,835 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำสำคัญทั้งในด้านเกษตรกรรม การประมง การผลิตพลังงานไฟฟ้า การคมนาคมจากลาวเหนือไปจนถึงลาวใต้ และการใช้เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศเพื่อนบ้าน

นอกจากนี้ แม่น้ำสายสำคัญของลาวแห่งอื่นๆ ยังได้แก่

แม่น้ำอู (พงสาลี-หลวงพะบาง) ยาว 448 กิโลเมตร

แม่น้ำงึม (เชียงขวาง-เวียงจันทน์) ยาว 353 กิโลเมตร

แม่น้ำเซบั้งเหียง (สะหวันนะเขต) ยาว 338 กิโลเมตร

แม่น้ำทา (หลวงน้ำทา-บ่อแก้ว) ยาว 523 กิโลเมตร

แม่น้ำเซกอง (สาละวัน-เซกอง-อัดตะบือ) ยาว 320 กิโลเมตร

แม่น้ำเซบั้งไฟ (คำม่วน-สะหวันนะเขต) ยาว 239 กิโลเมตร

แม่น้ำแบ่ง (อุดมไซ) ยาว 215 กิโลเมตร

แม่น้ำเซโดน (สาละวัน-จำปาสัก) ยาว 192 กิโลเมตร

แม่น้ำเซละนอง (สะหวันนะเขต) ยาว 115 กิโลเมตร

แม่น้ำกะดิ่ง (บอลิคำไซ) ยาว 103 กิโลเมตร

แม่น้ำคาน (หัวพัน-หลวงพะบาง) ยาว 90 กิโลเมตร

ลักษณะภูมิอากาศ

สปป. ลาว อยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุ สำหรับเขตภูเขาภาคเหนือ และเขตเทือกเขา อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาว อุณหภูมิสะสมเฉลี่ยประจำปีสูงถึง 15-30 องศาเซลเซียส และความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนมีประมาณ 10 องศาเซลเซียส จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดดต่อปีประมาณ 2,300-2,400 ชั่วโมง (ประมาณ 6.3-6.5 ชั่วโมง ต่อวัน) ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีประมาณร้อยละ 70-85 ปริมาณน้ำฝนในฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม) มีร้อยละ 75-90 ส่วนในฤดูแล้ง (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน) ปริมาณน้ำฝนมีเพียงร้อยละ 10-25 และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีของแต่ละเขตก็แตกต่างกันอย่างมากมาย เช่น เขตเทือกเขาบริเวณทางใต้ได้รับน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 300 เซนติเมตร ขณะที่บริเวณแขวงเซียงขวาง แขวงหลวงพะบาง แขวงไซยะบุลี ได้รับเพียงแค่ 100-150 เซนติเมตร ส่วนแขวงเวียงจันและสะหวันนะเขตในช่วง 150-200 เซนติเมตร เช่นเดียวกับแขวงพงสาลี แขวงหลวงน้ำทา และแขวงบ่อแก้ว

ความร่วมมือทางวิชาการและการสนับสนุนการเรียนการสอน ม.เกษตรศาสตร์ ม.จำปาสัก

การสนับสนุนทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและเอก เพื่อพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัยจำปาสัก

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้สนับสนุนทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เพื่อพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยจำปาสักในสาขาต่างๆ โดยในปีการศึกษา พ.ศ. 2551 จำนวน 5 ทุน ในสาขาสัตวบาล เศรษฐสังคมการพัฒนาชนบท การบริหารการศึกษา วิศวกรรมก่อสร้าง และสถิติ สำหรับปีการศึกษา พ.ศ. 2552 ได้สนับสนุนทุนการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 2 ทุน ในสาขาบริหารธุรกิจ และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ ยังได้รับการประสานงานจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ขอให้สนับสนุนทุนการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาบริหารการศึกษา ด้วยเพิ่มเติมอีก 1 ทุน

การจัดการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA)

มหาวิทยาลัยจำปาสัก ได้ขอการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (Master of Business and Administration : MBA in Champasak Province for Laotion Officials in Southern Region) ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยินดีให้ความร่วมมือและได้ดำเนินการขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) กระทรวงต่างประเทศ โดยยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการต่างประเทศ

การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับ "เทคโนโลยีการผลิตยางพารา"

ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการขยายพื้นที่ปลูกอย่างรวดเร็วในแขวงจำปาสัก เพื่อเตรียมบุคลากรรองรับการพัฒนาการเกษตรเกี่ยวกับยางพารา ศูนย์นานาชาติสิรินธรฯ ร่วมกับคณะเกษตร โดยภาควิชาพืชสวน ได้ประสานงานกับสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร จัดการฝึกอบรม เรื่อง "เทคโนโลยีการผลิตยางพารา" ให้แก่อาจารย์และนักศึกษาจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยจำปาสัก รวม 5 คน ในระหว่าง วันที่ 1-28 กันยายน พ.ศ. 2551 ซึ่งรูปแบบของการฝึกอบรมมีทั้งบรรยายและการฝึกปฏิบัติ รวมถึงการศึกษาดูงานนอกสถานที่

โครงการเสริมสร้างเครือข่ายผู้นำนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยจำปาสัก

องค์การบริหารองค์การนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดทำโครงการเสริมสร้างเครือข่ายผู้นำนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยจำปาสัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเสริมสร้างเครือข่ายผู้นำกิจกรรมนิสิต เชื่อมความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและแนวคิดประสบการณ์ในการทำกิจกรรม โดยคณะผู้แทนด้านกิจการนิสิตจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 26 คน ได้เดินทางไปเชื่อมความสัมพันธ์และศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยจำปาสัก ในระหว่าง วันที่ 15-19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ซึ่งผู้บริหารของมหาวิทยาลัยจำปาสักได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี โดยมีการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนักศึกษามหาวิทยาลัยจำปาสัก ซึ่งนับเป็นปีที่ 2 ของการแลกเปลี่ยนนิสิตนักศึกษาระหว่างสองสถาบัน

อื่นๆ : การพัฒนาความร่วมมือกับแขวงสะหวันนะเขต
แขวงสะหวันนะเขต ได้ขอให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร พัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านการเกษตรและความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งได้มีการลงนามความร่วมมือระหว่างกัน และมีการประชุมหารือ ตลอดจนสำรวจเยี่ยมชมการดำเนินงาน ร่วมกับแผนกกสิกรรมและป่าไม้ แขวงสะหวันนะเขต และมีการจัดทำแผนความร่วมมือระยะสั้นและระยะยาวร่วมกัน

การประสานงานเพื่อสนองพระราชดำริฯ
การประชุมร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยจำปาสัก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีการประชุมหารือร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2552 เพื่อรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับมหาวิทยาลัยจำปาสัก และประสานการดำเนินงานร่วมกันให้ใกล้ชิด เพื่อมุ่งสนองพระราชดำริอย่างมีเอกภาพ



ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©