-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 435 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย71





 วิธีเลี้ยงไก่พื้นเมืองให้ปลอดภัย ห่างไกลจากหวัดนก


        ไข้หวัดนกระบาดขึ้นทีไร ฝูงไก่ที่เกษตรกรเลี้ยงไว้ในครัวเรือนเป็นอันต้องล้มหายตายจากเกือบยกเล้า แถมยังมีโอกาสแพร่เชื้อสู่ผู้เลี้ยงและคนที่เข้าใกล้บริเวณดังกล่าวด้วย แล้วทีนี้เกษตรกรจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อไม่ให้ไข้หวัดนกมารังควานได้อีกเมื่อยังต้องเลี้ยงไก่ขายเป็นอาชีพต่อไป นักวิจัยกำแพงแสนมีวิธีการดีๆ ที่ทำได้ไม่ยาก และให้ผลน่าพอใจมานำเสนอพี่น้อง
      
       "ไก่" นับว่าเป็นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่ได้รับความนิยมบริโภคสูงสุด โดยเฉพาะเทศกาลวันตรุษและสารท แต่จากการระบาดของโรคไข้หวัดนกเมื่อหลายปีก่อนที่ยังมีข่าวให้เห็นต่อเนื่องอยู่จนทุกวันนี้ ทำให้หลายคนถึงกับขยาดการกินไก่ ขณะที่ยอดขายไก่ก็อาจลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่รายย่อยต้องประสบปัญหาไปตามๆ กัน ทำให้นักวิจัยต้องหาวิธีช่วยเหลือเกษตรกรและอนุรักษ์ไก่พื้นเมืองของไทยไปพร้อมกัน
      
       สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้นำคณะสื่อมวลชนเดินทางไปเยี่ยมชมฟาร์มเลี้ยงไก่พื้นในจังหวัดนครปฐมและกาญจนบุรี ที่อยู่ในโครงการพัฒนารูปแบบการเลี้ยง และสื่อที่เหมาะสมต่อการป้องกันโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกของผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองในภาคตะวันตกของไทย เมื่อวันที่ 13 พ.ค.51 ที่ผ่านมาซึ่งผู้จัดการวิทยาศาสตร์ก็ได้มีโอกาสร่วมเดินทางไปด้วย และได้พูดคุยกับอาจารย์สุชาติ สงวนพันธุ์ นักวิจัยในโครงการ จากศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์ปีก สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจเพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ถึงที่มาของโครงการและผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
      
       อาจารย์สุชาติ เผยว่า จากเหตุการณ์ไข้หวัดนกระบาดเมื่อหลายปีก่อน ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่รายย่อยได้รับความเดือดร้อนมากกว่าผู้ที่เลี้ยงไก่ในระดับอุตสาหกรรมที่สามารถควบคุมและป้องกันการระบาดของไข้หวัดนกได้ดีกว่า ขณะที่ไก่ของเกษตรกรรายย่อยมักเป็นไก่พื้นเมือง และเลี้ยงแบบธรรมชาติ จึงต้องการหาทางออกและทางรอดให้เกษตรกรรายย่อยว่า ทำอย่างไรจึงจะสามารถเลี้ยงไก่พื้นเมืองต่อไปได้อย่างปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนกทั้งไก่และผู้เลี้ยง และถูกต้องตามหลักของกรมปศุสัตว์โดยมีวิธีการที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไป
      
       "เดิมทีเกษตรกรมักเลี้ยงไก่แบบปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติรอบๆ บ้านหรือสวน หรืออาจเรียกได้ว่า ไก่เลี้ยงคน ไม่ใช่คนเลี้ยงไก่ และไม่ได้แยกพื้นที่เลี้ยงไก่ออกจากคนอย่างชัดเจน ดังนั้นก่อนอื่นก็ต้องจัดการแยกคนและไก่ออกจากกัน แต่ก็ยังไม่มีสูตรสำเร็จชัดเจน จึงได้ทดลองออกแบบโรงเรือนเลี้ยงไก่ให้เหมาะสมกับธรรมชาติของไก่ ทั้งหมด 3 รูปแบบ และทดลองเลี้ยงไก่ในโรงเรือนทั้ง 3 แบบ เป็นเวลา 4 เดือน" อาจารย์สุชาติ กล่าว
      
       ทั้งนี้ โรงเรือนเลี้ยงไก่พื้นเมืองทั้ง 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบที่ 1 ไก่อยู่ในโรงเรือนตลอด, แบบที่ 2 โรงเรือนกึ่งขัง-กึ่งปล่อยในขอบเขตที่กำหนด และแบบที่ 3 โรงเรือนกึ่งขัง-กึ่งปล่อยในขอบเขตที่กำหนดและมีตาข่ายคลุมโรงเรือนทั้งหมด ซึ่งนักวิจัยพบว่าแบบที่ 2 เหมาะสมที่สุด
      
       "เมื่อได้รูปแบบของโรงเรือนที่เหมาะสมแล้ว ก็ทดลองให้เกษตรกรเลี้ยงไก่ในโรงเรือนดังกล่าวอีกเป็นเวลา 4 เดือน ใน 4 พื้นที่ที่ทางกรมปศุสัตว์เป็นผู้จัดสรรให้ โดยปล่อยให้ไก่อยู่อย่างอิสระในบริเวณที่กำหนด ผู้เลี้ยงจะต้องหาอาหารมาเลี้ยงไก่ ซึ่งก็เป็นพวกพืชผักต่างๆ ที่มีอยู่ในบริเวณนั้น ไม่ปล่อยให้ไก่หากินเองเหมือนแต่ก่อน และผู้เลี้ยงก็ต้องปฏิบัติตามหลักการของระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในการเข้าออกโรงเรือนแต่ละครั้งอย่างเคร่งครัด และมีการสุ่มตัวอย่างไก่เพื่อตรวจหาเชื้อไข้หวัดนกเป็นระยะ ซึ่งก็ไม่พบการติดเชื้อแต่อย่างใด แถมไก่ยังมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง อัตราการรอดมากขึ้น เพราะได้รับการดูแลอย่างดี ไม่มีศัตรูอื่นมารบกวน" อาจารย์สุชาติ กล่าวถึงรายละเอียดของการวิจัย
      
       สำหรับขนาดพื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดสรรเป็นบริเวณเลี้ยงไก่คือพื้นที่ประมาณ 1 งาน โดยภายในมีโรงเรือนขนาด 4x8 ตารางเมตร ซึ่งจะสามารถรองรับไก่ได้ 80-100 ตัว อย่างไรก็ตาม เมื่อพื้นที่มาก ทำให้โอกาสที่ไก่จะตีกันลดลงด้วย ซึ่งจะช่วยให้ไก่แข็งแรงมากขึ้นได้ และโรงเรือนขนาดนี้มีต้นทุนราว 10,000-15,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นกับวัสดุที่ใช้ และข้อสำคัญคือผู้เลี้ยงต้องใส่ใจหาอาหารมาเลี้ยงไก่อย่างสม่ำเสมอ
      
       เสียงสะท้อนจากเกษตรกรที่หันมาเลี้ยงไก่แทนให้ไก่เลี้ยงคน
      
       จากคำบอกเล่าของนายแย้ม ไทรนิ่มนวล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ต.บางไทรป่า อ.บางเลน จ.นครปฐม ซึ่งเป็นหนึ่งในเกษตรกรที่ร่วมโครงการวิจัย ทำเอาผู้สื่อขาวหลายคนถึงกับตาวาวและเกิดความคิดที่จะเลี้ยงไก่ขายเหมือนผู้ใหญ่แย้มเลยเทียว เพราะไก่ของบ้านผู้ใหญ่แย้มนั้นขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เฉพาะช่วงตรุษจีนที่ผ่านมาผู้ใหญ่แย้มรับทรัพย์จากการขายไก่ไปก็หลายหมื่นบาทอยู่ จนตอนที่ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ไปเยี่ยมชมนั้น ผู้ใหญ่แย้มไม่มีไก่เนื้อขายแล้ว เพราะที่เลี้ยงอยู่ก็ยังโตไม่ทัน
      
       ผู้ใหญ่แย้มจะมีรายได้จากการขายไก่ตกเดือนละ 20,000-30,000 บาท แต่ย้ำว่าต้องเป็นเดือนที่มีไก่ขายเท่านั้น ถ้าไม่มีไก่ ก็ไม่ได้เงินตรงนี้ และนอกจากนี้ผู้ใหญ่แย้มยังเลี้ยงไก่ชนขายอีกด้วย ตัวไหนฝีมือดีลูกค้าก็จ่ายงามไม่ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อตัว แต่หากตัวไหนซ้อมไม่ผ่านก็จะถูกตอนและเลี้ยงไว้ขายเป็นไก่เนื้อต่อไป
      
       ผู้ใหญ่แย้มบอกว่าตนชอบเลี้ยงสัตว์มาก โดยเฉพาะไก่ เลี้ยงมาตั้งแต่อายุ 17 ปี จนเดี๋ยวนี้อายุ 58 ปีแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้มีแม่ไก่อยู่ร่วมร้อยตัวและให้ลูกไก่ได้ปีละ 100 กว่าตัว และเมื่อช่วงปี 2547-2548 ที่ไข้หวัดนกระบาดหนัก ทำให้เหลือแม่ไก่อยุ่พียง 12 ตัวเท่านั้น และได้รับความเสียหายไปกว่า 3 แสนบาท
      
       "จนกระทั่งได้มาพบกับอาจารย์สุชาติ และพัฒนารูปแบบการเลี้ยงไก่ตามวิธีของอาจารย์ ซึ่งเลี้ยงมาได้ราว 7 เดือนแล้ว และตอนนี้มีไก่อยู่ในฟาร์มประมาณ 300 ตัว" ผู้ใหญ่แย้มเผยพร้อมทั้งบอกเล่าวิธีการเลี้ยงไก่อย่างปลอดภัยได้ง่ายๆ ว่าจะต้องฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อให้ฟาร์มทุกสัปดาห์ ก่อนเข้าไปภายในฟาร์มทุกครั้งจะต้องจุ่มมือและเท้าในน้ำยาฆ่าเชื้อ และฉีดพ่นแอลกอฮอล์ทั่วลำตัว เพื่อป้องกันไม่ให้นำเชื้อโรคติดตัวเข้าไปด้วย
      
       "อาหารไก่ก็เป็นผักหญ้าทั่วไปที่มีอยู่ ประกอบกับปลายข้าวบ้าง กากมะพร้าวบ้าง ถ้าเป็นไก่เล็กก็อาจให้อาหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อร่วมด้วย เมื่อโตเป็นไก่รุ่นแล้วก็ค่อยๆ ลดลงไปตามส่วน เมื่อไก่ป่วยก็ผสมยาในน้ำให้ไก่กิน 2-3 วันก็หาย จากแต่ก่อนที่ไก่จะไปหาน้ำกินเองก็อาจเจอน้ำไม่สะอาด ไม่หายป่วย ในที่สุดก็ตาย ซึ่งเมื่อก่อนมีอัตราไก่ป่วยตายถึง 70% แต่ตอนนี้ลดลงเหลือเพียง 10%" ผู้ใหญ่แย้มเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
      
       นอกจากฟาร์มเลี้ยงไก่ของผู้ใหญ่แย้มแล้ว ผู้จัดการวิทยาศาสตร์และคณะสื่อมวลชนยังได้ไปเยี่ยมชมอีก 2 ฟาร์ม เป็นของนางนงนุช อินปิน และ นางกุหลาบ แซ่ตัน ที่อยู่ใน ต.ดอนเจดีย์ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นฟาร์มที่ร่วมโครงการเดียวกันกับผู้ใหญ่แย้ม แต่พื้นที่เลี้ยงและจำนวนไก่มีไม่มากเท่า
      
       ป้านงนุช บอกว่าตนทำไร่ข้าวโพดเป็นหลักร่วมกับพืชผักอื่นๆ บางชนิด และเลี้ยงไก่เป็นอาชีพเสริม ตอนนี้มีอยู่ประมาณ 70-80 ตัว เลี้ยงในพื้นที่ราว 1 งาน ลูกค้าส่วนใหญ่ก็เป็นชาวบ้านละแวกใกล้เคียง อย่างเมื่อช่วงตรุษจีนที่ผ่านมามีรายได้จากการขายไก่ราว 3,000 บาท และตั้งแต่เลี้ยงตามวิธีของอาจารย์สุชาติมาก็ยังไม่พบปัญหาใดๆ เลย
      
       ส่วนป้ากุหลาบที่มีรายได้หลักจากร้านขายของชำ ก็บอกว่าเลี้ยงไก่เป็นอาชีพเสริมเช่นกัน ตอนนี้มีอยู่ 60 ตัว บนพื้นที่ 1 งานครึ่ง อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ก็เป็นเศษพืชผักต่างๆ และให้อาหารเสริมบ้าง ซึ่งป้ากุหลาบบอกว่าการเลี้ยงในบริเวณที่มีขอบเขตชัดเจนปลอดกว่าทั้งคนและไก่ ไก่ก็ไม่ต้องหากินอาหารอย่างสะเปะสะปะ ไม่จิกทำลายต้นไม้ใบหญ้า และไม่ถ่ายเลอะเทอะทั่วบริเวณบ้านและร้านค้าด้วย
      
       อาจารย์สุชาติเพิ่มเติมให้อีกว่าที่เลือกป้ากุหลาบเข้าร่วมโครงการนี้ก็เพราะเป็นร้านค้าที่มีผู้คนมากหน้าหลายตาผ่านเข้ามาแวะเวียน จึงต้องการศึกษาด้วยว่าหากเลี้ยงไก่ด้วยรูปแบบของฟาร์มเลี้ยงที่พัฒนาขึ้นนี้ไก่จะปลอดภัยจากโรคจริงหรือไม่ และที่ผ่านมาก็ไม่พบปัญหาอะไรเลยเช่นกัน
      
       "ไก่พื้นเมืองอยู่คู่กับประเทศไทยมานาน และธรรมชาติของไก่พื้นเมืองก็มีความแข็งแรงในตัวเองอยู่แล้ว เหมาะสมกับภูมิอากาศและอาหารที่อุดมสมบูรณ์ในบ้านเรามากกว่าไก่ชนิดอื่นๆ และเกษตรกรในชนบทส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ห่างไกลจากเทคโนโลยี ขณะที่การเลี้ยงไก่พื้นเมืองก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสมัยใหม่มากนัก ดังนั้นการเลี้ยงไก่พื้นเมืองจึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เกษตรกรดำรงอยู่ได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง" อาจารย์สุชาติ กล่าว
      
       ในอนาคตอาจารย์สุชาติมีโครงการที่จะถ่ายทอดวิธีการเลี้ยงไก่แบบดังกล่าวให้แพร่หลายมากขึ้น และจะพยายามผลักดันให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองรวมกลุ่มกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเลี้ยงและการผลิตไก่พื้นเมืองสู่ผู้บริโภคให้ดียิ่งขึ้นด้วย.




ที่มา  :  วช.









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-16 (1487 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©