-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 581 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย52





สารสกัดสาบเสือ....ควบคุมวัชพืช

แบบรายงานเรื่องเต็มผลงานวิจัยสิ้นสุดปีงบประมาณ 2550
1. แผนงานวิจัย วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช

2. โครงการวิจัย วิจัยเทคโนโลยีการผลิตและการใช้สารสกัดจากพืชทดแทนสารเคมี
กิจกรรม วิจัยเทคโนโลยีการผลิตและการใช้สารสกัดจากพืชเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช
กิจกรรมย่อย วิจัยเทคโนโลยีการผลิตและการใช้สารสกัดจากพืชเพื่อควบคุมวัชพืช

3. ชื่อการทดลอง(ภาษาไทย) วิจัยประสิทธิภาพของสาบเสือในการป้องกันกำจัดวัชพืช :
ทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากสาบเสือในแปลงปลูกพืชอายุสั้น


4. คณะผู้ดำเนินงาน
หัวหน้าโครงการวิจัย นาง ชอุ่ม เปรมัษเฐียร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
หัวหน้ากิจกรรม นาง ชอุ่ม เปรมัษเฐียร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
หัวหน้าการทดลอง นาง ชอุ่ม เปรมัษเฐียร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ผู้ร่วมงาน น.ส. ศิริพร ซึงสนธิพร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช





5.บทคัดย่อ
การทดสอบประสิทธิภาพสาบเสือที่สกัดด้วยน้ำต่อพืชปลูกเพื่อหาอัตราที่เหมาะสมในการใช้
สารสกัดจากสาบเสือมาควบคุมวัชพืชแต่ปลอดภัยต่อพืชปลูกโดยวิธีการพ่นสารสกัดจากแมงลัก
ป่าที่สกัดด้วยน้ำ 3 อัตราคือ อัตราสารสกัด 1 กิโลกรัมสาบเสือสดต่อน้ำ 3 ลิตร, อัตรา
สารสกัด 1 กิโลกรัมสาบเสือสดต่อน้ำ 4 ลิตร, และอัตราสารสกัด 1 กิโลกรัมสาบเสือสดต่อน้ำ
5 ลิตร พ่นให้แก่พืชปลูกอายุสั้นที่นิยมบริโภคสดและวัชพืชที่เป็นปัญหาในสภาพไร่ โดยพ่น
สารสกัดจากสาบเสือ 2 วิธี คือ
 


1.พ่นแบบก่อนพืชและวัชพืชงอก(pre-emergence) และ

2. พ่นหลังพืชและวัชพืชงอก(postemergence)แล้ววัดความสูงของพืชและวัชพืช 1-6
สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดฯแบบก่อนพืชและวัชพืชงอก และวัดความสูงของพืชและวัชพืช 1-2
สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดฯแบบหลังพืชและวัชพืชงอก ผลปรากฏว่า 1 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัด
แบบก่อนพืชและวัชพืชงอกที่อัตรา 1:5 พืชและวัชพืชมีการเจริญเติบโตดีกว่าเมื่อไม่ได้รับ
สารสกัดฯแต่ ทีสารสกัดฯ อัตรา 1:3 พืชและวัชพืชมีความสูงลดลงเล็กน้อยแต่การเจริญเติบโต
ของวัชพืชลดลงมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นที่ 6 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดฯ วัชพืช  ผักขมไม่มีหนาม
ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ หญ้าข้าวนกมีความสูงและน้ำหนักแห้งลดลง ส่วนการเจริญเติบโตของ
พืชและวัชพืชหลังจากได้รับสารสกัดฯอัตรา 1:5 -1:3  พ่นแบบหลังพืชและวัชพืชงอกพบว่า
1-2 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดจากสาบเสือ วัชพืช ถูกยับยั้งการเจริญเติบโตมากกว่าพืชปลูก ชี้ให้
เห็นว่าสารสกัดจากสาบเสือเมื่อใช้พ่นให้แก่พืชทั้งแบบก่อนและหลังพืชและวัชพืชงอกมีผลยับยั้ง
การเจริญเติบโตของพืชและวัชพืชและวัชพืชจะถูกยับยั้งการเจริญเติบโตมากกว่าพืชปลูกแสดง
ว่าสารสกัดจากสาบเสือมีศักยภาพที่จะนำมาใช้ในการควบคุมวัชพืชได้



6.คำนำ
ปัจจุบันการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชยังมีความจำเป็นในการทำการเกษตร การใช้สารเคมีกำจัด
วัชพืชไม่ถูกต้องทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมและจากการที่ทราบว่าพืช
สามารถสร้างสารและปล่อยสารนั้นออกมาเป็นพิษต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงมีการค้นคว้า
วิจัยเพื่อจะใช้สารจากพืชนั้นมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมวัชพืช Dudai et al.(1999) ราย
งานวา่ นํ้ามันหอมระเหยจากตะไคร้ (Cymbopogon citratus ) และ ออริกาโน
(Origanum syriacum) เมื่อให้ทางดินโดยคลุกลงในดินแล้วปลูกพืชจะยับยั้งการงอกของ
ข้าวสาลีและวัชพืช พวกผักขม (Amaranthus sp.) ซึ่งจะได้พัฒนาใช้สารจากพืชเหล่านี้ใช้
เป็น bioherbicides ต่อไป ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยจากการวิจัยพบว่าข้าวเป็น
พืชที่มีสารออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช Chou C.H. (1976) รายงานว่าฟางข้าวที่
แช่น้ำจะปล่อยสารออกมาเป็นพิษต่อการเจริญเติบโตต้นข้าวที่ปลูกในฤดูถัดไป นอกจากนี้ยังพบ
ว่าวัชพืชหลายชนิดที่เป็นปัญหาในการปลูกพืชทั้งในสภาพไร่และสภาพนาเป็นวัชพืชมีสารยับยั้ง
การเจริญเติบโตของพืช และสารสกัดฯจากวัชพืชแต่ละชนิดมีความเป็นพิษต่อพืชชนิดเดียวกัน
แตกต่างกัน


โดยทั่วไปวัชพืชเป็นพืชที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีและหาง่ายจึงได้นำวัชพืชที่
ทราบแล้วว่ามีสารที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชได้มาพัฒนาใช้ประโยชน์
ในการควบคุมวัชพืช สาบเสือ (Chromoleana odorata (L.) R.M. King & M.
Robinson) เป็นวัชพืชที่เป็นปัญหาในสภาพไร่-สวน  ชอุ่ม และ ศิริพร (2542) ได้ทำการวิจัย
ในห้องปฏิบัติการพบว่าสารสกัดจากสาบเสือมีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชแตก
ต่างกัน ผักกาดหอมถูกยับยั้งการเจริญเติบโตมากกว่า ผักกวางตุ้ง แตงกวา และข้าว ส่วนวัชพืช
หญ้าตีนกาถูกยับยั้งการเจริญเติบโตมากกว่าหญ้าข้าวนก และไมยราบเลื้อยเมื่อได้รับสารสกัดฯ
จากสาบเสืออัตราเดียวกันดังนั้นจึงนำสาบเสือมาศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์ในการควบคุมวัชพืช
โดยหาวิธีใช้ในรูปแบบต่างๆเพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้ในภาคสนามจึงนำสารสกัดจาก
สาบเสือมาทดลองใช้แบบเดียวกับสารเคมีกำจัดวัชพืชคือใช้แบบพ่นให้แก่พืชทั้งแบบก่อนพืช
และวัชพืชงอก (pre-emergence) และหลังพืชและวัชพืชงอก (post-emergence) และ
เนื่องจากสารธรรมชาติที่มีในพืชจะสลายตัวง่ายและเพื่อเป็นประโยชน์และปลอดภัยต่อผู้บริโภค
พืชผัก จึงเลือกวัชพืชสาบเสือซึ่งเป็นวัชพืชที่สารฯ ซึ่งมีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของ
พืชอย่างรุนแรงและเลือกพืชที่นิยมบริโภคสดและเป็นพืชที่มีอายุสั้นมาเป็นพืชทดสอบ



7. อุปกรณ์และวิธีการ
อุปกรณ์
- สาบเสือ
- เมล็ดพืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดฝักอ่อน
- เมล็ด พืชผัก ได้แก่ แตงกวา พริก ผักกาดขาว ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตากระเจี๊ยบ
- วัชพืช ได้แก่ ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ ผักขมหนาม ผักขมไม่มีหนาม หญ้าปากควายและหญ้าข้าวนก
- กระถางปลูกพืช และ กะบะปลูกพืช
- ดินละเอียด
- ถังพลาสติกพร้อมฝาปิด
- ถังพ่นสารกำจัดวัชพืช
- เครื่องวัด เครื่องชั่ง ถุงกระดาษใส่พืช ฯลฯ เป็นต้น



วิธีการดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1
สกัดสารฯจากสาบเสือเพื่อนำไปพ่นให้แก่พืชและวัชพืชทดสอบ โดย เก็บสาบเสือที่เจริญเติบโต
เต็มที่มาสกัดสารฯโดยเตรียมสารสกัด 3 อัตราคือ สารสกัดอัตรา 1กก.สาบเสือสด/น้ำ 5 ลิตร
(1:5), สารสกัดอัตรา 1กก.สาบเสือสด/น้ำ 4 ลิตร(1:4), และ สารสกัดอัตรา 1 กก.สาบเสือ
สด/นํ้า 3 ลิตร (1:3), สกัดสาบเสือดังกล่าวด้วยน้ำโดยแตล่ ะอัตราของสาบเสือแช่น้ำไว้อย่าง
น้อย 1 สัปดาห์แล้วกรองแยกสารสกัดออกจากกากเพื่อนำสารสกัดที่ได้มาทดสอบประสิทธิภาพ
ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชและวัชพืชต่อไป


ขั้นตอนที่ 2
ทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากสาบเสือที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืชและวัชพืชในเรือน
ทดลองโดยวิธีพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือแก่พืชทดสอบซึ่งเป็นพืชปลูกที่นิยมบริโภคสดหรือเป็น
พืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและวัชพืชที่เป็นปัญหาในสภาพไร่โดยพ่นสารสกัดฯ จากสาบเสือแก่
พืชปลูกและวัชพืชเช่นเดียวกับวิธีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชควบคุมวัชพืช ในแปลงปลูกพืชทั่ว
ไปซึ่งมี 2 วิธี คือ

1. พ่นสารกำจัดวัชพืชแบบก่อนพืชปลูกและวัชพืชงอก (Pre-emergence)

2. พ่นสารกำจัดวัชพืชแบบหลังพืชปลูกและวัชพืชงอก (Post-emergence)

การพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือแบบก่อนพืชและวัชพืชงอก ทำโดยปลูกพืชไร่ชนิดต่างๆได้แก่
ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดฝักอ่อน พืชผักได้แก่ แตงกวา พริกผักกาดขาว ผัก
คะน้า ผักกวางตุ้ง ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา กระเจี๊ยบ และ วัชพืช ได้แก่ ผักเบี้ยหินผักเบี้ยใหญ่ ผักขม
หนาม ผักขมไม่มีหนาม หญ้าปากควาย และหญ้าข้าวนก ปลูกพืชเหล่านี้ชนิดละ 16 กะบะหลัง
จากปลูกพืชแล้วให้น้ำตามปกติ 1 วันแล้วพ่นสารสกัดจากสาบเสือ 3 อัตรา คือ

สารสกัดอัตรา 1 กก.สาบเสือสด/น้ำ 5 ลิตร
สารสกัดอัตรา 1 กก.สาบเสือสด/น้ำ 4 ลิตร
สารสกัดอัตรา 1 กก.สาบเสือสด/น้ำ 3 ลิตร

ดังนั้นการพ่นสารสกัดสาบเสือแก่พืชแต่ละชนิดมีกรรมวิธีดังนี้


กรรมวิธีที่ 1 ปลูกพืชหรือวัชพืชแต่ละชนิดโดยไม่พ่นสารสกัดจากสาบเสือ
กรรมวิธีที่ 2 ปลูกพืชหรือวัชพืชแล้วพ่นด้วยสารสกัดอัตรา 1กก.สาบเสือสด/น้ำ 5 ลิตร
กรรมวิธีที่ 3 ปลูกพืชหรือวัชพืชแล้วพ่นด้วยสารสกัดอัตรา 1กก.สาบเสือสด/น้ำ 4ลิตร
กรรมวิธีที่ 4 ปลูกพืชหรือวัชพืชแล้วพ่นด้วยสารสกัดอัตรา 1กก.สาบเสือสด/น้ำ 3 ลิตร


ทุกกรรมวิธีมี 4 ซ้ำ และบันทึกผลการทดลองโดย
1. ตรวจสอบความงอกและความเป็นพิษของพืชและวัชพืชด้วยสายตาหลังพ่นสารสกัดฯทุกๆ 3 วัน
2. วัดความสูงทุกๆ สัปดาห์เป็นเวลา 6 สัปดาห์ และ
3. เก็บน้ำหนักแห้งของพืชและวัชพืชที่ 6 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือ
4. วิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง



2. การพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือแบบหลังพืชและวัชพืชงอก ทำโดยปลูกพืชและวัชพืชชนิด
ต่างๆชนิดละ 16 กระถางเมื่อพืชและวัชพืชงอกแล้วมีใบจริง 3-5 ใบหรือประมาณ 15-20 วัน
จึงพ่นสารสกัดจากสาบเสือตามอัตราที่กำหนดซึ่งในการพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือแก่พืชปลูก
และวัชพืชแต่ละชนิดมีกรรมวิธีเหมือนการพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือ


วิธีที่ 1 และบันทึกผลการทดลองโดย
1. ตรวจสอบความเป็นพิษของพืชและวัชพืชด้วยสายตาหลังพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือ
2. วัดความสูงทุกๆ สัปดาห์เป็นเวลา 2 สัปดาห์หลังพ่นสาร และ
3. เก็บน้ำหนักแห้งที่ 2 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดจากสาบเสือ
4. วิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง



ขั้นตอนที่ 3
ทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากสาบเสือในแปลงปลูกข้าวโพดฝักอ่อน ณ. ศูนย์วิจัยพืช
ไร่ชัยนาท โดยพ่นสารสกัดสาบเสือสาบเสือทั้ง 3 อัตรามีกรรมวิธี 4 กรรมวิธีเหมือนการทดลอง
ในเรือนทดลองและวิธีพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือทั้งแบบก่อนข้าวโพดฝักอ่อนและวัชพืชงอก
(pre-emergence) และพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือทั้งแบบหลังข้าวโพดฝักอ่อนและวัชพืช
(postemergence) งอก และบันทึกผลการทดลองโดย ดูความเป็นพิษด้วยสายตา วัดความ
สูงและเก็บวัชพืชชั่งน้ำหนักสดและแห้ง ที่ 15 และ 30 วันหลังพ่นสารและที่ระยะเก็บเกี่ยว และ
วิเคราะห์ผลการทดลอง



8. ระยะเวลา เดือน (เริ่มต้น – สิ้นสุด )1 ปี 6 เดือน (เริ่มต้นตุลาคม 2548 – สิ้นสุด มีนาคม 2550)


9. สถานที่ดำเนินการ
1. แปลงเกษตรกร
2 เรือนทดลอง กลุ่มวิจัยวัชพืช



10. ผลและวิจารณ์ผลการทดลอง
จากการตรวจสอบความงอกของพืชและวัชพืชที่ 7 และ 14 วันหลังพ่นสารสกัดจากสาบเสือ
ทั้ง 3 คือ อัตรา 1: 3, 1: 4 และ 1: 5 (สาบเสือสด : น้ำ) แบบก่อนพืชและวัชพืชงอก พบว่า
พืชและวัชพืชงอกได้ดีแสดงว่าสารจากสาบเสือไม่มีผลต่อการงอกของพืช และวัชพืช แต่จาก
การวัดความสูงพบว่าพืชและวัชพืชชนิดต่างๆได้รับผลกระทบจากสารสกัดฯสาบเสือแตกต่างกัน
ความสูงของพืชไร่พืชผักและวัชพืชหลังจากได้รับสารสกัดฯจากสาบเสือ  พบว่าว่าจากการวัด
ความสูงของพืชและวัชพืชทุกสัปดาห์เป็นเวลา 6 สัปดาห์นั้น สัปดาห์ที่ 1 หลังพ่นสารสกัดฯ
ความสูงของพืชและวัชพืชที่ได้รับสารสกัดสาบเสืออัตรา 1: 5 มีการเจริญเติบโตดีกว่าพืชและ
วัชพืชที่ไม่ได้รับสารสกัดสาบเสือแต่เมื่อพืชและวัชพืชที่ได้รับสารสกัดสาบเสืออัตรา สูงขึ้นคือ
1: 3 ความสูงของพืชและวัชพืชลดลง ความสูงของพืชเมื่อได้รับสารสกัดฯ อัตรา 1: 5 - 1:
3 เปรียบเทียบกับความสูงของพืชและวัชพืชที่ไม่ได้รับสารสกัดฯปรากฎว่า ข้าวโพดหวาน ข้าว
โพดข้าวเหนียว และข้าวโพดฝักอ่อนมีความสูง 98-106, 90-108 และ 106-112
เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา และกระเจี๊ยบ มีความสูง 90-100, 94 -139 และ
95-104 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ


ส่วน แตงกวาพริก ผักกาดขาว ผักคะน้า และ ผักกวางตุ้ง มีความสูง 96-112 (พริกยังไม่งอก),
71-89, 100-125 และ 185-200 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ  ชี้ให้เห็นที่สารสกัดสาบเสืออัตรา
1:3 นั้น ทำให้ข้าวโพดข้าวเหนียวและถั่วฝักยาวมีความสูงลดลง 10% ถั่วลันเตา และกระเจี๊ยบ
ความสูงลดลง 5 -6% ตามลำดับ แตงกวา พริก ผักกาดขาว ผักคะน้า และผักกวางตุ้ง นั้น แตง
กวา และผักกาดขาวความสูงลดลง 4 และ 29 -11 เปอร์เซ็นต์ และจากน้ำหนักแห้งของพืชที่
เก็บเมื่อ 6 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดสาบเสือปรากฏว่าที่สารสกัดอัตราสูง 1: 3 พืชชนิดต่างๆ
น้ำหนักแห้งไม่ลดลงและบางชนิดเล็กน้อย เช่นข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดฝัก
อ่อน ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตากระเจี๊ยบ แตงกวา พริก ผักกาดขาว ผักคะน้า และ ผักกวางตุ้ง มี
น้ำหนักแห้ง 97, 88, 99, 112, 88, 95, 76, 83, 102, 159 และ 99 เปอร์เซ็นต์ ของพืช
เหล่านี้ที่ไม่ได้รับสารสกัดจากสาบเสือ


ส่วนวัชพืช ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ ผักขมหนาม ผักขมไม่มีหนาม หญ้าปากควายและหญ้าข้าว
นก เมื่อได้รับสารสกัดจากสาบเสือ อัตรา 1: 5 - 1: 3 ที่ 1 สัปดาห์หลังได้รับสารสกัดฯมี
ความสูง 100-105, 89-107, 116-137, 104-131, 94-124 และ 82-104 เปรอเซ็น
ของหญ้าเหล่านี้ที่ไม่ได้รับสารสกัดจากสาบเสือ แสดงว่า ผักเบี้ยใหญ่ หญ้าปากควายและ หญ้า
ข้าวนก ถูกยับยั้งการเจริญเติบโต 11, 6 และ 18 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และเมื่อวัชพืชได้รับ
สารสกัดฯนานขึ้นวัชพืชบางชนิดถูกยับยั้งการเจริญเติบโตมากขึ้น ที่ 6 สัปดาห์ หลังจากได้รับ
สารสกัดฯสาบเสืออัตรา 1: 3 หญ้าข้าวนกผักเบี้ยหิน ผักขมไม่มีหนามและผักเบี้ยใหญ่มีความ
สูงลดลง 26, 41, 10 และ 16 เปอร์เซ็นต์ และจากการชั่งน้ำหนักแห้งของวัชพืชที่ 6 สัปดาห์
หลังจากได้รับสารสกัดสาบเสือ หญ้าข้าวนก ผักเบี้ยหิน ผักขมไม่มีหนามและผักเบี้ยใหญ่มีความ
สูงลดลง 26, 41, 10 และ 16 เปอร์เซ็นต์ และน้ำหนักแห้งลดลง 19, 56, 61 และ 29
เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ชี้ให้เห็นว่าวัชพืชแต่ละชนิดได้รับความเป็นพิษจากสารสกัดสาบเสือแตก
ต่างกัน


จากการพ่นสารสกัดสาบเสืออัตรา 1: 5, 1: 4 และ 1: 3 แบบหลังพืชและวัชพืชงอกแล้วซึ่งมี
ใบ 3-5 ใบหรือประมาณ 12-17 วันแล้ววัดความสูงที่ 1และ 2 สัปดาห์พร้อมชั่งน้ำหนักแห้ง
หลังพ่นสารสกัดจากสาบเสือแสดงดังรูปที่ 6, 7และ 8 พบว่า ที่ 1 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดสาบ
เสือทั้ง 3 อัตรา ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดฝักอ่อน ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา และ
กระเจี๊ยบ มีความสูง 90-102, 95 -99, 95-104, 105-110, 91-103 และ 91-99
เปอร์เซ็นต์ของพืชเหล่านี้ที่ไม่ไดรับสารสกัดสาบเสือ และมีน้ำหนักแห้ง 94-97, 72-102,
98-104, 77-113, 82-92 และ 95-132 เปอร์เซ็นตามลำดับ


ส่วน แตงกวา พริก ผักกาดขาว ผักคะน้า และ ผักกวางตุ้งมีความสูง 94-104, 94 -103, 87-
101, 92-98 และ 84-88 เปอร์เซ็นต์และมีน้ำหนักแห้ง 55-76, 56-132, 102-156,
128-167 และ 99-112 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ หรือพืชปลูกมีความสูงลดลง 0-16 เปอร์เซ็นต์
 ของพืชเหล่านี้ที่ไม่ไดรับสารสกัดสาบเสือ


ส่วนวัชพืช หญ้าข้าวนก ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ ปากควายผักขมไม่มีหนาม และผักขมมีหนาม มี
ความสูง 100-138, 54-75, 54-84, 71-83, 63-77 และ 79-100 เปอร์เซ็นต์หรือมีความ
สูงลดลง 0-6, 25-46, 16-46, 17-29, 23-37 และ 0-21 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และมี
น้ำหนักแห้ง 82-87, 43-109, 71-134, 133-182, 31-74 และ 172-216 เปอร์เซ็นต์
ของวัชพืชที่ไม่ได้รับสารสกัดจากสาบเสือ ที่ 2 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดสาบเสือทั้ง 3 อัตรา
ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดฝักอ่อน ถั่วลันเตา และ พริก มีความสูงมากกว่าพืชเหล่านี้ที่ไม่ได้
รับสารสกัดจากสาบเสือ ส่วน ถั่วฝักยาว ข้าวโพดหวาน กระเจี๊ยบ แตงกวา คะน้า ผักกาดขาว
และผักกวางตุ้ง มีความสูงลดลง 14-19, 0-8, 0-11, 0-6, 4-7, 6-27 และ 2-8เปอร์เซ็นต์
ตามลำดับและน้ำหนักแห้งลดลง 15-20, 2-7, 0-4, 3-11, 7-17, 12-51 และ 4-21
เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ส่วนวัชพืชหญ้าข้าวนกมีความสูงมากกว่าเมื่อไม่ได้รับสาร แต่น้ำหนักแห้ง
ลดลง 25เปอร์เซ็นต์ และผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ หญ้าปากควาย ผักขมไม่มีหนาม และผักขมมี
หนาม มีความสูงลดลง 24-52, 9-31, 6-21, 15-32 และ 9-20 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับและ
น้ำหนักแห้งลดลง 20-55, 9-37, 30-54, 25-51 และ 6-23 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ


จากผลการทดลองใช้สารสกัดสาบเสือที่สกัดด้วยน้ำอัตรา 1: 5, 1: 4 และ 1: 3 พ่นให้แก่พืช
และวัชพืชแบบก่อนและหลังพืชและวัชพืชงอกในเรือนทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าสารสกัดจากสาบเสือ
ที่ใช้แบบพ่นให้แก่พืชและวัชพืชมีผลต่อความสูงและน้ำหนักแห้งของวัชพืชมากกว่าพืชปลูก และ
การใช้สารสกัดสาบเสือพ่นแบบหลังวัชพืชงอกมีผลต่อการเจริญเติบโตของวัชพืชมากกว่าการใช้
สารสกัดสาบเสือพ่นแบบก่อนวัชพืชงอกการใช้สารสกัดสาบเสือที่สกัดด้วยนํ้าอัตรา 1: 5, 1: 4
และ 1: 3 พ่นให้แก่พืชและวัชพืชแบบก่อนและหลังพืชและวัชพืชงอกในแปลงปลูกข้าวโพดฝัก
อ่อนที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาทพบว่าการใช้สารสกัดสาบเสือพ่นแบบก่อนข้าวโพดฝักอ่อนและ
วัชพืชงอกวัชพืชลดลง 2-18% และ 12-18% ที่ 30 และ 45 วันหลังพ่นสารสกัดสาบเสือ
และเมื่อใช้แบบหลังข้าวโพดฝักอ่อนและวัชพืชงอกวัชพืชลดลง 3-35% หลังพ่นสารสกัดสาบ
เสือ หลังจากนั้นแปลงทดลองถูกน้ำท่วม



11.สรุปผลการทดลอง
จากการใช้สารสกัดสาบเสือพ่นแบบก่อนและหลังพืชและวัชพืชงอกในเรือนทดลองและในภาค
สนามมีแนวโน้มที่จะนำสารสกัดสาบเสือมาใช้ควบคุมวัชพืชได้และควรจะได้มีการวิจัยพัฒนาวิธี
การใช้และปรับปรุงสารสกัดสาบเสือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



คำขอบคุณ
ขอขอบคุณ คุณอาณัติ วัฒนสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาทที่อนุญาตให้ใช้สถานที่
ทำการทดลองและขอบคุณ คุณ สันติ พรหมคำ นักวิชาการเกษตร 8 ว คุณ วิไลวรรณ พรหมคำ
นักวิชาการเกษตร 8 ว.นักวิชาการศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาทที่ให้ความช่วยเหลือในการเตรียมแปลง
และดูแลรักษาแปลงทดลองตลอดการปฎิบัติงานทำให้การวิจัยบรรลุตามวัตถุประสงค์



12. การนำไปใช้ประโยชน์
เพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงสารสกัดจากสาบเสือโดยหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพและความคงทน
ของสารสกัดและปรับปรุงวิธีการใช้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อถ่ายทอดความรู้นี้ให้แก่เกษตรกร
รู้จักนำวัชพืชสาบเสือซึ่งพบทั่วไปในพื้นที่ทำการเกษตรและพื้นที่ว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์ในการ
ควบคุมวัชพืช




13. เอกสารอ้างอิง
ชอุ่ม เปรมัษเฐียร, ศิริพร ซึงสนธิพร และ จิโร ฮาราดะ 2528 ก. การหาสารที่เป็นพิษต่อพืชต้น
วัชพืช 1. วัชพืชใบกว้างในไร่ รายงานการค้นคว้าวิจัย ปี 2528 กองพฤกษศาสตร์และวัชพืช
กรมวิชาการเกษตร, หน้า 719-726
ชอุ่ม เปรมัษเฐียร, ศิริพร ซึงสนธิพร และ จิโร ฮาราดะ 2528 ข. การหาสารที่เป็นพิษต่อพืชใน
ต้นวัชพืช 2. วัชพืชใบกว้างในนาข้าว รายงานการค้นคว้าวิจัย ปี 2528 กองพฤกษศาสตร์
และวัชพืช กรมวิชาการเกษตร หน้า 727-734
ชอุ่ม เปรมัษเฐียร และ ศิริพร ซึงสนธิพร 2542. ผลของสารสกัดจากสาบเสือ(Chromoleana
odorata (L.) R.M. King & M. Robinson) ต่อเมล็ดเริ่มงอกของพืชและวัชพืชบางชนิด
ประชุมวิชาการ กองพฤกษศาสตร์และวัชพืช ประจำปี 2542 หน้า 1-61




ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร

******************************************************************************************************

สาบเสือพืชมหัศจรรย์

เป็นวัชพืชก็ไช่ เป็นยาก็ไช่ ใช้ในบ้านก็ได้ ประโยชน์สารพัด สาบเสือมีชื่อวิทยาศาตร์ว่า
Eupatorium odoratum L. วงศ์ Compositaeชื่อเดิมChromolaena odorata (L.)
King et Robins.ชื่อสามัญ Bitter bush, Siam weed วงศ์ Asteraceae(จัดอนุกรม
วิธานใหม่) ใน http://www.doa.go.th/plp/plant%20protection%
20rambutan%20compend/rambutan%20weed/3-1.htm


ชื่ออื่น
หญ้าดงร้าง หญ้าดอกขาว หมาหลง บ้านร้าง หญ้าเสือหมอบ ( สุพรรณ - ราชบุรี - กาญจน์ ),
รำเคย ( ระนอง ), ผักคราด, บ้านร้าง(ราชบุรี) , ยี่สุ่นเถื่อน (สุราษฎร์), ฝรั่งเหาะ, ฝรั่งรุกที่
(สุพรรณ) , หญ้าดอกขาว ( สุโขทัย - ระนอง ) , หญ้าเมืองวาย ( พายัพ ), พาทั้ง (เงี้ยว
เชียงใหม่) , หญ้าดงรั้ง , หญ้าพระสิริไอสวรรค์ ( สระบุรี ), มุ้งกระต่าย (อุดร ) ,หญ้าลืมเมือง
( หนองคาย ),หญ้าเลาฮ้าง ( ขอนแก่น ) , สะพัง ( เลย ), หมาหลง ( ศรีราชา - ชลฯ) ,
นองเส้งเปรง ( กะเหรี่ยง เชียงใหม่) , ไช้ปู่กุย ( กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน ) , หญ้าเมืองฮ้าง ,
หญ้าเหมือน ( อิสาน) , หญ้าฝรั่งเศส , เบญจมาศ ( ตราด ) , เซโพกวย ( กะเหรี่ยง
เชียงใหม่ ) , มนทน ( เพชรบูรณ์ ) ; ปวยกีเช่า , เฮียงเจกลั้ง ( จีน )


จัดเป็นวัชพืชร้ายแรงอายุหลายปี ลำต้นและกิ่งก้านปกคลุม ด้วยขนอ่อนนุ่ม ก้านและใบเมื่อขยี้
จะมีกลิ่นแรงคล้าย สาบเสือ สูง 1-2 เมตร ใบเดี่ยวออกจากลำต้น ที่ข้อ แบบตรงกันข้าม รูปรี
ค่อนข้างเป็นสามเหลี่ยมขอบใบ หยัก ปลายใบแหลม ฐานใบกว้าง เรียวสอบเข้าหากัน สีเขียว
อ่อน เส้นใบเห็นชัดเจน 3 เส้น มีขนปกคลุม ผิวใบทั้งสองด้าน ดอกเป็นช่อ สีขาวหรือฟ้าอมม่วง
ดอกย่อย 10-35 ดอก ดอกวงนอกบานก่อน กลีบดอก หลอมรวมกันเป็นหลอด ผลขนาดเล็ก
รูปร่างเป็น ห้า เหลี่ยมสีน้ำตาลหรือดำ มีหนามแข็งบนเส้นของผล ส่วน ปลายผลมีขนสีขาว
ช่วยพยุงให้ผลและเมล็ดปลิวตามลม


ลักษณะของความเสียหาย
แก่งแย่งธาตุอาหารและน้ำ กับพืชปลูก   แหล่งอาศัยของศัตรูพืช แมลง-โรคพืช-การแพร่
กระจาย พบขึ้นทั่วไปทั้งในสภาพดินชื้นหรือ แห้ง แพร่กระจายในแหล่งปลูกพืชยืนต้นและที่รก
ร้าง ว่างเปล่า  แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งใช้เป็นแหล่งอาหารของผึ้ง น้ำผึ้งมีคุณภาพดีช่วยรักษา
โรคใช้ผสมยาโบราณ


สรรพคุณ
ก้านและใบ รสสุขุม ฉุนเล็กน้อย ใช้ฆ่าแมลง ห้ามเลือดแก้แผลที่แมลงบางชนิดกัดแล้วเลือด
ไหลไม่หยุด ใช้ใบสดตำพอกปากแผล หรือ อาจใช้ใบสดตำกับปูนกินหมากพอกแผลห้ามเลือด
ได้หรือใช้ใบสดขยี้ปิดปากแผลเลือดออกเล็กน้อยได้ดี


ผลทางเภสัชวิทยา
น้ำต้มสกัดจากใบและต้น มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้เล็กที่แยกออกจากตัวของหนูตะเภา
แต่ลดการบีบตัวของลำไส้เล็กที่แยกออกจากตัวของกระต่าย น้ำต้มสกัดและผลึกสารที่สกัดได้
จากต้นนี้ ไม่มีผลอย่างเด่นชัดต่อมดลูกที่แยกออกจากตัวของกระต่าย หากนำไปฉีดเข้าช่อง
ท้องของหนูเล็ก พบมีความเป็นพิษเพียงเล็กน้อย


สารเคมีที่พบ
ทั้งต้น มีน้ำมันระเหย ซึ่งประกอบด้วย Eupatol(22) , Coumarin ,d และ I - Eupatene
(1), Lupeol , b - Amyrin และ Flavone Salvigenin (22)  ใบ มี Ceryl alcohol ;
a-,b-,g- Sitosterol (23) , Anisic acid , Trihydric alcohol (C25
H34O5,m.p.278-280ฐC) , Tannin , น้ำตาล (24) ,Isosakuranetin , Odoratin ,
(2/ - hydroxy - 4 , 4/ , 5/ ,6/ - tetramethoxychalcone) , Acacetin (25)



ใช้ห้ามเลือด
วิธีใช้ : นำใบมาโขลกและขยี้พอกบาดแผล


นอกจากนี้เมื่อนำมาสกัดด้วยไอน้ำจะได้สารที่มีคุณสมบัติกระตุ้นการงอกของเมล็ดพืชได้หลาย
ชนิดเช่น ข้าว โสน พริก ข้าวโพด


มีสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคพืชแอนแทรคโนสของพืชตระกูล Solanaceae พวก
พริก มะเขือ และของมะม่วง ใบมะม่วงที่เป็นเชื้อราดำ ดำ กำจัดได้  ไล่แมลงพวกปากดูด พวก
เพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วง
เพลี้ยไฟในพริก ในกุหลาบ สามารถนำมาใช้เป็นน้ำยาถูพืชทำให้ใช้ไล่
แมลงคลาน เช่น แมลงสาบ มด กำจักไรฝุ่นตามพื้นในบ้าน เช็ดตามตู้โต๊ะ เก้าอี้ เฟอร์นิเจอร์
แล้วป้องกันเชื้อรามาเกาะได้
นับว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์มากกว่าโทษควรศึกษาเพิ่มเติมเยอะ
เยอะหน่อย


บ้านสมุนไพร ODD

******************************************************************************************************


สาบเสือ-หนอนตายหยาก...ใช้ไล่แมลงได้

สาบเสือเป็นพืชล้มลุกขึ้นกลางแจ้ง เจริญงอกงามได้รวดเร็ว แตกกิ่งก้านสาขามากจนดูเป็น
พุ่ม ใบเป็นรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีขนปกคลุม
ทั่วใบ ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะเป็นกระจุก

    
สาบเสือมีสารสำคัญคือ พีนีน คูมาริน เนบโธควิโนน ลิโมนีน ยูพาทอล ฟาโวน คาไดอีน
แคมเฟอร์ ซึ่งสารเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการไล่แมลงศัตรูพืชชนิดต่างๆ เช่น เพลี้ยอ่อน 
หนอนใยผัก  หนอนกระทู้ผัก  และแมลงศัตรูในโรงเก็บ  ป้องกันโรคเชื้อราและแบคทีเรีย

    
วิธีการใช้ นำเอาใบและต้นมาผึ่งลมให้แห้ง บดเป็นผงแช่น้ำ 400 กรัม/น้ำ 3 ลิตร ถ้าใบ
อย่างเดียว 400 กรัม/น้ำ 8 ลิตร กวนตั้งทิ้งไว้ค้างคืน กรองเอากากออกนำมาฉีดพ่น
ทุก 7 วัน ป้องกันและไล่หนอนกระทู้ผัก หนอนใยผัก ถ้าหมักด้วยเหล้าขาว 24 ชม.
(500กรัม/เหล้า 1 ลิตร)หมักค้างคืนกรองมาใช้กำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย นอกจากนี้
ใบสด 10 กรัม ผสมกับใบแห้ง 30 กรัม บดให้ละเอียดแล้วนำมาคลุกถั่วเขียว 100 กรัม
สามารถป้องกันกำจัดแมลงด้วงถั่วเขียวและมอดข้าวสารได้

    
สำหรับหนอนตายหยาก มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น พญาร้อยหัว โป่งมดง่าม สามสิบกลีบ 
ปงช้าง รากลิง สลอดเชียงคำ เป็นต้น  เป็นไม้เลื้อย รากมีลักษณะเป็นพวงคล้ายกระชาย
ใบคล้ายพลู ซึ่งรากนี้ประกอบไปด้วยสารกลุ่มอัลคาลอยเป็นส่วนใหญ่ และยังพบสารประกอบ
ไบเบนซิล สติลบีนอยล์ และสารกลุ่มโรตินอยล์  ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดเห็บในวัว
ควาย กำจัดหนอนแมลงวัน ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ยับยั้งการกินของหนอนกระทู้ผัก มี
ความเป็นพิษต่อลูกน้ำยุง

    
วิธีการใช้ นำรากมาสับเป็นชิ้นๆ ประมาณ 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร หมักไว้ค้างคืน
กรองเอาน้ำไปฉีดพ่นพืชผักทันทีทุก 3-5 วัน และควรใช้ให้หมดทุกครั้ง ไม่ควรเก็บที่เหลือ
ไว้เพราะราจะขึ้นหรือนำไปสกัดด้วยแอลกอฮอล์โดยใช้ราก 100 กรัมต่อแอลกอฮอล์ 1 
ลิตร หมักทิ้ง 1 อาทิตย์ กวนบ่อยๆ กรองเอากากออก เมื่อจะนำมาใช้ให้เจือจางด้วยน้ำ
(สารสกัด 15-20 ซีซี.ต่อน้ำ 10 ลิตร)แล้วนำไปฉีดพ่นพืชทุก 3-5 วัน.

********************************************************************************************************************************************************

ประสบการณ์ตรง :



5.สูตรต้มเคี่ยว


วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :
เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุ
และสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2
กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังโลหะ (ปี๊บ)ที่มีน้ำ 10-20 ล. ยกขึ้นตั้งไฟ   
         
ต้มครั้งที่ 1....ให้เดือดจัด เสร็จแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป ใส่
สมุนไพรตัวเดิม ปริมาณเท่าเดิมลงไปแทน เตรียมต้มรอบ 2
         
ต้มครั้งที่ 2....เดือดจัดแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป ใส่สมุนไพรตัว
เดิม ปริมาณเท่าเดิมลงไป เตรียมต้มรอบ 3
         
ต้มครั้งที่ 3....เดือดจัดแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป ใส่สมุนไพรตัว
เดิม ปริมาณเท่าเดิมลงไปแทน แล้วต้มจนเดือดจัดเป็นครั้งสุดท้าย เสร็จแล้วยกลง ปล่อยให้
เย็น แล้วให้กรองเอากากออกก็จะได้หัวเชื้อน้ำต้มสมุนไพรเข้มข้นพร้อมใช้งาน   
         
กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูก หรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงใน
ดินได้เป็นอย่างดี
        
สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็น
ส่วนผสมหลัก จะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภทใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอ
ต่อการใช้ 1 ครั้ง แต่หากต้องการเก็บนานให้เติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์อัตรา 1 ล.ต่อน้ำ
สกัด 10 ล. แอลกอฮอร์จะช่วยแก้อาการบูดเน่าได้


หมายเหตุ :
สูตรต้มเคี่ยวทำได้ 2 แบบ คือ
        
แบบที่ 1.....ต้มเคี่ยวครบ 3 รอบแล้วกรองเอากากออกได้น้ำใสเท่าไรก็ได้เท่านั้น ใช้งาน
ได้เลย ความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์มีเท่าไรก็มีเท่านั้น
         
แบบที่ 2.....ต้มเคี่ยวครบ 3 รอบ กรองเอากากออกจนได้น้ำใสแล้ว ให้ต้มเคี่ยวต่อโดย
ไม่ต้องเติมพืชสมุนไพรอีก ต้มเคี่ยวจนกระทั่งน้ำระเหยไปไอหายไปเหลือ 1 ใน 4 ของครั้ง
แรก เสร็จแล้วปล่อยทิ้งให้เย็น ความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์จะแรงขึ้น     


ที่มา : copy  เมนูหลัก - สารสกัดสมุนไพร



เมื่อทราบจากข้อมูลงานวิจัยแล้วว่า "ผักกาดน้ำ. แมงลักคา. สาบเสือ. เทียนหยด" ต่าง
มีสารออกฤทธิ์ในการ ควบคุม/กำจัด  วัชพืช


การเลือกใช้พืชสมุนไพรหลายๆ ตัว ที่มีสารออกฤทธิ์เหมือนกัน มารวมกันแล้ว "ต้มเคี่ยว"
ตามกรรมวิธีดังกล่าว นอกจากจะได้สารออกฤทธิ์เข้มข้นขึ้นแล้ว ยังได้สารออกฤทธิ์หลาย
อย่างในงานเดียวกัน แบบ "ตัวต่อตัวมีรุม" อีกด้วย ประมาณนั้น



ลุงคิมครับผม

*************************************************************************************************************************************************

แบบรายงานเรื่องเต็มผลงานวิจัยสิ้นสุดปีงบประมาณ 2550

1. แผนงานวิจัย วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช

2. โครงการวิจัย วิจัยเทคโนโลยีการผลิตและการใช้สารสกัดจากพืชทดแทนสารเคมี
กิจกรรม วิจัยเทคโนโลยีการผลิตและการใช้สารสกัดจากพืชเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช
กิจกรรมย่อย วิจัยเทคโนโลยีการผลิตและการใช้สารสกัดจากพืชเพื่อควบคุมวัชพืช

3. ชื่อการทดลอง(ภาษาไทย)

วิจัยประสิทธิภาพของสาบเสือในการป้องกันกำจัดวัชพืช :  ทดสอบ
ประสิทธิภาพของ  สารสกัดจากสาบเสือในแปลงปลูกพืชอายุสั้น


4. คณะผู้ดำเนินงาน
หัวหน้าโครงการวิจัย นาง ชอุ่ม เปรมัษเฐียร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
หัวหน้ากิจกรรม นาง ชอุ่ม เปรมัษเฐียร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
หัวหน้าการทดลอง นาง ชอุ่ม เปรมัษเฐียร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ผู้ร่วมงาน น.ส. ศิริพร ซึงสนธิพร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช



5.บทคัดย่อ
การทดสอบประสิทธิภาพสาบเสือที่สกัดด้วยน้ำต่อพืชปลูกเพื่อหาอัตราที่เหมาะสมในการใช้
สารสกัดจากสาบเสือมาควบคุมวัชพืชแต่ปลอดภัยต่อพืชปลูกโดยวิธีการพ่นสารสกัดจากแมงลัก
ป่าที่สกัดด้วยน้ำ 3 อัตราคือ อัตราสารสกัด 1 กิโลกรัมสาบเสือสดต่อน้ำ 3 ลิตร, อัตรา
สารสกัด 1 กิโลกรัมสาบเสือสดต่อน้ำ 4 ลิตร, และอัตราสารสกัด 1 กิโลกรัมสาบเสือสด
ต่อน้ำ 5 ลิตร พ่นให้แก่พืชปลูกอายุสั้นที่นิยมบริโภคสดและวัชพืชที่เป็นปัญหาในสภาพไร่ โดย
พ่นสารสกัดจากสาบเสือ 2 วิธี คือ


1.พ่นแบบก่อนพืชและวัชพืชงอก(pre-emergence) และ
2. พ่นหลังพืชและวัชพืชงอก(postemergence)
แล้ววัดความสูงของพืชและวัชพืช
1-6 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดฯแบบก่อนพืชและวัชพืชงอก และวัดความสูงของพืชและวัชพืช
1-2 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดฯแบบหลังพืชและวัชพืชงอก ผลปรากฏว่า 1 สัปดาห์หลังพ่น
สารสกัดแบบก่อนพืชและวัชพืชงอกที่อัตรา 1:5 พืชและวัชพืชมีการเจริญเติบโตดีกว่าเมื่อไม่
ได้รับสารสกัดฯแต่ ที่สารสกัดฯอัตรา 1:3 พืชและวัชพืชมีความสูงลดลงเล็กน้อยแต่การเจริญ
เติบโตของวัชพืชลดลงมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นที่ 6 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดฯวัชพืช ผักขมไม่มี
หนาม ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ หญ้าข้าวนกมีความสูงและน้ำหนักแห้งลดลง ส่วนการเจริญเติบโต
ของพืชและวัชพืชหลังจากได้รับสารสกัดฯอัตรา 1:5 - 1:3 พ่นแบบหลังพืชและวัชพืช
งอกพบว่า 1-2 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดจากสาบเสือ วัชพืช ถูกยับยั้งการเจริญเติบโตมากกว่า
พืชปลูก ชี้ให้เห็นว่าสารสกัดจากสาบเสือเมื่อใช้พ่นให้แก่พืชทั้งแบบก่อนและหลังพืชและวัชพืช
งอกมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชและวัชพืชและวัชพืชจะถูกยับยั้งการเจริญเติบโตมากกว่า
พืชปลูกแสดงว่าสารสกัดจากสาบเสือมีศักยภาพที่จะนำมาใช้ในการควบคุมวัชพืชได้


6.คำนำ
ปัจจุบันการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชยังมีความจำเป็นในการทำการเกษตร การใช้สารเคมีกำจัด
วัชพืชไม่ถูกต้องทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมและจากการที่ทราบว่าพืช
สามารถสร้างสารและปล่อยสารนั้นออกมาเป็นพิษต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงมีการค้นคว้า
วิจัยเพื่อจะใช้สารจากพืชนั้นมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมวัชพืช Dudai et al.
(1999) รายงานวา่ นํ้ามันหอมระเหยจาก ตะไคร้ (Cymbopogon citratus)และ
ออริกาโน (Origanum syriacum) เมื่อให้ทางดินโดยคลุกลงในดินแล้วปลูกพืชจะ
ยับยั้งการงอกของ ข้าวสาลีและวัชพืช พวกผักขม(Amaranthus sp.) ซึ่งจะได้พัฒนา
ใช้สารจากพืชเหล่านี้ใช้เป็น bioherbicides ต่อไป ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ
ไทยจากการวิจัยพบว่าข้าวเป็นพืชที่มีสารออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช Chou
C.H. (1976) รายงานว่าฟางข้าวที่แช่น้ำจะปล่อยสารออกมาเป็นพิษต่อการเจริญเติบโต
ต้นข้าวที่ปลูกในฤดูถัดไป นอกจากนี้ยังพบว่าวัชพืชหลายชนิดที่เป็นปัญหาในการปลูกพืชทั้งใน
สภาพไร่และสภาพนาเป็นวัชพืชมีสารยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช และสารสกัดฯจากวัชพืชแต่
ละชนิดมีความเป็นพิษต่อพืชชนิดเดียวกันแตกต่างกัน


โดยทั่วไปวัชพืชเป็นพืชที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีและหาง่ายจึงได้นำวัชพืชที่
ทราบแล้วว่ามีสารที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชได้มาพัฒนาใช้ประโยชน์
ในการควบคุมวัชพืช สาบเสือ (Chromoleana odorata (L.) R.M. King &
M. Robinson) เป็นวัชพืชที่เป็นปัญหาในสภาพไร่ - สวน ชอุ่ม และ ศิริพร (2542)
ได้ทำการวิจัยในห้องปฏิบัติการพบว่าสารสกัดจากสาบเสือมีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโต
ของพืชแตกต่างกัน ผักกาดหอมถูกยับยั้งการเจริญเติบโตมากกว่า ผักกวางตุ้ง แตงกวา และข้าว
ส่วนวัชพืช หญ้าตีนกาถูกยับยั้งการเจริญเติบโตมากกว่าหญ้าข้าวนก และไมยราบเลื้อยเมื่อได้รับ
สารสกัดฯจากสาบเสืออัตราเดียวกัน ดังนั้นจึงนำสาบเสือมาศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์ในการควบ
คุมวัชพืชโดยหาวิธีใช้ในรูปแบบต่างๆเพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้ในภาคสนามจึงนำ
สารสกัดจากสาบเสือมาทดลองใช้แบบเดียวกับสารเคมีกำจัดวัชพืชคือใช้แบบพ่นให้แก่พืชทั้ง
แบบก่อนพืชและวัชพืชงอก(pre-emergence) และหลังพืชและวัชพืชงอก(post-
emergence) และเนื่องจากสารธรรมชาติที่มีในพืชจะสลายตัวง่ายและเพื่อเป็นประโยชน์
และปลอดภัยต่อผู้บริโภคพืชผัก จึงเลือกวัชพืชสาบเสือซึ่งเป็นวัชพืชที่สารฯซึ่งมีประสิทธิภาพ
ยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชอย่างรุนแรงและเลือกพืชที่นิยมบริโภคสดและเป็นพืชที่มีอายุสั้น
มาเป็นพืชทดสอบ



7. อุปกรณ์และวิธีการ

อุปกรณ์
- สาบเสือ
- เมล็ดพืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดฝักอ่อน
- เมล็ด พืชผัก ได้แก่ แตงกวา พริก ผักกาดขาว ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา
กระเจี๊ยบ
- วัชพืช ได้แก่ ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ ผักขมหนาม ผักขมไม่มีหนาม หญ้าปากควายและหญ้า
ข้าวนก
- กระถางปลูกพืช และ กะบะปลูกพืช
- ดินละเอียด
- ถังพลาสติกพร้อมฝาปิด
- ถังพ่นสารกำจัดวัชพืช
- เครื่องวัด เครื่องชั่ง ถุงกระดาษใส่พืช ฯลฯ เป็นต้น


วิธีการ
การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน


ขั้นตอนที่ 1 ..... สกัดสารฯจากสาบเสือเพื่อนำไปพ่นให้แก่พืชและวัชพืชทดสอบ โดย
เก็บสาบเสือที่เจริญเติบโตเต็มที่มาสกัดสารฯโดยเตรียมสารสกัด 3 อัตราคือ สารสกัดอัตรา 1
กก. สาบเสือสด/น้ำ 5 ลิตร(1:5), สารสกัดอัตรา 1กก.สาบเสือสด/น้ำ 4 ลิตร
(1:4), และ สารสกัดอัตรา 1 กก.สาบเสือสด/นํ้า 3 ลิตร(1:3), สกัดสาบเสือดัง
กล่าวด้วยน้ำโดยแตล่ ะอัตราของสาบเสือแช่น้ำไว้อย่างน้อย 1 สัปดาห์แล้วกรองแยกสารสกัด
ออกจากกากเพื่อนำสารสกัดที่ได้มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช
และวัชพืชต่อไป


ขั้นตอนที่ 2 ..... ทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากสาบเสือที่มีต่อการเจริญเติบโต
ของพืชและวัชพืชในเรือนทดลองโดยวิธีพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือแก่พืชทดสอบซึ่งเป็นพืชปลูก
ที่นิยมบริโภคสดหรือเป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและวัชพืชที่เป็นปัญหาในสภาพไร่โดยพ่น
สารสกัดฯจากสาบเสือแก่พืชปลูกและวัชพืชเช่นเดียวกับวิธีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชควบคุม
วัชพืช ในแปลงปลูกพืชทั่วไปซึ่งมี 2 วิธี คือ

1. พ่นสารกำจัดวัชพืชแบบก่อนพืชปลูกและวัชพืชงอก (Pre-emergence)
2. พ่นสารกำจัดวัชพืชแบบหลังพืชปลูกและวัชพืชงอก (Post-emergence)


1. การพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือแบบก่อนพืชและวัชพืชงอก ทำโดยปลูกพืชไร่ชนิดต่างๆ
ได้แก่ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดฝักอ่อน พืชผักได้แก่ แตงกวา พริก  ผัก
กาดขาว  ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา กระเจี๊ยบ และ วัชพืช ได้แก่ ผักเบี้ยหิน
ผักเบี้ยใหญ่ ผักขมหนาม ผักขมไม่มีหนาม หญ้าปากควาย และหญ้าข้าวนก ปลูกพืชเหล่านี้ชนิด
ละ 16 กะบะหลังจากปลูกพืชแล้วให้น้ำตามปกติ 1 วันแล้วพ่นสารสกัดจากสาบเสือ 3 อัตรา
คือ สารสกัดอัตรา 1กก.สาบเสือสด/น้ำ 5 ลิตร, สารสกัดอัตรา 1กก.สาบเสือสด/น้ำ 4
ลิตร,และ สารสกัดอัตรา 1กก.สาบเสือสด/น้ำ 3 ลิตร ดังนั้นการพ่นสารสกัดสาบเสือแก่พืช
แต่ละชนิดมีกรรมวิธีดังนี้

กรรมวิธีที่ 1 ปลูกพืชหรือวัชพืชแต่ละชนิดโดยไม่พ่นสารสกัดจากสาบเสือ
กรรมวิธีที่ 2 ปลูกพืชหรือวัชพืชแล้วพ่นด้วยสารสกัดอัตรา 1กก.สาบเสือสด/น้ำ 5 ลิตร
กรรมวิธีที่ 3 ปลูกพืชหรือวัชพืชแล้วพ่นด้วยสารสกัดอัตรา 1กก.สาบเสือสด/น้ำ 4ลิตร
กรรมวิธีที่ 4 ปลูกพืชหรือวัชพืชแล้วพ่นด้วยสารสกัดอัตรา 1กก.สาบเสือสด/น้ำ 3 ลิตร

ทุกกรรมวิธีมี 4 ซ้ำ และบันทึกผลการทดลองโดย

1. ตรวจสอบความงอกและความเป็นพิษของพืชและวัชพืชด้วยสายตาหลังพ่นสารสกัดฯทุกๆ 3 วัน
2. วัดความสูงทุกๆ สัปดาห์เป็นเวลา 6 สัปดาห์ และ
3. เก็บน้ำหนักแห้งของพืชและวัชพืชที่ 6 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือ
4. วิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง


2. การพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือแบบหลังพืชและวัชพืชงอก ทำโดยปลูกพืชและวัชพืชชนิด
ต่างๆชนิดละ 16 กระถางเมื่อพืชและวัชพืชงอกแล้วมีใบจริง 3-5 ใบหรือประมาณ 15-20
วัน จึงพ่นสารสกัดจากสาบเสือตามอัตราที่กำหนดซึ่งในการพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือแก่พืช
ปลูกและวัชพืชแต่ละชนิดมีกรรมวิธีเหมือนการพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือ ในวิธีที่ 1 และบันทึก
ผลการทดลองโดย

1. ตรวจสอบความเป็นพิษของพืชและวัชพืชด้วยสายตาหลังพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือ
2. วัดความสูงทุกๆ สัปดาห์เป็นเวลา 2 สัปดาห์หลังพ่นสาร และ
3. เก็บน้ำหนักแห้งที่ 2 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดจากสาบเสือ

4.วิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง

ขั้นตอนที่ 3 ทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากสาบเสือในแปลงปลูกข้าวโพดฝักอ่อน
ณ. ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท โดยพ่นสารสกัดสาบเสือสาบเสือทั้ง 3 อัตรามีกรรมวิธี 4
กรรมวิธีเหมือนการทดลองในเรือนทดลองและวิธีพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือทั้งแบบก่อนข้าวโพด
ฝักอ่อนและวัชพืชงอก(pre-emergence) และพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือทั้งแบบหลัง
ข้าวโพดฝักอ่อนและวัชพืช(postemergence) งอก และบันทึกผลการทดลองโดย ดู
ความเป็นพิษด้วยสายตา วัดความสูงและเก็บวัชพืชชั่งน้ำหนักสดและแห้ง ที่ 15 และ 30 วัน
หลังพ่นสารและที่ระยะเก็บเกี่ยว และวิเคราะห์ผลการทดลอง


8. ระยะเวลา เดือน (เริ่มต้น – สิ้นสุด )1 ปี 6 เดือน (เริ่มต้นตุลาคม 2548 – สิ้นสุด
มีนาคม 2550)


9. สถานที่ดำเนินการ
1. แปลงเกษตรกร
2 เรือนทดลอง กลุ่มวิจัยวัชพืช


10. ผลและวิจารณ์ผลการทดลอง
จากการตรวจสอบความงอกของพืชและวัชพืชที่ 7 และ 14 วันหลังพ่นสารสกัดจากสาบเสือ
ทั้ง 3 คือ อัตรา 1:3, 1:4 และ 1:5(สาบเสือสด :น้ำ) แบบก่อนพืชและวัชพืชงอก
พบว่าพืชและวัชพืชงอกได้ดี แสดงว่าสารจากสาบเสือไม่มีผลต่อการงอกของพืช และวัชพืช แต่
จากการวัดความสูงพบว่าพืชและวัชพืชชนิดต่างๆ ได้รับผลกระทบจากสารสกัดฯ สาบเสือแตก
ต่างกัน ความสูงของพืชไร่


พืชผักและวัชพืชหลังจากได้รับสารสกัดฯจากสาบเสือ พบว่าว่าจากการวัดความสูงของพืชและ
วัชพืชทุกสัปดาห์เป็นเวลา 6 สัปดาห์นั้น


สัปดาห์ที่ 1 หลังพ่นสารสกัดฯความสูงของพืชและวัชพืชที่ได้รับสารสกัดสาบเสืออัตรา 1:5
มีการเจริญเติบโตดีกว่าพืชและวัชพืชที่ไม่ได้รับสารสกัดสาบเสือแต่เมื่อพืชและวัชพืชที่ได้รับ
สารสกัดสาบเสืออัตรา สูงขึ้น คือ 1:3 ความสูงของพืชและวัชพืชลดลง ความสูงของพืชเมื่อ
ได้รับสารสกัดฯ อัตรา 1:5 - 1:3


เปรียบเทียบกับความสูงของพืชและวัชพืชที่ไม่ได้รับสารสกัดฯปรากฎว่า
ข้าวโพดหวาน ข้าว
โพดข้าวเหนียว และข้าวโพดฝักอ่อนมีความสูง 98-106, 90-108 และ 106-112
เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ


ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา และกระเจี๊ยบ มีความสูง 90-100, 94 -139 และ 95-104
เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ 

ส่วน แตงกวา
พริก ผักกาดขาว ผักคะน้า และ ผักกวางตุ้ง มีความสูง 96-112, 0( พริกยัง
ไม่งอก), 71-89, 100-125และ 185-200 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ


ชี้ให้เห็นที่สารสกัดสาบเสืออัตรา 1:3 นั้น ทำให้ข้าวโพดข้าวเหนียว และถั่วฝักยาว มีความสูง
ลดลง 10% ถั่วลันเตา และกระเจี๊ยบ ความสูงลดลง 5-6% ตามลำดับ แตงกวา พริก ผักกาด
ขาว ผักคะน้า และผักกวางตุ้ง นั้น แตงกวา และผักกาดขาว ความสูงลดลง 4 และ 29-11
เปอร์เซ็นต์จากน้ำหนักแห้งของพืชที่เก็บเมื่อ 6 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดสาบเสือปรากฏว่าที่
สารสกัดอัตราสูง 1:3 พืชชนิดต่างๆ น้ำหนักแห้งไม่ลดลงและบางชนิดเล็กน้อย เช่น ข้าวโพด
หวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดฝักอ่อน ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตากระเจี๊ยบ แตงกวา พริก ผักกาด
ขาว ผักคะน้า และ ผักกวางตุ้ง มีน้ำหนักแห้ง 97, 88, 99, 112, 88, 95, 76,
83, 102, 159 และ 99 เปอร์เซ็นต์ ของพืชเหล่านี้ที่ไม่ได้รับสารสกัดจากสาบเสือ

ส่วนวัชพืช ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ ผักขมหนาม ผักขมไม่มีหนาม หญ้าปากควายและหญ้าข้าว
นกเมื่อได้รับสารสกัดจากสาบเสือ อัตรา 1:5 - 1:3 ที่ 1 สัปดาห์หลังได้รับสารสกัดฯ มี
ความสูง 100-105, 89-107, 116-137, 104-131, 94-124 และ 82-
104 เปอร์เซ็น ของหญ้าเหล่านี้ที่ไม่ได้รับสารสกัดจากสาบเสือ แสดงว่า ผักเบี้ยใหญ่ หญ้า
ปากควายและ หญ้าข้าวนก ถูกยับยั้งการเจริญเติบโต 11, 6 และ 18 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ
และเมื่อวัชพืชได้รับสารสกัดฯนานขึ้น วัชพืชบางชนิดถูกยับยั้งการเจริญเติบโตมากขึ้น ที่ 6
สัปดาห์ หลังจากได้รับสารสกัดฯสาบเสืออัตรา 1:3 หญ้าข้าวนก ผักเบี้ยหิน ผักขมไม่มีหนาม
และผักเบี้ยใหญ่มีความสูงลดลง 26, 41, 10 และ 16 เปอร์เซ็นต์ และจากการชั่ง
น้ำหนักแห้งของวัชพืชที่ 6 สัปดาห์หลังจากได้รับสารสกัดสาบเสือ หญ้าข้าวนก ผักเบี้ยหิน ผัก
ขมไม่มีหนามและผักเบี้ยใหญ่มีความสูงลดลง 26, 41, 10 และ 16 เปอร์เซ็นต์ และ
น้ำหนักแห้งลดลง 19, 56, 61 และ 29 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ


ชี้ให้เห็นว่าวัชพืชแต่ละชนิดได้รับความเป็นพิษจากสารสกัดสาบเสือแตกต่างกัน จากการพ่น
สารสกัดสาบเสืออัตรา 1:5, 1:4 และ 1:3 แบบหลังพืชและวัชพืชงอกแล้วซึ่งมีใบ 3-5
ใบหรือประมาณ 12-17 วันแล้ววัดความสูงที่ 1 และ 2 สัปดาห์ พร้อมชั่งน้ำหนักแห้งหลัง
พ่นสารสกัดจากสาบเสือ พบว่า ที่ 1 สัปดาห์ หลังพ่นสารสกัดสาบเสือทั้ง 3 อัตรา  ข้าว
โพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดฝักอ่อน ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา และ กระเจี๊ยบ มีความสูง
90-102, 95 -99, 95-104, 105-110, 91-103 และ 91-99
เปอร์เซ็นต์ ของพืชเหล่านี้ที่ไม่ได้รับสารสกัดสาบเสือ และมีน้ำหนักแห้ง 94-97, 72-
102, 98-104, 77-113, 82-92 และ 95-132 เปอร์เซ็นตามลำดับ


ส่วนแตงกวา พริก ผักกาดขาว ผักคะน้า และ ผักกวางตุ้งมีความสูง 94-104, 94 -103,
87-101, 92-98 และ 84-88 เปอร์เซ็นต์และมีน้ำหนักแห้ง 55-76, 56-132,
102-156, 128-167 และ 99-112 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ หรือพืชปลูกมีความสูงลด
ลง 0-16 เปอร์เซ็นต์ ของพืชเหล่านี้ที่ไม่ไดรับสารสกัดสาบเสือ


ส่วนวัชพืช หญ้าข้าวนก ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ ปากควายผักขมไม่มีหนาม และผักขมมีหนาม มี
ความสูง 100-138, 54-75, 54-84, 71-83, 63-77 และ 79-100
เปอร์เซ็นต์หรือมีความสูงลดลง 0-6, 25-46, 16-46, 17-29, 23-37 และ
0-21 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับและมีน้ำหนักแห้ง 82-87, 43-109, 71-134,
133-182, 31-74 และ 172-216 เปอร์เซ็นต์ของวัชพืชที่ไม่ได้รับสารสกัดจากสาบ
เสือ 2 สัปดาห์
หลังพ่นสารสกัดสาบเสือทั้ง 3 อัตรา ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดฝักอ่อน ถั่ว
ลันเตา และ พริก มีความสูงมากกว่าพืชเหล่านี้ที่ไม่ได้รับสารสกัดจากสาบเสือ


ส่วนถั่วฝักยาวข้าวโพดหวาน กระเจี๊ยบ แตงกวา คะน้า ผักกาดขาว และผักกวางตุ้ง มีความสูง
ลดลง 14-19, 0-8, 0-11, 0-6, 4-7, 6-27 และ 2-8เปอร์เซ็นต์ ตาม
ลำดับและน้ำหนักแห้งลดลง 15-20, 2-7, 0-4, 3-11, 7-17, 12-51 และ
4-21เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ


ส่วนวัชพืชหญ้าข้าวนกมีความสูงมากกว่าเมื่อไม่ได้รับสารแต่น้ำหนักแห้งลดลง 25เปอร์เซ็นต์
และผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ หญ้าปากควาย ผักขมไม่มีหนาม และผักขมมีหนาม มีความสูงลดลง
24-52, 9-31, 6-21, 15-32 และ 9-20 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับและน้ำหนักแห้ง
ลดลง 20-55, 9-37, 30-54, 25-51 และ 6-23 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

จากผลการทดลองใช้สารสกัดสาบเสือที่สกัดด้วยน้ำอัตรา 1:5, 1:4 และ 1:3 พ่นให้แก่
พืชและวัชพืชแบบก่อนและหลังพืชและวัชพืชงอกในเรือนทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าสารสกัดจากสาบ
เสือที่ใช้แบบพ่นให้แก่พืชและวัชพืชมีผลต่อความสูงและน้ำหนักแห้งของวัชพืชมากกว่าพืชปลูก
และการใช้สารสกัดสาบเสือพ่นแบบหลังวัชพืชงอกมีผลต่อการเจริญเติบโตของวัชพืชมากกว่า
การใช้สารสกัดสาบเสือพ่นแบบก่อนวัชพืชงอก


การใช้สารสกัดสาบเสือที่สกัดด้วยนํ้าอัตรา 1:5, 1:4 และ 1:3 พน่ ให้แก่พืชและวัชพืช
แบบก่อนและหลังพืชและวัชพืชงอกในแปลงปลูกข้าวโพดฝักอ่อนที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาทพบว่า
การใช้สารสกัดสาบเสือพ่นแบบก่อนข้าวโพดฝักอ่อนและวัชพืชงอกวัชพืชลดลง 2-18% และ
12-18% ที่ 30และ 45 วันหลังพ่นสารสกัดสาบเสือ และเมื่อใช้แบบหลังข้าวโพดฝักอ่อน
และวัชพืชงอกวัชพืชลดลง 3-35% หลังพ่นสารสกัดสาบเสือ หลังจากนั้นแปลงทดลองถูกน้ำ
ท่วม


11.สรุปผลการทดลอง
จากการใช้สารสกัดสาบเสือพ่นแบบก่อนและหลังพืชและวัชพืชงอกในเรือนทดลองและในภาค
สนามมีแนวโน้มที่จะนำสารสกัดสาบเสือมาใช้ควบคุมวัชพืชได้และควรจะได้มีการวิจัยพัฒนาวิธี
การใช้และปรับปรุงสารสกัดสาบเสือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


คำขอบคุณขอขอบคุณ คุณอาณัติ วัฒนสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาทที่อนุญาตให้ใช้
สถานที่ทำการทดลองและขอบคุณ คุณ สันติ พรหมคำ นักวิชาการเกษตร 8 ว คุณ วิไลวรรณ
พรหมคำนักวิชาการเกษตร 8ว.นักวิชาการศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาทที่ให้ความช่วยเหลือในการ
เตรียมแปลงและดูแลรักษาแปลงทดลองตลอดการปฎิบัติงานทำให้การวิจัยบรรลุตามวัตถุ
ประสงค์


12. การนำไปใช้ประโยชน์
เพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงสารสกัดจากสาบเสือโดยหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพและความคงทน
ของสารสกัดและปรับปรุงวิธีการใช้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อถ่ายทอดความรู้นี้ให้แก่เกษตรกร
รู้จักนำวัชพืชสาบเสือซึ่งพบทั่วไปในพื้นที่ทำการเกษตรและพื้นที่ว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์ในการ
ควบคุมวัชพืช




ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร


********************************************************************************************************************************************************









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-16 (3358 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©