-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 366 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย49





ความเสี่ยงศัตรูพืชบนปาล์มน้ำมัน

แบบรายงานเรื่องเต็มผลการวิจัยที่สิ้นสุดปีงบประมาณ 2550
1. แผนงานวิจัย การศึกษาและพัฒนาการอารักขาพืช
2. โครงการวิจัย วิจัยการกักกันพืช
กิจกรรม วิจัยการกักกันพืชเพื่อการนำเข้า
กิจกรรมย่อย วิจัยการกักกันพืชเพื่อการนำเข้า
3. ชื่อการทดลอง (ภาษาไทย ) การศึกษาวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชบนเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันนำเข้า

4. คณะผู้ดำเนินการ
หัวหน้าโครงการวิจัย นายอุดร อุณหวุฒิ
สังกัด กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
หัวหน้าการทดลอง นางสาวชลธิชา รักใคร่
สังกัด กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ผู้ร่วมงาน (การทดลอง) นายอุดร อุณหวุฒิ
สังกัด กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
นายสุรพล ยินอัศวพรรณ
สังกัด กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
นางสาวศรีวิเศษ เกษสังข์
สังกัด กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
นางสาวปรียพรรณ พงศาพิชณ์
สังกัด กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช




5. บทคัดย่อ
ปาล์มน้ำมัน (Oil plam) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Elaeis quineensis Jacg เป็นพืชน้ำมันที่มี

ศักยภาพในการแข่งขันสูงพืชหนึ่งในตลาดโลก นอกจากผลิตเพื่อการบริโภคแล้วยังเป็นพืชอุตสาหกรรมให้พลังงานอีกด้วย รัฐบาลมีนโยบายให้ขยายพื้นที่ผลิตเพิ่มมากขึ้นทุกปี จึงจำเป็นต้องนำเข้าเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศ เช่น คอสตาริกา ปาปัวนิวกินี คอนโก เบนิน ไอโวรีโคต และอินเดีย เป็นต้น ปี 2548 มีการนำเข้า จำนวน 6.24 ล้านเมล็ด ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ปาล์มน้ำมันจากทุกแหล่งทั่วโลกจัดเป็นสิ่งต้องห้ามแต่ยังคงให้นำเข้าได้ ตามบทเฉพาะกาล ดังนั้นในการนำเข้าแค่มีใบรับรองปลอดศัตรูพืชแนบมาเท่านั้น จากข้อกำหนดดังกล่าว ประเทศไทยได้อนุญาตการนำเข้าปาล์มน้ำมัน จากทั่วโลก การนำเข้าไม่ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมลงในใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary certificate) แต่อย่างใด ผลการศึกษาวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของปาล์มน้ำมันในขั้นตอนการจัดกลุ่มศัตรูพืช (Pest categorization) พบว่า จากการค้นคว้ารวบรวมรายงานจากทั่วโลกมีสิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรูของปาล์มน้ำมันรวมทั้งสิ้นจำนวน 373 ชนิด สิ่งมีชีวิตดังกล่าวข้างต้นเป็นศัตรูพืชกักกัน (Quarantine pest) ที่มีรายงานพบทำลายบนส่วนเมล็ดพันธุ์ จำนวน 134 ชนิด เป็น....

แมลง 81 ชนิด
ไร 3 ชนิด
ไวรัส 1 ชนิด
แบคทีเรีย 1 ชนิด
เชื้อรา 22 ชนิด
ไส้เดือนฝอย 6 ชนิด.....และ
วัชพืช 20 ชนิด

และศัตรูพืชอื่นๆผลการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชกักกัน (Risk assessment) แต่ละชนิดพบว่า มีศัตรูพืชกักกันที่มีความเสี่ยงสูง (High risk) 6 ชนิด ความเสี่ยงปานกลาง (Medium risk) 25 ชนิด ความเสี่ยงต่ำ (Low risk) 65 ชนิด และ ความเสี่ยงต่ำมาก (Very low risk) 38 ชนิด มาตรการในการจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชกักกัน (Risk management) ที่มีความเสี่ยงสูงจะประกอบด้วยมาตรการ กำหนดให้ปาล์มนำมันเป็นสิ่งต้องห้ามในการนำเข้าต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด



6. คำนำ
ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย ปัจจุบันได้มีการขยายพื้นที่ปลูกออกไปอย่างกว้างขวางทั้งในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาเบื้องต้นพบว่าปาล์มน้ำมัน มีศัตรูพืชร้ายแรง ที่มีรายงานการแพร่ระบาดในต่างประเทศ ศัตรูพืชหลายชนิดยังไม่มีรายงานพบในประเทศไทยและประเทศไทยยังคงมีความต้องการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ปาล์มนำมันอีกจำนวนมาก จากรายงานในปี 2548 พบว่ามีการนำเข้าจำนวน 6.24 ล้านเมล็ด (สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร, 2548) การที่ประเทศไทยปล่อยให้มีการนำเข้าปาล์มนำมันจากแหล่งต่างๆ ทั่วโลกเข้ามาเป็นจำนวนมากและเป็นระยะเวลานานโดยไม่มีมาตรการทางสุขอนามัยพืชที่รัดกุม อาจจะทำให้ศัตรูพืชกักกัน (Quarantine pest) ที่ร้ายแรงติดมากับปาล์มนำมันจนก่อให้ให้เกิดความเสียหายทำลายพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทยได้ ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ปาล์มน้ำมัน จัดอยู่ในกลุ่มสิ่งต้องห้ามแต่ยังคงให้นำเข้าโดยไม่มีเงื่อนไขตามบทเฉพาะกาลดังนั้นการนำเข้าแค่มีใบรับรองปลอดศัตรูพืชแนบมาเท่านั้น จากข้อกำหนดดังกล่าว ประเทศไทยได้อนุญาตการนำเข้าปาล์มน้ำมัน จากทั่วโลก การนำเข้าไม่ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมลงในใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary certificate) แต่อย่างใด ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อศึกษาการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของปาล์มนำมันที่นำเข้าจากต่างประเทศเพื่อให้ทราบชนิดของศัตรูพืชกักกันของปาล์มนำมันและ เพื่อใช้เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ไว้สนับสนุนการประกาศทบทวนมาตรการทางสุขอนามัยพืชสำหรับการนำเข้าปาล์มนำมันจากต่างประเทศให้รัดกุมต่อไป


7. อุปกรณ์และวิธีการ
ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลงานวิจัยทั้งทั้งในและต่างประเทศจากฐานข้อมูล ตำราวิชาการ วารสารวิชาการ รายงานการประชุมและสัมมนาทางวิชาการ ข้อมูลจากการประชุมอภิปรายจากแหล่งต่างๆทั่วโลก ที่เกี่ยวกับศัตรูพืชที่มีรายงานพบในต่างประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดที่มีรายงานจนถึงปัจจุบันนี้และเชื่อถือได้ แล้วนำมาวิเคราะห์ตามหลักการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชตามมาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับมาตรการสุข อนามัยพืช ฉบับที่ 2 แก้ไขครั้งที่ 1 เรื่องคำแนะนำสำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช (FAO, 2005) และมาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ 11 แก้ไขครั้งที่ 1 เรื่อง การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชสำหรับศัตรูพืชกักกันรวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางสภาพแวดล้อม (FAO, 2004)

ตามหลักการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชนั้น ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักที่สำคัญ
ได้แก่


ขั้นตอนที่ 1: การเริ่มต้นการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช (Stage1: Initiation of pest risk analysis)
ขั้นตอนที่ 2 : การประเมินความเสี่ยงศัตรูพืช (Stage 2: Pest risk assessment)
ขั้นตอนที่ 3: การจัดการความเสี่ยงศัตรูพืช (Stage 3: Pest risk management)



ขั้นตอนที่ 1
การเริ่มขบวนการวิเคราะห์ (Initiation) จุดมุ่งหมายของขั้นตอนการเริ่มกระบวนการวิเคราะห์ก็เพื่อจำแนกศัตรูพืชและเส้นทางศัตรูพืช ซึ่งเป็นที่สนใจการกักกันพืช และควรจะได้รับการพิจารณาสำหรับการพิจารณาสำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกันกับพื้นที่หนึ่งที่กำหนดซึ่งทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช


ขั้นตอนที่ 2
การประเมินความเสี่ยงศัตรูพืช (Pest Risk Assessment) กระบวนการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืช สามารถแบ่งออกได้อย่างกว้างเป็น 3 ขั้นตอนซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน การจำแนกประเภทศัตรูพืช การประเมินศักยภาพการเข้ามาและการแพร่ระบด การประเมินศักยภาพของผลกระทบของศัตรูพืชทางเศรษฐกิจในหลายๆ กรณี ขั้นตอนเหล่านี้จะใช้ในกระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชเรียงตามลำดับ แต่ไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องดำเนินการตามลำดับ การประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชต้องการเพื่อแสดงเหตุผลทางวิชาการอย่างสมบูรณ์ ณ สถานการณ์เวลานั้น มาตรฐานนี้ยินยอมการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชที่เฉพาะเจาะจงได้รับการพิจารณาตัดสินตามหลักเกณฑ์ของความจำเป็น, ให้มีผลกระทบน้อยที่สุด, มีความโปร่งใส, ความเท่าเทียมกัน, การวิเคราะห์ความเสี่ยง, การจัดการความเสี่ยง และไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งกำหนดไว้ใน ISPM No. 1: Principles of plant quarantine as relate to international trade (FAO, 1995)


ขั้นตอนที่ 3
การจัดการความเสี่ยงศัตรูพืช (Pest risk management) ข้อสรุปจากการประเมินความเสี่ยงจะถูกนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจว่าจำเป็นหรือไม่ที่ต้องจัดการความเสี่ยง และมาตรการที่ใช้จัดการความเสี่ยงจะมีความเข้มแข็งเพียงพอที่จะใช้หรือไม่ เนื่องจากความเสี่ยงที่เป็นศูนย์ไม่ใช่เป็นทางเลือกที่มีเหตุมีผลที่สามารถดำเนินการได้ โดยหลักการคำแนะนำในการจัดการความเสี่ยงจะต้องจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับวิธีการที่สามารถดำเนินการได้และทรัพยากร การจัดการความเสี่ยง (ในแง่มุมด้านการวิเคราะห์) เป็นกระบวนการจำแนกวิธีการที่จะดำเนินการกับความเสี่ยงที่เป็นผลจากการประเมิน โดยมีการประเมินประสิทธิภาพของวิธีการจัดการ และระบุวิธีการที่เหมาะสมที่สุดต่อผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ นอกจากนี้ในการพิจารณาเลือกวิธีการจัดการความเสี่ยงจะต้องคำนึงถึงปัจจัยความไม่แน่นอนซึ่งบันทึกไว้ในการประเมินผลที่เกิดตามมาทางด้านเศรษฐกิจและโอกาสการเข้ามาเจริญแพร่ขยายพันธุ์ด้วย



8. ระยะเวลา เริ่มต้น ตุลาคม 2548 สิ้นสุด กันยายน 2550


9. สถานที่ดำเนินการ ด่านตรวจพืช, แปลงปลูกของเกษตรกร, ห้องปฏิบัติการกลุ่มวิจัยการกักกันพืช




10. ผลการทดลองและวิจารณ์ การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช


ขั้นตอนที่ 1.
จุดเริ่มต้นการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย การผลิตต้นกล้าเมล็ดพันธุ์เพื่อทดแทนการนำเข้ายังมีไม่พอจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศจึงมีโอกาสที่ศัตรูพืชร้ายแรงจะเข้ามาแพร่ระบาดทำความเสียหายได้ ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ปาล์มน้ำมัน จัดอยู่ในกลุ่มสิ่งกำกัดการนำเข้าแค่มีใบรับรองปลอดศัตรูพืชแนบมาเท่านั้น ในปี 2548 มีข้อมูลจากด่านตรวจพืชมีการนำเข้าจำนวน 6.24 ล้านเมล็ด จากข้อกำหนดดังกล่าว ประเทศไทยได้อนุญาตการนำเข้าปาล์มน้ำมัน จากทั่วโลก และการนำเข้าไม่ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมลงในใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary certificate) แต่อย่างใดจากรายงานการค้นคว้าพบว่าปาล์มน้ำมันมีศัตรูพืชจากทั่วโลกทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตจำนวนทั้งสิ้น 135 ชนิด แบ่งเป็น แมลง 78 ชนิด ไร 4 ชนิด ไส้เดือนฝอย 6 ชนิดโปรโตซัว 1 ชนิด เชื้อรา 22 ชนิด ไวรอยด์ 1 ชนิด และวัชพืช 23 ชนิด ในจำนวนศัตรูพืชดังกล่าวเป็นศัตรูพืชที่ยังไม่มีรายงานในประเทศไทย แบ่งเป็นแมลง 39 ชนิด ไส้เดือนฝอย 3 ชนิด โปรโตซัว 1 ชนิด เชื้อรา 14 ชนิด ไวรอยด์ 1 ชนิด วัชพืช 1 ชนิด ข้อมูลรายชื่อศัตรูพืชที่กล่าวมาจัดแสดงอยู่ในเอกสารแนบ 1ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงครั้งนี้มุ่งพิจารณาศัตรูพืชกักกันที่มีโอกาสติดมากับเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน นำเข้าจากต่างประเทศสรุปผลขั้นตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์เส้นทางศัตรูพืชและวิเคราะห์ศัตรูพืชจากข้อมูลรายชื่อศัตรูพืชปาล์มน้ำมัน และมีการอนุญาตให้มีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์จำนวนมากความเสี่ยงที่จะมีศัตรูพืชกักกันติดเข้ามากับเมล็ดพันธุ์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีปรับปรุงมาตรการสุขอนามัยพืชสำหรับการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันใหม่ เพื่อให้สามารถควบคุมการนำเข้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น กำหนดให้ปาล์มน้ำมันจัดเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัตกักพืช พ.ศ. 2507 ซึ่งจะได้ดำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชที่มีศักยภาพที่จะเป็นศัตรูพืชกักกันในขั้นตอนที่ 2


ขั้นตอนที่ 2.
การประเมินความเสี่ยงศัตรูพืช (Pest Risk assessment )
1. การจำแนกประเภทศัตรูพืช ( Pest categorization ) ได้ดำเนินการค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการจากเอกสารต่างๆ เพื่อจำแนกชนิดศัตรูพืชที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันจากรายงานพบว่าการจัดกลุ่มศัตรูพืช (Pest categorization) ที่พบบนปาล์มน้ำมัน ได้ดำเนินการโดยการค้นคว้ารวบรวมรายชื่อของสิ่งมีชีวิตที่มีรายงานพบบนปาล์มน้ำมัน โดยจัดแบ่งออกเป็นทั้งหมด 9 กลุ่ม เรียงตามลำดับดังนี้

(1). แมลง (Insect)
(2). ไร (Mite)
(3). ไวรัส (Virus)
(4). ไวรอยด์ (Viroid)
(5). แบคทีเรีย (Bacteria)
(6). เชื้อรา (Fungus)
(7). ไส้เดือนฝอย (Nematode)
(8). ไมโครพลาสมา (Mycoplasma)
(9). วัชพืช (Weed)


สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดที่มีรายงานพบบนปาล์มน้ำมันจะถูกบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับ
(1). ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)
(2). ชื่อพ้อง (Synonym)
(3). ชื่อสามัญ (Common name)
(4). แหล่งแพร่กระจาย (Geographical distribution)
(5). ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย/อาศัย (Plant part affected)
(6). พบในประเทศไทยหรือไม่ : พบ/ไม่พบ (Present in Thailand: Yes/No)
(7). เป็นศัตรูพืชกักกันหรือไม่ : เป็น/ไม่เป็น (Quarantine pest: Yes/No) และ เอกสารอ้างอิง (Reference) เป็นต้น


รายงานการค้นคว้าพบว่าปาล์มน้ำมันมีศัตรูพืชจากทั่วโลกทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตจำนวนทั้งสิ้น 135 ชนิด แบ่งเป็น
แมลง 78 ชนิด
ไร 4 ชนิด
ไส้เดือนฝอย 6 ชนิด
โปรโตซัว 1 ชนิด
เชื้อรา 22 ชนิด
ไวรอยด์ 1 ชนิด

วัชพืช 23 ชนิด

รายละเอียดแสดงไว้ในประเทศไทยนำเข้าปาล์มน้ำมันจากต่างประเทศใน 2 ลักษณะได้แก่ เมล็ดที่ยังไม่งอกและเมล็ดที่งอกแล้ว การประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชจะประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชในปาล์มน้ำมันกับเมล็ดที่ยังไม่งอกและที่งอกแล้วเนื่องจากการนำเข้ามีทั้ง 2 ลักษณะและมีศัตรูพืชที่ต่างกันบ้างเล็กน้อยและจะประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชกับประเทศที่นำเข้า เป็นประจำมีทั้งหมด 6 ประเทศได้แก่ เบนิน ปาปัวนิวกีนี คองโก ไอเวอรี่โคสท์ คอสตาริกา และอินโดนีเซียในการจัดกลุ่มศัตรูพืชแต่ละประเทศได้แสดงไว้ใน การประเมินศักยภาพในการเข้ามาของศัตรูพืชประเทศไทยนำเข้าปาล์มน้ำมันจากต่างประเทศใน 2 ลักษณะได้แก่ เมล็ดที่ยังไม่งอกและเมล็ดที่อกแล้ว การประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชจะประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชในปาล์มน้ำมันกับเมล็ดที่ยังไม่งอกและที่งอกแล้วเนื่องจากการนำเข้ามีทั้ง 2 ลักษณะและมีศัตรูพืชที่ต่างกันบ้างเล็กน้อยและจะประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชกับประเทศที่นำเข้าทุกประเทศ


2.1 ประเทศเบนิน มีรายงานศัตรูพืชที่เข้าทำลายส่วนเมล็ดปาล์มน้ำมัน รวม 24 ชนิด มีรายงานในประเทศไทยแล้ว 15 ชนิดที่ยังไม่มีรายงานในประเทศไทย 9 ชนิดและมีความเสี่ยงสูง 4 ชนิดที่จะติดเข้ามากับส่วนของเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันได้แก่ Cercospora elaeidis (Cercospora leaf spot) ,Fusarium oxysporum f.sp. elaeidis (fusarium wilt of oil palm) , Macrophomina phaseolina (charcoal rot of bean/tobacco), Phellinus noxius (brown tea root disease) ที่มีความเสี่ยงปานกลาง 1 ชนิดได้แก่ Pinnaspis strachani (lesser snow scale) และที่มีความเสี่ยงต่ำ 4 ชนิดได้แก่ Dysmicoccus brevipes (pineapple mealybug) , Oryctes monoceros (coconut beetle) , Pimelephila ghesquierei (African spear borer), Zonocerus variegatus (variegated grasshopper) ข้อมูลที่ใช้ประเมินอยู่ในเอกสารแนบ


2.2 ประเทศคองโก มีรายงานศัตรูพืชเข้าทำลายส่วนเมล็ดปาล์มน้ำมันจำนวน 17 ชนิดแบ่งเป็น แมลง 5 ชนิด ไร1 ชนิด ไส้เดือนฝอย 1 ชนิด เชื้อรา 9 ชนิด และวัชพืช 1 ชนิด มีรายงานในประเทศไทยแล้ว 14 ชนิด ทียังไม่มีรายงานในประเทศไทย 3 ชนิดและมีความเสี่ยงสูงทั้ง 3 ชนิดได้แก่ Trichodorus (stubby root nematodes) ,Cercospora elaeidis (Cercospora leaf spot) , Fusarium oxysporum f.sp. elaeidis (fusarium wilt of oil palm) , Pythium splendens
ประเทศ คอสตาริกา มีรายงานศัตรูพืชเข้าทำลายส่วนเมล็ดปาล์มน้ำมันจำนวน 11 แบ่งเป็น แมลง 2 ชนิด ไร 2 ชนิด ไส้เดือนฝอย 2 ชนิด และเชื้อรา 5 ชนิด มีรายงานในประเทศไทยแล้ว 8 ชนิดที่ยังไม่มีรายงานในประเทศไทย 3 ชนิดและทั้งหมดมีความเสี่ยงสูง 3 ชนิดได้แก่ Trichodorus (stubby root nematodes) ,Phytomonas staheli (hartrot (oil plam ) , Thanatephorus cucumeris (many names, depending on host)


2.4 ประเทศ อินโดนีเซีย มีรายงานศัตรูพืชเข้าทำลายส่วนเมล็ดปาล์มน้ำมันจำนวน 28 ชนิดแบ่งเป็น แมลง 13 ชนิด ไร 2 ชนิด ไส้เดือนฝอย 1 ชนิด และเชื้อรา 5 ชนิด ที่มีรายงานในประเทศไทยแล้ว 23 ชนิดที่ไม่มีรายงานในประเทศไทย 5 ชนิดและมีความเสี่ยงสูง 3 ชนิดได้แก่ Saturnia cartoonensis (oil palm muncher) hight , Trichodorus (stubby root nematodes), . Macrophomina phaseolina (charcoal rot of bean/tobacco) ชนิดที่มีความเสี่ยงต่ำ 2 ชนิดได้แก่ Ganoderma philippii (tea root rot) Marasmius palmivorus (oil palm bunch rot)


2.5 ประเทศ ไอเวอรี่โคสท์ มีรายงานศัตรูพืชเข้าทำลายส่วนเมล็ดปาล์มน้ำมันจำนวน 20 ชนิดแบ่งเป็น แมลง 7 ชนิด ไส้เดือนฝอย 3 ชนิด และเชื้อรา 10 ชนิด ที่มีรายงานในประเทศไทยแล้ว 12 ชนิดที่ไม่มีรายงานในประเทศไทย 8 ชนิดและมีความเสี่ยงสูง 4 ชนิดได้แก่
Trichodorus (stubby root nematodes). Cercospora elaeidis (Cercospora leaf spot) , . Cercospora elaeidis (Cercospora leaf spot), Fusarium oxysporum f.sp. elaeidis (fusarium wilt of oil palm) ที่มีความเสี่ยงปานกลาง 1 ชนิด ได้แก่ Pimelephila ghesquierei (African spear borer) ที่มีความเสี่ยงต่ำ 3 ชนิดได้แก่ Oryctes monoceros (coconut beetle) , Pythium splendens , Pythium splendens


2.6 ประเทศปาปัวนิวกีนีมีรายงานศัตรูพืชเข้าทำลายส่วนเมล็ดปาล์มน้ำมันจำนวน 23 ชนิดแบ่งเป็น แมลง 7 ชนิด ไร 2 ชนิด ไส้เดือนฝอย 2 ชนิด และเชื้อรา 12 ชนิด ที่มีรายงานในประเทศไทยแล้ว 18 ชนิดที่ไม่มีรายงานในประเทศไทย 5 ชนิดและมีความเสี่ยงสูง 1 ชนิดได้แก่ Macrophomina phaseolina (charcoal rot of bean/tobacco) ที่มีความเสี่ยงต่ำ 4 ชนิดได้แก่ Tetranychus piercei, Marasmius palmivorus (oil palm bunch rot), Pythium myriotylum (brown rot of groundnut), Pythium splendenslเชื้อสาเหตุโรคพืชศัตรูพืชกักกันที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับปาล์มน้ำมันที่มีโอกาสติดเข้ามากับเมล็ดพันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศได้แก่ Cercospora elaeidis (Cercospora leaf spot), Fusarium oxysporum f.sp. elaeidis (fusarium wilt of oil palm), Phytomonas staheli (hartrot (oil plam), Rhadinaphelonchus cocophilus, Red ring


1. ชื่อวิทยาศาสตร์ :Cercospora leaf spot
ชื่อพ้อง : Cercospora leaf spot


ชื่อสามัญ : Cercospora leaf spot,freckle of oil palm,leaf spot of oil palm,oil palm leaf spot


พืชอาศัย : C. elaeidis affects the African oil palm, Elaeis guineensis. The American oil palm, Elaeis oleifera, and its hybrids with E. guineensis, are more susceptible than E. guineensis). It affects seedlings in the prenursery and nursery and young palms in the field.

ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย : ต้นกล้า ส่วนของพืชที่เจริญเติบโต
แหล่งที่แพร่ระบาด Sierra Leone, Liberia Ghana, Ivory Coast, Togo, Rebulic of Benin, Nigerla, Cameroon, San Tane, Congo, Zaire, Papua nvw Guinea, Angola.


ชีววิทยา :เชื้อราขยายพันธุ์โดยใช้ conidia เป็นตัวแพร่กระจายเชื้อโดยไปทาง กระแสลมหรือ นำฝน conidia จะงอกติดอยู่บริเวณใบ เมื่องอกแล้ว จะแทงเข้าพืชบริเวณปากใบ โดยมีระยะบ่มเชื้อที่ ประมาณ 25 วัน(Renard and Quillec, 1977) Conidiophores ของเชื้อต้องการความชื้น อยู่ระหว่าง 81 – 100 % และอุณหภูมิ ที่เหมาะสมประมาณ 27 C Sporulation จะสร้างที่มีความชื้น 93 % และที่อุณหภูมิ ตำกว่า 32 C Conidial เมื่อ แก่จะงอกและแพร่กระจายที่อุณหภูมิ 25-32 C อย่างไรก็ตามการงอกก็ขึ้นอยู่กับ ความชื้นบริเวณบนใบด้วย อย่างไรก็ตามการเข้าทำลายของเชื้อ ขึ้นกับสภาพแวดล้อมทั้งหมดด้วยที่จะเป็นตัวกระตุ้น จากรายงานที่ผ่านๆมาพบว่าช่วงระยะฤดู ฝนจะเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด

โอกาสการเข้ามา : ต่ำเพราะไม่ติดกับเมล็ดพันธุ์ แต่ถ้านำเข้าต้นกล้าจะมีโอกาสสูงที่จะติดเข้ามาได้โอกาสเข้ามาตั้งรกราก : สูง ถ้านำเข้าต้นกล้าเข้ามาโดยตรง เพราะระยะแรกที่เชื้อเข้าทำลายจะยังไม่แสดงอาการแต่ถ้าเข้ามาได้จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วเพราะอุณหภูมิทางภาคใต้ของไทยเหมาะสมสำหรับเชื้อ


ศักยภาพการแพร่กระจาย : สูง มีพืชอาศัยเหมาะสมโดยเฉพาะปาล์มน้ำมันทางภาคใต้


ความสำคัญด้านเศรษฐกิจ : เป็นเชื้อที่สำคัญที่สุดเชื้อหนึ่งของปาล์มน้ำมัน และประเทศไทยปลูกปาล์มน้ำมันมากหากเชื้อนี้เข้ามาแพร่ระบาดจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เกษตรกรที่ปลูกน้ำมันอย่างสูง


สถานภาพศัตรูพืช: ศัตรูพืชกักกัน


ระดับความเสี่ยง : ปานกลาง



2. ชื่อวิทยาศาสตร์ Fusarium oxysporum f.sp. elaeidis
ชื่อสามัญ : fusarium wilt of oil palm
พืชอาศัย : F. oxysporum f.sp. elaeidis is pathogenic to the artificially inoculated South American oil palm, Elaeis oleifera (Renard et al., 1980). Isolates of F. oxysporum obtained from the root tissue of symptomless weed species (Amaranthus spinosus, Eupatorium odoratum, Mariscus alternifolius and Imperata cylindrica) from a Nigerian plantation were pathogenic to seedling oil palm (Oritsejafor, 1986). Under laboratory conditions, isolates of F. oxysporum pathogenic to oil palm can cause vascular wilt of date palm, while date palm isolates (F. oxysporum f.sp. albedinis) are equally pathogenic to oil palm (Paul, 1995).


ส่วนของพืชที่เข้าทำลาย ; ทุกส่วนของพืชโดยเฉพาะ ใบ ลำต้น ราก


แหล่งที่แพร่ระบาด : Zaire (Wardlaw, 1946) western Africa: Ivory Cote, Nigeria, Ghana, Cameroon and Congo (Wardlaw, 1948; Renard and Quillec, 1984; Oritsejafor, 1989). Brazil (Van de Lande, 1984) and Ecuador (Renard and de Franqueville, 1989). Early reports of the disease in Suriname (Anon., 1951) and Colombia (Sanchez Potes, 1966) remain unconfirmed.


ชีววิทยา :เชื้อเข้าทำลายพืชอาศัยได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ถ้าหากอาการรุนแรงในระยะกล้าอาจจะทำให้ต้นตายได้โดยเชื้อเข้าทำลายเนื้อเยื่อบริเวณ cortical ของราก และ เนื้อเยื่อปาล์ม ในระยะติดผลพืชจะแสดงอาการอาการเหี่ยวโดยที่ใบยังมีอาการเขียวอยู่ ใบล่างไม่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ท่อน้ำท่ออาหารไม่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และจะพบอาการโคนเน่าบริเวณเหนือพื้นดินประมาณ 15-30 เซนติเมตร จะแสดงอาการเหี่ยวและแคระแกรนทำให้ผลผลิตลดลงเชื้อรานี้สามารถอยู่ในดินและเศษซากพืช สภาพเหมาสมต่อการเกิดโรคคืออากาศเย็น และเชื้อรานี้สามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ ลม ฝน น้ำชลประทาน และเครื่องมือเครื่องใช้การเขตกรรมได้


โอกาสที่จะเข้ามา : สูง โดยสามารถติดเข้ามากับเมล็ดพันธุ์ นำเข้าได้


โอกาสเข้ามาตั้งรกราก : สูง เพราะสภาพแวดล้อมเหมาะสม พืชอาศัยมาก


ศักยภาพการแพร่กระจาย : สูง ถ้าเชื้อเข้ามาได้แล้วจะแพร่กระจายได้ง่ายเพราะอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสมอีกทั้งพืชอาศัยมีจำนวนมาก

ความสำคัญด้านเศรษฐกิจ: สูง เนื่องจากเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันมีจำนวนมากและรายได้

จากการผลิตปาล์มน้ำมันสูงหากเกิดการแพร่ระบาดจะทำให้ผลผลิตลดลงเกษตรกรขาดรายได้เคยมีรายงานความเสียหายพบว่าผลผลิตลดลง 50 % ปาล์มที่อายุ 6 ปีจากรายงานมีความเสียหายลดลง 6-16 %


สถานภาพศัตรูพืช: ศัตรูพืชกักกัน


ระดับความเสี่ยง : สูง




3. ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phytomonas staheli

ชื่อสามัญ : hartrot oil plam , hartrot oilpalms, fatal wilt coconut

พืชอาศัย : Maximiliana maripa (Slobbe et al., 1978); Attalea funifera (Bezerra et al., 1983); Betinckia nicobarica (Kastelein, 1987); Roystonea regia (Attias et al., 1987


ส่วนของพืชที่เข้าทำลาย : ระยะดอก, ระยะผล และทุกส่วนของพืชที่เป็นช่วงระยะเจริญเติบโต


แหล่งที่แพร่ระบาด : Colombia, Trinidst, Veneguela, Surinum, peru, Brazil, Ecaedon, Guxlana


ชีววิทยา : มีเอกสารเรื่องนี้ไม่มากนัก สำหรับโปรโตซัวนี้เคลื่อนที่โดยใช้ flagellates ที่เข้าทำลายพืช สำหรับกลไกไม่มีข้อมูลเคยมีรายงานที่ทดลองบนอาหารเลื้ยงเชื้อบ้าง มีรายงานว่าจะเข้าทำลายกับปาล์มที่มีอายุมากไม่เข้าทำลายปาล์มที่ยังอ่อนๆ โปรโตซัวนี้อาศัยบริเวณลำต้น และใบ ของพืชอาศัย รวมทั้งพืชอาศัยที่เป็นวัชพืช


โอกาสการเข้ามาของเชื้อ: ปานกลาง มีพืชอาศัยไม่กว้างมาก


โอกาสเข้ามาตั้งรกราก : ปานกลาง มีพืชอาศัยที่เป็นปาล์ม และวัชพืชบางชนิด


ศักยภาพการแพร่กระจาย: ปานกลาง เนื่องจากพืชอาศัยเหมาะสม


ความสำคัญด้านเศรษฐกิจ: เป็นศัตรูที่สำคัญของปาล์มน้ำมันในประเทศไทย มีรายงานความเสียหายระดับเศรษฐกิจ


สถานภาพศัตรูพืช : ศัตรูพืชกักกัน


ระดับความเสี่ยง : ปานกลาง




4. ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhadinaphelonchus cocophilus, Aphelenchus cocophilus Cobb, 1919 Aphelenchoides cocophilus (Cobb, 1919) Goodey, 1933 Chitinoaphelenchus cocophilus (Cobb, 1919) Chitwood in Corbett, 1959 Bursaphelenchus cocophilus (Cobb, 1919) Baujard, 1989


ชื่อสามัญ : red ring nematode


พืชอาศัย : Major hosts Cocos nucifera (coconut), Elaeis guineensis (African oil palm) Minor hosts Phoenix canariensis (palm (Canary Island)), Phoenix dactylifera (date-palm), Sabal palmetto (Cabbage palmetto)


ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย : ระยะดอก, ระยะผล และระยะเจริญเติบโต ส่วนที่ถูกทำลาย ได้แก่ ผล ใบ ลำต้น และทุกๆส่วน


แหล่งแพร่ระบาด : Coston Rica, Cdombis, Hondurus Panarma, Venezuala Surinum Brazil, West Indis, EL, Salvador, Mexico Zaire, Souda Arabia.


ชีววิทยา : ไส้เดือนฝอยชนิดนี้ มีแมลงพาหะได้แก่ R. cocophilus เป็นพาหะของปาล์ม วงจรไส้เดือนฝอยนี้อยู่กับแมลง การเข้าทำลายจะเข้าบริเวณรากพืช (Gerber and Giblin-Davis, 1990) ตัวอ่อนของแมลงพาหะกินอาหารทางลำต้นพืชอาศัย ตัวแก่ของแมลงพาหะจะเข้าทำลายปาล์ม มีรายงานกับมะพร้าวเนื้อเยื่อถูกทำลายเสียหาย โดยเฉพาะบริเวณราก ลำต้นและใบ รวมทั้งส่วนของผล ในระยะแรกจะเข้าอยู่เป็น parasites ต่อมาพบใน intercellularly สามารถพบไส้เดือนฝอยจำนวนมากในเนื้อเยื่อพืชประมาณ 10,000 ตัว ไส้เดือนฝอยนี้ชอบอาศัยบริเวณที่ชื้นเป็นระยะเวลานานๆ 2-3 เดือน วงจรชีวิต R. cocophilus พบในมะพร้าวตั้งแต่ระยะไข่- ไข่ อีกครั้งใช้ระยะเวลา 9-10 วัน


โอกาสเข้ามาของเชื้อ : สูง อาจติดเข้ามากับพืชพวกปาล์ม /มะพร้าว


โอกาสเข้ามาตั้งรกราก : ปานกลาง-สูง มีแมลงเป็นพาหะมีพืชอาศัยที่เป็นทั้งปาล์ม/ มะพร้าว

ศักยภาพการแพร่กระจาย : ปานกลาง- สูง มีพืชอาศัยและแมลงเหมาะสม


ความสำคัญด้านเศรษฐกิจ : R. cocophilus เป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดความเสียหายในแหล่งปลูก มีการกำหนดเขตควบคุมแหล่งปลูกมะพร้าวที่พบไส้เดือนฝอยชนิดนี้มีรายงานความเสียหายกับปาล์มน้ำมันในระยะต้นอ่อนซึ่งติดไส้เดือนฝอยชนิดนี้ง่าย R. cocophilus ชอบอาศัยในแหล่งปลูกพืชที่ชื้นๆ ติดต่อกันนาน 2-3 เดือน


สถานภาพศัตรูพืช : ศัตรูพืชกักกัน


ระดับความเสี่ยง : สูง



ขั้นตอนที่ 3 การจัดการความเสี่ยงศัตรูพืช ตามพระราชบัญญัติ กักพืช พ.ศ. 2507 แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติ กักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ได้แบ่งพืชออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. สิ่งต้องห้าม (Prohibited materials)
2. สิ่งกำกัด (Restricted materials) และ
3. สิ่งไม่ต้องห้าม (Unprohibited materials)


ปัจจุบัน ปาล์มน้ำมันไม่ว่าจะเป็นเมล็ดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของปาล์มน้ำมันจัดอยู่ในกลุ่มของพืชสิ่งกำกัด การนำสิ่งกำกัดเข้ามาในราชอาณาจักร นั้น ตามมาตรา 9 กำหนดไว้ว่า "ห้ามมิให้บุคคลใดนำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งกำกัด เว้นแต่จะมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชของเจ้าหน้าที่ของประเทศซึ่งสิ่งกำกัดนั้นออก" จากข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ปาล์มน้ำมันจากแหล่งต่างๆ ทั่วโลกสามารถส่งเข้ามาจำหน่ายยังประเทศไทยได้ โดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์นั้นในใบรับรองปลอดศัตรูพืช ไม่จำเป็นต้องมีคำรับรองใด ๆ พิเศษ แนบมากับสินค้าที่นำเข้า เพียงแต่เมื่อนำเข้ามาถึงราชอาณาจักร ต้องนำเข้าด่านตรวจพืชและผ่านการตรวจสอบศัตรูพืชก่อนนำเข้า


จากผลการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชกักกันปรากฏว่า ศัตรูพืชในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงนี้หากเข้ามาในประเทศไทยแล้วจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการผลิตพืชเพื่อส่งออกและ/หรือสภาพแวดล้อมของประเทศไทย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไปปรับปรุงมาตรการกักกันพืชใหม่ให้สอดคล้องกับชนิดของศัตรูพืช เพื่อให้สามารถป้องกันมิให้ศัตรูพืชร้ายแรงเหล่านั้นแพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทย เนื่องจากศัตรูพืชในแต่ละกลุ่มมีความสำคัญแตกต่างกัน ดังนั้น มาตรการจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชกักกันในแต่ละกลุ่มจะแตกต่างกันออกไป ดังนี้


1. การจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชกักกันที่มีความเสี่ยงสูง จะประกอบด้วยมาตรการ ดังนี้

(1) โดยอาศัยพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่
2) พ.ศ. 2542 ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดพืช ปาล์มน้ำมันเป็นสิ่งต้องห้าม


(2) พืชตามประกาศในข้อ (1) จะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ จนกว่าจะทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชเสร็จสิ้น โดยการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชจะเป็นไปตามคำแนะนำที่กำหนดในมาตรฐานนานาชาติสำหรับมาตรการสุขอนามัยพืช (International Standard for Phytosanitary Measures, ISPM) การนำเข้าเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุในข้อ (2) ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนด


2. การจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชกักกันกลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลาง จะประกอบด้วยมาตรการ ดังนี้

(2.1) หน่วยงานอารักขาพืชระดับประเทศจะต้องให้คำรับรองเพิ่มเติมในส่วนของข้อความเพิ่มเติม (Additional declaration) ในใบรับรองปลอดศัตรูพืช โดยระบุว่า "เมล็ดพันธุ์ของพืชในสินค้าที่นำเข้าชุดนี้ได้ผ่านการตรวจตามขั้นตอนทางราชการที่เหมาะสมแล้วและพบว่าปราศจากศัตรูพืช โดยระบุข้อความว่า “ ชื่อพืช Seed in this consignment have been inspected in accordance with appropriate official procedures and found free from Organism name "


(2.2) สินค้านำเข้าที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นจะต้องถูกทำลาย ส่งกลับ หรือผ่านการกำจัดศัตรูพืชที่เหมาะสมก่อนอนุญาตนำเข้า



3. การจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชกักกันกลุ่ม ที่มีความเสี่ยงต่ำ ศัตรูพืชกักกันในจะประกอบด้วยมาตรการดังนี้
(1) ระบุการคลุกยาในเมล็ดพันธุ์ก่อนการส่งออกลงในใบรับรองปลอดศัตรูพืช
(2) ระบุการรมยาเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืชก่อนการส่งออก
(3) สุ่มตัวอย่างและตรวจสอบในห้องปฏิบัติการหาศัตรูพืชเหล่านี้ซึ่งอาจจะติดมากับเมล็ดพันธุ์
(4) เมื่อตรวจสอบพบศัตรูพืชเหล่านี้ อาศัยอำนาจตามมาตรา 13 ในพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 สั่งให้ทำลาย ส่งกลับ คัดแยกสินค้าที่มีศัตรูพืชทำลายออก หรือกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการที่เหมาะสม



11. สรุปผลการทดลอง การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช จากรายงานการศึกพบว่าปาล์มน้ำมันมีศัตรูพืชจากทั่วโลกทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตจำนวนทั้งสิ้น 135 ชนิด แบ่งเป็น แมลง 78 ชนิด ไร 4 ชนิด ไส้เดือนฝอย 6 ชนิดโปรโตซัว 1 ชนิด เชื้อรา 22 ชนิด ไวรอยด์ 1 ชนิด และวัชพืช 23 ชนิด จำเป็นต้องมีการจัดการความเสี่ยงดังนี้
1. ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดพืช ปาล์มน้ำมันเป็นสิ่งต้องห้าม
2. ไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ จนกว่าจะทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชเสร็จสิ้น
3. ระบุการคลุกยาในเมล็ดพันธุ์ก่อนการส่งออกลงในใบรับรองปลอดศัตรูพืช
4. ระบุการรมยาเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืชก่อนการส่งออก
5. สุ่มตัวอย่างและตรวจสอบในห้องปฏิบัติการหาศัตรูพืชเหล่านี้ซึ่งอาจจะติดมากับเมล็ดพันธุ์
6.เมื่อตรวจสอบพบศัตรูพืชเหล่านี้ อาศัยอำนาจตามมาตรา 13 ในพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 สั่งให้ทำลาย ส่งกลับ คัดแยกสินค้าที่มีศัตรูพืชทำลายออก หรือกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการที่เหมาะสม



12. การนำไปใช้ประโยชน์
ใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับนักวิจัย หรือผู้ที่สนใจจะทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงของศัตรูเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันลี่กับประเทศคู่ค้าต่างๆ เพื่อออกมาตรการทางกฎหมายและวิชาการเพื่อควบคุมการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน โดยพิจารณากำหนดพืชดังกล่าวนี้ เป็นสิ่งต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติกักพืช และกำหนดเงื่อนไขประกอบการอนุญาตนำเข้าเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันตามพระราชบัญญัติกักพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ



13. เอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการเกษตร. 2548. ปาล์มน้ำมัน เอกสารวิชาการ ลำดับที่ 16 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.
กรมวิชาการเกษตร. 2548 แมลงที่พบในผลิตผลเกษตรและการป้องกันกำจัด เอกสารวิชาการลำดับที่ 1/2548 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.
กองกีฎและสัตววิทยา. 2544. แมลงศัตรูปาล์มน้ำมันในประเทศไทย กลุ่มวิจัยแมลงศัตรูพืชสวนอุตสาหกรรม กองกีฎและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.
ประยงค์ สูเตชะพันธุ์. 2547. ปาล์มน้ำมัน สำนักพิมพ์เกษตรสยามบุ๊ค ถนนเพชรเกษม ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ. 136 หน้า.
ปรัชญา รัศมีธรรมวงศ์. 2514. ปาล์มน้ำมัน สำนักพิมพ์เพชรกะรัตจำกัด ถนน บรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพ. 212 หน้า.
ชัยรัตน์ นิลนนท์ และจำเป็น อ่อนทอง. 2538. ปาล์มน้ำมัน คณะทรัพย์กรธรรมชาตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, อ.หาดใหญ่. จังหวัดสงขลา. 102 หน้า.




ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (2594 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©