-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 494 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย41





โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตส้มโอ 

การควบคุมแมลงศัตรูส้มโอด้วยการห่อผล การใช้สารเคมีร่วมกับการใช้กับดักสารล่อแมลงเพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิตส้มโอในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


คณะผู้ดำเนินงานวิจัย
หัวหน้าโครงการวิจัย วสันต์ ผ่องสมบูรณ์ สังกัด ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร
หัวหน้าการทดลอง กาญจนา ทองนะ สังกัด ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันหนองคาย
ผู้ร่วมงานทดลอง พสุ สกุลอารีวัฒนา สังกัด ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันหนองคาย
ศิริลักษณ์ สมนึก สังกัด ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันหนองคาย



บทคัดย่อ
ศึกษาการควบคุมแมลงศัตรูส้มโอด้วยการห่อผล การใช้สารเคมีร่วมกับการใช้กับดักล่อแมลงเพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิตส้มโอในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ สวนส้มโอ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 –กันยายน 2550 โดยดำเนินการทดสอบการห่อผล การใช้สารเคมี และการใช้กับดักล่อแมลงในสวนส้มโออายุ 7-8 ปี จำนวน 8 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า แมลงศัตรูส้มโอที่สำคัญในสวนส้มโอของเกษตรกร ได้แก่ เพลี้ยไฟ หนอนชอนใบ แมลงวันทอง สำหรับวิธีการควบคุมแมลงศัตรูส้มโอด้วยการใช้สารเคมีร่วมกับสารน้ำมัน มีแนวโน้มส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพทางกายภาพ (ขนาดผล สีผล ความแน่นเนื้อและระดับความเสียหายของผลผลิต) ดีที่สุด ส่วนคุณภาพทางเคมี (ความเป็นกรด-ด่างและความหวาน) ของผลผลิตทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกใช้กรรมวิธีการควบคุมแมลงศัตรูส้มโออาจต้องใช้วิธีผสมผสานเพื่อให้เหมาะสมกับฤดูกาลผลิตและสภาพพื้นที่



คำนำ
ส้มโอเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่ง สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ ขาวทองดี ขาวพวง ขาวแตงกวา ลักษณะต้นเป็นไม้ผลที่มีทรงพุ่มขนาดกลาง ต้นสูงประมาณ 3-4 เมตร ชอบดินที่เป็นกรด – ด่าง ประมาณ 5.5-5.6 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,500-2,000 มิลลิเมตร เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปี ระยะเวลาดอกบานถึงผลแก่ประมาณ 8 เดือนจึงเก็บเกี่ยวผลผลิต


สำหรับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะจังหวัดหนองคายส้มโอจัดเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง มีพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่ใกล้แม่น้ำโขง ผลิตเพื่อบริโภคและจำหน่ายภายในจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียง สามารถเก็บผลผลิตได้ 2 ช่วง คือ ช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน และช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปัญหาการผลิตส้มโอส่วนใหญ่ เกิดจากโรคและแมลง เช่น เพลี้ยไฟ หนอนชอนใบ แมลงวันทอง โรคแคงเกอร์ เป็นต้น ส่งผลให้ต้นได้รับความเสียหาย ผลหลุดร่วง ทำให้ปริมาณและคุณภาพผลผลิตลดลง จึงมีการศึกษาวิธีการควบคุมแมลงศัตรูส้มโอด้วยการห่อผล การใช้สารเคมี และการใช้กับดักสารล่อแมลง เพื่อหาแนวทางการจัดการโรคและแมลงศัตรูส้มโอที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



อุปกรณ์และวิธีการ
ดำเนินการทดลองในสวนส้มโอที่ให้ผลผลิตแล้วอายุ 7-8 ปี มีขนาดต้นและความสมบูรณ์สม่ำเสมอกัน วางแผนการทดลองแบบ RCB ประกอบด้วย 4 ซ้ำ และ 8 กรรมวิธี ดังนี้คือ


กรรมวิธีที่ 1 การใช้สารน้ำมัน
กรรมวิธีที่ 2 การใช้สารเคมี
กรรมวิธีที่ 3 การใช้สารน้ำมันและสารเคมี
กรรมวิธีที่ 4 การห่อผล
กรรมวิธีที่ 5 การใช้สารน้ำมันและการห่อผล
กรรมวิธีที่ 6 การใช้สารเคมีและการห่อผล
กรรมวิธีที่ 7 การใช้สารน้ำมันและสารเคมี ร่วมกับการห่อผล
กรรมวิธีที่ 8 การใช้น้ำ (control)

- จัดวางกับดักแมลงวันทองชนิด stainer’s trap โดยใช้เมธทิลยูจินอลเป็นเหยื่อล่อ
- พ่นสารต่างๆ ตามกรรมวิธีที่กำหนด ตั้งแต่ระยะออกดอกทุก 5-7 วันจนถึงระยะเก็บเกี่ยว
- ห่อผลส้มโอในระยะที่ผลขยายขนาดเต็มที่ประมาณ 5 เดือนหลังติดผล
- บันทึกข้อมูลคุณภาพผลตามมาตรฐาน ระดับความเสียหายและผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวดังนี้คือ


คุณภาพทางกายภาพ ได้แก่
1) ขนาดผล วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล และน้ำหนักผล โดยใช้เครื่องชั่งและเวอร์เนีย
2) สีผล วัดจากสีเปลือกผลโดยใช้แผ่นเทียบสีมาตรฐานของ The Royal Horticultural Society
3) ความแน่นเนื้อ วัดเนื้อสัมผัสโดยใช้ penetrometer มีหน่วยเป็นกิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
4) ระดับความเสียหายของผลผลิต พิจารณาโดยการกำหนดระดับความเสียหายของผลผลิตเป็น 4 ระดับ คือ 0 % หมายถึงไม่มีตำหนิ 5 % หมายถึงมีตำหนิร้อยละ 5 ของผล 10 % หมายถึงมี ตำหนิร้อยละ 10 ของผล และ 15 % หมายถึงมีตำหนิร้อยละ 15 ของผล


คุณภาพทางเคมี ได้แก่
1) ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)
2) ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (Soluble Solid Content) โดยใช้เครื่องมือ Hand refractometer มี หน่วยเป็นองศาบริกซ์



ระยะเวลา (เริ่มต้น- สิ้นสุด)ตุลาคม 2549-กันยายน 2550


สถานที่ดำเนินการ
- สวนส้มโอของนายสุบรรณ กัลยา เลขที่ 335/1 หมู่ที่ 10 ตำบลกองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
- ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันหนองคาย อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย



ผลการทดลองและวิจารณ์

ผลการทดลอง
จากการทดลอง เรื่องการควบคุมแมลงศัตรูส้มโอด้วยการห่อผล การใช้สารเคมีร่วมกับการใช้กับดักสารล่อแมลงเพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิตส้มโอในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในแปลงเกษตรมีผลดังนี้


1) ข้อมูลทั่วไปของสวนส้มโอ
สวนส้มโอมีพื้นที่ปลูกประมาณ 20 ไร่ ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ ดินร่วนปนเหนียว ไม้ผลที่ปลูกมีหลายชนิด เช่น ส้มโอ น้อยหน่า กระท้อน สำหรับส้มโอที่ทำการทดลอง คือ พันธุ์ขาวทองดี มีอายุต้น 7-8 ปี ใช้ระยะปลูก 8x8 เมตร วิธีการปฏิบัติดูแลรักษาและการจัดการตามแนวทางการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) สำหรับส้มโอ โดยการปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูก ดังนี้คือ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และพ่นปุ๋ยทางใบในระยะการเจริญเติบโตช่วงแรกเพื่อบำรุงต้นและเร่งยอด ประมาณช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ เริ่มออกดอกและดอกบาน จึงพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง เพื่อป้องกันเพลี้ยไฟและหนอนชอนใบ ร่วมกับการพ่นสารต่างๆตามกรรมวิธีที่กำหนด จากนั้นเมื่อผลส้มโอขยายผลเต็มจึงห่อผลและเก็บเกี่ยวผลผลิตเดือนสิงหาคม-กันยายน

ลักษณะทั่วไปของส้มโอพันธุ์ขาวทองดี เป็นส้มโอที่นิยมปลูกในภาคกลาง เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปีหลังปลูก ออกดอกเดือนมกราคมเก็บผลผลิตเดือนสิงหาคม-กันยายน ถ้าเป็นทวายจะออกดอกเดือนมิถุนายน เก็บผลผลิตเดือนมีนาคม-เมษายน ลักษณะผลกลมแป้นหัวจีบเล็กน้อย มีขนาดปานกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 14-16 เซนติเมตร เยื่อหุ้มกลีบสีชมพูเรื่อๆ เนื้อกุ้งฉ่ำสีชมพูอ่อน รสหวานจัด นิยมบริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ (กรมวิชาการเกษตร, 2547) จากการเก็บข้อมูลสวนส้มโอก่อนการทดลอง พบว่าต้นส้มโอส่วนใหญ่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 83.05 เซนติเมตร ความสูง 4.93 เมตร และความกว้างทรงพุ่มเฉลี่ย 3.78 เมตร


2) การระบาดของโรคและแมลง
จากการสำรวจภายในสวนพบว่ามีแมลงศัตรูที่สำคัญแตกต่างกันไปตามช่วงการเจริญเติบโต โดยระยะการแตกยอดอ่อน ออกดอกและติดผลอ่อนมีการระบาดของเพลี้ยไฟ และหนอนชอนใบ ทำให้ต้นส้มโอได้รับความเสียหายยอดหงิก ใบร่วง ผลไม่เจริญเติบโต และหลุดร่วงเป็นจำนวนมาก อาจเนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนน้อย และระยะที่มีการพัฒนาการของผล พบว่ามีการทำลายของแมลงวันทองเป็นจำนวนมาก เมื่อเก็บข้อมูลจากการใช้กับดักแมลง stainer’s trap โดยใช้เมธทิลยูจินอลเป็นเหยื่อล่อภายในสวนจำนวน 10 จุด สามารถดักจับแมลงวันทองได้ประมาณ 65-100 ตัวต่อกับดัก 1 จุด (ภาพที่ 2) แต่การใช้กับดักแมลงในการทดลองครั้งนี้มีข้อจำกัดบางประการ คือ ปกติภายในสวนไม่มีการวางกับดักมีการระบาดของแมลงวันทองเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อมีการวางกับดักพบว่ามีการระบาดของแมลงวันทองเพิ่มขึ้นประมาณ 30 % อาจมีสาเหตุเนื่องจากสวนบริเวณใกล้เคียงไม่ใช้กับดักสารล่อแมลง ทำให้สวนนี้เป็นจุดดึงดูดแมลงวันทองจากบริเวณใกล้เคียง ดังนั้นเกษตรกรจึงยกเลิกวิธีการป้องกันแมลงศัตรูแบบใช้กับดักสารล่อแมลง


คุณภาพของผลผลิต
ขนาดผล :
จากค่าเฉลี่ยของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล และน้ำหนักผล พบว่ากรรมวิธีการใช้สารเคมีร่วมกับการใช้สารน้ำมันมีแนวโน้มทำให้ส้มโอมีขนาดผลใหญ่ที่สุด ส่วนกรรมวิธีอื่นๆ มีขนาดผลใกล้เคียงกัน โดยมีค่าเฉลี่ยของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล อยู่ระหว่าง 11.0-11.8 เซนติเมตร และน้ำหนักผล 0.64-0.92 กิโลกรัม

สีผล :
จากการวัดสีของผลผลิตโดยใช้แผ่นเทียบสีมาตรฐาน พบว่า ผลผลิตจากทุกกรรมวิธีมีสีผลอยู่ในกลุ่มสีเขียวเหลือง มีช่วงสีมาตรฐานระหว่าง YG144 – YG154

ความแน่นเนื้อ : จากการทดสอบเนื้อสัมผัสหรือความแน่นเนื้อของผลส้มโอโดยใช้เครื่องมือ penetrometer พบว่ากรรมวิธีการห่อผลมีแนวโน้มของความแน่นเนื้อเฉลี่ยมากที่สุดคือ 4.13 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และการใช้สารเคมีผลมีความแน่นเนื้อเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ 3.72 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ส่วนกรรมวิธีอื่นๆมีค่าใกล้เคียงกันคือ 3.88-4.07 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร

ระดับความเสียหายของผลผลิต :
จากการสุ่มประเมินความเสียหายของผลผลิตส้มโอในทุกกรรมวิธีมีระดับความเสียหายดังตารางที่ 1 พบว่ากรรมวิธีการใช้สารเคมีและสารน้ำมันมีระดับความเสียหายน้อยที่สุด มีคุณภาพผิวผลดีที่สุด คือผิวไม่มีตำหนิ 25 % และการใช้สารน้ำมันเพียงอย่างเดียวทำให้ลักษณะผิวผลมีรอยตำหนิมากที่สุด คือ 35 % เมื่อเทียบกับกรรมวิธีอื่นๆ




ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (3443 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©