-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 221 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ทุเรียน




หน้า: 5/13



15. ทุเรียนไร้กลิ่น "นวลทองจันท์" ไม่พอขาย
หลังตลาดต่างประเทศจองสินค้าหมดแล้ว


นายสุเทพ นพพันธ์ เจ้าของสวนทุเรียนไร้กลิ่น พันธุ์นวลทองจันท์ ซึ่งเป็นทุเรียนคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ มีราคาสูงกิโลกรัมละ 200 บาทและเป็นทุเรียนพันธุ์เดียวที่มีราคาที่สุด เปิดเผยว่า ทุเรียนพันธุ์นวลทองจันท์ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นอย่างมากเนื่องจากทุเรียนนวลทองจันท์ เป็นทุเรียนที่มีกลิ่นน้อย เป็นทุเรียนพันธุ์ผสม ที่เกิดขึ้นอย่างไม่ได้ตั้งใจระหว่างทุเรียนพันธุ์ หมอนทอง กับ ทุเรียนพันธุ์พวงมณี


โดยนำเกสรดอกมาผสมกัน เมื่อได้ลูกจึงนำเมล็ดมาเพาะปลูก เป็นต้นพ่อ – แม่ พันธุ์ ตั้งชื่อว่า พันธุ์ นวลทองจันท์ ปัจจุบันให้ผลผลิต มีจุดเด่นรสชาติหวาน – มัน เนื้อมาก สีเข้มกว่าทุเรียนพันธุ์อื่นๆ แต่ที่สำคัญไม่ค่อยมีกลิ่น จึงเป็นที่ต้องการของตลาดแหล่งใหม่ โดยเฉพาะลูกค้าในประเทศดูไบ และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ปีนี้มีตัวแทนจำหน่ายจากห้างสรรพสินค้าชั้นนำของประเทศ มาทำสัญญา ซื้อ – ขาย ล่วงหน้า ในราคากิโลกรัมละ 200 บาท


สำหรับสวนนวลทองจันท์ มีพื้นที่เพาะปลูกผลไม้ทั้งสิ้น 150 ไร่ มีทุเรียนรวม 3,000 ต้น ในจำนวนนี้เป็นทุเรียนพันธุ์นวลทองจันท์ 70 ต้น ที่เหลือเป็นพันธุ์หมอนทอง ชะนี พวงมณี นอกจากนี้ในแต่ละปีจะมีเกษตรกรชาวสวน อบต.และ เทศบาล จากต่างจังหวัดเดินทางเข้าศึกษาดูงานอยู่เป็นประจำจนทำให้ ทุเรียนพันธุ์นวลทองจันท์เริ่มมีเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และเป็นที่สนใจจากเกษตรกรในหลายจังหวัดที่อยากได้พันธุ์นำไปปลูกในจังหวัดของตัวเองบ้าง


นายสุเทพ กล่าวต่อว่า ทางสวนฯ ก็ไม่ได้มีการหวงวิชาแต่อย่างไรและพร้อมให้คำแนะนำ และวิธีในการดูแลเอาใจใส่ กับทุเรียนพันธุ์นวลทองจันท์ให้กับผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงาน อย่างเต็มใจ พร้อมกันนี้ทางจังหวัดยังมีการเตรียมนำเอาทุเรียนพันธุ์นี้ไปแสดงในงานมหกรรมทุเรียนโลกที่ทางจังหวัดจันทบุรีจะจัดขึ้นในเดือนนี้อีกด้วย


ที่มา  :  โพสต์ทูเดย์


********************************************************


16.ทุเรียนพวงมณี ทุเรียนพันธุ์เล็กกำลังรุ่ง


มนตรี แสนสุข

ทุเรียนพวงมณี เป็นทุเรียนสายพันธุ์ดั้งเดิมอีกสายพันธุ์หนึ่งที่นิยมปลูกกันมากในเขตภาคใต้ ต่อมาปริมาณการปลูกทุเรียนสายพันธุ์นี้เริ่มลดลงก็เพราะถูกกระแสความนิยมทุเรียนพันธุ์หมอนทองเข้ามาตีตลาดกระจุยกระเจิง จนปัจจุบันทุเรียนพันธุ์พวงมณีแทบจะไม่มีใครปลูกกัน

ทุเรียนพวงมณีเข้ามาแพร่พันธุ์ในเขตภาคตะวันออก แถวจังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง มาหลายสิบปีแล้ว แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร สาเหตุก็เนื่องจากถูกกระแสความนิยมทุเรียนพันธุ์หมอนทองมากลบจนหมดสิ้นดังกล่าว ที่มีปลูกอยู่บ้างก็เพื่ออนุรักษ์ไว้ดูเล่น แซมสวนทุเรียนหมอนทองและสวนผสมผลไม้ตามสไตล์สวนผลไม้ผสมทุเรียน มังคุด ลองกอง อันเป็นแบบฉบับของสวนผสมเขตภาคตะวันออก

คุณลุงประยุทธ อยู่สุข ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่อนุรักษ์สายพันธุ์ทุเรียนพวงมณีเอาไว้ คุณลุงประยุทธ เริ่มปลูกทุเรียนพวงมณีเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ปัจจุบันมีทุเรียนพวงมณีออกสู่ตลาดพอสมควรในแต่ละปี

คุณลุงประยุทธ เป็นชาวตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง แต่ไปจับงานทำสวนผลไม้อีกแห่งหนึ่งที่บ้านหมู่ 3 ตำบลพลงตาเอี่ยม อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ในเนื้อที่ 30 ไร่ เมื่อ 20 กว่าปีที่ผ่านมา คุณลุงประยุทธ ลงทุเรียนหมอนทอง ทุเรียนก้านยาว มังคุด และลองกอง ทำเป็นสวนผสม แต่จะเน้นทุเรียนเป็นหลัก คุณลุงประยุทธ บอกว่า

"ผมทำสวนที่วังจันทร์ ดูเหมือนว่าจะเป็นยุคบุกเบิกรุ่นที่สองก็ว่าได้ เพราะก่อนหน้าที่จะมาลงหลักปักฐานทำสวนผสมบริเวณพื้นที่แห่งนี้ มีคนมาทำสวนทุเรียนอยู่หลายสวนเหมือนกัน"

พื้นที่เขตอำเภอวังจันทร์อยู่เหนือระดับน้ำทะเล เป็นยอดเขาสูง มีฝนตกชุกมากกว่าพื้นที่อื่นๆ เหมาะกับการปลูกทุเรียนมาก

คุณลุงประยุทธ บอกว่า มาทำสวนแรกๆ ก็ลุ่มๆ ดอนๆ ได้ผลผลิตดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ต่อมาเมื่อ 5 ปีก่อน เกิดลมพายุพัดต้นทุเรียนเสียหายเป็นจำนวนมาก ก็คิดจะปลูกทุเรียนซ่อมขึ้นมาใหม่ พอดีไปเจอพรรคพวกทำสวนทุเรียนอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี แนะนำว่าให้ลองเอาพันธุ์ทุเรียนพวงมณีไปปลูกดูบ้าง เผื่อจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ชอบบริโภคทุเรียน

คุณลุงประยุทธ กล่าวอีกว่า เพื่อนบอกมาว่าทุเรียนพวงมณีเป็นทุเรียนจากทางภาคใต้ ชาวสวนแถวจันทบุรีไปเอาพันธุ์มาปลูก เป็นทุเรียนรสชาติดี หวานหอม แต่ผลเล็กย่อมกว่าทุเรียนหมอนทองมาก

"ครั้งแรกผมไปเอากิ่งพันธุ์พวงมณีมา 6-7 กิ่ง แล้วเอามาเสียบยอดกับต้นตอทุเรียนหมอนทอง ที่ลงปลูกไว้ ต้นสูงราว 1 ศอก เปลี่ยนยอดใหม่เป็นพวงมณี"

การปฏิบัติดูแลก็เหมือนกับการดูแลทุเรียนหมอนทอง ต่อมาเพื่อนที่ขยายพันธุ์ไม้ขาย เขาทำกิ่งพวงมณีไว้ แล้วขายไม่ได้ กิ่งพันธุ์โตขึ้นเรื่อยๆ จนสูงใหญ่มาก ก็เลยให้มาปลูกอีก 30 ต้น

ปลูกทุเรียนพวงมณีราว 4-5 ปี ก็ได้ผลผลิต ทุเรียนพวงมณีนั้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ต่างจากทุเรียนหมอนทองและชะนี เวลาติดผลใช้เชือกฟางโยงกิ่งใหญ่อย่างเดียวก็พอ โยงเพื่อเวลาผลทุเรียนใหญ่ขึ้น กิ่งจะได้ไม่หัก ข้อดีของต้นทุเรียนพวงมณี คือกิ่งแข็งแรงเพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง

การดูแลทุเรียนพวงมณีสบายกว่าดูแลทุเรียนหมอนทองเยอะ ทุเรียนหมอนทองค่อนข้างอ่อนแอ ยุ่งยาก ปลูกทุเรียนพวงมณีแซมสวน ไม่ต้องเสียเวลาไปดูแลเลย ปล่อยไปตามธรรมชาติก็ได้รับประทานผลแล้ว เอาเวลาไปดูทุเรียนหมอนทองมากกว่า หมอนทองต้องซอยกิ่งอยู่เรื่อย ถ้าไม่ซอยกิ่งตั้งแต่ต้นเล็กๆ จะไม่สวย แตกข้างเยอะเกินไป ส่วนพวงมณีไม่ต้อง ต้นจะพุ่งสูงชะลูดขึ้นไปเลย

การใส่ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยทั่วๆ ไป สูตร 16-16-16 หลังจากเก็บผลผลิตหมดเป็นการบำรุงต้น จากนั้นก็ไปใส่ปุ๋ยเร่ง 8-24-24 ช่วงปลายฝนใส่ปุ๋ยเร่งก่อน 1-2 เดือน รับลมหนาวมาเยือน นั่นก็คือต้องใส่ปุ๋ยราวเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม พอรู้ว่าฝนจะหมดเดือนไหนต้องคอยติดตามฟังข่าวจากกรมอุตุนิยมวิทยาว่าดินฟ้าอากาศจะเป็นอย่างไรบ้าง ก็ให้เตรียมโคนต้น ทำการแหวกโคน ดายหญ้าออก กวาดเอาใบไม้ออกให้โล่งเตียน แล้วใส่ปุ๋ยเร่ง 8-24-24 ให้ทั้งทุเรียนหมอนทองด้วย

พอลมหนาวกระทบดอกทุเรียนจะติดพร้อมๆ กันทั้งสวน จนกระทั่งติดผล สำหรับทุเรียนหมอนทองไม่ต้องซอยผล ถึงเวลาต้นจะสลัดผลไม่ดีทิ้งเอง แต่กับพวงมณีต้องซอยผลทิ้ง ถ้าไม่ซอยทิ้งผลใหญ่ขึ้นๆ จะทำให้กิ่งหักได้ เพราะทุเรียนพันธุ์นี้ติดผลดกมาก ผลติดเป็นกระจุกๆ ต้องซอยให้ผลห่างๆ อย่าไว้เป็นกลุ่ม จะดูแลรักษายาก ถ้าต้นสูงๆ ก็ต้องใช้ไม้ติดใบมีดแทงผลเล็กๆ ออก

ช่วงติดดอกก่อนติดผล ทางดินให้ปุ๋ย 8-24-24 อีกครั้ง ฉีดยาป้องกันเพลี้ยและหนอน 2 ครั้ง พอดอกบานก็หยุดให้ยาจนกระทั่งติดผลเล็กๆ ขึ้นลูกต้องฉีดยาป้องกันหนอน เพลี้ยไฟ ไรแดง เข้าทำลายผลอ่อน น้ำให้ปกติ 3-4 วันครั้ง ฉีดยาป้องกันหนอน 3-4 เที่ยว ทิ้งระยะห่างครึ่งเดือน ต่อครั้ง ทางดินให้ปุ๋ยเร่งอีก 3 หน

คุณลุงประยุทธ บอกว่า ทุเรียนหมอนทองใช้เวลา 120 วัน จากติดดอกจนเก็บได้ ส่วนพวงมณีกับชะนีใช้เวลา 90 วัน ก็เก็บได้ ขณะที่ผลแก่ต้องฉีดยาป้องกันเชื้อราตลอด ในเขตอำเภอวังจันทร์นั้นฝนตกชุกมาก จึงจำเป็นต้องฉีดยาป้องกันเชื้อราบ่อยหน่อย

ทุเรียนพวงมณีผลเล็กกว่าหมอนทอง ทรงผลของพวงมณีออกทรงรูปไข่ หนามของพวงมณีใหญ่สั้น หนามของหมอนทองแหลมยาว พวงมณีขั้วยาวเล็ก ส่วนหมอนทองขั้วสั้นใหญ่ พวงมณีแก่เต็มที่ผลหนึ่งไม่เกิน 2 กิโลกรัม แต่ถ้าไว้ผลน้อยๆ ก็อาจจะได้ใหญ่กว่านี้

พวงมณีเมล็ดโต สีเนื้อสวยออกเหลืองจำปา กลิ่นไม่ฉุนจัดเหมือนหมอนทองและชะนี รสชาติของพวงมณีออกหวานมัน รับประทานแล้วรับรองไม่มีอาการเรอเอิ้กอ้ากออกมา

สำหรับตลาดของทุเรียนพวงมณีนั้น คุณลุงประยุทธ บอกว่า บางครั้งก็มีพ่อค้าเข้ามาตัดถึงสวน บางครั้งก็ต้องขนทุเรียนออกไปขาย ไปส่งเอง ตลาดใหญ่อยู่ที่ตลาดเขาดินหรือไม่ก็เอาไปส่งล้งทุเรียนที่จันทบุรี ที่นั่นมีล้งรับซื้อทุเรียนพวงมณีโดยเฉพาะ เขานำส่งภาคใต้ ส่งประเทศมาเลเซีย คนที่นั่นนิยมบริโภคกัน

ส่วนสถานการณ์การระบาดของหนอนเจาะติดทุเรียนในเขตวังจันทร์ที่เคยมีการระบาดรุนแรงมาก่อนปัจจุบันนี้ คุณลุงประยุทธ บอกว่า ก็ยังพอมีการระบาดอยู่แต่ก็ไม่ค่อยมากแล้ว ทางเจ้าหน้าที่เกษตรก็เข้ามาอบรมชาวสวนให้รู้จักวิธีป้องกันกำจัดหนอนเจาะต้น ทำให้ลดปริมาณการระบาดของประชากรหนอนไปได้มากทีเดียว เจอรูที่ต้นให้เอาขวานถากต้นตามล่าหนอนในรู เห็นตัวเอาไม้แหลมจิ้มออกมาเลย หรือไม่ก็ฉีดยาไซเปอร์ กำมะถันผง และเชฟวิ่งผสมกันฉีดทางผล และหยอดเข้าไปในรูหาดินอุดรูฆ่าหนอนที่อยู่ข้างใน

คุณลุงประยุทธ บอกว่า พวงมณีมีลูกค้าอยู่บ้างพอสมควร คนที่รู้จักทุเรียนพันธุ์นี้พอเห็นเข้าเป็นซื้อเลย แต่ที่ยังไม่รู้จักก็มีอยู่อีกมาก เวลาเอาไปขายต้องแนะนำให้ทดลองชิมดู

"เพื่อนๆ ผมมาเห็นเข้า มันถามว่าทุเรียนพันธุ์อะไรทำไมผลเล็ก ผมก็ตอบไปว่าพันธุ์พวงมณี มันก็ขอเอาไปชิมลูกหนึ่ง มาอย่างนี้บ่อยๆ ขอชิมลูกหนึ่ง กว่าจะมีคนรู้จักพวงมณีครบทุกคน ทุเรียนคงหมดสวน"

คุณลุงประยุทธ กล่าวอย่างสนุกสนาน สร้างเสียงหัวเราะชอบใจได้พอสมควร แถววังจันทร์ยังไม่มีใครปลูกเป็นการค้ามากๆ จะมีก็รายคุณลุงนี่แหละ สนใจจะไปชมทุเรียนพวงมณีต้องไปต้นฤดูกาลทุเรียน เพราะทุเรียนพันธุ์นี้จะเก็บก่อนหมอนทอง อยากจะพูดคุยกันในเรื่องของพวงมณี ลองโทร.ไปคุยกันที่ (081) 429-6058 เจ้าตัวยินดีต้อนรับทุกท่าน


ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน

****************************************************************



 

 
17.   หลง-หลิน เมืองลับแล
         

ต้นฤดูผลไม้ปีนี้เจอทุเรียนอ่อน จนรู้สึกได้ว่า ถ้าเกษตรกรชาวสวนยังคิดกันแบบนี้ อนาคตผลไม้ไทยก็ไม่น่าจะไปได้ไกล

ต้นฤดูทุเรียนอ่อน เพราะราคาดี เลยรีบเก็บออกขาย คนซื้อก็ไม่ได้ของคุณภาพทั้งที่ราคาแพง

แม้ฟ้าช่วงฝนหนักดูน่ากลัวน่าหดหู่ แต่ฟ้าหลังฝนมันก็สดใสจริงๆครับ ผมมีโอกาสได้ลิ้มชิมรสทุเรียนพันธุ์นกกระจิบจากสวนคุณไพบูลย์ อรัญนารถ แห่งต.นาตาขวัญ อ.เมือง จ.ระยอง นอกจากคุณภาพเยี่ยมแล้ว กระบวนการผลิตและความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ทำให้นกกระจิบที่ระยองสามารถสร้างราคาได้กิโลละ 90 บาท ถือเป็นราคาที่ดีมาก

จริงๆที่สวนคุณไพบูลย์ยังมีทุเรียนพันธุ์หลง กับพันธุ์หลิน แห่งเมืองลับแล แต่ไม่มีโอกาสลิ้มชิมรส จนกระทั่งพรรคพวกเพื่อนฝูงผู้มีอุปการคุณส่งทุเรียนมาให้ชิม 2 รอบ

รูปโฉมโนมพรรณสำหรับคนกินสมัครเล่นอย่างผม มองแล้วมันก็ไม่ต่างจากพันธุ์นกกระจิบ ขนาดลูกเล็กไม่เกิน 1 กิโล เปลือกบาง สุกแล้วปอกด้วยสองมือโดยไม่พึ่งมีดเลยก็ยังได้ เนื้อหวานละเอียด อร่อยครับ เม็ดลีบเล็ก เหมาะสำหรับทานคนเดียวเหมือนอย่างที่เคยคิดอ่านว่า เมื่อไหร่นักวิจัยจะสร้างพันธุ์ทุเรียนที่กินคนเดียวได้หมด ไม่ต้องแกะใส่ตู้เย็น

หลงลับแลไม่มีกลิ่นรัญจวน ผิดกับหลินกลิ่นแรงหน่อย คอทุเรียนไม่ว่าสมัครเล่นหรืออาชีพรับได้หมด

ปีนี้ถือว่าโชคดีมาก ที่ได้สัมผัสลิ้มรสทุเรียนพันธุ์ดี 3 ชนิด คือกระจิบ หลง และหลิน สำหรับผมนั้น เรียกว่า ลืมหมอนทอง ชะนี ก้านยาวไปได้เลย

เชื่อว่า ในปีต่อๆไปทุเรียนสายพันธุ์พื้นเมืองเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทในตลาดทุเรียนมากขึ้น ทั้งที่ราคาดีตั้งแต่ระดับ 90 บาทจนถึง 150-250 บาทต่อกิโล

สำหรับทุเรียนเมืองลับแล หรืออุตรดิตถ์นั้น ความจริงมีมานานแล้วเป็นพันธุ์พื้นเมืองของเขา แต่บริโภคกันภายในถิ่น เพิ่งเริ่มขยายตลาดกันไม่น่าจะนานนัก

ถามว่า พันธุ์เหล่านี้เป็นพันธุ์ใหม่ไหม ตอบได้เลยว่า ไม่ ตรงข้ามเป็นพันธุ์เก่ากี่ถูกลืมด้วยซ้ำ

นี่คือคำตอบว่า ถ้ามีวิธีคิดที่ถูกต้อง บริหารจัดการถูกต้อง พันธุ์พื้นเมืองที่มีความหลากหลายก็จะอยู่รอดได้ เป็นเรื่องของกระทรวงเกษตรฯและกระทรวงพาณิชย์ ต้องนั่งพิจารณามากกว่า แค่จะคิดง่ายๆ ขายง่ายๆเอาความสะดวกเป็นเกณฑ์

ทั้งสองกระทรวงคิดเหมือนคนสร้างหนังไทย ละครไทย นึกเอาแต่ว่า จะยัดเยียดอะไรให้กิน ให้เสพ ให้ชม คนไทยก็จะเอาอย่างนั้น โดยไม่เคยนึกว่า ความหลากหลายของสายพันธุ์นั้นคือมรดกอันยิ่งใหญ่ที่สามารถขยายผลได้ สร้างชื่อ สร้างราคาได้

ทุกวันนี้หมอนทองกลายเป็นพันธุ์พื้นฐานที่นักกินทุเรียนอาชีพแล้ว เขาไม่อยากกิน เขาอยากกินอะไรที่มันหลากหลายกว่านี้ ได้รส ได้ชาติกว่านี้

พูดไปแล้วก็เหมือนพนักงานบริการบนเครื่องบิน สารการบินแห่งชาติ แอบนินทาหลับหลังว่า บรรดาผู้ยิ่งใหญ่ของเมืองไทยทั้งหลาย ขนาดเสิร์ฟไวน์หมดอายุแล้ว ยังบอกว่าอร่อยๆอยู่นั่นแหละ เพราะไม่เคยรู้ว่าไวน์ดีรสชาติเป็นยังไง

เรื่องผลไม้ เรื่องพืชผลการเกษตร หน่วยงานรัฐต้องเปลี่ยนวิธีคิดเรื่องการผลิตได้แล้ว เปลี่ยนวิธีคิดในการทำตลาดเสียที

ไม่งั้นเป็นได้แค่ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ หรือไม่ก็ละม้ายผู้ใหญ่กินไวน์นั่นแหละครับ

ชีวินตัย


ที่มา  :  แนวหน้า





หน้าก่อน หน้าก่อน (4/13) - หน้าถัดไป (6/13) หน้าถัดไป


Content ©