-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 475 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ทุเรียน




หน้า: 4/13



1.ทุเรียนจันทบุรี 1


1. สายพันธุ์อะไร แม่ชะนี กับ พ่อหมอนทอง

2. เริ่มเมื่อไหร่ ที่ไหน ผสมพันธุ์ปี 2529-2530 ที่ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี

3. ผสมโดยวิธีไหน กี่ชั่วอายุ ปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีปกติ (Conventional Breeding) เป็นลูกผสมชั่วที่ 1


4. ลักษณะพิเศษ

4.1 ให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ในช่วงต้นฤดูของทุเรียนในภาคตะวันออก (เดือนมีนาคม- เมษายน ) อายุเก็บเกี่ยวสั้น

4.2 เปอร์เซ็นต์การติดผลเมื่อ 4 สัปดาห์หลังดอกบาน คือ 15.05% (เฉลี่ย 9 ปี ) ดีกว่าพันธุ์ชะนี ร้อยละ 79.0

4.3 ลักษณะภายนอกมีพูสมบูรณ์ รูปทรงกลมรี น้ำหนักผลระหว่าง 2.65- 3.61 กก. เนื้อหนา 0.75 ซม. เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ 40.50 (เฉลี่ย 9 ปี % สีเนื้อ (Y 11A) รสชาติดี หวานมัน เนื้อค่อนข้างละเอียด กลิ่นอ่อน เนื้อคงสภาพได้นาน ไม่เละ หลังปลิงหลุดหรือหล่น


5. ผลผลิต/ต้น 17.48 กก/ต้น (ค่าเฉลี่ย 9 ปี) แต่เนื่องจากเป็นการปลูกในระยะชิด 3x8 ม. จึงยังให้ผลผลิตไม่เต็มที่ สำหรับผลผลิต/ต้น/ไร่ ต้องรอจากแปลงทดสอบพันธุ์อีก 2-3 ปี ซึ่งมีการปลูกในระยะปกติ (8x8 เมตร)

6. อายุที่เริ่มให้ผลผลิต ต้นดั้งเดิมเพาะจากเมล็ดเป็นลูกผสมชั่วที่ 1 อายุประมาณ 8 ปี เริ่มให้ผลผลิต

7. กี่วันเก็บเกี่ยวได้ ดอกบานเมื่อไหร่ 104 วัน หลังดอกบาน ดอกบานเดือนมกราคม

8. ในฤดูหรือนอกฤดู ต้นฤดู

9. ผลิตต้นพันธุ์จ่ายไปแล้วกี่ต้น ผลิตต้นพันธุ์ได้ประมาณ 2,300 ต้น ต้นกล้าผลิตปี 2550 แจกจ่ายประมาณ 800 ต้น ส่วนที่เหลือปลูกทดสอบพันธุ์ ในสวนเกษตรกร และส่วนราชการ รวมทั้งสร้างแปลงผลิตพันธุ์หลักสำหรับขยายพันธุ์แจกจ่ายแก่เกษตรกร

10. จุดอ่อนของพันธุ์นี้หรืออะไร ระวังโรครากเน่าโคนเน่า


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร

*********************************************************************

2.แก้ไขทุเรียนราคาตกต่ำ


จากปีที่แล้วเรื่องราวของราคาทุเรียนตกต่ำ ยังฝังอยู่ในใจชาวสวนทุเรียน ภาคตะวันออกทุก
คนจากธรรมชาติที่แปรปรวน ในปี 2537 ส่งผลให้ทุเรียนภาคตะวันออก ติดดอกพร้อมๆ กัน
เมื่อผลผลิตออกมาประดังประดากันในท้องตลาดแล้ว ซ้ำร้ายปัญหาทุเรียนอ่อนที่ทะลักออก
มาสู่ตลาด ไม่ว่าจะด้วยความตั้งในหรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเกษตรกรก็พากันฉุดให้
ตลาดทุเรียนตกต่ำลงไปอีก คงเป็นบทเรียนที่เราทุกคนควรจดจำและแก้ไขด้วยจิตสำนึกเพื่อ
อนาคตร่วมกัน จังหวัดระยอง ถือได้ว่าเป็นพื้นที่หลักในการป้อนทุเรียนสู่ตลาดอีกจังหวัดหนึ่ง
ของประเทศ อนาคตของทุเรียนระยองในปีนี้ ท่านเกษตรกรจังหวัดระยอง ( คุณขจิตต์ กิตติ
กรณ์เทวิน ) ได้ให้สัมภาษณ์กับทีมงานวารสารชาวสวนว่า " การผลิตทุเรียนของจังหวัดปีนี้
ผลผลิตน่าจะลดลงจากปีที่แล้วเนื่องจาก ในปี 2538 สวนทุเรียนถูกน้ำท่วมจนได้รับความ
เสียหายเป็นจำนวนมากจึงทำให้ทุเรียนในปีนี้ทยอยออกมาหลายรุ่นจะเริ่มสุกตั้งแต่ปลายเดือน
เมษายนจนถึงราวเดือนพฤษภาคม และกรกฎาคม ผลผลิตจะไม่ประดังประดาเหมือนปีที่แล้ว
ซึ่งผลผลิตเหลือในตลาด 4,000 กว่าต้น ในปีนี้ผู้บริโภคก็จะสามารถบริโภคได้ในช่วงระยะ
เวลา 3 -4 เดือนเลยทีเดียว ปริมารผลผลิตนั้นจากพื้นที่ปลูกในจังหวัดทั้งหมด 9 หมื่นกว่าไร่
ตอนนี้ก็ให้ผลผลิตแล้ว 7 หมื่น 3 พันไร่เศษ คาดว่านี้ทางจังหวัดจะได้ผลผลิตรวมกว่า 1
แสนตัน และทางด้านราคาทุเรียนในปีนี้คงจะดีกว่าปีที่แล้วมา ก เนื่องจากทางส่วนราชการ
ได้เปิดให้มีการฝึกอบรมเพื่อให้เกษตรกรรู้จักวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องต่อทุเรียน และเน้นเรื่องคุณ
ธรรมประโยชน์ส่วนรวม ไม่ให้เกษตรกรเห็นแก่ราคาที่จูงใจจึงตัดทุเรียนอ่อนขาย " จาก
นโยบายที่จะป้องกันปัญหาการตัดทุเรียนอ่อนอย่างจริงจ ัง จังหวัดระยองโดยความร่วมมือ
ระหว่าง สำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง และสถาบันวิจัยพืชสวนจันทบุรีจึงได้จัดการผึกอบรม
หลักสูตร "เทคนิคการเก็บเกี่ยวทุเรียนคุณภาพ" ขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ที่ผ่านมาโดยเชิญ
ตัวแทนเกษตรกร จำนวน 40 คน เข้ารับการอบรม ในโอกาสนี้ทีมงานวารสารชาวสวนก็ได้
มีโอกาสเข้าร่วมด้วย ทำให้ได้ทราบถึงวิธีการจัดการทุเรียนให้ได้ผลผลิตคุณภาพ ตั้งแต่เริ่ม
ติดผลกันเลยทีเดียว โดยการอบรมในหัวข้อการปฏิสนธิการพัฒนาของผลทุเรียน และอายุ
การเก็บเกี่ยวทุเรียน มีวิทยากรคือ คุณเสริมสุข สลักเพชร นักวิชาการจาก ศูนย์วิจัยพืชสวน
จันทรบุรี ได้ให้ความรู้ไว้ดังนี้ ผสมเกสรอย่างไรให้ได้ผลแน่นอน ดอกทุเรียนจะต้องได้รับ
การผสมในช่วงกลางคืน มิฉะนั้นจะร่วงหมดในตอนเช้าดังนั้น เกษตรกรที่ไม่มีเวลาช่วยผสม
เกสรหรือต้องการความมั่นใจว่าจะผสมติด ควรมีการจัดการน้ำ โดยให้น้ำน้อยลง 1 ใน 3
ของปกติ ในช่วงก่อนดอกบาน 1 สัปดาห์ วิธีนี้เมื่อดอกบานแล้วจะสามารถอยู่บนต้นได้จน
ถึงตอนเช้า จึงเปิดโอกาสให้แมลงช่วยผสมได้อีกครั้งหนึ่ง และเมื่อผสมแล้วต้องค่อยๆ ให้
น้ำจนเต็มที่ภายใน 1 สัปดาห์ สังเกตว่าถ้าให้น้ำอย่างถูกต้อง ส่วนหางแย้จะไหม้พอดีและผล
ที่เริ่มติดจะไม่บิดเบี้ยว การไว้ผลต้องสัมพันธ์กับตำแหน่งของผล ปริมาณการไว้ผลต่อกิ่ง
ต้องพิจารณาถึงจำนวนใบว่ามีความหนาแน่นพอ กิ่งมีความสมบูร์และอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะ
สมด้วย เช่น ในกรณีนี้เสนอตัวอย่างการไว้ผลเป็นกลุ่ม ว่าควรให้ตำแหน่งผลกลุ่มนั้นอยู่บริเวณ
โคนกิ่งด้านในสุดเพราะจะได้รับอาหารโดยตรงจากกิ่ง โดยไม่มีผลอื่นมาแย่งและต้องไม่มี
จำนวนผลมากเกินไป ผลของการแตกใบอ่อนต่อทุเรียน หากทุเรียนมีการแตกใบอ่อนในช่วง
3 - 5 สัปดาห์แรกที่ติดผล ผลย่อมจะร่วงถ้าแตกใบอ่อนในสัปดาห์ที่รูปทรงจะบิดเบี้ยว และ
ถ้าแตกใบอ่อนในสัปดาห์ที่ 10 เนื้อผลจะไม่ได้คุณภาพมีอาการเต่าเผาหรือเนื้อสามสี

วิธีการแก้ไขเมื่อแตกใบอ่อน
1. เมื่อแตกใบอ่อนในระยะหางปลาควรยับยั้งด้วยการพ่น โปแตสเซียมไนเตรท 150-300
กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จะทำให้ใบอ่อนหลุดร่วง และระงับการแตกใบใหม่ไปได้อีก 12 สัปดาห์

2. ถ้าการแตกใบอ่อนเลยระยะหางปลาไปแล้วคือ ใบอ่อนเริ่มคลี่ให้ใช้ เมพิควอทคลอไรด์
(โปรก้า-ดี) 50 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเพื่อชะลอการเติบโตของใบอ่อนโดยให้การพ่น
อาหารสูตร "ทางด่วน" อีกเล็กน้อย เพื่อให้ใบอ่อนได้รับอาหารโดยไม่ต้องแย่งมาจากต้น
(ใบชุดนี้จะค่อยๆ เป็นสีเขียวเข้มและเล็กลงในที่สุด) สูตรทางด่วนประกอบด้วย

* น้ำตาลกลูโคสหรือเดร้กโตส 600 กรัม
* ฮิวมิกแอซิด 20 ซีซี.
* ปุ๋ยเกร็ดสูตร 15-30-15 (60 กรัม)

นำทั้งหมดมาผสมกับสารจับใบและสารกำจัดเชื้อรา รวมลงไปในน้ำ 20 ลิตร (ในฤดูแล้งไม่
ต้องผสมสารจับใบและสารกำจัดเชื้อราก็ได้) สาเหตุอาการไส้ซึม จากความเชื่อที่เรา ๆ
ท่าน ๆ ที่เชื่อว่าทุเรียนไส้ซึมเกิดจากการได้รับน้ำ หรือฝนมากเกินไปนั้น ทางสถาบันวิจัย
พืชสวนจันทบุรีได้ยืนยันว่าอาการไส้ซึมไม่ได้เกิดจากน้ำเป็นสาเหตุหลัก แต่แท้จริงแล้ว
เกิดจากการสร้างอาหารมาเลี้ยงผล ซึ่งทางสถาบันเคยทดลองโดยให้น้ำในปริมาณมาก
ต่อต้นทุเรียนก็ไม่เกิดอาการไส้ซึม แต่ในต้นที่ทำการทดลองโดยให้น้ำตามปกติ แต่นำเอา
ซาแลนมาคลุมต้นทุเรียนทั้งต้นปรากฎว่าเกิดอาการไส้ซึมอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นถ้ามีฝนตก
หนักแต่ทิ้งช่วงก็มั่นใจได้ว่าไม่เกิดอาการนี้ แต่จะเกิดในกรณีที่มีฝนตกแบบฟ้าปิดมืด ติดต่อ
กันในช่วง 3 -5 วัน ก็จะเกิดอาการดังกล่าวอย่างแน่นอ และอาการไส้ซึมนี้หากจะสังเกต
จากภายนอกผลก็สามารถดูได้จากการตัดปลิงในแนวขวางจะเห็นวงแหวนภายในเป็นสีน้ำตาล
เข้ม สามารถนำหลักนี้ไปพิจารณาในการซื้อทุเรียนได้ วิธีการดูทุเรียนแก่ สำหรับวิธีการดู
ทุเรียนแก่ ที่จะนำเสนอนี้มาจากต้นฉบับเดิมของ สำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันออก
จังหวัดระยอง คณะวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ได้ช่วยกันปรับปรุง ร่วมกับประสบ
การณ์ผู้เข้าอบรมได้เคยปฏิบัติซึ่งมีความน่าเชื่อถือ และสามารถนำไปปฏิบัติได้โดยความ
แม่นยำในการดูทุเรียนแก่นั้น จะต้องพิจารณาให้ตรงกับข้อสังเกตเหล่านี้รวมกันให้ได้มาก
ข้อที่สุด ดังนั้น เพื่อความถูกต้องจึงควรพิจารณาให้ครบทุกข้อทั้งหมด ข้อพิจารณาทุเรียน
แก่มีดังนี้

* นับอายุ โดยนับตั้งแต่ดอกบานจนถึงผลแก่พร้อมตัด ได้แบ่งตามพันธุ์ดังนี้
- พันธุ์กระดุม 90-110 วัน
- พันธุ์ชะนี 100-110 วัน
- พันธุ์ก้านยาว กบ หมอนทอง 120-135 วัน
- พันธุ์หนัก 140-150 วัน

การพิจารณาตามอายุนั้นถือเป็นหลักที่ใช้กันทั่วไ ป แต่ก็อาจมีความไม่แน่นอนในกรณีอย่าง
เช่น อุณหภูมิที่ต่ำจะยืดเวลาการสุกไปได้ประมาณ 20 วัน ในกรณีแตกใบอ่อนยืดอายุการ
สุกไปได้ 7-20 วัน และการให้สารคัลทาร์หรือการใช้น้ำตาลคาร์โบไฮเดรต ก็มีส่วนยืดอายุ
การสุกไปอีก

* ดูปากปลิง ทุเรียนที่แก่จัดลักษณะของปากปลิงจะพองเห็นได้อย่างเด่นชัด ซึ่งคล้ายหลัก
การธรรมชาติทุเรียนที่สุกแก่จัด ปากปลิงก็เตรียมจะแยกออกเพื่อให้ผลแก่หลุดออกจากต้น
* ดูที่ขั้วผล ขั้วผลของทุเรียนแก่จะมีลักษณะแข็งเป็นสปริง แม้จะเก็บไว้หลายวันแล้วก็ตาม
 ส่วนก้านผลทุเรียนอ่อนจะมีลักษณะอ่อนไม่มีสปริง
* ดูที่หนาม ผลทุเรียนแก่ปลายหนามจะมีลักษณะออกเป็นสีน้ำตาลเข้ม
* ดูสีของผล เมื่อมองจากด้านบนผลทุเรียนแก่จะเห็นหนามเป็นสีคล้าย แต่ผลมีสีนวลตัดกัน
ชัดเจน (ขึ้นอยู่กับพันธุ์ด้ว ย) ดูโดยรวมสีผิวของผลจะออกมันและแห้ง ยกเว้นในบางกรณีที่
ทุเรียนสุกนั้นอยู่ในร่มใบมาก ๆ ก็อาจจะยังเป็นสีเขียวเข้มอยู่ก็ได้
* ดูร่องพู ถ้าเป็นทุเรียนที่แก่ร่องพูจะเป้นสีน้ำตาลปนเหลืองตามธรรมชาติอย่างเห็นได้ชัด
ส่วนทุเรียนอ่อนร่องพูจะออกสีเขียว ยกเว้นถ้าทุเรียนนั้นตากแดดมากๆ หรือโดนโรคและแมลง
 เช่น เพลี้ยเข้าทำลาย อาจจะดูเหมือนทุเรียนแก่ได้
* บีบปลายหนาม ถ้าเป็นทุเรียนแก่เมื่อบีบปลายหนามเข้าหากันจะมีลักษณะเหมือนมีสปริง
แต่ถ้าเป้นทุเรียนอ่อนหนามจะแข็ง ไม่มีสปริง
* เคาะเปลือกหรือโกรกหนาม สำหรับทุเรียนแก่เมื่อเคาะเปลือก หรือโกรก (ลากนิ้วผ่าน) จะ
ได้ยินเสียงโพรกดังหลวมๆ ไม่ทึบ แต่ถ้าเป็นทุเรียนอ่อนเสียงจะทึบแน่น
* ชิมปลิง วิธีนี้เป็นการประเมินความแก่เมื่อตัดผลมาจากต้นแล้ว โดยเมื่อตัดขั้วผลหรือปลิง
ทุเรียนแก่ดู จะเห็นน้ำที่ขั้วผลใสไม่ข้นเหมือนทุเรียนอ่อน และเมื่อชิมดูจะมีรสหวานเล็กน้อย
และเมื่อตัดขั้วผลดูตามขวางวงแหวนที่อยู่ด้านใน จะต้องมีสีเหลืองเรื่อๆ ( หากออกเขียวแสดง
ว่ายังอ่อน แต่ถ้าออกน้ำตาลเข้มจะมีลักษณะเป็นไส้ซึม ) * ดมกลิ่น ทุเรียนสุกเมื่อดมกลิ่นจะ
พบว่ามีกลิ่นหอม

ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ถือเป็นหลักการพื้นฐานในการดูทุเรียนแก่แต่ก็ย่อมแน่นอนว่า ความแม่น
ยำนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้คัดเลือกเป็นสำคัญ วิธีดูทุเรียนขาดน้ำตามแบบชาว
สวน เมื่อทุกคนทราบกันดีแล้วว่า ทุเรียนที่แก่จะต้องมีความโพลก (เนื้อหลวม) จึงมีเจ้าของ
สวนหัวใสบางรายทำการงดน้ำ ให้ทุเรียนอ่อนเกิดความหลวมและสีสันดูแล้วน่าจะแก่ ในกรณี
เช่นนี้ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนท่านหนึ่งจาก กิ่งอำเภอเขาชะเม คือ คุณชราวุฒิ ป้องความดี ได้
นำประสบการณ์เผยแพร่แก่ผู้ร่วมเข้าอบรมว่าทุเรียนที่แก่เพราะขาดน้ำสังเกตได้จากวงแหวน
(ข้อต่อระหว่างขั้วกับผล ) ลอยขึ้นมาไม่จมลงไปในหนาม ปกติรอยต่อจะถูกหนามรอบๆ กอด
ไว้จนมิด แม้ว่าจะดูลักษณะทั้งหมดแล้วน่าจะเป็นทุเรียนแก่ทั้งสี ลักษณะหนามหรือโกรกแล้ว
หลวมก็ตาม ก็ไม่ควรเลือกทุเรียนผลที่มีวงแหวนลอยนั้น การที่ตลาดรับซื้อจะต้องมีการคัด
ทุเรียนอ่อนจากทุเรียนที่นำมาขายจาก เกษตรกรนั้น ย่อมส่งผลให้ราคารับซื้อต่อกิโลกรัมถูก
ลง (ประมาณ 1-2 บาท ) เพราะผู้รับซื้อถือว่าจะต้องเสียเวลามาคัดเลือกทุเรียน ดังนั้น ทาง
ที่ดีควรแก้กันตั้งแต่ตัวเกษตรกรเองต้องมีความรู้ในการคัดคุณภาพและต้องมีจิตสำนึกที่ดีร่วม
กันในการที่จะไม่จงใจตัดทุเรียนอ่อน เพื่อให้ได้ราคาต้นฤดู ทางที่ดีในกลุ่มเกษตรกรเองควรมี
การคัดคุณภาพมาก่อนโดยอาจมีผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำนาญการในกลุ่ม เพื่อรับผิดชอบการคัด
เลือกทุเรียนโดยเฉพาะเพียงแค่นี้ก็ย่อมทำให้เกิดความสบายใจกันทั้งผู้ขายและผู้รับซื้อ เชื่อว่า
ถ้าเป็นไปได้อย่างนี้ทุเรียนอ่อนก็คงจะหมดไปจากตลาดทุเรียนไทยในไม่ช้าครับ



******************************************************************************

3.วิธีการบำรุงรักษาในการทำทุเรียนทวาย


1. การตัดแต่งกิ่ง จำเป็นต้องมีการตัดแต่งกิ่งทุเรียนทุกปี ควรทำหลังจากเก็บ ผลและให้ปุ๋ยแล้ว โดยตัดแต่งเฉพาะกิ่งเป็นโรค กิ่งที่แมลงทำลาย กิ่งที่ไม่ได้รับแสงแดด และกิ่งน้ำค้าง หรือกิ่งกระโดง ในการตัดแต่งกิ่งควรตัดไม้ให้เหลือตอหรือโคน ตัดชิด ลำต้นในกรณีเป็นกิ่งใหญ่ และใช้การป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ใช้สารประกอบ ทองแดง คูปราวิท หรือปูนแดง ทาบริเวรแผลทุกครั้งที่มีการตัดแต่ง การตัดแต่งที่ถูกต้อง จะทำให้สภาพต้นสมบูรณ์ออกดอกติดผลดีขึ้น

2. การป้องกันกำจัดโรค โรคที่ทำความเสียหายให้กับทุเรียนมากได้แก่ โรค รากเน่าโคนเน่า โรคราใบแห้ง โรคราใบติด โรคจุดสนิม และโรคดอกเหี่ยว โรคโคนเน่ารากเน่า เชื้อจะเข้าทำลายทุเรียนพันธุ์กระดุมทอง หมอนทอง และ กบชนิดต่างๆได้ง่ายกว่าทุเรียนพันธุ์อื่น ๆ อาการของโรคมักระบาดรุนแรงในช่วงที่มีฝนตก ชุก อาจพบอาการได้ทั้งที่ ยอด ลำต้น และราก ถ้าแสดงอาการที่ยอดให้ใช้ไดโฟลาแทน และสารประกอบทองแดงฉีดพ่น ถ้าแสดงกับลำต้นและราก ใช้ริโดมิล โรคราแห้ง เกิดเมื่อเริ่มเป็นใบเพสลาด (กลางอ่อนกลางแก่) ทำให้ใบแห้ง คล้ายตายนึ่ง ในการป้องกันใช้สารเบนเลท (เบโนมิล) ในอัตรา6กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร แต่ ถ้าใช้สำหรับรักษาโรคใช้ อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โรคนี้จะระบาดรุนแรงในช่วง ปลายฤดูฝน โรคราใบติด ลักษณะใบทุเรียนติดกันเป็นแผงและใบแห้งคล้ายลูกน้ำร้อนลวก ป้องกันกำจัด โดยใช้คูปราวิท ในอัตรา 3-4 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร โรคจุดสนิม เกิดได้ทั้งกับกิ่ง ลำต้น ใบ ถ้าระบาดมาก จะทำให้กิ่งแห้งตายได้ ป้องกันกำจัดโดยใช้คูปราวิท 3-4 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร โรคดอกเหี่ยว ทำให้ดอกเหี่ยวและร่วง ควรใช้ คูปราวิทฉีดพ่น 1-2 ครั้ง เพื่อ ป้องกันกำจัด ถ้าระบาดมากอาจใช้สารเบนเลทหรือเบโนมิลแทน

3. การป้องกันกำจัดแมลง ศัตรูที่สำคัญได้แก่ ไรแดง เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยหอย หนอนเจาะผล ไรแดง เป็นปัญหามากจะระบาดมากในช่วงหมดฤดูฝนเริ่มเข้าฤดูหนาว และ จะทำลายใบทำให้ใบร่วง ควรป้องกันกำจัดโดยใช้ กูวาไธออน เคลเทน คาลาเทน พ่น เพลี้ยไก่แจ้หรือแมลงไก่ฟ้า จะระบาดมากในช่วงที่ทุเรียนแตกใบอ่อน จะเข้า ทำลายใบอ่อน ดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ทำให้ใบหงิกงอ การป้องกันกำจัดโดยใช้เซฟวิน 85 (คาร์บาริล) พ่น เพลี้ยหอม ใช้ เซฟวินผสมกับ ไว้ท์ออย พ่นกำจัดได้ดี หนอนเจาะผล อาจเจาะเข้าไปถึงเนื้อได้ทำให้ได้ราคาลดลง การป้องกันกำจัด ใช้ทามารอน หรือ เมโธมิล (แลนเนท) ฉีดบริเวณที่หนอนเจาะ สำหรับผลทุเรียนที่ติดกับ กิ่งหรือลำต้น ควรเอากิ่งไม้หรือกาบมะพร้าว คั่นระหว่างกลาง

4. การป้องกันกำจัดวัชพืช ควรกระทำอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วง ฤดูฝนเพราะเมื่อฝนหยุดแล้วจะต้องรีบทำดินให้แห้งเร็วที่ส ุด เมื่อกระทบความแห้งแล้งจะได้ ออกดอกทันที

5. วิธีการไว้ผล จำเป็นจะต้องไว้ผล ให้พอเหมาะกับอายุ ขนาด และความ สมบูรณ์ของผล วิธีการไว้ผลทุเรียนจะต้องปฏิบัติสองช่วงคือ
5.1 ช่วงการปลิดดอก
5.2 การปลิดผล


*************************************************************************


4.
การใช้สารพาโคบูตราโซล (paclobutrazol)

ความเข้มข้น 0, 250, 500 และ 750 ppm. ฉีดผ่านให้ทางใบ แก่ทุเรียนพันธุ์ชะนี อายุ 7-8 ปี ที่ตำบลชึ้งล่าง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ได้ทำการฉีดพ่นให้แก่ทุเรียน เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 เพื่อชักนำให้ทุเรียนออกดอกก่อนฤดูปกติ เมื่อทุเรียนแทงช่อดอกอยู่ในระยะเหยียดตีนหนู หรือระยะตาปู ทำการฉีดพ่นจิบเบอเรลลิค แอซิค (GA) ความเข้มข้น 5 ppm. ให้กับต้นทุเรียนที่ได้รับการฉีดพ่น สารพาโคลบูตราโซล ทุกต้น ผลปรากฎว่าพาโคบูตราโซลที่ความเข้มข้น 750 ppm. ตามด้วยการฉีดพ่นจิบเบอเรลลิน ความเข้มข้น 5 ppm. สามารถชักนำให้ทุเรียนพันธุ์ชะนี ออกดอกก่อนฤดู 72 วัน มีเปอร์เซ็นต์การออกดอกก่อนฤดู 93% ดอกและผลมีการพัฒนาอย่างปกติ ให้ผลผลิตก่อนฤดูสูงสุด (97.60 กิโลกรัมต่อต้น) โดยมีคุณภาพผลผลิต ไม่เปลี่ยนแปลง และมีรายได้สุทธิ ต่อต้นสูงที่สุด (4,626.69 บาทต่อต้น )


***************************************************************************



5. การดูแลในช่วงออกดอก


1. การควบคุมการให้น้ำ
- เมื่อทุเรียนออกดอกในระยะไข่ปลามีปริมาณมากพอแล้วก็เริ่มให้น้ำมากขึ้นจนสู่สภาพปกติ
- ในระยะก่อนดอกบาน 7-10 วัน (ระยะหัวกำไล) ไปจนถึงดอกบานและระยะปิ่นให้ลดการ ให้น้ำลง 2 ใน 3 ของปกติ
- เริ่มให้น้ำมากขึ้นในระดับปกติได้หลังจากผสมเกสรแล้ว3 สัปดาห์ 2. การตัดแต่งดอก เพื่อให้เหลือดอกทุเรียนไว้ในปริมาณและตำแหน่งที่เหมาะสม
- ตัดดอกที่อยู่ตามกิ่งเล็ก ๆ หรือปลายกิ่งทิ้ง
- ควรตัดแต่งเมื่อดอกทุเรียนอยู่ในระหว่างระยะมะเขือพวงถึงระยะหัวกำไล
- ถ้ามีดอกรุ่นเดียวกันปริมาณมาก ตัดแต่งให้เหลือปริมาณดอกพอเหมาะอยู่ในตำแหน่ง ที่ต้องการ
- ถ้ามีดอก 2 รุ่น ปริมาณเท่า ๆ กัน ตัดแต่งให้เหลือดอกรุ่นที่จะขายได้ราคาดี
- ถ้ามีดอก 2 รุ่น ปริมาณต่างกัน ให้ตัดรุ่นที่มีปริมาณดอกน้อยออก แต่ถ้าปริมาณดอกมี น้อย จำเป็นต้องไว้ดอกต่างรุ่นควร
- ไว้ดอกรุ่นเดียวกัน บนกิ่งเดียวกัน
- ไว้ดอกรุ่นเดียวกัน บนกิ่งที่อยู่ชิดกัน
- ถ้าจะไว้ดอกต่างรุ่นบนกิ่งชิดกัน ต้องการดอกรุ่นไหนมากกว่าก็ต้องตัดแต่งให้เหลือดอกมาก กว่า
-ในพันธุ์ชะนีควรตัดแต่งให้เหลือช่อดอกขนาดใหญ่รวมกันเป็นกลุ่มบริเวณกลางกิ่งและอย่า ตัดให้เหลือดอกน้อยเกินไปเพราะดอกทุเรียนพันธุ์ชะนีมีเปอร์เซ็นต์ติดผลต่ำและผลอ่อนเจริญช้าการมีช่อดอกรวมเป็นกลุ่มทำให้มีพลังดูดดึงอาหารสูงขึ้น

3. ป้องกันกำจัดโรคแมลง เช่น เพลี้ยไฟ ไรแดง หนอนกัดกินก้านดอก เพลี้ยอ่อน โรคดอกเน่าและโรคดอกแห้ง

4. การช่วยให้ดอกทุเรียนติดผลดีขึ้น ทำได้ 2 วิธีคือ
4.1 ช่วยผสมเกสร โดยใช้เกสรตัวผู้จากต้นที่ต่างพันธุ์กัน โดยเตรียมเกสรตัวผู้ เวลา 19.00-19.30 น. ตัดเฉพาะ อับเกสรตัวผู้ที่มีละอองเกสรสีขาวติดอยพู่กันหรือแปรงขนอ่อนแตะละอองเกสรตัวผู้ไปป้าย ที่ยอดเกสรตัวเมียที่มีลักษณะกลมและมีสีเหลือง
4.2 ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีธาตุ แคลเซี่ยม-โบรอน หรือโบรอน เพียงอย่างเดียว ในระยะหัวกำไลหรือประมาณ 10-15 วันก่อนดอกบาน ่


************************************************************************


6.
การดูแลในช่วงติดผลแล้ว

1. ตัดแต่งผล
ครั้งที่ 1 หลังดอกบาน 3-4 สัปดาห์ ตัดแต่งผลที่มีรูปทรง บิดเบี้ยว ผลขนาดเล็กหรือผลต่างรุ่น ผลที่อยู่ใน ตำแหน่งไม่เหมาะสม เช่น ปลายกิ่ง ด้านข้างของ กิ่ง และผลที่ติดเป็นกระจุกใหญ่ ๆ ออกเหลือผล ที่ดีไว้มากกว่าที่ต้องการจริง 50%

ครั้งที่ 2 หลังดอกบาน 6-8 สัปดาห์ ตัดผลที่มีขนาดเล็กกว่า ผลอื่นในรุ่นเดียวกัน ผลบิดเบี้ยว ผลที่มีอาการ หนามแดง

ครั้งที่ 3 ตัดแต่งครั้งสุดท้ายตัดผลขนาดเล็ก ผลบิดเบี้ยว ผลก้นจีบออก จะเหลือผลที่มีขนาดและรูปทรง สม่ำเสมอ ในปริมาณเท่ากับที่ต้องการจริง เมื่อตัดแต่งผลครั้งสุดท้ายเสร็จควรโยงกิ่ง เพื่อป้องกันกิ่ง หักจากน้ำหนักผลที่มากขึ้น หรือโยงผลป้องกันผลร่วงในพื้นที่มีลมแรง

2. การใส่ปุ๋ย
- หลังจากติดผลแล้ว 5-6 สัปดาห์ ให้ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 12-12-17-2 หรือ 13-13-21 หรือ 4-16-24-4 ประมาณต้นละ 2-4 กิโลกรัมเพื่อเร่งการเจริญของผล
- หลังจากติดผลแล้ว 7-8 สัปดาห์ ให้ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 0-0-50 ประมาณ 1-2 กิโลกรัม เพื่อเพิ่มคุณภาพเนื้อและเพิ่มความ เข้มของสีเนื้อ
- ถ้าต้นทุเรียนขาดความสมบูรณ์ ใบเล็ก ใบซีด ไม่เขียวเข้ม ควรให้ปุ๋ยทางใบเสริมในช่วงสัปดาห์ที่ 5-10 หลังดอกบาน เพื่อช่วยให้ ผลทุเรียนเจริญดีขึ้น

3. การควบคุมไม่ให้ทุเรียนแตกใบอ่อน ถ้าทุเรียนแตกใบอ่อนในช่วงติดผล ใบอ่อนและผลทุเรียนจะแย่งอาหารกันและเกิดผลเสียดังนี้ ช่วงทุเรียนแตกใบอ่อน ผลที่เกิดขึ้น สัปดาห์ที่ 3-5 หลังดอกบาน ผลอ่อนร่วง สัปดาห์ที่ 5-8 หลังดอกบาน รูปทรงบิดเบี้ยว สัปดาห์ที่ 10-12 หลังดอกบาน เนื้อด้อยคุณภาพ เนื้อแกน เต่าเผา เนื้อสามสี
- ถ้าพบว่าทุเรียนจะแตกใบอ่อน โดยสังเกตเห็นเยื่อหุ้มตาเริ่มเจริญหรือเรียกระยะหางปลา ให้ยับยั้งด้วยการฉีดพ่นปุ๋ยโปแตสเซี่ยม-ไนเตรท สูตร 13-0-45 อัตรา 150-300 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และถ้ายังพบว่ายอดทุเรียนยังพัฒนาต่อ ควรฉีดพ่นซ้ำอีกครั้งหลังจากครั้งแรก1-2 สัปดาห์
- ถ้าพบทุเรียนแตกใบอ่อนในขณะที่ผลโตแล้ว การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ (อาหารเสริม) จะช่วยให้ ผลทุเรียนสมบูรณ์ขึ้น

4. การให้น้ำ ดูแลให้น้ำสม่ำเสมอ ตลอดช่วงที่กำลังติดผล

5. จดบันทึกวันดอกบาน ของแต่ละรุ่น แต่ละต้นไว้ พร้อมกับทำเครื่องหมายไว้โดยใช้เชือกสี ที่แตกต่างกันในการโยงกิ่งที่ติดผลแต่ละรุ่น เพื่อความสะดวกในการเก็บเกี่ยว และการวาง แผนด้านตลาด

6. การป้องกันกำจัดโรคแมลง ตรวจสอบและป้องกันกำจัดโรคผลเน่า หนอนเจาะผล หนอนกินเมล็ดทุเรียน ไรแดง เพลี้ยไฟเพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอย


************************************************************************



7.
การตรวจหาความแก่อ่อนของทุเรียน 

แบบไม่ทำลายเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างมากในการควบคุมคุณภาพ เนื่องจากทุเรียนมีคุณสมบัติเฉพาะ อย่างเช่น มีเปลือกหนา รูปทรงที่ไม่แน่นอน ผิวไม่เรียบมีหนามแหลม และมีขนาดใหญ่ เป็นต้น การหาความแก่อ่อนแบบไม่ทำลายได้เป็นที่ต้องการแต่กระทำได้ยาก วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการตรวจหาความ แก่อ่อนของทุเรียนแบบไม่ทำลาย 2 วิธี โดยการใช้การสั่นสะเทือนและอุลตร้าโซนิกส์ ในวิธีการสั่นสะเทือน การสั่นสะเทือนแบบคงที่ถูกป้อนให้กับผลทุเรียนตรงบริเวณร่องหนามกลางพลู ส่งผลให้ ทุเรียนเกิดการสั่นสะเทือน และวัดการตอบสนองของผลทุเรียนต่อความถี่ในการสั่นสะเทือนด้วยชุดวัดความเข้มแสง โดยสัญญาณที่ได้ถูกนำไปแยกหาส่วนของความถี่สูงด้วยการแปลงเวฟเล็ตแบบดิสครีต (Discrete Wavelets Transform) และหาความหนาแน่นของแถบความถี่ (Power Spectral Density) และทำการจับคู่ (Template matching) ด้วยการสหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างความหนาแน่นของแถบความถี่สูงกับรูปแบบ(Template) เพื่อหา ความแก่อ่อนของทุเรียน ในการทดลองได้ทำการเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ของวิธีหาร้อยละของน้ำหนักแห้ง (Percent of dry-weight) ซึ่งเป็นวิธีการหาความแก่อ่อนของทุเรียนที่ถือเป็นมาตรฐาน ผลลัพธ์ที่ได้มีความถูกต้องร้อยละ 75.92 ในวิธีอุลตร้าโซนิกส์ คลื่นอุลตร้าโซนิกส์จากพิโซอิเล็กตริก (ตัวส่ง) ถูกป้อนให้กับผลทุเรียนตรงร่องหนาม บริเวณกลางพลู และวัดการตอบสนองด้วยพิโซอิเล็กตริก (ตัวรับ) และนำสัญญาณที่ได้ไปประมวลผลด้วยการสหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างความหนาแน่นของแถบความถี่สูงของสัญญาณอุลตร้าโซนิกส์ที่วัดได้กับแบบรูป (Template) เพื่อหาความแก่อ่อนของทุเรียนที่สัมพันธ์กับการดูดกลืนสัญญาณอุลตร้าโซนิกส์ของผลทุเรียนตามระดับความแก่อ่อน ในการทดลองกับทุเรียน 81 ผล ได้ทำการเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ของวิธีหาร้อยละของน้ำหนักแห้ง ผลลัพธ์ที่ได้มีความถูกต้องร้อยละ 93.93


*********************************************************************


8.
การติดผลในพันธุ์แม่หมอนทอง  

ปี พ.ศ. 2531 พบว่าเมื่ออายุ 14 วันหลังผสมเกสร ทุเรียนพันธุ์หมอนทองผสม เกสรตามธรรมชาติ ผสมด้วยเกสรตัวผู้พันธุ์นกหยิบ พันธุ์ชะนี และกบพิกุลทอง ไม่ติดผล เลย ขณะที่ผสมด้วยเกสรตัวผู้พันธุ์หมอนทองต่างต้นติดผลมากที่สุด 16.88 % รองลงมา ผสมด้วยเกสรตัวผู้พันธุ์ชมพูศรี ก้านยาว และกระดุมทอง ติดผล 9.88% , 5.15 และ 0.72% ตามลำดับ และเมื่ออายุ 129 วันหลังผสมเกสร ทุเรียนพันธุ์หมอนทองผสมด้วยเกสรตัวผู้ พันธุ์หมอนทองต่างต้น ชมพูศรี ก้านยาว และกระดุมทอ ง ติดผล 0.72-3.74% โดยผสม ด้วยเกสรตัวผู้พันธุ์หมอนทองต่างต้น ติดผลมากที่สุด 3.74% รองลงมาผสมด้วยเกสรตัวผู้ พันธุ์ชมพูศรีติดผล 2.19% ในปี พ.ศ.2531 ติดผลในพันธุ์หมอนทองไม่ดี อาจเนื่องมาจาก ต้นที่ทำการทดลองมีการแตกใบอ่อนได้ ขณะที่ดอกกำลังบานและติดผลอ่อน อาหารบาง ส่วนถูกส่งไปเลี้ยงใบอ่อนมากกว่าผลอ่อน ทำให้ผลอ่อนร่วงหล่นไป และได้ทำการซ้ำใหม่ ในปี พ.ศ.2532 ปี พ.ศ. 2532 พบว่าเมื่ออายุ 14 วันหลังผสมเกสร ทุเรียนพันธุ์หมอนทองผสม ด้วยเกสรตัวผู้พันธุ์ชะนี ก้านยาว กระดุมทอง ชมพูศรี และหมอนทองตามต้นติดผลมาก ตั้งแต่ 76.14-89.64% โดยผสมด้วยเกสรตัวผู้จากพันธุ์ชมพูศรี ติดผลมากที่สุด 89.64% ขณะที่ผสมด้วยเกสรตัวผู้พันธุ์กบพิกุลทองและนกหยิบ ติดผล 48.58 และ 48.26% ตาม ลำดับ แต่ก็ยังสูงกว่าทุเรียนพันธุ์หมอนทองผสมปล่อยตามธรรมชาติ ซึ่งติดผลน้ยอที่สุด 44.32% และเมื่ออายุ 126 วันหลังผสมเกสร ทุเรียนพันธุ์หมอนทองผสมด้วยเกสรตัวผู้พันธุ์ ชะนี ก้านยาว กบพิกุลทอง กระดุมทอง และชมพูศรี ติดผลตั้งแต่ 16.16-36.74% โดย ผสมด้วยเสกรสตัวผู้พันธุ์ชะนี ติดผลมากที่สุด 36.74 % รองลงมาผสมด้วยเกสรตัวผู้พันธุ์ กระดุมทอง ก้านยาว และชมพูศรี ติดผล 32.45 , 20.71 และ 18.53% ตามลำดับ ขณะที่ ทุเรียนพันธุ์หมอนทองผสมปล่อยตามธรรมชาติ ติดผลน้อยที่สุดคือ 4.91% จะเห็นได้ว่าการ ติดผล ในปี พ.ศ.2532 ดีกว่าในปี พ.ศ. 2531 มาก เนื่องจากต้นที่ทำการทดลอง ในปี พ.ศ.2532 มีสภาพต้นสมบูรณ์ ใบหนาแน่นและไม่มีการแตกใบอ่อนช่วงดอกกำลังบาน ดังนั้น การช่วยผสมเกสรจะประสบผลสำเร็จมากขึ้น ต้นจะต้องสมบูรณ์ใบงามหนาแน่น มีอาหาร สะสมเพียงพอ ไม่มีการแตกใบอ่อนขณะดอกกำลังบาน ทำให้สามารถเลี้ยงผลอ่อนที่ติด จนกระทั่ง ถึงเก็บเกี่ยวได้


****************************************************************************




ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้นำผลการทดลองจากงานวิจัยต่างๆที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 

9. กระตุ้นการออกดอกและพัฒนาการผลิตทุเรียนต้นฤดู
 

มาผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อทดสอบเป็น วิทยาการการผลิตทุเรียนต้นฤดูโดยการนำสารพาโคลบิวทราโซล ซึ่งเป็นสารควบคุมการเจริญ เติบโตพืชชนิดชะลอการเจริญเติบโตมาใช้เพื่อควบคุมมิให้ต้นทุเรียนแตกใบอ่อน อาหารสะสม ในต้นจึงไม่ถูกใช้ไปเพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาการของใบอ่อน เมื่อสภาพแวดล้อม เหมาะสมและอาหารสะสมในต้นมีเพียงพอ จึงทำให้ต้นทุเรียนออกดอกจากนั้นจึงนำเทคนิค การช่วยผสมเกสรทุเรียน และหลักการ SOURCE - SINK RELATIONSHIP มาใช้ในการปรับ ปรุงคุณภาพผลผลิตของทุเรียน เพื่อให้มีผลผลิตที่มีคุณค่าทางการตลาดในปริมาณมากพอ สำหรับความต้องการของผู้บริโภค ในการทดลองครั้งนี้พบว่าการจัดการตามขั้นตอนดังกล่าวอย่างเหมาะสมสามารถ เพิ่มผลผลิต 75.6% และเป็นผลผลิตที่มีคุณค่าทางการตลาด 77.7% ซึ่งสูงกว่าวิธีการของ เกษตรกร 27.4% และมีโอกาสประสบความสำเร็จในการเก็บเกี่ยวก่อนฤดู 71.5% จึงทำให้ ได้รับผลตอบแทนสูงกว่าวิธีการของเกษตรกรประมาณ 84,064-112,748 บาท/ไร่ ผลกำไรที่ เพิ่มขึ้นนี้ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จในการผลิตทุเรียนต้นฤดูมากกว่าปริมาณการเพิ่มผล ผลิต/ต้น 2.18 เท่า ดังนั้นเมื่อมีการผลิตทุเรียนต้นฤดูโดยการใช้สารพาโึคลบิวทราโซล ร่วม กับการจัดการอื่น ๆ เสริมเพียงเล็กน้อย เช่น การช่วยผสมเกสร และการตัดแต่งผลจะทำให้ เปอร็เซ็นต์ความสำเร็จในการผลิตทุเรียนต้นฤดูน้อยและลดลงในอัตราสูง เมื่อทำผลิตซ้ำต้น เดิมติดต่อกันเกินกว่า 2 ปี ซึ่งเป็นวิธีการที่เสี่ยงต่อการขาดทุนสูงดังนั้นในการผลิตทุเรียนต้น ฤดูให้ได้ผลจะต้องดำเนินการฉีดพ่นด้วยสารพาโคลบิวทราโซลในอัตราาที่เหมาะสมร่วมกับ การจัดการอื่น ๆ เสริมตามความจำเป็นให้ครบทุกขั้นตอน จึงจะสามารถเพิ่มโอกาสให้ได้รับ ผลตอบแทนได้สูง วิทยาการการผลิตทุเรียนต้นฤดู โดยใช้สารพาโคลบิวทราโซล และหลักการ SOURCE - SINK RELATIONSHIP สามารถสรุปเป็นขั้นตอนในการปฏิบัติได้ดังนี้

1. การประเมินสภาพต้น/การเตรียมความพร้อมของต้นให้พร้อมสำหรับการฉีด พ่นสารพาโคลบิวทราโซล
2. การฉีดพ่นสารพาโคลบิวทราโซล
3. การทำลายการพักตัวของตาดอกและการเพิ่มปริมาณดอก โดยใช้สารไทโอยูเรีย
4. การเร่งการพัฒนาการของตาดอก โดยใช้สารจิบเบอเรลลิน
5. การเตรียมความพร้อมของต้นทุเรียนเพื่อการติดผล ได้แก่ การป้องกันกำจัด โรค-แมลงการให้น้ำการจัดการให้มีดอกรุ่นเดียวกันบนต้นที่สมสบูรณ์และ การช่วยผสมเกสรโดยใช้ละอองเกสรต่างพันธุ์
6. การจัดการเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต โดยใช้หลักการ SOURCE - SINK RELATIONSHIP สำหรับทุเรียน ได้แก่ การจัดการเพื่อลดขนาดและ จำนวนของ SINK และการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ SOURCE
7. การเก็บเกี่ยวตามสภาพการสุกแก่ เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพของผลผลิตทุเรียน เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบจะมีวิทยาการผลิตทุเรียนต้นฤดู สำหรับคำแนะนำให้ เกษตรกรนำไปปฏิบัติและปรับใช้เพื่อผลิตทุเรียนต้นฤดูที่มีคุณภาพดีต่อไป

********************************************************************



ชาวสวนทุเรียนสามารถจะ 

10. ผสมเกสรทุเรียน เพื่อช่วยการติดผลของทุเรียน


โดย เฉพาะพันธุ์ชะนีได้อย่างง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องทำหมันดอกพันธุ์แม่ออกและไม่ต้องตัดเกสรตัวผู้ พันธุ์แม่ออก และไม่ต้องคลุมถุงผ้าขาวบางหลังผสมเกสร ควรทำดังนี้คือ

วิธีที่ 1 ทำการตัดดอกทุเรียนพันธุ์หมอนทองหรือก้านยาวที่กำลังบานซึ่งพร้อม จะนำไปผสม โดยสังเกตเห็นละอองเกสรตัวผู้สีขาวเกาะอยู่บนอับเกสรตัวผู้มากมายในเวลา ประมาณ 19.00 - 19.30 น. หลังจากนั้นนำดอกทุเรียนดังกล่าวไปผสมเกสร โดยให้ส่วนของ อับเกสรตัวผู้ที่มีละอองเกสรตัวผู้สีขาวแตะกับยอดเกสรตัวเมีย ซึ่งมีลักษณะกลมสีเหลือของ ดอกทุเรียนพันธุ์ชะนีที่กำลังบานก็เป็นอันว่าใช้ได้ คือผสมเกสรติดผลได้แน่

วิธีที่ 2 ทำการตัดเฉพาะชุดของเกสรตัวผู้ของดอกพันธุ์พ่อ ซึ่งดอกทุเรียนกลุ่ม หนึ่งจะมีชุดเกสรตัวผู้ 5 -6 ชุด ในแต่ละชุดจะประกอบด้วยก้านเกสรตัวผู้ประมาณ 5-18 ก้าน ที่ปลายของก้านเกสรตัวผู้จะมีอับละอองเกสรตัวผู้อยู่ ก็ใช้มือจับก้านเกสรตัวผู้ของดอกพันธุ์ พ่อที่มีละอองเกสรตัวผู้สีขาวเกาะอยู่บนอับเกสรตัวผู้ ไปแตะกับยอดเกสรตัวเมียของดอก พันธุ์แม่ ก็เป็นอันได้การ

วิธีที่ 3 ทำการตัดเฉพาะอับเกสรตัวผู้ที่มีละอองเกสรตัวผู้สีขาวเกาะอยู่ของดอก พันธุ์พ่อ ใส่ในขวดพลาสติกแล้วใช้พู่กันแตะละอองเกสรตัวผู้นำไปป้ายที่ยอดเกสรตัวเมียของ ดอกพันธุ์แม่นั้นโดยตรง นอกจากนี้ ถ้าชาวสวนต้องการให้ทุเรียนที่ผสมเกสรแก่พร้อมกันหรือใกล้เคียง กันเพื่อสะดวกต่อการเก็บเกี่ยว ก็ควรทำการตัดแต่งดอกในช่วงเวลา 09.00-12.00 น. ให้ เหลือเฉพาะดอกระยะดอกขาว ซึ่งจะบานพร้อมรับการผสมในตอนกลางคืนนั้น ให้เหลือ เพียง 2-10 ดอกต่อช่อ และกิ่งหนึ่งเหลือช่อดอกที่มีระยะดอกขาวประมาณ 10-20 ช่อดอก ต่อกิ่ง เว้นระยะระหว่างช่อไว้แต่พอสมควร ช่อดอกที่อยู่ปลายกิ่งควรตัดทิ้งให้หมดควรเลือก ทำการผสมเกสรเฉพาะกิ่งใหญ่ หรือกิ่งต่ำ ๆ เพื่อให้รับน้ำหนักผลได้ดีขึ้น ส่วนกิ่งที่อยู่ด้าน บนส่วนยอดของลำต้น ไม่ต้องช่วยผสมเกสรก็ได้ เนื่องจากโดยธรรมชาติดอกที่อยู่บริเวณ ยอดของลำต้นมักจะติดผลดีอยู่แล้ว กรณีที่ชาวสวนทุเรียนต้องการผสมเกสรกิ่งสูงสามารถทำได้ดังนี้คือ

วิธีที่ 4 ทำการเก็บละอองเกสรตัวผู้ของดอกพันธุ์พ่อแล้วใช้เชือกผูกขวดนำมา คล้องคอผู้ทำการผสมเกสร จากนั้นผู้ทำการผสมเกสรต้องปีนต้นขึ้นไปผสมเกสร บนกิ่งสูง ได้ตามต้องการโดยใช้พู่กันแตะละอองเกสรจากขวดนำไปป้ายที่ยอดเกสรตัวเมียของดอกพันธุ์ แม่ โดยทำการผสมดอกบริเวณโคนกิ่งถึงกลางกิ่ง หรือดอกที่มือสามารถเอื้อมถึง

วิธีที่ 5 ทำการเก็บละอองเกสรตัวผู้ของดอกพันธุ์พ่อใส่กระป๋องพลาสติก แล้ว ใช้แปรงขนอ่อน (แปรงทาแล็คเกอร์) ต่อไม้ (อาจเป็นไม้ไผ่หรือไม้ระกำ) ยาวเท่าไรก็ได้ ตามต้องการ นำส่วนของแปรงขนอ่อนแตะละอองเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อ จากประป๋องพลาสติก แล้วไปป้ายยอดเกสรตัวเมียของดอกพันธุ์แม่ที่อยู่บนกิ่งสูงๆ ได้ตามต้องการ

วิธีที่ 6 ในกรณีต้นทุเรียนต่างพันธุ์ที่ใช้เป็นต้นพ่อพันธุ์อยู่ใกล้กับต้นแม่พันธุ์ ใช้แปรงขนอ่อน ต่อไม้ ไปปาดเกสรตัวผู้จากต้นพ่อพันธุ์ ละอองเกสรตัวผู้จะติดอยู่ที่ขน แปรง แล้วนำมาป้ายที่ยอดเกสรตัวเมียของต้นแม่พันธุ ์ หรืออาจสลับกันเป็นต้นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ก็ได้ ก็เป็นการช่วยผสมเกสรได้ทั้งสองฝ่าย


*************************************************************************



11.
การปลูก  พริกไทยพันธุ์ซาราวัค แซมในสวนทุเรียนพันธุ์ชะนี  อายุ 20 ปี ที่ สถานีทดลองพืชสวนพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี ระหว่างตุลาคม 2537-กันยายน 2531 ได้ผลผลิต พริกไทยสด 2.75 และ 1.44 กิโลกรัมต่อค้าง เมื่ออายุ 2 และ 3 ปี ตามลำดับ ผลผลิตที่ได้นี้ น้อยกว่าของเกษตรกรซึ่งได้ 7.5 กก./ค้าง เนื่องจากผลผลิตสูญหาย ทั้งมีการตัดยอดไปปักชำ ซึ่งจะเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างมากและได้ผลผลิตทุเรียน 95.33 กิโลกรัมต่อต้น ขณะที่ การปลูกทุเรียนเพียงอย่างเดียวให้ผลผลิต 79 กก./ต้น คำค้น : ไม้ผล/ทุเรียน/ปัจจัยต่างๆเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ



************************************************************************



12.
ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้ริเริ่ม โครงการการผลิตทุเรียนก่อนฤดูให้มีคุณภาพ  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตทุเรียนก่อนฤดู เป็นการขยายช่วงฤดูการผลิตให้กว้างขึ้น รวมทั้ง กระจายผลผลิตที่มีคุณภาพให้สม่ำเสมอตลอดฤดูการผลิต เป็นการดำเนินงานโดยเริ่มจากการ วิเคราะห์ปัญหาของเกษตรกรชาวสวนทุเรียนในภาคตะวันออก การวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ และแนวทางการแก้ปัญหานั้น จากนั้นจึงเป็นขั้นตอนของการศึกษา ค้นคว้าวิจัย โดยอ้างอิง ทฤษฎี/แนวคิดที่เป็นไปได้เพื่อแก้ปัญหาตามลำดับในแต่ละช่วงของการพัฒนาการของทุเรียน ตั้งแต่การชักนำให้ออกดอก การกระตุ้นการพัฒนาการของดอก การศึกษาปัจจัยต่างๆที่เกี่ยว ข้อง เพื่อเพิ่มการติดผล การกระตุ้นการพัฒนาการของผลผลิตและคุณภาพของทุเรียน รวมทั้ง การศึกษาเพื่อป้องกัน ขจัด แก้ไข เหตุการณแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละช่วงของการ พัฒนาการ จากนั้นจึงนำผลงานวิจัยที่ได้มาผนวกรวมกัน และทดสอบในแปลงใหญ่ และสรุป รวมเป็นขั้นตอนและวิธีการจัดการปัจจัยการผลิตเพื่อผลิตทุเรียนก่อนฤดูให้มีคุณภาพ สำหรับ เป็นคำแนะนำเผยแพร่ให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติ เพื่อผลิตผลผลิตทุเรียนที่มีคุณค่าทางการตลาด ในปริมาณออกสู่ตลาดก่อนฤดูปกติ ทำให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ราคาดี ได้รับผล ตอบแทนเพิ่มขึ้นเป็นที่น่าพอใจ คุ้มค่ากับการลงทุนทางเศรษฐกิจ



***************************************************************************



13.
ผลการทดลองการผสมข้ามพันธุ์ทุเรียน

1. การติดผลในพันธุ์แม่กระดุมทอง ทุเรียนพันธุ์กระดุมทองพันธุ์แม่ที่ผสมตัวเองจะติดผลดีพอสมควร แต่ถ้าผสมกับ เกสรตัวผู้จากต่างพันธุ์ก็จะติดผลดีขึ้น โดยพบว่าหลังการผสมเกสร 14 วัน ทุเรียนพันธุ์แม่ กระดุมทองผสมกับเกสรตัวผู้พันธุ์ชะนีติดผลสูงสุด (70.76%) รองลงมาได้แก่การผสมกับ เกสรตัวผู้พันธุ์ชมพูศรี (51.74%) และพันธุ์หมอนทอง (45.54%) ตามลำดับ และหลังการ ผสมเกสร 84 วัน ก็ยังพบว่าทุเรียนพันธุ์แม่กระดุมทองที่ผสมกับเกสรตัวผู้พันธุ์ชะนี ติดผล มากที่สุด (38.39%) รองลงมาได้แก่ การผสมพันธุ์ชมพูศรี (35.65%)

2. การติดผลในพันธุ์แม่อีหนัก ทุเรียนพันธุ์อีหนักผสมเกสรตามธรรมชาติหลังการผสมเกสรพบว่าติดผล 30% แต่ถ้าผสมข้ามพันธุ์จะติดผล 57-78% โดยการผสมกับเกสรตัวผู้พันธุ์ชะนีติดผลมากที่สุด (78%) และผสมกับเกสรตัวผู้พันธุ์หมอนทองติดผล 57% ข้อสังเกตจากการศึกษานี้ก็คือ พบว่าการที่ทุเรียนแตกใบอ่อนช่วงดอกบานและ ช่วงติดผลอ่อน จะทำให้การติดผลของทุเรียนพันธุ์หมอนทองลดน้อยลง อีกประการหนึ่ง ขณะที่ดอกทุเรียนบานถ้ามีฝนตกดอกจะร่วงมากและติดผลน้อย ทำให้การแตกของอับละออง เกสรตัวผู้ของทุเรียนพันธุ์พ่อทุกพันธุ์มีน้อย หรืออับละอองเกสรตัวผู้แตกช้ากว่าปรกติการผสมเกสรจึงมีน้อย

ลักษณะของผลทุเรียนที่เกิดจากการผสมเกสรกับต่างพันธุ์กัน
1. ทุเรียนพันธุ์แม่กระดุมทอง ผลทุเรียนที่ได้จากการผสมส่วนมากจะมีลักษณะรูปทรงของผลสวย พูเต็มเกือบ ทุกพู โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลที่เกิดจากการผสมด้วยเกสรตัวผู้พันธุ์ชะ นี และพันธุ์ชมพูศรีจะมี ลักษณะดังกล่าว ส่วนลักษณะเนื้อ สีของเนื้อ รสชาติ ไม่แตกต่างจากผลที่เกิดจากการผสม ตามธรรมชาติ ความหนาของเนื้อ 0.74-0.99 เซนติเมตร เปอร์เซนต์เมล็ดลีบ 29.51-55.54 ผลที่เกิดจากการผสมกับเกสรตัวผู้พันธุ์ชะนีมีเมล็ดลีบสูงสุด (55.54%)

2. ทุเรียนพันธุ์แม่หมอนทอง ผลทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่ผสมเกสรด้วยเกสรตัวผู้พันธุ์ก้านยาว กระดุมทอง และชมพูศรี มีลักษณะรูปทรงผลดี โดยเฉพาะผลที่ผสมกับเกสรตัวผู้จากพันธุ์ชมพูศรี มีพู เต็มเกือบทุกพู ส่วนลักษณะเนื้อ สีของเนื้อ รสชาติ ไม่แตกต่างจากผลที่ผสมเกสรตาม ธรรมชาติ ความหนาของเนื้อตั้งแต่ 1.9-2.78 เซนติเมตร โดยเฉพาะผลที่ผสมกับเกสรตัวผู้ พันธุ์ก้านยาว และชมพูศรี มีความหนาเนื้อมาก 2.78 แล 2.44 เซนติเมตร ตามลำดับ จำนวนเมล็ดต่อผลค่อนข้างน้อย ตั้งแต่ 4.5-8 เมล็ด เปอร์เซนต์เมล็ดลีบ 40-59.89%

3. ทุเรียนพันธุ์แม่อีหนัก ผลทุเรียนพันธุ์แม่อีหนัก ที่ผสมกับเกสรด้วยพันธุ์ชะนีและเพันธุ์หมอนทอง มี ลักษณะรูปทรงของผลสวย พูเต็มทุกพู ส่วนลักษณะเนื้อ สีของเนื้อ และรสชาติไม่แตกต่าง จากทุเรียนอีหนัก ที่ผสมเกสรตามธรรมชาติ กล่าวได้ว่าการช่วยผสมเกสรทุเรียนในทุกพันธุ์ โดยใช้เกสรตัวผู้ต่างพันธุ์กับแม่ พันธุ์ จะช่วยเพิ่มการติดผลซึ่งทำให้ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่เพิ่ม ขึ้นและยังทำให้คุณภาพของ ผลดีขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างพันธุ์ที่ทดลองแล้วปรากฎว่าได้ผลดีก็คือ

- พันธุ์แม่กระดุมทอง ผสมกับเกสรตัวผู้พันธุ์ชะนี พันธุ์ชมพูศรี และพันธุ์ หมอนทอง
- พันธุ์แม่หมอนทอง ผสมกับเกสรตัวผู้พันธุ์หมอนทองต่างต้นกัน และพันธุ์ ชมพูศรี
- พันธุ์แม่ชะนี ผสมกับเกสรตัวผู้พันธุ์หมอนทอง
- พันธุ์อีหนัก ผสมกับเกสรตัวผู้พันธุ์หมอนทองและพันธุ์ชะนี

การผสมเกสรที่อยู่บนกิ่งสูงเกษตรกรทำเองก็ได้ การผสมเกสรทุเรียนในกรณีที่ดอกอยู่บนกิ่งที่สูงมีวิธีการดังนี้

วิธีที่ 1 เก็บละอองเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อใส่ขวด (อาจใช้ขวดลิโพวิตันดีก็ได้) เอาเชือกผูกปากขวดแล้วห้อยคอผู้ที่จะขึ้นไปทำการผสมเกสร เมื่อผู้ผสมเกสรปีนต้นทุเรียนขึ้น ไปแล้ว ก็ใช้พู่กันแตะละอองเกสรผัวผู้พันธุ์พ่อจากขวดนำไปป้ายที่ยอดเกสรตัวเมียของดอก ทุเรียนพันธุ์แม่ที่กำลังบาน

วิธีที่ 2 เก็บละอองเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อใส่กระป๋องพลาสติก แล้วใช้แปรงขนอ่อน (แปรงทาแลคเกอร์) 1-2 อันต่อกับไม้ไผ่หรือไม้ระกำความยาวตามที่ต้องการ จากนั้นใช้แปรง ขนอ่อนแตะละอองเกสรตัวผู้จากกระป๋องพลาสติก นำไปป้ายยอดเกสรตัวเมียของดอกพันธุ์ แม่ที่กำลังบานตามกิ่งสูง โดยผู้ทำการผสมเกสรไม่ต้องปีนขึ้นไปบนต้นทุเรียน

วิธีที่ 3 กรณีที่ต้นพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ อยู่ใกล้กันก็ใช้แปรงขนอ่อนต่อไม้แล้วยก ขึ้นไปปาดละอองเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อ จากนั้นก็ย้ายไปปาดยอดเกสรตัวเมียของดอกพันธุ์แม่ที่ กำลังบาน สลับกันไปมาเป็นการช่วยผสมเกสรทั้งสองฝ่าย

การเก็บละอองเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อ ตามปกติควรจะเก็บละอองเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อในเวลาประมาณ 19.00 น. ซึ่งเป็น เวลาที่อับละอองเกสรตัวผู้แตก ปล่อยละอองเกสรตัวผู้ซึ่งสามารถนำไปผสมเกสรได้เลย เกษตรกรต้องการเก็บละอองเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อก่อนเวลา 19.00น. ก็สามารถเก็บ ดอกมาไว้ก่อนนำไปผสมเกสรดังนี้ วิธีที่ 1 ตัดดอกพันธุ์พ่อซึ่งกำลังบานเวลาประมาณ 17.00 น. แต่อับละอองเกสร ตัวผู้ยังไม่แตก นำดอกพันธุ์พ่อดังกล่าวมาแช่น้ำในกระป๋องหรือแก้วน้ำ โดยแช่เฉพาะส่วน ของก้านดอก เวลาประมาณ 19.00 น. อับละอองเกสรตัวผู้จะแตกปล่อยละอองเกสรตัวผู้ ก็นำ ไปใช้ผสมเกสรได้ หรืออาจจะตัดเฉพาะอับละอองเกสรตัวผู้ใส่กระป๋องพลาสติกแล้วจึงนำไป ใช้ผสมเกสร วิธีที่ 2 ตัดดอกพันธุ์พ่อซึ่งกำลังบาน เวลาประมาณ 17.00 น. ใส่ในถุงพลาสติก นำไปไว้ในร่ม ต่อมาเวลาประมาณ 18.30 น. ใช้มือรูดหรือดึงเฉพาะอับละอองเกสรตัวผู้ใส่ใน กระป๋องพลาสติกนำไปไว้ในที่ร่ม ต่อมาเวลาประมาณ 18.30 น. ใช้มือรูดหรือดึงเฉพาะอับ ละอองเกสรตัวผู้ใส่ในกระป๋องพลาสติก เวลาประมาณ 19.00 น. อับละอองเกสรตัวผู้จะแตก ปล่อยละอองเกสรตัวผู้ ก็นำไปใช้ผสมเกสรได้เลย สรุป ในอนาคตข้างหน้าอันใกล้นี้ การเพิ่มผลิตทุเรียนเพื่อการส่งออกสามารถ กระทำได้โดยใช้วิธีการช่วยผสมเกสรโดยใช้เกสรตัวผู้ต่างพันธุ์ ซึ่งจะได้ผลผลิตสูงขึ้น และ ผลทุเรียนมีขนาด รูปทรงผล ตลอดจนคุณภาพได้มาตรฐานมากขึ้น ระบบการปลูกทุเรียนอาจเปลี่ยนแปลงไป โดยการปลูกระยะแรกอาจใช้ระยะปลูก 6x6, 7x7 หรือ 8x8 เมตร และเมื่อต้นสูงขึ้น อายุประมาณ 10 ปี ทำการตัดยอกทิ้งให้ ความสูงไม่เกิน 8 เมตร ต่อมาเมื่อกิ่งระหว่างแถวจะชนกันค่อยๆ ทยอยตัดแต่งกิ่งทุเรียนแถว กลางออกทีละน้อยทุกปี ซึ่งต้นเหล่านี้ก็ยังสามารถเก็บเกี่ยวผลได้ จนกระทั่งเมื่อต้นทุเรียน แถวที่เก็บเอาไว้มีกิ่งข้างขยายมากแล้ว ก็ทำการตัดต้นแถวกลางทิ้ง จนได้ระยะปลูกใหม่เป็น 12x 12, 14x14 หรือ 16x16 เมตร ซึ่งได้ต้นทุเรียนที่มีลักษณะทรงพุ่มเตี้ยกว้าง แล้วใช้ เทคนิคการช่วยผสมเกสรอย่างง่ายๆ เพื่อช่วยเพิ่มการติดผลตามกิ่งตั้งแต่บริเวณที่ห่างลำต้น เล็กน้อย จนถึงเลยกลางกิ่งเล็กน้อ การที่สามารถกำหนดตำแหน่งการติดผลได้ทำให้สะดวก ต่อการปฎิบัติดูแลรักษา ไม่ต้องโยงกิ่งมาก การฉีดสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชกระทำได้ทั่วถึง และเก็บเกี่ยวผลได้ง่าย



**************************************************************************



14.
การศึกษา  การผสมเกสรทุเรียนพันธุ์ชะนีและก้านยาว  โดยใช้เกสรตัวผู้พันธุ์ต่างๆ ได้แก่ ชะนี ก้านยาว หมอนทอง กบพิกุลทอง กระเทย ที่สถานีทดลองพืชสวนพลิ้ว อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ระหว่างเดือนมกราคม 2529 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2530 พบว่า ทุเรียนผสมเกสรตามธรรมชาติ และผสมตัวเองติดผลน้อยคือติดผลเพียง 0-6% ใน พันธุ์แม่ชะนี และผสมเกสรตามธรรมชาติติดผล 21.19% ในพันธุ์แม่ก้านยาว แต่ การผสมข้ามพันธุ์โดยการช่วยผสม ทำให้ติดผลดีขึ้นคือหลังจากผสมเกสรแล้ว 2 สัปดาห์ ปรากฎว่า ติดผล 30.1-63.61 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์แม่ก้านยาวติดผล 87.09-89.68% ส่วนการเจริญเติบโตของผลทุเรียนที่เกิดจากการผสมเกสรระหว่างเกสรตัวผู้พันธุ์ต่างๆ ทั้งกับ พันธุ์แม่ชะนี และก้านยาว เป็นแบบ simple sigmoid curve ลักษณะภายนอกของผลทุเรียนที่เกิดจากการผสมเกสรด้วยตัวผู้พันธุ์ต่างๆในพันธุ์ แม่ชะนี มีลักษณะรูปทรงผลสวย ผลที่บิดเบี้ยวมีน้อยมาก พูเต็มเกือบทุกพู ขนาดผลใหญ่ และน้ำหนักผลมากกว่าผลที่ปล่อยให้ผสมเกสรตามธรรมชาติ และในพันธุ์แม่ก้านยาวมี ลักษณะรูปทรงกลมสวยงาม ผลไม่บิดเบี้ยว พูเต็มทุกพ ู แต่ขนาดค่อนข้างเล็กและน้ำหนัก น้อย เนื่องจากปริมาณการติดผลต่อต้นสูง สำหรับลักษณะภายในของผลทุเรียนที่เกิดจาก การผสมเกสรตัวเกสรตัวผู้พันธุ์ต่างๆ ทั้งในพันธุ์แม่ชะนีและก้านยาว ส่วนใหญ่ไม่แตกต่าง จากผลที่ปล่อยให้ผสมเกสรตามธรรมชาติ ทั้งลักษณะเนื้อ สีเนื้อ รสชาติ น้ำหนักเนื้อต่อ น้ำหนักเมล็ด แต่มีแนวโน้มได้เมล็ดเต็มมากขึ้นและมีจำนวนเมล็ดต่อผลมากขึ้น การทดลองครั้งนี้พบว่า การช่วยผสมเกสรสามารถแก้ปัญหาการติดผลน้อยของ ทุเรียนได้ โดยเฉพาะการใช้เกสรตัวผู้จากพันธุ์หมอนทองและก้านยาว ผสมกับพันธุ์แม่ชะนี และการใช้เกสรตัวผู้พันธุ์หมอนทองและพันธุ์ชะนีผสมกับพันธุ์แม่ก้านยาว






หน้าก่อน หน้าก่อน (3/13) - หน้าถัดไป (5/13) หน้าถัดไป


Content ©