-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 686 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ทุเรียน




หน้า: 3/13



                 ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อทุเรียน      

     1. เรียกใบอ่อน   
                                  
        ทางใบ :                       
      - ให้ “น้ำ 100 ล.+ 46-0-0 (200 กรัม)หรือ 27-5-5(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” ฉีดพ่นพอเปียกใบทุก 5-7 วัน ต่อการเรียกใบอ่อน 1 รุ่น
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
       ทางราก :                       
     - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
     - ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน                        

       หมายเหตุ :                       
     - เริ่มลงมือปฏิบัติทันทีหลังจากตัดแต่งกิ่ง
     - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็จะกลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก......แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้
     - สิ่งบ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ของต้นคือการแตกใบอ่อน ถ้าต้นสมบูรณ์ดีจะแตกใบอ่อนออกมาพร้อมกันทั่วทั้งต้น ระยะการแตกใบอ่อนไม่เกิน 5-7 วัน แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์จริงการแตกใบอ่อนจะออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น แม้ระยะเวลาจะผ่านไปนานนับสัปดาห์แล้วก็ตาม
     - ความสมบูรณ์ของต้นอันเกิดจากการบำรุงของรุ่นปีการผลิตที่ผ่านมา มีผลอย่างมากต่อการบำรุงเรียกใบอ่อนรุ่นปีการผลิตปัจจุบัน รุ่นปีการผลิตที่ผ่านมา ถ้าต้นได้รับการรบำรุงถูกต้องสม่ำเสมอ หรือต้นไม่โทรมการเรียกใบอ่อนก็จะแตกออกมาเร็วพร้อมกันทั่วทั้งต้นดี แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณืหรือโทรม ใบอ่อนชุดใหม่ก็จะแตกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น
     - รักษาใบอ่อนที่แตกใหม่ละชุดให้รอดพ้นจากโรคและแมลงให้ได้ ถ้าใบอ่อนชุดหนึ่งชุดใดถูกทำลายไปจะต้องเริ่มเรียกใบชุดที่หนึ่งใหม่
                        
     - ทุเรียนต้องการใบอ่อน 3 ชุด.....ถ้าได้ใบอ่อน 1 ชุดจะได้ดอก 10-20 เปอร์เซ็นต์.....ถ้าได้ใบอ่อน 2 ชุดจะได้ดอก 30-40 เปอร์เซ็นต์.....ถ้าได้ใบอ่อน 3 ชุดจะได้ดอก 70-80 เปอร์เซ็นต์
     - เพื่อความสมบูรณ์เต็ม 100% ต้องเรียกใบอ่อนให้ได้ 3 ชุด (3 ชั้น) แต่ละรุ่นให้เป็นใบแก่ภายใน 45 วัน            

    2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
       ทางใบ :                         
     - ให้ “น้ำ 100 ล.+ 0-21-74(200 กรัม)หรือ 0-39-39(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” ฉีดพ่นพอเปียกใบ 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน                       
       ทางราก :                       
     - ให้ 8-24-24(1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
     - ให้น้ำปกติ ทุก  2-3 วัน                         
   
       หมายเหตุ :                       
     - ลงมือปฏิบัติเมื่อใบอ่อนเริ่มแผ่กางหรือเพสลาด
     - วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด
     - สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย
                        
       วิธีเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่..                        
       วิธีที่ 1.....ถ้าต้นสมบูรณ์ดีมีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว  หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อ  ใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็ไม่ควรห่างกันเกิน 7-10 วัน  หลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เรียกใบอ่อนชุด 3 ต่อได้เลยอีกเช่นกัน การที่ใบอ่อนชุด 2 ออกไม่พร้อมกันนั้นจะส่งผลให้ใบอ่อนชุด 3 ออกไม่พร้อมกันทั้งอีกด้วย  และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาดจึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ
                        
      วิธีที่ 2......หลังจากใบอ่อนชุดแรกแผ่กางแล้วเร่งให้เป็นใบแก่ ได้ใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 2 เมื่อใบอ่อนชุด 2 แผ่กางให้เร่งเป็นใบแก่ เมื่อใบชุด 2 เป็นใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบก็ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 3 และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาดจึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ
     (วิธีที่ 1 ได้ผลดีกว่าวิธีที่ 2 เพราะต้นจะมีอาการโทรมน้อยกว่า..)
   - ใบอ่อนที่ออกมาแล้วปล่อยให้เป็นใบแก่เองตามธรรมชาติต้องใช้ระยะเวลา 30-45 วัน
        
    3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก                        
       ทางใบ :                       
     - ให้ “น้ำ 100 ล.+ 0-42-56 (200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” ทุก 7-10 วัน ติดต่อกัน 2-3 รอบแล้วให้  “น้ำ 100 ล.+ เอ็นเอเอ.25 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.”  สลับ 1 รอบ  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ติดต่อกัน 1-2 เดือน
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                       
       ทางราก :                       
     - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพศุตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน 
     - ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน                        

       หมายเหตุ :                       
     - เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
     - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุด ควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง ในห้วงนี้ให้กลูโคสผงหรือนมสัตว์สด 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน
     - ปริมาณ 8-24-24 หรือ 9-26-26 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น  แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย  ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
     - การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น จากเคยให้ 15 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง
     - ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง
         
    4. ปรับ ซี/เอ็น เรโช                              
       ทางใบ :                       
     - ในรอบ 7-10 วันให้ “น้ำ 100 ล.+ 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” 1 รอบกับให้ “น้ำ 100 ล.+ เอ็นเอเอ.25 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” อีก 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                       
      ทางราก :                       
    - เปิดหน้าดินโคนต้นโดยการนำอินทรียวัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
    - งดให้น้ำเด็ดขาด กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด
                          
      หมายเหตุ :                       
    - วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณ ซี.(อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล)และ  “ลด” ปริมาณ เอ็น.อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น)ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกหลังการเปิดตาดอก
    - ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช จะต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช จะไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนตกลงมา มาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว
    - ต้นที่อั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีก แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน
    - ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช. สมบูรณ์หรือไม่ในทุเรียนไม่อาจสังเกตจากอาการใบสลดได้แต่ให้สังเกตจากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายและใบกรอบเปราะ ข้อใบสั้น หูใบอวบอ้วน
    - เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย
    - กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อ ต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานมากกว่าสวนพื้นราบยกร่องแห้งจึงจะทำให้ใบสลดได้ อาจส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน ดังนี้จึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช โดยกะคะเนให้ดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตกระแหงและมีความชื้นไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช พอดี
         

    5. เปิดตาดอก                          
       ทางใบ :                       
       สูตร 1...น้ำ 100 ล.+ 13-0-46(500 กรัม)+ ไธโอยูเรีย 250 กรัม+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สาหร่ายทะเล 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ....ข้อควรระวัง อัตราการใช้ 13-0-46 + ไธโอยูเรีย.เข้มข้นกว่านี้อาจทำให้ใบเหลือง ใบไหม้ แล้วร่วงได้ โดยทุเรียนจะไม่ออกดอกชุดนี้แต่จะออกดอกช้ากว่ากำหนดหรือเป็นชุดต่อไป
       สูตร 2.....น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 200 ซีซี.+ 0-52-34(500 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สาหร่ายทะเล 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.25
ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
       เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่ง หรือสลับกันทั้งสองสูตร
       ทางราก :                       
     - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
     - ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง 1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
                        
       หมายเหตุ :                       
     - เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีทั่วต้นและสภาพอากาศพร้อม
     - เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียว 
     - ธรรมชาตินิสัยของทุเรียน เป็นไม้ผลยืนต้นประเภทออกดอกง่ายอยู่แล้ว เทค
นิคการใช้ ฮอร์โมนไข่ที่มี 0-52-34 จำนวนหนึ่งเป็นส่วนผสมหลักอยู่ก่อนแล้วนั้น อาจเพิ่ม 0-52-34 เพิ่มขึ้น 500 กรัม เป็นการเฉพาะ เช่น "น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ 0-52-34(400-500 กรัม)" ก็จะช่วยให้การเปิดตาดอกได้ผลแน่นอนยิ่งขึ้น
     - การใช้ "ฮอร์โมนไข่" ประจำ ควบคู่กับบำรุงต้นตามขั้นตอยอย่างสม่ำเสมอทำให้สมบูรณ์อยู่เสมอจนกลายเป็น "ประวัติความสมบูรณ์ต้น" จะทำให้ทุเรียนออกดอกติดผลแบบทะวายไม่มีรุ่นได้ตลอดปี....ผลผลิตทุเรียนแบบไม่มีรุ่นนี้เหมาะสำหรับทำทุเรียนทอดกรอบ   
     - หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ       

    6. บำรุงดอก                           
       ทางใบ :                       
     - ให้ “น้ำ 100 ล.+ 15-45-15 (200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ. 100ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.”
ทุก 5-7 วันฉีดพ่นพอเปียกใบ
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
                          
       ทางราก :                       
     - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น                       
     - ให้ 8-24-24 (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
     - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                         

       หมายเหตุ :                       
     - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูมบำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ.1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
     - ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
     - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน
     - ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบเพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้
     - ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอสามารถช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก
     - เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์จะได้ผลแน่นอนกว่าการใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ทำเอง
     - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุด    ตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
     - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้ 
     - การไม่ใช้สารเคมีเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆจะทำให้มีผึ้งหรือมีแมลงธรรมชาติอื่นๆจำนวนมากเข้ามาช่วยผสมเกสรซึ่งจะส่งผลให้ติดผลดกขึ้น       

    7. บำรุงผลเล็ก                           
       ทางใบ :                                 
     - ให้ “น้ำ 100 ล.+ 10-45-10(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.25 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.”   ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                       
       ทางราก :                       
     - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม
     - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ 10% ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
     - ให้นำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./ครั้ง/เดือน
     - ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน                        

       หมายเหตุ  :                           
     - เริ่มปฏิบัติหลังผสมติดหรือกลีบดอกร่วง 
     - เทคนิคการให้ปุ๋ยทางใบด้วยสูตร 15-45-15 ซึ่งเป็นสูตรเดียวกับบำรุงดอกนั้น วัตถุประสงค์เพื่อให้ P. สร้างเมล็ดก่อนในช่วงแรก ซึ่งเมล็ดจะเป็นผู้สร้างเนื้อต่อไปเมื่อผลโตขึ้น....สูตรนี้ (15-45-15) เหมาะสำหรับทุเรียนสายพันธุ์เมล็ดใหญ่/เต็ม เช่น ก้านยาว. ลวง. ชะนี. ฯลฯ แต่หากเป็นทุเรียนสายพันธุ์เมล็ดลีบหรือตาย เช่น หมอนทอง นกกระจิบ ฯลฯ ก็ให้ใช้ 21-7-14 เพื่อบำรุงขยายขนาดผลได้เลย 
     - ช่วงผลเล็กตั้งแต่เริ่มติดเป็นผลเห็นรูปร่าง ถ้าสภาพอากาศวิปริต (ร้อนจัด หนาวจัด ฝนชุก)ให้ “เอ็นเอเอ.+ สาหร่ายทะเล + แคลเซียม โบรอน” 1-2 รอบ
ห่างกันรอบละ 5-7 วัน นอกช่วยป้องกันผลเล็กร่วงได้แล้วแล้วยังช่วยบำรุงผลให้พร้อมต่อการเป็นผลขนาดใหญ่คุณภาพดีในอนาคตได้อีกด้วย         

    8. บำรุงผลกลาง                           
       ทางใบ :                                 
     - ให้ “น้ำ 100 ล.+ 21-7-14 (200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ 25 ซีซี.+ แคลเซียมโบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” ทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                       
       ทางราก :                       
     - ใส่น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14(1/2-1 กก.)/ต้น/ครั้ง/เดือน
     - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
                                
    
       หมายเหตุ  :                       
     - เริ่มลงมือบำรุงเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล การที่จะรู้ว่าผลเริ่มเข้าไคลแล้วหรือยัง ต้องใช้วิธีสุ่มเก็บผลมาผ่าดูเมล็ดภายใน                          
     - ให้ทางใบไคโตซาน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2-3 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางจะช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้ใหญ่และเนื้อแน่นขึ้นแต่เมล็ดมีขนาดเท่าเดิม
     - ให้กลูโคสหรือนมสัตว์สด 1 รอบ (ไม่ควรมากกว่านี้) เมื่ออายุผลได้ 50 เปอร์เซ็นต์ จะช่วยให้ได้กลิ่นรสดีมาก
     - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำกับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก     

   
9. ระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว                
       ช่วงฝนชุก :
                       
       ทางใบ :
                       
     - ให้ “น้ำ 100 ล.+ 16-8-24(200 กรัม)หรือ 0-21-74(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.”
ทุก 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ 
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
     - ให้เฉพาะช่วงฝนตกชุก หลังหมดฝนแล้วให้อีก 1 ครั้ง จากนั้นกลับเข้าสู่ขั้นตอนบำรุงปกติ
       ทางราก :                       
     - เปิดหน้าดินโคนต้น ทำร่องระบายน้ำป้องน้ำขังค้างโคนต้น
     - ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
     - ให้น้ำเพื่อละลายแล้วงดให้น้ำเด็ดขาด
                             

       หมายเหตุ :                       
     - เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยวตามปกติ 10-20 วันและให้ปฏิบัติต่อไปจนกว่าจะหมดฝน 
     - การให้ทางใบด้วย 16-8-24 นอกจากช่วยปรับปรุงคุณภาพผลแล้วยังช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้มีขนาดใหญ่ขึ้นได้อีกด้วย ส่วนการให้ทางใบด้วย 0-21-74 ช่วยปรับปรุงคุณภาพผลอย่างเดียวโดยไม่ช่วยขยายขนาดผล หรือหยุดขยายขนาดผล
     - ช่วงที่มีฝนตกชุก ให้ฉีดพ่นทันทีเมื่อฝนหยุดตกใบแห้งโดยไม่จำกัดเวลา หรือฉีดพ่นก่อนฝนตก 30 นาที โดยไม่จำกัดเวลาอีกเช่นกัน
     - หลังจากหมดฝนแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเดิมและวิธีเดิมต่อไปอีก 2-3 รอบ จากนั้นให้สุ่มเก็บลงมาผ่าพิสูจน์ภายในก็จะรู้ว่าสมควรลงมือเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือต้องบำรุงต่อไปอีก
     - ถ้าฝนตกนานเป็นเดือนหรือหลายเดือนจนไม่อาจงดน้ำได้ ระหว่างนี้ผลทุเรียนจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ด้วยสูตรบำรุงผล บางครั้งขนาดผลใหญ่เกินเป็นทุเรียนรับประทานผลสุก กรณีนี้แก้ไขด้วยการจำหน่ายทุเรียนดิบสำหรับทำทุเรียนทอดกรอบหรือทำแป้งทุเรียน
หรือปล่อยให้แก่จัดจำหน่ายทุเรียนสุกสำหรับทำทุเรียนกวนก็ได้....ทุเรียนผลยักษ์เมื่อสุกให้แกะเนื้อใส่กล่องโฟมจำหน่ายก็ได้
     - ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวแล้วมีฝนมักเกิดอาการไส้ซึม แก้ไขด้วยการให้ทางใบด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริมสม่ำเสมอ ทั้งนี้ควรให้ตั้งแต่ยังไม่มีฝนซึ่งจะได้ผลดีกว่าให้หลังจากมีฝนแล้ว
     - ต้องการผลขนาดเล็ก (นกกระจิบ พวงมณี หลงลับแล หลินลับแล)เมื่อผลโตได้ขนาดตามต้องการแล้วให้บำรุงด้วยสูตรบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวทันที จากนั้นสุ่มเก็บลงมาผ่าพิสูตจน์ภายในก็จะรู้ว่าเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือต้องบำรุ่งต่อ
            

      ช่วงฝนแล้ง :                       
      ทางใบ :                        
    - ให้ “น้ำ 100 ล.+ 16-8-24(200 กรัม)หรือ 0-21-74(200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.25 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” หรือ “น้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                       
       ทางราก :                       
     - เปิดหรือไม่เปิดหน้าดินโคนต้นและนำอินทรียวัตถุออกหรือไม่ต้องนำออกก็ได้
     - ให้ 13-13-21(1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.รดน้ำพอละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด
                        
       หมายเหตุ  :                          
     - ผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวช่วงฝนแล้ง หากบำรุงทางใบด้วยสูตร 0-21-74 หรือ 0-0-50 สลับครั้งกับให้ฮอร์โมนเร่งหวานสูตรเด็ด (มูลค้างคาวหมักชีวภาพ) พร้อมกับให้ทางรากด้วย 13-13-21 จะทำให้ได้รสหวานจัดยิ่งขึ้นถึงระดับหวานทะลุองศาบริกซ์
     - การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 13-13-21 จะทำให้ต้นโทรม หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายไปจากต้นแล้วต้องเร่งบำรุงเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที
     - บำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอด้วยการทำให้มีสารอาหารกิตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆ ปี ส่งผลให้ทุเรียนออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีฤดูกาลได้ ดังนั้นการบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 จะไม่ทำให้ต้นโทรม หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายจากต้นไปแล้วเข้าสู่ขั้นตอนบำรุงต้น “สะสมอาหาร” และ “ปรับ ซี/เอ็น เรโช”
จากนั้นให้สำรวจความพร้อมของต้นถ้าต้นสมบูรณ์ดีพร้อมก็ลงมือ “เปิดตาดอก” ต่อได้เลย  กิ่งที่ยังไม่ออกดอกในรุ่นปีที่ผ่านมาสามารถออกดอกได้ถ้าสภาพอากาศไม่เลวร้ายจนเกินไปนักและดอกที่ออกมาก็สามารถพัฒนาให้เป็นผลได้เช่นกัน การบำรุงแบบต่อเนื่องนี้จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อต้นมีความสมบูรณ์แข็งแรงอย่างแท้จริง โดยเฉพาะต้นสาวที่ให้ผลผลิตน้อยทั้งๆที่บำรุงอย่างดีจะสามารถทำได้ง่าย


-------------------------------------------------------------------------

 



เนื้อทุเรียน มีจุดสีขาว เป็นจุดประ กระจายบนเนื้อทุนเรียนอยากทราบสาเหตุ และมีวิธีป้องกันอย่างไร

   จุดประสีขาว ที่เนื้อทุเรียน เรียก อาการเนื้อแกน เกิดขึ้น เนื่องจาก อาหารในต้นทุเรียนไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเนื้อ โดยมักพบปัญหานี้ในต้นทุเรียนที่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์และมีการแตกใบอ่อนในช่วงที่ผลทุเรียนมีอายุประมาณ 8-10 สัปดาห์
 

วิธีการป้องกันปัญหา คือ

   1. บำรุงให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์

   2. จัดการใบอ่อนโดยถ้าต้นทุเรียนค่อนข้างสมบูรณ์ แต่มีการแตกใบอ่อนค่อนข้างมาก  ควรพ่นสารชะลอการเจริญของใบอ่อน เพื่อให้ใบอ่อนเจริญอย่างช้า ๆ ในขณะเดียวกัน  ก็แนะนำให้พ่นปุ๋ยทางใบเพื่อให้ มีอาหารเพียงพอที่จะให้ ใบอ่อน และผลพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน การชะลอการแตกใบอ่อน

        2.1. การพ่นสารชะลอการเจริญเติบโต เช่น สารมีพิควอทคลอไรด์ ความเข้มข้น 37.5  พีพีเอ็ม. ให้ทั่วต้น

        2.2. การลดความเสียหาที่เป็นผลจากการแตกใบอ่อน ด้วยการพ่นปุ๋ยสูตรทางด่วน (คาร์โบไฮเดรตสำเร็จรูป อัตรา 20 ซีซี + ปุ๋ยเกล็ด 15-30-15 ที่มีธาตุรองและธาตุปริมาณน้อย อัตรา 60 กรัม+กรดฮิวมิค อัตรา 20 ซีซี ผสมรวมในน้ำ 20 ลิตร) 

   3.ในต้นที่สมบูรณ์น้อย แนะนำให้ปลิดใบอ่อน ด้วยการพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท(13-0-46) อัตรา 100-300 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ในระยะหางปลา


http://www.kasetonline.net/newsite/index.php?id=45  








                




หน้าก่อน หน้าก่อน (2/13) - หน้าถัดไป (4/13) หน้าถัดไป


Content ©