-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 381 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย25





การผลิตลำไยนอกฤดู และวิธีการตัดแต่งกิ่ง ..
ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้


จากการไปสัมมนาเกี่ยวกับปัญหาที่ภาคเหนือมีราคาถูกหรือล้นตลาด ในการผลิตลำไยในฤดู ทำให้คณะอนุกรรมาธิการพืชให้ความสนใจ การผลิตลำไยนอกฤดูของ อาจารย์พาวิน มะโนชัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่รับผิดชอบในการปลูกสวนลำไย และการขาดสอบการออกลำไยนอกฤดู และการควบคุมวิธีการ ตัดแต่งกิ่งลำไย ซึ่งอาจารย์พาวินได้เป็นผู้อภิปรายในเมื่อวานนี้ เกี่ยวกับปัญหาการล้นตลาดของลำไยภาคเหนือที่ออกมาในฤดูแล้วมีมากจนล้นตลาด แต่ทางแก้ไขควรจะออกนอกฤดูมากกว่า เพื่อหลีกเลี่ยงราคารับ-ซื้อ ในฤดูที่ตลาดเป็นผู้กำหนดราคา โดยอนุกรรมาธิการพืชซึ่งจัดโปรแกรมดูแลงานโดย ส.ส.อนันต์ ผลอำนวย ประธาน จัดเวลาไปดูแปลงลำไยที่แม่โจ้ ที่ถูกนำมาเป็นแปลงทดสอบลำไยเกือบพันไร่ในพื้นที่ทั้งหมดกว่าหมื่นไร่ ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้
         
ผ.ศ.พาวิน มะโนชัย ได้ดำเนินการหลายปีแล้ว และได้รับทุนจากการสนับสนุนการวิจัย ทั้งหน่วยงานต่างประเทศต้นสังกัด และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่ให้ทุนสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด และยังสนับสนุนการจัดพิมพ์เอกสารออกมาด้วย
         
ลำไยเป็นผลไม้ทางเศรษฐกิจของภาคเหนือ พบว่า ในปี 2541 การค้นพบสารโพแทสเซียมคลอเรต ด้วยความบังเอิญ และทำให้ลำไยลดการพึ่งพาอากาศหนาวเย็น ที่ทำให้เกิดการออกดอกของลำไยปีเว้นลำไยจาก 4 แสนไร่ ในปี 2541 เป็น 1 ล้านไร ในปี 2549 ส่งผลทำให้ผลผลิตออกมามากเกินความต้องการ โดยเฉพาะลำไยในฤดู
         
เป็นเหตุให้การศึกษาลำไยออกนอกฤดูเพื่อเหตุผลทางราคาตกต่ำ แต่การใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตก็ดี การออกนอกฤดูบังคับ ให้ลำไยออกดอกใน 2 ช่วง คือ ช่วง พ.ค.-ก.ค. เพื่อเก็บเกี่ยวเดือน พ.ย.-ก.พ. และช่วงเดือน ต.ค. ถึง พ.ย. เพื่อเก็บเกี่ยวเดือน พ.ค.-มิ.ย. เฉพาะช่วงบังคับการออกดอกเดือน พ.ค.-ก.ค. เกิดปัญหาค่อนข้างมากเพราะตรงกับฤดูฝน ต้นลำไยไม่ตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรต ไม่ดีเท่าในช่วงฤดูหนาว แต่ในขณะเดียวกัน การที่ลำไยออกดอกในเดือน ต.ค. ถึงเดือน พ.ย. จะกระทบอากาศหนาวทำให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ การกำหนดอัตราการใช้สารเหมาะสม และศึกษาถึงเทคนิคการผลิต ให้ตรงกับความต้องการของตลาด และให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดจึงจะประสบความสำเร็จ
         
ข้อควรพิจารณาในการควบคุมผลผลิตให้ออกสู่ตลาดในช่วงเวลาที่ตลาดต้องการสูง การควบคุมคุณภาพ และต้นทุนให้ต่ำเป็นการท้าทาย ถ้ามีความเป็นมืออาชีพ ควรยึดหลักไว้ คือ
         
1.สามารถใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต บังคับได้สำเร็จตลอดปีตามช่วงจังหวะที่ต้องการ โดยไม่ใช้สารในอัตราสูงเกินไป
         
2.วิธีควบคุมทรงพุ่มให้สามารถใช้สารเคมีเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนได้ทั้งหมด
         
3.มีการวิเคราห์ดิน และการจัดการธาตุอาหารอย่างถูกต้อง
         
4.ปรับปรุงคุณภาพผลในด้านขนาดผล และสีผิวเปลือกให้มีสีทอง
        
 5.วิธีการจัดการให้ผลใบมีช่อขนาดใหญ่ และสม่ำเสมอกันทั้งช่อดอก เพื่อลดต้นทุนแรงงานการคัดบรรจุ และลดสัดส่วนของผลที่ตกเกรด
         
เพื่อให้คนกระชับการผลิตลำไยนอกฤดู ที่ผศ. พาวิน ได้เน้นการตัดแต่งกิ่งที่ สกว. ให้ทุนมาจัดพิมพ์เป็นเอกสารเผยแพร่ของศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทรศัพท์ 053-873390 โทรสาร 053-499218
         
ขอเสนอวิธีการตัดแต่งกิ่งลำไย ดังต่อไปนี้
เทคนิการตัดแต่งกิ่งลำไย
หลักสำคัญของการตัดแต่งกิ่งจะต้องคำนึงพื้นที่การออกดอกติดผล ความสะดวกต่อการดูแลรักษาและต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ควรคำนึงถึงนิสัยการออกดอกของลำไย โดยปกติลำไยจะออกดอกส่วนปลายยอด ตั้งแต่ใกล้พื้นดินจนถึงยอดของทรงพุ่มการแต่งกิ่งลำไยรูปทรงของต้นลำไยที่แน่นอน เพราะลำไยแต่ละสวนมีอายุต้น รูปทรงและระยะปลูกแตกต่างกัน การเรียนรู้เทคนิคการตัดแต่งกิ่งทำให้รู้เทคนิคในการลงมือปฏิบัติได้จริงในการตัดแต่งกิ่ง
         
ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่งลำไย
          1.เร่งให้ลำไยแตกใบอ่อน การตัดแต่งกิ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถเร่งการแตกใบอ่อน มีผลทำให้ต้นลำไยฟื้นตัวได้เร็ว
          2.ควบคุมความสูงของทรงพุ่ม เพื่อให้ทรงเตี้ยทำให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตและสะดวกต่อการดูแลรักษา
          3.การลดการระบาดของโรคและแมลง ทรงพุ่มโปร่งทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกและแสงแดดสามารถส่องเข้าไปในทรงพุ่มจะช่วยลดการระบาดของโรคและแมลง
          4.ต้นลำไยตอบสนองต่อสารคลอเรต การตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง แสงส่องเข้าไปในทรงพุ่ม จะช่วยให้ต้นลำไยตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตได้ดี
          5.ผลผลิตมีคุณภาพดี ต้นลำไยที่มีทรงพุ่มทึบถ้าหากออกดอกและมีการติดผลดกส่งผลให้ลำไยมีผลขนาดเล็ก ผลผลิตด้อยคุณภาพ
         
อุปกรณ์การตัดแต่งกิ่ง
          เลื่อยตัดและกรรไกรตัดแต่งกิ่ง
          เลื่อย ใช้ตัดกิ่งที่มีขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่งตั้งแต่ 0.5-4.0 นิ้ว
          กรรไกร สำหรับตัดกิ่งที่มีขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 0.5 นิ้ว
          โดยจะตัดกิ่งที่อยู่กลางทรงพุ่มออก 2-5 กิ่ง เพื่อลดความสูงของต้น และให้แสงแดดส่องเข้าในทรงพุ่ม จากนั้นตัดกิ่งที่อยู่ด้านในทรงพุ่มที่ไม่ได้รับแสงและตัดกิ่งที่มีขนาดใหญ่ทางด้านข้างของทรงพุ่มออกบ้างเพื่อออกให้แสงส่องเข้าไปในทรงพุ่ม ตัดกิ่งที่ถูกโรคและแมลงทำลาย กิ่งที่ไขว้กัน กิ่งซ้อนทับและกิ่งที่ชี้ลง
         
ทรงเหลี่ยม
          การตัดแต่งรูปทรงสี่เหลี่ยม เหมาะสมสำหรับต้นลำไยที่มีอายุน้อย และปลูกในระยะชิดซึ่งมีขึ้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
          1.กำหนดความสูงของทรงพุ่มไม่ให้เกิน 4 เมตร โดยทั่วไปอยูในช่วง 2-3 เตร โดยนำไม้ไผ่ทำเครื่องหมายตามความสูงเกินเครื่องหมายก็ตัดออกให้หมด
          2.ตัดปลายกิ่งด้านข้างทรงพุ่มทั้งสี่ด้าน ส่วนจะเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับระยะปลูกและทรงพุ่มเดิมของลำไย ถ้าหากทรงพุ่มชนกันหรือใกล้จะชนกันก็ตัดออกแต่โดยทั่วไปแล้วแนะนำให้ตัดลึกจากปลายกิ่งเข้าไปประมาณ 30-50 เซนติเมตร
         
ทรงฝาชีหงาย
          ตัดกิ่งที่อยู่กลางทรงพุ่มออกให้หมดเหลือเฉพาะกิ่งที่เจริญในแนวนอน จากนั้น จะเกิดใหม่กิ่งขึ้นตามกิ่งหลักที่เจริญในแนวนอนเรียกกิ่งที่เกิดขึ้นว่า กิ่งกระโดงหรือกิ่งน้ำค้าง
          ภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตตัดกิ่งกระโดงให้เหลือตอยาว 3-5 นิ้ว เพื่อกระตุ้นการแตกใบและควบคุมความสูงของทรงพุ่ม
          ข้อดีของการตัดแต่งกิ่งทรงฝาชีหงาย
          1.ได้ต้นลำไยทรงเตี้ยและสามารถควบคุมความสูงของทรงพุ่มให้อยู่ในระดับเดิมได้ทุกปี
          2.กระตุ้นการแตกใบอ่อนให้เร็วขึ้น
          3.ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลลำไยที่กระโดงในทรงพุ่มจะผิวเหลืองทองเป็นที่ต้องการของตลาด
          4.ต้นทุนการผลิตลดลงร้อยละ 20-50
        
 ข้อจำกัดของการตัดแต่งกิ่งทรงฝาชีหงาย
          1.ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อต้นอาจลดลง ถ้าตัดแต่งขนาดทรงพุ่มออกมากเกินไป
          2.อาการเปลือกแตก เนื่องจากการตัดแต่งกิ่งเปิดกลางทรงพุ่มทำให้แสงแดดส่องกระทบกิ่งและลำต้นมากทำให้ลำไยแตกกิ่งกระโดงช้า จะทำให้เกิดอาการเปลือกแตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นลำไยที่มีอายุมาก ดังนั้นจึงควรทำการตัดแต่งกิ่งในฤดูฝน
 


 แหล่งที่มา :  เกษตรแนวใหม่- ม.เชียงใหม่ 

**********************************************************************************************************************************************************




สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า
แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง


นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ลำไยถือเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งของไทย ซึ่งแต่ละปีสามารถส่งออกทั้งในรูปลำไยสด ลำไยอบแห้ง และผลิตภัณฑ์ รวมกันปีละกว่า 5 พันล้านบาท แต่เมื่อถึงช่วงฤดูกาลที่ลำไยให้ผลผลิต คือ เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เกษตรกรมักประสบกับปัญหาราคาตกต่ำเป็นประจำทุกปี ในขณะที่ความต้องการของตลาดจีนที่เป็นคู่ค้ารายใหญ่มีเกือบตลอดทั้งปี ดังนั้น หากเกษตรกรสามารถกระจายผลผลิตให้ออกในช่วงเวลาที่ตลาดต้องการแล้ว ก็จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาราคาลำไยตกต่ำได้อย่างยั่งยืน

นางนารีณัฐ รุณภัย รองเลขาธิการ สศก. เปิดเผยว่า สศก. ได้ทำการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาเบื้องต้น โดยใช้แนวคิดการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ และการวิเคราะห์โครงการทางการเงินเพื่อศึกษาความคุ้มค่าในการผลิตลำไยนอกฤดู พบว่า เกษตรกรควรมีงบลงทุนเริ่มแรกแปลงละประมาณ 70,000-90,000 บาท ในพื้นที่ 5 ไร่ เพื่อใช้ในการวางระบบน้ำ การขุดบ่อน้ำบาดาล รวมทั้งเป็นค่าใช้จ่ายต่อไร่ในการปลูกลำไย และจัดซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็น โดยมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาปีที่ 1-4 เฉลี่ยปีละ 3,000-4,000 บาท ปีที่ 5-10 เฉลี่ยไร่ละ 7,000-13,000 บาท และปีที่ 11-20 เฉลี่ยไร่ละ 15,000-18,000 บาท

จากการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุน พบว่า หากเกษตรกรแบ่งพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อผลิตลำไยนอกฤดู จะมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ 39,690 บาท/ไร่ มีอัตราผลตอบแทนจากโครงการร้อยละ 16 มีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อทุน 1.25 มีระยะเวลาคืนทุน 9 ปี และเมื่อวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ โดยกำหนดให้ราคาที่เกษตรกรขายลดลงร้อยละ 10 และกำหนดให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากที่คาดการณ์ไว้ พบว่า ยังคงมีความเป็นไปได้ในการลงทุน ดังนั้นการลงทุนผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรถือว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุน

ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาผลิตลำไยนอกฤดูเพิ่มขึ้น ภาครัฐควรเร่งจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์ผู้ผลิตลำไยนอกฤดูใน จ.เชียงใหม่ และ ลำพูน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตสำคัญ เพื่อให้การส่งเสริมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนในการถ่ายทอดเทคโนโลยี จัดหาเงินทุนหมุนเวียนในเงื่อนไขผ่อนปรน เพื่อใช้ปรับปรุงและลงทุนในระบบน้ำ ประสานผู้ส่งออก และวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

ที่มา : แนวหน้า









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (3529 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©