-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 554 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย24





ปลูกข้าวประหยัดน้ำด้วยข้าวแอโรบิก 

ศ.ดร.เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม หัวหน้ากลุ่มวิจัย “ทรัพยากรพันธุกรรมและธาตุอาหารพืช” มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเมธีวิจัยอาวุโส สกว. สาขาพืชไร่ เปิดเผยว่า น้ำเป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกรโดยเฉพาะชาวนา เมื่อราคาข้าวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ชาวนาอยากทำนาปรังในฤดูแล้ง แต่น้ำชลประทานที่มีจำกัดไม่พอแบ่งปันให้ทั่วถึง เมื่อถึงนาปีชาวนาส่วนใหญ่ที่ทำนาน้ำฝนมักจะประสบปัญหาขาดน้ำเมื่อฝนทิ้งช่วง การปลูกข้าวโดยไม่ขังน้ำ เรียกว่า “ข้าวแอโรบิก”  น่าจะเป็นทางออกได้ทางหนึ่ง สำหรับชาวนาที่มีปัญหาเรื่องน้ำ และจะช่วยให้ประเทศไทยผลิตข้าวได้มากขึ้นจากน้ำที่มีอยู่จำกัด โดยการใช้น้ำน้อยลงสำหรับการผลิตข้าวแต่ละไร่และแต่ละกิโลกรัม

         
ศ.ดร.เบญจวรรณ กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันการปลูกข้าวไร่ด้วยระบบดั้งเดิมยังพอมีเหลืออยู่ในที่สูง และที่ยังให้ผลผลิตดีต้องการระยะเวลาหมุนเวียนอย่างน้อยถึง 7 ปี แต่การปลูกข้าวแอโรบิกนี้มีความแตกต่างตรงที่เป็นระบบเพาะปลูกสมัยใหม่ที่มีการดูแลรักษาและให้ปัจจัยการผลิต อาทิ ปุ๋ย น้ำ อย่างพอเพียงทั่วถึง มีการกำจัดศัตรูพืชโดยเฉพาะวัชพืชเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นระบบที่มีการเพาะปลูกเชิงการค้าอย่างได้ผลมาแล้วนับสิบๆ ล้านไร่ในประเทศบราซิลและจีนทางเหนือ โดยการขาดแคลนน้ำในการทำนาทำให้ประเทศจีนมีแผนที่จะขยายพื้นที่ปลูกข้าวแอโรบิกให้ได้ถึง 55 ล้านไร่ นับเป็นร้อยละ 30 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งประเทศ ทั้งนี้ ข้าวแอโรบิกแตกต่างจากการทำนาสวนตรงที่ไม่มีการทำเทือก ไม่มีความพยายามขังน้ำในกระทงนา แต่ให้น้ำพอดินชุ่มเหมือนพืชไร่อื่นที่ไม่ใช่ข้าว


ข้อได้เปรียบของข้าวแอโรบิก คือ ช่วยให้ประหยัดน้ำ อีกทั้งปลูกข้าวได้ในพื้นที่มากกว่า ปีไหนฝนดีข้าวแอโรบิกอาจต้องการน้ำชลประทานเสริมเพียง 1-2 ครั้ง แต่ในช่วงวิกฤติน้ำชลประทานอาจพอเพียงปลูกข้าวแอโรบิกได้ถึง 5-10ไร่ ในฤดูแล้งที่ฝนตกเพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่มีฝนเลย น้ำที่ใช้ทำนาปรัง 1 ไร่ จะพอเพียงปลูกข้าวแอโรบิกได้ถึง 3-4 ไร่

         
นอกจากนี้ชาวนาที่มีค่าน้ำมันหรือไฟฟ้าสำหรับสูบน้ำเข้านาสวนได้เพียงไร่เดียว ก็จะปลูกข้าวแอโรบิกได้ถึง 5-10ไร่ในฤดูนาปี และได้ถึง 3-4 ไร่ ในฤดูนาปรัง ทั้งนี้น้ำที่ประหยัดได้จริงจะแตกต่างกันตามพื้นที่และฤดูกาล ขึ้นอยู่กับปริมาณฝน ชนิดดินที่อุ้มน้ำได้มากน้อยต่างกัน ลักษณะสภาพแวดล้อมทางอุณหภูมิและความชื้นที่กำหนดควบคุมการใช้น้ำของต้นข้าว จึงนับได้ว่าการปลูกข้าวแอโรบิกมีศักยภาพที่เด่นชัดสำหรับชาวนาในเขตนาน้ำฝน แม้ในเขตชลประทานการปลูกข้าวแอโรบิกจะช่วยเพิ่มพื้นที่รับน้ำเพื่อปลูกข้าวได้เป็นอีกหลายเท่าตัวจากการทำนาสวน


อย่างไรก็ตามการทำนาสวนด้วยการขังน้ำไว้ในกระทงนาเป็นระบบที่มีการพัฒนาระบบนิเวศมาเพื่อแก้ปัญหาหลายอย่างเกี่ยวกับการเพาะปลูก เมื่อเปลี่ยนไปเป็นการปลูกข้าวโดยไม่ขังน้ำปัญหาเหล่านั้นจึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยอีกทางหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวนี้มี 3 กลุ่ม คือ ศัตรูพืช  ธาตุอาหารในดินและการดูดธาตุอาหาร พันธุ์ข้าวและวิธีการเพาะปลูกที่เหมาะสม ศ.ดร.เบญจวรรณ  และคณะ จึงได้รับทุนสนับสนุนจากฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อสร้างกลุ่มวิจัยและมุ่งสร้างความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับข้าวไทย เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาระบบการปลูกข้าวแบบประหยัดน้ำ

         
การทำเทือกและการขังน้ำเป็นการวิธีการกำจัดควบคุมวัชพืช ไส้เดือนฝอย และแมลงศัตรูในดินที่ได้ผล ศัตรูพืชเหล่านี้เป็นปัญหาใหญ่ของข้าวแอโรบิก กลุ่มวิจัยฯ ได้ค้นพบพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชได้ในระดับหนึ่ง และกำลังทำการศึกษาระบบการปลูกพืช และการใช้พืชคลุมดิน/ปุ๋ยพืชสด เพื่อลดการสะสมของศัตรูพืชในแปลงข้าวแอโรบิก

         
นอกจากนี้ดินที่ไม่ขังน้ำจะมีธาตุอาหารสำคัญ โดยเฉพาะฟอสฟอรัสที่ละลายน้ำได้น้อยลง ต้นข้าวดูดไปใช้ได้ยากขึ้น การจัดการปุ๋ยในระบบข้าวแอโรบิกจึงจำเป็นต้องประณีตแม่นยำ การศึกษากลไกควบคุมระบบการปรับตัวของรากข้าวและสมรรถนะในการดูดธาตุอาหารของข้าวต่างพันธุ์โดยกลุ่มวิจัยฯ จะช่วยให้การปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับสภาพดินไม่ขังน้ำได้ดีขึ้น และจัดระเบียบการใส่ปุ๋ยให้ได้ประโยชน์มากที่สุดและมีการสูญเสียน้อยที่สุด ฝ่ายพืชคลุมดินของกลุ่มวิจัยฯ จึงให้ความสนใจพืชตระกูลถั่วเป็นพิเศษ ซึ่งนอกจากจะช่วยควบคุมศัตรูพืชดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังจะช่วยประหยัดค่าปุ๋ยได้ด้วยไนโตรเจนที่ตรึงจากอากาศ

         
ขณะที่พันธุ์ข้าวและวิธีการเพาะปลูกก็ต้องมีการพัฒนาขึ้นมาให้เหมาะสมสำหรับแต่ละพื้นที่และโอกาส และไม่อาจนำเทคโนโลยีที่มีอยู่สำหรับข้าวนาสวนไปใช้กับข้าวแอโรบิกได้ในทันที  การศึกษาในเบื้องต้นของกลุ่มวิจัยฯ พบว่าข้าวพันธุ์หลัก เช่น ขาวดอกมะลิ105 กข 6 ชัยนาท 1 สุพรรณบุรี 1 สามารถสร้างราก ดูดธาตุอาหาร และเจริญเติบโตได้ในสภาพ “แอโรบิก” ดีไม่แพ้ข้าวไร่พันธุ์แนะนำ เช่น พันธุ์ อาร์ 258 น้ำรู ซิวแม่จัน รวมทั้งพบว่าข้าวนาสวนบางพันธุ์เมื่อปลูกในดินไม่ขังน้ำสลับกับขังน้ำจะให้ผลผลิตสูงกว่าเมื่อขังน้ำตลอดเวลา ดังนั้นในขั้นต้นจึงน่าจะใช้ข้าวนาสวนพันธุ์มาตรฐานเหล่านี้ทดลองปลูกแบบข้าวแอโรบิกได้ และเมื่อระบบมีความพัฒนามากขึ้นก็คงจะมีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวแอโรบิกโดยเฉพาะ ในฤดูนาปรัง 2552 นี้ นายอรรถพล เขียวแก้ว นักศึกษาปริญญาโทสาขาวิชาพืชไร่ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทดลองปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ได้ผลดี คาดว่าจะเก็บเกี่ยวได้ในเดือนกรกฎาคม และอีกแปลงหนึ่งใช้ไมยราบไร้หนามคลุมแปลงคุมหญ้าและปรับปรุงดินไว้เพื่อทดสอบการปลูกข้าวหอมด้วยพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 กข15 (หอมมะลิ) ปทุมธานี 1 (หอมปทุม) และ กข33 (หอมอุบล) ในฤดูนาปี 2552 นี้


“การปลูกข้าวแอโรบิกนับว่ามีความเหมาะสมกับการเพาะปลูกสมัยใหม่เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะปัจจุบันที่มีการใช้เครื่องจักรตลอดทุกขั้นตอนของการดำเนินการ เช่น ในบางท้องที่ของภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างใน การปลูกข้าวแอโรบิกจึงน่าจะพัฒนาระบบการเพาะปลูกที่ประหยัดแรงงานและใช้เครื่องจักรได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน ในขณะเดียวกันเราต้องทำการศึกษาทางวิชาการพื้นฐานเรื่องการปรับตัวของพันธุ์ข้าวไทยที่หลากหลายต่อสภาพดินน้ำไม่ขัง/ดินน้ำขังไปพร้อมๆกัน เพื่อสนับสนุนพัฒนาการของระบบการปลูกข้าวแอโรบิกประหยัดน้ำนี้ให้ได้ผล” เมธีวิจัยอาวุโส สกว. กล่าวสรุป



ข้อมูลจาก : ฝ่ายงานสื่อสารสังคม (สกว.) - ม.เชียงใหม่









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (1987 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©