-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 572 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย20





 ถั่วลิสงเมล็ดโตอายุสั้น-คุณค่าทางอาหารสูง 

ศ.ดร.อารันต์ พัฒโนทัย เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สาขาพืชไร่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมทีมวิจัย ได้ดำเนินงานวิจัยพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการผลิตถั่วลิสงของไทย ควบคู่กันไปกับการปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสง โดยเฉพาะถั่วลิสงชนิดเมล็ดโต ที่ผลิตภัณฑ์แปรรูปมีมูลค่าสูงและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผลงานที่สำคัญในการปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสงเมล็ดโต ได้แก่ การพัฒนาถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 60-3 ร่วมกับศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น และถั่วลิสงพันธุ์ มข.72-1 และ มข.72-2 ซึ่งพันธุ์เหล่านี้ได้เผยแพร่ให้เกษตรกรนำไปปลูกแล้ว ทำให้เกษตรกรมีพันธุ์ที่ผลิตผลมีราคาสูงขึ้น และยังได้เชื่อมโยงการปลูกกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ทั้งในระดับชุมชนและระดับอุตสาหกรรม จนปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์แปรรูปถั่วลิสงเมล็ดจำหน่ายตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับอุตสาหกรรม และการส่งออก แต่พันธุ์ถั่วลิสงเมล็ดโตเหล่านี้ยังมีข้อด้อย คือ อายุค่อนข้างยาว (ประมาณ 130 วัน) ลำต้นกึ่งเลื้อย และฝักสุกแก่ไม่พร้อมกัน ทีมวิจัยจึงได้ดำเนินการพัฒนาพันธุ์ถั่วลิสงเมล็ดโตอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันได้พันธุ์ถั่วลิสงเมล็ดโตที่อายุสั้นเท่าๆ กับพันธุ์ถั่วลิสงเมล็ดเล็ก (ประมาณ 110 วัน) ลำต้นไม่เลื้อย และฝักสุกแก่ใกล้เคียงกัน คือพันธุ์ มข.60 ซึ่งได้เผยแพร่ออกสู่เกษตรกรแล้วเช่นกัน 
           
ศ.ดร.อารันต์กล่าวว่า ปัจจุบันกำลังดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสงเมล็ดโตให้ดียิ่งขึ้น โดยเน้นให้มีกรดโอเลอิกสูงและมีกรดลิโนเลอิกต่ำ ซึ่งจะช่วยลดการอุดตันของไขมันในหลอดเลือด ทำให้ลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคความดัน โรคหลอดเลือด และโรคหัวใจ เพื่อคุณประโยชน์และเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังทำวิจัยพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงพันธุ์ให้ต้านทานต่อความแห้งแล้ง โดยศึกษาช่วงเวลาและความถี่ของการกระทบแล้งของถั่วลิสงในแหล่งต่างๆ และความเสี่ยงต่อการเกิดสารอะฟลาท็อกซิน การตอบสนองทางสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาของพันธุ์ถั่วลิสงต่อการกระทบแล้ง และกลไกการทนแล้งของพันธุ์ถั่วลิสง การถ่ายทอดลักษณะทนแล้ง เทคนิคการคัดเลือกพันธุ์ทนแล้ง รวมทั้งการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลสำหรับการคัดเลือกพันธุ์ทนแล้ง
           
ศ.ดร.อารันต์เปิดเผยว่า การปนเปื้อนของสารพิษอะฟลาท็อกซินเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของถั่วลิสงและความปลอดภัยของผู้บริโภค เนื่องจากถั่วลิสงที่กระทบแล้งจะมีปัญหาการปนเปื้อนของสารพิษอะฟลาท็อกซินสูง การปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสงให้ทนแล้งจึงมิใช่มีเป้าหมายเพื่อลดความเสียหายจากความแห้งแล้งเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นกลยุทธ์ที่จะนำไปสู่การลดปัญหาการปนเปื้อนของสารพิษอะฟลาท็อกซินในถั่วลิสงอีกด้วย



ข้อมูลจาก : ฝ่ายงานสื่อสารสังคม (สกว.) - ม.ขอนแก่น









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (1431 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©