-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 430 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย4





 เกษตรกรรมกับสารเคมี.....
ผลกระทบที่เกษตรกรชุมชนบ้านเมืองปอนเริ่มตระหนัก
 

ชุมชนเมืองปอน อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน เป็นชุมชนเกษตรกรรมที่ทำการเกษตรแบบพึ่งพาสารเคมีมาเป็นระยะเวลายาวนาน จนเมื่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้แจ้งข้อมูลผลการตรวจเลือดเพื่อหาสารพิษตกค้างในร่างกายของเกษตรกรชุมชนบ้านเมืองปอนจำนวน 57 ราย โดยวิธีการสุ่มตรวจ พบว่า มีเกษตรกรที่มีสารพิษตกค้างในร่างกายจำนวน 39 ราย ตัวเลขดังกล่าวทำให้คนในชุมชนกลุ่มหนึ่งเริ่มตระหนักถึงภัยจากสารเคมี และได้รวมกลุ่มกันทำโครงการวิจัย “รูปแบบการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตสู่การลด ละ เลิก การใช้สารเคมีของชุมชน ต.เมืองปอน อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน” โดยมีคุณไพศาล ญาติศรี เป็นหัวหน้าโครงการ กระบวนการวิจัยที่สำคัญแบ่งเป็น 2 ช่วง

ในช่วงแรกเป็นการศึกษาเรียนรู้ สังเกต และเก็บข้อมูลเพื่อให้ทราบถึงสถานภาพการจัดการในกระบวนการผลิตทางการเกษตรแต่ละรูปแบบของชุมชน โดยเฉพาะวิธีการใช้และปริมาณสารเคมีในการเพาะปลูกพืชแต่ละชนิดกระบวนการวิจัย

ช่วงที่ 2 จะเน้นการมีส่วนร่วมในการสร้างจิตสำนึก ตลอดจนแสวงหาทางเลือกที่เหมาะสมกับการผลิตทางการเกษตร ซึ่งหลังจากการใช้กระบวนการวิจัยดังกล่าวกับกลุ่มเกษตรกรจำนวน 40 รายที่เข้าร่วมโครงการ ได้ก่อให้เกิดผลการปรับเปลี่ยนใน 3 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 “ลด” คือ การทดลองใช้บางเทคนิค/วิธีการ เพื่อลดการใช้สารเคมีการเกษตร มีจำนวน 26 ราย เป็นกลุ่มที่ใช้สารเคมีในบางขั้นตอนของการเพาะปลูกและพยายามใช้สารทดแทนหรือวิธีทางธรรมชาติผสมผสานกัน ไป เช่น มีการใช้ยากำจัดวัชพืชในขั้นตอนการเตรียมพื้นที่ และใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก น้ำหมักจุลินทรีย์ ในขั้นตอนการดูแล บำรุง รักษาผลผลิต เป็นต้น

ระดับที่ 2 “ละ” คือ การแบ่งพื้นที่การเกษตรบางส่วน เพื่อทดลองทำการเกษตรแบบไม่ใช้สารเคมี มีจำนวน 12 ราย เป็นกลุ่มที่สนใจจะเลิกใช้สารเคมี แต่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา สังเกตการ และทดลองในพื้นที่บางส่วนของตนเอง เนื่องจากไม่มีความมั่นใจในทางเลือกว่าจะได้ผลจริง จึงยังไม่กล้าที่จะปรับเปลี่ยนทั้งระบบหรือเต็มพื้นที่ในทันที

ระดับที่ 3 “เลิก” คือ การปรับเปลี่ยนทั้งหมด โดยเลิกใช้สารเคมีทุกขั้นตอนในการผลิตในการผลิตทั้งระบบ มีจำนวน 2 ราย


โครงการวิจัยนี้ แม้จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเพียงแค่สามารถลดการใช้สารเคมีลงบ้างก็ตาม แต่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นจากกระบวนการวิจัย คือ “ด้านการพัฒนาคน” ทีมวิจัยสามารถเรียนรู้หลายอย่าง เช่น ทักษะในการพูดคุยในที่สาธารณะ ความสามารถในการเขียนรายงานและเขียนโครงการเสนอขอทุนที่อื่นๆ การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และเป็นผู้นำในการวิจัย ทราบถึงเทคนิค และวิธีการในการสร้างความมั่นใจในการปรับเปลี่ยนสู่การลด ละ เลิก การใช้สารเคมี และการสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อการใช้ชีวิตแบบเกษตรยั่งยืน ที่สำคัญกระบวนการวิจัยได้ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาในระดับชุมชน ทำให้เกษตรกรในชุมชนเกิดการตื่นตัว มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับต่างๆ และสามารถสร้างกระแสให้ชุมชนอื่นตื่นตัวตาม โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในกระบวนการดำเนินงานประมาณ 10 คน ซึ่งทั้งหมดอยู่ในขั้นของการลดการใช้สารเคมี และมีแนวโน้มที่กลุ่มคนเหล่านี้จะสามารถขยายผลไปยังคนอื่นในชุมชนต่อไป
 
  
 
ที่มา  :  สกว.









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (1958 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©