-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 512 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย2






โครงการ รูปแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
ในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร  วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรี


ความเป็นมาของโครงการ
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรี เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนด้านวิชาชีพเกษตร โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้จบการศึกษามีความรู้ มีทักษะ และเจตคติที่ดีต่ออาชีพเกษตร สามารถประกอบอาชีพด้านการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดการเรียนการสอนทั้งในระบบ และนอกระบบ การจัดการเรียนการสอนในระบบ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และได้จัดการเรียนการสอนเป็น 8 สาขาวิชา คือ สาขาพืชศาสตร์ สาขาสัตวศาสตร์ สาขาช่างกลเกษตร สาขาประมง สาขาบัญชีสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาอุตสาหกรรมเกษตร สาขาพาณิชยการ สาขาวิชาพื้นฐาน ในด้านการจัดการเรียนการสอนนอกระบบ ประกอบด้วยการ การจัดการศึกษาโครงการอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท (อศ.กช.) การฝึกอบรมอาชีพให้แก่เกษตรกร ได้แก่การฝึกอบรมอาชีพหลักสูตรระยะสั้น การฝึกอบรมอาชีพอิสระ (108 อาชีพ)


จากประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนด้านการเกษตรมากว่า 30 ปีพบว่าการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการเกษตรนั้นในช่วงระยะเวลาประมาณ 10 ปีที่ผ่านประสบปัญหา จากผลการสำรวจพบว่ามีผู้จบการศึกษาจำนวนน้อยที่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ผู้จบการศึกษาส่วนมากไม่ได้ประกอบอาชีพด้านการเกษตร แต่กลับไปทำงานเป็นผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม หรือประกอบอาชีพอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ด้านการเกษตรทำให้เกิดการสูญเปล่าทางการศึกษา


จากสถานการณ์ปัญหาที่นักเรียน นักศึกษา ที่จบการศึกษาจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรีจำนวนมากไม่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการเกษตร จึงได้จัดทำ  ”โครงการการศึกษารูปแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร”   เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นใจและทัศนคติในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรและข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จากผู้จบการศึกษาทั้งที่ประกอบอาชีพเกษตรและไม่ได้ประกอบอาชีพเกษตร จากนักเรียน นักศึกษา ปัจจุบัน ครู ผู้ปกครอง และสังคม และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทาง และรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการพัฒนานักเรียน นักศึกษา สร้างเจตคติที่ดีและความมั่นใจแก่นักเรียน นักศึกษา เกษตร ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ต่อไป


วัตถุประสงค์
1. เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติในการประกอบอาชีพเกษตร การจัดการการสอน หลักสูตรการเรียนการสอน ปัจจัยต่าง ๆ ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร จาก นักเรียน นักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่า ครูผู้สอน ผู้ปกครอง

2. เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร

3. เพื่อพัฒนาผู้ร่วมโครงการ ให้เป็นผู้มีบุคลิกภาพใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีกระบวนการในการทำงาน รู้จักกระบวนการวิจัยเพื่อใช้แก้ไขปัญหาในท้องถิ่นต่อไป

ระยะเวลาโครงการ เริ่ม 1 กันยายน 2549 สิ้นสุด 30 สิงหาคม 2550
ขยายเวลาถึง 30 ตุลาคม 2552



สรุปผลการดำเนินโครงการวิจัย

1.การบรรลุวัตถุประสงค์
การดำเนินงานมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะการดำเนินงานวิจัยของนักวิจัยโดยได้จัดเวทีสร้างความเข้าใจการดำเนินงานกับกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยตลอดจนการเก็บข้อมูลทัศนคติในการประกอบอาชีพเกษตร การจัดการการสอน หลักสูตรการเรียนการสอน ปัจจัยต่าง ๆ ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร จาก นักเรียน นักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่า ครูผู้สอน ผู้ปกครอง ด้วยวิธีการสำรวจ สัมภาษณ์จัดเวทีพูดคุยหรือลงมือปฏิบัติจริง เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นใจต่อวิชาชีพเกษตรของนักศึกษา ซึ่งจากข้อมูลจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญเกิดจาก


1.ค่านิยมของผู้ปกครองและสังคมในการทำงานที่ต้องมีเงินเดือนประจำจึงจะถือว่ามีความมั่นคง


2.มุมมอง ความเชื่อต่อการเรียนเกษตร ที่ว่าไม่ต้องใช้ความรู้ ทักษะมากนัก เรียนง่าย ใครๆ ก็เรียนได้ คนที่เรียนเกษตรจึงถูกมองว่าเป็นคนไม่เอาถ่าน


3.สื่อสารมวลชน ที่เสนอข่าวด้านลบในอาชีพเกษตร เช่น ราคาข้าวตกต่ำ การที่เกษตรกรมีหนี้สิน


4.หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาชีพเกษตร ที่มีกระบวนการเรียนการสอนแบบแยกส่วน หลักสูตรมีรายวิชาที่ไม่ยืดหยุ่นผู้เรียนไม่สามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพได้จริง


5.วิธีการสอนของครูที่ไม่สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้เรียนว่าสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ โดยมุ่งเน้นการเรียนการสอนเชิงทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติการจริง



ข้อค้นพบสำคัญ คือ วิธีการเรียนการสอนในอดีตนั้นเน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ การลงงาน เน้นการปฏิบัติงานจริงในแปลงเกษตร จนเกิดทักษะการเรียนรู้ ความกล้าในการประกอบวิชาชีพที่มาจากการลองผิดลองถูก ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของนักศึกษาในวิทยาลัยที่กล่าวว่า  “ความไม่มั่นใจเกิดจากการไม่ได้ลงมือทำ”  ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นข้อมูลที่มีคุณค่าต่อการดำเนินงานของทีมวิจัย ควบคู่ไปกับข้อมูลจากการถอดบทเรียนจากกระบวนการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเรียนรู้บทเรียนความสำเร็จเล็ก ๆ ของรุ่นพี่ ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษา รวมไปถึงกระบวนการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเกษตรกรที่มีความมุ่งมั่นในวิชาชีพเกษตร

จากข้อมูลดังกล่าวทีมวิจัยนำไปตรวจสอบข้อมูลและจัดเวทีนำเสนอข้อมูลยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อร่วมกันกำหนด รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในการประกอบอาชีพเกษตร ซึ่งผู้สอนต้องสำรวจทัศนคติที่มีต่ออาชีพเกษตร สำรวจความคาดหวังในการประกอบอาชีพ พัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้  จัดให้มีการศึกษาดูงานกับสถานประกอบการ และออกสัมภาษณ์เกษตรกรที่ให้ความรู้ได้จริง และเป็นแบบอย่างที่สามารถทำได้จริง เพื่อให้ผู้เรียนได้รับรู้สถานการณ์จริงในการประกอบอาชีพ และเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนแก่ผู้เรียนให้ผู้เรียนเลือกทดลองปฏิบัติจริงในสิ่งที่อยากทำ เมื่อผู้เรียนเกิดความอยากที่จะทดลองทำผู้เรียนจะพยายามศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง โดยครูผู้สอนจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดี คือ  สอนทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติจริง ใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย กิจกรรมการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนสนุกกับการเรียนรู้ ไม่เครียด ท้าทายเหมาะกับเนื้อหา กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน ควรมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนและแจ้งผลให้นักเรียนรู้เพื่อที่นักเรียนจะได้รู้พัฒนาการและรู้สึกท้าทายทำให้อยากเรียน จัดให้มีการลงมือปฏิบัติจริง อย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอน มีการจัดการโดยกลุ่มผู้เรียนเอง โดยมีสมาชิกในกลุ่มนำความรู้ที่ได้เรียนมาใช้จริงตามความสามารถ โดยมีครูทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและสนับสนุนและครูควรพัฒนาทักษะกระบวนการคิด การแก้ปัญหา การจัดการ ความรู้เกี่ยวกับการตลาด การจดบันทึก สำหรับเรื่องหลักสูตร ควรมีการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่น ไม่บังคับวิชาให้เรียนมากเกินไป ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกรายวิชาที่สนใจได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  ซึ่งการใช้ทักษะกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ทีมวิจัยเรียนรู้จากฐานการปฏิบัติและการถอดบทเรียนอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เกิดองค์ความรู้ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยการนำกระบวนการวิจัยไป  ปรับใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรของนักศึกษาและครูผู้สอนต่อไป


2.การใช้ประโยชน์ จากงานวิจัย
จากการเรียนรู้ผ่านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของทีมวิจัยส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงและการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในระดับต่าง ๆ ดังนี้


• การปรับเปลี่ยนทัศนคติของนักศึกษา โดยจากการเรียนรู้ผ่านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นทำให้นักศึกษาสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อวิชาชีพเกษตร โดยมีนักวิจัยและนักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรีที่เข้าร่วมโครงการ และไม่ได้มีเป้าหมายในการประกอบอาชีพเกษตรตัดสินใจเรียนต่อ ปวส.สาขาวิชาชีพเกษตร ตลอดจนนักวิจัยและนักศึกษา ที่มีเป้าหมายในการประกอบอาชีพเกษตรยืนยันตัดสินใจเรียนต่อ ปวส.สาขาวิชาชีพเกษตร ทั้งในปีการศึกษา 2550 และปีการศึกษา 2551 นอกจากนี้นักวิจัยและนักศึกษามีความเชื่อมั่นและกำหนดเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจนในการประกอบวิชาชีพเกษตรในภูมิลำเนาของตนเอง โดยได้มีการกลับไปเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีความมั่นใจในทักษะกระบวนการเรียนรู้ของตนเองผ่านกระบวนการวิจัยว่าจะสามารถพัฒนาอาชีพเกษตรกรได้

ดังกรณีนายไพรัช แดนกะไสย นักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการได้สร้างความเข้าใจและนำเสนอแนวความคิดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับผู้ปกครองและพัฒนาโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นประเด็นเกษตรในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม


• การพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ของเด็กนักศึกษา การเรียนรู้ผ่านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นส่งผลให้นักวิจัยและนักศึกษาเกิดทักษะในการเรียนรู้ เช่น การหาความรู้ และสร้างการเรียนรู้ เช่น การตั้งคำถาม การจดบันทึก การจับประเด็น การนำเสนอ ฯลฯ สามารถยกระดับการเรียนรู้ในระบบปกติและพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรปกติเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในวิชาชีพเกษตร เกิดทักษะการเป็นผู้นำและมีจิตอาสาในการพัฒนาชุมชน สามารถเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนกิจกรรมจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ได้แก่


โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม (เยาวชนพันทาง) โดยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 2 โครงการ โครงการ Young Cementhai Activator Project (YCAP) โดยมูลนิธิซีเมนต์ไทย


โครงการ เยาวชนคนรักสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 1 โครงการ และโครงการค่ายอาสาสร้างสุข ปี 4 (สสส.) จำนวน 1 โครงการ ที่สำคัญที่สุดทีมวิจัยที่เป็นนักศึกษาสามารถค้นหาความชัดเจนในเป้าหมายชีวิตของตัวเอง ปรับพฤติกรรม เปลี่ยนการดำเนินชีวิต ผลักให้คุณค่าและความสำคัญของวิชาชีพเกษตรฝังลึกอยู่ในเบื้องลึกของทีมวิจัย เกิดการปรับเปลี่ยนทิศทางในการเรียนจากเดิม ทีมวิจัยส่วนหนึ่งวางเป้าหมายในการกลับไปประกอบอาชีพในท้องถิ่น และส่วนหนึ่ง ตัดสินใจเรียนต่อ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากผลการวิจัย


• การพัฒนาหลักสูตรการประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) สาขาเกษตรศาสตร์ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เกิดการรวมตัวกันของอาจารย์ผู้สอนจำนวน 8 ท่าน ที่เห็นการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ร่วมกันพัฒนาเป็นหลักสูตรบูรณาการการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพ ที่เน้นการเรียนรู้จากฐานการปฏิบัติและบนฐานการพัฒนาทักษะกระบวนการค้นหาความรู้ โดยมีเป้าหมาย เพื่อให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของวิถีชีวิตของคนไทยซึ่งเป็นสังคมเกษตรกรรม มีความพอเพียง พอดี และยั่งยืน และจบไปทำงานอยู่ที่ความสุขในชีวิตไม่ใช่อยู่ที่เงินเพียงอย่างเดียว ตลอดจนสร้างผู้เรียนให้มีกระบวนการเรียนรู้ฝังติดในตัวเอง สามารถเลือกความรู้มาใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพและแก้ปัญหาได้ เนื่องจากความรู้มิได้มีอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้นซึ่งอยู่ระหว่างการจัดการเรียนการสอนและทดลองจัดการเรียนการสอนผ่านงานวิจัยโครงการ พัฒนาต้นแบบการเรียนรู้บนฐานงานฟาร์มซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้บนฐานงานวิจัย ใช้กิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ เช่น ทักษะการฟัง การสังเกต การคิดวิเคราะห์ การถาม การจดบันทึก การสรุปบทเรียน ใช้เกมส์และกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของตนเองที่มีต่อกลุ่ม และประโยชน์ของการทำงานร่วมกัน การศึกษาดูงานอาชีพด้านการเกษตรเพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลายช่วยในการตัดสินใจ การศึกษาเรียนรู้รับฟังแนวคิดจากรุ่นพี่และเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเกษตร การศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนเกษตรกรที่อยู่อย่างมีความสุข และวิถีชีวิตของคนทำงานโรงงานอุตสาหกรรม และที่สำคัญคือการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนโดยการทดลองทำอาชีพจริง โดยครูให้การสนับสนุนและให้คำปรึกษา บูรณาการวิชาเรียนตามวงจรการผลิต เช่น วิชาการออกแบบการผลิตในช่วงเตรียมนา วิชาศัตรูพืชในช่วงระหว่างการผลิต เน้นย้ำให้เด็กนักเรียนแสวงหาความรู้เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพของตนเอง ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชน ทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อให้นักเรียนสามารถออกไปใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ


• การขยายผลสู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนอาชีวเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา โดยการนำเสนอกระบวนการเรียนรู้ผ่านการขับเคลื่อนนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ผ่านที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (คุณหญิงสุพัตรา มาศดิศ),รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (คุณสมพร ใช้บางยาง) ,รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ,เลขาธิการและที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ตลอดจนประสานความร่วมมือกับโครงการเกษตรกรมืออาชีพรุ่นใหม่ สกว. เพื่อผลักดันการเป็นต้นแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเกษตรกร สู่การขยายผลไปยังวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอื่น ๆ ทั่วประเทศ จนกระทั่งคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ได้ลงพื้นที่ศึกษาเรียนรู้โครงการและหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้เป็นโครงการนำร่องในการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรของประเทศไทย


3.โอกาสเกิดผลกระทบในวงกว้าง
โครงการนี้เกิดขึ้นจากสถานการณ์ปัญหาของการจัดการเรียนการสอนด้านการเกษตรของวิยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรีที่มีนักศึกษาลดลงและนักศึกษาไม่มีความมั่นใจในการประกอบอาชีพเกษตรแต่ก็สามารถเป็นตัวแทนของปัญหาเดียวกันในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีและสถาบันการจัดการศึกษาด้านการเกษตรทั่วประเทศ ที่มีอัตราการลดจำนวนลงของนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสวนทางกับนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่มุ่งสร้างให้เกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ในการพัฒนายกระดับเกษตรกรและมาตรฐานการผลิตในระดับท้องถิ่นอีกทั้งบทเรียนและข้อค้นพบของโครงการวิจัยในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนผลต่อการเปลี่ยนแลงที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาและครูผู้สอนวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรี จึงเป็นรูปธรรมสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายเป็นต้นแบบของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญในการสร้างความรู้ที่ติดตัวเด็กสอดคล้องกับการปฏิรูประบบการศึกษา รอบ 2 ของรัฐบาล ที่มุ่งทำให้คนไทยทุกคนได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษนี้ มุ่งเน้นไปที่คุณภาพ เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษาและผลักดันการศึกษาให้ทุกคนมีทักษะในการการเรียนรู้ไปจนตลอดชีวิต ซึ่งจะนำไปสู่การผลักดันกระบวนการเรียนรู้ผ่านงานวิจัยของเด็กและครู เข้าสู่ระบบการศึกษาและการพัฒนาประเทศได้


...............................................................


รายชื่อทีมวิจัยโครงการ รูปแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรี


1.นายเอกชัย ยุทธชัยวรกุล หัวหน้าโครงการวิจัย
2. นางสาววารี คำเคน
3.นางสาวสุภา แซ่หาญ
4.นายวิลาศ ถาพรม
5.นายณัฐวุฒิ ด้วงทอง

6.นายหัฏฐะ ชาววิวัฒน์
7.นายกรวุฒิ อู่ขุน
8.นางสาวพรทิพย์ หวานคำ
9.นายวรวุฒิ แสนแก้ว
10.นายชลิต ตรีนิตย์

11.นางสาวปาวีณา เผือกหอม
12.นางสาววรรณี ไชยศรี
13.นายเจนณรงค์ ล้อมกัน
14.นางสาวพิกุล มณีวงค์
15.นายนพรัตน์ แก้วสุข

16.นางสาวพรพิมล อิ๋นคำ
17.นางสาวเพ็ญศรี บุญชื่น
18.นางสาวพัชรี สกุลวรภัทร
19.นางสาวจันทิมา กวีกิจสุชาดา
20.นายไพรัชช์ แดนกะไสย

21.นางสาวนุสรา ทองรอด

ที่มา  :  สกว. 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (2640 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©