-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 218 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องนาข้าว




หน้า: 3/7


 

ในหลวง-พระราชินีองค์ต้นแบบ

ทั่วปท.ฟีเวอร์ ขอสูตรทำนํ้า ข้าวกล้องงอก


กระแสน้ำข้าวกล้องงอกฟีเวอร์ ทรงยกย่อง “ในหลวง-พระราชินี” ทรงเป็นต้นแบบให้คนไทยกินข้าวไทยเห็นประโยชน์ของไทย เร่งสร้างรายได้ให้เกษตรกร ด้านประชาชนทั่วประเทศตื่นตัวขอสูตรทำน้ำข้าวกล้องงอก อธิบดีกรมการข้าว เตรียมแจกจ่ายสูตร-ขายผลิตภัณฑ์ ชี้ทำง่ายมีหลากหลายรูปแบบ เก็บไว้ได้นาน เด็กกินได้ผู้ใหญ่กินดี เชื่อกระแสน้ำข้าวกล้องงอกทำให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมมากินข้าวไทยเยอะขึ้น เผย “ในหลวง” ทรงห่วงพันธุ์ข้าวไทยสูญหายอยากให้คนไทยปลูกกันเยอะ ๆ “พระเทพ” ทรงโปรดไอศกรีมข้าวกล่ำงอก รสชาติอร่อยกว่าไอศกรีมทั่วไป ไม่อ้วนมีสารอาหารที่มีประโยชน์สุดยอด “กาบ้า”

ภายหลังนายประเสริฐ โกศัลยวิตร อธิบดีกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกมาเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับน้ำข้าวกล้องงอก ซึ่งเป็นเครื่องดื่มสุขภาพที่กรมการข้าวนำทูลเกล้าฯถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จนพระองค์มีรับสั่งให้นำน้ำข้าวกล้องงอกขึ้นโต๊ะเสวยเพื่อทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุก ๆ 3 วัน เนื่องจากน้ำข้าวกล้องงอกมีคุณประโยชน์ครบถ้วน โดยนักวิชาการระบุว่าผลการวิจัยสรรพคุณลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ช่วยระบบย่อยอาหาร ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ ไม่ให้แก่ก่อนวัย บำรุงประสาท และควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ อีกทั้งยังทำได้ง่ายด้วย ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น
 
ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 4 ม.ค. นายประเสริฐ เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้รับการสอบถามเข้ามามากมายถึงสูตรการทำน้ำข้าวกล้องงอก ซึ่งกรมจะเปิดอบรมฟรีให้กับประชาชนทั่วไปที่สนใจและประชาชนที่ต้องการวัตถุดิบเพื่อไปทำน้ำข้าวกล้องงอกรับประทานเองสามารถมาซื้อ ข้าวกล้องงอกได้ที่กรมการข้าว โดยมีบรรจุถุงขายแล้วผู้สนใจนำไปทำรับประทานได้เองใน ครอบครัวได้ง่าย ๆ พร้อมกับมีเป็นแบบบดละเอียดบรรจุซองสามารถฉีกซองละลายน้ำอุ่น ๆ รับประทานได้ทันทีหรือนำไปใส่กับนมรับประทานตอนเช้าจะทำให้ร่างกายและระบบประสาทมีการทำงานที่สมดุลกันด้วย
 
“ช่วงเวลานี้ผมปลื้มใจมากที่สามารถ กระตุ้นให้คนไทยหันมาบริโภค และเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานข้าวได้อย่างดี เป็นเพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นต้นแบบของแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ให้พระราชดำรัสกับผมเมื่อตอนเข้าเฝ้าฯเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 51 รับสั่งว่าให้กรมการข้าวไปกระตุ้นให้คนไทยปลูกข้าวทุกพื้นที่ในประเทศไทย โดยปลูกไว้กินเองเพราะจะทำให้เอาใจใส่กับการปลูกข้าวมากกว่าและจะไม่ใช้สารเคมีมากเพราะต้องกินเองด้วย ซึ่งจะทำให้ได้ประโยชน์ในด้านลดต้นทุนการผลิตไปได้อีก เมื่อเกี่ยวก็ต้องลงมือเกี่ยวอย่างดี และตากผึ่งให้แห้งเพื่อรักษาคุณภาพของข้าวทำให้สามารถเก็บไว้ได้นานไม่ต้องรีบขาย เก็บไว้กินเองทั้งปี เหลือก็ค่อยออกขาย ไม่ว่าเศรษฐกิจภายนอกจะเป็นอย่างไรเกษตรกรไทยไม่กระเทือนแน่” อธิบดีกรมการข้าว กล่าว
 
นายประเสริฐ เผยอีกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งอีกว่าเมื่อก่อนข้าวเหนียวมะม่วงที่ตลาดหัวหินอร่อยมาก ไม่เหมือนตอนนี้ไม่อร่อยเพราะข้าวเหนียวเหมือนกับที่อื่นซื้อจากที่อื่นมาทำ ชาวบ้านไม่ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์เดิมที่เคยปลูกที่หัวหินแล้ว พระองค์รับสั่งให้รักษาพันธุ์ข้าวของแต่ละท้องถิ่นไว้ไม่อย่างนั้นจะสูญหายหมด และไปปรับปรุงพันธุ์ให้มีผลผลิตดีขึ้น ต่อต้านโรคได้มากขึ้น ชาวบ้านจะได้หันมาปลูกพันธุ์พื้นเมือง ที่มีความพิเศษแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันไปที่กรมการข้าวต้องสนับสนุนให้ชาวนาและช่วยชาวนาด้วยเพราะทรงกังวลเรื่องชาวนา หากชาวนายังมีรายได้ไม่พอเลี้ยงครอบครัวจะขายที่นากันหมด
 
อธิบดีกรมการข้าว กล่าวต่อว่า คนไทยจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคข้าว   ที่เคยรับประทานข้าวขัดขาวก็ค่อย ๆ นำข้าว  กล้องมาผสม เพราะการบริโภคข้าวกล้องและน้ำข้าวกล้องงอกตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โรคอัลไซเมอร์ ชะลอความชราก่อนวัยและซ่อมแซมอวัยวะต่าง ๆ ได้ตั้งแต่ต้น โดย เฉพาะเด็ก ๆ เยาวชนเพราะคนไทยต้องรับประทานข้าวตั้งแต่เด็กจนถึงวันสุดท้ายของชีวิตเลยทีเดียว ซึ่งข้าวกล้องยังทำให้ไม่อ้วนง่ายด้วย เพราะมีสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการร่างกายสามารถนำไปใช้ได้หมดอีกด้วย
 
“ผมเชื่อว่ากระแสการหันกลับมาเห็นคุณค่าของข้าวไทยที่ให้ประโยชน์มากต่อร่างกาย และเป็นสิ่งที่คนไทยบางส่วนอาจจะละเลย มองว่าการบริโภคข้าวทำให้อ้วนก็ต้องเปลี่ยนแปลง   ความคิดใหม่ เพราะข้าวไทยยังเป็นแหล่งสารอาหารครบถ้วนโดยไม่ต้องไปพึ่งพาอาหารเสริมจากต่างประเทศอีก เมื่อคนไทยหันมาบริโภคอาหารจากข้าวกันมาก ๆ จะช่วยให้ชาวนาขายข้าวได้ราคาดีด้วย” นายประเสริฐ กล่าว
 
อธิบดีกรมการข้าว กล่าวเสริมว่า ข้าวกล้องงอกสามารถผลิตเป็นอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายได้หลายชนิด และพันธุ์ข้าวของไทยมีมากมายหลายสายพันธุ์ที่แต่ละพันธุ์หากไม่ผ่านการสีการขัดจนขาว สามารถนำมาทำเป็นข้าว กล้องงอกได้ทุกสายพันธุ์ โดยเฉพาะไอศกรีมข้าวกล่ำ (ข้าวเหนียวดำ) งอก เป็นสูตรที่นักวิจัยของกรมการข้าวทำขึ้นทูลเกล้าฯถวายสมเด็จ   พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อเสวยแล้วโปรดมากถึงกับรับสั่งว่าอร่อยกว่าไอศกรีมทั่วไป และรสชาติหอมมันกว่าเครื่องดื่ม รสโกโก้หรือรสช็อกโกแลต อีกทั้งยังรับสั่งอีกว่าให้นำสูตรไปสอนชาวบ้านเกษตรกร เพื่อเพิ่มรายได้และแปรรูปข้าวให้เป็นอาหารที่เป็นที่ต้องการ และนิยมของตลาดและผู้บริโภคด้วย โดยเฉพาะในด้านสุขภาพและความงาม เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ
 
“การทำไอศกรีมข้าวกล่ำงอก จะทำให้ สารกาบ้า ที่ช่วยแก้โรคอัลไซเมอร์ บำรุงประสาท ควบคุมความดันโลหิต ไม่ถูกทำลายด้วยความร้อนเพราะความเย็นช่วยรักษาให้สารกาบ้าคงคุณภาพไว้ได้นาน อย่างไรก็ตามการค้นคว้าวิจัย เรื่องคุณค่าหาสารอาหารที่มีประโยชน์ในข้าวและการวิจัยต่อยอดยังทำได้น้อยมาก เพราะขาดแคลนนักวิจัยและเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย นักวิจัยส่วนใหญ่จะไปทำงานกับภาคเอกชนมากกว่าราชการเพราะมีแรงจูงใจมากกว่า มีห้องทดลองที่ทันสมัยกว่าของเรามาก” นายประเสริฐ กล่าว
 
นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า กรมการข้าวขออนุมัติซื้อเครื่องตรวจหาดีเอ็นเอจาก พันธุ์ข้าวซึ่งในงบปี 2552 อนุมัติให้เพียงเครื่องเดียว หากทางราชการมีเครื่องมือที่มากกว่านี้จะสามารถดึงนักวิจัยฝีมือดีมาทำงานให้กับภาครัฐ ได้มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา เพราะงานวิจัยของ กระทรวงฯ มีเป็นจำนวนมากแต่ขาดงบประมาณต่อเนื่อง จึงทำให้งานวิจัยหลายอย่างที่มีประโยชน์ไม่ได้รับการต่อยอด ให้นำมาเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้ ซึ่งตนจะนำปัญหาการขาดแคลนนักวิจัยเข้าหารือกับนายธีระ วงค์สมุทร รมว. เกษตรฯ ทั้งนี้ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการทำน้ำข้าว กล้องงอก หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับข้าว สามารถสอบถามได้ที่หมายเลข 0-2561-0646 หน้าห้องอธิบดีกรมการข้าว ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน.

'น้ำข้าวกล้องงอก' ของดีทำง่าย



อุดมคุณค่า-พัฒนาสมอง-สุขภาพแข็งแรง


กลายเป็นเรื่องดังรับศักราชใหม่ในทันที ภายหลัง นายประเสริฐ โกศัล วิตร อธิบดีกรมการข้าว กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ออกมาเปิดเผยถึงผลวิจัยสารอาหารที่มีประโยชน์ในพันธุ์ข้าวไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้จดลิขสิทธิ์ไว้ถึง 81 สายพันธุ์ จากพันธุ์ข้าวพื้นเมืองทั่วประเทศกว่า 13,000 ชนิด รวมทั้งศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ได้วิจัย “น้ำข้าวกล้อง งอก” ผลิตภัณฑ์ที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ พร้อมนำน้ำข้าวกล้องงอกขึ้น ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งพระองค์ท่านทรงมีรับสั่งให้นำทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยทรงให้ทำถวายขึ้นโต๊ะเสวยที่วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทุก 3 วัน
 
จากข้อมูลที่ค้นหาในเว็บไซต์
www.ubn.ricethailand.go.th และ www.bloggang.com มีการกล่าวถึงผลิตภัณฑ์จากข้าวไว้หลากหลายน่าสนใจ โดยระบุว่า ในปัจจุบันคนไทยจำนวนหนึ่งหันมาใส่ใจสุขภาพ ได้หันมาบริโภคข้าวกล้องหรือผลิตภัณฑ์จากข้าวกล้องแทนข้าวขาว (ข้าวสาร) เนื่องจากข้าวกล้องผ่านกรรมวิธีการสีเพียงครั้งเดียวเพื่อเอาเปลือก (แกลบ) ออกไป ทำให้ข้าวที่เหลือยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว (รำ) อยู่ครบถ้วน ซึ่งจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวนี้ล้วนอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยอาหาร จึงเป็นประโยชน์ ต่อร่างกายมากกว่าข้าวประเภทอื่น ๆ อย่างไรก็ตามแม้ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะรู้ว่าข้าวกล้องมีประโยชน์ แต่ไม่นิยมบริโภคเท่าที่ควร เพราะข้าวกล้องมีข้อด้อยกล่าวคือ เนื้อแข็ง ทำให้รู้สึกว่ากินไม่อร่อย แต่ถ้าหากปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น ก็จะมีผู้หันมานิยมบริโภคมากขึ้น
 
ทั้งนี้ข้าวกล้องที่ไม่ได้ผ่านการถนอมคุณค่าอย่างถูกหลักวิชาการ หลังจากกะเทาะเปลือกแล้วจะเสื่อมสภาพลงทุก ๆ วินาที ไม่ว่าจะบรรจุในภาชนะพิเศษ สูญญากาศหรือไม่ก็ตาม สาเหตุจาก เอนไซม์ไลเปส (lipase) ในข้าวกล้องจะไปย่อยกรดไขมัน มีผลให้กรดไขมันที่ดีในข้าวกล้อง เสื่อมสภาพลง (oxidization) จนมีกลิ่นเหม็นหืนในที่สุด นอกจากนี้ปฏิกิริยา oxidization ยังก่อให้เกิดปัญหา อนุมูลอิสระ (free radicals) ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายด้วย
 
ส่วน ข้าวกล้องงอก (germinated brown rice หรือ GABA-rice) ถือเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นข้าวกล้องที่ต้องมาผ่านกระบวนการงอก ตามปกติในข้าวกล้องเองจะมีสารอาหารจำนวนมาก เช่น ใยอาหาร กรดไฟติก วิตามินซี วิตามินอี และ สารกาบา (gamma aminobutyric acid) ซึ่งช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว เป็นต้น   เมื่อนำข้าวกล้องมาแช่น้ำทำให้งอก จะทำให้ข้าวกล้องมีสารอาหารเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ สารกาบา นอกจากจะได้ประโยชน์จากการที่มีปริมาณสารอาหารที่สูงแล้ว ยังทำให้ข้าวกล้อง งอกที่หุงสุกมีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม รับประทานได้ง่ายกว่าข้าวกล้องธรรมดา จึงง่ายแก่การหุงรับประทานได้โดยไม่ต้องผสมข้าวขาว
 
จากการศึกษาทางกายภาพและ    ทางชีวเคมีพบว่า “เมล็ดข้าว” ประกอบด้วย เปลือกหุ้มเมล็ด หรือแกลบ (Hull หรือ Husk) ซึ่งจะหุ้มข้าวกล้อง ในเมล็ดข้าวกล้องประกอบด้วย จมูกข้าว หรือ คัพภะ (Germ หรือ Embryo) รำข้าว (เยื่อหุ้มเมล็ด)   และ เมล็ดข้าวขาวหรือเมล็ดข้าวสาร (Endo- sperm) สารอาหารในเมล็ดข้าวประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบหลัก โดยมี โปรตีน วิตามินบี วิตามินอี และแร่ธาตุที่แยกไปอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของเมล็ดข้าว นอกจากนี้ ยังพบสารอาหารประเภท ไขมัน ที่พบได้ในรำข้าวเป็นส่วนใหญ่
 
ข้าวเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีการเจริญเติบโตจะมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มขึ้น เมื่อน้ำได้แทรกเข้าไปในเมล็ดข้าว โดยจะกระตุ้นให้เอนไซม์ภายในเมล็ดข้าวเกิดการทำงาน เมื่อเมล็ดข้าวเริ่มงอก (malting) สารอาหารที่ถูกเก็บไว้ในเมล็ดข้าวก็จะถูกย่อยสลายไปตามกระบวนการทางชีวเคมีจนเกิดเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กลง (oligosaccharide) และ น้ำตาลรีดิวซ์ (reducing sugar) นอกจากนี้ โปรตีนภายในเมล็ดข้าวก็จะถูกย่อยให้เกิดเป็น กรดอะมิโน และ เปปไทด์ รวมทั้งยังพบการสะสมสาร  เคมีสำคัญต่าง ๆ เช่น แกมมาออริซานอล (gamma-orazynol) โทโคฟีรอล (tocopherol) โทโคไตรอีนอล (tocotrienol) และโดยเฉพาะ สารแกมมาอะมิโนบิวทิริกแอซิด (gamma-aminobutyric acid) หรือที่รู้จักกันว่า สารกาบา หรือ (GABA)
 
สารกาบา เป็นกรดอะมิโนจากกระบวน การ decarboxylation ของ กรดกลูตามิก (glutamic acid) กรดนี้มีความสําคัญในการทำหน้าที่ สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ในระบบประสาทส่วนกลางและ สารกาบา ยังเป็นสารสื่อประสาทประเภท สารยับยั้ง (inhibitor) โดยจะทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้น ช่วยทำให้สมองผ่อนคลายและนอนหลับสบาย อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วย กระตุ้นต่อมไร้ท่อ (anterior pituitary) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (HGH) ทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้กล้ามเนื้อกระชับ และเกิดสาร lipotropic ป้องกันการสะสมไขมัน
 
จากการศึกษาและวิจัยพบว่า การ บริโภคข้าวกล้องงอกที่มีสารกาบามากกว่าข้าวกล้องปกติ 15 เท่า จะสามารถป้องกัน การทำลายสมอง เนื่องจากสารเบต้า อไมลอยด์เปปไทด์ (Beta-amyloid peptide) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสูญเสียความทรงจำ (อัลไซเมอร์) ดังนั้น จึงได้มีการนำ สารกาบา มาใช้ในวงการแพทย์เพื่อการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่าง ๆ หลายโรค เช่น โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก เป็นต้น รวมทั้งผลการวิจัยด้านสุขภาพระบุว่าข้าวกล้องงอกที่ประกอบด้วย สารกาบา มีผลช่วยลดความดันโลหิต ลด LDL (Low densitylipoprotein) ลดอาการอัลไซเมอร์ ลดน้ำหนัก ทำให้ผิวพรรณดี และใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง
 
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ “ข้าว กล้องงอก” เคยเป็นผลงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับประเทศญี่ปุ่น พบว่ามี สารกาบา มากกว่าข้าว กล้องปกติถึง 15 เท่า ในต่างประเทศ  ได้นำ สารกาบา มาใช้ในวงการแพทย์ เพื่อการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่าง ๆ ด้วย
 
การวิจัยเบื้องต้นของ อาจารย์พัชรี ตั้งตระกูล จากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ได้ทำการศึกษาหาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมและสภาพการผลิตข้าวกล้องงอกที่มีประสิทธิภาพ พบว่า ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เมื่อนำมาเพาะเป็นข้าวกล้องงอกจะมี สารกาบา มากที่สุด (15.2-19.5 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) สูงกว่าข้าวกล้องชนิดอื่น ๆ
 
ส่วนสภาวะที่ทำให้ข้าวกล้อง งอกได้ดีที่สุดคือ ต้องนำข้าวกล้องไปแช่น้ำราว 48-72 ชั่วโมงในหม้อแช่ โดยมีการควบคุมอุณหภูมิ การไหลเวียนน้ำ ความดัน และความเป็นกรดด่างของน้ำ เพื่อให้ความชื้นจากน้ำไปกระตุ้นให้เมล็ดข้าวงอกและเปลี่ยนกรดกลูตามิกไปเป็นสารกาบาอันเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ต่อมา เมื่อได้ข้าวกล้องงอกในขั้นตอนนี้แล้ว ก็ต้องทำให้ข้าวกล้องงอกหยุดการงอกต่อไป โดยอบแห้งให้มีความชื้นต่ำกว่า 14% ในหม้ออบแห้ง จากนั้นจึงบรรจุลงในถุงสุญญากาศ ทั้งนี้ ข้าวกล้อง ที่สามารถนำมาแช่น้ำให้เกิดการงอกได้ดีนั้นจะต้องเป็นข้าวกล้องที่ผ่านการกะเทาะเปลือกมาไม่ เกิน 2 สัปดาห์
 
เมื่อได้ข้าวกล้องงอกเรียบร้อยแล้ว หากใครอยากจะทำ “น้ำข้าวกล้อง งอก” ก็ไม่ยาก นำไปแช่น้ำทิ้งไว้ 3-5 ชั่วโมง ให้ข้าวกล้องงอกเป็นตุ่มเล็ก ๆ บริเวณจมูกข้าว ก็นำไปหุงต้มจนเดือดพล่าน จากนั้นก็ใช้ผ้าขาวบางหรือตะแกรงกรองน้ำข้าวมารับประทานได้ทันที หากไม่ชอบรสชาติเดิม ๆ แนะนำให้เติมเกลือป่นหรือน้ำตาลเล็กน้อย เท่านี้ก็อร่อยลิ้นแล้ว
 
งานนี้อิ่มท้องและเติมเต็มคุณค่าทางโภชนาการให้ร่างกายในคราวเดียวกัน.



ทีมข่าวเฉพาะกิจ : รายงาน



ที่มา  :  กรมการข้าว

*******************************************************************************************



 พันธุ์ข้าวต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงศัตรูข้าวที่มักระบาดในช่วงที่อากาศร้อนและความชื้นค่อนข้างสูง ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงทั้งในเขตนาชลประทานภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ในปี พ.ศ. 2533 มีการระบาดรุนแรงในพื้นที่นาภาคกลาง ผลผลิตลดลง 1.5-1.8 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นมูลค่าในขณะนั้นประมาณ 5,000 - 6,000 ล้านบาท และเมื่อต้นปี พ.ศ. 2551 พบการแพร่ระบาดรุนแรงใน อ.สามโก้ จ.อ่างทอง มีพื้นที่นาเสียหาย 100% เกือบ 1,000 ไร่ และพบการระบาดกว่า 70-80% ของพื้นที่การเกษตร ทั้งหมด 40,000 ไร่  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบและคอรวงต้นข้าว ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลทำลายต้นข้าวในทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเฉพาะแปลงนาที่ปลูกข้าวติดต่อกันนานโดยไม่เว้น ช่วงพักมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชผิดประเภทในนาข้าว ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดมากขึ้น เนื่องจากแมลงตัวห้ำศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลถูกทำลาย ในขณะที่เพลี้ยปรับตัวได้ ต้นข้าวที่ถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายจะเหี่ยวแห้งเป็นสีน้ำตาลแก่ในระยะกล้า ต้นข้าวที่ออกรวงมีเมล็ดไม่สมบูรณ์และมีน้ำหนักเบา นอกจากทำลายต้นข้าวโดยตรงแล้ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบหงิก ทำให้ใบข้าวหงิกไม่สามารถออกรวงได้  การปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นวิธีที่ดีในการควบคุมประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้ลดลง อย่างไรตาม เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ทำให้พันธุ์ข้าวที่พัฒนา มีความต้านทานระยะสั้น นักวิจัยจึงต้องพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ถึงแม้ว่าในเขตนาน้ำฝน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังไม่เป็นปัญหาหลัก แต่จากข้อมูลหลายปีที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีเพิ่มมากขึ้น และจะกลายเป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่ง  ในการปลูกข้าวนาน้ำฝน และจากการที่ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข 6 เป็นข้าวสายพันธุ์ดีที่ปลูกในเขตนาน้ำฝน และไม่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยี ชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โดยหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ซึ่งเป็นหน่วย ปฏิบัติการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และไบโอเทค ได้ร่วมมือกับ กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 6 ให้ ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 


คณะนักวิจัยทำการรวบรวมและศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการสืบหาพันธุกรรมข้าวที่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และใช้ เทคโนโลยี ดีเอ็นเอ ในการสืบหาตำแหน่งของยีน เพื่อนำมาใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ข้าวต้านทาน ซึ่งคณะนักวิจัยพบว่า ข้าวสายพันธุ์จากประเทศศรีลังกาและอินเดีย มีความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในประเทศไทยจึงเป็นแหล่งพันธุกรรมของความต้านทานที่ดี และเมื่อสืบหายีนควบคุมลักษณะความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในข้าวทั้งสองพันธุ์ พบว่า พันธุ์ข้าวจากศรี ลังกามียีนต้านทานอยู่บนโครโมโซมที่ 6 และ 12 ส่วนพันธุ์ข้าวจากอินเดียมียีนต้านทานอยู่บนโครโมโซมที่ 6 จึงพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมาย ดีเอ็นเอ ที่ มีความแม่นยำ สำหรับช่วยในการคัด เลือกความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากพันธุ์ข้าวทั้งสองพันธุ์ 


คณะนักวิจัยได้ปรับปรุงข้าวสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ให้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยใช้ พันธุ์ข้าวจากศรีลังกาและอินเดีย ผสมกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และใช้เครื่องหมายโมเลกุล ในการติดตามและคัดเลือกต้นข้าวขาวดอกมะลิที่มียีนต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปัจจุบัน พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ใหม่ที่มียีนต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอยู่ในระหว่างการปลูกคัดเลือกลักษณะทางการเกษตร และทดสอบด้านผลผลิตและการปรับตัวในแปลงเกษตรกร สำหรับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ กข 6 ให้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปัจจุบันอยู่ในกระบวนการคัดเลือกและทดสอบความต้านทาน 


นอกจากนี้ คณะนักวิจัยยังปรับปรุงข้าวสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ให้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และทนน้ำท่วมฉับพลัน และได้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มีลักษณะต้านทานทั้งสามรวมอยู่ด้วยกัน และอยู่ในระหว่างการปลูกคัดเลือกลักษณะทางการเกษตร และทดสอบด้านผลผลิตและการปรับตัวในแปลงเกษตรกร 


ผลงานเด่นไบโอเทค :
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5



ที่มา  :  สวทช


**********************************************

เพลี้ยกระโดดนาข้าว ... ประสบการณ์ตรง


สัจจะธรรรม :
ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีโรคและแมลงศัตรูพืชประจำตัว  และไม่มีพืชพันธุ์ต้านทานใดในโลกนี้สามารถทนทานต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืชได้ร้อยเปอร์เซ็นต์


หลักการและเหตุผล :
1... เพลี้ยกระโดดนาข้าว คือ แมลงศัตรูพืชชนิดหนึ่งที่มีความต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อการดำรงชีวิต ..... สภาพแวดล้อมสำหรับแมลงศัตรูพืชเบื้องต้นประกอบด้วย อุณหภูมิ.  อาหาร.  แหล่งขยายพันธุ์.  ฯลฯ


2... ในพืชที่สมบูรณ์แข็งแรงย่อมมีภูมิต้านทานในตัวเองตามธรรมชาติ  บรรดาแมลงศัตรูพืชมักไม่ชอบเข้าทำลาย  และแมลงศัตรูพืชชอบเข้าหาพืชที่อ่อนแอมากกว่าเข้าทำลายพืชที่สมบูรณ์แข็งแรง  พร้อมกันนั้นในพืชที่อ่อนแอเมื่อแมลงศัตรูพืชเข้าไปอาศัยแล้วจะขยายพันธุ์ได้ดีและเร็วกว่าในพืชที่สมบูรณ์แข็งแรง


3.... เพลี้ยกระโดดนาข้าว คือ  แมลงปากกัดปากดูด  ใช้ปากเจาะส่วนของต้นข้าวแล้วดูดกินน้ำเลี้ยง  หากสภาพโครงสร้างหรือสรีระของต้นข้าวมีความแข็งแกร่ง  อันเนื่องมาจากความสมบูรณ์จะทำให้เพลี้ยกระโดดไม่สามารถเจาะส่วนของลำต้นข้าวเพื่อดูดกินน้ำเลี้ยงได้  เพลี้ยกระโดดก็จะไม่สนใจเจาะกินน้ำเลี้ยงในข้าวต้นนั้นอีก


แนวทางปฏิบัติ :

1.... เพลี้ยกระโดดนาข้าวชอบความชื้นในอากาศสูง ๆ โดยเฉพาะไอระเหยจากน้ำในแปลง ให้สูบน้ำออกจากนาเหลือเพียงติดผิวพื้นหน้าดิน การเตรียมดินแบบไถกลบตอซัง เศษตอซังจะช่วยอุ้มน้ำไว้ได้นานนับเดือน ดังนั้นการสูบน้ำออกจากหน้าดิน ปล่อยไว้จนหน้าดินแตกระแหงเหมือนตาตะโก้ ต้นข้าวก็จะยังสามารถยืนต้นอยู่ได้โดยไม่ชงักการเจริญเติบโต (นา ข้าวไต้หวัน - ญี่ปุ่น มีน้ำหล่อผิวหน้าดินเล็กน้อย) แต่กลับแตกกอได้ดียิ่งขึ้น


2.... งดการใส่ UREA เด็ดขาด แล้วใส่ 16-8-8 เสริมด้วย Mg. Zn. Ca. Br. สม่าเสมอ หากใส่ UREA จะทำให้ต้นข้าวเขียวอวบ เป็นการล่อให้เพลั้ยกระโดดเขาหามากยิ่งขึ้น


3.... ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรรวมมิตร" ทุก 5-7 วัน ล่วงหน้าก่อนเกิดการระบาด และฉีดพ่นทุก 2-3 วัน หรือวันเว้นวัน หรือวันต่อวัน ระหว่างการระบาดอย่างรุนแรงในแปลง รอบข้าง....สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรนอกจากมีกลิ่นที่เพลี้ยกระโดดไม่ชอบแล้ว ยังเป็นพิษอีกด้วย โดยสัญชาติญานของสิ่งมีชีวิตย่อมจะไม่เข้าไกล้หรือหลีกหนีเสมอ.....ตรงกันข้าม

หากบริเวณใดที่สภาพแวดล้อมดี มีอาหาร และแหล่งขยายพันธุ์ โดยสัญชาติญานเพลี้ยกระโดดก็จะเข้าไปอาศัยเป็นธรรมดา


4.... เตรียมดิน (เทือก) ด้วยอินทรีย์วัตถุปรับปรุงบำรุงดิน (ไถกลบตอซัง. ยิบซั่ม. กระดูกป่น. น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง.) จากรุ่นต่อรุ่นให้เกิด "ประวัติดิน" แบบสะสม


5.... ทำนาดำแทนนาหว่าน เพื่อให้แสงแดดส่องทั่วถึง และเพื่อป้องกันต้นข้าวขึ้นเบียดกันจนเกิดความชื้นสูงในแปลงเป็นแหล่งอาศัยและขยายพันธุ์อย่างดีของเพลี้ยกระโดด


6.... บำรุงต้นข้าวตามระยะพัฒนาการ (ประณีต) ทางใบด้วยสารอาหารที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก-ธาตุรอง-ธาตุเสริม-ฮอร์โมน และอื่นๆ ครบสูตร ตามความเหมาะสม


หมายเหตุ :
ด้วยหลักการดังกล่าว  มีเกษตรกรนาข้าวหลายรายสามารถรักษาต้นข้าวให้รอดพ้นจากเพลี้ยกระโดด  ท่ามกลางแปลงรอบข้าง (ใช้แต่สารเคมี) ที่ประสบความเสียหายจนต้องไถทิ้งมาแล้ว


ลุงคิมครับผม




หน้าก่อน หน้าก่อน (2/7) - หน้าถัดไป (4/7) หน้าถัดไป


Content ©