-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 493 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องนาข้าว




หน้า: 2/7

 

       31. ระยะน้ำนม  รวงข้าวเริ่มโค้งลง   ถ้าลำต้นสูงมากหรือความสมบูรณ์ต่ำ     เมื่อถูกลมพัดมักจะล้มหรือหัก   อาการล้มหรือหักของต้นทำให้น้ำเลี้ยงจากรากลำเลียงไปสู่รวงไม่ได้จึงทำให้ได้เมล็ดข้าวคุณภาพต่ำแนวทางแก้ไข คือ    ช่วงตั้งท้องต้องบำรุงด้วย  0-42-56  อย่างน้อย 2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน  จะช่วยลำต้นไม่สูงแต่อวบอ้วนดี           
            ให้  ฮอร์โมนสมส่วน  หรือ  น้ำคั้นเมล็ดข้าวน้ำนม  หรือ  รกสัตว์หมักข้ามปี  ซึ่งมีโซโตคินนิน  จะช่วยบำรุงเมล็ดข้าวให้มีขนาดใหญ่ขึ้น                     
            ให้ ฮอร์โมนน้ำดำ และ แคลเซียม โบรอน   โดยแบ่งเฉลี่ยให้  1-2 รอบ ตลอดอายุตั้งแต่ระยะกล้าถึงเก็บเกี่ยว จะช่วยเสริมสร้างให้ได้เปอร์เซ็นต์แป้งสูงขึ้น
                    
       32. นาข้าวเขตภาคกลางแบบ อินทรีย์ นำ-เคมี เสริม  รุ่นแรกใช้ต้นทุนไม่เกิน 2,000 -2,500  บาท/ไร่ ได้ข้าว 100 ถัง  จากรุ่นแรกแล้วทำต่อรุ่น 2-3  และรุ่นต่อไปเรื่อยๆ ต้นทุนจะอยู่ที่ประมาณ 1,500-1,800  ได้ข้าว 120-130 ถัง
                  

       33. นาข้าวแบบ   อินทรีย์ นำ - เคมี เสริม - ไม่ใช้สารเคมีทุกชนิด    ขายเป็นข้าวปลูกหรือสีแล้วขายเป็นข้าวกล้องอินทรีย์บรรจุถุง  ได้ราคาเกวียนละ 7,500-8,000
            แต่ข้าวนาแบบ    เคมี นำ - อินทรีย์ เสริม - ใช้สารเคมีทุกชนิด    (เรียกตัวเองว่าปลอดสารพิษ)  ได้ราคาสูงสุดเกวียนละไม่เกิน 6,500
                                   

       34. นาข้าวที่ได้ 100 ถัง จะมีฟางประมาณ 1,200 กก. ......ปริมาณฟาง 1 ตัน จะให้สารอาหารพืชประกอบด้วย    ไนโตรเจน 6.0 กก.    ฟอสฟอรัส 1.4 กก.    โปแตสเซียม 17.0 กก.  แคลเซียม 1.2 กก.     แม็กเนเซียม 1.3 กก.    ซิลิก้า 50.0 กก.      
            ถ้าได้ไถกลบเศษซากต้นถั่วเหลือง (เมล็ดพันธุ์ 12 กก./ไร่) ลงไปอีกก็จะได้  ไนโตรเจน 45 กก.   เมื่อรวมฟางกับต้นถั่วเหลืองแล้วจะทำให้ได้  ปุ๋ย  สำหรับต้นข้าวมากมาย
            ดินที่สภาพโครงสร้างดีตามมาตรฐานกรมพัฒนาที่ดินระบุว่า เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้ง  ต้นพืชได้นำไปใช้จริงพียง  4 ส่วน แล้วเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 ส่วนเสมอ  ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมี 1-2 รุ่นแล้วเว้น 1 รุ่น  ก็จะยังคงมีปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างจากการใส่แต่ละรุ่นที่ผ่านมาบำรุงต้นข้าวรุ่นปัจจุบันได้อย่างเพียงพอ
            มาตรการบำรุงดินโดยปรับปรุงบำรุงดินด้วย  อินทรีย์วัตถุ  สารปรับปรุงบำรุงดิน และจุลินทรีย์  อย่างสม่ำเสมอ-ต่อเนื่อง-รุ่นต่อรุ่น-หลายๆรุ่น-หลายๆปี  จะทำให้เกิดการ สะสมอยู่ในเนื้อดิน ซึ่งจะส่งผลให้สภาพโครงสร้างของดิน ดีขึ้น  ดีขึ้น  และดีขึ้น ตามลำดับ
                    
       35. ไม่ควรปลูกข้าวอย่างเดียวแบบต่อเนื่อง  รุ่นต่อรุ่น หลายๆรุ่น หลายๆปี     แต่ควรเว้นรุ่นทำนา 2-3 รุ่นแล้วปลูกพืชตระกูลถั่ว 1 รุ่น   นอกจากจะได้เศษซากพืชตระกูลถั่วไถกลบปรับปรุงบำรุงดินแล้ว  ยังเป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลง และเชื้อโรคได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
                
       36. นาหว่านที่หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกร่วมกับเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว  ต้นข้าวจะงอกและโตพร้อมๆกับต้นถั่วเขียว  เลี้ยงต้นกล้าข้าวให้นานที่สุดเท่าๆกับได้ต้นถั่วสูงสุด  จากนั้น    จึงปล่อยน้ำเข้าท่วมนา  จะทำให้ต้นถั่วตายแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน/จุลินทรีย์)สำหรับต้นข้าว                


       37. นาดำหลังจากปักดำแล้วใส่แหนแดงหรือแหนเขียว  อัตรา 2-3 ปุ้งกี๋/ไร่   หรือกระทงนา  ปล่อยไว้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ แหนจะแพร่ขยายพันธุ์จนเต็มกระทง ระดับน้ำที่เคยมีเมื่อตอนดำนาก็จะลดลงจนถึงผิวหน้าดินพร้อมๆกับแหนลงไปอยู่ที่ผิวดินด้วยแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน) พืชสดสำหรับต้นข้าว                


       38. ดินที่อุดมสมบูรณ์ดี (ตามหลักวิชาการ)  เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปจะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตทางใบ (บ้าใบ/เฝือใบ) ดีมาก แต่ผลผลิตกลับลดลง.......แปลงนาข้าวที่มีอินทรีย์วัตถุ และสารปรับปรุงบำรุงดินมากจะให้ผลผลิตดีมากไม่เฝือใบ  ทั้งๆที่ใส่ปุ๋ยเคมีน้อยกว่า ต้นข้าวงามใบ (บ้าใบ) แก้ไขโดยการให้  “โมลิบดินั่ม + แคลเซียม
 โบรอน”  1  ครั้ง
                
       39. สภาพดินเหนียว ดินทราย ดินดำ ดินร่วน  ฯลฯ    ในดินแต่ละประเภทต่างก็มีสารอาหารพืชและปริมาณแตกต่างกัน  สารอาหารพืชเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามกลไกทางธรรมชาติหรือ เกิดจากกระบวนการสารพัดจุลินทรีย์ย่อยสลายสารพัดอินทรีย์วัตถุ                      
            วันนี้ สารอาหารธรรมชาติในดินหมดไป  หรือเหลือน้อยมากจนไม่พอพียงต่อความต้องการของพืชเพื่อการพัฒนาเจริญเติบโต    สาเหตุหลักเกิดจากการปลูกพืชแบบซ้ำรุ่น  ต่อเนื่อง รุ่นแล้วรุ่นเล่า  ซึ่งพืชคือผู้นำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้  สาเหตุรองลงมา คือ เกิดจากมนุษย์ทำลายวงจรการเกิดใหม่ของสารอาหารตามธรรมชาติ     และทำลายผู้ผลิตสารอาหาร (จุลินทรีย์) นั่นเอง  ดังนั้นจากคำกล่าวที่ว่า  ดินมีสารอาหารพืช  ต้องเปลี่ยนใหม่เป็นพูดว่า  ดินเคยมีสารอาหาร   จึงจะถูกต้องตามข้อเท็จจริง                 
            แนวทางแก้ไข คือ  จัดการให้มีวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดสารอาหารพืช  และ ส่งเสริมผู้ผลิตสารอาหารพืช  ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด แล้วดินจะกลับคืนมาเป็นดินดี เหมือนป่าเปิดใหม่อีกครั้ง   และจะเป็นดินดีตลอดไปอย่างยั่งยืนตราบเท่าที่ได้จัดการและส่งเสริมอย่างถูกวิธีสม่ำเสมอ                   


       40. การดัดแปลงคันนาให้กว้าง 3-4 ม. แล้วปลูกพืชสวนครัว เช่น  พริก  มะเขือ ข่า ตะไคร้ ฯลฯ บนคันนานั้น  ผลผลิตที่ได้เมื่อเทียบกับจำนวนเนื้อที่แล้วจะได้มากกว่าข้าว
               

      41. การเลี้ยงปลาในนาข้าวโดยการทำร่องน้ำรอบแปลงนาเพื่อให้ปลาอยู่นั้น   ร่องน้ำกว้าง 2.5-3 ม. ลึกจากพื้นระดับในแปลงนา 80 ซม.- 1 ม. มีน้ำจากแหล่งธรรมชาติที่สามารถหล่อเลี้ยงปลาในร่องได้ตลอดอายุของปลา  หรือบางครั้งให้น้ำล้นจากร่องน้ำเข้าสู่แปลงนาหล่อเลี้ยงต้นข้าวได้ด้วย  แนะนำให้เลี้ยงปลากินเนื้อ  โตเร็ว  จำหน่ายได้ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่                                         
            การเลี้ยงปลาในนาข้าวสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น  ดัดแปลงปรับปรุงพื้นที่ลุ่มที่มีอยู่เดิมในแปลงนาให้กักเก็บน้ำได้ตลอดฤดูกาลหรืออายุปลา ทำร่องล้อมรอบแปลงนาหรือ ขุดเป็นบ่อขึ้นมาใหม่ที่บริเวณลาดต่ำในแปลงนา    ข้อควรคิดต่อการเลี้ยงปลาในนาข้าวที่จำเป็นต้องวางแผนแก้ปัญหาล่วงหน้าก่อนลงมือเลี้ยง ได้แก่ อายุปลาตั้งแต่เริ่มปล่อยลงน้ำถึงจับนาน 6 เดือน-1 ปี ซึ่งระยะเวลาขนาดนี้ปลูกข้าวได้ 2-3 รุ่น  ระหว่างที่ต้นข้าวกำลังเจริญเติบโตนั้นสามารถปล่อยน้ำจากแหล่งที่อยู่ของปลาเข้าไปในแปลงนา  จนกระทั่ง   น้ำท่วมต้นข้าวเพื่อให้ปลาจับกินแมลงได้ และก่อนเกี่ยวข้าวต้องงดน้ำให้ข้าว ช่วงนี้ปลาจะกลับเข้าไปอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เตรียมไว้ให้อย่างเดิม                


       42. ตั้งเป้าหมายทำนาข้าวเพื่อขายเป็นพันธุ์ข้าวปลูก หรือเพื่อสีเป็นข้าวกล้อง
อินทรีย์ โอท็อป จะได้ราคาดีกว่าปลูกข้าวแล้วขายเป็นข้าวเปลือกแก่โรงสี
                 

       43. ข้าว  นาดำ  ให้ผลผลิตเหนือกว่า  นาหว่าน  ทั้งคุณภาพ  ปริมาณ  และต้นทุน
                
       44. ข้าวนาดำ  ต้นกล้าที่ถอนขึ้นมาจากแปลงตกกล้า  มัดรวมแล้วนำไปตั้งไว้ใน  น้ำ 100 ล. + มูลค้างคาว 250 กรัม  นาน 12 ชม.   จึงนำไปปักดำ  เมื่อต้นข้าวโตขึ้นจะแตกกอดีกว่ากล้าที่ไม่ได้แช่ในน้ำมูลค้างคาว                        


       45. นาปี  หมายถึง  นาข้าวที่ทำหรือหว่าน/ดำในช่วงฤดูฝนโดยรอแต่น้ำฝนในฤดูกาลเท่านั้น เช่น นาข้าวที่หว่านวันแม่ (ก.ค.-ส.ค.) เกี่ยววันพ่อ (พ.ย.-ธ.ค.) มักมีปัญหาข้าวเปลือกล้นตลาด   เนื่องจากชาวนาส่วนใหญ่หว่าน/ดำพร้อมกันทั้งประเทศ
                        
       46. นาปรัง  (ปรัง.เป็นภาษาเขมร แปลว่า แล้ง.) หมายถึง  นาข้าวที่ทำหรือหว่าน/ดำในช่วงหน้าแล้ง หรือทำนารุ่น  2 ต่อจากนาปี  โดยหว่าน/ดำในเดือน พ.ย.-ธ.ค.  แล้วเก็บเกี่ยวช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค.   ซึ่งต้นข้าวจะต้องเจริญเติบโตตลอดหน้าแล้ง   บางปีบางแหล่งได้น้ำจากชลประทาน   แต่บางปีบางแหล่งที่น้ำจากชลประทานมีน้อยไม่สามารถปล่อยออกมาช่วยเหลือได้   บางปีบางแหล่งรอน้ำฝนอย่างเดียว     นาประเภทนี้มักมีปัญหาขาดแคลนน้ำเสมอ  บ่อยครั้งที่ชาวนาบางแหล่งบางที่ต้องยอมเสี่ยงทำนาปรัง เพราะผลผลิตราคาดี  เนื่องจากมีคน ทำนาน้อย...ชาวนาบางรายลงทุนแก้ปัญหานาปรังขาดแคลนน้ำโดยเจาะบ่อบาดาลในแปลงนาโดยตรง  ต้องการใช้น้ำเมื่อใดก็สูบขึ้นมาใช้เมื่อนั้น               
            เมื่อไม่มีน้ำบนหน้าดินหล่อเลี้ยงแปลงนาก็ให้อาศัยแหล่งน้ำใต้ดิน   โดยใส่อินทรีย์วัตถุประเภทเศษซากพืชลงไปในดินลึกมากๆ  ติดต่อกันหลายๆรุ่น  อินทรีย์วัตถุประเภท เศษซากพืชจะช่วยกักเก็บและอุ้มน้ำไว้ในเนื้อดินลึกอยู่ได้นานนับเดือนถึงหลายๆ เดือน
            เตรียมอินทรีย์วัตถุประเภทเศษซากพืชไว้ใต้ดิน แนะนำให้เลือกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว-เหลือง-แดง-ดำ  หรือถั่วปรับปรุงดินของกรมพัฒนาที่ดิน ฯลฯ       เนื่องจากเป็นพืชโตเร็ว พันธุ์เบา อายุ 80 วัน. พันธุ์หนัก อายุ 130 วัน (พันธุ์หนักให้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์เบา)  ต้องการน้ำน้อยมาก  ไม่ยุ่งยากในการปลูกและบำรุง  เศษซากเปื่อยสลายตัวเร็ว (ภายใน 7-15 วัน)...........กรณีถั่วเหลืองนั้นดีมากเพราะมีระบบรากลึกถึง 1-1.20 ม. แผ่ออกทางข้าง 30-50 ซม.   ซึ่งรากที่หยั่งลึกลงไปในเนื้อดินนี้   จะช่วยนำร่องให้น้ำจากผิวดินซึมลึกลงไปได้ง่าย........เนื้อที่ 1 ไร่  ปลูกถั่วเหลืองเพื่อเอาผลผลิตให้ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 10-13 กก./ไร่  ซึ่งจะได้ไนโตรเจนมากถึง 45 กก./ 1 รุ่น  แต่ถ้าต้องการเอาเศษซากต้นไถกลบลงดินจำนวนมากๆ เพื่อไม่ให้เสียเวลาก็ให้ใช้เมล็ดพันธุ์ 20-25 กก./ไร่ไปเลย  ทั้งนี้ที่รากพืชตระกูลถั่วทุกชนิดนอกจากจะมีปมไนโตรเจนแล้ว ยังมีจุลินทรีย์กลุ่มคีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซ่า. แอ็คติโนมัยซิส. และอื่นๆ อีกมาก ซึ่งล้วนแต่มีประโยชน์ต่อดิน  จุลินทรีย์ประจำถิ่น  และพืชข้างเคียงทั้งสิ้น               
            ต้นข้าวระยะกล้า  ผิวดินมีน้ำหล่อ  ใส่แหนแดง 2 ปุ้งกี๋ / ไร่  ทิ้งไว้จนกว่าน้ำแห้งลงถึงผิวหน้าดินแหนแดงจะขยายพันธุ์จนเต็มพื้นที่  1 ไร่  เมื่อน้ำแห้งแหนแดงจะยังคงติดอยู่ที่ผิวหน้าดินแล้วรอเวลาเน่าสลายกลายเป็นไนโตรเจน (อินทรีย์) บำรุงต้นข้าวได้เป็นอย่างดี
                              
       47. นาหว่านสำรวย  หมายถึง  แปลงนาในที่ดอน  ไม่มีน้ำหล่อหน้าดิน (หน้าดินแห้งไม่เปรอะเปื้อนเท้า)   ทำนาโดยหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวแล้วไถดินกลบ      เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดพันธุ์ก็จะงอกแล้วเจริญเติบโตตามธรรมชาติภายใต้ปริมาณน้ำฝน  ถ้าฝนตกซ้ำก็ดีแต่ถ้าไม่มีฝนตกอีกเลยก็เสียหาย  ทุกอย่างดำเนินไปตามธรรมชาติแท้ๆ                                  


       48. นาหว่านน้ำตม  หมายถึง แปลงนาในที่ลุ่มมีน้ำหล่อหน้าดินตลอดเวลา บางแปลงสามารถควบคุมปริมาณน้ำได้ บางแปลงควบคุมไม่ได้   ในเมื่อธรรมชาติของต้นข้าวชอบน้ำพอแฉะหน้าดิน  แต่นาหว่านน้ำตมมีน้ำมากจนขังค้างโคนต้น  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมปริมาณน้ำให้ได้ด้วยการ   สูบเข้า-สูบออก   เพื่อให้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของต้นข้าวซึ่งจะส่งผลให้ได้ผลผลิตสูงสุด
                

       49. นาไร่  หรือ ข้าวไร่   หมายถึง  นาในที่ดอนหรือบนไหล่เขาที่มีน้ำน้อยหรือไม่มีน้ำหล่อหน้าดิน (เหมือนาสำรวย) นิยมทำโดย ไถ-พรวน  ดินก่อนแล้วใช้วิธีปลูกแบบ  หยอดเมล็ดพันธุ์   จากนั้นปล่อยให้ต้นข้าวเจริญเติบโตเองโดยอาศัยน้ำฝนและน้ำค้าง
                 
       50. นาลุ่ม หรือ นาเมือง หรือ นาข้าวขึ้นน้ำ   หมายถึง  แปลงนาในพื้นที่ลุ่มก้นกระทะ (ลักษณะทางภูมิศาสตร์) มีน้ำมาก บางแหล่งลึกถึง 3 ม.   ซึ่งต้นข้าวก็สามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ นิยมใช้ข้าวพันธุ์โตเร็ว ต้นสูง สามารถทนต่อสภาพน้ำท่วมมิดต้นระยะสั้นๆได้  แล้วเร่งโตจนยอดโผล่พ้นน้ำได้ทัน    การเก็บเกี่ยวบางปีระดับน้ำมากถึงกับพายเรือเกี่ยวข้าวด้วยมือ เมล็ดข้าวที่ได้มักมีความชื้นสูงมาก
                       

      51.  นาสวน  หมายถึง   นาข้าวแบบปักดำด้วยมือที่ระดับน้ำลึกไม่เกิน 80 ซม.- 1 ม. ในฤดูน้ำมากแต่ไม่มากเท่านาเมืองหรือนาข้าวขึ้นน้ำ                 


       52.  นาขั้นบันได  หมายถึง  นาบนไหล่เขาที่ดัดแปลงกระทงนาเป็นเหมือนขั้นบันได้เพื่อกักเก็บน้ำ เนื้อดินนาแบบนี้อุ้มน้ำได้ดีระดับหนึ่งแต่ก็อยู่ได้ไม่นานนัก  เนื่องจากความลาดเอียงของไหล่เขาที่น้ำต้องไหลหรือซึมจากที่สูงไปหาที่ต่ำเสมอ
                

      53. นาร่องน้ำ  หมายถึง  นาข้าวริมร่องน้ำในสวนยกร่องน้ำหล่อ     มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน  นิยมปลูกข้าวเพื่อเอาผลผลิตไว้เลี้ยงสัตว์                


      54. นอกจาก  ข้าวจ้าว-ข้าวเหนียว  ที่คนไทยนิยมกินเป็นอาหารหลักแล้ว    สภาพภูมิอากาศทางภาคเหนือของประเทศไทยยังสามารถปลูกข้าวมอลท์.  ข้าวบาเลย์.   สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเบียร์ได้  ซึ่งวันนี้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศหรือแม้แต่ข้าวจาปอนนิก้า. สำหรับตลาดญี่ปุ่นก็สามารถปลูกได้เช่นกัน  คงจะเป็นการดีไม่ใช่น้อยที่ชาวนาเขตภาคเหนือส่วนหนึ่งจะหันมาปลูก ข้าวมอลท์.  ข้าวบาเล่ย์. หรือข้าวจาปอนนิก้า.  ซึ่งนอกจากมีตลาดรองรับแน่นอนแล้ว  ยังเป็นการลดปริมาณข้าวจ้าว-ข้าวเหนียวที่ต่างก็แย่งตลาดกันเองอยู่ขณะนี้อีกด้วย
             
      55. การติดตั้งสปริงเกอร์แบบหัวหมุน  น้ำที่ฉีดพ่นเป็น เม็ดน้ำ+ ละอองน้ำ ในนาข้าวสามารถทำได้โดยใช้อุปกรณ์สปริงเกอร์แบบ  ถอด-ประกอบ  ได้  กล่าวคือ  ประกอบชุดสปริงเกอร์ก่อนหว่าน/ดำ (ด้วยมือ) หรือหว่าน/ดำ (ด้วยเครื่องจักร) แล้วจึงประกอบสปริงเกอร์ และก่อนเกี่ยวข้าวก็ให้ถอดสปริงเกอร์ออกเพื่อให้รถเกี่ยวเข้าทำงานได้                
            เปรียบเทียบ.....แปลงผักสวนครัวซึ่งอายุปลูกเพียง 40-45 วัน เนื้อที่ 40-200 ไร่  ติดตั้งสปริงเกอร์แล้วต้อง ถอด-ประกอบ ทุก 40-45 วัน สำหรับการปลูกแต่ละรุ่นยังสามารถทำได้   ในขณะที่ข้าวซึ่งอายุปลูกนานถึง 120 วัน  จึงไม่น่าจะมีปัญหา  หากจะติดสปริงเกอร์แบบ  ถอด-ประกอบ   ได้   เหมือนสปริงเกอร์ในแปลงผักสวนครัวบ้าง               
            สปริงเกอร์ (ใช้ปั๊มไฟฟ้า 3 แรงม้า) สามารถให้  น้ำ. สารอาหาร (ธาตุหลัก-ธาตุรองธาตุเสริม-ฮอร์โมน).  สารสกัดสมุนไพร.  และอื่นๆ   ได้ทุกเมื่อ ณ เวลาที่ต้องการ  ด้วยแรงงานเพียง 1-2 คน ภายในเวลาเพียง 3-5 นาที/เนื้อที่ 2 ไร่ (1 โซน)  นอกจากนี้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเนื้องานยังเหนือกว่าการฉีดพ่นด้วยเครื่องฉีดพ่นทุกประเภทอีกด้วย                

            หมายเหตุ  :               
          - ภายใต้สภาวะที่แรงงานหายากในปัจจุบัน     การติดตั้งสปริงเกอร์แบบ   “ถอด-ประกอบ”  ได้ด้วยแรงงานในครัวเรือน (2-3 คน) ก็สามารถติดตั้งได้เรียบร้อยพร้อมใช้งานภายในเวลา 2-3 วัน  ต่อแปลงเนื้อที่ 10-20 ไร่               
          - เกษตรกรออสเตรเลีย  ติดตั้งสปริงเกอร์แบบโอเวอร์เฮด หรือท็อปกัน แบบถาวร  ด้วยการออกแบบติดตั้งไม่ให้กีดขวางการเข้าทำงานของเครื่องจักรกล  สปริงเกอร์นั้นอยู่ได้นานนับ  10 ปี  โดยไม่ได้รับการกระทบกระเทือนจากเครื่องจักรกลทุกประเภท                


       56. การผสม  น้ำ + สารอาหาร สำหรับให้ทางใบ ให้ได้ประสิทธิภาพของสารอาหารเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์นั้น จะต้องปรับค่ากรด-ด่างของน้ำที่ใช้ผสมให้ได้ค่ากรด-ด่าง 6.0-6.5 หรือทำให้น้ำเป็นกรดอ่อนๆเสียก่อนจึงใส่สารอาหาร               
            จากหลักการทางเคมีเบื้องต้นที่ว่า  กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ   โดยสารอาหารพืชมีสถานะเป็นกรด น้ำที่ใช้ผสมเป็นด่าง   เมื่อ กรดกับด่าง ผสมกันจึงมีสถานะเป็นกลาง หรือเสื่อมสภาพนั่นเอง แต่ถ้าได้ปรับสภาพน้ำให้เป็นกรดอ่อนเสียก่อน เมื่อผสมกับสารอาหารจึงเป็น  กรดกับกรด  ผสมกัน หรือสารอาหารยังคงสถานะเป็นกรดอยู่เหมือนเดิมนั่นเอง           


       57. ทำนาเอา “โล่”  หมายถึง   ทำนาได้ข้าว 150 ถัง/ไร่ แต่ลงทุน 5,500  ความที่ได้ผลผลิตสูงมากจึงได้รับโล่รางวัล ทำนาแบบนี้ไม่สนใจต้นทุน สนใจแต่ชื่อเสียงเท่านั้น (การประกวดนาข้าว กรรมการจะตัดสินแต่ปริมาณผลผลิตข้าวที่ได้ ไม่ได้พิจารณาต้นทุน)
                
       58. ทำนาเอา  “ข้าว”  หมายถึง  ทำนาได้ข้าว 120 ถัง  แต่ลงทุน 3,500  ความที่ได้ผลผลิตระดับ 100 ถังขึ้นจึงคุย (โม้) ได้โดยไม่สนใจต้นทุนกำไร
                

       59. ทำนาเอา  “เงิน”  หมายถึง   ทำนาได้ข้าว 100 ถัง แต่ลงทุน 1,200  แม้จะได้ข้าวน้อยกว่า 120 ถัง  แต่เมื่อขายแล้วหักต้นทุน  ปรากฏว่ามีกำไรเหลือมากกว่า
                                 
       60. ผลจากการทำนาข้าวที่ทำให้เกิดแก๊ส ซึ่งส่งผลต่อสภาวะโลกร้อน ได้แก่ แก๊สจากปุ๋ยเคมีและจากการย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุหรือฟอสซิล  แต่เมื่อเทียบกับปริมาณแก๊สที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว แก๊สจากนาข้าวน้อยกว่ามาก


       61. ข้าวเปลือกมีความชื้น 1 เปอร์เซ็นต์  หมายถึงมีน้ำปนอยู่ในข้างเปลือก 15 กก. 




หน้าก่อน หน้าก่อน (1/7) - หน้าถัดไป (3/7) หน้าถัดไป


Content ©