-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 575 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จุลินทรีย์ประจำถิ่น





                              จุลินทรีย์ประจำถิ่น              

 

        หลักการและเหตุผล :
     - จุลินทรีย์ คือ  สิ่งมีชีวิตที่มี  "ชนิด หรือ สกุล"  มากที่สุดในโลก นับเป็นแสนเป็นล้าน  วันนี้จุลินทรีย์ที่มนุษย์รู้จักมีเพียง 1 ในแสนในล้านเท่านั้น       
     - จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร (พืช) ที่ดีที่สุด  คือ  จุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ณ แปลงหรือสวนเกษตรนั้น หรือ สวนใครก็สวนใคร พืชต้นไหนก็ต้นนั้น  เรียกว่า "จุลินทรีย์ประจำถิ่น" .......ฟูกูโอกะ  แนะนำว่า  ควรทำกองปุ๋ยอินทรีย์ที่บริเวณใจกลางแปลงเกษตร  เพื่อให้จุลินทรีย์ในแปลงเข้ามาอาศัย  แล้วเจริญพัฒนาในกอง  เมื่อนำปุ๋ยอินทรีย์กองนี้ไปใช้ในแปลงเกษตรของตัวเอง จึงเท่ากับส่งจุลินทรีย์กลับไปอยู่ที่เดิม  แบบนี้ทำให้จุลินทรีย์ไม่ต้องเสียเวลาปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ในขณะเดียวกัน  หากนำจุลินทรีย์จากแหล่งอื่นมาใส่ในแปลง  แม้จะเป็นจุลินทรีย์ดี  ก็ต้องเสียเวลาปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่   เหมือนทหารไทย  ฝึกแล้วรบในประเทศไทย  ย่อมรบได้ดีกว่าทหารไทยที่ฝึกในประเทศไทยแล้วไปรบที่อิรัก  แม้ว่าสามารถรบได้แต่ต้องใช้เวลาปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศอิรักเสียก่อน  ปรับตัวได้ก็ดี  ปรับตัวไม่ได้ก็ตายก่อนตั้งแต่ยังไม่ได้รบ....ฉนี้แล     

         เตรียมเชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้น :

     1. เลือกบริเวณกอกล้วยในแปลงเกษตรของตนเองที่มีสภาพแวดล้อมเย็นชื้น ลมพัดผ่านสะดวก ไม่มีปุ๋ยคอก ไม่มีปุ๋ยเคมี ไม่มีสารเคมี แสงแดดส่องผ่านรำไร น้ำไม่ท่วมเป็นระยะเวลาติดต่อกันมานานกว่า 1 ปี…….
     2. นำเศษซากพืชต่างๆ ที่เคยปกคลุมหน้าดินออกจนเห็นผิวหน้าดิน…….
     3. ใช้รำละเอียด. เปลือกถั่วลิสงตากแห้ง. ฟางจากเห็ดฟางระยะกำลังเก็บเกี่ยว. เหง้าหญ้าขน-หญ้าแฝกสดใหม่. เปลือกติดตาสับปะรดสดใหม่. กากถั่วเหลืองสดใหม่. แป้งข้าวหมาก. อย่างละเท่าๆ กัน บดละเอียดแล้วผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดีเป็น “วัสดุล่อเชื้อจุลินทรีย์”……..
     4. นำวัสดุล่อเชื้อจุลินทรีย์โรยบางๆ ลงบนหน้าดินในกลางซุ้มกอกล้วย……..
     5. พรมด้วย “น้ำ 20 ล. + กากน้ำตาล 20 ซีซี.” ลงไปพอชื้น แล้วคลุมทับด้วยเศษซากพืชตัวเดิมที่นำออกตอนแรก เสริมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งนานๆ เพื่อป้องกันแสงแดดส่องและลมพัดจนหน้าดินแห้ง………    
     6. ทิ้งไว้ 3 วันแล้วเปิดเศษซากพืชที่คลุมหน้าดินขึ้นจะมีฝ้าสีขาวขุ่นเกิดขึ้นที่ผิวหน้าดิน ให้คลุมหน้าดินต่อไปด้วยเศษซากพืชตัวเดิมและเหมือนเดิม.........อีก 3 วันต่อมาให้ตรวจสอบอีกครั้งก็จะพบว่ามีฝ้าสีขาวขุ่นเพิ่มมากขึ้นอีกให้คลุมหน้าดินต่อไปอีก.........อีก 3 วันจึงนำเศษพืชคลุมหน้าดินออก แล้วขูดหน้าดินลึกประมาณ 1 ซม.ผสมกับวัสดุล่อเชื้อจุลินทรีย์ขึ้นมาก็จะได้ “เชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่นเข้มข้น” พร้อมสำหรับนำไปขยายเชื้อเพื่อเพิ่มปริมาณ…….
     7. หลังจากนำเชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่นที่ผิวหน้าดินชุดแรกออกไปแล้ว แนะนำให้ทำอย่างเดิมกับผิวดินที่เหลือจะต่อเชื้อจุลินทรีย์ขึ้นมาอีกได้…….
 
        หมายเหตุ :
      - ในดินซุ้มกอกล้วยมี จุลินทรีย์กลุ่มแอ็คติโนมัยซิส. เปลือกถั่วลิสงมีจุลินทรีย์คีโตเมียม. ไรโซเบียม. และไมโครไรซ่า. ฟางเห็ดมีจุลินทรีย์ฟังก์จัย. เหง้าหญ้าขน-แฝกมีจุลินทรีย์อะโซโตแบ็คเตอร์……..
      - ฝ้าสีขาวขุ่น คือจุลินทรีย์ที่หมดอายุและตายแล้ว แสดงว่าใต้ผิวดินบริเวณนั้นมีจุลินทรีย์ที่ยังไม่ตายอีกจำนวนมาก……..
      - ระหว่างการเปิดหน้าดินเพื่อตรวจสอบปริมาณจุลินทรีย์แต่ละครั้งนั้น ถ้าเพิ่มเติมสารอาหาร (กากน้ำตาล. รำละเอียด) ลงไปอีกก็จะช่วยให้มีจุลินทรีย์เกิดใหม่มากขึ้น…….

         ขยายเชื้อจุลินทรีย์ :

     1. น้ำต้มเดือดจัดเพื่อฆ่าเชื้อโรคแล้วทิ้งให้เย็น 10 ล. ใส่กากน้ำตาล 1 ล. หรือ 10 : 1 ในถังหมักที่ไม่ใช่โลหะและสะอาด คนเคล้าให้เข้ากันดี…….
     2. ใส่ “หัวเชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่นเข้มข้น” ที่นำขึ้นมาใหม่ๆ ลงไปมากน้อยไม่จำกัด คนเคล้าให้เข้ากันดีอีกครั้ง…….
     3. ช่วง 24-48 ชม.แรกของการหมักให้ปิดฝาแน่นอย่าให้อากาศเข้าได้……
     4. หลังจากผ่าน 24-48 ชม.แรกไปแล้วให้เปิดฝาแล้วติดปั๊มออกซิเจนเพื่อเติมให้อากาศแก่จุลินทรีย์ จากนั้นปิดฝาพอหลวม เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง…….
     5. ประมาณ 7 วัน ให้ตรวจสอบฟองที่เกิดขึ้นในถังหมัก ถ้าฟองมากแสดงว่ามีจุลินทรีย์ดีจำนวนมาก ถ้าฟองน้อยแสดงว่ามีจุลินทรีย์น้อย อาจจะพิจารณานำจุลินทรีย์จากแหล่งเดิมใส่เติมเข้าไปอีกแล้วหมักแบบให้อากาศต่อไป
     6. หลังจากพบว่ามีฟองเกิดขึ้นมากจนเป็นที่พอใจแล้วให้หมั่นตรวจสอบฟองทุกวัน วันใดที่ฟองหยุด ถึงวันรุ่งขึ้นให้นำออกใช้ทันที……..

        หมายเหตุ :……..
      - เมื่อนำจุลินทรีย์ที่ขยายเชื้อแล้วไปใส่ในดินที่แปลงเกษตรเดิม ระหว่างจุลินทรีย์ชุดใหม่ (จากถังหมักต่อเชื้อ) กับจุลินทรีย์ที่ยังอยู่ในดินเป็นพวกหรือกลุ่มเดียวกันจึงสามารถอยู่ร่วมกันได้ทันที……..
      - ในถังหมักต่อเชื้อสามารถใส่จุลินทรีย์จากท้องตลาดเสริมเข้าไปได้ ถ้าต่างก็เป็นจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์เพื่อการเกษตรเหมือนกันจะอยู่และเจริญร่วมกันได้……..
      - จากหลักการและเหตุผลที่ว่าจุลินทรีย์กิน “รำละเอียด” และ “สารรสหวาน” เป็นอาหารนั้น เกษตรกรสามารถเพาะเลี้ยงให้ขยายพันธุ์อยู่ในดินนั้นได้เลย ไม่ต้องนำขึ้นมาเพาะขยายเชื้อในถังหมัก โดยการหว่านรำละเอียดอย่างเดียวบางๆ หรือใช้รำละเอียดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ใส่โคนต้นหรือผสมดินบริเวณที่ต้องการให้เกิดและขยายเชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่น คลุมทับด้วยเศษหญ้าแห้งหนาๆ เพื่อรักษาความชื้นหน้าดิน แล้วรดด้วย “น้ำ 100 ล. + กากน้ำตาล 200 ซีซี.” ประจำทุก 7-10 วัน ติดต่อกัน 2-3 รอบ จุลินทรีย์เดิมที่มีอยู่ในดินก็จะเจริญขยายพันธุ์มากขึ้น ส่งผลให้สภาพต่างๆ ดีขึ้นไม่ต่างจากจุลินทรีย์ที่นำมาขยายเชื้อหรือจุลินทรีย์ที่ซื้อมาจากท้องตลาดแม้แต่น้อย...ใส่อินทรีย์วัตถุจากพืชและมูลสัตว์ที่มีจุลินทรีย์เฉพาะกลุ่มร่วมลงไปด้วยก็จะช่วยให้ได้ทั้งชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์เพิ่มขึ้น………… 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (772 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©