-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 614 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เดือย







ที่มา: http://somdee.net/article.php?display=ViewArticle&id=13



                    เดือย

       ลักษณะทางธรรมชาติ

     * เป็นพืชไร่ตระกูลหญ้าเช่นเดียวกันกับข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ข้าว  อายุสั้นฤดูกาลเดียว 
ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล  เจริญเติบโตได้ดีแม้แต่ดินเสื่อมโทรม  ดินลูกรัง แต่ต้องมี
อินทรีย์วัตถุมากๆต้องการน้ำน้อยหรือพอหน้าดินชื้น
 
    * ลำต้นสูง 1.80-2 ม.  ออกดอกติดผลที่ปลายยอด  เป็นดอกสมบูรณ์เพศสมตัวเอง
หรือต่างดอกต่างต้นได้
               
     * ให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 5 เดือนหลังปลูก  โดยออกดอกช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย. แล้ว
เก็บเกี่ยวได้ช่วงเดือน ธ.ค.ม.ค.
     * ตลาดในประเทศค่อนข้างแคบแต่ตลาดต่างประเทศยังต้องการอีกมาก
    
                

      สายพันธุ์
      ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยทางวิชาการเกี่ยวกับสายพันธุ์เดือยถึงระดับรับรองสายพันธุ์เพื่อส่งเสริม
ให้เกษตรกรได้ปลูก ส่วนใหญ่ที่ปลูกกันเป็นพันธุ์พื้นเมือง คือ พันธุ์วังสะพุง และ พันธุ์เลย ซึ่งนิยม
ปลูกกันมาก เช่น เดือยหิน ให้ผลผลิตคุณภาพดีและดกมาก นิยมปลูกตามบ้านสำหรับบริโภคในครัว
เรือน และ เดือยขบ ให้ผลผลิตด้อยกว่าเดือยหิน
      จำแนกสายพันธุ์ตามชนิดและปริมาณแป้ง 2 สายพันธุ์  คือ
      เดือยข้าวจ้าว : 
      ลำต้นสูงใหญ่  ลักษณะเมล็ดเล็กยาว  เปลือกหนาแข็ง  เนื้อแป้งแข็งหยาบ  เก็บได้
นาน  ต้มแล้วไม่เนียวลื่นหรือมีเมือกน้อย  ตลาดนิยมน้อย
  
    เดือยข้าวเหนียว : 
      ลำต้นเตี้ยและเล็ก  ลักษณะเมล็ดกลมโตยาว  เปลือกบางเปราะแตกง่าย  เนื้อแป้งอ่อน
นิ่ม  เปอร์เซ็นต์แป้งสูง  น้ำหนักเบา  ต้มแล้วลื่นและมีเมือกมาก  ตลาดนิยมมาก

      เตรียมเมล็ดพันธุ์
    1.ทดสอบความสมบูรณ์เมล็ดโดยการแช่น้ำ  คัดเมล็ดลอยออกทิ้ง  นำเมล็ดจมขึ้นมาขลิบ
ปลายด้านแหลมด้วยกรรไกตัดเล็บพอให้เปลือกนอกเปิดสำหรับให้ยอดอ่อนแทงออกมาได้สะดวก 
จากนั้นนำลงแช่ต่อในไคตินไคโตซานหรือธาตุรอง/ธาตุเสริม (อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวม
กัน) นาน 6-12 ชม. สารไคตินไคโตซานหรือธาตุรอง/ธาตุเสริมจะซึมเข้าสู่ภายในเมล็ดทางช่อง
เปลือกที่ได้ขลิบเปิดไว้ ทำให้เมล็ดได้สะสมสารอาหารไว้ในตัวเองตั้งแต่ก่อนงอกซึ่งจะส่งผลต่อต้นเมื่อ
โตขึ้นสมบูรณ์แข็งแรงดี
      สารไคติเนสส.ในไคตินไคโตซาน. มีคุณสมบัติกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์ได้
ไม่ต่างจากสารเคมี การแช่เมล็ดในสารเคมีเพื่อกำจัดเชื้อโรคเท่ากับทำให้เมล็ดสะสมสารพิษซึ่งไม่ใช่
สารอาหารไว้ในตัวเองตั้งแต่ก่อนเกิดนั่นเอง
    2.นำเมล็ดที่ผ่านการแช่ในสังกะสี คีเลต.หรือธาตุรองธาตุเสริม.ครบกำหนดแล้ว  ห่อด้วยผ้า
ชื้นต่ออีก 12-24 ชม.  เมื่อเห็นว่าเริ่มมีรากงอกออกมาก็ให้นำไปปลูกต่อได้
                               
      เตรียมแปลง
    1.ไถดินเปล่าให้ขี้ไถขนาดใหญ่  ทิ้งตากแดดจัด 15-20 แดดเพื่อฆ่าเชื้อโรคและกำจัด
เหง้าวัชพืช
    2.ใส่อินทรีย์วัตถุ  ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ + มูลค้างคาว) หมักข้ามปี.
ยิบซั่มธรรมชาติ.กระดูกป่น.เศษพืชบดป่น หว่านทั่วแปลงปลูกแล้วไถพรวนอินทรียวัตถุคลุกเคล้าลงดิน
    3.ไถยกร่องลูกฟูก  สันร่องกว้าง 5-6 ม.โค้งหลังเต่า สูงจากพื้นระดับ 30-50 ซม.ร่องทางเดินระหว่างสันแปลงกว้าง 1 ม. ลึก 20-30 ซม.จากพื้นระดับ
    4.คลุมหน้าแปลงด้วยฟางแห้งหนาๆ
    5.บ่มดินโดยรดด้วย "น้ำ + ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (เน้น เลือด)" ทุก 5-7 วัน
ติดต่อกันนาน  1 เดือน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ปรับสภาพดิน กำจัดเชื้อโรคและย่อยสลายอินทรีย์
วัตถุให้เป็นฮิวมิค แอซิด  นอกจากนี้  เลือดหมักที่เป็นผสมในน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงยังช่วย
เพิ่มธาตุหลัก  ทำให้ผลผลิตลูกเดือยคุณภาพดีขึ้นอีกด้วย

      ระยะปลูก
      
ระยะห่างระหว่างหลุม  75 ซม. X  1 ม. 
      ระยะห่างระหว่างต้น   50 ซม. X  1 ม.
                  
                 

      




ลักษณะการเจริญเติบโตคล้ายพืชในตระกูลเดียวกัน เช่น ข้าวหรือข้าวฟ่าง เดือยที่ปลูกจาก 1 เมล็ดจะแตกกอ เมื่ออายุประมาณ 2 เดือน ได้ 4-5 แขนง ต้นเดือยมีความสูงตั้งแต่ 1-3.5 เมตร
• ใบ
- ขนาด 20-45 x 2.5-5 เซนติเมตร
- ติดอยู่กับกาบใบที่หุ้มลำต้น ปลายใบเรียวแหลม แผ่นใบมีลักษณะ คล้ายใบหอก(lanceolate)
- เส้นกลางใบเป็นร่องยาวไปตามความยาวของใบ
• ช่อดอก
- แตกขึ้นไปจากซอกใบที่อยู่บริเวณของกิ่ง
- ช่อดอกยาว3-8 เซนติเมตร
- เดือยจะมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียบนช่อเดียวกัน
• ดอก
- โครงสร้างสลับซับซ้อน แปลกและน่าท่งกว่าดอกของพืชชนิดอื่นๆ
- ก้านดอกจะรองรับกระเปราะที่จะพัฒนาต่อไปเป็นที่บรรจุผล หรือเมล็ด
- ภายในกระเปาะบรรจุดอกตัวเมีย 1 ดอก และก้านชูเกสรตัวเมียสีแดงคล้ำ 2 อัน ซึ่งจะยื่นโผล่ออกมาจากกระเปาะ เพื่อรอรับการผสม
• กระเปาะ
- เป็นที่กำเนิดของก้านชูช่อดอกตัวผู้ที่โผล่ออกไปอยู่เหนือกระเปาะ ช่อดอกตัวผู้จะมีดอกตัวผู้อยู่ประมาณ 10 ดอก แต่ละดอกมีความยาว 7-8 เซนติเมตร รูปร่างคล้ายสีเหลี่ยมขนมเปียกปูนเรียวๆ
- ดอกจะร่วงเมื่อแก่ มักจะเกิดเป็นคู่ มีกาบดอกชั้นนอก (glume) 2 อัน ภายในมีกลีบดอกชนิดlemma 1 อัน และ palea ที่เล็กกว่า 1 อัน มีอับเกสร ตัวผู้ 3 อัน
• เมล็ด
- เกิดจากการผสมเกสร รังไข่จะเจริญไปเป็นผลปลอม (false fruit) หรือเมล็ด
- เมื่อมองด้านหน้าจะคล้ายรูปหัวใจ มองด้านบนจะคล้ายเมล็ดถั่ว ที่มีร่องเว้าเข้าไปตรงกลาง แต่ร่องจะลึกกว่า
- มีความยาว 8-12 มิลลิเมตร
- เนื้อของผลและเมล็ดจะหลอมเป็นเนื้อเดียวกันจนแยกไม่ออก (caryopsis)
- เยื่อหุ้มเมล็ดมีสีน้ำตาลแดง น้ำตาลเข้ม หรือน้ำตาลอ่อน
- เดือยส่วนใหญ่เป็นพืชที่ไวต่อช่วงแสง โดยจะออกดอกในช่วงที่มีแสงน้อยกว่า 12 ชั่วโมง ประมาณเดือนกันยายน ส่วนใหญ่จะผสมข้าม เนื่องจากดอกตัวผู้และดอกตัวเมียบานไม่พร้อมกัน
 
 





นางปทุมวัน  ประจันพล  เกษตรจังหวัดเลย  กล่าวว่า  จังหวัดเลย เป็นแหล่งปลูกลูกเดือยที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ  ผลผลิตร้อยละ 90 ปลูกอยู่ที่อำเภอเมืองเลย ท่าลี่ วังสะพุง ด่านซ้าย ปากชม ภูเรือ นาด้วง ภูหลวง และอำเภอหนองหิน  พื้นที่ปลูกรวมทั้งสิ้น 27,794 ไร่  การเก็บเกี่ยวลูกเดือยให้มีคุณภาพเป็นสิ่งจำเป็นที่เกษตรกรจะต้องทราบและนำไปปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลผลิตที่สะอาดมีคุณภาพที่ดีจำหน่ายได้ราคาสูง  ปราศจากสิ่งเจือปน  สำนักงานเกษตรจังหวัดเลย จึงขอแนะนำการเก็บเกี่ยวลูกเดือยให้มีคุณภาพ ดังนี้                        

- เก็บเกี่ยวเดือยเมื่ออายุครบกำหนด  โดยสังเกตจากช่อเมล็ดเดือยที่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลประมาณร้อยละ 90  ให้ใช้มีดตัดลำต้นแล้ววางช่อเมล็ดเดือยวางบนตอซัง                        

-การตากเมล็ดเดือย  ควรตากบนตอซังไม่ควรวางให้สัมผัสกับพื้นดินโดยตรงเพราะจะทำให้เกิดเชื้อราที่อยู่ในดินปนเปื้อนและเกิดสารพิษได้                        

-การมัดฟ่อนเมล็ดเดือย หลังจากตากบนตอซังแล้วให้จับมัดเป็นฟ่อนตาก วางในแปลงโดยไห้ช่อตั้งขึ้นเก็บรอการสีนวดไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทไม่ควรวางกองบนดินแบบสุมทับกัน เพราะจะเป็นการเพิ่มความชื้นภายในกองและทำให้เกิดสารพิษได้                        

-การสีนวด เมล็ดลูกเดือนที่สีนวดแล้วควรทำความสะอาด  โดยการฝัดเอาเศษสิ่งเจือปนออกให้หมดแล้วนำ ไปตากบนผ้าฟางที่แห้งสนิท จึงนำไปบรรจุในถุงที่สะอาดปิดปากถุงวางเหนือพื้นและควรอยู่ในที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก                        

หากมีข้อสงสัยติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  สำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ ที่อยู่ใกล้บ้านท่าน หรือที่สำนักงานเกษตรจังหวัดเลย โทร.0 – 4281 -1643 ในวันและเวลาราชการ  

 
http://www.moac-info.net/modules/news/news_view.php?News_id=65676
                 *****************************
 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (13791 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©