-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 536 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข้าวฟ่าง





ข้าวฟ่าง

โดยทั่วไปข้าวฟ่างเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด ตั้งแต่ดินทราย ดินร่วนปนทราย จนถึงดินเหนียว แต่ดินที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าวฟ่าง ให้ได้ผลผลิตสูง ควรเป็นดินร่วนเหนียวที่มีการระบายน้ำดี มีความเป็นกรดด่าง อยู่ระหว่าง 5.0-7.5 อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและสร้าง เมล็ดของข้าวฟ่างจะอยู่ระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้ จะมีผลต่อประสิทธิภาพในการสร้างเมล็ดข้าวฟ่างต้องการปริมาณน้ำฝนตลอดฤดูปลูกประมาณ 320-800 มิลลิเมตร โดยเฉพาะในช่วงที่ข้าวฟ่างตั้งท้อง ดอกบาน และ เมล็ด ในระยะเป็นน้ำนมถ้าขาดน้ำในช่วงเหล่านี้ จะมีผลต่อการติดเมล็ด ขนาดเมล็ดจึงมีผลกระทบต่อผลผลิตเป็นอย่างมาก ความต้องการน้ำ ของข้าวฟ่างจะลดลงในระยะที่เมล็ดเริ่มแต่จนถึงเก็บเกี่ยว นอกจากนี ้ข้าวฟ่างไม่ทนทานต่อสภาพน้ำขังในช่วงแรกของการเจริญเติบโต(ระยะกล้า) จะพบว่า ข้าวฟ่างมีใบเหลืองต้นแคระแกร็น และอาจตายไปในที่สุด
แหล่งปลูกที่สำคัญ ได้แก่ ลพบุรี เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สระบุรี สุพรรณบุรี

พันธุ์ข้าวฟ่าง
พันธุ์ข้าวฟ่างลูกผสมสีแดง
ส่วนใหญ่เกษตรกรจะปลูกตามหลังข้าวโพดในเขตการปลูกข้าวโพดจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี และเพชรบูรณ์ ตามระบบการจำหน่ายเมล็ดพันธ์และการรับซื้อผลผลิต กลับคืน
พันธุ์เฮกการีหนัก
เป็นข้าวฟ่างพันธุ์แท้ต้นสูง เมล็ดสีขาว กรมวิชาการเกษตร (กรมกสิกรรม) แนะนำให้เกษตรกรปลูกตั้งแต่ปี 2506 โดยมีลักษณะเด่น คือ มีผลผลิต เมล็ดเฉลี่ยประมาณ 400-600 กิโลกรัมต่อไร่ เมล็ดมีขนาดใหญ่และ มีความไวต่อช่วงแสง เหมาะสำหรับปลูกในปลายฤดูฝนตั้งแต่ปลายเดือน กรกฏาคมถึงต้นเดือนกันยายน ปัจจุบันยังมีการปลูกในเขตจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครราชสีมา
พันธุ์เฮกการีเบา
เป็นข้าวฟ่างพันธุ์แท้เมล็ดสีขาว กรมวิชาการเกษตร(กรมกสิกรรม) แนะนำให้เกษตรกรปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ.2506 โดยมีลักษณะเด่น คือ ต้นเตี้ยอายุสั้น ผลผลิตเมล็ดเฉลี่ยประมาณ 400 กิโลกรัมต่อไร่ เหมาะสำหรับปลูกปลายฤดูฝน มีปลูกในเขตจังหวัดกาญจนบุรี และสุพรรณบุรี
พันธุ์อู่ทอง 1
เป็นข้าวฟ่างพันธุ์แท้ ต้นเตี้ย อายุสั้น เมล็ดสีเหลืองได้รับการรับรองพันธุ์จาก กรมวิชาการเกษตรในปี พ.ศ.2525 มีลักษณะเด่น คือ ผลผลิตเมล็ดเฉลี่ย 550 กิโลกรัมต่อไร่ มีความต้านทานต่อโรคราสนิม ไม่ต้านทานโรคที่เมล็ด เหมาะสำหรับปลูกในปลายฤดูฝน ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน เป็นพันธุ์ทนแล้งได้ดี
พันธุ์สุพรรณบุรี 60
เป็นข้าวฟ่างพันธุ์แท้เมล็ดสีแดง ได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร ในปี พ.ศ. 2530 มีลักษณะเด่น คือเป็นพันธุ์ต้นเตี้ย อายุสั้น เมล็ดมี ปริมาณสารแทนนินต่ำ มีปริมาณมีผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 450-500 กิโลกรัมต่อไร่ เหมาะที่จะปลูกปลายฤดูฝน ตั่งแต่เดือนกรกฎาคมถึง กันยายน
พันธุ์สุพรรณบุรี 1
เป็นข้าวฟ่างพันธุ์แท้เมล็ดสีแดง ได้รับการรับรองพันธ์จากกรมวิชาการเกษตร
ในปี พ.ศ.2536 มีลักษณะเด่น คือ ผลผลิตเมล็ดเฉลี่ย 464 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตต้นสดเฉลี่ยประมาณ 4 ตันต่อไร่และผลผลิตเฉลี่ย ประมาณ 2-3 ตันต่อไร่
เมื่อเก็บเกี่ยวขณะที่เมล็ดอยู่ในระยะน้ำนมและเมื่อเก็บเกี่ยวต้นสดหลังเก็บเมล็ดแล้วตามลำดับ ต้นสดมีปริมาณกรมไฮโดรไซยานิก เฉลี่ยประมาณ 2.15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักสด 100 กรัม มีโปรตีนประมาณ 9 % ทำให้ลำต้นหวานประมาณ 15 องศาบริก สามารถใช้เลี้ยงสัตว์ได้

การปลูก
การปลูกข้าวฟ่างเพื่อให้ได้ผลผลิตเมล็ดสูง ควรปลูกในปลายฤดูฝนหรือ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน สำหรับการปลูกข้าวฟ่างครั้งเดี่ยว ที่ต้องการปลูกเพื่อตัดต้นสดในรุ่นแรก และเก็บเกี่ยวเมล็ดข้าวฟ่างต่อ ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนหรือประมาณเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน
การปลูกข้าวฟ่างเพื่อเก็บเมล็ดอย่างเดียว ควรพิจารณาดูว่า ต้นข้าวฟ่างจะไม่ ขาดความชื้นสำหรับการเจริญเติบโต จนถึงระยะที่ดอกข้าวฟ่างบาน

การเตรียมดิน
ควรไถดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร 1-2 ครั้งแล้วตากดินไว้ 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้แสงแดดทำลายวัชพืชและโรคแมลงที่อยู่ในดิน หลังจากนั้นจึงพรวนให้ดินร่วนซุย แต่โดยทั่วไปเกษตรกร จะไถด้วยผานเจ็ด เพียงครั้งเดียว

วิธีปลูก
เกษตรกรสามารถปลูกข้าวฟ่างได้หลายวิธีดังนี้ คือ
1. หว่าน เป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติ โดยใช้เมล็ดข้าวฟ่างอัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวก ประหยัดแรงงานและเวลา แต่มีข้อเสีย คือ ถ้ามีการเตรียมดินไม่ดี และถ้าหว่านแน่นไปทำให้มีจำนวนต้นต่อไร่มาก จะได้ช่อข้าวฟ่างที่มีขนาดเล็ก
2. เปิดร่องแล้วโรยเป็นแถว ใช้เมล็ดพันธุ์ อัตราประมาณ 2 ก.ก./ไร่ วิธีนี้จะช่วยให้การควบคุมกำจัดวัชพืชเป็นไปได้สะดวก แต่เมือข้าวฟ่างงอกได้ 2 สัปดาห์ ต้องทำการถอนแยกให้เหลือ 10 ต้น ต่อแถวยาว 1 เมตร
3. หยอดเป็นหลุม โดยใช้จอบขุดหรือใช้ไม้ปลายแหลมจิ้ม ให้มีระยะระหว่างหลุม 30 เซนติเมตร ระหว่างแถว 60 เซนติเมตร หยอดหลุมละ 5-7 เมล็ด หลังจากที่ข้าวฟ่างงอกแล้ว 15 วัน ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 3 ต้น การหยอดเป็นหลุมในสภาพที่ดิน มีความชื้นพอประมาณ จะงอกดีกว่าการเปิดร่องแล้วโรยเป็นแถว

การดูแลรักษา
เมื่อข้าวฟ่างงอกได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ถ้าต้นข้าวฟ่างในแปลง จำนวนหนาแน่นเกินไปให้ถอนแยกให้เหลือประชากร 10 ต้นต่อความยาว 1 เมตร ในกรณีที่แปลงปลูกมีน้ำท่วมขัง ให้ทำการระบายน้ำออกจาก แปลงปลูกเพราะในสภาพน้ำ ท่วมขังแปลง จะทำให้ต้นข้าวฟ่างไม่เจริญเติบโต มีผลทำให้ต้นข้าวฟ่างมี ขนาดเล็กและช่อข้าวฟ่างมีขนาดเล็กหรือตาย ได้ในที่สุด

การใส่ปุ๋ย
ในแปลงปลูกข้าวฟ่างที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย เพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนโดยไม่จำเป็น แต่ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ คือ มีอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1% ฟอสฟอรัสต่ำกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน (ppm) และโพแทสเซียมต่ำกว่า 40 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ซึ่งสามารถทราบได้ จากการส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ ควรมีการใส่ปุ๋ยในแปลงปลูก ปุ๋ยที่ใช้ ควรเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด เพื่อปรับปรุงสมบัติทาง กายภาพของดิน ร่วมกับปุ๋ยอนินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมี โดยทั่วไปแนะนำให้ใส่ ปุ๋ยเคมีในอัตรา 5-10 กิโลกรัมของไนโตรเจน และฟอสฟอรัส หรือจะใส่สูตรปุ๋ย สำเร็จที่มีขายในท้องตลาดโดยมีเนื้อปุ๋ยใกล้เคียงกันก็ได้ เช่น สูตร 16-20-0 อัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับข้าวฟ่าง ที่ปลูกในดินทรายควรใส่โพแทสเซียมเพิ่มในอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่
การใส่ปุ๋ย ให้โรยปุ๋ยระหว่างแถวปลูกแล้วพรวนดินกลบพร้อมทั้งดายหญ้า และกำจัดวัชพืชเมื่อข้าวฟ่างงอกได้ ประมาณ 3-4 สัปดาห์

โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

โรคราบนเมล็ด
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น curvularia sp. Fusarium sp. Colletotrichum sp. เป็นต้น
อาการ : จะเข้าทำลายตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงเมล็ดแก่ โดยเฉพาะช่วงที่อากาศร้อนชื้น ฝนตกชุกทำให้ผลผลิตลดลง
เมล็ดสกปรกเสียคุณภาพ แตกง่าย ความงอกต่ำ
การป้องกันกำจัด : โดยการปลูกข้าวฟ่างปลายฤดูฝน เพื่อให้ข้าวฟ่างออกดอกติดเมล็ดในช่วงที่ไม่มีฝนตกชุก
ปลูกข้าวฟ่างให้มีระยะห่าง เพื่อให้อากาศถ่ายเทไม่อับชื้น

โรคใบไหม้
สาเหต : เกิดจากเชื้อรา Helminthosporium turcicum อาการเริ่มแห้งตายจุดเล็ก ๆ ที่ใบ แล้วขยายออก ตามเส้นใบ เป็นแผลยาว 4-12 เซนติเมตร ถ้ารุนแรงทำให้ใบไหม้ แห้งตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด : ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากโรค เผาทำลายตอซังที่เป็นโรค กำจัดวัชพืชและพืชอาศัย

โรคราสนิม
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Puccinia purpurea
อาการเริ่มเป็นจุดเล็ก ๆ ต่อมานูนขึ้นเป็นสีสนิม เมื่อแก่จะแตกเห็นสปอร์ ของเชื้อราเป็นสีแดง
การป้องกันกำจัด : ปฏิบัติการเช่นเดียวกับโรคใบไหม้

แมลงและการป้องกันกำจัด

หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าวฟ่าง Aterigona soccata
จะเข้าทำลายข้าวฟ่างระยะต้นกล้า อายุ 1-2 สัปดาห์หลังงอก โดยตัวหนอนจะกัดกินยอดข้าวฟ่าง ทำให้ยอดเหี่ยว ข้าวฟ่าง แตกหน่อเพิ่มมากขึ้น มีผลทำให้ผลผลิตลดลง ถ้ามีการระบาดมาก
การป้องกันกำจัด : โดยปลูกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงทดแทน เช่น พันธุ์อู่ทอง 1,KU 439 หรือกำจัดแมลงก่อนฤดูปลูก โดยใช้กับดักปลาป่น ล่อแมลง และทำลายแมลงด้วยสารเคมีเพื่อลดปริมาณหนอนในฤดูปลูก หรือปลูกข้าวฟ่างในพื้นที่ใกล้เคียงกันพร้อมกันเพื่อไม่ให้ประชากรของแมลง ที่เกิดในแปลง ข้าวฟ่างที่มีการเพาะปลูกก่อนเข้าทำลายข้าวฟ่างรุ่นหลัง หรือใช้สารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่ออายุข้าวฟ่างได้ 7 วัน และพ่นซ้ำอีกครั้งหลังพ่นครั้งแรก 7 วัน

หนอนเจาะสมอฝ้าย Heliothis armigera
จะกัดกินดอกและเมล็ดข้าวฟ่างก่อนเมล็ดแข็ง
การป้องกันกำจัด : ถ้ามีการระบาดรุนแรง กำจัดด้วยการพ่นสาร thiodicarb อัตรา 40-60 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร บนช่อข้าวฟ่างบริเวณ ที่พบหนอนระบาด

หนอนกระทู้คอรวง Mythimna separata
หนอนเข้าทำลายข้าวฟ่าง ตั้งแต่อายุ 1 เดือนเป็นต้นไป โดยกัดกินยอด และใบจนเหลือแต่ก้านใบ ถ้ารุนแรงโดยเฉพาะช่วงข้าวฟ่างตั้งท้อง จะทำให้ผลผลิตเสียหายการป้องกันกำจัดขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของ การระบาด ถ้าไม่รุนแรงข้าวฟ่างจะแตกแขนงชดเชยได้ และมีศัตรู ธรรมชาติควบคุมอยู่ ถ้ารุนแรงในช่วงข้าวฟ่างตั้งท้อง ให้พ่นสารคาร์บาริล 80 % WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพียงครั้งเดียวในระยะก่อนที่ข้าว ฟ่างจะออกช่อเฉพาะบริเวณที่มีแมลงระบาด

การกำจัดวัชพืช

วัชพืชเป็นตัวการแย่งธาตุอาหารน้ำและแสงแดดโดยเฉพาะในระยะแตก ของการเจริญเติบโตของข้าวฟ่าง ถ้ามีวัชพืชมากก็ทำให้ต้นข้าวฟ่างแคระแกร็น นอกจากนี้ วัชพืชยังเป็นที่อยู่อาศัยของโรคแมลงที่อาจทำลายข้าวฟ่างได้
การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืชจำเป็นสำหรับในแปลงปลูกข้าวฟ่างวิธีหว่าน หรือมีปัญหาด้านแรงงาน หรือในกรณีแปลงปลูกที่มีการป้องกันกำจัดวัชพืช ไม่ดีในฤดูปลูกที่ผ่านมา หรือฝนตกชุกจนไม่สามารถกำจัดวัชพืชได้ทันเวลา ควรป้องกันกำจัดวัชพืชด้วยสารเคมี
สารเคมีที่นิยมใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสารเคมีป้องกันกำจัด วัชพืชแบบก่อนงอก ซึ่งจะใช้สารเคมีพ่นคลุมดินทันทีหลังปลูกก่อนที่วัชพืชและข้าวฟ่างจะงอก สารเคมีนี้จะสามารถควบคุมวัชพืชไม่ให้งอกขึ้นมาได้นาน 30-35 วัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ข้าวฟ่างเจริญเติบโต มีพุ่มใบคลุมดินปกคลุมวัชพืช การพ่นสารเคมีต้องพ่นเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ เพื่อให้สารเคมีออกฤทธิ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สารเคมีกำจัดวัชพืชที่ใช้ได้ผลดี คือ อาทราซีน อัตรา 240-400 ซี.ซี.ต่อไร่ สามารถควบคุมวัชพืชใบแคบและใบกว้าง อายุปีเดียวที่งอกจากเมล็ด
การแปรรูป
ข้าวฟ่างสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในอุตสาหกรรมทำเหล้า แอลกอฮอล์ อาหารมนุษย์ สัตว์ และขนมหวาน เช่น แป้งข้าวฟ้าง

ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร


ประสบการณ์ตรง









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (619 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©