-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 522 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อ้อย




หน้า: 1/2


                   อ้อย


          ลักษณะทางธรรมชาติ               
       * เป็นพืชไร่ประเภทต้องการน้ำ (อวบน้ำ) สม่ำเสมอ  ตั้งแต่ดินชื้นถึงแฉะเพราะอ้อยต้องใช้น้ำเพื่อการสร้างน้ำอ้อยนั่นเอง  แต่ในการปฏิบัติจริงไม่มีการให้น้ำเลย  นอกจากฝนตกเท่านั้น  โดยว่า  อ้อยเป็นพืชไร่  ไม่ต้องการน้ำมาก  ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ผิดพลาดอย่างมาก
การปฏิบัติต่ออ้อยอย่างถูกต้อง คือ ต้องให้น้ำโดยปล่อยเข้าไปตามร่องระหว่างแถวปลูก  ให้น้ำขังค้างนาน 2-3 วัน  จัช่าวยให้อ้อยเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดี               
       * อ้อยมีระบบรากยาวมาก  ยาวเท่ากับความสูงของลำต้น  หยั่งลงไปในเนื้อดิน  การที่พบเห็นรากอ้อยไม่ยาวเท่ากับความสูงของลำต้นก็เพราะสภาพโครงสร้างดินแน่นจัด  แน่นจนรากชอนไชไปไม่ไหวนั่นเอง
       * เป็นพืชที่ความสูงมีประโยชน์อย่างมาก  กล่าวคือ  ลำต้นอ้อยที่สูงหรือยาวมากๆ ย่อมหมายถึงปริมาณผลผลิตต่อต้นที่มากกว่าอ้อยที่ลำต้นสั้นหรือเตี้ย               
       * การให้น้ำแบบขังค้างในร่องระหว่างสันแปลงปลูกอยู่เสมอตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยว  ควบคู่กับเนื้อดินมีอินทรีย์วัตถุอยู่ในเนื้อดินลึกตั้งแต่ 1-1.5 ม.  จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์  ให้ผลผลิตมากทั้งปริมาณและคุณภาพ               
       * ช่วงที่ต้นอ้อนยังเล็ก  ระยะปลูก 1.3-1.5 ม.  หลักปลูกใหม่หรือหลังย่ำตอใหม่ๆ  ถ้ามีการปลูกพืชตระกูลถั่ว (ถั่วแดง/ดำ/เหลือง/เขียว) แซม  โดยหว่านเมล็ดพันธุ์ 2-5 ล./ไร่  ต้นถั่วเจริญเติบโตคู่กับอ้อยแต่จะโตเร็วกว่า  จังหวะที่ต้นถั่วกำลังโตนี้จะช่วยคลุมหน้าดินป้องกันแดดเผาได้  ถ้าต้องการใช้ต้นถั่วเป็นปุ๋ยพืชสดคลุมดินก็ให้ล้มต้นถั่วเมื่อเริ่มออกดอก หรืออายุประมาณ 150 วัน  หากต้องการผลผลิตก็ให้บำรุงเลี้ยงต่อไปจนเก็บเกี่ยวจึงล้มต้นคลุมหน้าดินต่อไปก็ได้.......ประโยชน์นอกจากนี้ก็คือ  ระหว่างที่ต้นถั่วเจริญเติบโตนั้น  ต้นอ้อยที่เพิ่งแตกยอดจะเร่งโตเพื่อแย่งแสงแดดกับต้นถั่ว  ส่งผลให้ต้นอ้อยโตเร็วขึ้น               
        * การให้ไนโตรเจนมากๆทำให้อ้อยโตเร็วก็จริง  แต่เมื่อตัดลงมาแล้ว  ไนโตรเจนจะระเหยหายไปเร็วมาก  ทำให้น้ำหนักอ้อยสดลดลงอย่างมาก.......เช่นเดียวกับการเผาอ้อยก่อนตัด  ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำหนักอ้อยสดลดลงอย่างมาก  จนกระทั่งโรงงานรับซื้อต้องตัดราคาลง               
        * อ้อยปลูกครั้งหนึ่งหลังจากตัดไปแล้ว  สามารถไว้ตอแล้วบำรุงต่อเป็นอ้อยรุ่น 2 (ตอ 2) จากตอ 2 เป็นตอ 3 – 4 ถึงตอ 10 ได้   โดยที่ตอรุ่นหลังๆจะให้ผลผลิตมากกว่าตอแรกเพราะมีหน่อเกิดใหม่เพิ่มขึ้น  ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการบำรุงเป็นหลักด้วย.......ในความเป็นจริง  ชาวไร่อ้อยส่วนใหญ่ทำถึงตอ 3 เท่านั้น  ต้องรื้อทิ้งแล้วปลูกใหม่  เนื่องจากผลผลิตรุ่นหลังๆจะลดลงเรื่อยๆ  จนกระทั่งไม่คุ้มทุน  ทั้งนี้เนื่องจากการบำรุงไม่ถูกต้องต้อง  โดยเฉพาะไม่เคยให้น้ำเลยนั่นเอง      ผลผลิตอ้อยออสเตรเลียได้ 35-45 ตัน/ไร่  ในขณะที่อ้อยไทย (ตอ 1 มากสุด) ได้เพียง 6-8 ตัน/ไร่ เท่านั้น               
        *  ต้นอ้อยทำพันธุ์ควรเป็นต้นที่สมบูรณ์  ปล้องยาว  ไม่มีโรค ........ ในอ้อย 1 ลำ (ต้น) แบ่งเป็น 3 ส่วน  “โคน-กลาง-ปลาย”  ส่วนกลางและปลายจะมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงกว่าส่วนโคน  เหตุที่ส่วนโคนมีเปอร์เซ็นต์งอกต่ำเพราะตาหรือตุ่มตาบอดหรือแห้งไปแล้วนั่นเอง                
        *  ต้นอ้อยที่จะนำมาทำต้นพันธุ์ควร  “สด-ใหม่”  ยังคงมีเปลือกแห้งหุ้มตาและระหว่างขนย้ายให้ระวังส่วนตาอย่าให้ถูกแดดเผาเพราะจะทำให้ตาแห้ง  ซึ่งเมื่อไปปลูกแล้วจะไมงอก ..
.....การขนย้ายระยะทางไกลๆ  ควรมีสิ่งปกติดป้องกันแสงแดดและลมที่จะทำให้ตาแห้ง
        *  การปลูกแล้วบำรุงเลี้ยงอ้อยสำหรับทำพันธุ์โดยเฉพาะ  จะช่วยให้ได้ท่อนพันธุ์ที่ดีตามต้องการ  โดยอ้อยพันธุ์ 1 ไร่ สามารถใช้เป็นท่อนพันธุ์ปลูกได้ประมาณ 4-5 ไร่ 
        *  อ้อยปลูกครั้งแรกจนเก็บเกี่ยว เรียกว่าอ้อย ตอ-1  เก็บเกี่ยวแล้วย่ำตอจะเกิดหน่อใหม่  บำรุงเลี้ยงอย่างถูกวิธีจนต้นโตเก็บเกี่ยวได้ เรียกว่า ตอ-2  เก็บเกี่ยวตอ-2 แล้วย่ำตอ  บำรุงเลี้ยงอย่างถูกวิธีจนต้นโตเก็บเกี่ยวได้ เรียกว่า ตอ-3.......ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ  สามารถทำอ้อยได้มากกว่า ตอ-10               
        * เครื่องมือวัดความหวานของอ้อยเรียกว่า  “รีแฟ็คโดมิเตอร์”  และหน่วยวัดความค่าหวานเรียกว่า  “องศาบริกซ์”   การวัดค่าความหวานทำโดยแบ่งอ้อยทั้งต้นเป็น 3 ส่วน คือ  ปลาย-กลาง-โคน  ให้วัดค่าความหวานของแต่ละส่วน  แล้วนำค่าความหวานของแต่ละส่วนมาหาค่าเฉลี่ยก็จะได้ค่าความหวานของอ้อยต้นนั้น               
        * ปลูกอ้อยเพื่อส่งโรงงานต้องสมัครเป็นสมาชิกโรงงาน  มิฉะนั้นโรนงงานจะไม่รับซื้อผลผลิต
                  
           ปัญหาใหญ่ของชาวไร่อ้อยวันนี้                   
        -  ไม่มีแรงงานสางใบแก่แห้งออกระหว่างต้นกำลังเจริญเติบโต  ต้องปล่อยให้ใบแห้งติดคาต้นอยู่อย่างนั้น  ทำให้การเจริญเติบโตของอ้อยไม่ดีเท่าที่ควร                  
        -  แรงงานไม่ยอมตัดอ้อยที่ไม่ได้เผาก่อนตัด จึงจำเป็นต้องเผาแม้จะรู้ว่าต้องถูกตัดราคาจากโรงงานรับซื้อ               
        -  รถตัดอ้อยมีข้อจำกัดบางประการไม่สามารถเข้าทำงานในทุกแปลงทุกพื้นที่ได้  และบางแปลงถึงรถตัดอ้อยจะเข้าทำงานได้ แต่ตีนตะขาบรถก็ย่ำตอเสียหายจนไม่สามารถเลี้ยงต่อเป็นอ้อยตอต่อๆไปได้                
        -  อ้อยอายุต้นถึงระยะเก็บเกี่ยวแล้วต้องตัด (บังคับ) เพราะถ้าไม่ตัดอ้อยจะออกดอก  เมื่ออ้อยออกดอกเปอร์เซ็นต์ความหวานและน้ำหนักจะลด               
        -  ฤดูกาลตัดอ้อยพร้อมกันทุกแปลง  เจ้าของไร่อ้อยที่ไม่มีรถบรรทุกของตัวเอง  ต้องใช้บริการรถบรรทุกจากโรงงาน   เมื่อรถบรรทุกอ้อยถึงโรงงานแล้วต้องใช้เวลารอการขนถ่ายลงเป็นระยะเวลานานๆ  บางครั้งรอนานเป็นอาทิตย์จึงจะขนถ่ายลงได้  ทำให้เสียเวลา
                
           เตรียมดิน :                 
         - ใส่อินทรีย์วัตถุ  (ยิบซั่ม + กระดูกป่น + มูลไก่ + แกลบดิบ)  ไถลงดินลึก 1-1.50 ม.ด้วยรถไถระเบิดดินดาน (ริปเปอร์)  ........ เนื่องจากระบบรากอ้อยยาวและหยั่งลงดินได้ลึกมาก  จึงควรเตรียมอินทรีย์วัตถุไว้ลึกๆ                 
         - ไถพรวนแล้วชักร่อง  ให้สันแปลงสูง 30-50 ซม.  กว้าง 50 ซม.  ปากร่องระหว่างสันแปลงกว้าง 1 ม.  ก้นร่องกว้าง 30 ซม. ก้นสอบ                

           เตรียมแปลง :                 
         - เนื่องจากอ้อยเป็นพืชอวบน้ำจึงต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ  ดังนั้น  การเตรียมแปลงปลูกจึงจำเป็นต้องมีช่องทางหรือวิธีการให้น้ำไว้ด้วย  กล่าวคือ                
         - แปลงพื้นราบเสมอกันทั้งแปลง  ให้น้ำโดยผ่านไปตามร่องปลูก  ต้องเตรียมร่องให้ลาดเอียงเพียงพอที่น้ำสามารถไหลจากหัวร่องไปถึงท้ายร่องได้อย่างสะดวกและเสมอกัน
          - แปลงพื้นที่ลาดเอียง  ให้เตรียมพื้นที่หรือบริเวณสำหรับให้น้ำจากบนสันสูงสุดของลาด  แล้วปล่อยให้น้ำไหลจากลาดสูงผ่านตามร่องไปสู่ลาดต่ำได้อย่างสะดวกและเสมอกัน
          - การติดสปริงเกอร์แบบ  “ยิงข้ามหัว”   หรือใช้รถบรรทุกน้ำ  ที่ถังน้ำมีปั๊มแรงดันสูง (เครื่องดับเพลิง)  วิ่งฝ่าเข้าไปในองอ้อย  (เว้นพื้นที่เป็นช่องรถวิ่งหรือถนนไว้ก่อนแล้ว) แล้วฉีดพ่นน้ำไปทางซ้าย-ขวาจนทั่วแปลงก็ได้                

             สายพันธุ์ :               
             เค-84-200,  ......  เค-88-92, ....... เค-76-4,  เค-90-77,  ........ เอฟ-90-77,  ......... ชัยนาท-1 (2526),   ......... อู่ทอง-1, ....... อู่ทอง-2 (2536), ...
อู่ทอง-3, ......... อู่ทอง-4,  ..... อู่ทอง-5 (2545),                

             การปลูก :                 
          - เลือกท่อนพันธุ์ที่ยังมีกาบแห้งหุ้มอยู่  ตัดกาบออกโดยตัดไปทางปลายท่อน  เพื่อให้เหลือส่วนโคนกาบยังคงหุ้มหรือปิดตาไว้........แบ่งต้นพันธุ์เป็น 3 ส่วน  ส่วนโคนต้นพันธุ์ตัดทิ้งไปแล้วเลือกไว้ใช้เฉพาะส่วนกลางกับส่วนปลายของท่อน .........ตัดเป็นท่อน  แต่ละท่อนให้มี 2-3 ตา  แต่ละตาให้มีกาบใบแห้งปิดทับอยู่               
          -  ปลูกอ้อยโดยวางท่อนพันธุ์ที่ตัดเรียบร้อยแล้วลงบนพื้นสันแปลง  หลุมหรือกอละ 2 ท่อน เคียงกัน   ให้ปลายท่อนพันธุ์แต่ละท่อนชี้สวนทางกัน  แต่ละหลุมหรือกอห่างกัน 1.20-1.50 ม.  วางท่อนพันธุ์แล้วให้โกยดินกลบทับทันทีหรือให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้  หากปล่อยตากแดดนานเพียง 10 นาที  ตาที่ถูกแดดเผาจะเหี่ยวแห้งหรือฝ่อแล้วไม่งอก.....นอกจากโกยดินขึ้นกลบทับแล้ว  หากมีกาบใบแห้งกลบทับป้องกันความร้อนจากแสงแดดอีกชั้นหนึ่งก็จะเป็นการดีมาก               
         -  ก่อนวันวางท่อนพันธุ์ 3-5 วัน  ควรปล่อยน้ำเข้าไปในร่องระหว่างสันแปลงเพื่อให้ดินอุ้มน้ำและเกิดความชื้น  หากไม่ได้ให้น้ำไว้ก่อน  เมื่อวางท่อนพันธุ์เสร็จก็ควรปล่อย  “น้ำ + น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 5-10 ล./ไร่”  เข้าร่องทันที               
         - หลังจากวางท่อนพันธุ์แล้ว 15-20 วัน จะงอกขึ้นมาให้เห็น  เกิน 25-30 วันไปแล้วถ้าหลุมหรือกอไหนไม่งอกให้ปลูกซ่อม                
         - เทคนิคการปลูกแบบหลุมหรือกอละ 2 ท่อน  ระยะห่าง 1.20-1.50 ม.  จะให้ผลผลิตมากกว่าการปลูกหลุมหรือกอละ 1 ท่อน ระยะห่าง 80 ซม.- 1 ม.  ทั้งคุณภาพและปริมาณ                   

           การปฏิบัติบำรุง :               
             ระยะต้นเล็ก
                 
         - อายุต้น 2-3 เดือนหลังงอก  ให้  “น้ำ + น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 5-10 ล./ไร่”  1 รอบ               
         - กำจัดวัชพืชโดยการถากแล้วเกลี่ยหญ้าขึ้นคลุมโคนต้น               
           หมายเหตุ :                
         - ในน้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิกเถิดเทิง (ส่วนผสม : ปลาทะเล-ไขกระดูก-เลือด-มูลค่างคาว-นม-ฮิวมิคแอซิด-น้ำมะพร้าว.....หมักข้ามปี) ให้เติมเพิ่ม  25-7-7 (4 กก.) ธาตุรอง/ธาตุเสริม 250 กรัม  แล้วไม่ต้องให้ปุ๋ยเคมีเพิ่มอีกแต่อย่างใด  เพราะนอกจากสารอาหารในน้ำหมักฯ  และส่วนที่เติมแล้วยังมีสารอาหารจากอินทรีย์วัตถุที่ใส่เมื่อครั้งเตรียมดินเป็นพื้นฐานรองรับ  ซึ่งถือว่าเพียงพอต่อความต้องการจริงของอ้อย               
        - ให้น้ำ 20-30 วัน/ครั้ง ช่วงฝนแล้ง               

           ระยะต้นโต – เก็บเกี่ยว                  
         - เริ่มให้เมื่ออายุ 4 เดือน  หรือเริ่มย่างปล้องแล้ว  ให้  “น้ำ + น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 5-10 ล./ไร่”  เดือนละ 1 ครั้ง  จนถึงเก็บเกี่ยว               
         - ให้น้ำ  20-30  วัน/ครั้ง  ช่วงฝนแล้ง               
         - แต่งตอ  ลอกกาบแห้ง 1 ครั้ง  ก่อนเก็บเกี่ยว 1-2 เดือน               

           การย่ำและเลี้ยงตอ                   
             หลักการและเหตุผล :
               
           อ้อยเป็นพืชตระกูลหญ้า   เมื่อส่วนลำต้นถูกตัดแล้วสามารถแตกยอดใหม่จากตอส่วนที่อยู่เหนือผิวดินและตอหรือเหง้าส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน........ยอดใหม่ที่แตกจากตอหรือเหง้าส่วนที่อยู่ใต้ผิวดินจะเจริญเติบโตและเป็นลำต้นใหม่ได้เร็วและคุณภาพดีกว่ายอดที่แตกใหม่จากตอส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน               

           การปฏิบัติ :                 
      1.  กรณีใช้รถ  “คีบอ้อย”  เข้าทำงาน  ล้อรถคีบอ้อยจะย่ำตอส่วนที่อยู่เหนือผิวดินให้แตกยับลงถึงผิวดินแล้ว  ประมาณ 3 ใน 4 ส่วน…….ส่วนที่เหลือ 1 ใน 4 ต้องใช้แรงงานคน  ใช้มีดตัดตอส่วนที่อยู่เหนือผิวดินให้ขาดชิดติดหน้าดิน                 
      2.  กรณีตัดอ้อยด้วยแรงงานคน  ต้องให้ตัดต้นชิดผิวหน้าดินให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
                
           การเลี้ยงตอ :                  
        -  หลังจากย่ำหรือตัดตอเสร็จ  ให้เกลี่ยใบและกาบแห้งจากพื้นที่เป็นร่องน้ำระหว่างสันแปลงขึ้นคลุมตอ                 
        - ปล่อย  “น้ำ + น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง (5-10 ล.) +  25-7-7 (4 กก.) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม (250 กรัม) /ไร่”  ทันที                 
        -  พรวนดินด้วย  “โรตารี่”  ในร่องระหว่างสันแปลง                 
        -  หว่านเมล็ดพันธุ์ถั่ว 2-5 กก./ไร่                 
        -  เมื่ออ้อยยอดใหม่โตขึ้นให้เข้าสู่วงรนอบการบำรุงตามปกติต่อไป
                                                                        





                ************************************




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©