-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 573 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์





              ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์                       


          ลักษณะทางธรรมชาติ                        
       * เป็นพืชไร่  อายุสั้นฤดูกาลเดียว  ต้องการน้ำน้อยพอหน้าดินชื้นเท่านั้น.......หลักนิยมหรือทัศนคติของชาวไร่ข้าวโพด คือ  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชไร่ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ  ซึ่งขัดกับหลักความจริงตามธรรมชาติที่ว่า  ไม่มีพืชใดในโลกนี้ไม่ต้องการน้ำ  เพียงแต่ต้องการมากหรือน้อยเท่านั้น.......ดังนั้น  เมื่อคิดจะปลูกข่าวโพดเลี้ยงสัตว์จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแผนการให้น้ำไว้ด้วย  เทคนิคการให้น้ำแก่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  ในแปลงพื้นที่ลาดเทา  อาจจะใช้วิธปล่อยให้น้ำไหลไปเองระหว่างร่องแถวปลูกจากลาดสูงสู่ลาดต่ำ  แต่ถ้าเป็นแปลงพื้นราบให้ใช่วิธีลากสายยางรดน้ำ หรือใช้สปริงเกอร์แบบยิงข้ามหัว                       
       * เริ่มออกดอกเมื่ออายุต้น 50-60 วัน  ระหว่างออกดอกถ้าต้นขาดน้ำจะทำให้ดอกไม่สมบูรณ์  ส่งผลให้การผสมของเกสรไม่ดีแล้วต่อไปถึงผลผลิตที่ไม่ดีอีกด้วย.......เก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุต้น 110-120 วัน                       
       * ดอกตัวผู้เรียกว่า  “ดอกยอด”  ส่วนดอกตัวเมียอยู่ที่ปลายฝักเรียกว่า  “ไหม”  โดยดอกยอดจะเกิดก่อนไหม แต่เกิดก่อนไม่กี่วัน  (7-10 วัน)  ดอกยอดและไหมในต้นเดียวกันสามารถผสมกันได้ หรือผสมต่างต้นได้                          
       * จากธรรมชาติที่ดอกยอดเกิดก่อนไหมก็เพื่อให้ดอกยอดพร้อมผสมก่อน  ทำให้ดอกทั้งสองเพศในต้นเดียวกันไม่มีโอกาสผสมกันเอง   ระหว่างที่ไหมซึ่งเกิดทีหลังและยังไม่พร้อมรับการผสมนั้น  ดอกยอดซึ่งพร้อมผสมก่อนจะปลิวลมไปผสมกับไหมของต้นอื่น  เป็นการผสมข้ามต้น........การผสมข้ามต้นจะทำให้ได้สายพันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรงกว่าการผสมในต้นเดียวกัน   (การผสมกันของเกสรทั้งสองเพศในต้นเดียวกัน  เปรียบเสมือนสัตว์หรือมนุษย์ที่ผสมพันธุ์แบบเลือดชิด  ซึ่งจะทำให้เกิดอาการด้อยทางพันธุกรรม)                          
       *  การผสมข้ามต้นหรือต้นเดียวกัน  ไม่ทำให้เกิดอาการกลายพันธุ์  หรือเปอร์เซ็นต์กลายพันธุ์น้อยมาก......การปลูกข้าวโพดเพื่อทำพันธุ์จะต้องหลีกเลี่ยงการผสมกันเองตามธรรมชาติ  นั่นคือต้องผสมด้วยมือเท่านั้น  และแปลงปลูกเพื่อสร้างสายพันธุ์ตจะต้องอยู่ห่างจากแปลงข้าวโพดข้างเคียงที่ต่างสายพันธุ์ไม่น้อยกว่า 500 ม.                       
       * เมื่อไหมพร้อมรับการผสมแล้วไม่ได้รับการผสม  ข้าวโพดฝักนั้นจะติดเมล็ดไม่เต็มฝัก  หรือเรียกว่า  “ข้าวโพดฟันหลอ”  ไม่มีปุ๋ยหรือฮอร์โมนใดๆแก้ไขได้  นอกจากการทำให้ไหมได้รับการผสมเท่านั้น                       
       * ข้าวโพดทุกชนิดและทุกสายพันธุ์  หากได้รับการบำรุงดีๆ  อย่างถูกวิธี  สม่ำเสมอ  สามารถออกฝักได้ 2-4 ฝัก/ต้น  ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ  ไหมฝักแรกกับไหมฝักที่สองของต้นมักมีโอกาสได้รับการผสมจากดอกยอดจากต้นตัวเองหรือต่างต้นจึงพัฒนาเป็นฝักได้  ส่วนฝักที่สามกับฝักที่สี่ไม่มีโอกาสได้รับเกสรจากดอกยอดทั้งจากต้นตัวเองหรือต่างต้น  เพราะดอกยอดเหล่านี้เสื่อมสภาพไปหมดสิ้นแล้ว  จึงไม่มีฝักที่สามและสี่เกิดขึ้น                       
       * จากข้อจำกัดเรื่องลักษณะทางธรรมชาติของข้าวโพด  ที่ว่า  ดอกยอดกับไหมพร้อมรับการผสมไม่พร้อมกันนั้น  แก้ไขโดยการ   “ปลูกต่างรุ่น”  กล่าวคือ  เมื่อเมล็ดรุ่นงอกขึ้นมาแล้วเป็นรุ่นแรก  อีก 10 วันต่อมาให้หยอดเมล็ดรุ่นที่สอง  แทรกระหว่างรุ่นแรก   โดยรุ่นแรก 10 ต้น เทรกด้วยรุ่นสอง 1 ต้น  และเมื่อเมล็ดรุ่นสองงอกขึ้นมาแล้ว 10 วัน  อาจจะหยอดเมล็ดรุ่นที่สาม  แทรกระหว่างต้นรุ่นแรกกับรุ่นสองอีกก็ได้ตามความจำเป็น........วัตถุประสงค์เพื่อ  จะอาศัยดอกยอดของรุ่นสองไปผสมให้กับไหมของฝักที่สองหรือฝักที่สามของต้นรุ่นแรก  และอาศัยเกสรดอกยอดของรุ่นสามไปผสมกับไหมของฝักที่สองหรือฝักที่สามของต้นรุ่นสอง  การที่จะให้เกสรดอกยอดกับไหมจากต่างต้นได้ผสมกันนั้น  จะอาศัยเพียงลมหรือแมลงเป็นพาหะนำไปอย่างเดียวคงไม่ได้  จึงจำเป็นต้องช่วยผสมด้วยมือ........สรุป  เพื่ออาศัยเกสรรุ่นน้องไปผสมกับไหมรุ่นพี่  ทั้งปล่อยให้เขาผสมกันเองและช่วยผสมด้วยมือนั่นเอง
                         
         งานนี้หากพิจารณาอย่างผิวเผินอาจบอกว่า  ยุ่งยาก  ไม่คุ้มค่าลงทุน  (แรงงาน เวลา)  แต่หากได้พิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้วก็จะเห็นว่าคุ้มค่าอย่างมาก  กล่าวคือ               ข้าวโพด 1 ต้น  พร้อมที่จะให้ผลผลิต 2-4 ฝัก/ต้น/รุ่น  นั่นคือ  จะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 200-400 % ต่อ 1 รุ่น........จากเดิมที่ปล่อยให้เกสรผสมกันเองตามธรรมชาตินั้น  ข้าวโพด 1 ต้น  ให้ผลผลิตเพียง 1 ฝักสมบูรณ์ กับอีก 1 ฝักไม่สมบูรณ์เท่านั้น........เมื่อไหมของฝักใดเมื่อได้รับการผสม  ฝักนั้นจะเป็นฝักสมบูรณ์ .......... การช่วยผสมเกสรด้วยมือ  แรงงาน 1 คน  สามารถทำงานได้ไม่น้อยกว่า  5-10 ไร่/วัน                           

       *  เทคนิคการผสมเกสรด้วยมือ  เริ่มจาก.......ช่วงเวลา 09.00-12.00 น.  สังเกตความพร้อมผสมของเกสร (ดอกยอด คือ เกสรตัวผู้ – ไหมปลายฝัก คือ เกสรตัวเมีย) ณ วันที่พร้อมผสมจะมีลักษณะ  สมบูรณ์ ขนาดใหญ่  เป็นมันวาว  มียางเหนียวติดมือ..........ตัดดอกยอดทั้งก้านลงมาแล้วนำไปถูหรือสัมผัสกับไหมปลายฝักเบาๆ 2-3 รอบ...... ดอกยอด 1 ช่อ  สามารถผสมกับไหมปลายฝักได้มากกว่า 10 ฝัก                       
       *  ต้นข้าวโพดก็เหมือนพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียวอื่นๆที่  เมื่อผลผลิตอายุได้ 75 %  ใบจะเริ่มเหลืองโทรมเนื่องมาจากใกล้หมดอายุขัย  ใบที่เหลืองโทรมไม่สามารถสังเคราะห์สารอาหารได้  ส่งผลให้ผลผลิตฝักรุ่นหลังๆไม่ได้รับสารอาหาร  จึงกลายเป็นผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ  แนวทางแก้ไข คือ  ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น  ควบคู่กับให้  “ฮอร์โมนน้ำดำ”  เพื่ออาศัยแม็กเนเซียม.ในการสร้างคลอโรฟีลด์ซึ่งจะทำให้ใบเขียวสดตลอดอายุขัยจนถึงวันเก็บเกี่ยว
       * ข้าวโพดเป็นพืชประเภท  “แป้งและน้ำตาล”  สารอาหารกลุ่มสร้างแป้งและน้ำตาล คือ สังกะสี. และกำมะถัน.  จึงควรให้สม่ำเสมอตั้งแต่ต้นเริ่มติดฝัก 
       * สภาพอากาศ (อุณหภูมิ) ของพื้นที่ปลูกที่กลางวันร้อนมาก กลางคืนหนาวหรือเย็นมาก (ความต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืน) ข้าวโพจะให้คุณภาพดี  กล่าวคือ ช่วงกลางวันอากาศร้อน แดดจัด  ต้นจะสร้างคลอโรฟิลด์  ครั้นถึงช่วงกลางคืนอากาศเย็น  ต้นจะสร้างแป้ง                       
       * อายุต้นได้ 20-30 วันหลังเมล็ดงอก   ให้ทางใบด้วย   “เอ็นเอเอ. + สาหร่ายทะเล + แคลเซียม โบรอน + วิตามิน บี-1 + ไคตินไคโตซ่าน + กลูโคส”    ทุก 7-10 วัน  ให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น  นอกจากช่วยสร้างและบำรุงรากที่เกิดจากข้อเหนือพื้นดิน (ต้นที่มีรากมากกว่าย่อมดูดซับสารอาหารจากดินได้มากกว่า) แล้ว  ยังทำให้ต้นข้าวโพดแตกกิ่งออกมาจากข้อ 2-3 ข้อ  กิ่งใหม่เหล่านี้เมื่อได้รับสารอาหารสูตรเดิมต่อไปควบคู่กับสารอาหารตัวอื่นๆอย่างสม่ำเสมอ  จะเจริญเติบโตแล้วออกฝักได้  ฝักเหล่านี้เมื่อได้รับการช่วยผสมเกสรก็จะพัฒนาเป็นฝักสมบูรณ์ได้  เมื่อรวมกับฝักปกติ 2-3 ฝักแล้วทำให้ข้าวโพด 1 ต้นได้ฝักทั้งสิ้น 6-7 ฝัก                         
       * การปลูกแบบถี่  ระยะห่าง 30-45 X 30-45  ซม.  ทำให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์มาก  ต้นเบียดกันได้รับแสงแดดน้อย  ลมพัดผ่านเข้าไปไม่ได้  การเข้าปฏิบัติงานในแปลง (ช่วยผสมเกสร) ไม่สะดวก  ส่งผลให้ได้จำนวนฝัก/ต้นน้อย  ฝักไม่สมบูรณ์  โรคและแมลงมาก.........การปลูกแบบห่าง  ระยะห่าง 75-100 X 75-100 ซม.  ทุกอย่างจะเป็นตรงกันข้ามกับการปลูกถี่.......สรุป  จำนวนต้นมาก ต้นทุนมาก  ผลผลิตน้อยด้อยคุณภาพ  แต่ถ้าจำนวนต้นน้อย  ต้นทุนน้อย  ได้ผลผลิตมากทั้งปริมาณและคุณภาพ                       
       * ต้นข้าวโพดทุกชนิดไม่ถูกกันกับ  “ยาฆ่าหญ้า”  เพราะฉะนั้นต้องงดใช้ยาฆ่าหญ้าเด็ดขาด  การกำจัดวัชพืชให้ใช้จอบดายหญ้าแล้วเกลี่ยเข้าคลุมโคนต้นจะได้ประโยชน์สูงสุด.......จังหวะที่เกลี่ยเศษหญ้าคลุมโคนต้น  ถ้ามีการพรวนร่วมด้วยจะดีต่อต้นข้าวโพดอย่างมาก
                          
         สายพันธุ์                       
         ซีพีดีเค-888,     ไพโอเนียร์-3013,   แปซิฟิค-983,     คาร์กิล-919,     เทพีวีนัส-49,     นครสวรรค์-72,  สุวรรณ-3851,    นครสวรรค์-1  (ข้อมูล : กรมส่งเสริมการเกษตร),   บิ๊ก-919,     จี-5445,   ไพโอเนียร์-3012แปซิฟิค-328                       

         เตรียมดิน                         
     -  ใส่อินทรีย์วัตถุ  (มูลไก่ 1-2 ตัน,  แกลบดิบ 2 ตัน,  ยิบซั่ม 50 กก.,  กระดูกป่น 10 กก.)  ไถกลบลงดินลึก 30-45 ซม.                        
     – บ่มดินด้วยจุลินทรีย์หน่อกล้วย  หรือน้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง  อย่าใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง  นาน 15-30 วัน   เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ในการปรับสภาพโครงสร้างดินและสร้างสารอาหารรอไว้ก่อนการปลูก                        
     – ให้น้ำพอหน้าดินชื้น  ทุก 3-5 วัน                       
        หมายเหตุ :                       
        เทคนิคการเลือกสรรวัสดุส่วนผสมในอินทรีย์วัตถุอย่าพิถีพิถัน  ผ่านกระบวนการหมักอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ  นอกจากไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีแล้วยังเป็นการสร้างและสะสมประวัติเนื้อดินให้เป็นดินดี  ซึ่งจะส่งผลต่อไปถึงการเพาะปลูกรุ่นต่อๆไปอีกด้วย  เท่ากับ  ทำครั้งเดียวใช้การได้ตลอดไป                       

         เตรียมแปลง                         
       - ยกแปลงลูกฟูก  สูง 30-50 ซม.  สันแปลงราบกว่าง 30-50 ซม.  ร่องระหว่างสันลูกฟูกกว้าง 50-75 ซม.  ลึก 30 ซม. ก้นสอบ                       
        -  เตรียมอุปกรณ์หรือวิธีการให้น้ำ                       
           หมายเหตุ :                       
           สันแปลงยิ่งสูง  อินทรีย์วัตถุยิ่งมาก   นอกจากทำให้ดินไม่อุ้มน้ำแล้วยังช่วยกักเก็บความชื้นได้ดีอีกด้วย.........ข้าวโพดชอบความชื้น ไม่ชอบความแฉะ  ชอบดินร่วน ไม่ชอบดินเหนียว
        - เทคนิคการให้  "น้ำ + ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง"  แบบหล่อในร่องระหว่างสันแปลงปลูก 10-15 วัน/ครั้ง  จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ แข็งแรงโดตเร็ว และให้ผลผลิตดี
                        

          เตรียมเมล็ดพันธุ์                         
       – เมล็ดพันธุ์ที่เคลือบสารเคมีให้ล้างสารเคมีในน้ำไหลให้หมดหรือให้เหลือติดเมล็ดพันธุ์น้อยที่สุดเสียก่อน  สารเคมีไม่ใช่สารอาหาร เมื่อสารเคมีอยู่ในดิน (ปลายราก) ต้นข้าวโพดก็จะดูดสารพิษนี้เข้าไปในต้นด้วย   สารเคมีเป็นกรดย่อมทำให้ดินเป็นกรด  และนอกจากนี้สารเคมียังเป็นสารพิษต่อจุลินทรีย์อีกด้วย.......สรุป  สารเคมีเป็นโทษมากกว่าประโยชน์
       – น้ำเมล็ดที่ล้างสารเคมีหมดแล้วลงแช่ใน   “น้ำ 10 ล. + โบรอน 10 กรัม”  นาน 6 ชม.  ครบกำหนดแล้วนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง   จากนั้นจึงไปหยอดลงหลุมปลูก.......เมล็ดพันธุ์ที่แช่ในโบรอนก่อนปลูก  เมื่อต้นโตขึ้นจะออกดอกยอดมากกว่าเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้แช่ 1-2 เท่า
                       
          การปฏิบัติ
          ระยะต้นเล็ก :
                          
       - ให้  “น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนน้ำดำ 100 ซีซี + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.”    ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นดินโคนต้น                        
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 3-5 วัน                       
         หมายเหตุ :                        
       - เมื่ออายุต้น 40-45 วันหลังเมล็ดงอก  ให้  “น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่ สูตรไต้หวัน 200 ซีซี.  + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.”   ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น 3-4 รอบ  ห่างกันรอบละ  5-7 วัน.....ให้ฮอร์โมนไข่ สูตรไต้หวัน 1 ครั้งจะทำให้ต้นข้าวโพดออกฝัก 1 ฝักเสมอ  จนกระทั่งออกฝักที่ 3 หรือ 4  ฝักแรกจะเริ่มโตต้องเปลี่ยนสูตรปุ๋ยเป็นสูตรบำรุงผลก็ให้หยุดการให้ฮอร์โมนไข่                       
       - เมื่ออายุต้นได้ 20-30 วันหลังเมล็ดงอก  ให้ทางใบด้วย   “เอ็นเอเอ. + สาหร่ายทะเล + แคลเซียม โบรอน + วิตามิน บี-1 + ไคโตซ่าน + กลูโคส”    ทุก 7-10 วัน  ให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น  นอกจากช่วยสร้างและบำรุงรากที่เกิดจากข้อเหนือพื้นดิน (ต้นที่มีรากมากกว่าย่อมดูดซับสารอาหารจากดินได้มากกว่า) แล้ว  ยังทำให้ต้นข้าวโพดแตกกิ่งออกมาจากข้อ 2-3 ข้อ  กิ่งใหม่เหล่านี้เมื่อได้รับสารอาหารสูตรเดิมต่อไปควบคู่กับสารอาหารตัวอื่นๆอย่างสม่ำเสมอ  จะเจริญเติบโตแล้วออกฝักได้  ฝักเหล่านี้เมื่อได้รับการช่วยผสมเกสรก็จะพัฒนาเป็นฝักสมบูรณ์ได้  เมื่อรวมกับฝักปกติ 2-3 ฝักแล้วทำให้ข้าวโพด 1 ต้นได้ฝักทั้งสิ้น 6-7 ฝัก                        
       - ก่อนออกดอก 7-10 วัน  ถ้าเห็นว่าลำต้นค่อนสูงสูงกว่าปกติ  ให้ใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 8-24-24 อัตรา 4-5 กก./ไร่  โดยการละลายน้ำแล้วรดโคนต้น  จะช่วยให้ต้นหยุดความสูงแล้วเจริญเติบโตทางข้าง  ลำต้นจะใหญ่  ไม่ล้มง่าย                        

          ระยะติดฝักแล้ว                        
       – ให้   “น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนน้ำดำ 200 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร”  สลับกับ  “น้ำ 100 ล. + ปุ๋ยทางใบสูตรบำรุงผล 200 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.”  ทุก 7 วัน  นอกจากบำรุงต้นไม่ให้โทรมแล้วยังช่วยบำรุงฝักให้มีขนาดใหญ่และคุณภาพดีด้วย
       – ให้น้ำพอหน้าดินชื้น  ทุก 7-10 วัน                        
          หมายเหตุ :                       
          หลังจากให้ทางใบด้วยปุ๋ยทางใบสูตร  “บำรุงผล”  แล้ว  ฝักไม่ใหญ่เท่าที่ควรจะใหญ่  ให้ใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 21-7-14  อัตรา 4-5 กก./ไร่  โดยละลายน้ำรดโคนต้น......ให้รอบเดียวจนถึงเก็บเกี่ยว  แต่ถ้าทางใบให้สูตรบำรุงผลแล้ว  ทางรากก็ให้ 21-7-14 แล้ว  ฝักก็ยังไม่โตเท่าที่ควรจะโต  ให้แก้ปัญหาที่ดิน  เนื่องจากดินไม่ตอบสนองต่อปุ๋ย
                        
          ระยะก่อนเก็บเกี่ยว                        
       – ให้  “น้ำ 100 ล. + ปุ๋ยทางใบสูตรบำรุงผลก่อนเก็บเกี่ยว 200 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.”  1 รอบ  ก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน  นอกจากช่วยบำรุงให้เมล็ดแกร่งแล้วยัง
ช่วยลดความชื้นได้อีกด้วย




                  ************************************  









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (1353 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©