-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 363 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สำปะหลัง




หน้า: 1/2


                  สำปะหลัง

      เกร็ดความรู้เรื่องสำปะหลัง :   

   * สำปะหลังเป็นพืชประเภท  “รากสะสมอาหาร”   รากสามารถแตกออกมาจากตาตามข้อทุกตาที่ยัง
สมบูรณ์ได้  เมื่อรากโตขึ้นจะพัฒนาตัวเองให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เรียกว่า  “หัว”   ภายในหัวมีสารอาหารกลุ่มแป้ง 
ซึ่งต้นจะนำกลับไปใช้เพื่อการดำรงชีวิตในช่วงขาดแคลนอาหารอย่างหนักได้                

     * เทคนิคการตัดแต่งตาที่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก (ปัก)  ทั้งตาที่ถูกตัดแต่งและแผลควั่นเปลือกสามารถแตก
รากออกมาได้ทั้ง 2 เทคนิค  การที่ท่อนพันธุ์แทงรากออกมาจากหลายๆจุด จากบนลงล่าง เป็นชั้นๆ  ในท่อนพันธุ์
เดียวกันได้นี้  ชาวไร่สำปะหลังเรียกว่า  “มันคอนโด”  ซึ่งทุกหัวที่ออกมาจากทุกจุด หากได้รับการบำรุงอย่างถูกวิธี
ก็จะเป็นหัวที่มีคุณภาพสูงได้…….เทคนิคเฉพาะสำหรับมันคอนโดก็คือ  ปักท่อนพันธุ์ให้มีตาลงไปเนื้อดิน 15-20
ตา  เหลือส่วนปลายให้อยู่เหนือดินเพียง 3-5 ตา สำหรับการแตกยอดเกิดใบเท่านั้น.......ในจำนวน 15-20
ตานี้  หากเกิดรากเพียง 3-5 ตา ย่อมหมายถึงปริมาณหัวที่เพิ่มขึ้นต่อ 1 ต้นนั่นเอง               

      * ท่อนพันธุ์ที่ได้จาก  “ส่วนกลาง”  ลำต้น  เมื่อนำไปปลูก (ปัก) จะให้ผลผลิตและโตเร็วกว่าท่อนพันธุ์
ที่ได้จาก  “ส่วนโคน”  หรือ  “ส่วนปลาย”  ของต้นที่ใช้ทำพันธุ์ 
               
      * ท่อนพันธุ์ที่ตัด  “เฉียง”  แล้วปลูก  เมื่อโตขึ้นจะออกรากแล้วกลายเป็นหัวเฉพาะขอบแผลด้านบน
ส่วนแผลหรือปลายล่างสุดจะไม่ออกราก  กรณีนี้ หากตัดท่อนพันธุ์ปลายที่จะปักลงดินแบบ  “รอยตัดตั้งฉาก”  กับ
ท่อนพันธุ์  สำปะหลังต้นนั้นจะออกรากรอบปลายท่อน……..เทคนิคตัดท่อนพันธุ์ให้รอยตัดตั้งฉากกับท่อนพันธุ์นี้จะ
ต้องปลูกหรือปักให้ตั้งฉากกับพื้นดินด้วย  จึงจะได้ผล 100 % .......ในขณะเดียวกัน ท่อนพันธุ์ที่ตัดให้รอยตัด
เฉียงกับท่อนพันธุ์  แม้จะปลูกหรือปักตั้งฉากกับพื้นดิน  รากก็จะออกเฉพาระแผลรอยตัดด้านเท่านั้น
                
     * ผลผลิตจากสายพันธุ์ใหม่ล่าสุด กับ สายพันธุ์เก่า ที่ไม่ล้าสมัยนัก  ภายใต้เทคนิคการปฏิบัติบำรุงเดียวกัน
สายพันธุ์ใหม่ล่าสุดสามารถให้ผลผลิตมากกว่าสายพันธุ์เก่าเพียง 10-15 % เท่านั้น  ในทางกลับกัน  หากสาย
พันธุ์ใหม่ล่าสุดได้รับการปฏิบัติบำรุงไม่ดีพอ  แต่สายพันธุ์เก่าได้รับการปฏิบัติบำรุงอย่างดีก็จะให้ผลผลิต
มากกว่า.......นั่นคือ  เรื่องของสายพันธุ์เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งของการวางแผนปลูกสำปะหลังเท่านั้น  หา
ใช่เป็นประเด็นสำคัญที่สุดไม่ ........แต่สายพันธุ์มีความสัมพันธ์กับสภาพโครงสร้างดิน (เหนียว ร่วน ทราย)
อย่างมาก  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกสายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่เหมาะสมกับสภาพโครงสร้างดินที่ปลูก

     *  ต้นสำปะหลังที่ไม่ทิ้งใบเลย หรือทิ้งไปเพียง 1 ใน 4 ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยว  จะให้ผลผลิตดีกว่าต้น
ที่มีจำนวนใบเป็นกระจุกเล็กๆที่ปลายกิ่ง               

     * สำปะหลังเมื่ออายุครบเก็บเกี่ยว  หากไม่ขุดขึ้นมาคุณภาพผลผลิตจะลดลง  คือ  นอกจากขนาดหัวจะ
ไม่ขยายใหญ่ขึ้นแล้ว  น้ำหนักเบาลง  เปอร์เซ็นต์แป้งลดลง  ไส้ในกลวง  อีกด้วย  ชาวไร่เรียกว่า  “กินตัว
เอง”  ทั้งนี้เพราะ   อายุครบขุดได้ถูกกะคำนวณล่วงหน้าให้ตรงกับช่วงหน้าแล้งซึ่งช่วยให้การขุดสำปะหลังสะดวก
และง่าย  โดยไม่ได้คิดว่าช่วงแล้งนั้นไม่มีน้ำ ……..แนวทางแก้ปัญหา  “กินตัวเอง”  คือ  ให้  “น้ำ+ สาร
อาหาร”  เมื่อเข้าสู่ช่วงแล้ง  หรือเมื่อพบว่าต้นเริ่มขาดน้ำ                

     * ปกติสำปะหลังจะเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 8 เดือนหลังปลูก ซึ่งมักตรงกับช่วงหน้าแล้ง  กรณีที่ครบอายุเก็บ
เกี่ยวแล้วยังไม่เก็บเกี่ยวแต่ต้องการฝากแปลงต่อไป  กรณีนี้สามารถทำได้โดยการระดมให้  "น้ำ + ปุ๋ย"  ทั้งทาง
ใบและทางราก  เทคนิคนี้  นอกจากสำปะหลังจะไม่กินตัวเองแล้วยังสร้างหัวสะสมแป้งเพิ่มขึ้นอีกด้วย  กล่าวคือ
เมื่อครบกำหนดเก็บเกี่ยว (8 เดือน) แล้วฝากแปลงต่ออีก 2 เดือน  จะได้น้ำหนักเพิ่มขึ้น 20-25 %  และเมื่อ
ครบกำหนดฝากแปลง 2 เดือนรอบแรกแล้วต้องการฝากแปลงต่ออีก 2 เดือนเป็นรอบ 2 ก็ให้ระดมให้  "น้ำ +
ปุ๋ย"  ทั้งทางใบและทางรากอีก  ก็จะได้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอีก 20-25 % ของการฝากแปลงรอบแรก 

     * การหว่านเมล็ดถั่วเขียว อัตรา 2 กก./ไร่ ร่วมกับปักท่อนพันธุ์  จากนั้นบำรุงสำปะหลังควบคู่กับถั่วเขียว
ระยะเวลา 45 วัน  ถั่วเขียวเริ่มออกดอกให้ล้มต้นถั่วเขียวแล้วปล่อยทิ้งปกคลุมหน้าดินไว้อย่างนั้น  เศษซากต้นถั่ว
เขียวที่ได้นอกจากช่วยบังแดดไม่ให้แผดเผาหน้าดินแล้ว  ยังป้องกันวัชพืชเจริญเติบโต และเมื่อเน่าสลายยังกลาย
เป็นปุ๋ยบำรุงดินได้อีกด้วย                 

     * คุณภาพของสำปะหลังคือเปอร์เซ็นต์แป้ง  สารอาหารเพื่อการสร้างแป้ง ได้แก่  สังกะสี. และ
ฟอสเฟต. ดังนั้นจึงควรให้ปุ๋ยทางราก 1 : 1 : 7 หรือ 2 : 1 : 7 (10-5-40) ร่วมกับ “สังกะสี”  ใน
ฮอร์โมนน้ำดำ และแม็กเนเซียม.ในฮอร์โมนน้ำดำ  ช่วยสร้างคลอโรฟีลด์ทำให้ใบเขียวสดตลอดช่วงแล้งได้  และ/
หรือ ให้ธาตุสังกะสี.เดี่ยวๆ ทางรากเสริมเป็นบางคราว  ควบคู่กับปุ๋ยอินทรีย์ที่มีส่วนผสมของมูลสัตว์ปีก (ไก่  นก
กระทา  ค้างคาว)  เป็นพื้น.......เทคนิคการใส่ปุ๋ยแบบ  “รองพื้น – รองก้นหลุม – หยอดโคนต้น”  เป็นสิ่ง
สิ้นเปลืองโดยเกิดประโยชน์ต่อต้นสำปะหลังน้อยมาก                

     * ดินที่มีอินทรีย์วัตถุเป็นส่วนผสมมากๆ ถึงอัตราส่วน 1:1  หรือ ดิน 3 อินทรีย์วัตถุ 1  จะมีสภาพโปร่ง
ร่วนซุย  เมื่อฝนตกลงมา  น้ำฝนจะซึมดิ่งตรงๆลงสู่เนื้อดินลึกอย่างรวดเร็ว  และน้ำนั้นจะแฝงอยู่ในเนื้อดินนานนับ
เดือน.......ในทางกลับกัน  เนื้อดินที่ไม่มีอินทรีย์วัตถุใดๆเป็นส่วนผสม  สภาพแข็งแน่น ผิวหน้าดินร้อนขนาด
เท้าเปล่าเดินลงไปไม่ได้  เมื่อฝนตกลงมา นอกจากน้ำจะไหลบ่าผ่านไปอย่างรวดเร็วแล้วยังไม่อาจซึมดิ่งตรงๆลงลึกสู่
เนื้อดินด้านล่างได้ทันอีกด้วยเพราะเนื้อดินแน่นมากนั่นเอง                

     * เทคนิคปรับปรุงบำรุงดินด้วย  “ ยิบซั่ม – กระดูกป่น – มูลไก่ – แกลบดิบ”   โดยหว่านกระจายทั่วแปลง
แล้วไถด้วยผานระเบิดดินดาน (ริปเปอร์) หรือผานสอง  ส่งอินทรีย์วัตถุลงในเนื้อดินให้ลึก 50-80 ซม.  เสร็จ
แล้วไถพรวนเพื่อย่อยดิน........หรือหว่านเมล็ดถั่ว (กรมพัฒนาที่ดิน – ท้องตลาด) เมื่อต้นถั่วเริ่มออกดอกให้
ไถกลบลงดินลึก 1-2 รุ่น ก่อนก็ได้.......เทคนิคปลูกถั่วบำรุงดินมี 2 ทางเลือก คือ  ปลูกเพื่อเอาผลผลิตก่อน
แล้วจึงจะเศษซากไถกลบ ให้ใช้เมล็ดพันธุ์อัตราปกติ ใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือนเก็บเกี่ยวผลผลิตถั่ว  กับอีกทาง
เลือกหนึ่ง คือ ปลูกเพื่อไถกลบเศษซาก ไม่เอาผลผลิต  ใช้เมล็ดพันธุ์มากกว่าปลูกเพี่อผลผลิต 2 เท่า ใช้ระยะเวลา
ประมาณ 45 เดือน  ต้นถั่วเริ่มออกดอกก็ให้ไถกลบเศษซาก               

     * สภาพดินที่มีอินทรีย์วัตถุกับดินที่ไร้อินทรีย์วัตถุ ตรวจสอบได้โดยหลังฝนหยุด 1 ชม. หากขุดหน้าดิน
พิสูจน์ก็จะเห็นว่าน้ำสามารถซึมลงสู่เนื้อดินด้านล่างได้ลึกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด 

     * ตรวจสอบประวัติดินที่ผ่านการปลูกสำปะหลังมานานหลายรุ่น  แต่ละรุ่นได้เคยใส่ปุ๋ยจำนวนมาก  ย่อมมี
ปุ๋ยหลงเหลือตกค้างอยู่ในดินเนื่องจากต้นนำไปใช้ไม่หมดจำนวนมากด้วย  การปลูกสำปะหลังรุ่นต่อๆมา อาจไม่ต้อง
ใส่ปุ๋ยเคมีเลย  เพียงแต่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์  สารปรับปรุงบำรุงดิน  จุลินทรีย์  และให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น ทุก
15-20 วัน  ความชื้นและจุลินทรีย์จะเป็นตัวปลดปล่อยปุ๋ยเคมีที่เหลือตกค้างมาเป็นประโยชน์ต่อสำปะหลังอย่าง
เพียงพอ  จนสามารถสร้างผลผลิตเป็นที่น่าพอใจได้  

     * สัมปะหลังที่ปลูกใน "ดินแดง" เมื่อแปรรูปเป็นแป้งจะได้เนื้อแป้งสีคล้ำ ราคาไม่ดี ส่วนสำปะหลังที่ปลูก
ใน  "ดินดำ"  เมื่อแปรรูปเป็นแป้งจะได้เนื้อแป้ง  "สีขาว"  ราคาดี.....ทั้งนี้เกิดจากสารอาหารที่มีอยู่ในเนื้อ
ดิน  แก้ไขโดยการ  ตรวจหาชนิดของสารอาหารที่ทำให้เนื้อแป้งสีคล้ำแล้ว  "ปรับ/แก้"  โดยการเพิ่มสาร
อาหารที่ทำให้เนื้อแป้งเป็นสีขาวเข้าไปแทน                

       เกษตรานุสติ :                 
     * ไม่มีพืชใดในโลกไม่ต้องการน้ำ   เพียงแต่ต้องการมาก/น้อยตามชนิดของพืชเท่านั้น  สำปะหลัง ก็เป็น
พืชชนิดหนึ่งที่ไม่อาจหลีกเว้นธรรมชาติได้  สำปะหลังต้องการน้ำพอหน้าดินชื้นสม่ำเสมอ

     * สำปะหลัง 100 ไร่  ปลูกแบบไม่ให้น้ำ  ไม่ปรับปรุงบำรุงดิน  ใส่ปุ๋ยเคมี 50 กก./ไร่/รุ่น  ไม่ให้ปุ๋ย
ทางใบใดๆทั้งสิ้น  ได้ผลผลิต 3 ตัน/ไร่  เท่ากับ  300 ตัน/รุ่น.......กับสำปะหลัง 10 ไร่  ปลูกแบบให้
น้ำ  ใส่อินทรีย์วัตถุปรับปรุงบำรุงดิน ใส่ปุ๋ยเคมี 10 กก./ไร่/รุ่น  ให้ปุ๋ยทางใบ ทุก 10-15 วัน  ได้ผลผลิต 30
ตัน/ไร่/รุ่น  เท่ากับ 300 ตัน/รุ่น......ตอบโจทย์ข้อนี้  ให้เปรียบเทียบต้นทุนระหว่าง 100 ไร่ กับ 10 ไร่ ว่า
ต่างกันอย่างไร ?                 

     * ในงานสำปะหลังโลก จัดที่เมืองทองธานี กทม.  สำปะหลังชนะเลิศการประกวด ใน 1 ต้น ได้หัวน้ำหนัก
กว่า 100 กก.  เจาะลึกเทคนิคการบำรุงแล้วทราบว่า........เตรียมดินโดยเน้นอินทรีย์วัตถุสำหรับสำปะหลัง
(พืชกินหัว) โดยเฉพาะ  อัตรา 1 : 1  กับเนื้อดิน  สันแปลงยกสูง 75 ซม.  ให้น้ำทุก 3 วัน  ให้ปุ๋ยทางใบ
ทุก 5 วัน  ให้ปุ๋ยทางรากทุก 20 วัน  เลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพดิน  เตรียมท่อพันธุ์ด้วยการแช่ใน 
“ไคตินไคโตซาน + สังกะสี”  ก่อนนำลงปลูก 12 ชม.                 

       ประสบการณ์ตรง :               
     * เกษตรกรผู้หญิงชาวไร่สำปะหลังที่รอยต่อ จ.พิจิตร-สุโขทัย  ปลูกสำปะหลัง 20 ไร่  ด้วยวิธีการแบบ
เดิมๆ  เคยได้ผลผลิต 3-4 ตัน/ไร่  หลังจากได้รับคำแนะนำจากลุงคิมว่า  “ให้น้ำทุก 7-10 วัน”   ไม่ต้องใส่
ปุ๋ยทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี แต่ให้ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ (สั่งตัด) 7-15 วัน/ครั้ง  ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยว  ท่าม
กลางเสียงคัดค้านด้วยความหวังดี (แต่ไม่มีความรู้เรื่องสำปะหลัง) จากเพื่อนบ้าน  แต่ผู้หญิงคนนี้ไม่สนใจ  รับฟัง
แต่ไม่รับทำ  คงยืนกรานต์ทำตามแนวทางที่แนะนำอย่างแน่วแน่  กระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิตได้  20  ตัน/ไร่  ใน
ขณะเพื่อบ้านที่ให้คำแนะนำ   ทำได้เพียง 4 ตัน/ไร่ เท่านั้น               

     *  ชาวไร่ย่าน อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ปลูกสำปะหลัง 20 ไร่ ด้วยวิธีการแบบเดิมๆ เคยได้ผลผลิต 2-3
ตัน/ไร่ ได้รับคำแนะนำจากสมาชิกชมรมสีสันชีวิตไทยว่า ให้ “น้ำ” อย่างเดียว ทุก 7-15 วัน ไม่ต้อง  ใส่ปุ๋ย
อินทรีย์ ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมี แต่ให้ปุ๋ยทางใบ 15 วัน/ครั้ง  ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยว ปรากฏว่าได้ผลผลิต 12 ตัน/
ไร่  เจ้าของบอกว่า  รุ่นนี้ระยะระหว่างต้นห่างมาก  ถ้าปรับระยะปลูกให้ถี่ขึ้นคงได้ถึง 15 ตันอย่างแน่นอน

     * เกษตรกรชาวไร่ย่าน ต.หัวลำ อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี  โดยคำแนะนำจากกลุ่มสมาชิกชมรมสีสันชีวิตไทย
ปลูกพืชไร่ เช่น  ถั่วลิสง  ถั่วเขียว  ข้าวโพดหวาน   สำปะหลัง ฯลฯ  ในอดีตไม่เคยให้น้ำแก่พืชเหล่านี้เพราะ
เชื่อมั่นว่า  “พืชไร่ไม่ต้องให้น้ำ”   เมื่อปรับระบบการเพาะปลูกใหม่มาเป็นให้  “น้ำ”  พอหน้าดินชื้น  ลดปุ๋ยทาง
ราก – เพิ่มปุ๋ยทางใบ   ทันทีที่เริ่มรุ่นแรกปรากฏว่า  ต้นทุนลดกว่า 30-50 %  ผลผลิตเพิ่มขึ้น 100-200 % 
……..ที่น่าอัศจรรย์ก็คือ ชาวไร่หลายรายย่านนั้น  สร้างมิติการเกษตรใหม่โดยเจาะบ่อบาดาลในแปลงแล้วติดตั้ง
ระบบสปริงเกอร์                   

     * ชาวไร่สำปะหลัง อ.กบินทร์บุรี  มีรถบริการดูดส้วมขนาดจุ 5,000 ล.  วันนี้มีกากอยู่ก้นถังประมาณ
500 ล.  จัดการเติมกากน้ำตาลลงไป 100 ล. แล้วเติมน้ำเปล่าจนเต็มถัง 5,000 ล.  เรียบร้อยแล้วออกรถ
วิ่งๆเบรคๆแรงๆ  เพื่อเขย่าให้น้ำในถังเข้ากัน  ขึ้นไปทางเหนือไร่ซึ่งเป็นพื้นที่ลาดสูง  แล้วเปิดก๊อกท้ายรถให้น้ำใน
ถังไหลออกมาพร้อมกับวิ่งรถช้าๆไปจนสุดเขตไร่ ความที่แปลงสำปะหลังเป็นพื้นที่ลาด  น้ำในถังจึงไหลผ่านร่อง
ระหว่างแถวปลูก  จากลาดสูงลงสู่ลาดต่ำ  วิ่งรอบแรกสุดเขตไร่แล้ววิ่งย้อนพร้อมกับปล่อยน้ำซ้ำ  ทำซ้ำได้ 3-4
รอบจนน้ำในถังหมด......ทำครั้งแรกเมื่อสำปะหลังอายุ 2 เดือน  ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4 เดือน  และครั้งที่ 3
เมื่ออายุ 6 เดือน.......เมื่ออายุสำปะหลังได้ 6 เดือน  สุ่มขุดขั้นมาดูพบว่า  หัวมันใหญ่ราวหน้าแข้ง ยาวเกือบ
สุดแขน  แต่ละกอมี 3-6 หัวเป็นพวง  ผ่าพิสูจน์เนื้อในมีแป้งได้เปอร์เซ็นต์ที่น่าพอใจอย่างมาก
                           
       เตรียมดิน-เตรียมแปลง : 
     1.ใส่อินทรีย์วัตถุ  แกลบดิบ.  ยิบซั่ม.  กระดูกป่น.  มูลไก่.  มูลค้างคาว.  ด้วยการหว่านปู
พรมให้ทั่วแปลง  แล้วราดรดด้วยน้ำหมักชีวิภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงด้วยการสาดทั่วแปลง  เสร็จแล้วไถกลบด้วยริป
เปอร์ให้ลึก 50-75 ซม.  เพื่อส่งอินทรีย์ทั้งหมดลงสู่ใต้ดินลึก 
        วัตถุประสงค์.......เพื่อให้ดินโปร่งร่วนซุยน้ำและอากาศผ่านสะดวก  เมื่อฝนตกลงมาน้ำจะซึมลงสู่
ใต้ดินลึกได้ทันที  ไม่ไหลผ่านไปง่ายๆ    อินทรีย์วัตถุเหล่านี้นอกจากจะเป็นตัวอุ้มน้ำใต้
ดินลึกให้อยู่ได้นานแล้ว  ยังเป็นแหล่งสารอาหารและจุลินทรีย์บำรุงดินอีกด้วย 
     2.ไถพรวนเพื่อย่อยดิน  เสร็จแล้วยกร่องลูกฟูก  ปรับเรียบสันแปลง  สันลูกฟูกสูง 30-50 ซม.  กว้าง
2 ม.  ร่องระหว่างลูกฟูกลึก 30-50 ซม.  ก้นสอบ
       วัตถุประสงค์..... สันแปลงลูกฟูกสูงๆเพื่อให้สะเด็ดน้ำดี  น้ำไม่ขังค้าง 

       หมายเหตุ :
       การเตรียมดิน/แปลงถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดขั้นตอนหนึ่งในการปลูกสำปะหลัง  เทคนิคการใส่แกลบดิบ
ใส่ครั้งหนึ่งอยู่ได้นานนับ 10 ปี  แกลบดิบนอกจากจะสลายตัวช้าแล้วยังสามารถอุ้มน้ำได้ดีอีกด้วย
      สำปะหลังเป็นพืชที่ต้องการปุ๋ย K. สูงมากเมื่อเทียบกับปุ๋ยตัวอื่นๆ  เทคนิคการใส่  มูลไก่. มูลค้างคาว.
จึงเท่ากับเป็นการเน้น K. กับเป็นตัวช่วยอุ้มน้ำและเป็นแหล่งจุลินทรีย์อีกด้วย
      เทคนิคการใส่อินทรัย์วัตถุแล้วไถกลบลงดินลึกๆ นั้น  เมื่อฝนตกลงมาน้ำจะซึมลงสู่ใต้ดินลึกแล้วสามารถอยู่
ได้นานนับเดือน  ซึ่งต่างจากดินที่หน้าดินแข็ง ไม่มีอินทรีย์วัตถุ เมื่อฝนตกลงมาน้ำไม่อาจซึมลงสู่ใต้ดินลึกได้แต่กลับ
ไหล่ผานหน้าดินไปอย่างรวดเร็ว เมื่อหลังฝนหยุดไม่เกิน 3 วัน หน้าดินก็จะแห้งแข็งเหมือนเดิม.....

      พิสูจน์ :  
      หลังฝนหยุด 1-2 ชม. ทดสอบโดยการขุดหน้าดิน  ถ้าในเนื้อดินไม่มีอินทรีย์วัตถุ จะพบว่าน้ำฝนสามารถ
ซึมลงสู่เนื้อดินได้ลึกไม่เกิน 1 ฝ่ามือ และน้ำบริเวณนี้จะอยู่ได้นานไม่เกิน 3 วัน แต่ถ้าในเนื้อดินมีอินทรีย์วัตถุ กลับ
พบว่าน้ำฝนสามารถซึมลงสู่เนื้อดินได้ลึกเท่าที่ได้อินทรีย์วัตถุลงไป (50-70 ซม.) และน้ำนี้จะคงอยู่ได้นานนับ
เดือน - หลายเดือน     
            
     
 เตรียมพันธุ์ : 
    1. เลือกสายพันธุ์ที่เหมาะกับสภาพโครงสร้างดิน (ดำ-เหนียว,  ดำ-ร่วน,  ทราย-เหนียว,  ทราย
ร่วน,  ฯลฯ)  เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการบำรุง
    2. เลือกสายพันธุ์ที่ออกหัวแบบรอบทิศ หรือเป็นช่อ สั้น อ้วนใหญ่  เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการขุดหรือ
ถอนยกกอด้วยมือ หรือขุดด้วยรถขุด  ไม่แนะนำสายพันธุ์ที่ออกหัวยาว 2 ข้าง เหมือนเขาควาย  เพราะเวลาขุดจะ
หักต้องขุดซ้ำตามเก็บส่วนที่หักทำให้เสียเวลา
   3. เลือกต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง  อวบน้ำ  ข้อห่าง  ตาใหญ่  มีใบติดต้นมากๆ
   4. ใช้ส่วนกลางของลำต้นของต้นพันธุ์เท่านั้น  ไม่แนะนำให้ใช้ส่วนโคนแก่จัด หรือส่วนปลายอ่อนจัด 
   5. ตัดท่อนพันธุ์เป็นท่อน  ยาว 25-30 ซม.  ส่วนโคนที่จะใช้ปักลงดินตัดเป็นมุมฉากกับลำต้น  ส่วนปลาย
ตัดฉากหรือตัดเฉียงก็ได้  พยายามอย่าเปลือกรอยตัดที่โคนท่อนพันธุ์ช้ำหรือเปิดแยก  (ระหว่างเปลือกกับแก่นใน
คือ  "เยื่อเจริญ"  ซึ่งเยื่อเจริญนี้จะเป็นจุดที่แตกราก) ตัดเสร็จนำลงแช่  "น้ำ 100 ล.(พีเอช 6.0)+ ไคติน
ไคโตซาน 100 ซีซี. + สังกะสี 100กรัม"  ทันทีไม่ควรปล่อยให้แผลรอยตัดแห้ง  เพื่อให้ท่อนพันธุ์ได้ดูดซับ
สารอาหารเข้าไปเก็บไว้ในตัวเองก่อนปลูกแล้วเจริญเติบโตต่อไป.....แช่นาน 6-12 ชม. ให้นำขึ้นมาตัดแต่งตา
   6. ตัดแต่งตา โดยนำท่อนพันธุ์ที่แช่น้ำสารอาหารครบกำหนดแล้วขึ้นมาตัดแต่งตา โดย.... 
      วิธีที่ 1........ใช้มีดคมๆ (คัตเตอร์) เฉือนเฉพาะปลายตุ่มตาออกเล็กน้อย ประมาณครึ่งหนึ่งของความ
สูงของตุ่มตา ถึงเยื่อเจริญ  เฉือนประมาณ 4-5 ตุ่มตา ที่อยู่ตรงข้ามกันและให้กระจายห่างเท่าๆกัน
      วิธีที่ 2........ใช้มีดคมๆ ควั่นหรือตัดตรงๆที่เปลือกระหว่างตาบนตาล่าง  ความยาวประมาณ 1 ใน 4
ของเส้นรอบวงท่อนพันธุ์  ควั่นให้เปลือกขาดเพื่อตัดเส้นทางน้ำเลี้ยง
      จากท่อนพันธุ์ที่ตัดเตรียมไว้ยาวประมาณ 25-30 ซม.นั้น  จะปักปลูกลงดินลึกโดยให้เหลือส่วนปลายอยู่
เหนือพื้นดินประมาณ 5-10 ซม. (1 ฝ่ามือตั้ง)  ดังนั้นจึงควรกะประมาณจำนวนตุ่มตาที่จะตัดแต่งหรือควั่นเปลือก
ตัดเส้นน้ำเลี้ยง จำนวนทั้งท่อน 4-5 ตุ่มตาให้เฉลี่ยกระจายระยะห่างเท่าๆกัน และอยู่ตรงข้ามกัน......ตุ่มตาที่ถูก
ตัดจะแตกรากใหม่  กับตุ่มตา (ไม่ได้ตัด) เหนือหรือไต้รอยควั่นจะแตกราก  และรากก็จะพัฒนาเป็นหัวต่อ
ไป.......ในขณะที่ปลายล่างสุดของท่อนพันธุ์มีการแตกรากตามปกติอยู่แล้วนั้น  กรณีนี้ทำให้ท่อนพันธุ์ 1 ท่อน
โตขึ้นเป็น 1 ต้น  จะมีหัวเกิดขึ้นทั้งที่ปลายล่างสุดของท่อนพันธุ์กับจากตาที่กลางท่อนพันธุ์อีก  ซึ่งจะส่งผลให้ได้
จำนวนหัวต่อต้นมากขึ้น  ชาวไร่สำปะหลังเรียกว่า  "มันคอนโด"  คือ มีหัวเป็นชั้น 2-3-4 ชั้น  ขึ้นอยู่กับความ
สมบูรณ์อันเนื่องมากจากการปฏิบัติบำรุง
      ท่อนพันธุ์ที่ผ่านการตัดแต่งตา หรือควั่นเปลือกแล้ว  ผึ่งลมในร่มให้แห้งนาน 12-24 ชม.จึงนำไปปักปลูก
ในแปลงจริง.....เทคนิคการปล่อยให้ท่อนพันธุ์ผึ่งลมจนแห้งจะทำให้ท่อนพันธุ์เกิดความเครียด  เมื่อนำไปปักปลูก
จะแตกยอดใหม่เร็ว
   7. ปลูกโดยการปักท่อนพันธุ์ให้  "ตั้งฉาก"  กับพื้นดิน  เทคนิคนี้จะทำให้ส่วนปลายล่างสุดซึ่งตัดฉากกับ
ท่อนพันธุ์รอไว้แล้วแล้วนั้นเกิดรากใหม่  "รอบทิศทาง"  ของท่อนพันธุ์......ถ้าตัดท่อนพันธุ์แบบฉากแต่ปัก
เฉียง  รากจะออกเฉพาะรอยตัดหรือแผลตัดด้านบนเท่านั้น......ถ้าตัดท่อนพันธุ์เฉียงแล้วปักปลูกแบบตั้งฉากกับ
พื้น  ก็จะออกรากเฉพาะที่แผลรอยตัดบน......ถ้าตัดท่อนพันธุ์เฉียงแล้วปักเฉียงกับพื้นดิน ก็จะออกรากเฉพาะ
จากแผลรอยตัดด้านบนเท่านั้น  ยิ่งหากตัดท่อนพันธุ์เฉียงแล้วปักเฉียงกับพื้นดินให้แผลรอยตัดด้านบนลงล่าง ยิ่ง
ออกรากน้อย หรือออกรากแล้วไม่เป็นหัวหรือเป็นหัวไม่สมบูรณ์        

         
อุปกรณ์-เทคนิคการให้น้ำ :                      
         หลักการและเหตุผล
       - ไม่มีพืชใดในโลกไม่ต้องการน้ำ  เพียงแต่ต้องการน้ำปริมาณมากถึงระดับท่วมขัง  หรือต้องการ
ปริมาณเพียงหน้าดินชื้น เท่านั้น......ในอดีตที่ผ่านมาชาวไร่ถูกปลูกฝังให้มีทัศนคติที่ผิดต่อพืชไร  โดยว่า  "พืช
ไร่เป็นพืชทนแล้ง ไม่ต้องการน้ำ"  จึงไม่มีการให้น้ำใดๆทั้งสิ้น  บางคราวขาดน้ำถึงขนาดยืนต้นตายก็มีให้เห็บ่อยๆ
ในทางกลับกัน  คราวใดที่มีฝนตกลงมา  พืชไร่ที่เคยเหี่ยวเฉากลับงามสะพรั่งเขียวขจีขึ้นมาได้  กระนั้นชาวพืชไร่ก็
ยังไม่ยอมรับว่า  พืชไร่ก็ต้องการน้ำเช่นเดียวกับพืชอื่นๆ
      - จากประสบการณ์ตรงผ่านรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม  ได้ชี้นำพร้อมด้วย
เหตุผลทางธรรมชาติและวิชาการ  แนะนำชาวไร่สำปะหลังให้น้ำ 1-2 อาทิตย์/ครั้งช่วงแล้งจัด  หากฝนตกก็ให้
เลื่อนกำหนดออไปได้  ปรากฏว่า  ทุกรายที่ให้น้ำได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 3-4 ตัน/ไร่ เป็น 10-15 ตัน/ไร่  ทั้งๆ
ที่บางรายใส่ปุ๋ยเท่าเดิมและสูตรเดิม  และบางรายไม่ใส่ปุ๋ยเลย
       วิธีที่ 1.....ติดสปริงเกอร์แบบ  "ท็อปกัน"  หรือ  "โอเวอร์เฮด"  โดยการติดตั้งแบบตายตัว หรือ
ถอดประกอบแล้วย้ายตำแหน่งติดตั้ง
       วิธีที่ 2......จัดแปลงปลูกให้มีช่องทางเป็นถนนสำหรับให้รถบรรทุกน้ำติดตั้งเครื่องสูบน้ำวิ่งฝ่าเข้าไปได้
เข้าไปแล้วฉีดพ่นน้ำออก 2 ปีกซ้ายขวา  สุดแปลงแล้ววนกลับโดยมีอีกช่องทางเป็นถนน  แล้วฉีดพ่นน้ำ 2 ปีก
ซ้ายขวา  วนไปกลับฉีดน้ำจนทั่วทั้งแปลง      
       วิธีที่ 3......ปล่อยน้ำไหลจากลาดสูงไปตามร่องระหว่างแถวปลูกลงสู่ลาดต่ำ      
       วิธีที่ 4......ลากสายยาง  

       
การบำรุง : 
       ระยะต้นเล็ก
     - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น  ทุก 7 วัน
     - อายุต้นประมาณ 2 เดือน เริ่มให้ "ฮอร์โมนน้ำดำ" สลับกับ  "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-
10"  ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น  15-20 วัน/ครั้ง
     - กำจัดวัชพืชด้วยการถากหรือดายด้วยจอบเพื่อตัดราก  แล้วนำคลุมโคนต้น
       หมายเหตุ :
       ถ้ามีการเตรียมดินด้วย  แกลบดิบ.  ยิบซั่ม.  กระดูกป่น.  มูลไก่.  มูลค้างคาว.  ตั้งแต่แรก
แล้วไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมี  เพราะปริมาณสารอาหารที่ได้จากอินทรีย์วัตถุเหล่านี้แม้จะไม่มากแต่ก็ถือว่าพอเพียงต่อ
ความต้องการของต้นสำปะหลังระยะต้นเล็ก

     
ระยะเริ่มลงหัว
     
ทางใบ
    - ในรอบ 1 เดือน  ให้ "น้ำ 100 ล.+ ปุ๋ยทางใบ อัตราส่วน 1 : 2 : 8 (5-10-40/400 กรัม)+
ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี."  1 ครั้ง สลับกับให้  "ฮอร์โมนน้ำดำ"  อีก 1
ครั้ง  โดยฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น  เป็นการให้น้ำไปในตัว
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 3-5 วัน ช่วงที่สภาพอากาศเหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของศัตรูพืช
      ทางราก
    - กำจัดวัชพืชด้วยวิธีถากหรือดายด้วยจอบ แล้วปล่อยคลุมหน้าดิน
    - ให้น้ำพอหน้าดินชื้นสม่ำเสมอ
     
หมายเหตุ :
    - แม็กเนเซียม.ในฮอร์โมนน้ำดำจะช่วยสร้างคลอโรฟีลด์  ทำให้ใบเขียวสดเป็นเงามันวาวและใบไม่ร่วงตั้งแต่
แรกเกิดถึงเก็บเกี่ยวได้
    - สังกะสี.ในฮอร์โมนน้ำดำจะช่วยสร้างแป้ง
    - ฟอสฟอรัส.ในมูลค้างคาว (ในน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง) เป็นตัวเสริมปริมาณฟอสฟอรัส.ในปุ๋ยเคมีให้
มากขึ้นเพื่อช่วยในการสร้างแป้ง
    - เทคนิคการให้น้ำเดี่ยวๆ หรือให้ "น้ำ + สารอาหาร"  ทางใบจนโชกลงถึงพื้น  ทำให้ต้นได้รับน้ำสม่ำ
เสมอ  นอกจากต้นจะไม่ทิ้งใบเลยแล้วยังช่วยให้ผลผลิตดีอีกด้วย
    - กรณีที่หา 1 : 2 : 8 (5-10-40) ไม่ได้  แนะนำให้ใช้ 8-24-24 + 0-0-60 (1:1) หรือ 
14-7-21 + 0-0-60 (1 : 1)แทนได้ ในอัตราใช้เดียวกัน
    - มันสำปะหลังที่ชนะเลิศในงานประกวด  "มันสำปะหลังโลก"  ที่เมืองทองธานี ปี 2552 นั้น  สำปะหลัง
1 กอ.น้ำหนัก 100(+) กก. เปอร์เซ็นต์แป้ง 30(+) % ...... ทราบว่า  ดินปลูก อินทรีย์วัตถุ : เนื้อดิน
1:3  สันแปลงสูง 70 ซม.  ให้น้ำด้วยระบบน้ำหยดตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยว






หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©