-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 550 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ชมพู่




หน้า: 3/3



พานิชย์ ยศปัญญา panit@matichon.co.th

เขียวอำพัน ชมพู่พันธุ์ใหม่ ณ ถิ่นดำเนินสะดวก

ชมพู่ยุคเก่าก่อนของไทยมีหลายสายพันธุ์ อาทิ น้ำดอกไม้. แก้มแหม่ม. แขกดำ. เพชรสายรุ้ง. กะหลาป๋า. ขาว เขียว. นก. นาก. น้ำ. พลาสติค. มะเหมี่ยว. สาแหรก. สากกระเบือ.  เป็นต้น

ชมพู่หลายสายพันธุ์ ล้มหายตายจากไป แต่มีบางอย่างยังคงอยู่ เช่น เพชรสายรุ้ง ของเพชรบุรี ส่วนน้ำดอกไม้พอพบเห็นบ้างไม่มากนัก

หากเป็นชมพู่ยุคใหม่ขึ้นมาหน่อยก็มีทูลเกล้า เพชรน้ำผึ้ง เพชรสามพราน แดงอินโดฯ

ที่ครองตลาดอยู่ในปัจจุบัน เป็นสายพันธุ์อื่นไปไม่ได้ นั่นก็คือ...ทับทิมจันท์ การเขียนชื่อชมพู่สายพันธุ์ บางคนเขียนว่า "ทับทิมจันทร์" แต่จริงๆ แล้ว "ทับทิมจันท์" ถูกต้องที่สุด เพราะต้นตอของชมพู่สายพันธุ์นี้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย ถูกนำเข้ามาปลูกและศึกษาอย่างจริงจังครั้งแรกที่จังหวัดจันทบุรี ด้วยลักษณะของผิวผลที่สวยสดงดงามดังทับทิม จึงตั้งชื่อว่า ทับทิมจันท์

งานพัฒนาพันธุ์ชมพู่ หลักๆ แล้วได้จากสองทางด้วยกัน

ทางแรก...ได้จากการกลายพันธุ์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ แมลงทำหน้าที่ผสมให้ ชมพู่ที่ได้จากการกลายพันธุ์ โดยฝีมือมนุษย์ แทบไม่มีให้เห็น แต่บางคราว ผู้ค้าต้นพันธุ์ อาจจะอำว่า ตนเองจับโน่นผสมนี่ จริงๆ แล้วยาก

ทางที่สอง...เป็นทางลัด คือนำเข้ามา อย่างชมพู่เพชรน้ำผึ้ง แดงอินโดฯ (มานาลากี) และสุดท้ายคือทับทิมจันท์

ชมพู่ เป็นไม้ผลที่ปลูกมากแถบภาคกลางและภาคตะวันตก เช่น นครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร สภาพทั่วไปของการปลูก ชาวสวนจะยกร่อง มีน้ำหล่อตรงกลาง อย่างไรก็ตาม พื้นที่สภาพไร่ก็มีปลูกเช่นกัน ปัจจัยที่จะหนุนส่งให้การปลูกชมพู่ประสบผลสำเร็จคือแหล่งน้ำ

ไม้ผลชนิดนี้ หลังปลูกจะให้ผลผลิตเร็ว เพียงปีเศษๆ เจ้าของก็เก็บผลผลิตได้แล้ว จากนั้นก็เก็บผลผลิตไปนาน

เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มภาคกลางและภาคตะวันตก เป็นเกษตรกรหัวไวใจสู้ เปลี่ยนแปลงเร็ว อย่างปลูกลำไยเพชรสาครทะวายแล้วราคาตกต่ำ ก็จะหันมาปลูกชมพู่

หรือปลูกองุ่นแล้วต้นแก่ ก็หันมาปลูกชมพู่แทน

เมื่อปลูกชมพู่สายพันธุ์แรก รายได้ไม่ดี ก็ปลูกสายพันธุ์อื่นแทน

เปรียบเทียบกับไม้ผลชนิดอื่น ชมพู่ถือว่าสร้างรายได้ให้กับผู้ปลูกไม่น้อย ดังนั้น จะเห็นว่า แถบอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เกษตรกรจะยืนหยัดผลิตชมพู่ โดยเกษตรกรรายหนึ่ง อาจจะหมุนเวียนปลูกมะพร้าวน้ำหอมแล้วมาปลูกชมพู่ หรือปลูกมะนาว เมื่อมะนาวอายุมากขึ้น ก็มาปลูกชมพู่แทน อย่างนี้เป็นต้น

คุณสุรินทร์ เกียรติหงสา เกษตรกรอยู่บ้านเลขที่ 321 หมู่ 4 ตำบลบ้านไร่ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ยึดอาชีพปลูกชมพู่มานาน สายพันธุ์ที่ปลูกอย่างเป็นล่ำเป็นสันคือทูลเกล้า เจ้าของบอกว่า ชมพู่ทูลเกล้า สามารถทำให้ออกนอกฤดูได้ดี

ระยะต่อมา คุณสุรินทร์ จึงปลูกชมพู่ทับทิมจันท์ตามเพื่อนชาวสวนคนอื่นๆ แต่ยังคงชมพู่ทูลเกล้าไว้ส่วนหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้ว เกษตรกรที่เป็นเพื่อนบ้านของคุณสุรินทร์ จะโละชมพู่พันธุ์เก่าทิ้งทั้งหมด เมื่อปลูกพันธุ์ใหม่ สาเหตุที่เกษตรกรรายนี้ยังคงมีชมพู่ทูลเกล้าอยู่บ้าง เขาบอกว่า เพื่อลดความเสี่ยง อีกทั้งยังเป็นทางเลือกสำหรับผู้ซื้อ

ในระหว่างที่คุณสุรินทร์ยกสวนใหม่ เพื่อปลูกชมพู่ทับทิมจันท์นั้น ชมพู่ที่ปลูกใหม่ได้ตายลงจำนวน 3-4 ต้น เจ้าของเห็นว่า มีชมพู่ที่เกิดจากเมล็ดขึ้นอยู่ข้างๆ ร่องสวน จึงขุดย้ายลงปลูกตำแหน่งที่ชมพู่ทับทิมจันท์ตาย

"ชมพู่ที่ขึ้นเองจากเมล็ดมีหลายต้น แต่ผมขุดขึ้นมาแซมต้นที่ตาย" คุณสุรินทร์บอก

ชมพู่ทับทิมจันท์ที่ปลูกให้ผลผลิตก่อนอย่างแน่นอน จากนั้นก็เป็นทีของชมพู่ที่ได้จากเมล็ดบ้าง มีชมพู่ที่ได้จากเมล็ดต้นหนึ่ง ลักษณะไม่เหมือนใคร เจ้าของจึงเฝ้าดูเป็นพิเศษ เพราะจะบอกว่าเป็นชมพู่ทูลเกล้าก็ไม่ใช่ จะเป็นทับทิมจันท์ก็ยิ่งไม่ใช่ใหญ่

เพราะคุณสมบัติที่โดดเด่น คุณสุรินทร์จึงได้ขยายพื้นที่ปลูก เมื่อมีผลผลิตแล้วทดลองนำออกเผยแพร่ดู ปรากฏว่ามีการตอบรับดี

เมื่องานเกษตรแห่งชาติ วันที่ 28 มกราคม 2553 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เจ้าของได้นำชมพู่เข้าประกวด ปรากฏว่าได้ที่ 2 แพ้ชมพู่จากเพชรบุรีไปเส้นยาแดงผ่าแปด

เจ้าของบอกว่า ชมพู่ที่เกิดจากเมล็ด น่าจะเป็นลูกผสมระหว่างชมพู่ทูลเกล้าและทับทิมจันท์ ลักษณะนั้น เจ้าของอธิบายว่า รูปทรงของผลคล้ายทับทิมจันท์ แต่ผิวผลเขียวกว่าชมพู่ทูลเกล้า บางฤดูกาล โดยเฉพาะอากาศเย็น จะขึ้นสีออกอำพัน จึงตั้งชื่อให้ชมพู่ว่า "เขียวอำพัน"

ชมพู่เขียวอำพัน มีขนาดของผลที่ใหญ่สุดเคยชั่งได้ 4-6 ผล ต่อกิโลกรัม เนื้อกรอบนอก นุ่มใน เนื้อไม่เหนียว ก้นผลสีชมพู มีริ้วสีชมพูที่ผล ซึ่งชมพู่ทูลเกล้าไม่มี ความหวานหากเจ้าของสวนบำรุงรักษาดี ให้น้ำไม่มากนักก่อนเก็บเกี่ยว เคยวัดความหวานได้ 16 บริกซ์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ชมพู่ความหวานอยู่ที่ 14 บริกซ์

"ปลูกจากต้นเมล็ดมา 6 ปีแล้ว ปัจจุบันมีอยู่ 460 ต้น จุดเด่น ทำให้ออกนอกฤดูได้ง่าย พันธุ์อื่นตอนนี้เริ่มทำออกนอกฤดูยาก ทำแล้วผลสั้น" คุณสุรินทร์บอก

สำหรับราคาซื้อขายนั้น เจ้าของบอกว่า เคยขายได้กิโลกรัมละ 60 บาท เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2553 วันไปสัมภาษณ์คุณสุรินทร์ ชมพู่ทับทิมจันท์ขายได้กิโลกรัมละ 20 บาท แต่เขียวอำพันขายได้ 40 บาท เจ้าของบอกว่า การผลิตชมพู่พันธุ์นี้ง่ายกว่าพันธุ์ทั่วไป โดยที่ดูแลรักษาคล้ายกัน แต่ได้ผลผลิตดีกว่า

ผู้สนใจชมพู่พันธุ์นี้ สอบถามกันได้ตามที่อยู่ หรือ โทร. (086) 071-0950

ชมพู่ ผลไม้คุณค่าสูง
ชมพู่ เป็นไม้ผลที่มีคนนิยมปลูกมาก เพราะปลูกง่าย โตเร็ว มีรสชาติหวานกรอบ มีวิตามินซีสูง นิยมนำไปฝากญาติมิตร เพราะเป็นผลไม้ที่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภคเนื่องจากการปลูกชมพู่ต้องห่อผล ระยะเวลาการห่อผล 20-25 วัน ฤทธิ์ของสารเคมีต่างๆ หมดลงแล้ว หลังจากซื้อมาแล้วนำมาล้างผลด้วยน้ำสะอาดนิดหน่อย รับประทานได้เลย

ชมพู่จัดเป็นไม้ผลเมืองร้อน มีถิ่นกำเนิดแถบประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับหว้า และยูคาลิปตัส

ชมพู่มีลำต้นค่อนข้างใหญ่ สูงประมาณ 15-25 เมตร ลำต้นขรุขระไม่ตรง แตกกิ่งก้านสาขามาก สีน้ำตาลคล้ำ ใบค่อนข้างใหญ่เรียวยาวเป็นมัน ดอกสีขาวเป็นแบบชนิดดอกสมบูรณ์เพศ ดอกใหญ่มีกลิ่นหอมเล็กน้อย ผลมีลักษณะคล้ายระฆังคว่ำ เนื้อสีขาวถึงขาวขุ่น ภายในผลหนึ่งๆ จะมี 1-3 เมล็ด เวลาแก่จัด เมล็ดจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีน้ำตาลเข้ม

สรรพคุณของชมพู่และวิธีใช้ ชมพู่มีสรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ส่วนที่ใช้เป็นยาคือ เนื้อของผลชมพู่ โดยนำเอาเนื้อของชมพู่มาทำเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้เกิดความสดชื่น เพราะมีกลิ่นหอม โดยการเอาเนื้อชมพู่แห้งมาบด หรือรับประทานสดก็ได้ จะเกิดความสดชื่นขึ้นมาทันที สามารถนำมาบำรุงหัวใจได้ เพราะชมพู่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ

คุณค่าทางโภชนาการในผลชมพู่ จะมีน้ำตาล วิตามินเอ (สูง) มีวิตามินซี และวิตามินอื่นๆ มีแร่ธาตุ เช่น ฟอสฟอรัส มีคาร์โบไฮเดรต และอื่นๆ

ผลของชมพู่ มีสรรพคุณใช้เป็นยาชูกำลัง บำรุงหัวใจ และทำให้ชุ่มชื่น ใยของชมพู่ มีสรรพคุณใช้เป็นยาลดไข้ แก้ตาเจ็บ ส่วนเมล็ดชมพู่ ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย

วิธีทำน้ำชมพู่
ส่วนผสม ชมพู่ 5 ผล น้ำเชื่อม 1/3 ถ้วย เกลือป่น 1/4 ช้อนชา และน้ำต้มสุก 2 ถ้วย
วิธีทำ ให้ล้างชมพู่ให้สะอาด ผ่าเอาเมล็ดและไส้ออก หั่นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่ลงในโถปั่น ใส่น้ำสุกแล้วปั่นให้เข้ากันดี จากนั้นใส่น้ำเชื่อม เกลือป่น แล้วจึงปั่นอีกครั้งหนึ่ง ให้เข้ากันให้ดี ใส่น้ำแข็งดื่มขณะเครื่องดื่มกำลังเย็น สดชื่น ชุ่มชื่นหัวใจ


ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน
 





ชมพู่เพชรสายรุ้ง ของดีเมืองเพชร กับการรวมกลุ่มก้าวไปข้างหน้า


ชมพู่เพชรสายรุ้ง ได้รับการจดสิทธิบัตรขึ้นทะเบียนเป็นผลไม้ที่ถือกำเนิดจากจังหวัดเพชรบุรี สร้างความภาคภูมิใจแก่ชาวเมืองเพชร และเกษตรกรที่ทำสวนชมพู่เพชรสายรุ้งเป็นอย่างยิ่ง

ชมพู่เพชรสายรุ้ง มีประวัติอันยาวนานตั้งต้นจากวัดชมพูเพชร ขยายพันธุ์สู่แปลงเกษตรกรในหลายๆ พื้นที่ นิยมปลูกกันมาในเขตท้องที่อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด และอำเภอเมือง

เกษตรกรชาวสวนชมพู่เพชรล้มลุกคลุกคลานกับผลไม้ชนิดนี้อย่างแสนสาหัสพอสมควร ทั้งนี้ ก็เนื่องจากราคาของชมพู่บางปีก็ดีบางปีก็ไม่ดี จนเกษตรกรจำนวนไม่น้อยต้องรามือยอมถอยไปตั้งหลักกับพืชชนิดอื่นแทน ที่เหลืออยู่ก็กัดฟันฟูมฟักต้นชมพู่สู้ภาวะผันผวนมาโดยตลอด

ชมพู่เพชรสายรุ้ง เป็นชมพู่ที่ต้นโตสูงใหญ่ เพียงแค่ 3 ปี ต้นก็เจริญเติบโตทะลึ่งพรวดสูง 4-5 เมตร ทรงพุ่มใหญ่ ทำให้ต้องเสียเงินค่าทำห้างร้านขึ้นไปดูแลรักษา ยามเมื่อชมพู่ติดดอกออกผล ทำให้ชมพู่เพชรสายรุ้งมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าชมพู่สายพันธุ์อื่นๆ

ภายหลังจากที่ชมพู่เพชรสายรุ้งได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ ทำให้ทางจังหวัดเพชรบุรีโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามาดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนชมพู่เพชรในเขตจังหวัดเพชรบุรีอย่างจริงจัง ในขั้นแรกนี้ให้เกษตรกรชาวสวนจัดตั้งกลุ่มขึ้นมา เพื่อดำเนินการช่วยเหลือทางด้านอื่นๆ จะได้สะดวกยิ่งขึ้น จึงเกิดกลุ่มเกษตรกรชาวสวนชมพู่เพชรขึ้นมา 2 กลุ่ม ในเขตอำเภอบ้านลาดและอำเภอท่ายาง

คุณไพบูลย์ บัวราช เกษตรอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดให้ความสนใจและติดตามผลการดำเนินการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรชาวสวนชมพู่เพชรอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด สำหรับในเขตอำเภอท่ายางนั้น ทางสำนักงานเกษตรได้ให้เจ้าหน้าที่สำรวจจำนวนต้นชมพู่เพชรว่ามีการปลูกกันมากเท่าไร จากการสำรวจพบว่า ในเขตอำเภอท่ายางมีชมพู่เพชรสายรุ้ง ประมาณ 3,000 ต้น มีสมาชิกผู้ปลูกชมพู่เพชรสายรุ้ง (ทำเป็นสวน) ประมาณ 50-60 ครัวเรือน ไม่รวมต้นชมพู่และผู้ปลูกประปรายทั้งอำเภอ

คุณไพบูลย์ กล่าวต่อไปอีกว่า หลังจากที่สำรวจจำนวนปริมาณต้นชมพู่แล้ว เจ้าหน้าที่ก็ให้เกษตรกรชาวสวนผู้ปลูกชมพู่ทั้งหมดมาร่วมกันร่างกฎระเบียบกำหนดคุณภาพของชมพู่ว่าจะต้องเป็นอย่างไร ทุกสวนต้องดำเนินการจัดการให้เป็นไปในแนวทางเดียวตามกฎระเบียบข้อบังคับที่ได้ร่วมวางกันไว้

หลังจากนั้น ทางเจ้าหน้าที่ก็ดำเนินการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำชมพู่เพชรให้ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้แก่เกษตรกร แล้วนำไปสู่ภาคปฏิบัติ จะมีเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเข้ามาตรวจสอบผลผลิตชมพู่ในสวนของเกษตรกร ว่าผลิตได้ตรงตามมาตรฐานปลอดสารเคมี มีคุณภาพดีตามที่อบรมและร่วมกันวางมาตรฐานกฎเกณฑ์เอาไว้หรือไม่ ถ้าเกษตรกรทำได้ ก็จะมีการออกใบรับรองมาตรฐานให้ไป

และเกษตรกรจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอีกขั้นตอนหนึ่งด้วย ซึ่งปัจจุบันชมพู่เพชรสายรุ้งที่ออกสู่ตลาดนั้นจะได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน รสชาติหวาน กรอบ อร่อย ตามสายพันธุ์ชมพู่เพชรสายรุ้งที่มีคุณภาพดีทุกประการ

เกษตรอำเภอท่ายาง กล่าวอีกว่า ชมพู่เพชรสายรุ้งนั้นเขาว่า ?คนทานไม่ได้ซื้อ คนซื้อไม่ได้ทาน? ส่วนใหญ่จะเป็นของขวัญของฝากเสียมากกว่า ทางกลุ่มเกษตรกรได้จัดทำกล่องบรรจุชมพู่ออกแบบสวยงาม 1 กล่อง บรรจุชมพู่ 16 ผล สำหรับซื้อเป็นของฝาก ถ้าท่านผ่านจังหวัดเพชรบุรีก็อย่าลืมซื้อชมพู่เพชรสายรุ้งติดมือเป็นของฝากหรือรับประทานเองกันด้วย อุดหนุนเกษตรกรชาวสวนให้มีกำลังใจในการผลิตผลไม้ดีๆ มีคุณภาพให้บริโภคกัน

คุณบัณฑิต บุญพ่วง เจ้าหน้าที่นักวิชาการเกษตรประจำตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า ในเรื่องสารเคมีกับชมพู่นั้น ต้องบอกกันเลยว่าชมพู่เป็นผลไม้ที่มีการใช้สารเคมีกันน้อยที่สุด ชมพู่ปีหนึ่งจะออกดอกติดผล 3-5 ชุด แต่ละชุดจะต้องมีการห่อ ก่อนห่อจะใช้สารเคมีป้องกันหนอน แมลง และเชื้อราเพียงครั้งเดียว หลังจากห่อจนกระทั่งเก็บผลผลิตก็ไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ เลย ตรงนี้จึงวางใจได้ว่าชมพู่เพชรปลอดสารเคมี ไม่มีอันตรายต่อการบริโภคแน่นอน จะอันตรายก็ต่อเมื่อบริโภคเข้าไปแล้วอร่อย เพราะชมพู่เพชรสายรุ้งหวาน กรอบ อร่อย แช่เย็นรับประทานแล้วหวานชื่นใจ ทำให้รับประทานได้มาก เกิดอาการอิ่มมาก และเปลืองเงินต้องย้อนกลับมาซื้อชมพู่เพชรที่เมืองเพชรกันอีกเท่านั้นเอง

คุณภารดี บุญพ่วง เกษตรกรชาวสวนชมพู่เพชร อยู่บ้านหมู่ที่ 11 ตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง เจ้าของ ?สวนภารดี? กล่าวว่า ที่สวนมีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ ปลูกชมพู่เพชรสายรุ้งประมาณ 50 ต้น จากเมื่อก่อนเคยปลูกชมพู่มากถึง 300 ต้น มาประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ราคาชมพู่เพชรตกต่ำสุดๆ สู้การดูแลบำรุงต้นไม่ไหว จึงต้องลดปริมาณการปลูกให้น้อยลง เพื่อความอยู่รอด

คุณภารดี กล่าวต่อไปว่า มาจนถึงทุกวันนี้สถานการณ์ชมพู่เพชรสายรุ้งดีขึ้น ก็เนื่องจากได้รับการดูแลจากภาครัฐ โดยสำนักงานเกษตรและจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ที่ส่งเสริมช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนชมพู่อย่างจริงจัง ก็ต้องขอขอบคุณทุกๆ ท่านมา ณ ที่นี้ด้วย

คุณภารดี กล่าวอีกว่า ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดท่านช่วยฟื้นฟูชมพู่เพชรสายรุ้ง ช่วยหาตลาดให้ ทุกวันนี้ชมพู่เพชรสายรุ้งใส่กล่องสวยงาม มีขายที่ร้านนันทวันและโกลเด้นท์เพลส ท่านที่อยู่กรุงเทพมหานครสามารถไปหาซื้อได้เลย เป็นชมพู่เพชรของแท้ หวาน กรอบ อร่อยสุดๆ ชาวสวนดำเนินการเองทั้งหมด

กลุ่มชาวสวนผู้ปลูกชมพู่เพชรสายรุ้งมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มชาวสวนชมพู่เพชรสายรุ้งบ้านหนองโสน กับกลุ่มชาวสวนชมพู่เพชรสายรุ้งตำบลท่าไม้รวก ที่ท่าไม้รวกแห่งนี้มีสมาชิกทั้งหมด 40 กว่าคน

คุณภารดี บอกว่า ชมพู่เพชรสายรุ้งนั้นต้นสูงใหญ่ จำเป็นต้องทำห้างร้านขึ้นไปบนต้น ทำให้ต้นทุนในการผลิตชมพู่สูงขึ้น ปัจจุบัน ค่าไม้ไผ่ที่นำมาทำห้างร้านค่อนข้างแพง ราคาลำละ 40-50 บาท ชมพู่ต้นหนึ่งต้องใช้ไม้ไผ่ทำห้างร้านชั้นหนึ่ง 27-30 ลำ เพียงแค่ค่าทำห้างร้านชั้นหนึ่งตกเข้าไปต้นละพันกว่าบาทแล้ว ไม่รวมค่าแรงคนทำห้างร้าน

นอกจากค่าห้างร้านแล้ว ยังต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าปุ๋ย ค่ายาเคมี ค่าแรงงานห่อผล เก็บผล และอีกจิปาถะ รวมค่าใช้จ่ายทั้งสวนถ้าปลูกกันมากๆ ค่อนข้างสูงมาก แล้วถ้ามาเจอภาวะชมพู่ราคาตกต่ำล่ะก็เป็นเรื่องน่าเศร้า สำหรับชาวสวนชมพู่เพชรสายรุ้งเป็นอย่างยิ่ง

?ไม่อยากจะคิดค่ะ คิดแล้วจะเศร้าตามเขาไปด้วย?

คุณภารดี กล่าวพร้อมกับแนะนำว่า ชมพู่เพชรสายรุ้งนั้น ปลูก 3 ปีขึ้นไปเก็บผลขายได้ สำหรับเกษตรกรมือใหม่ๆ ที่อยากจะปลูกชมพู่เพชรนั้น ขอแนะนำตั้งแต่เริ่มหาสายพันธุ์กันเลยว่า ต้องหาพันธุ์ชมพู่เพชรสายรุ้งแท้ๆ ไปปลูก ควรมาหาซื้อตามแหล่งปลูกจะดีกว่า หาแถวๆ ตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง ติดต่อทางสำนักงานเกษตรอำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด และอำเภอเมือง ได้เลย ถ้าได้แบบนี้รับรองความสำเร็จก้าวไปแล้วครึ่งหนึ่ง

คุณภารดี แนะนำว่า การเลือกกิ่งพันธุ์ควรดูกิ่งอ่อนๆ ปานกลาง ไม่อ่อนมากไป และต้องไม่แก่จนเกินแกง สีออกแดงออกน้ำตาลประมาณนี้

ชมพู่ชอบดินร่วนปนทราย ปลูกพื้นที่ไหนๆ ก็ได้ แต่ควรปลูกแบบพื้นราบจะดีกว่า ถ้าจะปลูกแบบยกร่องสวนก็ได้ ตรงนี้อยู่ที่พื้นที่ของเกษตรกรว่ามีพื้นที่แบบไหนอยู่ก่อนแล้ว

สำหรับการปลูกไม่ยุ่งยาก ขุดหลุมลึกพอสมควร เอาดินเก่า ดินก้นหลุมคลุกปุ๋ยหมักรองก้นหลุมแล้วเอากิ่งพันธุ์ลงปลูก กลบดินที่โคนต้นให้แน่น หาไม้หลักมาปักยึดป้องกันต้นโค่นหักเอน รดน้ำพอชุ่มเป็นอันเสร็จพิธี ระยะปลูกควรห่างกันสักหน่อย เพราะชมพู่เพชรสายรุ้งต้นโต สูงใหญ่มาก ทรงพุ่มออกกว้าง ระยะปลูกควรปลูกที่ 6x6 เมตร หลังจากดินรัดรากดีแล้ว รดน้ำ 3 วันครั้งไปเรื่อยๆ ไม่มีอะไรยุ่งยาก

คุณภารดี กล่าวต่อไปอีกว่า พอต้นแตกใบอ่อนจะเจอปัญหาหนอน แมลงมากัดกิน ก็ต้องฉีดยากำจัดหรือป้องกันเอาไว้ก่อนจะดีกว่า ลงปลูกปีแรกปล่อยให้ธรรมชาติช่วยดูแลบ้าง รดน้ำช่วยบ้างยามอากาศแห้งแล้ง ใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปีละ 2 ครั้ง กำลังดี

ชมพู่จะมาให้ผลผลิตจริงๆ จังๆ เมื่อย่างก้าวเข้าสู่ปีที่ 4-5 แต่จริงๆ แล้วชมพู่จะติดดอกติดผล ?สอนเป็น? ตั้งแต่อายุปีครึ่งถึง 2 ปี ระหว่างนี้ควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ จะมาดูแลปฏิบัติจริงๆ จังๆ ก็เมื่อเข้าสู่ช่วงต้นแก่จะให้ผลผลิตเต็มที่นั่นแหละ

ปีที่จะเอาผลผลิต ควรบังคับให้ต้นติดดอก เก็บผลผลิตขายรับเทศกาลปีใหม่ ช่วงนี้จะขายได้ราคาดี กับขายช่วงเทศกาลตรุษจีนก็กำลังเหมาะ เกษตรกรต้องทำดอกโดยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่เสียก่อน

กล่าวคือ ในเดือนสิงหาคมควรตัดแต่งกิ่ง ปรับปรุงโคนต้น กำจัดวัชพืชออกให้หมด พรวนดินให้ดินร่วนซุยบ้างก็จะดี แล้วจึงใส่ปุ๋ยหมัก กับปุ๋ยสูตร 8-24-24 ให้น้ำเต็มที่สม่ำเสมอ 3-5 วันครั้ง ชมพู่พอต้นสมบูรณ์เต็มที่เขาจะติดดอกออกมาเลย พอเห็นดอกก็ให้ฮอร์โมนเสริมบ้าง ฉีดยาป้องกันเพลี้ยไฟไรแดง ระหว่างผสมเกสรควรงดการใช้ยาใดๆ ทั้งสิ้น

ครั้นชมพู่ติดผลเล็กๆ ก็ฉีดยาป้องกันเพลี้ยไฟไรแดง อีก 2-3 ครั้ง ฮอร์โมนเสริมให้ 3 ครั้ง ระยะ 10 วันครั้ง

พอผลชมพู่ใหญ่ขนาดลูกปิงปองให้ล้างลูกอีกเที่ยวแล้วจึงห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ ก่อนห่อคัดผลไม่ดีทิ้งให้หมด ไว้ผล 2 ผล ต่อ 1 ห่อ หรือจะไว้ผลเดียวต่อ 1 ห่อ ก็ได้ อยู่ที่เกษตรกรจะใจถึงขนาดไหน

เมื่อห่อผลแล้วทิ้งห่างไปอีก 25 วัน จึงเก็บผลได้ แต่จะให้ได้คุณภาพชมพู่หวาน กรอบ จริงๆ ต้องเก็บที่ 30 วัน แก่เต็มที่ ส่วนเคล็ดลับที่ทำให้ชมพู่หวาน กรอบ นั้นไม่มีอะไรมาก

?ก่อนเก็บผลผลิต งดให้น้ำต้นชมพู่ 5-7 วัน ก่อนเก็บ ที่สวนเน้นคุณภาพผลจะเล็กหรือใหญ่ไม่สำคัญ ขอให้ชมพู่หวาน กรอบ ตามสายพันธุ์เอาไว้ก่อน?

คุณภารดี กล่าวและว่า ตลาดก็มีพ่อค้าแม่ค้าขาประจำเข้ามารับซื้อถึงสวน ตอนนี้มีการรวมกลุ่มแล้วก็คัดส่งกลุ่มบ้าง ชมพู่เพชรสายรุ้งปีหนึ่งมีรับประทานอยู่ช่วงเดียวคือ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคมเท่านั้น

หลังหมดผลผลิตตัดแต่งกิ่ง ตัดยอด ให้ทรงพุ่มออกข้าง ดูในต้นให้โปร่ง แล้วใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16 พักต้นไป 2 เดือน คือเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม พอเข้าเดือนสิงหาคมก็ทำรุ่นต่อไป ดังที่กล่าวไปแล้ว

คุณภารดี บอกว่า ปลูกชมพู่ไม่ยุ่งยากเพียง แต่ต้นทุนค่อนข้างสูงเท่านั้นเอง ที่ ?สวนภารดี? มีลูกค้าขาประจำมาจองผลผลิตถึงสวนเลย เขาบอกว่า ?ทานชมพู่ที่ไหน ไม่ติดใจเท่ากับทานชมพู่ที่สวนภารดี?

จริงหรือไม่จริงประการใด เขาท้าพิสูจน์กัน หากท่านประสงค์จะคุยกับเจ้าของสวน ไปเที่ยวชมสวน ลองโทร.ไปที่ (081) 278-5578, (081) 856-3015 และ (032) 416-120 เจ้าของสวนใจดี คุยเก่ง รับรองชัวร์...

มนตรี แสนสุข

ที่มา :  เทคโนโลยีชาวบ้าน



การปลูกชมพู่           

ชมพู่เป็นไม้ผลเขตร้อนซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นพืชจัดอยู่ตระกูลเดียวกับฝรั่ง หว้า ยูคาลิปตัส เป็นพืชที่ชอบน้ำ จัดเป็นไม้ผลที่มีลำต้นขนาดใหญ่ ดอกมีกลิ่นหอมคล้ายกุหลาบ ผลมีรสชาติหวานกรอบ คนไทยจึงนิยมปลูกเป็นไม้มงคลประจำบ้าน           

ชมพู่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ ผลนอกจากจะใช้รับประทานสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้เช่น เยลลี่ แยม และแช่อิ่ม เป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
           
ชมพู่เป็นไม้ผลที่สามารถเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพพื้นที่ แต่จะเจริญเติบโตได้ดีที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ ดินที่เหมาะสมคือดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ในบริเวณที่ราบลุ่มภาคตะวันตก สภาพความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.5 - 7

สถานการณ์การผลิตและการตลาดชมพู
           
ชมพู่เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ทั่วไปในพื้นที่มีน้ำและดินอุดมสมบูรณ์ ในปี 2538 มีพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ 30,054 ไร่ ผลผลิต 36,309 ตัน จังหวัดที่ปลูกชมพู่มากได้แก่ จังหวัดนครปฐม ราชบุรี และสมุทรสาคร สำหรับตลาดชมพู่นั้น ส่วนใหญ่เป็นตลาดภายในประเทศ ได้แก่ ตลาดประจำจังหวัดต่าง ๆ ตลาดกลางกรุงเทพฯ ได้แก่ ตลาดสี่มุมเมือง ปากคลองตลาด ตลาดไทย เป็นต้น ราคาชมพู่ในช่วงฤดูกาลอยู่ที่ประมาณ 20 - 25 บาท ส่วนนอกฤดูกาลราคาประมาณ 50 - 80 บาท แล้วแต่ชนิดของพันธุ์           

ส่วนตลาดส่งออกยังมีไม่มากนักทั้งนี้เพราะชมพู่เป็นผลไม้ที่อบช้ำและเน่าเสียง่าย แต่มีการส่งออกไปแถบฮ่องกง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย อยู่บ้าง

ต้นทุนและผลตอบแทน
           
ต้นทุนในการผลิตชมพู่ ประมาณ 3,400 บาท / ไร่           
ผลตอบแทน ประมาณ 23,400 บาท / ไร่           
ทั้งนี้คิดจากราคาจำหน่ายที่ 13.70 บาท

พันธุ์
1. พันธุ์ดั้งเดิม           
1.1 ชมพู่มะเหมี่ยว    เป็นชมพู่ที่ทีขนาดลำต้นใหญ่ ใบกว้างหนาเป็นมัน ดอกสีแดง ก้านดอกสั้น ออกดอกเป็นกลุ่มตามกิ่ง ผลแก่จะมีสีแดงเข้ม มีกลิ่นหอมเหมือนดอกกุหลาบ เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ เมล็ดโต รสชาติหวานอมเปรี้ยว 
         
 
1.2 ชมพู่สาแหรก
    เป็นชมพู่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับชมพู่มะเหมี่ยว แตกต่างกันที่ ชมพู่สาแหรกมีสีแดงอมชมพูมีริ้วจากขั้วมาที่ก้นผล เนื้อผลสีขาวนุ่ม รสชาติหอมหวาน ลำต้นและใบคล้ายชมพู่มะเหมี่ยว กิ่งแขนงตั้งฉากกับลำต้น 
          
1.3 ชมพู่น้ำดอกไม้    เป็นชมพู่ที่ทรงพุ่มขนาดปานกลาง ใบเล็กเรียวยาว สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผลเมื่อแก่มีสีขาวอมเหลืองหรือมีสีชมพูปนบ้าง รสชาติหวานเนื้อบางกรอบ มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นดอกกุหลาบ เมล็ดโต ปัจจุบันมีปลูกเป็นการค้าอยู่ไม่มาก


2. พันธุ์ทางการค้า
           
2.1 ชมพู่เพชรสายรุ้ง    เป็นชมพู่มีทรงพุ่มขนาดปานกลาง ตัวใบบางทรงรี ดอกสีขาว ผลแก่จะมีสีเขียวมีริ้วสีชมพู ถ้าหากห่อผลจะทำให้ผลมีสีขาวริ้วอมชมพู ผลทรงระฆังมีเมล็ดอยู่ภายใน รสชาติหวานจัด เนื้อกรอบแข็ง เป็นพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในแถบจังหวัดเพชรบุรี           

2.2 ชมพู่พันธุ์ทูลเกล้า
    เป็นชมพู่ในกลุ่มเดียวกันกับชมพู่เพชร ทรงผลยาวรีให้ผลเร็ว ออกดอก ติดผลง่าย รสชาติไม่หวานจัด ปลูกมากแถบจังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร และราชบุรี           
2.3 ชมพู่เพชรสามพราน
    ซึ่งมีลักษณะคล้ายชมพู่เพชร แต่ผลโตผิวมันสีเขียวอมชมพู เนื้อกรอบรสชาติหวาน เป็นพันธุ์ใหม่ ปัจจุบันมีปลูกเป็นการค้าโดยทั่วไปแถบจังหวัดนครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร          

2.4 ชมพู่เพชรน้ำผึ้ง
   เป็นชมพู่สีแดง ที่นำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย ทรงผลยาว ก้นผลปิดมีช่องว่างสำหรับเมล็ดน้อย ไม่มีเมล็ด เนื้อกรอบฉ่ำน้ำ รสชาติหวานซึ่งความหวานประมาณ 10.4 องศาบริกซ์ สีผลเมื่อแก่แดงเข้มผิวเป็นมัน           

2.5 พันธุ์ทับทิมจันทร์ 
  เป็นพันธุ์ที่นำมาจากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นชมพู่ที่มีสีแดงเข้ม ทรงผลยาวคล้ายเพชรน้ำผึ้ง พันธุ์ทับทิมจันทร์ มีลักษณะดีกว่าพันธุ์เพชรน้ำผึ้งคือ ผลโต เนื้อแน่นกรอบกว่า และมีความหวานสูงถึง 14 องศาบริกซ์ ซึ่งสูงกว่าเพชรน้ำผึ้งมาก การออกผลทะวายทั้งปี


การขยายพันธุ์
1. การตอนกิ่ง    เป็นวิธีที่นิยมใช้ขยายพันธุ์ชมพู่มาช้านาน และยังใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยการตอนนี้เริ่มจากการคัดเลือกกิ่งกระโดงหรือกิ่งที่แข็ง ช่วงอายุเพสลาดคือ กิ่งอ่อน กิ่งแก่ สีเขียวอมน้ำตาล และควั่นรอบกิ่ง 2 รอย หางเท่ากับเส้นรอบวงของกิ่ง และกรีดลอกเปลือกระหว่างควั่นออก ขูดเยื่อเจริญออกมาให้หมด หุ้มด้วยขุยมะพร้าวชุ่มน้ำในถุงที่ผ่ากลางถุงแล้ว มัดด้วยเชือกเป็น 2 เปลาะประมาณ 30 - 45 วัน ก็จะเริ่มออกราก เมื่อรากแก่เป็นสีน้ำตาลแล้วจึงตัดกิ่งไปชำต่อไป

2. การปักชำ 
   เป็นวิธีที่นิยมกันเช่นเดียวกับฝรั่ง โดยตัดกิ่งอ่อนสีเขียวที่มีใบ 3 คู่ แล้วปลิดคู่ล้างออก แล้วจุ่มในฮอร์โมนเร่งราก IBA ชนิดเข้มข้นสำหรับเร่งราก ปักชำไว้ในถุงขี้เถ้าแกลบ ประมาณ 1 เดือน ก็จะออกราก แล้วย้ายไปชำต่อในภาชนะต่อไป ปัจจุบันมีผู้รับจ้างชำกิ่งละ 4 - 5 บาท

3. การต่อกิ่งแบบไซด์วีเนียร์
   เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ใช้สำหรับการเปลี่ยนยอดพันธุ์ชมพู่จากพันธุ์หนึ่ง ไปอีกพันธุ์หนึ่งตามที่ต้องการ วิธีการนี้ต้นพันธุ์ที่จะต้องเปลี่ยนควรลอกเปลือกออกได้ง่าย มีขั้นตอนดังนี้           
3.1 กรีดเปลือกต้นที่ต้องการจะเปลี่ยนพันธุ์ลงตามยาว 2 แนวขนานกัน แต่ละแนวห่างกันพอที่จะสอดกิ่งยอดพันธุ์ดีที่จะนำมาเปลี่ยนได้พอดี โดยลอกเปลือกออกจากบนลงล่างตัดเหลือเป็นบ่า           

3.2 นำยอดพันธุ์ดีซึ่งมีตาที่พักตัว (แก่) ตัดเป็นแนวยาวเอียงเป็นรูปปากฉลาม และตัดอีกด้านหนึ่งเล็กน้อย โดยยอดพันธุ์ดีควรมีตาดหลืออยู่อย่างน้อย 2 ตา แล้วสอดยอดตาพันธุ์ดีลงในแผลต้นที่ต้องการจะเปลี่ยน           

3.3 พันด้วยพลาสติกให้แน่นจากล่างขึ้นบนแบบมุงหลังคา โดยพลาสติกต้องหุ้มรอยแผลและยอดพันธุ์ที่สอดไว้แล้วทั้งหมดประมาณ 15 วัน จึงทำการตรวจสอบการติดของเนื้อเยื่อยอดตา พันธุ์ดีกับรอยแผล ถ้าติดยอดตาพันธุ์ดีจะมีสีเขียว ให้กรีดพลาสติกที่อยู่เหนือและข้างยอดตาพันธุ์ดีแล้วจึงตัดยอดต้นที่ต้องการเปลี่ยนทิ้ง เพื่อให้ตาพันธุ์ดีพัฒนาเป็นกิ่งหรือลำต้นใหม่ต่อไป



การปลูก
   
1. การเตรียมแปลงปลูก           
ในการปลูกชมพู่สามารถปลูกได้ทั้งแบบยกร่องในที่ราบลุ่มภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ซึ่งการปลูกแบบยกร่องนี้ส่วนหลังร่องกว้างประมาณ 3 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1 - 1.50 เมตร มีแนวชายร่องข้างละ 0.50 เซนติเมตร ซึ่งหลังยกร่องแล้วควรตากดินไว้ 1 เดือน แล้วจึงพลิกหน้าดินให้ดินล่างลงไปอยู่ด้านล่างและดินบนซึ่งถูกทับขณะขุดร่องกลับมาอยู่ด้านบนตามเดิม ช่วงพลิกดินนี้เองชาวสวนสามารถทำการปรับสภาพดินโดยใส่ปูนขาวและใส่ปุ๋ยคอกลงไปในดินได้เลย            สำหรับพื้นที่ดอนควรไถพรวนพร้อมทำการปรับสภาพดินและใส่ปุ๋ยคอกไปเลย   

2. กำหนดระยะปลูก
           
2.1 แบบยกร่องนั้น ส่วนใหญ่ใช้ระยะห่างระหว่างต้น 4 เมตร           
2.2 บนพื้นที่ดอนใช้ระยะ 4 * 4 เมตร หรือ 6 * 6 เมตร แล้วแต่สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วย ถ้าดินอุดมสมบูรณ์ควรปลูกระยะ 6 * 6 เมตร  


3. การเตรียมหลุมปลูก
           
โดยทั่ว ๆ ไปหลุมปลูกจะใช้ขนาด 50 * 50 * 50 กว้าง *  ยาว *  ลึก  โดยแยกดินหน้าไว้ข้างหนึ่งและดินล่างไว้อีกข้างหนึ่ง แล้วเอาปุ๋ยคอกประมาณ 50 กิโลกรัม ผสมกับหน้าดินอัตราส่วน 1 : 1 และปุ๋ยร็อคฟอสเฟต 500 กรัม กลบลงไปในหลุมจนพูน
  

4. การปลูก
           
นำต้นพันธุ์ชมพู่ที่คัดเลือกไว้แล้ว นำมาถอดภาชนะเพาะชำออกแล้ว ตรวจดูว่ามีรากขดหรือไม่แล้วขยายรากออก หันทิศทางของกิ่งให้เหมาะสม แล้วฝังลงในดินในหลุมที่เตรียมไว้ โดยให้ระดับสูงกว่าระดับดินเดิมเล็กน้อย แล้วนำดินล้างมาเติมบนปากหลุมจนพูน แล้วอัดดินให้แน่นปักไม้และผูกเชือกยึดลำต้น พร้อมปักทางมะพร้าวพรางแสงในทิศทางตะวันออกและตะวันตก เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่มทันที เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นชมพู่ที่ปลูกใหม่เหี่ยวเฉาได้ หลังจากชมพูตั้งตัวได้แล้วจึงค่อยนำทางมะพร้าวออก


การปฏิบัติดูแลรักษา
   
1. การให้น้ำ    เนื่องจากชมพู่เป็นพืชชอบน้ำ ดังนั้นในการผลิตชมพู่จึงจำเป็นต้องมีการให้น้ำชมพู่อย่างสม่ำเสมอ วิธีการให้น้ำย่อมแตกต่างไปตามวิธีการปลูก และสภาพพื้นที่ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 วิธี ใหญ่ ๆ ดังนี้           
1.1 เรือพ่นน้ำ    วิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการให้น้ำในร่องสวนในที่ราบลุ่มภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคตะวันออก วิธีนี้ต้องคำนึงถึงความแรงน้ำที่จะพ่นออกมา ถ้าแรงเกินไปจะทำให้หน้าดินแน่นและเกิดการชะล้างปุ๋ยไปจากหน้าดิน         
  

1.2 สายยาง
   วิธีนี้เหมาะสำหรับการปลูกชมพู่ในที่ดอนและเป็นสวนขนาดเล็ก เป็นวิธีที่สะดวกแต่ต้องคอยเปลี่ยนตำแหน่ง และหลุมปลูกเป็นระยะ ๆ ไป ต้องคำนึงถึงแรงดันน้ำและปริมาณที่ให้ โดยต้องคำนึงถึงการชะล้างที่อาจจะเกิดที่บริเวณหน้าดินได้           

1.3 แบบหัวพ่นฝอย
 
  แบบมินิสปริงเกอร์ (Mini springker) วิธีนีนิยมกันมากวิธีหนึ่ง เพราะประหยัดแรงงานและเวลา และยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง ลดการชะล้างของแรงน้ำที่มีต่อปุ๋ยในแปลง อีกทั้งสามารถควบคุมปริมาณน้ำได้ถูกต้อง นอกจากนี้วิธีนี้ยังสามารถให้ปุ๋ยผสมไปกับน้ำได้เลย แต่อย่างไรก็ตาม ในการใช้ระบบน้ำต้องเสียค่าติดตั้งมากกว่าวิธีอื่น ๆ   ในการผลิตชมพู่เป็นการค้าเพื่อให้ได้ชมพู่มีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด เกษตรกรจำเป็นต้องมีการให้ปุ๋ยอย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับความต้องการของต้นชมพู่ สามารถจำแนกเป็น 2 ประเภท           

1. ปุ๋ยคอก
    ซึ่งนอกจากใส่เตรียมหลุมปลูกแล้ว เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยคอกอีกประมาณ 5 - 10 กก. / ต้น ชนิดปุ๋ยคอกแล้วแต่จะสามารถจัดหามาได้ เช่น ปุ๋ยมูลไก่ มูลหมู และมูลวัว เป็นต้น แต่ที่สำคัญของการให้ปุ๋ยคอกนั้น ปุ๋ยคอกทุกชนิดต้องสลายตัวเรียบร้อยแล้ว           

2. ปุ๋ยเคมี
   สำหรับการใส่ปุ๋ยเคมีนี้เกษตรกรควรพิจารณาตามระยะการเติบโต และอายุของต้นชมพู่และปริมาณผลผลิตที่ให้ในฤดูกาลที่ผ่านมาด้วย ก็จะช่วยให้สามารถคำนวณปริมาณได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงแบ่งออกเป็น           

2.1 สำหรับต้นชมพู่ที่ยังไม่ให้ผล
  ช่วงนี้ชมพู่ต้องการปุ๋ยเพื่อการเจริญเติบโตทางด้านลำต้น กิ่ง ใบ เป็นหลัก ปุ๋ยเคมีควรใช้สูตรเสมอ เช่น 15 - 15 - 15 หรือ 16 - 16 - 16 โดยให้ปริมาณครึ่งหนึ่งของอายุต้น ดังนั้นชมพู่ที่ปลูกปีแรกควรให้ปุ๋ยเคมีประมาณ 500 กรัม โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ในช่วงต้นฤดูฝน 1 ครั้ง และปลายฤดูฝนอีก 1 ครั้ง        
   

2.2 ในต้นที่ให้ผลแล้วอายุ 2 ปี ขึ้นไป
   ช่วงก่อนหลังเก็บผล    ต้องมีการบำรุงต้น กิ่ง ก้าน ใบ ควรใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15 - 15 - 15 หรือ 16 - 16 - 16 ในอัตราครึ่งหนึ่งของอายุต้นหรือประมาณ 500 กรัม / ต้น               

ช่วงก่อนออกดอก    เพื่อให้ชมพู่ออกดอกมากขึ้นนั้น ควรใส่ปุ๋ยที่มีตัวกลางสูง เช่น 12 - 24 - 12 หรือ 8 - 24 - 24 ในอัตราส่วน 200 - 300 กรัม / ต้น               

ช่วงพัฒนาผล    หลังจากชมพู่ติดผลแล้วนั้น ผลจะมีการพัฒนาในระยะแรก จะมีการขยายขนาดใหญ่ขึ้น เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 หรือ 16 - 16 - 16 ปริมาณ 200 - 300 กรัม / ต้น หลังผลใหญ่ขึ้นแล้วก่อนที่เก็บผล 1 เดือน เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยตัวท้ายสูงเช่น สูตร 13 - 13 - 21 ปรือ 14 - 14 - 21 ปริมาณ 200 - 300 กรัม / ต้น  

3. ปุ๋ยทางใบ 
 เป็นปุ๋ยที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว ของการเจริญเติบโตของชมพู่ เช่น การใช้ไทโอยูเรีย เพื่อการเร่งให้ชมพู่แตกใบอ่อนพร้อมกัน หรือการพัฒนาผลชมพู่ให้มีคุณภาพดี ในพื้นที่บางแห่งที่มีน้ำไม่เพียงพอก็สามารถใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 15 - 30 - 30 อัตรา 20 กรัม / น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้ง ควรห่างกันครั้งละ 7 วัน และไม่ควรงดการให้ปุ๋ยก่อนเก็บเกี่ยว 2 สัปดาห์


วิธีการใส่ปุ๋ย
  
1. ปุ๋ยคอก
   นอยมหว่านในบริเวณทรงพุ่มและนอกทรงพุ่มเล็กน้อย ซึ่งควรมีการพรวนดินห่างจากชายทรงพุ่มออกไปเล็กน้อย ประมาณ 30 เซนติเมตร  

2. ปุ๋ยเคมี 
  ขุดเป็นวงแหวนรอบชายทรงพุ่ม หรือเจาะเป็นหลุม ๆ ตามแนวทรงพุ่ม แล้วโรยปุ๋ยลงไปแล้วกลบดินเพื่อป้องกันการสูญเสียปุ๋ยไป โดยการระเหิดหรือถูกชะล้างโดยน้ำที่ให้หรือฝนตก   3. ปุ๋ยทางใบ    ควรผสมปุ๋ยตามฉลากแนะนำ ควรผสมสารจับใบ และควรทำการฉีดพ่นในช่วงเช้าก่อนแดดจัด ไม่ควรใช้ปุ๋ยทางใบในอัตราที่เข้มข้นมากเกินไป เพราะจะทำให้ชมพู่ใบไหม้ได้



การพรวนดิน
           
การพรวนดินนั้นจะทำให้ดินร่วน รากชมพู่สามารถแผ่ขยายไปหาอาหารได้กว้างขึ้นจากเดิม อีกทั้งช่วยให้เก็บปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดิน ในการพรวนนั้นควรทำปีละ 1-2 ครั้ง ครั้งหนึ่งควรพรวนห่างแนวชายทรงพุ่มเดิมออกไปอีกประมาณ 30 เซนติเมตร การพรวนแบบนี้ควรใช้จอบใบพรวนในระดับหน้าดินตื้น ๆ


การกำจัดวัชพืช
           
การกำจัดวัชพืชช่วยให้ชมพู่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ลดปริมาณโรคแมลงที่อาศัยอยู่กับวัชพืชได้ สามารถจำแนกออกเป็น 3 วิธี ดังนี้          
 

1. วิธีกล
    โดยการถอน ดาย ถาง วัชพืชออกจากทรงพุ่ม และแปลงปลูกชมพู่ วิธีนี้ควรหมั่นทำตั้งแต่วัชพืชมีขนาดเล็กไปเรื่อย ๆ เหมาะสมกับการปลูกชมพู่แปลงเล็ก วิธีนี้นอกจากจะไม่ต้องลงทุนมากแล้ว ยังช่วยลดปัญหาสารพิษตกค้างได้อีกด้วย         
  

2. วิธีทางเขตกรรม
    วิธีนี้เป็นวิธีใช้การปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการสะสมของวัชพืชในแปลงปลูก สามารถใช้ได้กับชมพู่ที่มีขนาดเล็ก พืชที่นิยมปลูกกันได้แก่ พืชผักต่าง ๆ รวมทั้งพืชตระกูลถั่ว ซึ่งจะทำให้ดินมีไนโตรเจนมากขึ้น เมื่อชมพู่มีขนาดใหญ่ขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องปลูกพืชหมุนเวียนอีกต่อไป           

3. วิธีทางเคมี
   เป็นวิธีหนึ่งที่สะดวกรวดเร็ว อาจจะส่งผลให้มีสารพิษตกค้างในดินและน้ำได้ การกำจัดวัชพืชวิธีเคมีสามารถจำแนกเป็น 2 ระยะ                   
3.1 ก่อนทำการปลูกชมพู่    ซึ่งสามารถใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชได้
                   
3.2 ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดเลือกทำลาย ในช่วงชมพู่โตแล้วควรฉีดนอกชายพุ่ม ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้สารเคมีกำจัดวัชพืชนั้น อัตราความเข้มข้นควรเป็นไปตามคำแนะนำ


การตัดแต่งกิ่ง
           
การตัดแต่งกิ่งนอกจากทำให้ได้ทรงพุ่มตามต้องการแล้ว ยังช่วยลดปริมาณโรคแมลง อีกทั้งทำให้ชมพู่ออกดอกติดผลดีมีคุณภาพอีกด้วย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้           

1. การตัดแต่งเพื่อบังคับทรงพุ่ม ควรเริ่มทำเมื่อชมพู่มีขนาดเล็กหลังจากปลูกใหม่ โดยการเลี้ยงลำต้นประธานเพียงต้นเดียว และที่ความสูงจากพื้นดิน 50 เซ็นติเมตร ให้ตัดยอดชมพู่จะทำให้กิ่งที่แตกแขนงมาใหม่ 2 กิ่ง ที่ระยะ 6 - 12 นิ้ว ให้ตัดกิ่งทั้ง 2 แล้ว ให้แตกเพิ่มเป็น 4 กิ่ง ทำอย่างนี้ไปจะได้กิ่งแขนง 8 ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ต้นชมพู่มีโครงสร้างแข็งแรง และไปรอแสงส่องผ่านกิ่งโคนต้นได้ การปฏิบัติงานใต้ทรงพุ่มสะดวก           

2. การตัดแต่งเพื่อการออกดอกและติดผลที่มีคุณภาพ การตัดแต่งแบบนี้จะใช้ในชมพู่ที่ให้ผลแล้ว ซึ่งควรทำปีละ 2 ครั้ง โดยเลือกตัดแต่งกิ่ง ดังนี้                   
2.1 กิ่งแก่ที่เคยให้ผลแล้ว และไม่สามารถให้ผลอีกต่อไป                   
2.2 กิ่งแซมในทรงพุ่มขนาดเล็ก                   
2.3 กิ่งไขว้ หรือกิ่งซ้อนทับกัน ให้เลือกกิ่งที่เป็นโครงสร้างหลักไว้                    2.4 กิ่งที่โรคแมลงหรือกาฝากอาศัย                   
2.5 กิ่งฉีกหัก หรือกิ่งแห้ง                   
2.6 กิ่งน้ำค้างหรือกิ่งกระโดงที่เจริญเติบโตจากในทรงพุ่มทะลุออกเหนือทรงพุ่ม        
2.7 ส่วนยอดที่สูงจากพื้นดินเกิน 2 เมตร 
 


การปลิดผล
           
ในการออกดอกชมพู่จะออกบริเวณกิ่ง ในทรงพุ่มหลังจากดอกได้รับการผสมแล้วก็จะติดเป็นผล ที่มีขนาดเล็กมีลักษณะคล้ายถ้วย หลังจากนั้นผลจะขยายใหญ่มีสีเข้มขึ้น เกษตรกรควรทำการปลิดผลที่ถูกโรคแมลงทำลาย ผลที่มีขนาดเล็กหรือรูปร่างผิดปกติออก โดยเหลือไว้ช่อละ 3 - 4 ผลเท่านั้น กรณีที่ช่อผลอยู่ติดกันมากไม่ควรเก็บไว้ ให้เลือกปลิดช่อที่มากเกินไปออกเสียบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดการแย่งอาหารกันเองทำให้ผลมีขนาดเล็ก

การห่อผล
           
การห่อนี้ควรจะทำควบคู่กับการปลิดเลยในเวลาเดียวกัน ในการห่อผลนี้เกษตรกรจะเลือกถุงพลาสติกกรอบแกรบสีขาวขุ่นเจาะ 2 รู เพื่อให้น้ำออก ก่อนห่อควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงก่อน แล้วจึงห่อด้วยถุงพลาสติกดังกล่าว โดยผูกปากถุงด้วยเงื่อนชั้นเดียว ขนาดถุงควรเป็นขนาด 6x11 นิ้ว
           
ในบางกิ่งที่ผลชมพู่อาจได้รับอันตราย จากแสงแดดเผาให้ผิวเสียหาย ควรห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ด้านนอกอีกชั้นหนึ่งด้วย

เทคนิคช่วยให้ชมพู่มีคุณภาพดี
           
1. ตัดแต่งช่อผลตั้งแต่เริ่มติดผล โดยไว้ผลประมาณ 3 - 4 ผลต่อช่อ และจำนวนช่อดอกไม่ควรมากเกินไป โดยให้สัมพันธ์กับทรงพุ่มและความสมบูรณ์ของต้น           

2. การใช้จีเอพ่นประมาณ 1 - 3 ช่วง คือช่วงเริ่มออกดอก ดอกเริ่มบาน และหลังดอกบานแล้ว 2 สัปดาห์ เพื่อทำให้ทรงผลยาวและขยายขนาดขึ้น           

3. การให้ปุ๋ยทั้งทางดินและทางใบอย่างเพียงพอ มิฉะนั้นอาจทำให้ผลร่วงได้ง่าย           

4. การห่อผลทำให้ผิวสวยป้องกันการทำลายของแมลงอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือแมลงวันทอง
           
5. ควรงดการให้น้ำช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว 3 - 5 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดิน ถ้าดินเหนียวควรงดการให้น้ำนานกว่านี้อาจเป็น 5 - 7 วัน
 


การเก็บเกี่ยวและการจัดการผลชมพู่หลังการเก็บเกี่ยว
           
หลังจากชมพู่อายุพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว คือ มีอายุ วันผลเต่งอวบ สีซีด ในบางพันธุ์มีสีขาว บางพันธุ์มีสีแดงหรือชมพู ผิวเป็นมันเงา มีความหวานสูง เกษตรกรควรทำการเก็บ หากทิ้งไว้เกินอายุการเก็บเกี่ยว จะทำให้ผลชมพู่แตกหรือร่วงเสียหายได้ การเก็บควรใช้กรรไกรตัดขั้ว จะสะดวกและรวดเร็ว
           
การเก็บนั้นเกษตรกรควรเก็บมาทั้งถุงที่ห่อชมพู่แล้วใส่เข่งที่กรุด้วยกระสอบปุ๋ย เพื่อป้องกันความคมของภาชนะที่จะทำให้ผิวชมพู่บอกช้ำได้ จากนั้นจึงนำผลชมพู่มายังโรงพักผลผลิต แล้วทำการคัดเลือกชมพู่ โดยเริ่มที่  
         
1. แกะถุงห่อชมพู่ออก           
2. คัดคุณภาพโดยคัดผลแตก ผลเป็นโรคและแมลงทำลาย ทั้งนี้รวมทั้งผลที่มีรูปร่างผิดปกติออก 
3. คัดขนาด           
4. บรรจุลงเข่งไม้ไผ่ หรือตะกร้าพลาสติกที่ด้านข้ากรุด้วยใบตองหรือกระดาษ แล้วปิดทับด้านหน้าด้วยพลาสติก เพื่อรักษาความชื้นของชมพู่ไว้           
5. ชั่งน้ำหนักพร้อมเขียนป้ายประจำเข่ง หรือตะกร้าพลาสติก เพื่อบอกน้ำหนัก ชื่อพันธุ์ และขนาดผล เก็บไว้ในที่ร่มพร้อมที่จะขนส่งสู่ตลาดต่อไป           

การผลิตชมพู่นอกฤดู
           
ในประเทศไทยชมพู่จะออกดอกเป็น 2 รุ่นใหญ่ ๆ ดังนี้            

รุ่นแรก    ประมาณปลายเดือนธันวาคม - มกราคม เก็บผลในเดือน กุมภาพันธ์ ถึงมีนาคม   
รุ่นที่ 2    จะออกดอกในเดือนกุมภาพันธ์และเก็บผลในเดือน เมษายน - พฤษภาคม
           

แต่เดิมเกษตรกรได้พยายามคิดค้นวิธีการทำนอกฤดู เช่น การตัดแต่งกิ่ง การกักน้ำ การใส่ปุ๋ย ตลอดจนการใช้สารเคมี
 

การใช้สารเคมี
           
สำหรับการใช้สารเคมี กฤษฎา  ทัสนารมย์ (2537) รายงานว่า มีการทดลองใช้สารพาโคลบิวทราโซล กับชมพู่พันธุ์ทูลเกล้าอายุ 3 ปี โดยใช้สารเข้มข่น 1, 2 และ 4 กรัม ของสารออกฤทธิ์ และพ่นทางใบระดับความเข้มข้น 0.5, 1.0 และ 2 ซีซี. / น้ำ 20 ลิตร ที่ใบมีอายุ 40 - 90 วันหลังการตัดแต่งกิ่ง ทำให้ดอกในช่วง 60 วัน หลังให้สาร โดยระดับความเข้มข้น 4 กรัม / ต้น โดยราดลงดิน 2 ซีซี. / น้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นทางใบให้ดอกสูงกว่าความเข้มข้นระดับอื่น ๆ
           
ในชมพู่เพชร ประทีป  กุณาศล ได้ทำการทดลองใช้สารพาโคลบิวทราโซล กับชมพู่เพชรอายุ 7 ปีขึ้นไป และ 2 - 4 ปี โดยใช้สารจำนวน 30 ซีซี. ผสมน้ำ 2 ลิตร กับทรงพุ่มที่มีขนาดผ่าศูนย์กลาง 2 - 3 เมตร โดยราดสารในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ชมพู่แทงช่อในเดือนสิงหาคม - ตุลาคม ซึ่งต้นที่ได้รับสารจะออกดอก 90% ขณะที่ต้นที่ไม่ได้รับสาร ออกเพียง 5% ชมพู่ไม่แสดงอาการผิดปกติ ยกเว้นข้อใบสั้นลงเท่านั้น อย่างไรก็ตามหลังให้สารแก่ต้นชมพู่แล้วประมาณ 1 เดือน ควรให้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูงได้แก่ 12-24-12, 8-24-24 หรือ 9-24-24 เพื่อให้ต้นชมพู่เตรียมพร้อมในการสร้างตาดอก ซึ่งอาจจะทำให้ชมพู่สามารถออกดอกได้มากยิ่งขึ้น


โรคและแมลงศัตรูชมพู่
          
1. โรคชมพู่  
สำหรับโรคที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชมพู่ได้แก่
1.1 โรคแอนแทรคโนส
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยจะพบการทำลายบนผลชมพู่ที่ห่อไว้เป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่ต้นและใบไม่ค่อยพบร่องรอยการทำลาย ลักษณะที่ปรากฏบนผลจะมีการเน่าสีดำ แผลจะยุบตัวเล็กน้อย มีวงสปอร์สีดำเป็นวง ๆ ซ้อนกันบางครั้ง อาจพบเมือกสีแสดด้วย
                   
การป้องกันกำจัด   
ควรฉีดพ่นผลก่อนห่อด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เบนโนมิล แคบแทน ค็อปเปอร์อ๊อกซี่คลอไรด์            
 

2. แมลงศัตรูชมพู่
                  
 
2.1 แมลงค่อมทอง
   
เป็นด้วงงวงชนิดงวงสั้น ลำตัวสีเขียวเหลืองทอง รูปไข่ ขนาดลำตัวกว้าง 0.5 มิลิเมตร ยาว 1.30 - 1.50 เซนติเมตร มักพบอยู่เป็นคู่ ๆ การทำลายตัวแก่ชอบกัดกินใบอ่อนยอดอ่อน ทำให้เว้าแหว่ง
                  
 

การป้องกันกำจัด 
  
โดยเขย่าต้น เก็บตัวแก่ทำลาย กรณีระบาดอย่างรุนแรง พ่นสารเคมีคาร์บาริล (เซฟวิน 85% WP) อัตรา 60 กรัม / น้ำ 20 ลิตร หรือ เมธาไมโดฟอส (ทามารอล 600 56% WP) อัตรา 20 มิลิลิตร / น้ำ 20 ลิตร หรือโมโนโครโตฟอส อัตรา 30 มิลิลิตร / น้ำ 20 ลิตร
                   
2.1 ด้วงม้วนใบ   
เป็นด้วงงวงชนิดส่วนคอยาว ขนาดเล็กลำตัวสีน้ำตลา มีจุดสีเหลืองบนปีกทั้ง 2 ข้าง ส่วนงวงยาวเกือบเท่าลำตัว                  

การทำลาย
   
ตัวเมียจะกัดใบเป็นรูเล็ก ๆ แล้ววางไข่ 2 - 3 ฟองในใบม้วน ตัวอ่อนเจริญกัดกินในใบ และเข้าเป็นดักแด้ในใบม้วน                  
 

การป้องกันกำจัด 
  
เก็บใบม้วนเผาทำลาย กรณีระบาดรุนแรง ควรพ่นด้วยสารเคมีคาร์บาริล(เซฟวิน 85% WP) อัตรา 60 กรัม / น้ำ 20 ลิตร หรือ เมธาไมโดฟอส (ทามารอล 600 56% WP) อัตรา 20 กรัม / น้ำ 20 ลิตร                   

2.3 เพลี้ยไฟ 
  
เป็นแมลงปากดูดขนาดเล็กมาก รูปร่างคล้ายเข็ม ตัวแก่มีปีก มักจะเข้าทำลายยอดอ่อน ใบอ่อน โดยดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ใบแห้งตาย หรืองิก บิดเบี้ยว แคระแกร็น
                   
การป้องกันกำจัด    
โดยการใช้สารเคมีคาร์บาริล(เซฟวิน 85% WP) อัตรา 60 กรัม / น้ำ 20 ลิตร หรือ โมโนโครโตฟอส 30 กรัม / น้ำ 20 ลิตร                  
 

2.4 แมลงวันทอง
   
เป็นแมลงวันที่ทำลายผลไม้ชินิดหนึ่ง ลำตัวมีสีดำปนเหลือ'
                   
การทำลาย   
ตัวเมียจะวางไข่ไว้ที่มีผลแก่ และตัวหนอนเข้ากัดกินเนื้อในผล ทำให้ผลเน่าและร่วงหล่นในที่สุด                   

การป้องกันกำจัด   
ห่อผลด้วยถุงพลาสติด หรือใช้เมธิลยูจินอล ล่อแมลงวันตัวผู้ หรือใช้เหยื่อพิษ โปรตีนไฮโดรไลเสท 100 กรัม + น้ำตาล 20 กรัม / น้ำ 4 ลิตร + มาลาไธออน 1.5 กรัม หรือใช้ไดอะซิโนน หรือเฟนิโตไธออนแทนมาลาไธออน ผสมเป็นเหยื่อพิษอีกชนิดหนึ่ง 



images.doraemonbim.multiply.multiplycontent.com/.../ชมพู่.doc?...

 



ขั้นตอนการทำชมพู่นอกฤดู:

ปกติชมพู่จะติดดอกในช่วงเดือน ม.ค. และเก็บผลได้ประมาณเดือน มี.ค. ถ้าชมพู่ออกในช่วงนี้ราคาจะต่ำ จึงจำเป็นต้องทำให้ชมพู่ออกนอกฤดูกาล โดยเตรียมความพร้อมให้กับต้นชมพู่ โดยทำให้ชมพู่แตกใบใหม่ได้เร็วหลังจากเก็บเกี่ยวผลแล้วโดยใช้ปุ๋ยยูเรีย 1 กก. ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อทำให้ใบร่วง และแตกใบใหม่ หลังจากนั้นทำการตัดแต่งกิ่ง ทรงพุ่มให้โปร่งเพื่อให้แสงแดดส่องถึง ใส่ปุ๋ยบำรุงดูแลรักษาตามปกติ ตั้งแต่ออกดอกจนถึงเก็บผลใช้เวลาประมาณ 49 วัน ในปีหนึ่ง ๆ เก็บผลผลิตได้ปีละประมาณ 4 ครั้ง กำจัดแมลงวันทองโดยใช้สารเมธิลยูจินอลเป็นตัวล่อใส่ไว้ในกับดักเป็นขวดน้ำพลาสติก จะทำก่อนช่วงติดผลประมาณ 15 วัน เพื่อล่อให้แมลงมาติดกับดักแล้วหลังจากนั้นจะไม่มีแมลงวันทองมารบกวน

http://www.pandinthong.com/ViewContent.php?ContentID=1836                                          







หน้าก่อน หน้าก่อน (2/3)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (26540 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©