-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 368 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เงาะ




หน้า: 3/3



เงาะโรงเรียน
             
เงาะโรงเรียนเป็นเงาะที่มีรสชาติอร่อย เนื้อกรอบ หวานหอม มีประวัติเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ.2468 มีชาวจีนสัญชาติมาเลเซีย ชื่อ นายเค วอง ได้เดินทางเข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุกที่บ้านเหมืองแกะ ต.นาสาร อ.บ้านนาสาร และได้นำเมล็ดเงาะมาปลูกข้างบ้านพัก ปรากฏว่ามีเงาะต้นหนึ่งมีผลที่มีลักษณะต่างไปจากต้นอื่น คือ รูปผลค่อนข้างกลม เนื้อกรอบ หวาน หอม เปลือกบาง รสชาติอร่อย เมื่อนายเค วอง เลิกล้มกิจการเหมืองแร่ในปี พ.ศ.2497 ได้ขายที่ดินดังกล่าวให้แก่กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ซึ่งได้ปรับปรุงให้เป็นสถานที่เรียนเรียกว่า โรงเรียนนาสาร เงาะที่นายเค วองปลูกไว้ก็ได้ขยายพันธุ์สู่ประชาชนโดยใช้ต้นพันธุ์เดิม จึงเรียกว่า เงาะโรงเรียน 
          
ในปี พ.ศ.2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายชัช อุตตมางกูร ผู้นำชาวสวนเงาะได้ทูลเกล้าฯถวายผลเงาะโรงเรียน และขอพระราชทานชื่อพันธุ์เงาะนี้เสียใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ชื่อเงาะโรงเรียนดีอยู่แล้ว" ตั้งแต่นั้นมา เงาะพันธุ์นี้จึงได้ชื่อว่า เงาะโรงเรียน อย่างเป็นทางการ  อนึ่ง เพื่อความเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้จัดงาน วันเงาะโรงเรียน  ขึ้นเป็นประจำในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคมของทุกปี

 

สถานการณ์ทั่วไป
เงาะเป็นไม้ผลเพื่อบริโภคผลสดและเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของอุตสาหกรรมเกษตร เงาะกระป๋อง และเงาะสอดไส้สับปะรดบรรจุกระป๋อง เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ที่ผ่านมาถึงแม้ว่าจะเกิดปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำเกือบทุกปี (เนื่องจากช่วงฤดูกาลผลิตเงาะค่อนข้างสั้น ในช่วงเวลากลางฤดูจะมีผลผลิตมากกว่า 50 % ออกสู่ตลาดพร้อมๆ กัน) แต่เงาะก็ยังจัดเป็นไม้ผลที่ทำรายได้ดีอีกพืชหนึ่ง


ลักษณะทั่วไปของพืช
เงาะเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสม อยู่ในช่วง 25–30 องศา C ความชื้นสัมพัทธ์สูงประมาณ 75–85 % 
        
ดินปลูกที่เหมาะสมควรมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (ค่า pH) ของดินประมาณ 5.5–6.5 และที่สำคัญควรเลือกแหล่งปลูก ที่มีน้ำเพียงพอตลอดปี 
        
เงาะเป็นไม้ผลที่มีระบบรากหาอาหารลึกประมาณ 60–90 เซนติเมตรจากผิวดิน จึงต้องการสภาพแล้งก่อนออกดอกติดต่อกัน ประมาณ 21–30 วัน
        
เมื่อต้นเงาะผ่านสภาพแล้งและมีการจัดการน้ำอย่างเหมาะสมเงาะจะออกดอก ช่วงพัฒนาการของดอก (ผลิตดอก – ดอกแรกเริ่มบาน) ประมาณ 10–12 วัน ดอกเงาะจะทยอยบานจากโคนช่อไปหาปลายช่อ ใช้เวลาประมาณ 25–30 วัน จึงจะบานหมดช่อ ดอกเงาะมี 2 ชนิด คือ ดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศ ต้นที่มีดอกตัวผู้จะไม่ติดผล ส่วนต้นที่มีดอกสมบูรณ์เพศนั้นเกสรตัวผู้ไม่ค่อยแข็งแรง ต้องปลูกต้นตัวผู้แซมในสวน เพื่อเพิ่มละอองเกสร หรือฉีดพ่นฮอร์โมนพืช เพื่อช่วยให้เกสรตัวผู้แข็งแรงขึ้น


พื้นที่ปลูก
- แหล่งผลิตที่สำคัญ คือ ภาคตะวันออก(พื้นที่ปลูก 55% ผลผลิต 63%) และภาคใต้(พื้นที่ปลูก 44% ผลผลิต 36%) 
- จังหวัดที่สำคัญ ได้แก่ จันทบุรี (ผลผลิต 45%) ตราด (14%) สุราษฎร์ธานี (10%) ชุมพร (10%) นครศรีธรรมราช (8%) 
- พื้นที่ปลูก ประมาณ 540,000 ไร่ (พื้นที่ให้ผลแล้ว 420,000 ไร่)


พันธุ์ที่ส่งเสริม
- โรงเรียน, 
- ตราดสีทอง


การปลูก

วิธีการปลูก ทำได้ทั้งการขุดหลุมปลูกซึ่งเหมาะกับพื้นที่ที่ยังไม่มีการวางระบบน้ำไว้ก่อนปลูก วิธีนี้ดินในหลุมจะช่วยเก็บความชื้นได้ดีขึ้น และสามารถปลูกโดยวิธีไม่ต้องขุดหลุม(ปลูกแบบนั่งแท่นหรือยกโคก) เหมาะกับพื้นที่ฝนตกชุก วิธีการนี้ระบายน้ำดีน้ำไม่ขังโคนต้น แต่ต้องมีการวางระบบน้ำไว้ก่อนปลูก ซึ่งต้นเงาะจะเจริญเติบโตเร็วกว่าการขุดหลุม ทั้งนี้จุดเน้นที่สำคัญในการปลูก คือ ควรใช้ต้นกล้าที่มีระบบรากดี ไม่ขดงอในถุง แต่ถ้าจะใช้ต้นกล้าขนาดใหญ่ก็ให้ตัดดินและรากที่ขดหรือพันตรงก้นถุงออก


ระยะปลูก
 
6–8 X 6–8 เมตร ถ้าใช้ระยะปลูกชิด 6 X 6 เมตร จะตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มอย่างใกล้ชิด ไม่ให้ทรงพุ่มชนและบังแสงกัน สำหรับสวนที่ใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงาน ควรเว้นระยะระหว่างแถวให้ห่างพอที่เครื่องจักรกลจะเข้าไปทำงาน แต่ให้ระยะระหว่างต้นชิดขึ้น


จำนวนต้น/ต่อไร
่ 
25–40 ต้น/ไร่


การดูแลรักษา
(สำหรับต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว)
การใส่ปุ๋ย
- เพื่อบำรุงต้นหลังการเก็บเกี่ยว ปุ๋ยอินทรีย์ 20–50 กก./ต้น ร่วมกับ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 (1–3 กก.)/ต้น
- เพื่อส่งเสริมการออกดอก (ช่วงปลายฝน) ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 หรือ 9-24-24 2–3 กก./ต้น หรือ
- เพื่อบำรุงผล (หลังติดผล 3–4 สัปดาห์) ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 2 – 3 กก./ต้น ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก 20–30 กก./ต้น


การให้น้ำ
 
ให้น้ำสม่ำเสมอช่วงเจริญทางใบ งดน้ำช่วงปลายฝน ต้นเงาะที่มีใบแก่และสมบูรณ์ ทั้งต้นและผ่านสภาพแล้งติดต่อกันนาน 21–30 วัน จะแสดงอาการขาดน้ำ (ใบห่อ) ให้กระตุ้นการออกดอกโดยการให้น้ำในปริมาณมากเต็มที่ จากนั้นให้หยุดดูอาการ 7–10 วัน เมื่อพบว่าตายอดเริ่มพัฒนาเป็นตาดอก (สีของตายอดจะเปลี่ยนจากน้ำตาลดำเป็นน้ำตาลทอง) ก็เริ่มให้น้ำอีกครั้งปริมาณเท่าเดิมเพื่อเร่งการพัฒนาของตาดอก แต่ถ้าหลังจากให้น้ำครั้งที่ 1 แล้ว พบว่าตา ยอดเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลอมเขียว แสดงว่าให้น้ำมากเกินไปตายอดพัฒนาเป็นตาใบแทนที่จะเป็นตาดอก ต้องหยุดน้ำและปล่อยให้เงาะกระทบแล้งอีกครั้งจนเห็นว่าสีเขียวน้ำตาลของตายอดเปลี่ยนเป็นน้ำตาลทองของตาดอก ก็เริ่มให้น้ำในอัตรา ? ของครั้งแรก จากนั้นเมื่อแทงช่อดอกและติดผลแล้วควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ เพื่อเร่งพัฒนาการของดอก และเร่งพัฒนาการของผลให้ขึ้นลูกได้เร็วและผลโต


การปฏิบัติอื่นๆ
- การเตรียมสภาพต้นให้พร้อมต่อการออกดอกในฤดูถัดไป คือ การจัดการเงาะให้มีการแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 ชุด และให้รักษาใบอ่อนที่แตกออกมาให้สมบูรณ์ หมั่นป้องกันกำจัดโรคราแป้งและหนอนคืบกินใบ
- การจัดการเพื่อส่งเสริมการติดผล


การช่วยให้เงาะผสมเกสรได้ดีขึ้น
 
โดยการเพิ่มปริมาณเกสรตัวผู้ ทำได้หลายวิธี เช่น
- พ่นฮอร์โมนพืช เมื่อช่อดอกส่วนใหญ่ของต้นบานได้ร้อยละ 5 ให้ฉีด พ่นช่อดอกบริเวณส่วนบนของทรงพุ่มด้วยฮอร์โมน เอ็น เอ เอ ในอัตรา 2 ซีซี./น้ำ 20 ลิตรประมาณ 4–5 จุด/ต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติโดยทั่วไป
- รวบรวมละอองเกสรตัวผู้ผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่วต้นเมื่อช่อดอกบนต้นบานได้ 50 %
- เปลี่ยนยอดให้เป็นกิ่งตัวผู้ ทำได้โดยการตัดยอดของเงาะต้นตัวเมีย เลี้ยงกิ่งกระโดงขึ้น มา แทนที่แล้วนำกิ่งจากต้นตัวผู้มาทาบบนกิ่งกระโดงนี้ ส่วนการสร้างสวนใหม่ควรปลูก ต้นตัวผู้แซมไปในระหว่างแถวของต้นตัวเมีย
- เลี้ยงผึ้งหรือติดต่อผู้เลี้ยงผึ้งให้นำผึ้งมาเลี้ยงในสวนระยะดอกบาน: ตรวจสอบและป้องกันกำจัดราแป้งอย่างใกล้ชิด ในทุกช่วงของการพัฒนาการของดอกและผล


การป้องกันกำจัดศัตรูพืชสำคัญ
(เน้นการป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน)
- ช่วงแตกใบอ่อน – หนอนคืบกินใบ   : คาร์บาริลหรือ คาร์โบซัลแฟล
- ช่วงออกดอกและติดผล – โรคราแป้ง  : ต้นที่เริ่มพบโรคให้ใช้กำมะถันผง แต่ถ้ามีโรคหนาแน่นมาก ให้พ่นด้วย เบโนมิล หรือ ไดโนแคป หรือ ไตรดีมอร์ฟ ระยะห่าง 7–10 วัน/ครั้ง


อายุเก็บเกี่ยว
เงาะจะให้ ผลผลิตหลังการปลูกค่อนข้างเร็ว ภายใน 3–4 ปี ช่วงอายุที่ให้ผลผลิตดีประมาณ 7 ปีขึ้นไป โดยเฉลี่ย 150–200 กก./ต้น (น้ำหนักผลเฉลี่ย 30–40 กรัม/ผล หรือประมาณ 25–35 ผล/กก. ผลผลิตประมาณ 80–110 ผล/ต้น หรือประมาณ 240–330 กก./ต้น/ปี (คิดน้ำหนักเฉลี่ยผลละ 3 กก.)


ดูกาลเก็บเกี่ยว
 
ฤดูกาลเก็บเกี่ยวเงาะภาคตะวันออก อยู่ในช่วงปลายเดือนเมษายน – มิถุนายน และภาคใต้ เดือนกรกฎาคม - กันยายน เงาะจะเก็บเกี่ยวผลได้ประมาณ 20 วันหลังจากผลเริ่มเปลี่ยนสี ผลเงาะเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 12–13 องศา C ความชื้นสัมพัทธ์ 90–95 % เก็บรักษาได้นานประมาณ 2 สัปดาห


ต้นทุนการผลิต
 
เงาะโรงเรียน เฉลี่ยประมาณ 11,566 บาท/ไร่ หรือ 7.57 บาท/กก.เงาะสีชมพู เฉลี่ยประมาณ 10,285 บาท/ไร่ หรือ 5.47 บาท/กก.


ผลผลิต
ผลผลิตรวมทั้งประเทศ ประมาณปีละ 600,000–700,000 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ประมาณ 1,681 กก./ไร่/ปี เฉลี่ยระหว่างปี 2537–2541 ผลผลิตเฉลี่ยของเงาะในแต่ละปีที่ผ่านมา แตกต่างกันในช่วง 1,509–1,760 กก./ไร่

ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ (ที่มีผลต่อการออกดอกและติดผล) ปริมาณการใช้ภายในประเทศ ประมาณ 580,000-680,000 ตัน (97%)



ปริมาณและมูลค่าการส่งออกปี 2542



ปริมาณ : ตัน
มูลค่า : ล้านบาท
ผลสด
5,861
119.9
เงาะกระป๋อง
6,539
255.43
เงาะสอดไส้สับปะรดบรรจุกระป๋อง
3,204
142.22


(อัตราแปลง เงาะกระป๋อง : เงาะสด = 1: 1.134 ,เงาะสอดไส้สับปะรดบรรจุกระป๋อง : เงาะสด = 1 : 0.735)


ราคา

ราคาผลผลิตที่เกษตรกรขายได้ ราคาเฉลี่ยตลอดฤดูกาล 17.94 บาท/กก.
ราคาเฉลี่ยในช่วงออกมาก 8.5. บาท/กก. (ปี 2542)


ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น

1. ช่วงฤดูกาลผลิตสั้น ผลผลิตออกมามากในช่วงเวลาสั้นและพร้อมกันทำให้เกิดปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ
2. เงาะมีอายุการเก็บรักษาสั้น ขาดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม
3. ขาดระบบการกระจายผลผลิตและการจัดการตลาดที่ดี
4. ปัจจัยการผลิตมีราคาแพงและมีปัญหาด้านแรงงานซึ่งต้องใช้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงงานเก็บเกี่ยวนอกจากนี้อุตสาหกรรมแปรรูปยังต้องการแรงงานในการจัดการแปรรูปเบื้องต้น(ปอกและคว้านเงาะ)
5. การระบาดของโรคแมลงศัตรูเงาะที่สำคัญ เช่น โรคราแป้ง เพลี้ยแป้ง
6. การขาดแคลนน้ำในแหล่งปลูกเงาะบางพื้นที่ และบางปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เงาะกำลังติดผล


แนวทางการช่วยเหลือ

เพื่อให้เกษตรกรสามารถจัดการสวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถผลิตเงาะได้ในปริมาณพอเหมาะโดยที่ผลผลิตส่วนใหญ่มีคุณภาพดี และใช้ต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม
1. ส่งเสริมการรวมกลุ่มปรับปรุงคุณภาพผลผลิต
2. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตที่ถูกต้องตามขั้นตอนพัฒนาการของพืชให้ทั่วถึง
3. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชเงาะแบบผสมผสาน
4. ส่งเสริมและพัฒนาเรื่องการจัดระบบให้น้ำในสวนเงาะอย่างเหมาะสม
5. ถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่องการเก็บเกี่ยวและปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ถูกต้อง
6. ส่งเสริมให้มีการผลิตเงาะนอกฤดูในเขตที่มีศักยภาพ (สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย)
7. ส่งเสริมการปลูกเงาะพันธุ์ดีเพื่อทดแทนสวนเก่า
8. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการจัดการผลผลิต การตลาด และการเชื่อมโยงให้มีการกระจายผลผลิตออกจากแหล่งผลิต


school.obec.go.th/webkrusun/plant/title6/rambut.htm -



เงาะ

เงาะ (อังกฤษ:Rambutan;ชื่อวิทยาศาสตร์: Nephelium lappaccum Linn.) เป็นไม้ผลเมืองร้อน มีถิ่น กำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยทั่วไป เงาะ เป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตได้ดี ในบริเวณที่มีความชื้นค่อนข้างสูง เงาะในประเทศไทย จึงนิยมปลูกในบริเวณภาค ตะวันออกและภาคใต้ อาทิ พันธุ์สีทอง พันธุ์น้ำตาลกรวด พันธุ์สีชมพู พันธุ์โรงเรียน และ พันธุ์เจ๊ะมง เป็นต้น แต่ พันธุ์เงาะ ที่นิยมปลูกเป็นการค้า มีแค่ 3 พันธุ์ คือ

พันธุ์โรงเรียน
พันธุ์สีทอง และ
พันธุ์สีชมพู

ส่วนพันธุ์อื่นๆ จะมีปลูก กันบ้างประปรายและโดยมากมักใช้เพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือใช้ประโยชน์ เพื่อการศึกษาทางวิชาการ[1] ในอดีตประ เทศที่ผลิตและส่งออกรายใหญ่ได้แก่ ไทย มาเลเซียและ อินโดนีเซีย แต่ปัจจุบันพบว่าประเทศผู้ผลิตใหม่ เช่น ออสเตรเลีย และฮอนดูรัส ได้เข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดเพิ่มมากขึ้น



ลักษณะทั่วไป

เงาะ เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสม อยู่ในช่วง 25–30° C ความชื้นสัมพัทธ์สูงประมาณ 75–85 % ดินปลูกที่เหมาะสมควรมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (ค่า pH) ของดินประมาณ 5.5–6.5 และที่สำคัญควรเลือกแหล่งปลูกที่มีน้ำเพียงพอตลอดปี เงาะเป็นไม้ผลที่มีระบบรากหาอาหารลึกประมาณ 60–90 เซนติเมตรจากผิวดินจึงต้องการสภาพแล้งก่อนออกดอกติดต่อกัน ประมาณ 21–30 วัน เมื่อต้นเงาะผ่านสภาพแล้งและมีการจัดการน้ำอย่างเหมาะสมเงาะจะออกดอก ช่วงพัฒนาการของดอก (ผลิตดอก – ดอกแรกเริ่มบาน) ประมาณ 10–12 วัน ดอกเงาะจะทยอยบานจากโคนช่อไปหาปลายช่อ ใช้เวลาประมาณ 25–30 วัน จึงจะบานหมดช่อ อกเงาะมี 2 ชนิด คือ ดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศ ต้นที่มีดอกตัวผู้จะไม่ติดผล ส่วนต้นที่มีดอกสมบูรณ์เพศนั้นเกสรตัวผู้ไม่ค่อยแข็งแรง ต้องปลูกต้นตัวผู้แซมในสวนเพื่อเพิ่มละอองเกสรหรือฉีดพ่นฮอร์โมนพืชเพื่อช่วยให้เกสรตัวผู้แข็งแรงขึ้น

 วิธีการปลูก
ทำได้ทั้งการขุดหลุมปลูกซึ่งเหมาะกับพื้นที่ที่ยังไม่มีการวางระบบน้ำไว้ก่อนปลูก วิธีนี้ดินในหลุมจะช่วยเก็บความชื้นได้ดีขึ้น และสามารถปลูกโดยวิธีไม่ต้องขุดหลุม(ปลูกแบบนั่งแท่นหรือยกโคก) เหมาะกับพื้นที่ฝนตกชุก วิธีการนี้ระบายน้ำดีน้ำไม่ขังโคนต้น แต่ต้องมีการวางระบบน้ำไว้ก่อนปลูก ซึ่งต้นเงาะจะเจริญเติบโตเร็วกว่าการขุดหลุม ทั้งนี้จุดเน้นที่สำคัญในการปลูก คือ ควรใช้ต้นกล้าที่มีระบบรากดี ไม่ขดงอในถุง แต่ถ้าจะใช้ต้นกล้าขนาดใหญ่ก็ให้ตัดดินและรากที่ขดหรือพันตรงก้นถุงออก

ระยะปลูก
จำนวนการปลูกประมาณ 25-40 ต้นต่อไร ในระยะปลูก 6–8 X 6–8 เมตร ถ้าใช้ระยะปลูกชิด 6 X 6 เมตร จะตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มอย่างใกล้ชิดไม่ให้ทรงพุ่มชนและบังแสงกัน สำหรับสวนที่ใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงาน ควรเว้นระยะระหว่างแถวให้ห่างพอที่เครื่องจักรกลจะเข้าไปทำงาน แต่ให้ระยะระหว่างต้นชิดขึ้น ปลูกในเดือนเมษายน

การดูแลรักษา
ให้น้ำสม่ำเสมอช่วงเจริญทางใบ งดน้ำช่วงปลายฝน ต้นเงาะที่มีใบแก่และสมบูรณ์ทั้งต้นและผ่านสภาพแล้งติดต่อกันนาน 21–30 วัน จะแสดงอาการขาดน้ำ (ใบห่อ) ให้กระตุ้นการออกดอกโดยการให้น้ำในปริมาณมากเต็มที่ จากนั้นให้หยุดดูอาการ 7–10 วัน เมื่อพบว่าตายอดเริ่มพัฒนาเป็นตาดอก ก็เริ่มให้น้ำอีกครั้งปริมาณเท่าเดิมเพื่อเร่งการพัฒนาของตาดอก แต่ถ้าหลังจากให้น้ำครั้งที่ 1 แล้ว พบว่าตา ยอดเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลอมเขียว แสดงว่าให้น้ำมากเกินไปตายอดพัฒนาเป็นตาใบแทนที่จะเป็นตาดอก ต้องหยุดน้ำและปล่อยให้เงาะกระทบแล้งอีกครั้งจนเห็นว่าสีเขียวน้ำตาลของตายอดเปลี่ยนเป็นน้ำตาลทองของตาดอก ก็เริ่มให้น้ำในอัตรา ½ ของครั้งแรก จากนั้นเมื่อแทงช่อดอกและติดผลแล้วควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ เพื่อเร่งพัฒนาการของดอก และเร่งพัฒนาการของผลให้ขึ้นลูกได้เร็วและผลโตคุณค่าทางโภชนาการ

เงาะ เป็นผลไม้อีกชนิดที่มีขายกันอยู่ทั่วไป เป็นผลไม้รสหวานและ อมเปรี้ยวรับประทานเงาะสดสามารถแก้อาการท้องร่วงชนิดรุนแรง ได้ผลดี นอกจากนี้ผลเงาะนำมาต้ม นำน้ำที่ได้มาเป็นยาแก้อักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการอักเสบในช่องปาก และโรคบิดท้องร่วง มีข้อควรระวัง คือเม็ดในของเงาะมีพิษแม้ว่าจะเอาไปคั่วจนสุกแล้ว แต่ถ้ารับประทานมากเกินไปจะมีอาการปวดท้อง เวียนศีรษะ มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ดังนั้นไม่ควรจะรับประทานเม็ดประวัติเงาะสีชมพู

เงาะสีชมพู
มีถิ่นกำเนิดที่บ้านครูกี เมธาวัน ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เป็นพันธุ์ที่ปลูกง่าย มีการเจริญเติบโตดี ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ ให้ผลดกมีผิวและขนเป็นสีชมพูสด เนื้อหนา ฉ่ำน้ำ บอบช้ำง่าย ไม่ทนทานต่อการขนส่งเมื่อประมาณ 100 กว่าปีที่ก่อน จังหวัดจันทบุรีแทบจะไม่มีผลไม้พื้นถิ่นของตัวเองเลย แต่ด้วยสภาพภูมิประเทศเหมาะแก่การทำสวน และอุปนิสัยคนจันทน์ที่ขยัน ช่างสังเกต และชอบการเพาะปลูก เมื่อพบเห็นผลไม้แปลกๆก็มักจะนำเมล็ด กิ่งตอน กลับมาปลูกที่บ้าน ซึ่งเมื่อประมาณกว่า 80 ปีที่ผ่านมา ชาวสวนจันทบุรีหลาย ๆ คน นิยมนำกิ่งตอนและเมล็ดของเงาะบางยี่ขันจากกรุงเทพฯ กลับมาปลูกยังเมืองจันทน์ ที่ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง ก็บังเอิญมีชาวสวนไปพบเงาะต้นหนึ่งที่งอกออกมาจากเมล็ดเงาะบางยี่ขัน เมื่อสังเกตดูก็เห็นว่ามีลักษณะต่างออกไปจากเงาะบางยี่ขัน คือเป็น เงาะ ที่มีสีชมพูสด สวยงาม เนื้อมีรสหวานกรอบ และร่อนจากเมล็ดดีมากชาวบ้านจึงเรียกเงาะพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์มาจากเงาะบางยี่ขันว่า

เงาะพันธุ์หมาจู

เนื่องจากว่าเงาะพันธุ์นี้มีขนยาวสวยงามคล้ายหมาจู ซึ่งเงาะพันธุ์หมาจูนี่มีลักษณะแตกต่างไปจากเงาะบางยี่ขันก็คือ เงาะบางยี่ขันเนื้อไม่ร่อน และผลมีสีส้ม ส่วนเงาะพันธุ์หมาจู เนื้อหวาน ร่อน กรอบ และมีผลเป็นสีชมพูเข้ม แลดูสวยงามโดยเฉพาะยามที่ขึ้นดกเต็มต้น จากนั้นมาเงาะพันธุ์หมาจูปลูก ก็ได้มีการปลูกเพิ่มมากขึ้นแพร่หลายไปทั่วจังหวัดจันทบุรี พร้อมกันนี้ชาวสวนก็ได้เรียกชื่อเงาะพันธุ์นี้เสียใหม่ตามลักษณะสีสันของผลเงาะว่า “เงาะพันธุ์สีชมพู” หรือ “เงาะสีชมพู” หรือ “เงาะสี” ในภาษาชาวบ้านประวัติเงาะโรงเรียน

เงาะโรงเรียน หรือ เงาะพันธุ์โรงเรียน
เป็นเงาะพันธุ์ดีที่สุดในประเทศไทย และเป็นเงาะพันธุ์ดีที่สุดในโลก เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน เงาะโรงเรียน มีชื่อมาจากสถานที่ต้นกำเนิดของเงาะ คือ โรงเรียนนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เงาะต้นแม่พันธุ์มีเพียงต้นเดียว ปลูกด้วยเมล็ดเมื่อ พ.ศ. 2469ผู้ปลูกเงาะต้นแม่พันธุ์นี้ เป็นชาวจีนสัญชาติมาเลเซีย ชื่อ นายเค หว่อง (Mr. K Wong) มีภูมิลำเนาเดิมอยู่เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย เข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุกที่หมู่บ้านเหมืองแกะ ตำบลนาสาร อำเภอนาสาร ตั้งอยู่บนฝั่งคลองฉวาง ตรงข้ามกับที่ตั้งของโรงเรียนนาสารในปัจจุบัน นายเค หว่อง ได้ซื้อที่ดินริมทางรถไฟด้านทิศตะวันตก จำนวน 18 ไร่ สร้างบ้านพักของตนและได้นำเมล็ดพันธุ์เงาะจากปีนัง มาปลูกทางทิศเหนือของบ้านทั้งสิ้น 4 ต้น (ขณะนี้เงาะพันธุ์นี้ที่เมืองปีนังสูญพันธุ์แล้ว) แต่มีเพียงต้นที่สองเท่านั้นที่มีลักษณะพิเศษ เมื่อสุกแล้วรสชาติหวาน หอม เนื้อกรอบ เปลือกบาง เงาะต้นนี้ก็คือ “เงาะพันธุ์โรงเรียน”พ.ศ. 2479 เมื่อ นายเค หว่อง เลิกกิจการเหมืองแร่กลับเมืองปีนัง ได้ขายที่ดินผืนนี้พร้อมบ้านพักแก่กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ทางราชการจึงปรับปรุงให้เป็นอาคารเรียน และย้ายโรงเรียนนาสารจากวัดนาสารมาอยู่ที่อาคารแห่งนี้ เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 แต่เงาะพันธุ์โรงเรียนก็ไม่ได้แพร่หลาย เนื่องจากการส่งเสริมด้านการเกษตรไม่ดีพอ และทางโรงเรียนสงวนพันธุ์ไว้ ไม่ให้แพร่หลายในระหว่าง พ.ศ. 2489-2489 มีผู้ตอนกิ่งไปขยายพันธุ์ได้เพียง 3-4 รายเท่านั้น สาเหตุที่สงวนพันธุ์น่าจะเนื่องมาจาก กลัว “ต้นแม่พันธุ์” จะตาย ต่อมาปี พ.ศ. 2499 นายคำแหง วิชัยดิษฐ์ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านนาสาร และพิจารณาแล้วว่า เงาะต้นนี้เป็นเงาะพันธุ์ดี ควรให้มีการขยายพันธุ์อย่างแพร่หลาย จึงอนุญาตให้คนทั่วไปตอนกิ่งแพร่พันธุ์ได้ในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายชัช อุตตมางกูร ผู้นำชาวสวนเงาะได้ทูลเกล้าฯถวายผลเงาะโรงเรียน และขอพระราชทานชื่อพันธุ์เงาะนี้เสียใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ชื่อเงาะโรงเรียนดีอยู่แล้ว" ตั้งแต่นั้นมา เงาะพันธุ์นี้จึงได้ชื่อว่า เงาะโรงเรียน อย่างเป็นทางการ อนึ่ง เพื่อความเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้จัดงาน วันเงาะโรงเรียน ขึ้นเป็นประจำในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคมของทุกปี

ข้อมูลจาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

hawebthai.com/articles/article-93.html - 

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมในการปลูกเงาะ

     เงาะเป็นไม้ผลที่ขึ้นได้ ในดินเกือบทุกชนิด แต่จะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูงมีความเป็นกรดด่าง (pH) ของดินอยู่ระหว่าง ๕.๕ - ๗ ความลึกของหน้าดินไม่ควรน้อยกว่า ๑ เมตร เงาะจะ ให้ผลผลิตคุณภาพดีได้ในสภาพที่มีความชื้นในอากาศสูง มีผนตกกระจายเกือบตลอดปี ปริมาณน้ำฝนในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า ๑,๕๐๐ มิลลิเมตร ดังนั้น แหล่งที่เหมาะสมต่อการปลูกเงาะจึงเป็นจังหวัดใน ภาคตะวันออกและภาคใต้
พันธุ์
     พันธุ์เงาะที่ปลูกในประเทศมีหลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบันได้แก่ พันธุ์โรงเรียน และพันธุ์สีชมพู ซึ่งเงาะทั้งสองพันธุ์นี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย สรุปได้ดังนี้

พันธุ์โรงเรียน
     เป็นเงาะที่มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด ราคาสูงกว่าเงาะพันธุ์สีชมพู มีผิวสีแดงเข้ม โคนขนมีสีแดง ปลายขนสีเขียว เนื้อหนาแห้ง และล่อนออกจากเมล็ดได้ง่าย เป็นพันธุ์ที่ตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดีแต่มีข้อเสียคือ อ่อนแอต่อการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ ในกรณีที่ขาด น้ำในช่วงของผลอ่อน ผลจะแตกหรือร่วงหลนเสียหายได้ มากกว่าเงาะพันธุ์สีชมพู

พันธุ์สีชมพู
     เป็นพันธุ์ที่ปลูกง่าย มีการเจริญเติบโตดี ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพฟ้า อากาศ ให้ผลดก มีผิวและขนเป็นสีชมพูสด เนื้อหนา ฉ่ำน้ำ ให้ผลดก แต่มีข้อเสียคือ บอบช้ำง่าย ไม่ทนทานต่อการขนส่งรวมทั้งไม่เป็นต้องการของตลาดบาง แห่งจึงทำให้เงาะพันธุ์สีชมพูมีราคาค่อนข้างต่ำการตัดสินใจ เลือกปลูกเงาะพันธุ์ใดนั้นขึ้นอยู่กับความพร้อมของเกษตกร และสภาพพื้นที่โดยเฉพาะในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ และตลาดเป็นสำคัญ

การขยายพันธุ์
     การขยายพันธุ์เงาะทำได้หลายวิธี การเพาะเมล็ด การตอนการทราบกิ่ง และการติดตา แต่ปัจจุบันนิยมขยายพันธุ์โดยการติดตา ซึ่งถ้ามีการปฏิบัติดูแลรักาาหลังจากปลูกเป็นอย่างดี เงาะจะเริ่มให้ผลเมื่อมีอายุประมาณ ๓-๔ ปี
การปลูก

     การเตรียมพื้นที่ปลูก
     ควรเตรียมพื้นที่ปลูกในฤดูแล้งเพราะสามารถทำงานได้สะดวก และสามารถปลูกได้ทันทีตั้งแต่ต้นฤดูฝน ไถกำจัดวัชพืช ตลอดจนตอไม้และไม้ยืนต้นอื่น ๆ ออกให้หมดไถพรวน ปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ

     ระยะปลูก
     เนื่องจากเงาะเป็นไม้ผลที่มีทรงพุ่มกว้างและออกดอกที่ปลายทรงพุ่ม จึงจำเป็นต้องปลูกเงาะเจริญเติบโตแบะให้ผลผลิตได้อย่างเต็มที่ และเพื่อความสะดวกในการปฎิบัติฝานในสวน ระยะปลูกที่เหมาะสมอยู่ในช่วง ๘-๑๐ x ๘-๑๐ เมตร ในพื้นที่ ๑ ไร่ จะปลูกเงาะได้ประมาณ ๑๖-๒๐ ต้น และเพื่อเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกิดรายได้ในช่วงเงาะยังไม่ให้ผลผลิตก็ควรจะปลูกพืช แซมประเภทพืชผักหรือไม้ผลประเภทกล้วย มะละกอ แซมในระหว่างแถวเงาะ

     การเตรียมหลุมปลูก
     หลุมที่ปลูกเงาะควรมีขนาดใหญ่น้อยกว่า ๕๐x๕๐x๕๐ เซนติเมตร ถ้าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ หลุมปลูกควรมีขนาดประมาณ ๑x๑x๑ เมตร ดินที่ขุดขึ้นมาให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต ประมาณ ๒ กระป๋องนมและปุ๋ยคอกแห้งประมาณ ๑ บุ้งกี๋ คลุกเคล้ากับดินปลูกให้ทั่วแล้วกลบลงไปในหลุม ให้ระดับสูงกกว่าเดิมประมาณ ๒๐-๒๕ เซนติเมตร

     วิธีปลูก
     คุ้ยดินที่เตรียมไว้ให้เป็นหลุมเล็ก ๆ วางกิ่งพันธุ์ที่นำออกมาจากภาชนะลงตรงกลางหลุม แล้วกลบดิน ให้สูงกว่าระดับดินเดิมไม่เกิน ๑ นิ้ว ระวังอย่าให้สูงถึงรอยแผลที่ติดตา จากนั้นใช้ไม้เป็นหลักผูกยึด กิ่งพันธุ์ดีไว้กับหลักเพื่อป้องกันต้นล้ม และจะต้องรดน้ำตามทันทีเพื่อช่วยให้เม็ดดินกระชับรากและใช้ทาง มะพร้าวช่วยพรางแสงแดดให้กับต้นเงาะทางทิศตะวันออก/ตะวันตก จนกว่าเงาะจะตั้งตัวได้

การปฏิบัติดูแลรักษา

     การให้น้ำ
     เงาะที่เริ่มปลูกจะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจนกว่าเงาะจะตั้งตัวได้ปริมาณ และความถี่ของการให้น้ำขึ้นกับชนิดของดิน และปริมาณน้ำฝนเป็นหลัก ปกติแล้วควรให้ ๗-๑๐ วัน / ครั้ง เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งควรหาหญ้าแห้งหรือฟางแห้งคลุมบริเวณโคนต้นเพื่อ รักษาความชื้นในดิน

     ส่วนเงาะที่ให้ผลแล้วนั้น ในระยะใกล้จะออกดอกจะมีการบังคับน้ำโดยให้น้ำปริมาณที่น้อยมาก เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อนและเมื่อเงาะแทงช่อดอกออกมาให้สังเกตว่า มีใบอ่อนแซมซ่อมดอกออกามากหรือน้อย ถ้ามีใบอ่อนแซมซ่อมดอกมากก็งดการให้น้ำสักระยะจนใบอ่อนที่แซม มานั้นร่วงจนหมดจึงค่อยเริ่มให้น้ำ เพื่อให้ตาดอกเจริญต่อไป โดยจะให้ประมาณ ๑ ใน ๓ ของการ ให้น้ำตามปกติ และเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อดอกเริ่มปานและติดผล ในช่วงการเจริญเติบโตของผลจะ ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าเงาะได้รับน้ำน้อยเกินไป ผลจะเล็กผลลีบและมีเปลือกหนา และในช่วงที่ใกล้จะเก็บเกี่ยวถ้าฝนทิ้งช่วงต้องมีการดูลให้ต้น เงาะได้น้ำอย่างสม่เสมอ เพราะถ้าเงาะขนาดน้ำแล้วเกิดมีฝนตกลงมา ผลเงาะจะได้รับ น้ำอย่างกระทันหัน จะทำให้ผลแตกเสียหายได้

     การใส่ปุ๋ย
     การใส่ปุ๋ยเงาะที่ยังไม่ให้ผล ให้ใส่ปุ๋ยอัตรา ๑:๑:๑ เช่น ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ต้นเงาะอายุ ๑-๒ ปี ใส่ปุ๋ยประมาณ ๑/๒-๑ กิโลกรัม / ต้น และเพิ่มขึ้นประมาณ ๑/๒ กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ ๒ ครั้ง ในตอนต้นและปลายฤดูฝน ให้ใส่ปุ๋ยหลังจากตัดแก่งกิ่งและ กำจัดวัชพืชแล้วโดยใส่ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์
     การใส่ปุ๋ยเงาะที่ให้ผลแล้ว ปริมาณการใส่ปุ๋ยให้พิจารณาจากอายุต้น ความอุดมสมบูรณ์ของต้น ชนิดของดิน และปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยวในฤดูที่ผ่านมา การใส่ปุ๋ยเงาะที่ให้ผลแล้ว จะให้ใน ๓ ช่วง ดังนี้
     - การใส่ปุ๋ยเมื่อเก็ยเกี่ยวผลเงาะเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยจะต้องรีบตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชโดยเร็ว ให้ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา ๑:๑:๑ เช่น ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ต้นละ ๒-๓ กิโลกรัม และปุ๋ยอินทรีย์ เช่น มูลสัตว์เก่าต้นละ ๒-๓ ปิ๊บ การใส่ปุ๋ยครั้งนี้อยู่ในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันน้ำฝนชะพาให้ปุ๋ยสูญเสีย ควรใส่ปุ๋ยเป็นหลุม ๆ รอบทรงพุ่ม โดยใช้ปลายแหลมแทงดินเป้นรู ๆ หรือใช้จอบขุดดินเป็นหลุม หยอดปุ๋ยแล้วกลบปิดปากหลุมทำเป็นระยะ ๆ รอบทรงพุ่ม การใส่ปุ๋ยใน ครั้งนี้เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ของต้นให้พร้อมที่จะออกผลในฤดูกาลถัดไป
     - การใส่ปุ๋ยก่อนการออกดอก พอปลาย ๆ ฝน เมื่อฝนเบาบางลงหรือฝนเริ่มทิ้งช่วงให้ใส่ปุ๋ยเพื่อช่วยและตัวหลังสูง เช่น ปุ๋ยสูตร ๘-๒๔-๒๔ หรือ ๙*๒๔-๒๔ ประมาณ ๒-๓ กิโลกรัม /ต้น
     - การใส่ปุ๋ยเมื่อติดผลแล้ว หลังจากดอกบานและติดตามเล็ก ๆ นอกจากจะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอแล้ว จะต้องให้ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ หรือ ๑๖-๑๖-๑๖ ปริมาณ ๑-๒ กิโลกรัม / ต้น และในระยะก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ ๑ เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร ๑๒-๑๒-๑๗-๒ หรือ๑๓-๑๓-๒๑ หรือ ๑๔-๑๔-๒๕ อัตรา ๑-๒ กิโลกรัม/ต้น เพื่อเป็นการบำรุงผลให้มีขนาดและคุณภาพดีขึ้น การใส่ปุ๋ยในครั้งนี้จะใส่ในช่วงฤดูแล้ง ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำฝนชะพาปุ๋ยสูญเสีย จึงใส่ปุ๋ยได้โดยการหว่านลงทั่วบริเวณทรงพุ่ม แล้วใช้คราดกลบบาง ๆ และรดน้ำเพื่อช่วยให้ปุ๋ยละลายซึมลงดิน

     การใส่ปุ๋ยทุกครั้งจะต้องกระทำหลังจากการกำจัดวัชพืชแล้ว

     การตัดแต่งกิ่ง
     ให้ตัดแต่งกิ่งก่อนการใส่ปุ๋ย โดยตัดกิ่งต่ำที่ระดิน กิ่งที่เป็นโรคกิ่งแห้งตายออกให้หมด รวมทั้งกิ่งที่อยู่ในทรงพุ่มที่ไม่สามารถยื่นปลายยอดดอกไปรับแสงแดดได้ เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง ในเงาะที่ให้ผลแล้วหลังจากการเก็บเกี่ยว ผลผลิตแล้วให้รีบตัดแต่งกิ่งโดยเร็วจะต้องตัดก้านผลที่ยังเหลือค้างอยู่ออกให้หมด และต้องตัดลึกเข้าไปอีกประมาณ ๑ คืบเพื่อให้มีการแตกยอดใหม่ที่ดี

     การป้องกันกำจัดวัชพืช
     การกำจัดวัชพืชนอกจากจะต้องกระทำครั้งก่อนการใส่ปุ๋ยแล้วยังจำเป็น ต้องคอยดูแลอยุ่ตลอดเวลาป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นในสวนอย่างหนาแน่น เพราะนอกจากจะไปแย่งอาหารจากเงาะแล้วยังเป็นแหล่งสะสมของ โรคและแมลงอีกด้วย ซึ่งอาจจะใช้รถตัดหญ้าหรือใช้สารเคมีควบคุม
    
     -เงาะขี้ครอก
     อาการที่เกิดขึ้น คือผลเงาะไม่เจริญเติบโต มีขนาดเล็กเท่าปลายนิ้วก้อย หรือเจริญเติบโตได้แต่ลีบแบนไม่สมบูรณ์ โดยจะเป็นทั้งช่อหรือบางส่วนของช่อ เมื่อถึงกำหนดมาจากดอกเงาะไม่ได้รับการผสมเกสรซึ่งตามธรรมชาติ ต้นเงาะมี ๒ ประเภท คือ เงาะตัวผู้จะให้แต่ดอกตัวผู้ล้วน ๆ ซึ่งจะมีเกสรตัวผู้ที่แข็งแรงมาก ไม่มีเกสรตัวเมีย จึงมีแต่ดอกไม่ให้ผล ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ เงาะกระเทย มัทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียซึ่งเป็นต้นเงาะที่ปลูกทั่วไปในปัจจุบัน เงาะกระเทยมีเกสรตัวเมียประกอบด้วยรังไข่ ๒ อัน เมื่อได้รับการผสมเกสรแล้ว ปกติรังไข่จะเจริญเพียงอันเดียว ส่วนเกสรตัวผู้ไม่แข็งแรง ดังนั้นการเลือกปลูกแต่ต้นกระเทยเพียงอย่างเดียวแล้วปล่อยให้มีการ ผสมเกสรกันเองตามธรรมชาติ การผสมเกสรจะเกิดไม่ทั่วถึง ทำให้เกิดอาการเงาะขี้ครอกได้

     การแก้ไขโดยการช่วยผสมเกสรทำได้หลายวิธีเช่น
     -ใช่ช่อดอกตัวผู้ต้นตัวผู้ที่กำลังบานเต็มที่มาแขวนไว้ที่ต้นเงาะที่ต้องการผสมเกสร และมีดอกบานเต็มที่แล้ว แขวนเป็นจุด ๆ ต้นละ ๓-๔ จุด เกสรตัวผู้จะปลิวไปตามลม และจะมีแมลงเช่นผึ้งช่วยผสมเกสร
     -ปลูกต้นตัวผู้แซมในสวนเงาะเป็นจุด ๆ
     -น้ำตาลจากต้นตัวผู้มาติดตาไว้บนต้นกระเทยบางกิ่ง
     -ใช้สารควบคุมการเจริฐเติบโตหรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่าฮอร์โมพืช เป็นวิธีที่ที่นิยมกันในปัจจุบัน ให้ใช้ฮอร์โมนเอ็น เอ เอ ๑-๑.๕ ซีซี ต่อน้ำ ๑ ลิตร ฮีดพ่นเมื่อดอกบานภายในช่อประมาณ ๒๕-๓๐%ให้ฉีดพ่นช่อดอกเป็นจุด ๆ ประมาณ ๔-๕ จุด กระจายทั่วต้น หรือจะพ่นเป็นทางยาวพาดผ่านต้น ซึ่งฮอร์โมนเอ็น เอ เอ จะช่วยให้ดอกกระเทยมีเกสรตัวผู้ที่แข็งแรง แต่รังไข่จะไม่ทำงาน ฉะนั้นเมื่อดอกบานแล้วก็จะร่วงหล่นไปไม่ติดผล

     แต่อย่างไรก็ตาม ในทุกวิธีนั้นถ้าจะให้ผลดีมากยิ่งขึ้นการเลี้ยงผึ้งหรือปล่อยผึ้งให้ช่วยผสมเกสร ในช่วงดอบานจะทำให้การผสมเกสรเป็นไปอย่างสมบูรณ์มากขึ้น แต่ข้อควรระวังคือ ต้องงดการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงในช่วงการ ปล่อยให้ผึ้งช่วยผสมเกสร
     -ขอบใบแห้งหรือปลายใบแห้ง
     จะพบอาหารที่ปลายใบหรือขอบใบของเงาะแห้ง มีสีน้ำตาลถ้าเป็นมาก ๆ ใบจะแห้งและม้วนงอ เกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น
     -ในช่วงแล้ง ความชื้นในอากาศมีน้อย เงาะได้รับน้ำไม่เพียงพอป้องกัน และแก้ไขได้โดยการรดน้ำให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ
     -ระบบรากถูกทำลายหรือถูกรบกวนโดยแมลงบาปงระเภท แก้ไขได้โดยการใช้สารเคมีพวกไดเมทโธเอท หรือคลอร์ไพริฟอส ฉีดพ่น
     -การถูกทำลายด้วยสารเคมี เช่น ใส่ปุ๋ยเคมีมากเกินไป ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชไม่ถูกวิธี เช่น ใช้ความเข้มข้นสูงเกินไป ฉีดพ่นในเวลาที่ไม่เหมาะสม หรือใบอาจ จะถูกยากำจัดวัชพืชทำให้ปลายใบหรือขอบใบไหม้
     -ช่อดอกแห้ง
     เกิดจากสภาพอากาศแห้งแล้ง ซึ่งดอกเงาะในรุ่นแรกจะแห้ง การติดผลน้อยมาก แต่ถ้าหากช่อดอกยัง มีความแข็งแรงและได้รับความชุ่มชื้นเพียงพอก็สามารถแทงช่อดอก ต่อจากเดิมได้อีก ซึ่งเรียกว่า ช่อดอกหางแลนหรือหางแย้ และสาเหตุที่ทำให้ดอกร่วง ช่อดอกแห้งคือเพลี้ยไฟ

     การเก็บเกี่ยว
     เงาะจะเริ่มออกดอกเมื่อปลูกได้ประมาณ ๓-๔ ปี ผลผลิตของเงาะจะมากน้อยแตกต่างกันไปขึ้นกับพันธุ์ อายุ การปฏิบัติดูแลรักษาของชาวสวน ได้มีการเก็บตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการจังหวัดจันทบุรีพบว่าเงาะ พันธุ์สีชมพูมีอายุประมาณ ๑๐ ปี ให้ผลผลิตประมาณ ๓,๕๐๐ กก./ไร่ เงาะพันธุ์โรงเรียน อายุประมาณ ๑๐ ปี เช่นกันให้ผลผลิตประมาณ ๒,๐๐๐ กก./ไร่

     โดยทั่วไปในภาคตะวันออกเงาะจะออกดอกประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และจะมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตออกสู่ตลาดปลายเดือนเฒาษยน-กรกฎาคม ผลผลิตออกมากที่สุดประมาณเดือนมิถุนายน ส่วนเงาะจากภาคใต้จะออกดอกประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน เก็บผลเดือนกรกฎาคม-กันยายน ผลผลิตออกมากที่สุดในเดือนสิงหาคม

     ดัชนีการเก็บเกี่ยว
     เงาะเริ่มผลิตตาดอกจนถึงผลแก่เก็บเกี่ยวได้ใช้เวลาประมาณ ๑๓๐-๑๖๐ วัน ตั้งแต่ดอกเริ่มบานจนบานหมดช่อและ ผสมเกสรเสร็จใช้เวลาประมาณ ๒๕-๓๐ วันและตั้งแต่ผสมติดจนถึงผลแก่เก็บเกี่ยวได้ใช้เวลา ๑๐๐-๑๒๐ วัน ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับ สภาพธรรมชาติและพันธุ์เงาะ
     อายุของเงาะที่เก็บเกี่ยวมีความสำคัญมากต่อสุขภาพ ต่ออายุการเก็บรักาษ และการวางจำหน่าย ผลเงาะที่อ่อนหรือแก่เกินไป สีผลไม่สวย คุณภาพและรสชาติด้อย สุรพงษ์ โกสิยะจินดา ได้แนะนำวัยของเงาะ ที่เหมาะสมต่อการเก็บเกี่ยวไว้ดังนี้

     ผลที่ ๑ และ ๒     หลังจากเริ่มเปลี่ยนสีได้ ๑๐ วัน และ ๑๓ วันผลอ่อนเกินไป
     ผลที่ ๓          หลังจากเริ่มเปลี่ยนสีได้ ๑๖ วัน มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี
     ผลที่ ๔ และ ๕     หลังจากเริ่มเปลี่ยนสีได้ ๑๙ วัน และ ๒๒ วัน มีคุณภาพดีมากทั้งสีและรสชาติ
     ผลที่ ๖ และ ๗     หลังจากเริ่มเปลี่ยนสีได้ ๒๕ วัน และ ๒๘ วัน มีคุณภาพดีเช่นกันแต่เหมาะสำหรับตลาดในประเทศ
     ผลที่ ๘          แก่เกินไป
     ผลที่ ๑ และ ๒     มีคุณภาพด้ยผลอ่อนเกินไป
     ผลที่ ๓-๗        มีคุณภาพดีทั้งสีและรสชาติ
     ผลที่ ๘          มีรสหวานมาก แก่จัดเกินไปก
 
    วิธีการเก็บเกี่ยว 
     ไม่ควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่มีแดดจัดเพราะจะทำให้เงาะสูญเสียน้ำ และเหี่ยวอย่างรวดเร็ว โดยปกติแล้วจะเก็บเกี่ยวเงาะในช่วงเช้า โดยใช้กรรไกรตัดในระยะที่มือเอื้อมถึง หรือจะใช้บันไดอลูมิเนียม หรือม้านั่งสูงปีนขึ้นไปตัด หรือใช้บันไดอลูมิเนียม หรือม้านั่งสูงปีนขึ้นไปตัด หรือใช้บันไดไม้ไผ่พาดกิ่งนอกทรงพุ่ม แล้วปีนขึ้นไป ตัดผลเงาะทั้งช่อใส่เข่งหรือตะกร้าจนเต็มแล้วใช้เชือกโรยลงมาให้คนที่อยู่ข้าง ล่าวถ่ายใส่ภาชนะอื่นเพื่อลำเลียงไปดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

     ควรหลีกเลี่ยงการตัดช่อเงาะให้หลุดจากต้นลงมากระทบพื้นดินโดยตรง เพราะจะทำให้ผลเงาะซ้ำ ผลแตก จนหัก มีตำหนิและเกิดการเน่า เสียหลังจากการเก็บเกี่ยวอย่างรวดเร็ว ถ้าจะใช้มีดหรือกรรไกรต่อด้ามยาวตัดลงก็ควรมีตาข่ายขึงรอง รับเพื่อลดแรงกระแทก ก็จะลดความเสียหายได้บ้าง

     ปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว
     หลังจากเก็บเกี่ยวผลเงาะลงมาแล้วให้รีบลำเลียงไปไว้ในที่ร่มโดยเร็ว ซึ่งอาจจะเป็นใต้ต้นเงาะในสวน หรือโรงเรือน โดยมีการปฎิบัติดังนี้
     ๑.ตัดแต่งช่อเงาะให้เป็นผบเดี่ยว ๆ โดยตัดก้านให้ชิดผล คัดผลที่มีลักษณะไม่ดี เช่น เจริญเติบโตไม่เต็มที่ มีรอยช้ำ รอยแตก หรือรอยแผลจากการเก็บเกี่ยว และผลที่มีรอย ตำหนิจากการทำลายของโรคและแมลงออกให้หมด
     ๒.สำหรับตลาดในประเทศ ชาวสวนจะบรรจุเงาะลงในเข่งและรดน้ำเพื่อเพิ่มความชื้นให้กับ ผลเงาะและรอพ่อค้าคนกลางมารับซื้อต่อไป
     ๓.ถ้าเป็นการส่งออกไปต่างประเทศ ชาวสวนจะต้องงดรดน้ำเงาะก่อนการเก็บเกี่ยว ประมาณ ๒-๓ วัน และนอกจากเก็บเกี่ยวและคัดผลเสียออกด้วยความพิถีพิถันแล้ว จะต้องทำการตัดขนาดและใช้แปรงขนอ่อนปัดแมลงรวมทั้งเศษฝุ่น ผงที่ติดมากับผลออกให้หมดแล้วจุ่มผลเงาะในสารละลายบีโนมิล ความเข้มข้น ๕๐๐ ส่วนในล้านส่วน (บีโนมิล ๑๐ ซีซีต่อน้ำ ๒๐ ลิตร) เสร็จแล้วผึ่งให้แห้ง แล้วจึงบรรจุหีบห่อ การบรรจุหีบห่อเงาะเพื่อการส่งออกควรใช้กล่อง กระดาษลูกฟูกขนาด ๔๐๐x๓๐๐x๑๐๐ มิลลิเมตร น้ำหนักบรรจุต่อกล่องประมาณ ๔-๕ กิโลกรัม



http://jiamjit.awardspace.info/index.php?option=com_content&task=view&id=13&Itemid=44

http://jiamjit.awardspace.info/index.php?option=com_content&task=view&id=13&Itemid=44 



ประวัติเงาะสีชมพู

เงาะสีชมพู มีถิ่นกำเนิดที่บ้านครูกี เมธาวัน ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เป็นพันธุ์ที่ปลูกง่าย มีการเจริญเติบโตดี ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ ให้ผลดกมีผิวและขนเป็นสีชมพูสด เนื้อหนา ฉ่ำน้ำ บอบช้ำง่าย ไม่ทนทานต่อการขนส่ง


เมื่อประมาณ 100 กว่าปีที่ก่อน จังหวัดจันทบุรีแทบจะไม่มีผลไม้พื้นถิ่นของตัวเองเลย แต่ด้วยสภาพภูมิประเทศเหมาะแก่การทำสวน และอุปนิสัยคนจันทน์ที่ขยัน ช่างสังเกต และชอบการเพาะปลูก เมื่อพบเห็นผลไม้แปลกๆก็มักจะนำเมล็ด กิ่งตอน กลับมาปลูกที่บ้าน ซึ่งเมื่อประมาณกว่า 80 ปีที่ผ่านมา ชาวสวนจันทบุรีหลาย ๆ คน นิยมนำกิ่งตอนและเมล็ดของเงาะบางยี่ขันจากกรุงเทพฯ กลับมาปลูกยังเมืองจันทน์ ที่ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง ก็บังเอิญมีชาวสวนไปพบเงาะต้นหนึ่งที่งอกออกมาจากเมล็ดเงาะบางยี่ขัน เมื่อสังเกตดูก็เห็นว่ามีลักษณะต่างออกไปจากเงาะบางยี่ขัน คือเป็นเงาะที่มีสีชมพูสด สวยงาม เนื้อมีรสหวานกรอบ และร่อนจากเมล็ดดีมาก


ชาวบ้านจึงเรียกเงาะพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์มาจากเงาะบางยี่ขันว่า เงาะพันธุ์หมาจู เนื่องจากว่าเงาะพันธุ์นี้มีขนยาวสวยงามคล้ายหมาจู ซึ่งเงาะพันธุ์หมาจูนี่มีลักษณะแตกต่างไปจากเงาะบางยี่ขันก็คือ เงาะบางยี่ขันเนื้อไม่ร่อน และผลมีสีส้ม ส่วนเงาะพันธุ์หมาจู เนื้อหวาน ร่อน กรอบ และมีผลเป็นสีชมพูเข้ม แลดูสวยงามโดยเฉพาะยามที่ขึ้นดกเต็มต้น จากนั้นมาเงาะพันธุ์หมาจูปลูก ก็ได้มีการปลูกเพิ่มมากขึ้นแพร่หลายไปทั่วจังหวัดจันทบุรี พร้อมกันนี้ชาวสวนก็ได้เรียกชื่อเงาะพันธุ์นี้เสียใหม่ตามลักษณะสีสันของผลเงาะว่า “เงาะพันธุ์สีชมพู” หรือ “เงาะสีชมพู” หรือ “เงาะสี” ในภาษาชาวบ้าน

ประวัติเงาะโรงเรียน

เงาะโรงเรียน หรือ เงาะพันธุ์โรงเรียน เป็นเงาะพันธุ์ดีที่สุดในประเทศไทย และเป็นเงาะพันธุ์ดีที่สุดในโลก เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน เงาะโรงเรียน มีชื่อมาจากสถานที่ต้นกำเนิดของเงาะ คือ โรงเรียนนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เงาะต้นแม่พันธุ์มีเพียงต้นเดียว ปลูกด้วยเมล็ดเมื่อ พ.ศ. 2469


ผู้ปลูกเงาะต้นแม่พันธุ์นี้ เป็นชาวจีนสัญชาติมาเลเซีย ชื่อ นายเค หว่อง (Mr. K Wong) มีภูมิลำเนาเดิมอยู่เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย เข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุกที่หมู่บ้านเหมืองแกะ ตำบลนาสาร อำเภอนาสาร ตั้งอยู่บนฝั่งคลองฉวาง ตรงข้ามกับที่ตั้งของโรงเรียนนาสารในปัจจุบัน นายเค หว่อง ได้ซื้อที่ดินริมทางรถไฟด้านทิศตะวันตก จำนวน 18 ไร่ สร้างบ้านพักของตนและได้นำเมล็ดพันธุ์เงาะจากปีนัง มาปลูกทางทิศเหนือของบ้านทั้งสิ้น 4 ต้น (ขณะนี้เงาะพันธุ์นี้ที่เมืองปีนังสูญพันธุ์แล้ว) แต่มีเพียงต้นที่สองเท่านั้นที่มีลักษณะพิเศษ เมื่อสุกแล้วรสชาติหวาน หอม เนื้อกรอบ เปลือกบาง เงาะต้นนี้ก็คือ “เงาะพันธุ์โรงเรียน”


พ.ศ. 2479 เมื่อ นายเค หว่อง เลิกกิจการเหมืองแร่กลับเมืองปีนัง ได้ขายที่ดินผืนนี้พร้อมบ้านพักแก่กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ทางราชการจึงปรับปรุงให้เป็นอาคารเรียน และย้ายโรงเรียนนาสารจากวัดนาสารมาอยู่ที่อาคารแห่งนี้ เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 แต่เงาะพันธุ์โรงเรียนก็ไม่ได้แพร่หลาย เนื่องจากการส่งเสริมด้านการเกษตรไม่ดีพอ และทางโรงเรียนสงวนพันธุ์ไว้ ไม่ให้แพร่หลายในระหว่าง พ.ศ. 2489-2489 มีผู้ตอนกิ่งไปขยายพันธุ์ได้เพียง 3-4 รายเท่านั้น สาเหตุที่สงวนพันธุ์น่าจะเนื่องมาจาก กลัว “ต้นแม่พันธุ์” จะตาย ต่อมาปี พ.ศ. 2499 นายคำแหง วิชัยดิษฐ์ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านนาสาร และพิจารณาแล้วว่า เงาะต้นนี้เป็นเงาะพันธุ์ดี ควรให้มีการขยายพันธุ์อย่างแพร่หลาย จึงอนุญาตให้คนทั่วไปตอนกิ่งแพร่พันธุ์ได้
 

ในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายชัช อุตตมางกูร ผู้นำชาวสวนเงาะได้ทูลเกล้าฯถวายผลเงาะโรงเรียน และขอพระราชทานชื่อพันธุ์เงาะนี้เสียใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ชื่อเงาะโรงเรียนดีอยู่แล้ว" ตั้งแต่นั้นมา เงาะพันธุ์นี้จึงได้ชื่อว่า เงาะโรงเรียน อย่างเป็นทางการ อนึ่ง เพื่อความเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้จัดงาน วันเงาะโรงเรียน ขึ้นเป็นประจำในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคมของทุกปี


อ้างอิง
  1. ^ อิทธิฤทธิ อึ้งวิเชียร. เงาะ. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
  2. ^ กรมวิชาการเกษตร (2546). เอกสารวิชาการ ศัตรูเงาะ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  3. ^ กรมส่งเสริมการเกษตร. เงาะ. [online]. เข้าถึงได้จาก http://www.doae.go.th/plant/rambutan.htm
  4. ^ http://www.geocities.com/psplant/pomo02
  5. ^ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. เงาะ [online] เข้าถึงได้จาก http://www.mof.or.th/fruit-ngaw.htm
  6. ^ ผู้จัดการออนไลน์ 15 กรกฎาคม 2547 http://www.manager.co.th/
  7. ^ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. [Online] เข้าถึงได้จาก http://202.142.223.167/th/culture/view.php?ItemID=99&GroupName=S
  8. ^ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เงาะโรงเรียน. [Online] เข้าถึงได้จาก http://school.obec.go.th/webkrusun/plant/title6/rambut.htm
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%B0



เงาะจัดเป็นไม้ผลที่ขึ้นได้ดีในสภาพอากาศร้อนชื้น เช่นจังหวัดในทางภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง จันทบุรี ตราด และในเขตจังหวัดภาคใต้ เช่น ชุมพร สุราษฎร์ธานี พันธุ์เงาะที่นิยมปลูกกันมาก ได้แก่ พันธุ์สีชมพู และโรงเรียน เนื่องจากเงาะเป็นพืชที่ต้องการผสมข้าม ด้วยเหตุผลนี้ต้นเงาะที่ได้จากการเพาะเมล็ดจึงมีการกลายพันธุ์ ดังนั้นวิธีการเพาะเมล็ดจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นตอสำหรับการติดตา ต่อกิ่ง และทาบกิ่ง

การเพาะเมล็ด
               
เมื่อแกะเมล็ดออกจากเนื้อควรนำไปเพาะทันที เมล็ดจะงอกสูงถึง 87-95 เปอร์เซ็นต์ หากเก็บไว้นาน การงอกจะลดลงอย่างรวดเร็ว ถ้าเก็บนานเกิน 1 สัปดาห์ การงอกเหลือเพียง 50-60 เปอร์เซ็นต์ การเพาะเมล็ดอาจเพาะในภาชนะหรือในแปลงวัสดุที่ใช้เพาะ คือ ผสมขี้เถ้าแกลบอัตราส่วน 1:1 ในกรณีเพาะลงถุงใช้ถุงละ 1-2 เมล็ด ส่วนการเพาะในแปลงควรวางเมล็ดให้มีระยะห่าง(ในกรณีที่ทำการติดตาในแปลง) พอที่จะปฏิบัติงานได้สะดวกหลังเพาะเมล็ดได้ 9-19 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก               

เมล็ดเงาะบางพันธุ์ทำการแยกเนื้อออกได้ยากหรือเมื่อทำมากๆต้องสิ้นเปลืองเวลาเพื่อการแยกเอาเนื้อออก สำหรับเทคนิคในการที่จะทำให้เนื้อแยกออกจากเมล็ดได้ง่าย สามารถทำได้ คือ แช่เมล็ดที่มีเนื้อติดในกรดเกลือเข้มข้นเป็นเวลานาน 10 นาที จากนั้นนำเมล็ดมาแช่ในน้ำไหลวิธีนี้สามารถทำให้แกะเอาเนื้อออกจากเมล็ดได้รวดเร็วและง่ายกว่าเมล็ดที่ไม่ได้แช่น้ำกรด 

การปักชำ
               
ยังไม่ปรากฏรายงานผลสำเร็จจากการปักชำเงาะที่พอจะทำเป็นการค้าได้ 

การตอนกิ่ง
               
วิธีตอนกิ่งในเชิงการค้านั้น ไม่นิยมทำเนื่องจากกิ่งตอนไม่มีระบบรากแก้ว นอกจากนั้นยังสิ้นเปลืองกิ่งเป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามมีรายงานถึงการตอนกิ่งซึ่งทำในประเทศมาเลเซีย อินเดีย และศรีลังกา วิธีทำโดยเลือกกิ่งที่มีอายุประมาณ 12-18 เดือน จะเป็นกิ่งที่เกิดรากได้ดี รากจะเกิดประมาณ 6-12 สัปดาห์ ภายหลังการตอนกิ่ง 

การเสียบกิ่ง
               
แม้จะเป็นการขยายพันธุ์ที่ไม่ค่อยนิยม แต่ก็สามารถทำได้ โดยวิธีการเสียบกิ่งแบบเสียบเปลือก ต้นตอที่ใช้ควรมีอายุประมาณ 4-12 เดือน และสามารถลอกเปลือกได้ดี การเตรียมรอยแผลของต้นตอ ทำโดยกรีดต้นตอเป็น 2 รอย ขนานกับลำต้นยาวประมาณ 1 นิ้วลอกเปลือกออก และตัดเปลือกออกบางส่วน การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี เลือกกิ่งพันธุ์ดีที่มีความยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ริบใบออกให้หมด ทำการเฉือนตรงโคนกิ่งเป็นรูปคล้ายปากฉลามยาวประมาณ 1 นิ้ว และเฉือนด้านตรงข้ามยาวประมาณ 0.5 นิ้ว สอดรอยแผลของกิ่งพันธุ์ดีลงในรอยแผลของต้นตอ พันด้วยพลาสติก จากนั้นนำถุงพลาสติกคลุมที่ยอด ในกรณีที่ทำมากๆ ควรนำใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ เก็บไว้ในร่มประมาณ 30 วัน รอยแผลจะประสานกันสนิททำการเปิดถุงพลาสติก 

การทาบกิ่ง
               
การเตรียมต้นตอโดยเฉพาะเมล็ดลงในถุงพลาสติก หรือเมื่อต้นตออายุได้ประมาณ 1 ปีอาจย้ายปลูกแบบเปลือยรากในถุงที่มีเครื่องปลูกเบาๆ เนื่องจากวิธีการทาบกิ่งเงาะจะทำการทาบกิ่งคล้ายมะขาม คือ นำถุงต้นกล้าขึ้นไปทาบบนต้น และต้องใช้ไม้ค้ำยันผูกยึดกิ่งทาบ วิธีการนี้ต้องคอยหมั่นรดน้ำต้นตออยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้จึงไม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย  



สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมในการปลูกเงาะ

เงาะเป็นไม้ผลที่ขึ้นได้ ในดินเกือบทุกชนิด แต่จะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูงมีความเป็นกรดด่าง (pH) ของดินอยู่ระหว่าง ๕.๕ - ๗ ความลึกของหน้าดินไม่ควรน้อยกว่า ๑ เมตร เงาะจะ ให้ผลผลิตคุณภาพดีได้ในสภาพที่มีความชื้นในอากาศสูง มีผนตกกระจายเกือบตลอดปี ปริมาณน้ำฝนในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า ๑,๕๐๐ มิลลิเมตร ดังนั้น แหล่งที่เหมาะสมต่อการปลูกเงาะจึงเป็นจังหวัดใน ภาคตะวันออกและภาคใต้

พันธุ์
พันธุ์เงาะที่ปลูกในประเทศมีหลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบันได้แก่ พันธุ์โรงเรียน และพันธุ์สีชมพู ซึ่งเงาะทั้งสองพันธุ์นี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย สรุปได้ดังนี้

พันธุ์โรงเรียน
เป็นเงาะที่มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด ราคาสูงกว่าเงาะพันธุ์สีชมพู มีผิวสีแดงเข้ม โคนขนมีสีแดง ปลายขนสีเขียว เนื้อหนาแห้ง และล่อนออกจากเมล็ดได้ง่าย เป็นพันธุ์ที่ตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดีแต่มีข้อเสียคือ อ่อนแอต่อการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ ในกรณีที่ขาด น้ำในช่วงของผลอ่อน ผลจะแตกหรือร่วงหลนเสียหายได้ มากกว่าเงาะพันธุ์สีชมพู

พันธุ์สีชมพู
เป็นพันธุ์ที่ปลูกง่าย มีการเจริญเติบโตดี ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพฟ้า อากาศ ให้ผลดก มีผิวและขนเป็นสีชมพูสด เนื้อหนา ฉ่ำน้ำ ให้ผลดก แต่มีข้อเสียคือ บอบช้ำง่าย ไม่ทนทานต่อการขนส่งรวมทั้งไม่เป็นต้องการของตลาดบาง แห่งจึงทำให้เงาะพันธุ์สีชมพูมีราคาค่อนข้างต่ำการตัดสินใจ เลือกปลูกเงาะพันธุ์ใดนั้นขึ้นอยู่กับความพร้อมของเกษตกร และสภาพพื้นที่โดยเฉพาะในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ และตลาดเป็นสำคัญ

การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์เงาะทำได้หลายวิธี การเพาะเมล็ด การตอน การทราบกิ่ง และการติดตา ปัจจุบันนิยมขยายพันธุ์โดยการติดตา ซึ่งถ้ามีการปฏิบัติดูแลรักษาหลังจากปลูกเป็นอย่างดี เงาะจะเริ่มให้ผลเมื่อมีอายุประมาณ ๓-๔ ปี


การปลูก
การเตรียมพื้นที่ปลูก
ควรเตรียมพื้นที่ปลูกในฤดูแล้งเพราะสามารถทำงานได้สะดวก และสามารถปลูกได้ทันทีตั้งแต่ต้นฤดูฝน ไถกำจัดวัชพืช ตลอดจนตอไม้และไม้ยืนต้นอื่น ๆ ออกให้หมดไถพรวน ปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ
    
ระยะปลูก
เนื่องจากเงาะเป็นไม้ผลที่มีทรงพุ่มกว้างและออกดอกที่ปลายทรงพุ่ม จึงจำเป็นต้องปลูกเงาะเจริญเติบโตแบะให้ผลผลิตได้อย่างเต็มที่ และเพื่อความสะดวกในการปฎิบัติฝานในสวน ระยะปลูกที่เหมาะสมอยู่ในช่วง ๘-๑๐ x ๘-๑๐ เมตร ในพื้นที่ ๑ ไร่ จะปลูกเงาะได้ประมาณ ๑๖-๒๐ ต้น และเพื่อเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกิดรายได้ในช่วงเงาะยังไม่ให้ผลผลิตก็ควรจะปลูกพืช แซมประเภทพืชผักหรือไม้ผลประเภทกล้วย มะละกอ แซมในระหว่างแถวเงาะ
    
การเตรียมหลุมปลูก
หลุมที่ปลูกเงาะควรมีขนาดใหญ่น้อยกว่า ๕๐ x ๕๐ x ๕๐ เซนติเมตร ถ้าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ หลุมปลูกควรมีขนาดประมาณ ๑ x ๑ x ๑ เมตร ดินที่ขุดขึ้นมาให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต ประมาณ ๒ กระป๋องนมและปุ๋ยคอกแห้งประมาณ ๑ บุ้งกี๋ คลุกเคล้ากับดินปลูกให้ทั่วแล้วกลบลงไปในหลุม ให้ระดับสูงกกว่าเดิมประมาณ ๒๐ - ๒๕ เซนติเมตร
    
วิธีปลูก
คุ้ยดินที่เตรียมไว้ให้เป็นหลุมเล็ก ๆ วางกิ่งพันธุ์ที่นำออกมาจากภาชนะลงตรงกลางหลุม แล้วกลบดิน ให้สูงกว่าระดับดินเดิมไม่เกิน ๑ นิ้ว ระวังอย่าให้สูงถึงรอยแผลที่ติดตา จากนั้นใช้ไม้เป็นหลักผูกยึด กิ่งพันธุ์ดีไว้กับหลักเพื่อป้องกันต้นล้ม และจะต้องรดน้ำตามทันทีเพื่อช่วยให้เม็ดดินกระชับรากและใช้ทาง มะพร้าวช่วยพรางแสงแดดให้กับต้นเงาะทางทิศตะวันออก/ตะวันตก จนกว่าเงาะจะตั้งตัวได้


การปฏิบัติดูแลรักษา
การให้น้ำ
เงาะที่เริ่มปลูกจะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจนกว่าเงาะจะตั้งตัวได้ปริมาณ และความถี่ของการให้น้ำขึ้นกับชนิดของดิน และปริมาณน้ำฝนเป็นหลัก ปกติแล้วควรให้ ๗-๑๐ วัน / ครั้ง เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งควรหาหญ้าแห้งหรือฟางแห้งคลุมบริเวณโคนต้นเพื่อ รักษาความชื้นในดิน
    
ส่วนเงาะที่ให้ผลแล้วนั้น ในระยะใกล้จะออกดอกจะมีการบังคับน้ำโดยให้น้ำปริมาณที่น้อยมาก เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อนและเมื่อเงาะแทงช่อดอกออกมาให้สังเกตว่า มีใบอ่อนแซมซ่อมดอกออกามากหรือน้อย ถ้ามีใบอ่อนแซมซ่อมดอกมากก็งดการให้น้ำสักระยะจนใบอ่อนที่แซม มานั้นร่วงจนหมดจึงค่อยเริ่มให้น้ำ เพื่อให้ตาดอกเจริญต่อไป โดยจะให้ประมาณ ๑ ใน ๓ ของการ ให้น้ำตามปกติ และเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อดอกเริ่มปานและติดผล ในช่วงการเจริญเติบโตของผลจะ ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าเงาะได้รับน้ำน้อยเกินไป ผลจะเล็กผลลีบและมีเปลือกหนา และในช่วงที่ใกล้จะเก็บเกี่ยวถ้าฝนทิ้งช่วงต้องมีการดูลให้ต้น เงาะได้น้ำอย่างสม่เสมอ เพราะถ้าเงาะขนาดน้ำแล้วเกิดมีฝนตกลงมา ผลเงาะจะได้รับ น้ำอย่างกระทันหัน จะทำให้ผลแตกเสียหายได้
    
การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยเงาะที่ยังไม่ให้ผล ให้ใส่ปุ๋ยอัตรา ๑ : ๑ : ๑ เช่น ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ต้นเงาะอายุ ๑-๒ ปี ใส่ปุ๋ยประมาณ ๑/๒ - ๑ กิโลกรัม / ต้น และเพิ่มขึ้นประมาณ ๑/๒ กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ ๒ ครั้ง ในตอนต้นและปลายฤดูฝน ให้ใส่ปุ๋ยหลังจากตัดแก่งกิ่งและ กำจัดวัชพืชแล้วโดยใส่ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์
    
การใส่ปุ๋ยเงาะที่ให้ผลแล้ว ปริมาณการใส่ปุ๋ยให้พิจารณาจากอายุต้น ความอุดมสมบูรณ์ของต้น ชนิดของดิน และปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยวในฤดูที่ผ่านมา การใส่ปุ๋ยเงาะที่ให้ผลแล้ว จะให้ใน ๓ ช่วง ดังนี้
    
- การใส่ปุ๋ยเมื่อเก็ยเกี่ยวผลเงาะเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยจะต้องรีบตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชโดยเร็ว ให้ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา ๑ : ๑ : ๑ เช่น ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ต้นละ ๒-๓ กิโลกรัม และปุ๋ยอินทรีย์ เช่น มูลสัตว์เก่าต้นละ ๒-๓ ปิ๊บ การใส่ปุ๋ยครั้งนี้อยู่ในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันน้ำฝนชะพาให้ปุ๋ยสูญเสีย ควรใส่ปุ๋ยเป็นหลุม ๆ รอบทรงพุ่ม โดยใช้ปลายแหลมแทงดินเป้นรู ๆ หรือใช้จอบขุดดินเป็นหลุม หยอดปุ๋ยแล้วกลบปิดปากหลุมทำเป็นระยะ ๆ รอบทรงพุ่ม การใส่ปุ๋ยใน ครั้งนี้เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ของต้นให้พร้อมที่จะออกผลในฤดูกาลถัดไป
    
- การใส่ปุ๋ยก่อนการออกดอก พอปลาย ๆ ฝน เมื่อฝนเบาบางลงหรือฝนเริ่มทิ้งช่วงให้ใส่ปุ๋ยเพื่อช่วยและตัวหลังสูง เช่น ปุ๋ยสูตร ๘-๒๔-๒๔ หรือ ๙-๒๔-๒๔ ประมาณ ๒-๓ กิโลกรัม /ต้น
    
- การใส่ปุ๋ยเมื่อติดผลแล้ว หลังจากดอกบานและติดตามเล็ก ๆ นอกจากจะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอแล้ว จะต้องให้ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ หรือ ๑๖-๑๖-๑๖ ปริมาณ ๑-๒ กิโลกรัม / ต้น และในระยะก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ ๑ เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร ๑๒-๑๒-๑๗-๒ หรือ๑๓-๑๓-๒๑ หรือ ๑๔-๑๔-๒๕ อัตรา ๑-๒ กิโลกรัม/ต้น เพื่อเป็นการบำรุงผลให้มีขนาดและคุณภาพดีขึ้น การใส่ปุ๋ยในครั้งนี้จะใส่ในช่วงฤดูแล้ง ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำฝนชะพาปุ๋ยสูญเสีย จึงใส่ปุ๋ยได้โดยการหว่านลงทั่วบริเวณทรงพุ่ม แล้วใช้คราดกลบบาง ๆ และรดน้ำเพื่อช่วยให้ปุ๋ยละลายซึมลงดิน การใส่ปุ๋ยทุกครั้งจะต้องกระทำหลังจากการกำจัดวัชพืชแล้ว

การตัดแต่งกิ่ง
ให้ตัดแต่งกิ่งก่อนการใส่ปุ๋ย โดยตัดกิ่งต่ำที่ระดิน กิ่งที่เป็นโรคกิ่งแห้งตายออกให้หมด รวมทั้งกิ่งที่อยู่ในทรงพุ่มที่ไม่สามารถยื่นปลายยอดดอกไปรับแสงแดดได้ เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง ในเงาะที่ให้ผลแล้วหลังจากการเก็บเกี่ยว ผลผลิตแล้วให้รีบตัดแต่งกิ่งโดยเร็วจะต้องตัดก้านผลที่ยังเหลือค้างอยู่ออกให้หมด และต้องตัดลึกเข้าไปอีกประมาณ ๑ คืบเพื่อให้มีการแตกยอดใหม่ที่ดี
    
การป้องกันกำจัดวัชพืช
การกำจัดวัชพืชนอกจากจะต้องกระทำครั้งก่อนการใส่ปุ๋ยแล้วยังจำเป็น ต้องคอยดูแลอยุ่ตลอดเวลาป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นในสวนอย่างหนาแน่น เพราะนอกจากจะไปแย่งอาหารจากเงาะแล้วยังเป็นแหล่งสะสมของ โรคและแมลงอีกด้วย ซึ่งอาจจะใช้รถตัดหญ้าหรือใช้สารเคมีควบคุม
     
    
เงาะขี้ครอก
อาการที่เกิดขึ้น คือผลเงาะไม่เจริญเติบโต มีขนาดเล็กเท่าปลายนิ้วก้อย หรือเจริญเติบโตได้แต่ลีบแบนไม่สมบูรณ์ โดยจะเป็นทั้งช่อหรือบางส่วนของช่อ เมื่อถึงกำหนดมาจากดอกเงาะไม่ได้รับการผสมเกสรซึ่งตามธรรมชาติ ต้นเงาะมี ๒ ประเภท คือ เงาะตัวผู้จะให้แต่ดอกตัวผู้ล้วน ๆ ซึ่งจะมีเกสรตัวผู้ที่แข็งแรงมาก ไม่มีเกสรตัวเมีย จึงมีแต่ดอกไม่ให้ผล ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ เงาะกระเทย มัทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียซึ่งเป็นต้นเงาะที่ปลูกทั่วไปในปัจจุบัน เงาะกระเทยมีเกสรตัวเมียประกอบด้วยรังไข่ ๒ อัน เมื่อได้รับการผสมเกสรแล้ว ปกติรังไข่จะเจริญเพียงอันเดียว ส่วนเกสรตัวผู้ไม่แข็งแรง ดังนั้น การเลือกปลูกแต่ต้นกระเทยเพียงอย่างเดียวแล้วปล่อยให้มีการ ผสมเกสรกันเองตามธรรมชาติ การผสมเกสรจะเกิดไม่ทั่วถึง ทำให้เกิดอาการเงาะขี้ครอกได้
    

การแก้ไขโดยการช่วยผสมเกสรทำได้หลายวิธีเช่น
- ใช่ช่อดอกตัวผู้ต้นตัวผู้ที่กำลังบานเต็มที่มาแขวนไว้ที่ต้นเงาะที่ต้องการผสมเกสร และมีดอกบานเต็มที่แล้ว แขวนเป็นจุด ๆ ต้นละ ๓-๔ จุด เกสรตัวผู้จะปลิวไปตามลม และจะมีแมลงเช่นผึ้งช่วยผสมเกสร
     - ปลูกต้นตัวผู้แซมในสวนเงาะเป็นจุด ๆ
     - น้ำตาลจากต้นตัวผู้มาติดตาไว้บนต้นกระเทยบางกิ่ง
     - ใช้สารควบคุมการเจริฐเติบโตหรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่าฮอร์โมพืช เป็นวิธีที่ที่นิยมกันในปัจจุบัน ให้ใช้ฮอร์โมนเอ็นเอเอ ๑-๑.๕ ซีซี. ต่อน้ำ ๑ ลิตร ฮีดพ่นเมื่อดอกบานภายในช่อประมาณ ๒๕-๓๐%ให้ฉีดพ่นช่อดอกเป็นจุด ๆ ประมาณ ๔-๕ จุด กระจายทั่วต้น หรือจะพ่นเป็นทางยาวพาดผ่านต้น ซึ่งฮอร์โมนเอ็นเอเอ. จะช่วยให้ดอกกระเทยมีเกสรตัวผู้ที่แข็งแรง แต่รังไข่จะไม่ทำงาน ฉะนั้นเมื่อดอกบานแล้วก็จะร่วงหล่นไปไม่ติดผล
    
แต่อย่างไรก็ตาม ในทุกวิธีนั้นถ้าจะให้ผลดีมากยิ่งขึ้นการเลี้ยงผึ้งหรือปล่อยผึ้งให้ช่วยผสมเกสร ในช่วงดอบานจะทำให้การผสมเกสรเป็นไปอย่างสมบูรณ์มากขึ้น แต่ข้อควรระวังคือ ต้องงดการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงในช่วงการ ปล่อยให้ผึ้งช่วยผสมเกสร
     - ขอบใบแห้งหรือปลายใบแห้ง  จะพบอาหารที่ปลายใบหรือขอบใบของเงาะแห้ง มีสีน้ำตาลถ้าเป็นมาก ๆ ใบจะแห้งและม้วนงอ เกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น
     - ในช่วงแล้ง ความชื้นในอากาศมีน้อย เงาะได้รับน้ำไม่เพียงพอป้องกัน และแก้ไขได้โดยการรดน้ำให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ
     - ระบบรากถูกทำลายหรือถูกรบกวนโดยแมลงบางประเภท แก้ไขได้โดยการใช้สารเคมีพวกไดเมทโธเอท หรือคลอร์ไพริฟอส ฉีดพ่น
     - การถูกทำลายด้วยสารเคมี เช่น ใส่ปุ๋ยเคมีมากเกินไป ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชไม่ถูกวิธี เช่น ใช้ความเข้มข้นสูงเกินไป ฉีดพ่นในเวลาที่ไม่เหมาะสม หรือใบอาจ จะถูกยากำจัดวัชพืชทำให้ปลายใบหรือขอบใบไหม้
     - ช่อดอกแห้ง  เกิดจากสภาพอากาศแห้งแล้ง ซึ่งดอกเงาะในรุ่นแรกจะแห้ง การติดผลน้อยมาก แต่ถ้าหากช่อดอกยัง มีความแข็งแรงและได้รับความชุ่มชื้นเพียงพอก็สามารถแทงช่อดอก ต่อจากเดิมได้อีก ซึ่งเรียกว่า ช่อดอกหางแลนหรือหางแย้ และสาเหตุที่ทำให้ดอกร่วง ช่อดอกแห้งคือเพลี้ยไฟ
    
การเก็บเกี่ยว
     เงาะจะเริ่มออกดอกเมื่อปลูกได้ประมาณ ๓-๔ ปี ผลผลิตของเงาะจะมากน้อยแตกต่างกันไปขึ้นกับพันธุ์ อายุ การปฏิบัติดูแลรักษาของชาวสวน ได้มีการเก็บตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการจังหวัดจันทบุรีพบว่าเงาะ พันธุ์สีชมพูมีอายุประมาณ ๑๐ ปี ให้ผลผลิตประมาณ ๓,๕๐๐ กก./ไร่ เงาะพันธุ์โรงเรียน อายุประมาณ ๑๐ ปี เช่นกันให้ผลผลิตประมาณ ๒,๐๐๐ กก./ไร่
    
โดยทั่วไปในภาคตะวันออกเงาะจะออกดอกประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และจะมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตออกสู่ตลาดปลายเดือนเฒาษยน-กรกฎาคม ผลผลิตออกมากที่สุดประมาณเดือนมิถุนายน ส่วนเงาะจากภาคใต้จะออกดอกประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน เก็บผลเดือนกรกฎาคม-กันยายน ผลผลิตออกมากที่สุดในเดือนสิงหาคม
    
ดัชนีการเก็บเกี่ยว
 เงาะเริ่มผลิตตาดอกจนถึงผลแก่เก็บเกี่ยวได้ใช้เวลาประมาณ ๑๓๐-๑๖๐ วัน ตั้งแต่ดอกเริ่มบานจนบานหมดช่อและ ผสมเกสรเสร็จใช้เวลาประมาณ ๒๕-๓๐ วันและตั้งแต่ผสมติดจนถึงผลแก่เก็บเกี่ยวได้ใช้เวลา ๑๐๐-๑๒๐ วัน ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับ สภาพธรรมชาติและพันธุ์เงาะ
    
อายุของเงาะที่เก็บเกี่ยวมีความสำคัญมากต่อสุขภาพ ต่ออายุการเก็บรักาษ และการวางจำหน่าย ผลเงาะที่อ่อนหรือแก่เกินไป สีผลไม่สวย คุณภาพและรสชาติด้อย สุรพงษ์ โกสิยะจินดา ได้แนะนำวัยของเงาะ ที่เหมาะสมต่อการเก็บเกี่ยวไว้ดังนี้
     ผลที่ ๑ และ ๒     หลังจากเริ่มเปลี่ยนสีได้ ๑๐ วัน และ ๑๓ วันผลอ่อนเกินไป
     ผลที่ ๓              หลังจากเริ่มเปลี่ยนสีได้ ๑๖ วัน มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี
     ผลที่ ๔ และ ๕     หลังจากเริ่มเปลี่ยนสีได้ ๑๙ วัน และ ๒๒ วัน มีคุณภาพดีมากทั้งสีและรสชาติ
     ผลที่ ๖ และ ๗     หลังจากเริ่มเปลี่ยนสีได้ ๒๕ วัน และ ๒๘ วัน มีคุณภาพดีเช่นกันแต่เหมาะสำหรับตลาดในประเทศ
     ผลที่ ๘                 แก่เกินไป
     ผลที่ ๑ และ ๒       มีคุณภาพด้ยผลอ่อนเกินไป
     ผลที่ ๓-๗             มีคุณภาพดีทั้งสีและรสชาติ
     ผลที่ ๘                 มีรสหวานมาก แก่จัดเกินไปก
    
วิธีการเก็บเกี่ยว 
     ไม่ควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่มีแดดจัดเพราะจะทำให้เงาะสูญเสียน้ำ และเหี่ยวอย่างรวดเร็ว โดยปกติแล้วจะเก็บเกี่ยวเงาะในช่วงเช้า โดยใช้กรรไกรตัดในระยะที่มือเอื้อมถึง หรือจะใช้บันไดอลูมิเนียม หรือม้านั่งสูงปีนขึ้นไปตัด หรือใช้บันไดอลูมิเนียม หรือม้านั่งสูงปีนขึ้นไปตัด หรือใช้บันไดไม้ไผ่พาดกิ่งนอกทรงพุ่ม แล้วปีนขึ้นไป ตัดผลเงาะทั้งช่อใส่เข่งหรือตะกร้าจนเต็มแล้วใช้เชือกโรยลงมาให้คนที่อยู่ข้าง ล่าวถ่ายใส่ภาชนะอื่นเพื่อลำเลียงไปดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
    
ควรหลีกเลี่ยงการตัดช่อเงาะให้หลุดจากต้นลงมากระทบพื้นดินโดยตรง เพราะจะทำให้ผลเงาะซ้ำ ผลแตก จนหัก มีตำหนิและเกิดการเน่า เสียหลังจากการเก็บเกี่ยวอย่างรวดเร็ว ถ้าจะใช้มีดหรือกรรไกรต่อด้ามยาวตัดลงก็ควรมีตาข่ายขึงรอง รับเพื่อลดแรงกระแทก ก็จะลดความเสียหายได้บ้าง
 
    ปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว
     หลังจากเก็บเกี่ยวผลเงาะลงมาแล้วให้รีบลำเลียงไปไว้ในที่ร่มโดยเร็ว ซึ่งอาจจะเป็นใต้ต้นเงาะในสวน หรือโรงเรือน โดยมีการปฎิบัติดังนี้
     ๑. ตัดแต่งช่อเงาะให้เป็นผบเดี่ยว ๆ โดยตัดก้านให้ชิดผล คัดผลที่มีลักษณะไม่ดี เช่น เจริญเติบโตไม่เต็มที่ มีรอยช้ำ รอยแตก หรือรอยแผลจากการเก็บเกี่ยว และผลที่มีรอย ตำหนิจากการทำลายของโรคและแมลงออกให้หมด
     ๒. สำหรับตลาดในประเทศ ชาวสวนจะบรรจุเงาะลงในเข่งและรดน้ำเพื่อเพิ่มความชื้นให้กับ ผลเงาะและรอพ่อค้าคนกลางมารับซื้อต่อไป
     ๓. ถ้าเป็นการส่งออกไปต่างประเทศ ชาวสวนจะต้องงดรดน้ำเงาะก่อนการเก็บเกี่ยว ประมาณ ๒-๓ วัน และนอกจากเก็บเกี่ยวและคัดผลเสียออกด้วยความพิถีพิถันแล้ว จะต้องทำการตัดขนาดและใช้แปรงขนอ่อนปัดแมลงรวมทั้งเศษฝุ่น ผงที่ติดมากับผลออกให้หมดแล้วจุ่มผลเงาะในสารละลายบีโนมิล ความเข้มข้น ๕๐๐ ส่วนในล้านส่วน (บีโนมิล ๑๐ ซีซี.ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร) เสร็จแล้วผึ่งให้แห้ง แล้วจึงบรรจุหีบห่อ การบรรจุหีบห่อเงาะเพื่อการส่งออกควรใช้กล่อง กระดาษลูกฟูกขนาด ๔๐๐ x ๓๐๐ x ๑๐๐ มิลลิเมตร น้ำหนักบรรจุต่อกล่องประมาณ ๔-๕ กิโลกรัม



http://jiamjit.awardspace.info/index.php?option=com_content&task=view&id=13&Itemid=4
4


              







หน้าก่อน หน้าก่อน (2/3)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (32029 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©