-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 506 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ขนุน




หน้า: 1/3




ที่มา: http://61.19.69.9/~purita/studentwork50/310b/28678/page%201%20fruity%20real.html



ขนุน                        

             ลักษณะทางธรรมชาติ                        
        * เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปี ไม่ผลัดใบ เหมาะสำหรับเป็นไม้ผลเศรษฐกิจและไม้ร่มเงา  เนื้อไม้จากต้นแก่เป็นเนื้อไม้ชั้นดี ปลูกได้ในทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล ต้องการความชื้นสูงทั้งความชื้นผิวหน้าดินและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ  ในสวนขนุนควรมีไม้ผลยืนต้นหลากหลายแซมแทรกสลับ  มีพืชพุ่มเตี้ยอายุสั้นคลุมหน้าดิน การปลูกกล้วยเอารากกระจายทั่วแปลงจะช่วยให้ต้นขนุนสดชื่นอยู่เสมอ                        

       * เป็นผลไม้ที่มีขนาดผลใหญ่ที่สุดในบรรดาผลไม้ด้วยกัน ขนุนพันธุ์ทองนาทวีมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคใต้ครองแชมป์ผลไม้ยักษ์   ชนะเลิศการประกวดในงานเกษตรแห่งชาติด้วยน้ำหนักถึง  87  กิโลกรัม  ปัจจุบันยังไม่มีผลไม้ใดแม้แต่ขนุนด้วยกันลบสถิตินี้ได้

        * สายพันธุ์ดีที่ได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตรแล้ว  คือ  ฟ้าถล่ม.  ทองสุดใจ.  และจำปากรอบ. ส่วนพันธุ์อื่นๆที่แม้จะไม่ได้รับการรับรองพันธุ์แต่ได้รับความนิยมทั้งจากผู้ปลูกและผู้บริโภค  ได้แก่  เพชรราชา (ทะวาย).   ศรีบรรจง (ทะวาย).    ทองประเสริฐ (ทะวาย).    แม่กิมไน้ (ทะวาย).    แม่เนื้อหอม (ทะวาย).  แม่น้อยทะวาย (ทะวาย).   จำปาเมืองระยอง.   เหลืองเมืองระยอง.   เหลืองบางเตย (ทะวาย).     เหลืองตานาก (ทะวาย). เหลืองพิชัย (ทะวาย).   ทองสมบัติ.   เหรียญทอง (ทะวาย).   เหรียญบาท.   หนึ่งในพัน.  ทองส้ม (ทะวาย).     เป็นต้น
                          
 
       * ข้อเสียของขนุนอย่างหนึ่ง คือ  เมื่อช่วงผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวแล้วมีฝนตกลงมาจะทำให้คุณภาพผลเสีย รสจืดชืดหรืออมเปรี้ยว  เมล็ดงอกในทำให้มีกลิ่นเหม็น  แต่ขนุนพันธุ์  ทองสุดใจ  กับพันธุ์  เหรียญบาท  คุณภาพผลไม่เสีย  ทุกลักษณะคงเป็นปกติเหมือนเดิม
 
       * ตอบสนองต่อปุ๋ยซากสัตว์และยิบซั่มธรรมชาติดีมาก โดยปุ๋ยซากสัตว์สดจะช่วยให้ติดผลดก   เนื้อหนา กลิ่นดี ซังน้อย คุณภาพดี  ในขณะที่ยิบซั่มธรรมชาติช่วยให้สีจัด

        * ไม่ตอบสนองต่อสารพาโคลบิวทาโซลและยาฆ่าหญ้า  ถ้าได้รับสารพาโคลบิวทาโซลแม้แต่เพียงละอองปลิวมากับลมจะเกิดอาการใบเล็ก  กิ่งลีบเป็นกิ่งหางหนู  แก้ไขด้วยการตัดแต่งกิ่งอย่างหนัก (ทำสาว) พร้อมกับตัดปลายรากบริเวณชายพุ่ม  จากนั้นบำรุงเรียกรากและเรียกใบอ่อนชุดใหม่ตามปกติ
                            
         นอกจากนี้สารโปแตสเซียม คลอเรต.  โซเดียม ไนเตรท. ที่ใช้ในการบังคับลำไย ไม่สามารถนำมาใช้กับขนุนได้                        
 
     * ปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีหรือฮอร์โมนวิทยาศาสตร์ใดๆ บังคับให้ขนุนออกนอกฤดูกาลได้  ดังนั้นการบังคับขนุนให้ออกนอกฤดูกาลจึงต้องทำกับขนุนสายพันธุ์ทะวายเท่านั้น
 
     * มีความทนทานต่อท่วมขังค้างนานได้น้อยกว่ามะม่วง แก้ไขด้วยการเสริมรากให้มีรากแก้ว ซึ่งรากแก้วจะรอดพ้นจากน้ำท่วมขังค้างนานได้เพราะอยู่ลึกกว่าระดับน้ำที่ซึมลงดิน จึงสามารถหาอาหารส่งไปเลี้ยงต้นระหว่างน้ำท่วมแทนรากฝอยได้
                        
      * ดอกเรียกว่า ส่า เพราะเมื่อดอกแก่จัดมีกลิ่นเหมือนส่าเหล้า ดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียแยกกันคนละดอกแต่อยู่ในต้นเดียวกัน จำนวนดอกตัวผู้มากกว่าดอกตัวเมีย การผสมเกสรอาศัยลมและแมลงเป็นหลัก ถ้าช่วยผสมด้วยมือในช่วงเช้า (09.00-11.00 น.) โดยการนำดอกตัวผู้พร้อมผสมไปถูกสัมผัสเบาๆกับดอกตัวเมียที่พร้อมรับการผสมเหมือนกันก็จะช่วยให้การผสมติดเป็นผลดีขึ้น
                            
        ดอกตัวผู้มักอยู่ตามง่ามกิ่ง อยู่สูงกว่าดอกตัวเมีย ก้านดอกเล็กกว่าก้านดอกดอกตัวเมีย มีกลีบเลี้ยงขนาดเล็ก 4 กลีบแต่ไม่มีกลีบดอก  เมื่อเกสรตัวผู้ได้ผสมกับเกสรตัวเมียแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำร่วงหล่นไปเอง
                            
        ดอกตัวเมียมีลักษณะคล้ายหนามเป็นกระจุก แต่ละดอกมีรังไข่เดียว มีกลีบเลี้ยงเท่ากับดอกตัวผู้  เกสรตัวเมียเมื่อได้รับการผสมแล้วจะไม่เปลี่ยนสีแต่ติดเป็นผล
 
    * เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์ เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) ผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว หรือผลแป้ว

     * อายุผลตั้งแต่ดอกผสมติดหรือดอกเริ่มโรยถึงเก็บเกี่ยวได้  พันธุ์เบาอายุ  100-120  วัน  พันธุ์หนักอายุ 160-180 วัน...........ขนุนที่ออกดอกในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. ควรตัดดอกทิ้งเพราะเป็นขนุนปี ราคาไม่ดี  จากนั้นให้เริ่มบำรุงใหม่  อีกประมาณ 3-4 เดือน จะมีดอกชุดใหม่ออกมาเป็นขนุนนอกฤดู
                        
        การไว้ดอกและเลี้ยงผลต้องรู้ให้แน่ว่าขนุนสายพันธุ์ที่ปลูกนั้นมีอายุผลนานเท่าใด  ช่วงผลแก่ตรงกับหน้าฝนหรือไม่ ถ้าผลแก่ตรงกับหน้าแล้งให้เลี้ยงไว้แต่ถ้าผลแก่แล้วตรงกับหน้าฝนก็ไม่ควรเลี้ยงให้เด็ดทิ้งตั้งแต่ยังเป็นดอก
                           
     * ผลติดเป็นพวงตั้งแต่  2  ผลขึ้นไป  ให้พิจารณาขั้วและปริมาณผลใกล้เคียง  ถ้าขั้วผลของทั้งสองผลตรง สมบูรณ์ แข็งแรงดี  มีผลใกล้เคียงน้อยให้บำรุงเลี้ยงไว้ทั้งสองผล  แต่หากขั้วผลคดและมีผลใกล้เคียงจำนวนมาก  ให้ตัดผลขั้วคดทิ้งเหลือไว้เฉพาะผลขั้วตรง  ทั้งนี้ขั้วคดมักลำเลียงน้ำเลี้ยงไปบำรุงผลไม่ดี                         
           
              คุณลักษณะของขนุนพันธุ์ดี                             
        1. ลำต้นทรงเปล้าสูงตรงหรือกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 80-100 ซม.ขึ้นไป ลำต้นแข็งแรง  ต้านทานโรคและแมลงดี                                  
        2. ใบใหญ่หนาเขียวเข้ม  เส้นใบใหญ่นูนชัดเจน
        3. การผสมเกสรดี ติดผลดก ให้ผลทะวายปีละ 2 รุ่น หรือทยอยออกเป็นหลายรุ่น
        4. รูปทรงผลกลมยาว  โดยเส้นผ่าศูนย์กลางความกว้างเท่ากับ 3 ใน 4 ของความสูง  ผิวเรียบหรือแป้วน้อยที่สุด                             
        5. น้ำหนักผลไม่น้อยกว่า 10 กก. และให้เนื้อไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักรวมทั้งผล                             
       6. ขั้วผลขนาดเล็กตรงแข็งแรง  แกนหรือไส้ในเล็กยาวเรียวสม่ำเสมอ ฐานผลตั้งฉากกับขั้ว                             
       7. หนามห่างยกสูงจากผิวและเปลือกบาง                             
       8. ยวงใหญ่ยาว  เนื้อหนา  มีขนาดใกล้เคียงกันทั้งผล   สีเหลืองเข้มถึงสีจำปา  เนื้อแห้งหวานกรอบ  กลิ่นหอมจัด  เนื้อที่แกะออกมาแล้วเก็บในตู้เย็นอยู่ได้นานโดยเนื้อไม่เละแฉะ 
       9. ปลายยวงทั้งด้านเปลือกและด้านแกนตั้งฉาก ตรงไม่คดงอหรือพับ  เนื้อบริเวณสัมผัสเปลือกหรือแกนมีขนาดเล็ก                           
     10.  เนื้อมาก ซังน้อย  ซังหวานรับประมานได้ เมล็ดเล็กลีบ 
     11. ช่วงแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวมีฝนชุก  รสชาติต้องไม่เปลี่ยนแปลงและเมล็ดไม่งอกใน
                           
            เทคนิคการเลือกสายพันธุ์ขนุน                             
       1.  มีชื่อเสียงรู้จักกันดีในวงการผู้ปลูกไม้ผล                             
       2.  มีประวัติเคยชนะเลิศการประกวด                             
       3.  พิสูจน์ลักษณะและคุณภาพผลจากต้นแม่โดยตรง
                        

           เทคนิคการเลือกต้นกล้าพันธุ์                             
       1. เป็นต้นกล้ากิ่งทาบ  เพราะจะได้ต้นที่ระบบรากแข็งแรงดีกว่าต้นที่ขยายพันธุ์ด้วยการตอน                             
       2. เป็นต้นกล้าขยายพันธุ์มาจากกิ่งกระโดง ลักษณะกิ่งหรือลำต้นสูงตรงตั้งฉากกับพื้น ช่วงระหว่างข้อหรือปล้องยาว  เปลือกหนาติดแกะยาก (ไม่ล่อน)  อายุกิ่งกลางอ่อนกลางแก่  สีเปลือกยังอ่อนสีเขียวสดหรือเริ่มมีลายงาเล็กน้อย  อวบอ้วนสมบูรณ์  ใบล่างสุดใหญ่ หนา เขียวเข้ม เป็นมันวาวสดใส  ซึ่งเมื่อนำไปปลูกแล้วโตเร็ว ทรงพุ่มสวย อายุยืน ระยะเวลาการให้ผลผลิตสั้นและคุณภาพผลผลิตตรงตามสายพันธุ์
        3. ต้นกล้าพันธุ์ที่เป็นกิ่งแก่ คดงอ ข้อหรือปล้องสั้น เปลือกหนา แกะง่ายหรือล่อน เปลือกสีน้ำตาลแก่หรือเทาอมดำ แสดงว่าเป็นต้นกล้าที่ขยายพันธุ์มาจากกิ่งข้างชี้ลง เมื่อนำไปปลูกจะโตช้าแต่ให้ผลผลิตเร็วกว่ากิ่งกระโดง ทั้งๆที่เป็นขยายพันธุ์ออกมาจากต้นแม่เดียวกัน......ต้นกล้าที่ขยายพันธุ์จากกิ่งข้างเมื่อโตแล้วจะมีทรงพุ่มไม่สวยเหมือนต้นกล้าที่ขยายพันธุ์จากกิ่งกระโดง......ต้นกล้าทั้งที่ขยายพันธุ์มาจากกิ่งกระโดงและกิ่งข้างต่างให้ผลผลิตตรงตามสายพันธุ์เหมือนๆกัน                        

       * ปลูกขนุนเพื่อบริโภคในบ้าน ถ้าขนุนสุก  1 ผล  น้ำหนักทั้งผล 20 กก. (สมมุติ) จะมีเนื้อประมาณ  10 กก. (50 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักทั้งผล)  เนื้อขนุนสุก 10 กก.คงไม่มีบ้านใดเพียงบ้านเดียวรับประทานได้หมด  แนะนำให้ปลูกขนุนพันธุ์  ทะวายปีเดียว  น้ำหนักทั้งผล 6-7กก.จะได้เนื้อประมาณ 3-4 กก.ซึ่งพอดีสำหรับรับประทานในบ้าน  นอกจากนี้ขนุนทะวายปีเดียวยังมีคุณสมบัติเป็นทะวายออกดอกติดผลตลอดปี  ให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น  1-1 ปีครึ่ง  ผลขนาดเล็กแต่ดก  เนื้อเหลืองเข้ม  หนา  ซังหวาน  เปลือกบาง  ผลแป้วน้อย  และปลูกง่ายโตเร็วอีกด้วย
                            
       * ธรรมชาติของขนุนออกดอกติดผลจากลำต้นหรือใต้ท้องกิ่งใหญ่แก่อายุหลายๆปี ดังนั้นการเลือกต้นกล้าพันธุ์ที่มีส่วนเปล้าหรือลำต้นสูงๆมาปลูก หลังจากนำลงปลูกในแปลงจริงแล้วต้องเร่งบำรุงให้เปล้าหรือลำต้นพุ่งสูงขึ้นไปอีก  ทั้งนี้ให้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า เมื่อต้นโตขึ้นถึงอายุให้ผลผลิตแล้วกิ่งง่ามแรกจะต้องสูงจากพื้นระดับไม่น้อยกว่า  80-100 ซม.

       * เมื่ออายุต้นใกล้ให้ผลผลิตแล้ว ให้พิจารณาตำแหน่งของกิ่งทั้งหมดว่า ในอนาคตเมื่อต้นโตเต็มที่หรือให้ผลผลิตแล้ว กิ่งไหนจะบังแสงแดดกิ่งอื่นบ้าง  โดยให้ต้นมีกิ่งสำหรับออกดอกติดผลจำนวนเพียง 5-6 กิ่งต่อความสูงต้น 5 ม.เท่านั้น ช่วงที่ต้นยังไม่ให้ผลผลิตหรือใกล้ให้ผลผลิตแล้วนี้ควรเลือกตัดกิ่งที่ไม่เหมาะสมออกทิ้งไปโดยไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นกิ่งขนาดเล็กหรือใหญ่ แม้ต้องตัดกิ่งขนาดใหญ่ทิ้งแต่เมื่อต้นมีน้ำเลี้ยงมากๆ (เพราะไม่ต้องส่งไปเลี้ยงกิ่งใหญ่แล้ว) กิ่งขนาดเล็กที่เหลือจะโตเร็วเป็นกิ่งขนาดใหญ่ขึ้นมาแทนเอง  ทั้งนี้ กิ่งที่เหลือเก็บไว้ให้เป็นกิ่งสำหรับให้ออกดอกติดผลผลนั้นต้องชี้ออกรอบทิศทางทุกด้านเท่าๆกัน หรือเป็นกิ่งที่ออกจากลำต้นประธานสม่ำเสมอกัน  และระหว่างกิ่งบนกับกิ่งล่างต้องไม่ซ้อนกันจนบังแสงแดดซึ่งกันและกัน                          

       *  ต้นขนุนที่ออกดอกติดผลจากใต้ท้องกิ่ง เมื่อต้นโตเต็มที่หรือให้ผลผลิต 3-5 รุ่นแล้ว  ถ้ากิ่งที่เคยออกดอกติดผลนั้นทำมุมแคบกับลำต้น (ชี้เฉียงขึ้น) ให้ดัดกิ่งโดยใช้ถุงทรายหรือก้อนหินผูกกับกิ่งเพื่อค่อยๆโน้มกิ่งนั้นให้โน้มลงระนาบกับพื้น ซึ่งจะส่งผลให้การออกดอกติดผลดีขึ้น กิ่งแก่เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 นิ้วอาจต้องใช้เวลาดัดกิ่งด้วยการถ่วงน้ำหนักนานข้ามปี.......ส่วนต้นที่ออกดอกติดผลตามลำต้น ถ้าไม่โน้มกิ่งลงให้โน้มระนาบกับพื้นก็จะยังคงออกดอกติดผลตามลำต้นต่อไป ครั้นเมื่อได้โน้มกิ่งลงให้ระนาบกับพื้นก็จะเปลี่ยนมาเป็นออกดอกติดผลจากท้องกิ่งได้ ซึ่งเท่ากับว่าขนุนต้นนั้นออกดอกติดผลได้ทั้งที่ลำต้นและท้องกิ่ง........สายพันธุ์ที่เมื่อต้นโตขึ้นแล้วจะโน้มกิ่งลงระนาบกับพื้นเองตามธรรมชาติ คือ  แม่น้อยทะวาย  ซึ่งมีนิสัยออกดอกติดผลที่ท้องกิ่งแล้วน้ำหนักผลเป็นตัวถ่วงให้กิ่งโน้มลงระนาบกับพื้นเอง

       * ขนุนอายุต้น 2 ปียังไม่ให้ผลผลิต ให้ใช้เชือกผูกกิ่งแล้วค่อยๆโน้มลงทุก 3-4 เดือน  เมื่อขนุนต้นนั้นโตขึ้นจะมีกิ่งโน้มลงระนาบกับพื้นเอง
                         

          ลักษณะผลแก่จัด                             
      1. หนามห่าง  ปลายทู่  ร่องระหว่างหนามห่าง                             
      2. ผลที่เปลือกเขียวหรือเขียวอมเหลือง  สีเปลือกจะเปลี่ยนเป็นเหลืองเข้ม
      3. ใบเลี้ยงที่ติดอยู่กับขั้วผลซีดเหลือง                             
      4. น้ำยางจากขั้วผลจางใส                             
      5. เคาะผลฟังเสียงหลวม                           

      * อายุต้นเริ่มให้ผลผลิตได้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์  กล่าวคือ  บางสายพันธุ์เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุต้นเพียง 1 ปีหลังปลูก  ในขณะที่บางสายพันธุ์เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 3-5 ปีหลังปลูก 
       
        อายุต้นขนุนกับการไว้จำนวนผล                             
      - อายุต้น  3-5     ปี         ไว้ผล  5-7      ผล/ต้น/ปี  หรือ/รุ่น
      - อายุต้น  5-10    ปี         ไว้ผล  20-25  ผล/ต้น/ปี  หรือ/รุ่น
      - อายุต้น  15-20  ปี         ไว้ผล  30-40  ผล/ต้น/ปี  หรือ/รุ่น
                   
      - อายุต้น 20 ปีขึ้นไปไว้ผล  40-50  ผล/ต้น/ปี  หรือ/รุ่น
                         

      * ขนุนออกดอกช่วงเดือน ก.ย.-พ.ย.พร้อมกันแล้วแก่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือน เม.ย.เป็นขนุนพันธุ์เบา คุณภาพดีและขายได้ราคาดี ส่วนที่แก่เก็บเกี่ยวได้ในเดือน มิ.ย.เป็นขนุนพันธุ์หนัก ขนุนชุดนี้เป็นขนุนปีหรือขนุนในฤดูมักมีปริมาณออกสู่ตลาดมาก กอร์ปกับออกตรงกับช่วงหน้าฝนด้วยคุณภาพมักไม่ดีจึงจำหน่ายไม่ได้ราคา
                          
      * ขนุนออกออกดอกช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. แล้วแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงเดือน พ.ย. เป็นขนุนพันธุ์เบา ส่วนที่แก่เก็บเกี่ยวได้ในเดือน ธ.ค.เป็นขนุนพันธุ์หนัก ขนุนชุดนี้เป็นขนุนนอกฤดู มีปริมาณออกสู่ตลาดน้อย  ผลแก่จัดตรงกับช่วงฝนแล้ง  คุณภาพจึงดี  ส่งผลให้ได้ราคาดีไปด้วย

      * ขนุนทะวาย คือ ขนุนที่ออกดอกติดผลปีละ 2 รุ่น หรือทยอยออกจนไม่เป็นรุ่นขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น   ส่วนขนุนปีเป็นขนุนที่ออกดอกติดผลเพียงปีละ 1 รุ่นแม้จะได้บำรุงอย่างดีแล้วก็ตาม                          

       หมายเหตุ :                          
       ผู้บริโภคมักไม่สนใจว่าเป็นขนุนสายพันธุ์ใด ถ้าเห็นว่าคุณภาพดีตามต้องการก็จะซื้อทันที นั่นคือ ผู้ปลูกจะต้องรู้ถึงวิธีการปฏิบัติบำรุงอย่างถูกต้อง เพราะขนุนทุกสายพันธุ์ตอบสนองดีมากต่อปุ๋ยและฮอร์โมนซึ่งจะส่งผลให้ได้คุณภาพดีเอง
                        
      * ขนุนละมุดเป็นขนุนอีกสายพันธุ์หนึ่ง แต่ชาวสวนไม่นิยมปลูกเพราะเมื่อสุกจัด เนื้อเละเปียกแฉะ ไม่น่ารับประทาน แม้ว่าจะมีกลิ่นหอมรสหวานจัดก็ตาม..........ขนุนละมุดต้องรับประทานช่วงที่ผลเริ่มสุก (ห่าม) ซึ่งนอกจากเนื้อไม่เละเปียกแฉะแล้วยังหวานมันและกรอบดีอีกด้วย

      * ขนุนใบแฉกเมื่อโตแล้วจะไม่ออกดอกติดผล
                                             

        การขยายพันธุ์                        
        ตอน.  ทาบกิ่ง .  เสียบยอด.  เพาะเมล็ด (กลายพันธุ์).  เพาะเมล็ดเสริมรากเสียบยอด (ดีที่สุด).                         

        ระยะปลูก                        
      - ระยะปกติ  8 X 8  ม. หรือ  8 X 10 ม.                        
      - ระยะชิด   4 X 4  ม. หรือ  6 X 6 ม.                        

       เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ                         
     - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
     - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง                       
     - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง                         
     - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม  ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม                       
     - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
                        
       หมายเหตุ :                        
     - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
     - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้                         
     - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง                        

      เตรียมต้น                       
       ตัดแต่งกิ่ง :
                       
      ขนุนออกดอกติดผลที่ลำต้นและใต้ท้องกิ่งขนาดใหญ่  บางสายพันธุ์ออกติดผลตามลำต้นส่วนที่อยู่สูงจากพื้นมากๆ  บางสายพันธุ์ออกดอกติดผลตามลำต้นสูงจากพื้นไม่มากหรือกองดินเลยก็มี  บางสายพันธุ์ออกดอกติดผลเฉพาะตามท้องกิ่งโดยไม่ออกตามลำต้น  แต่บางสายพันธุ์ออกดอกติดผลได้ทั้งที่ลำต้นและท้องกิ่ง
                        
      ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใด หรือออกดอกติดผลที่ส่วนใดของต้นก็ตาม ไม่ควรมีกิ่งขนาดเล็กภายในทรงพุ่ม การตัดแต่งกิ่งให้ตัดแล้วเรียกใบชุดใหม่เฉพาะปลายกิ่งเท่านั้น ช่วงตัดแต่งกิ่งควรตัดให้เหลือใบประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์และเมื่อใบอ่อนชุดใหม่ออกมาแล้วให้มีใบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์จะช่วยให้การออกดอกติดผลดี
                              
      ตัดกิ่งบังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดสามารถส่องได้ถึงทุกกิ่งทั่วทรงพุ่ม  กิ่งได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย
      ตัดกิ่งกระโดง  กิ่งในทรงพุ่ม  กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง  กิ่งไขว้  กิ่งหางหนู  กิ่งเป็นโรค  ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
                        
    - ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ  นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
                        
    - นิสัยการออกดอกของขนุนไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว  แต่ถ้าตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น
                         
      ตัดแต่งราก :                       
    - ต้นที่อายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งรากแต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นให้ใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
    - ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม




หน้าถัดไป (2/3) หน้าถัดไป


Content ©