-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 534 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เก๋าลัด (ไทย)







ที่มา: http://www.baanlaesuan.com/plantlover/webboard/viewtopic.aspx?qId=3436

เก๋าลัด (ไทย)

           
     
            ลักษณะทางธรรมชาติ

       * เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปี  ขนาดพุ่มกว้าง สูงปานกลางและโปร่ง  ดอกสีชมพูสวยกลิ่นหอมอ่อนๆ จึงเหมาะทั้งสำหรับปลูกเป็นไม้กินผลรับประทานและไม้ผลประดับสวน ในประเทศไทยมีปลูกกันมากมานานแล้วในเขต จ.น่าน  จ.แพร่
       *  เก๋าลัดจีนใช้วิธีคั่วด้วยทราย  แต่เก๋าลัดไทยใช้วิธีต้มให้สุกธรรมดาๆ
       * เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ดินร่วน  เนื้อดินลึก  อินทรียวัตถุมากๆ น้ำและอากาศถ่ายสะดวก  ชอบความชื้นสูง  ไม่ทนต่อสภาพน้ำขังค้าง ดินเหนียวจัด
       * ช่วงพักต้นต้องการน้ำน้อยแต่ช่วงออกดอกติดผลต้องการน้ำสม่ำเสมอ

       * เก๋าลัดไทยมีดอกสมบูรณ์เพศผสมกันเองได้  แต่เก๋าลัดจีนแยกต้นเป็นต้นตัวผู้  ต้นตัวเมีย  และต้นกระเทย  และต้องอาศัยการผสมเกสรข้ามต้น

       * เก๋าลัดในไทยออกดอกติดผลปีละ 2 รุ่น แต่เก๋าลัดจีนออกดอกติดผลปีละ 1 รุ่นเท่านั้น
       * ต้นที่ปลูกจากการเพาะเมล็ดให้ให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 4-5 ปีหลังปลูก  ส่วนต้นที่ปลูกจากกิ่งตอนจะให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 2-3 ปีหลังปลูก  และต้นที่ได้รับการเสริมรากก็จะให้ผลผลเร็วกว่าต้นกิ่งตอน
       * ระบบรากไม่ค่อยแข็งแรง  แก้ไขด้วยการเสียบยอดเก๋าลัดบนตอต้นก่อและเสริมรากด้วยรากก่อ จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ให้ผลผลิตดีขึ้น
       * ในแปลงปลูกเก๋าลัดไร้สารเคมีและปุ๋ยเคมีมักจะมีเห็ดตะไคล หรือตะไคลหลังเขียว (รับประทานได้) เกิดขึ้นเสมอ  และถ้านำหน้าดินบริเวณที่มีเห็ดตะไคลเคยเกิดขึ้นมาหว่านในเขตทรงพุ่มเก๋าลัด  เชื้อเห็ดที่นำมาหว่านนั้นสามารถเจริญเติบโตเป็นดอกเห็ดได้ และจะมีเห็ดเกิดขึ้นทุกปีเป็นประจำตราบเท่าที่สภาพแวดล้อมยังเหมาะสม
 
 
            สายพันธุ์

          พันธุ์พื้นเมืองหรือเก๋าลัดไทย    ปลูกง่าย โตเร็วและให้ผลผลิตเร็ว
          พันธุ์วาวี-2  หรือเก๋าลัดจีน    ปลูกกันมากที่ดอยวาวี
 
 
          
การขยายพันธุ์
 
           เพาะเมล็ด (กลายพันธุ์). ใช้เมล็ดแก่จัดร่วงจากต้นใหม่ๆแล้วนำลงเพาะทันที เพราะเมล็ดเก๋าลัดไม่มีระยะพักตัว ต้นที่เกิดจากการเพาะเมล็ด ช่วง 1 ปีแรกจะโตเร็วมากเพราะได้รับสารอาหารและจุลินทรีย์ไมโครไรซ่าที่ติดมากับเมล็ด เมื่ออาหารและจุลินทรีย์กลุ่มนี้หมดไปต้นจะโตช้ามาก      แนวทางแก้ไข คือ ใส่อินทรีย์วัตถุหมักข้ามปีและเปลือกถั่วลิงสงซึ่งมีจุลินทรีย์ คีโตเมียม. ไรโซเบียม. และไมโครไรซ่า.อยู่ด้วย ผสมดินปุ๋ยคอกแล้วหมักจนกว่าเปลือกถั่วลิสงเปื่อยยุ่ย รองก้นหลุมปลูก ก็จะช่วยอาการชะงักการเจริญเติบโตได้  จากนั้นให้ใส่เปลือกถั่วลิสงปีละครั้ง
        - เสียบยอดบนตอต้นก่อ (ดีที่สุด).  ตอน.


       
      ระยะปลูก
         - ระยะปกติ  6 X 6  ม. หรือ  6 X 8 ม.
         - ระยะชิด   4 X 4  ม.  หรือ  4 X 3 ม.




    
       เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ
         - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา..แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
         - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง
         - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง
         - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม  ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
       
  - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
           หมายเหตุ  :
         - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
         - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้
         - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง
 

              เตรียมต้น

              
ตัดแต่งกิ่ง :
          - เก๋าลัดออกดอกจากซอกใบปลายกิ่งอายุข้ามปี  การตัดแต่งกิ่งประจำปีหรือหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ตัดเฉพาะกิ่งที่ออกดอกติดผลเพื่อสร้างใบใหม่สำหรับให้ออกดอกติดผลในรุ่นปีต่อไป  ส่วนกิ่งที่ไม่ออกดอกติดผลในปีนี้ให้คงไว้แล้วบำรุงต่อไป
          - ตัดกิ่งบังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดสามารถส่องได้ถึงทุกกิ่งทั่วทรงพุ่ม  กิ่งได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย
          - ตัดกิ่งกระโดง  กิ่งในทรงพุ่ม  กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง  กิ่งไขว้  กิ่งหางหนู  กิ่งเป็นโรค และกิ่งที่ออกดอกติดผลแล้วเพื่อเรียกยอดใหม่สำหรับออกดอกติดผลในรุ่นปีต่อไป     การตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
          - ตัดแต่งกิ่งปกติควรตัดให้เหลือใบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์และเมื่อใบอ่อนชุดใหม่ออกมาแล้วให้มีใบประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะช่วยให้การผลิดอกติดผลดี
          - ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ ให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
          - นิสัยเก๋าลัดมักออกดอกหลังจากกระทบหนาวได้ระยะหนึ่ง ดังนั้นจึงควรตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับ จะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น หมายความว่า หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วยังไม่ต้องตัดแต่งกิ่งแต่ให้บำรุงตามปกติต่อไปก่อน  จนกระทั่งเข้าสู่หน้าฝนจึงลงมือตัดแต่งกิ่ง
           ตัดแต่งราก  :
         - ระยะเก๋าลัดต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรียวัตถุ 1 ส่วน
         - ต้นที่อายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
 


                            ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงเก๋าลัด



         
1. เรียกใบอ่อน
            ทางใบ :

          - ให้น้ำ 100 ล. + 46-0-0 (200 กรัม) หรือ 25-7-7 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 5-7 วัน
           - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               ทางราก :
           - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
           - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
             หมายเหตุ :
           - เริ่มลงมือปฏิบัติทันทีหลังจากตัดแต่งกิ่ง
            - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบ 2 ด้วยอัตราและวิธีการเดิม  เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  การสะสมอาหารเพื่อการออก  การปรับ ซี/เอ็น เรโช.  การเปิดตาดอก  ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น  และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก...........แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้
         - ไม่ควรตัดแต่งรากเพราะเก๋าลัดมีรากจำนวนน้อยอยู่แล้ว แต่ให้ใช้วิธีล่อรากแล้วบำรุงด้วยปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีส่วนผสมของรำละเอียด และฮอร์โมนบำรุงรากจะช่วยให้แตกรากใหม่เร็วและดี
         - ก่อนตัดแต่งกิ่งให้บำรุงก่อนจนต้นเริ่มผลิตาใบก่อน  แล้วจึงลงมือตัดแต่งกิ่งจะช่วยให้ต้นแตกใบอ่อนชุดใหม่ดีกว่าตัดแต่งกิ่งแล้วจึงลงมือบำรุง

         - รักษาใบอ่อนแตกใหม่ละชุดให้รอดพ้นจากโรคและแมลงให้ได้   ถ้าใบอ่อนชุดหนึ่งชุดใดถูกทำลายไปจะต้องเริ่มเรียกใบชุดที่หนึ่งใหม่
         - เก๋าลัดต้องการใบอ่อน 2 ชุด  ถ้าต้นสมบูรณ์ดี  มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว  หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย  ใบชุด  2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน      และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ


          
2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
     
       ทางใบ  :
          - ให้ น้ำ 100 ล. + 0-21-74 (200 กรัม) หรือ 0-39-39 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

          - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน

            ทางราก  :

               ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
               หมายเหตุ  :
          - เริ่มให้เมื่อใบอ่อนเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้

          - วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น  กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด

          - สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแกมีฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยบำรุงให้ใบอ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย


            
3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
              ทางใบ :
            - ให้ น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน ติดต่อกัน 2-3 รอบ 
ฉีดพ่นพอเปียกใบ ติดต่อกัน 1-2  เดือน
 
            - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
                  ทางราก :
             - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24  หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
             - ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

                หมายเหตุ  :
             - เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
             - ปริมาณ 8-24-24 หรือ 9-26-26 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา  กล่าวคือ  ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก  ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก  ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น  แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย  ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
             - การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น  หมายถึง  การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น  เช่น  จากเคยให้ 15 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง
             - ขั้นตอนนี้มีความสำคัญต่อการออกดอกอย่างมาก  กล่าวคือ  เก๋าลัดต้องอาศัยอากาศหนาวเย็นเพื่อการปรับ ซี/เอ็น เรโช.ก่อนการออกดอก  ถ้าต้นสะสม ซี. และ เอ็น.ไม่มากพอ จะส่งผลให้ออกดอกน้อยหรือไม่ออกก็ได้
 

             
4. ปรับ  ซี/เอ็น  เรโช
               ทางใบ
             - ในรอบ 7 วันให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ  ห่างกับรอบละ5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ระวังอย่าให้ลงถึงพื้น
                  ทางราก
             - เปิดหน้าดินโคนต้น
             - งดน้ำเด็ดขาด

               หมายเหตุ :
             - วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และลดปริมาณ เอ็น. (อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกหลังการเปิดตาดอก
             - ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช  จะต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช จะไม่มีฝนตก  เพราะถ้ามีฝนตกลงมา  มาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว
             - ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีก แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ  แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ  โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน
             - ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน  ซี/เอ็น  เรโช. สมบูรณ์หรือไม่ให้สังเกตจากต้น ถ้าต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี.มากส่วนปริมาณ เอ็น.เริ่มลดลง และความพร้อมของต้น (อั้นตาดอก) ก่อนเปิดตาดอก   สังเกตได้จากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม  กิ่งช่วงปลายและใบกรอบเปราะ  ข้อใบสั้น  หูใบอวบอ้วน ตาดอกโชว์เห็นชัด
             - การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น  อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก  แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น
             - เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย



           
5. เปิดตาดอก
             ทางใบ  :
             สูตร 1
             ให้น้ำ 100 ล.+ สาหร่ายทะเล 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
             สูตร 2
             ให้น้ำ 100 ล. + 13-0-46 (500 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
             เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งหรือทั้งสองสูตรแบบสลับกัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
               ทางราก :
          -  ให้  8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./ครั้ง
          -  ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
                หมายเหตุ  :
          -  เลือกใช้ให้ทางใบด้วยสูตรใดสูตรหนึ่งหรือใช้ทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกันก็ได้
          - ถ้าอากาศหนาวเย็นไม่พอให้เปิดตาดอกด้วย   “น้ำ 100 ล.+ 13-0-46 (1 กก.) + 0-52-34 (500 กรัม) + สาหร่ายทะเล 100 กรัม + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม”  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ช่วงเช้าแดดจัด  1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน  ก็อาจจะช่วยให้ดอกออกมาได้
           
- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ



         
6. บำรุงดอก
            ทางใบ  :
            ให้ น้ำ 00 ล. + 15-45-15 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ.100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   ฉีดพ่นพอเปียกใบ  1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
               ทางราก  :
          - ให้ 8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
          - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
              
หมายเหตุ  :
          - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม  บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม    แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
          - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูจนถึงช่วงดอกบาน
          - ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้  หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ
          - ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาเปิดตาดอกให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก...มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก
          - เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ทำเองจะได้ผลกว่า
          - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

          - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้
           - การไม่ใช้สารเคมีกำจัดแมลงเลยติดต่อกันมาเป็นเวลานานๆจะมีผึ้งหรือมีแมลงธรรมชาติอื่นๆเข้ามาช่วยผสมเกสรส่งผลให้ติดผลดกขึ้น
 

          
7. บำรุงผลเล็ก

            ทางใบ :
          - ให้น้ำ 100 ล. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.    ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 5-7 วัน
          - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               ทางราก :
          - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม
          - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
          - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภารพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./ครั้ง/เดือน
          - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
               หมายเหตุ  :
            เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง  หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
 

         
8. บำรุงผลกลาง
              ทางใบ :
          - ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ไคโตซาน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250
ซีซี.    ทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
          - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน

               ทางราก :
          - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1/2 กก)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./ครั้ง/เดือน
          - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
            หมายเหตุ  :

          - เริ่มปฏิบัติเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล
         - การบำรุงเก๋าลัดระยะผลขนาดกลางต้องให้น้ำมากสม่ำเสมอแต่ต้องไม่ขังค้างโคนต้น  ถ้าได้รับน้ำน้อยนอกจากจะทำให้เนื้อแข็งประด้าง  ผลไม่โต และหากมีฝนตกหนักลงมาอาจจะทำให้ผลแตกผลร่วงได้เหมือนกัน
         - เริ่มลงมือบำรุงระยะผลขนาดกลางเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล  การที่จะรู้ว่าผลเริ่มเข้าไคลแล้วจะต้องใช้วิธีสุ่มเก็บผลมาผ่าดูเมล็ดภายใน
         - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก  ช่วยบำรุงเมล็ดให้ใหญ่และคุณภาพดีขึ้น


           9. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
            ทางใบ :
          - ให้น้ำ 100 ล. + 0-0-50 (200 กรัม) หรือ 0-21-74  (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  หรือ  น้ำ 100 ล. + มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
 
          - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
                ทางราก :
           - เปิดหรือไม่เปิดหน้าดินโคนต้นและนำอินทรียวัตถุออกหรือไม่ต้องนำออกก็ได้
           - ให้ 13-13-21 หรือ  8-24-24  สูตรใดสูตรหนึ่ง (1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
           - ให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด
                หมายเหตุ  :
           - เลือกให้ทางใบสูตรใดสูตรหนึ่ง
           - เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน
           - การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย







                        ***********************
 



อาจินต์ ศิริวรรณ

ลูกประ เกาลัดแห่งเทือกเขาหลวง

สองข้างทางเดินขึ้นสวนที่พ่อได้หักร้างถางพง ปลูกทุเรียนมังคุด ลางสาด ไว้เมื่อสมัยครั้งปู่กับย่ายังมีชีวิต ปกครึ้มไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยนานาชนิด บางต้นใหญ่เกินสามคนโอบ ลำต้นพุ่งเสียดสู่ฟ้าต้องแหงนหน้าคอตั้งบ่า ยามพ่อบอกว่า นั่นคือต้นอะไร บ้างมีผลที่มนุษย์ กินได้ บ้างก็กินไม่ได้ มีร่องรอยกัดแทะของ สัตว์เกลื่อนตลอดสองข้างทาง

ระหว่างเดินตามหลังพ่อ พ่อก็จะสอนให้รู้จักต้นไม้ตลอดสองข้างทาง เหมือนว่าพ่อไม่เหนื่อยกับการสอนให้รู้จักกับต้นไม้ต่างๆ เหล่านั้นเลย ทั้งๆ ที่ทางเดินขึ้นสวนนั้นบางช่วงต้องปีนป่ายด้วยทางที่ลาดชัน ขนาดเราเป็นเด็กจะเดินเหินคล่องแคล่วกว่าพ่อมากนัก แต่ยังรู้สึกเหนื่อยและหิวน้ำเหลือกำลัง

"พ่อเอื้อมมือไปจับที่ต้นไม้ต้นหนึ่งพร้อมบอกว่า นี่ต้นแกว็ด...ลูกมันจะออกตามรากที่เลื้อยพันกันบนผิวดิน เห็นมั้ยมันจะออกเป็นช่อเป็นพวงแต่ละช่อมีผลมากบ้างน้อยบ้าง ช่อละไม่เกิน 10 ลูก แต่ไม่น้อยกว่า 3 ลูก ถ้าจะกินก็กินได้นะ เลือกเอาที่ลูกโตๆ ผิวลูกเต่งๆ แบบนี้มันจะสุกรสชาติจะเปรี้ยวอมหวาน แต่ถ้าลูกเล็กๆ มันจะฝาด"

ก้มลงหยิบลูกแกว็ดออกจากขั้วช่อที่รากต้นแกว็ด แล้วเอามาถูๆ กับแขนเสื้อพอให้เศษดินเศษไม้หลุด เอาใส่ปากเคี้ยว

...รสชาติเปรี้ยวอมหวานอย่างที่พ่อบอกข้างในมีเม็ดเล็กๆ มากมายเหมือนกับลูกเดือย จริงๆ แล้วก็กินคล้ายๆ กับลูกเดือยนั่นแหละ แต่ลูกแกว็ดจะมีรสเปรี้ยวนำรสหวาน และลูกเดือยจะโตกว่ากันมาก

จนกระทั่งเป็นหนุ่มใหญ่ ต้องจากบ้านมา ตั้งแต่นมเริ่มแตกพาน กลัวหลงลืมพืชพันธุ์พื้นถิ่น พยายามหวนนึกถึงภาพครั้งก่อนเก่า

ภาพพ่อเคยสอนให้รู้จักต้นไม้และการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายแบบบ้านๆ มีวิถีชีวิตอยู่กับสวนผสมที่มีทั้งทุเรียน มังคุด ลางสาด ลองกอง มะพร้าว กล้วย และผลไม้จากไม้ป่าที่ไม่ได้ปลูก จำได้ว่าตอนเป็นเด็กนั้นมีผลไม้กินกันได้ตลอดทั้งปี โดยไม่เคยซื้อหา

ภาพตอนเที่ยวยิงนกตกปลาประสาเด็กต่างจังหวัด

ภาพต่างๆ บ้างแจ่มชัด บ้างลางเลือน...

ต้นประ ต้นแซะ ต้นขัน ต้นโก ต้นกอ มะไฟป่า ไม้เหล่านี้ มีอยู่รอบๆ สวน บางต้น มีอายุก่อนปู่กับย่าจับจองทำสวนเสียอีก โดยเฉพาะต้นประที่มีลำต้นสูงใหญ่ พอถึงเดือนเจ็ดเดือนแปด ซึ่งจะตรงกับช่วงที่ ทุเรียน มังคุด ลางสาด สุกพอดี ต้นประจะมีลูกที่แก่จัดพอดีเช่นกัน ลูกประนั้น มีลักษณะคล้ายลูกยางพารา เวลาสุกก็จะแตกตกลงพื้นเช่นเดียวกันกับลูกยางพารา

พวกผู้ใหญ่เข้าสวน เก็บ ทุเรียน มังคุด เราเด็กๆ ตามเข้าสวนไปด้วย ถือถุงหรือกระชุ เล็กๆ คนละใบสองใบ ใช้กิ่งไม้เขี่ยหาลูกประที่ตกลงมายังพื้นดินแล้วกระเด็นอยู่ภายใต้ใบไม้หรือกอหญ้า มันมีมากจนเก็บแทบไม่ไหว ทั้งสนุกทั้งเหนื่อย

พ่อเคยบอกว่า ลูกประเป็นอาหารโปรดของสัตว์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหมูป่า ชะมดหรือตัวเม่น

ก็แหงล่ะ! รสชาติของมันหลังจากเผาไฟ อ่อนๆ มันทั้งหอม ทั้งมัน เรายังชอบแล้วสัตว์ที่มันอาศัยอยู่ใกล้ มีหรือที่มันไม่ชอบ

มานึกถึงตอนที่ได้กินเกาลัด ซึ่งเพิ่งจะได้ กินเมื่อไม่กี่ปีมานี่เอง ความมันของเกาลัดมันน้อยกว่าลูกประเผาไฟเป็นไหนๆ

พวกเด็กๆ เมื่อเห็นว่าได้มากแล้วก็ชวนกันทอยหัวงู ทอยหลุม บางคนไม่ต้องหาลูกประให้เหนื่อย เล่นทอยหลุมชนะได้ลูกประกลับบ้านมากมาย

พวกผู้ใหญ่บางคน หลังจากเสร็จงานเก็บผลไม้ ก็มาช่วยกันเก็บลูกประเพื่อจะนำไปดองกับสะตอ

จำได้ว่า แม่นำลูกประมาต้มแล้วแกะเปลือกออก ตำปนกับเกลือและน้ำตาลปี๊บนิดหน่อย แม่บอกว่าจะทำเป็นเคยลูกประ (เคยก็คือกะปิ) แม่ตำเสร็จ ก็เอามาปั้นเป็นก้อนๆ แบนๆ แล้วนำไปทอด กินกับข้าวร้อนๆ มันช่างอร่อยเหลือเกิน

ข้อมูลทางวิชาการระบุเกี่ยวกับต้นประไว้ว่า

ประ เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ สูง 20-40 เมตร เปลือกมียางเหนียว ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปรี ฐานใบมนกิ่งแหลม ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย เมื่อแตกใบอ่อนจะมีสีชมพูแดง ออกดอกที่ปลายกิ่งเป็นช่อสีขาวนวล ดอกแยกเพศ ดอกตัวผู้มีกลีบเลี้ยง 4-6 กลีบ มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ดอกตัวเมียรังไข่มีสีชมพูอ่อน ออกดอกเดือนมีนาคมถึงเมษายน เป็นผลในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ผลมีเปลือกแข็งลักษณะเป็นพู มี 3 พู ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีดำปนน้ำตาล ภายในมี 3 เมล็ด ผลแก่จะแตกเมล็ดจะกระเด็นไปได้ไกล เมล็ดมีเปลือกแข็งหุ้มสีน้ำตาลผิวมัน เนื้อข้างในเป็นสีขาวนวล

ประ ขึ้นตามธรรมชาติในเขตป่าดงดิบ ตามภูเขาที่มีความชื้นสูง พบมากในอำเภอพรหมคีรี อำเภอลานสกา และอำเภอนบพิตำ จะเจริญเติบโตตามป่าเขาจะมีต้นลูกประขึ้นอยู่จำนวนมาก บนบริเวณเชิงเขาในเดือนที่ต้นประแตกยอดอ่อน ภูเขาดูแดงสวยงามมาก ในอนาคตอาจมีการจัดการท่องเที่ยวธรรมชาติชมสีสันของภูเขา เมื่อเมล็ดประแตก ชาวบ้านจะออกเก็บตามป่าประ ซึ่งขายเป็นกิโลกรัมละ 30-40 บาท นำไปขายตวงเป็นปี๊บ หรือนำไปดองขาย ในปัจจุบันลูกประมีราคาแพงมากขึ้น

ประ เป็นพืชที่เป็นอาหารของคนในท้องถิ่น ส่วนที่นำมาบริโภค ได้แก่ เมล็ด เมื่อเมล็ดแก่จัด ชาวบ้านจะถางใต้โคนจนโล่งเตียนเพื่อเก็บลูกประที่แตกหล่นลงมาจากต้น ลูกนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด โดยการต้มทำให้สุกแล้วนำไปดองในน้ำเกลือ เป็นลูกประดองเก็บไว้บริโภคได้นาน ลูกประดองแกะเปลือกออกนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง ได้แก่ นำลูกประไปใส่แกงส้ม แกงพุงปลา ต้มกะทิ หรือเหนาะข้าวหรือขนมจีน ให้รสชาติเปรี้ยวมันอร่อยมาก ลูกประสดนำไปปิ้ง ทำน้ำพริกลูกประเก็บไว้ได้นาน เหมาะสำหรับเป็นของฝากญาติมิตร และยังนำไปคั่วกับทรายรับประทานเป็นอาหารว่าง หรือนำไปหั่นเป็นชิ้นบางๆ นำไปทอดหรืออบ

กองบรรณาธิการเทคโนโลยีชาวบ้าน จะจัดงาน "เกษตรมหัศจรรย์ วันเทคโนโลยีชาวบ้าน ครั้งที่ 2" ขึ้น ในวันที่ 24-28 กุมภาพันธ์ 2553 ที่เดอะมอลล์บางแค จะมีลูกประและต้นประมาให้ชมในงานแน่นอน โปรดติดตาม




ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (4609 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©