-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 445 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สมรภูมิเลือด








“พยัคฆ์น้อย“ ณ สมรภูมิเกาหลี


กรมผสมที่ 21 ของไทยได้ขึ้นสมทบกับกองทัพที่ 8 ของสหรัฐอเมริกาโดยมี พลโท วอล์คเกอร์ เป็นแม่ทัพ (ข้อมูลจาก Wikipedia ระบุว่าประเทศไทยส่งกำลังทหารไปทั้งสิ้นจำนวน 1,294 นาย - เท่ากับจำนวนขึ้นจัดกรม?) ส่วน หนังสือกรมผสม 21 ในสงครามเกาหลี ระบุว่ามีกองเรือรบแห่งราชนาวีไทย ที่ไปปฏิบัติภารกิจในสงครามคาบสมุทรเกาหลีด้วย ส่วน ข้อมูลนี้ ระบุว่า กองทัพไทยได้จัดส่งกำลังทหาร ไปร่วมทำการรบขับไล่ผู้รุกราน ณ สมรภูมิดังกล่าวตามคำเรียกร้องขององค์การสหประชาชาติ กำลังผลัดแรกได้เริ่มเดินทางออกจากประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๙๓ และได้ส่งกำลังไปผลัดเปลี่ยนตามกำหนดเวลาเรื่อยมา ผลัดสุดท้ายส่งไปเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๙๗ รวมกำลังที่ส่งไป ๖ ผลัด มีจำนวนนายทหาร นายสิบ และพลทหารทั้ง ๓ กองทัพ เป็นจำนวน ๑๐,๓๑๕ คน จำนวนทหารไทยผู้เสียชีวิต นับแต่เริ่มเข้าทำการรบ จนถึงวาระสุดท้ายที่มีการสงบศึก รวมทั้งสิ้น ๑๒๗ นาย นอกจากนี้ยังมีทหาร ตำรวจและพลเรือน ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเสียสละและกล้าหาญ เพื่อรักษาความสงบสุขของประเทศชาติ เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒ และวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๔ กับในระหว่างสงครามมหาเอเซียบูรพา จนต้องประสบอันตรายถึงชีวิตอีก ๓๓ นาย

และกำลังทหารบกไทยได้ปฏิบัติหน้าที่ในยุทธภูมิภายใต้ธงสหประชาชาติ เทียมบ่าเทียมไหล่พันธมิตร ด้วยความองอาจกล้าหาญและอดทน นอกจากจะต้องต่อสู้ข้าศึก ที่มีกำลังและอาวุธเหนือกว่าแล้ว ในฤดูหนาวทหารไทยต้องกัดฟัน ต่อสู้กับอากาศที่หนาวจัด อย่างทารุณ และในภูมิประเทศอันทุรกันดาร แต่ทหารไทยก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้มแข็ง และมีวินัยมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารไทยผลัดแรก หลังจากรับการฝึกและรับอาวุธ ยุทโธปกรณ์ตามอัตราแล้ว 3 สัปดาห์ ก็ได้รับคำสั่งให้ขึ้นสมทบกับกรมผสมที่ 187 (กรมทหารพลร่มของสหรัฐอเมริกา) เป็นหน่วยแรก และได้รับภารกิจให้เคลื่อนที่ไปปฏิบัติภารกิจถึง กรุงเปียงยาง เมืองหลวงของเกาหลีเหนือ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2493 ทั้งนี้เพราะ จอมพล แม็คอาเธอร์ ต้องการจะเผด็จศึก ให้เสร็จสิ้นในเดือน ธันวาคม พุทธศักราช 2493 ก่อนที่อากาศจะหนาวจัดยิ่งขึ้น นอกจากนั้นกำลังทหารไทยในผลัดที่ 1นี้ ยังได้รับมอบ ภารกิจจากกองทัพสหประชาชาติให้ปฏิบัติอีกในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่เมืองอุยจองบู ซึ่งกำลังทหารไทย ได้ยึดเมืองอุยจองบู กลับคืนมาให้เกาหลีใต้ ได้ทำให้ชาวเกาหลีมีความ ซาบซึ้ง และชื่นชมทหารไทยเป็นอย่างมาก จนเป็นที่เล่าลือกันทั่วไป และเวลาทหารไทย ปรากฏกายที่ใด ประชาชนชาวเกาหลี มักจะกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “THAILAND NUMBER ONE” และด้วยอัธยาศัยไมตรี และการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีของทหารไทย ได้ให้ความเป็นกันเอง และช่วยเหลือชาวเกาหลีในพื้นที่การรบ และพื้นที่ใกล้เคียง จนเกิดเป็นความผูกพัน และเป็นความรักที่ดีต่อกัน ตลอดมา

ทหารไทยทุกคนต่างปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกล้าหาญอดทน และได้รับคำชมเชยอย่างมากจาก ทุกฝ่าย พลตรี ชาลส์ ดี ปาล์เมอร์ ผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 1 ของสหรัฐอเมริกา ได้จัดสร้างอนุสาวรีย์คอนกรีตอย่างสวยงาม เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งเกียรติประวัติแก่ชาติและทหารไทย ณ เส้นขนานที่ 38 โดยมีอักษรจารึกเป็นใจความว่า “การข้ามเส้นขนานที่ 38 ครั้งที่ 3 โดยทหารอเมริกัน ทหารไทย ทหารกรีก“  ขณะที่กองพันทหารไทยผลัดที่ 1 ยังปฏิบัติการอยู่ในเกาหลีนั้น กองทัพบกได้แต่งตั้งให้ พันโท ประยูร นุทกาญจนกุล ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันที่ 1 กรมผสมที่ 21 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493 ซึ่งต่อมามีคำสั่งเปลี่ยนชื่อหน่วย เป็นกองพันทหารราบ (อิสระ) กรมผสมที่ 21

การปฏิบัติการของกองพันทหารราบ (อิสระ) กรมผสมที่ 21 ผลัดที่ 2 นี้ สังกัดในกรมทหารม้าที่ 8 สหรัฐอเมริกา ได้รับภารกิจในการยึดที่มั่นตั้งรับ โดยเฉพาะการปฏิบัติการ ในแนว เจมส์ ทาวน์ และเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ของการรบในสงครามเกาหลี ผลัดที่ 2 ของกองพันทหารไทย เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2494 ที่หน้าเขาทีโบน ทหารไทยได้จัดส่งหมวดปืนเล็ก ไปทำหน้าที่หมวดคอยเหตุ โดยให้ ร้อยโท ดำรง อยู่โพธิ์ เป็นผู้บังคับหมวดคอยเหตุ จนกระทั่งเวลา 22.00 น. ฝ่ายข้าศึกได้ระดมยิงด้วยกระสุนปืนใหญ่ และอาวุธทุกชนิด ขนาดหนัก มาตกบริเวณแนวต้านทานหลักบนที่มั่นใหญ่ และที่หมวดคอยเหตุ ทหารไทยยิงโต้ตอบด้วยอาวุธหนัก เช่นเดียวกัน จนผ่านไปประมาณ 1 ชั่วโมง การยิงขิงข้าศึกสงบลง หมวดคอยเหตุได้รับความเสียหายมาก มีทหารล้มตายและบาดเจ็บมาก จนกระทั่งเวลาใกล้รุ่ง ฝ่ายข้าศึกได้นำกำลังเข้าตะลุมบอน ร้อยโท ดำรง อยู่โพธิ์ ได้สั่งการให้ทหารทำการต่อสู้จนถึงที่สุด แต่เนื่องจากข้าศึกมากกว่าหลายเท่า แม้จะถูกยิงขัดขวางล้มตายลงหน้าแนวหมวดคอยเหตุเป็น จำนวนมาก แต่ข้าศึกส่วนที่เหลือ คงหนุนเนื่องเข้ามาจนถึงตัวและเข้าตะลุมบอน ทหาร ในหมวดคอยเหตุ ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ร้อยโท ดำรง อยู่โพธิ์ และทหารประมาณ ครึ่งหมวดเสียชีวิตในการรบ ต่อมากองพันได้จัดกำลัง ไปทดแทนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ต่อไป และได้ตรวจสอบพบว่า กำลังข้าศึกบาดเจ็บและ ล้มตายเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน จากวีรกรรมอันกล้าหาญครั้งนี้ ทำให้ทหารไทยได้รับการสดุดี และเป็นที่รู้จักในหมู่พันธมิตร และประชาชนชาวเกาหลีมากยิ่งขึ้น

จนกระทั่งถึงวันที่ 6 มกราคม พุทธศักราช 2495 กองทัพบกได้มีคำสั่งแต่งตั้ง พันโท อ่อง โพธิกนิษฐ์ เข้ารับหน้าที่เป็นผู้บังคับกองพันผลัดที่ 3 ของกองทัพทหารไทย ซึ่งได้ย้ายสังกัดมาขึ้นกับ กรมทหาราบที่ 9 กองพลทหารราบที่ 2 กองทัพน้อยที่ 9 สหรัฐอเมริกา ณ หมู่บ้านชองกองนิ (CHNGGONG–NI) วีรกรรมที่เป็นเกียรติประวัติของกองทหารไทย ณ ที่นี้ก็คือ การมีวินัย กล้าหาญ และความเข้มแข็ง อย่างต่อเนื่อง จนได้รับการขนานนาม เพื่อเป็นเกียรติว่า  “ Little Tiger ” หรือ “ กองพันพยัคฆ์น้อย ” ซึ่งเป็นชื่อที่สืบทอดต่อ ๆ มาตลอดทุกรุ่นการปฏิบัติของกองพันทหารไทย ผลัดที่ 3 หลังจากผลัดเปลี่ยนกำลังแล้ว ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม พุทธศักราช 2495 ได้เคลื่อนย้ายไปยังเขตปฏิบัติการตั้งรับ ณ หมู่บ้าน ซันตานิ (Sontani) เมือง ชอร์วอน และได้ขึ้นผลัดเปลี่ยน ณ แนวตรงหน้าเขาทีโบน ขณะที่มีการสับเปลี่ยนอยู่นี้ ข้าศึกได้ระดมยิงรบกวนอย่างหนัก ทำให้ทหารไทยเสียชีวิต 5 คน และเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พุทธศักราช 2495 พันโท อ่อง โพธิกนิษฐ์ ผู้บังคับกองพันทหารไทย ผลัดที่ 3 ได้เดินทางไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา กองทัพบกจึงแต่งตั้งให้ พันตรี เกรียงศักดิ์ ชนะนันท์ เป็นผู้บังคับกองพันต่อไป และจากการปฏิบัติการรบของทหารไทย ผลัดที่ 3 นี้เอง ที่ได้สร้างวีรกรรม การรบที่ห้าวหาญ จนเป็นที่เลื่องลือในหมู่ประเทศพันธมิตร และทหารไทยได้รับการ ยกย่องชมเชยอย่างมากที่สุด ซึ่งวีรกรรมครั้งนี้ ได้แก่ “ การรบที่เขาพอร์คชอป ”

ธงประจำกรมทหารอาสาสมัคร "จงอางศึก"
ธงประจำกรมทหารอาสาสมัคร "จงอาง ศึก"

ฝ่ายคอมมิวนิสต์พยายาม ที่จะเข้ายึดหน่วยคอยเหตุสำคัญ ๆ ในแนวหน้าของกอง กำลังสหประชาชาติหลายครั้งหลายหน โดยฉพาะแนวรบด้านภูเขาพอร์คชอป ซึ่งกองพันทหารไทย ได้รับคำสั่งให้ขึ้นประจำแนวด้านพอร์คชอปพอร์คชอปแม้จะเพียงที่มั่นรักษา ด่านรบ แต่ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าแนวต้านทานหลัก เพราะเป็นภูมิประเทศสำคัญ ที่ปิดกั้นเส้นทาง ที่ข้าศึกสามารถเคลื่อนที่เข้าสู่ที่มั่น ของกองกำลังสหประชาชาติได้หลายทาง และภูเขานี้เป็นพื้นที่สูง สามารถจับความเคลื่อนไหวของข้าศึกได้เป็นอย่างดี การยึดพอร์คชอปไว้ได้ ย่อมหมายถึงความ ปลอดภัยของแนวต้านทานหลัก ของฝ่ายกองกำลังสหประชาชาติ

ด้วยเหตุผลดังกล่าว พอร์คชอปจึงมีความสำคัญอย่างมาก ในทางยุทธวิธี และกองพันทหารไทยได้รับคำสั่งจาก กรมทหารราบที่ 9 สหรัฐอเมริกาว่า “ กองพันทหารไทยจะต้อง รักษาที่มั่นพอร์คชอปไว้ให้ได้ หากถูกข้าศึกเข้าตีและยึดครองไป จะต้องดำเนินการตีโต้ตอบ เพื่อแย่งยึดกลับคืนทันที ”

เมื่อได้รับคำสั่งจากหน่วยเหนือ พันตรี เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ผู้บังคับกองพันทหารไทย ได้สั่งการอย่างเฉียบขาดกับหน่วยที่ปฏิบัติอยู่ ณ ที่มั่นพอร์คชอปว่า “ จะถอนตัวได้เฉพาะ เมื่อได้รับคำสั่งจากผู้บังคับกองพันเท่านั้น ”  และได้วางแผนจัดกำลังป้องกันที่มั่นพอร์คชอป โดยจัดกำลัง 1 หมวดปืนเล็ก จากกองร้อยที่ 1 ซึ่งมี ร้อยเอก จวน วรรณรัตน์ เป็นผู้บังคับกองร้อย เพิ่มเติมกำลังด้วย 1 ชุดตรวจการณ์หน้าของปืนใหญ่ และอาวุธหนัก อีกจำนวนหนึ่ง และวางยามคอยเหตุอีก 2 หมู่ ไว้ที่เขาสนุ๊ก ซึ่งอยู่ห่างจากพอร์คชอป ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 100 เมตร ภายในที่มั่นหลักได้ดัดแปลงให้มีเครื่องกีดขวางลวดหนาม 3-4 ชั้น และได้วางแผนขอรับการสนับสนุนจากหน่วยปืนใหญ่ของสหรัฐอเมริกา และเครื่องยิงลูกระเบิดหนัก จากกองพันของไทยให้เตรียมการยิงฉาก และยิงคุ้มครองเป็นรูปวงแหวน โดยรอบที่มั่นพอร์คชอป อย่างรัดกุม และเรียกฉากการยิงนี้ว่า “ วงแหวนเหล็ก ” และประการที่สำคัญ ได้จัดกองหนุน โดยใช้หมวดลาดตระเวนพิเศษ ที่จัดตั้งขึ้นจากพวกอาสาสมัคร ในกองพันเอง โดยมี ร้อยโท เฉลิม ศิริบุญ เป็นผู้บังคับหมวด และกำลังพลทุกคนภายในหมวด มีอาวุธยิงเร็วทุกคน เพื่อให้มีอำนาจการยิงสูงกว่า หมวดปืนเล็กธรรมดา

กองกำลังของฝ่ายคอมมิวนิสต์ ได้เคลื่อนย้ายมายังด้านหน้าแนว เพื่อทำการยึดเขาพอร์คชอปด้วยกำลังที่มากกว่าฝ่ายไทยหลายเท่า โดยได้จัดกำลังในแนวหน้าถึง 2 กองพัน มีปืนใหญ่สนับสนุนเต็มอัตรา และตั้งอยู่บนภูมิประเทศที่สูงข่ม พร้อมที่จะเคลื่อนที่เข้ายึด เขาพอร์คชอปได้ตลอดเวลา ต่อมากองกำลังจีนคอมมิวนิสต์ ได้เข้าตีหยั่งกำลังจำนวน 2 ครั้ง และแล้วในคืนวันที่ 1 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2495 ฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์ ได้ส่งกำลังเข้าตีพอร์คชอปเป็นครั้งแรก โดยได้ระดมยิงปืนใหญ่ขนาด 155 มม. และเครื่องยิงลูกระเบิดทุกชนิดอย่างหนักติดต่อกันกว่า 4 ชั่วโมง ทำให้ที่มั่นตั้งรับของฝ่ายไทย เสียหายอย่างหนัก ทหารไทยได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตหลายนายแต่ยังมีขวัญและกำลังใจดีมาก ร้อยเอก จวน วรรณรัตน์ ผู้บังคับกองร้อย ได้อำนวยการ และควบคุมสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และได้พยายามจัดระเบียบที่มั่น และเสริมความมั่นคงให้ดีขึ้น แต่ยังไม่ทันเรียบร้อย ฝ่ายคอมมิวนิตส์ได้ส่งกำลังประมาณ 2 กองร้อย เพิ่มเติมกำลังเข้าตีพอร์คชอปถึง 2 ทาง ทหารไทยในที่มั่นพอร์คชอป มิได้ท้อถอยทุกคนยืนหยัดต่อสู้กับข้าศึกด้วยความห้าวหาญ ถึงขั้นตะลุมบอน ด้วยดาบปลายปืน ร้อยเอก จวน วรรณรัตน์ ผู้บังคับกองร้อย ได้รับบาดเจ็บ ทางกองพันจึงได้ให้ ร้อยโท เฉลิม ศิริบุญ นำหมวดกองหนุนขึ้นไปช่วย ทำให้สามารถผลักดันข้าศึก ให้ถอยไปได้ ผลจากการสู้รบครั้งนี้ กำลังพลเสียชีวิต 8 นาย บาดเจ็บ 14 นาย ที่กำบังถูกยิงเสียหายยับเยิน 11 แห่ง ข้าศึกทิ้งศพไว้ 50 ศพ และต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2495 ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้เข้าตีพอร์คชอปอีก เป็นครั้งที่ 2 แต่ฝ่ายไทยได้ร้องขอการยิงสนับสนุนจากปืนใหญ่ ทำการยิงฉากวงแหวนเหล็กอย่างรุนแรง จนทำให้ฝ่ายข้าศึกประสบความล้มเหลวอีกครั้ง

แม้จะประสบความล้มเหลวจากการโจมตีถึง 2 ครั้งแล้วก็ตาม กองกำลังฝ่ายคอมมิว นิสต์ก็ยังไม่ละความพยายาม ได้ทุ่มเทกำลังมากที่สุด เพื่อโจมตีและยึดพอร์คชอปเป็นครั้งที่ 3 โดยได้ใช้เวลาเตรียมการอยู่ถึง 4 วัน จนถึงคืนวันที่ 10 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2495 เวลาประมาณ 19.00 น. ฝ่ายข้าศึกได้ใช้วิธีลวง โดยได้ระดมยิงปืนใหญ่และเครื่องยิงลูกระเบิด อย่างหนัก ไปยังกองพันทางขวา และได้ส่งกำลังอีก กองพันหนึ่ง เข้าตีกระหน่ำกองพันฝ่ายเรา ทางด้านซ้าย ในขณะเดียวกันได้ส่งกำลังอีก 1 กองพัน เพิ่มเติมมุ่งเข้าสู่พอร์คชอปทันที จนถึงเวลา 23.00 น. ข้าศึกได้ระดมยิงปืนใหญ่เข้ามาทุกระยะ และได้บุกเข้าโจมตีที่ฟังการณ์ของพอร์คชอป ในระยะประชิด และได้เคลื่อนที่ผ่านเครื่องกีดขวาง เข้ามาทุกทิศทาง ฝ่ายไทยได้ขอให้ปืนใหญ่ยิงฉาก วงแหวนเหล็กรอบๆ ที่มั่นพอร์คชอป และมีการทิ้งระเบิดอย่างหนักตามเส้นทางทุกสายที่ฝ่ายข้าศึก เคลื่อนที่เข้ามา แต่ก็ไม่สามารถสกัดกั้นข้าศึกที่เล็ดลอดเข้ามาได้ บนยอดพอร์คชอป ฝ่ายข้าศึกบางส่วนได้บุกถึงที่มั่นฝ่ายเรามีการตะลุมบอนสู้รบอย่างนองเลือด มีการขว้างระเบิดมือ และต่อสู้แบบประชิดตัวด้วยดาบปลายปืน ในขณะเดียวกันผู้บังคับกองพันทหารไทย ได้สั่งให้หมวดลาดตระเวนพิเศษ ขึ้นสมทบกับกำลังบนพอร์คชอปทันที การสู้รบเป็นไปอย่างชลมุน ทหารไทยบนพอร์คชอปต่อสู้อย่างทรหดกล้าหาญ เพื่อต้านทานข้าศึก และรักษาที่มั่นไว้จนถึงที่สุด ไม่มีการถอนตัวก่อนได้รับคำสั่ง จนถึงเวลา 01.30 น. ฝ่ายคอมมิวนิสต์เห็นว่าไม่สามารถที่ จะเอาชนะความแข็งแกร่งของทหารไทยได้ จึงถอนตัวกลับไปและกำลังฝ่ายสหประชาชาติ ได้ระดมยิงปืนใหญ่ สกัดเส้นทางการถอนตัวทุกเส้นทางจนฝ่ายข้าศึกได้รับความเสียหายอย่างยับเยิน ผลการสู้รบครั้งนี้ ทหารไทยเสียชีวิต 16 นาย บาดเจ็บ 57 นาย พบศพฝ่ายข้าศึก 204 ศพ เช้าวันรุ่งขึ้น พลโท พอล เคนดัล แม่ทัพน้อยที่ 1 สหรัฐอเมริกา และ พลตรี เจมส์ ซี ฟราย ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 สหรัฐอเมริกา ได้มาเยี่ยมและแสดงความยินดีแก่กองพันทหารไทย ในชัยชนะที่น่าภาคภูมิใจ และ พลตรี เจมส์ ซี ฟราย ได้กล่าวแก่ผู้บังคับกองพันทหารไทย ต่อหน้านายทหารทั้งหลายว่า “ข้าพเจ้า ไม่มีอะไร สงสัยในจิตใจ แห่งการต่อสู้ของ ทหารไทยอีกแล้ว

จากเกียรติประวัติอันดีเด่น ที่เหล่าทหารหาญไทยในกรมผสมที่ 21 ได้กระทำให้สหประชาชาติ ประจักษ์ว่าทหารไทยเป็นนักรบที่มีความเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ จนได้รับสมญานามว่า “พยัคฆ์น้อย“ ณ สมรภูมิเกาหลี



จากคุณ : เจี๊ยบ
- [14 เม.ย.53 17:03]

http://www.thaijustice.com/webboard.asp?sub=0&id=1453944
www.thaijustice.com/webboard.asp?sub=0&id=1453944 -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-09-20 (1943 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©