-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 581 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร





กำลังปรับปรุงครับ


  เผย “ธาตุสังกะสี” ช่วยพัฒนาคุณภาพไม้ผลภาคตะวันออก



ริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ผลิตแร่สังกะสีเพื่อถลุงเป็นโลหะสังกะสีแท่งบริสุทธิ์สำหรับภาคอุตสาหกรรม ได้จัดกิจกรรมเยี่ยมชมสวนผลไม้จังหวัดจันทบุรี เผยแพร่คุณประโยชน์ของสังกะสีในด้านธาตุอาหารที่มีความสำคัญต่อพืช โดยนักวิจัยพบว่าพื้นที่เกษตรกรรมภาคตะวันออกซึ่งปลูกไม้ผลกว่าร้อยละ 50 มีปัญหาขาดธาตุสังกะสี  หลังเกษตรกรเพิ่มธาตุสังกะสีทางใบทำให้ผลผลิตดีขึ้น


นายชิตชัย ทวีพาณิชย์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายทรัพยากรบุคคลและบริหารงานกลาง บริษัท ผาแดงฯ กล่าวว่า แม้ว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ จะใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่  แต่สังกะสียังมีความสำคัญต่อภาคเกษตรกรรมด้วยเช่นกัน เพราะเป็นธาตุอาหารที่ช่วยทำให้พืชสังเคราะห์แสงและเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น กิจกรรมครั้งนี้มุ่งส่งเสริมความรู้เรื่อง “สังกะสีที่มีความสำคัญต่อพืช” หลังจากที่ได้จัดกิจกรรม “สังกะสีสำคัญต่อสุขภาพ” ไปแล้วเมื่อปลายปี 2552


รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม  ผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ดินและพืช จากคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งดำเนินงานวิจัยช่วยเกษตรกรพัฒนาคุณภาพผลไม้ในพื้นที่ภาคตะวันออก กล่าวว่า จากการทำงานวิจัยเพื่อศึกษาความต้องการธาตุอาหารและการวิเคราะห์ดินและพืชในสวนผลไม้ภาคตะวันออก เป็นระยะเวลา 12 ปี นั้น เริ่มต้นจากการศึกษาทุเรียนก่อน ต่อมาได้สังเกตเห็นปัญหาของสวนมังคุดในภาคตะวันออกที่ส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 50 มีอาการขาดธาตุสังกะสี คือ มีใบขนาดเล็กปะปนกับใบใหญ่จำนวนมาก ทำให้การสังเคราะห์แสงเพื่อผลิตอาหารเลี้ยงลำต้นไม่สมบูรณ์ ภาวะดังกล่าวเกิดจาก สาเหตุของฟอสฟอรัส (P)ที่สะสมในดินมีปริมาณมาก จึงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางไม่ให้พืชดูดธาตุสังกะสีมาบำรุงต้นได้


ทั้งนี้มาจากความเข้าใจผิดของเกษตรกรที่คิดว่าการใส่ปุ๋ย P จะช่วยเร่งดอก ทำให้ติดลูกดี และคิดว่าธาตุอาหารพืชมีแค่เพียงปุ๋ย N-P-K เท่านั้น โดยใส่ปุ๋ยสูตรเดิมมานับสิบๆ ปี หลังจากได้แนะนำเกษตรกรให้ฉีดพ่นปุ๋ยสังกะสีผ่านทางใบมังคุด ทำให้ใบมีขนาดใหญ่สม่ำเสมอทั้งต้น พร้อมกันนี้ยังได้แนะนำให้เกษตรกรให้ธาตุอาหารอื่นๆ แก่พืชอย่างเหมาะสมเพื่อปรับปรุงลักษณะผลและรสชาติควบคู่กันไปด้วย ส่งผลให้ผลผลิตมังคุดมีคุณภาพดีขึ้นมาก เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ


นางสงวน บุญญฤทธิ์ เกษตรกรรายหนึ่งของกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุดเพื่อการส่งออก กล่าวว่าหลังจากได้ทำตามคำแนะนำของ ดร.สุมิตรา มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถคัดผลผลิตมังคุดเพื่อการส่งออกจากร้อยละ 30 ของผลผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 90 ในปัจจุบัน โดยมังคุดจะมีขนาดผลตั้งแต่ 90 กรัมขึ้นไป ผิวมัน ไม่มีกระ เปลือกบาง เนื้อขาว รสชาติหวาน ไม่เป็นเนื้อแก้ว ยางไหล ซึ่งขณะนี้ตลาดต่างประเทศทั้งญี่ปุ่น อเมริกาและจีนมีความต้องการสูงมาก อีกทั้งจำหน่ายได้ในราคาสูงเป็นที่น่าพอใจ มีต้นทุนการผลิตต่ำลงโดยลดการใช้ปุ๋ยที่ไม่จำเป็น

รศ.ดร.สุมิตราฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า สังกะสีเป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการเพียงเล็กน้อย แต่มีความสำคัญมากและขาดไม่ได้ เช่นเดียวกับธาตุอาหารอื่นๆ การปลูกไม้ผลให้มีรสชาติดีต้องรู้จักให้ธาตุอาหารที่เหมาะสม เพราะพืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นเรื่องยากและซับซ้อนที่จะเข้าใจได้แตกฉาน งานวิจัยที่ลึกพอจึงจะให้คำตอบแก่เกษตรกรได้  


 

http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=32228:2010-06-03-07-25-17&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (510 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©