-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 500 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร





กำลังปรับปรุงครับ


วิธีการปลูกพืชตีกลับ


ต้นอ่อนมักแตกยอดชูช่อไสวในแนวดึ่งเหมือนกันในส่วนใหญ่ทุกรูปแบบ ยกเว้นว่าจะมีการดัด คัดกรองให้เป็นการเจริญเติบโตให้ลำต้นเอียงไปในแนวอื่นๆ ที่ต้องการ วิธีการเจริญเติบโตตามธรรมชาติของต้นไม้เองแบบนี้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ถือกำเนิดมาจากลักษณะการเรียนรู้ ประสบการณ์ การได้ยิน ได้เห็น และทดลอง


การเจริญเติบโตของต้นไม้ ทั่วไปจะขึ้นจากดิน หรือน้ำ แต่ส่วนใหญ่ไม่ว่าจะจากดินหรือน้ำ วัสดุดังกล่าว ย่อมมีแร่ธาตุเพื่อให้ต้นไม้ดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งสิ้น หากขาดธาตุอาหารแล้ว ต้นไม้ก็อยู่ไม่ได้ เคยมีการทดลองปลูกพืชบนก้อนหินหลายหน แต่ส่วนใหญ่ รอดตายมีน้อยกว่ามาก ผิดกับการเจริญเติบโตได้เองของต้นไม้บางชนิด ที่สามารถใช้รากยึดเกาะก้อนหิน และเจริญเติบโตได้ดีในสถาวะที่ขาดแคลนอาหารเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น ชะง่อนผา หน้าผา หรือแม้แต่ทางหลวงที่มีแต่ปูน หิน กรวด ทราย บันไดสะพานลอยก็ยังมีการงอกออกมาของต้นไม้บางชนิด
ดังวิธีตามธรรมชาติข้างต้น จึงถือกำเนิดวิธีการปลูกพืชตีกลับ หรือการปลูกพืชแบบกลัวหัว จึงกำเนิดขึ้นนับแต่นั้นมา


แนวคิดการปลูกพืชกลับหัว

การได้เรียนรู้ ได้เห็น ธรรมชาติของการเจริญเติบโตของต้นไม้ ไม่ว่าลำต้นจะอยู่ในลักษณะไหน การงอกของต้นอ่อนใหม่ สามารถงอกออกมาได้แทบทั้งสิ้น แม้กรณีที่ส่วนยอด ถูกปักอยู่ในดินก็ตาม ทั้งนี้ พืชที่เป็นตระกูลล้มลุกอย่าง ข้าวโพด ถั่วต่างๆ พืชไร่บางชนิด ไม้เว้นแม้กระทั้ง กล้วย มันสำปะหลัง อ้อย และพืชที่สามารถตัดกิ่งเป็นกิ่งพันธุ์ได้ (เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น)


วัตถุประสงค์ ของการปลูกพืชกลับหัว

โดยทั่วไปการปลูกพืชแบบนี้ นิยมทำกันในบางกลุ่มที่รู้ เนื่องจากเป็นวิธีใหม่ หลายคนที่ได้ยินมักคิดว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วถ้าได้เห็นของจริงมักจะเชื่อ เนื่องจากธรรมชาติของพืช หากส่วนใดส่วนหนึ่งของลำต้นมีการดูดซับสารอาหาร การถ่ายเทพลังงานและการแตกยอดอ่อนมักจะเกิดในช่วงบริเวณนั้น


การเจริญเติบโตได้เองตามธรรมชาติของพืชส่วนใหญ่มักมีการแย่งเติบโต เนื่องจากนิสัยของพืชบางชนิดหวาดกลัวการสูญพันธุ์ ดังเช่นการเร่งผลผลิตของมะม่วงสามารถทำได้โดยการฟันไปรอบๆ ลำต้นให้เกิดแผลมากมาย การหักยอดต้นมะละกอเพื่อให้เกิดเป็นสองลำต้นในต้นเดียว การเจาะรูน้ำเลี้ยงของลำต้นอ้อย หรือกล้วย และอื่นๆ


การกระทำวิธีข้างต้นดูเหมือนจะเป็นการทารุณกรรมพืชไปบ้าง แต่ผลผลิตที่ได้ มักจะเป็นกำลังใจให้เกษตรกรไทยหันมาใช้วิธีแบบดั้งเดิมนี้กันอย่างกว้างขวางในสมัยก่อน แต่ปัจจุบันมีสารเคมีที่สามารถเร่งผลผลิตได้โดยไม่ต้องทำอันตรายแก่พืช แต่ทางกลับกัน สารเคมีเหล่านี้อาจย้อนกลับมาทำลายผู้บริโภคและชาวสวนผู้เพาะปลูกได้


วิธีการปลูกพืชตีกลับ หรือพืชกลับหัว

จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การปลูกพืชแบบปกติคือการเอาส่วนที่เป็นราก ฝังลงดินหรือน้ำ และให้ส่วนยอดโผล่พ้นดิน หรือน้ำ ความลึกแล้วแต่กำหนดว่าจะเป็นพืชชนิดไหน ยกเว้นพืชน้ำคือการฝังลงทั้งต้นแต่ส่วนรากก็ยังคงฝังในดินเช่นเดิม


วิธีการปลูกพืชแบบนี้คือการนำลำต้นที่เป็นต้นพันธุ์ หรือกิ่งพันธุ์ มาตัดให้ได้ความยาวที่เหมาะสม (เพื่อให้ธาตุอาหารที่อยู่ในลำต้นเก่า เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของยอดอ่อนใหม่) ขึ้นอยู่กับชนิดสายพันธุ์ด้วย เช่น พืชที่มีการเจริญเติบโตไว สามารถใช้กิ่งหรือลำต้นที่ไม่ยาวมากนักได้ ต่างกับพืชที่ใช้เวลาในการเจริญเติบโตช้า ต้องใช้กิ่งหรือต้นพันธุ์ที่ค่อนข้างยาว เนื่องจากหากสารอาหารถูกใช้ไปหมดแล้วส่วนที่โผล่พ้นดินจะเกิดการเน่าสลายไปในที่สุด นำกิ่งหรือลำต้นพันธุ์ที่ได้ จัดเตรียมฝังลงดินโดยนำส่วนที่เป็นปลายยอด ฝังลงดิน ที่เรียกว่า การปลูกพืชกลับหัว นั่นเอง ขั้นตอนนี้คล้ายกับการปลูกพืชแบบปกติ แต่สลับกันที่ นำส่วนที่เป็นด้านยอด ปักลงในดิน แทนที่จะเป็นการนำส่วนของด้านรากปกติ ปักลงในดิน


ตามปกติในหลักการของการเจริญเติบโตของพืชคือการส่งอาหารจากรากสู่ใบ จากรากสู่ลำต้น ขึ้นไปยังส่วนยอด ดังนั้น เมื่อพืชมีส่วนที่ไม่มีการใช้งาน หรือไม่สามารถใช้งานในส่วนนั้นได้เกิดขึ้น จะมีการสลัดทิ้งคือการตัดการส่งอาหาร ทำให้ส่วนดังกล่าวเน่าเสีย แห้งตายไปในที่สุด และจะเกิดการแตกยอดอ่อน หน่ออ่อนเกิดขึ้นบริเวณใกล้เคียงใหม่เพื่อทำการซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย ยกเว้นไม่สามารถแตกหน่อหรือยอดอ่อนในส่วนนั้นได้ จะทำการขยายและเติบโตในส่วนอื่นต่อไป (เป็นต้นว่าการตัดยอดของต้นไม้จะเป็นการเพิ่มกิ่งก้านสาขาให้ต้นไม้ กลับกัน หากมีการตัดกิ่งก้านสาขาให้ต้นไม้บางชนิด จะเป็นการเพิ่มความสูงของต้นไม้และยอดอ่อนด้วย)


การดูแลรักษาพืชตีกลับ

การดูแลรักษาพืชที่ปลูกด้วยวิธีตามธรรมชาตินี้ ไม่จำเป็นต้องดูแลอะไรมาก เพียงแต่รดน้ำใส่ปุ๋ยธรรมดาเหมือนกับการดูแลพืชปกติ เหมือนเป็นการปลูกพืชแบบปกตินั่นเอง (ต่างกันเฉพาะวิธีการปลูก) และที่สำคัญ หากสามารถปล่อยให้พืชเจริญเติบโตได้เอง ก็จะเป็นการดีมาก เพราะพืช จะเรียนรู้วิธีปรับตัวและอยู่รอดได้จากสภาวะผิดปกติที่ผู้ปลูกได้สร้างขึ้น


การเพิ่มมูลค่าพืชตีกลับ

การสร้างมูลค่าเพิ่มของพืชทุกชนิด ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นพืชตีกลับ หรือพืชกลับหัว แต่สามารถที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้พืช ที่มีแนวทางการเจริญเติบโตเองตามธรรมชาติ หรือด้วยวิธีการสร้างการเจริญเติบโตให้ผิดปกติเหล่านี้ สามารถทำได้ทันที ในระหว่างที่พืช มีการเติบโตพ้นช่วงต้นอ่อนมาแล้วและใกล้ที่จะให้ผลผลิตได้ โดยวิธีต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น


กรณีศึกษา การปลูกกล้วยตีกลับ

การศึกษาวิธีการเพิ่มผลผลิตการปลูกกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม หรือพืชตระกูลกล้วย แบบกลับหัว หรือการปลูกพืชตีกลับ 1 หัวได้ 2–4 หน่อ ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือนในการแตกหน่อ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นพันธุ์


หลักวิชาพฤกษศาสตร์ เขาเรียก ลำต้นของกล้วยที่อยู่ใต้ดินว่า root stock หากเคยขุดขึ้นมาทั้งหมดจะทราบว่า ตรงส่วนนี้จะมี ข้อๆ และมีตาอยู่มากมาย ซึ่งเป็นตัวบอกว่า ส่วนนี้ คือลำต้น เพราะลำต้น จะต้องมีข้อและตา ดังนั้นพืชชนิดใดก็ตาม หากไม่มีข้อและตา ถือว่าไม่ใช่ลำต้น เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ กล้วย หรือพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอื่นๆ กล้วยก็เช่นกัน เมื่อเอาส่วนลำต้นใต้ดินที่มีหน่ออยู่มากมาย มันก็จะเหมือนการเอา ขิง ไพล ขมิ้น ฝังลงดิน ไม่ว่าจะอยู่ท่าไหนก็จะงอกออกมาเหนือพื้นดินได้เช่นเดียวกัน


การเพิ่มกลิ่น รสชาติ

การเพิ่มกลิ่น รสชาติให้กล้วย ตามที่มีข่าวเมื่อปี 2009 นั้น สันนิษฐานได้ว่า การฉีดหรือเติมกลิ่นไปยังท่อน้ำเลี้ยงจากส่วนลำต้นของพืช โดยการเจาะและใส่หัวเชื้อกลิ่นต่างๆ แต่ผลที่ได้ยังไม่มีการรับประกันว่าจะได้ออกมาตามกลิ่นที่เติมหรือไม่ โดนปกติทั่วไป การเติมกลิ่นสตอเบอร์รี่ กลิ่นทุเรียน พิสูจน์แล้วว่าสามารถทำได้ ส่วนกลิ่นอื่นๆ เช่นกลิ่นส้ม กลิ่นใบเตย กลิ่นนมแมว ยังอยู่ในขั้นทดลองเนื่องจากพืช มีการขจัดสารที่เป็นหัวเชื้อกลิ่นออกทำให้เจือจางได้ง่าย ดังนั้น เกษตรกรส่วนใหญ่จึงต้องมีการลงทุนในเรื่องของกลิ่นค่อนข้างมากพอสมควร





ศูนย์เรียนรู้ วิธีการปลูกพืชกลับหัว กับปราชญ์ชาวบ้าน ณ บ้านเขากลม กระบี่

http://www.kasetorganic.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A.html









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (763 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©