-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 282 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร




หน้า: 1/2


กำลังปรับปรุงครับ


กรดอะมิโน


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


กรดอะมิโน
(
อังกฤษ: amino acid) คือ ชีวโมเลกุลที่มีทั้งหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในวิชาชีวเคมี คำว่า "กรดอะมิโน" มักหมายความถึงกรดอะมิโนแบบแอลฟา (alpha animo acids) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลติดอยู่กับคาร์บอนอะตอมเดียวกัน เรียกว่า α-คาร์บอน


เรซิดีวของกรดอะมิโน
(amino acid residue) คือกรดอะมิโนที่ถูกดึงโมเลกุลของ
น้ำออกไปหนึ่งโมเลกุล (ไฮโดรเจนไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่อะมิโน และไฮดรอกไซด์ไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่คาร์บอกซิล) เรซิดีวของกรดมักเกิดขึ้นในขณะสร้างพันธะเปปไทด์



โครงสร้างทั่วไป

ฟีนิลอะลานีน เป็นหนึ่งในกรดอะมิโนมาตรฐาน



กรดอะมิโนเป็นหน่วยก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของ
โปรตีน โดยสร้าง พอลิเมอร์ ที่เป็นโซ่สั้นๆ เรียกว่า เปปไทด์ หรือ พอลิเปปไทด์ และกลายเป็นโครงสร้างที่เรียกว่าโปรตีน โครงสร้างทั่วไปของโปรตีโนเจนิก แอลฟ่า อะมิโน แอซิด คือ:

COOH | H-C-R | NH2

หมู่ "R" แทน โซ่ข้าง (side chain) หรือหมู่ฟังก์ชัน ซึ่งมีความเฉพาะสำหรับกรดอะมิโนแต่ละตัว กรดอะมิโนแบ่งตามคุณสมบัติของหมู่ฟังก์ชัน ได้เป็น [1]


กรดอะมิโนที่นอกเหนือจากกรดอะมิโนมาตรฐาน

กรดอะมิโน 20 ตัวถูกตั้งรหัสโดยมาตรฐานรหัสพันธุกรรม และถูกเรียกว่า โปรตีโนเจนิก หรือกรดอะมิโนมาตรฐาน นอกเหนือจากกรดอะมิโน 20 ชนิดที่เป็นองค์ประกอบของโปรตีนแล้ว ยังพบกรดอะมิโนอื่นๆอีก เช่น


กรดอะมิโนมากกว่า 100 ชนิดพบในธรรมชาติบางตัวถูกตรวจพบได้ใน
มีทีโอไรต์ (meteorite) โดยเฉพาะประเภทที่รู้จักกันในชื่อ คาร์บอนาซีอัลคอนไดรต์ (carbonaceous chondrite) จุลินทรีย์ และ พืช บางครั้งผลิตกรดอะมิโนชนิดผิดปกติมากๆ ออกมา ซึ่งสามารถพบได้ใน ยาปฏิชีวนะ ประเภทเปปทีดิก เช่น นิซิน (nisin) หรือ อะลาเมตทิซิน (alamethicin) แลนไทโอนีน (Lanthionine) เป็นไดเมอร์ของอะลานีนที่เชื่อมกันด้วยพันธะแบบซัลไฟด์ซึ่งพบร่วมกับกรดอะมิโน อิ่มตัว ในแลนติไบโอติก (lantibiotics-แอนติไบโอติกเปปไทด์ของ แหล่งกำเนิดจุลินทรีย์) 1-อะมิโนไซโคลโพรเพน-1-คาร์บอกซิลิก แอซิก (1-Aminocyclopropane-1-carboxylic acid-ACC) เป็นกรดอะมิโนไซคลิกlic และเป็นผลผลิตระหว่างทางของการผลิต ฮอร์โมน พืช เอตทิลีน



กรดอะมิโนจำเป็น

บางตัวใน 20 ตัวของกรดอะมิโนมาตรฐานเรียกว่า กรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acid) เพราะว่ามันไม่สามารถสังเคราะห์ ได้โดย ร่างกาย แต่ได้จาก สารประกอบ ผ่าน ปฏิกิริยาเคมี ซึ่งเราได้รับโดยการกินเข้าไป ใน มนุษย์ กรดอะมิโนจำเป็นได้แก่

ในเด็กมีเพิ่มอีก 2 ตัว ดังนี้

คำว่า กรดอะมิโนโซ่สาขา หมายถึงกรดอะมิโนอะลิฟาติกซึ่งได้แก่: ลิวซีน, ไอโซลิวซีน และ วาลีน

ลักษณะทางโครงสร้างไอโซเมอริซึม (Isomerism)

ยกเว้น ไกลซีน ซึ่งมีหมู่ฟังก์ชัน R = H กรดอะมิโนที่เกิดขึ้นเป็นไปได้ที่จะมี 2 ออพติคัล ไอโซเมอร์ เรียกว่า D และ L กรดอะมิโน L จะแทนกรดอะมิโนจำนวนมากมายที่พบใน โปรตีน กรดอะมิโน D พบใน โปรตีน ที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเลชนิดพิเศษ เช่น หอยทากกรวย (cone snail) และพบเป็นส่วนประกอบจำนวนมากของ ผนังเซลล์ (cell wall) ของ แบคทีเรีย


ปฏิกิริยา (Reactions)

โปรตีนจะถูกสร้างโดยกระบวนการ พอลิเมอไรเซชัน ของกรดอะมิโนโดย พันธะเปปไทด์ ในกระบวนการที่เรียกว่า ทรานสเลชัน (translation)



การเกิดพันธะเปปไทด์


การเกิดพันธะเปปไทด์
1. กรดอะมิโน  ; 2, โครงสร้าง
zwitterion; 3, แสดงพันธะเปปไทด์ระหว่างกรดอะมิโน 2 ตัว (ดูด้วย พันธะเคมี)
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%99





ความรู้เกี่ยวกับอะมิโน
         
โปรตีนมีหน่วยย่อยคือกรดอะมิโน กรดอะมิโนมีทั้งหมด 20 ชนิด เรียงร้อยกันขึ้นเป็นสายโปรตีน มีอยู่สองรูปแบบคือ แบบแอล และแบบดี (L form และแบบ D form) ทั้งสองแบบนี้มีลักษณะกลับกัน เพียงแต่อาศัยการหมุนซ้ายหรือขวาของการเรียงตัวมากำหนด สำหรับกรดอะมิโนในสัตว์และกรดอะมิโนในคน จะมีตัวกรดที่เหมือนกัน แต่การเรียงตัวของกรดเหล่านั้น จะไม่เหมือนกัน 


         
กรดอะมิโนคือหน่วยเล็กที่สุดของโปรตีน กรดอะมิโนประกอบด้วยอะตอมของไนโตรเจน อย่างน้อย 1 อะตอม เราอาจคิดว่ากรดอะมิโนเป็นกรด และมีรสเปรี้ยวแบบมะนาว แต่ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น เพราะมันมีสภาพค่อนข้างเป็นกลาง จะมีความเป็นกรดน้อยๆในแง่ของชีวเคมีเท่านั้น  เมื่อเรากินโปรตีนเข้าไป น้ำย่อยจะทำการย่อยก้อนโปรตีน ออกเป็นกลุ่มของอะมิโนหลายๆกลุ่ม ต่อจากนั้นร่างกายจึงเริ่มดูดซึมอะมิโนแต่ละตัวเข้าไปใช้ 


         
ร่างกายของเราไม่สามารถเก็บกรดอะมิโนไว้ใช้แบบที่มันเก็บน้ำตาลไว้เป็นพลังงาน ดังนั้น กรดอะมิโนที่เกินมา ก็จะถูกสลายทิ้ง โดยเอาส่วนที่เป็นไนโตรเจน ออกไปกับปัสสาวะ ในรูปของยูเรีย ส่วนที่เป็นคาร์บอนไฮโดรเจนและออกซิเจน จะถูกร่างกายเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน สำหรับประโยชน์หลักๆของอะมิโนก็ได้แก่


1.กรดอะมิโนเป็นวัตถุดิบ ซึ่งเป็นหน่วยย่อยในการสร้างเซลล์ และเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย ทำหน้าที่สองอย่าง คือ  สร้างโปรตีนใหม่ในร่างกายส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

2.ยิ่งมีกรดอะมิโนมาก ก็เพิ่มความสามารถในการสร้างเอนไซม์เพื่อใช้ในการย่อยอาหารมาก และยังเพิ่มความสามารถในการเจริญพันธ์ของมนุษย์ด้วย

3.กรดอะมิโนจำเป็นสำหรับการไหลเวียนของเลือด

4.กรดอะมิโนให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยโปรตีน 1 กรัมจะให้พลังงาน 4 แครอลี 


   
โปรตีน (หรือก็คือกรดอะมิโนนั่นเอง) ในร่างกายของเรา มีลักษณะเคลื่อนไหวตลอดเวลา คือ  มีทั้งการสร้าง และการทำลายในเวลาเดียวกัน ส่วนที่ว่าจะสร้างเร็วกว่าทำลายนั้น ก็ขึ้นอยู่กับอายุ สภาพร่างกาย ความเจ็บป่วย เช่นคนอายุมากขึ้น ก็จะมีการสลายโปรตีนมากกว่าการสร้าง 


     
เราสามารถแบ่งโปรตีนออกเป็นสามประเภท โดยตัวแยกประเภทก็คือดูว่า มันมี กรดอะมิโนจำเป็น (ได้แก่ ไลซีน ,วาลีน , ไอโซลิวซีน ,ลิวซีน ,ทรีโอนีน ,ทริปโตแฟน ,เมทีโอนีน ,ฟีนายอะลานีน และฮีสติดีน) อยู่ครบถ้วนหรือไม่ โดยแบ่งได้ดังนี้


1.โปรตีนสมบูรณ์ หมายความว่า ประกอบด้วย กรดอะมิโนจำเป็น ครบทุกชนิด อันได้แก่ โปรตีนจากเนื้อสัตว์ รวมทั้งไก่และปลา ไข่ นม ซึ่งนักเพาะกายควรทาน แต่ต้องจำไว้ด้วยว่า อาหารพวกนี้ นอกจากให้โปรตีนแล้ว ก็ยังมีไขมัน และคอเลสเตอรอลสูงด้วย การใช้อาหารเสริมก็เป็นทางหลีกเลี่ยงที่ดีอันหนึ่ง

2.โปรตีนเกือบสมบูรณ์ หมายความว่า มีอะมิโนจำเป็น เกือบจะครบ ขาดเพียงหนึ่งถึงสองตัวเท่านั้น จะอยู่ในพืชบางอย่างเช่น ถั่วฝัก หรือถั่วที่มีเมล็ดทั้งหลาย โปรตีนชนิดนี้ ใช้ได้กับคนที่โตแล้ว เพราะถึงจะได้กรดอะมิโนไม่ค่อยครบ แต่ก็ไม่มีผลต่อสุขภาพเท่าไร  แต่ห้ามให้กับเด็กอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เด็กไม่โตเท่าที่ควร

3.โปรตีนไม่สมบูรณ์ หมายความว่า ไม่มีกรดอะมิโนจำเป็นเลย



ของฝากเล็กน้อยเกี่ยวกับกรดอะมิโน

         
สำหรับผู้ที่ลดความอ้วน โดยการทานอาหารแต่น้อย หากทำเกิน 2 อาทิตย์แล้วละก็ ร่างกายคุณจะเริ่มสลายกล้ามเนื้อ ออกมาเผาผลาญเป็นพลังงานสำรอง ดังนั้นหากคุณอดอาหารเพื่อรูปร่างที่ผอมลง ควรควรพึ่งพาอาหารเสริมโปรตีนด้วย เพราะเคยมีรายงานว่า คนอ้วนที่พยายามลดน้ำหนัก ตายระหว่างอดอาหารเป็นจำนวนมาก  สาเหตุการตายเนื่องจากหัวใจวาย เพราะพลังงานที่ได้รับ มีน้อยเกินไป และร่างกายก็ขาดเกลือแร่จำเป็น เช่นโปแตสเซียม แมกเนเซียม และฟอสเฟต และที่สำคัญคืออะมิโนแอซิด


         
โปรตีนประกอบด้วยไนโตรเจน 16 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของกรดอะมิโน เมื่อร่างกายเราใช้โปรตีน หรือไม่ได้ใช้ก็ตาม โปรตีนก็จะถูกย่อย เป็นสารไนโตรเจนออกมากับเหงื่อบ้าง ออกมาเป็นผิวหนัง ,เล็บ และผม รวมทั้งถูกขจัดออกทางปัสสาวะในรูปของยูเรีย เราจึงถือว่าไนโตรเจน เป็นธาตุที่ใช้บอกสภาวะสมดุล ของโปรตีนในร่างกายด้วย ดังนั้นถ้าเกิดความเครียด ไม่ว่าจากอากาศร้อนเกินไป หนาวเกินไป เหงื่อออกมากไป   ก็แสดงว่าเราขาดสภาวะสมดุลของไนโตรเจน ร่างกายเราจึงต้องการกรดอะมิโนเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ


         
หากร่างกายเราได้รับบาดเจ็บรุนแรง หรือเกิดอาการอักเสบอย่างร้ายแรง ร่างกายจะเสียไนโตรเจน ซึ่งเมื่อเทียบออกมาเป็นโปรตีนแล้ว จะเท่ากับว่าเราเสียโปรตีนไปถึงวันละ 0.9 กรัมต่อวัน ดังนั้นถ้าไม่ได้โปรตีนทดแทนให้เพียงพอ ก็อาจมีปัญหาได้


         
ไข่ ให้โปรตีนมากที่สุด และย่อยง่ายที่สุดในอาหารธรรมชาติด้วยกัน คือ ให้โปรตีนถึง 94 เปอร์เซ็นต์  รองลงมาก็คือปลา ซึ่งให้โปรตีน 80 เปอร์เซนต์  ส่วนสัตว์ประเภทหมู และไก่ ให้ 67 เปอร์เซ็นต์


         
เราควรจะมีกรดอะมิโนพร้อมอยู่ในกระแสเลือด เพื่อให้ร่างกายฉกฉวยเอาไปใช้ได้ทันทีที่ต้องการ และโดยเฉพาะถ้าเป็นนักเพาะกายด้วยแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก

 



http://www.tuvayanon.net/2protienf.html



น้ำหมักกากถั่วเหลือง
กระตุ้นการเจริญและเสริมความแข็งแรงให้รากพืช


กรดอะมิโน (Amino Acids) เป็นธาตุอาหารเสริมของพืช  ที่มีอยู่ในปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพโดยทั่วไป  แต่ในน้ำหมักชีวภาพหลายชนิดมีการใช้วัตถุดิบที่แตกต่างกันออกไป  ทำให้มีปริมาณของกรดอะมิโนไม่เท่ากัน  ซึ่งกรดอะมิโนเหล่านี้เป็นประโยชน์และมีความสำคัญกับพืชเป็นอย่างมาก  ช่วยในการกระตุ้นรากพืชให้สมบูรณ์ แข็งแรง  ซึ่งเป็นส่วนในการหาอาหาร  ช่วยทำให้ธาตุอาหารหลายชนิดที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชได้เข้าสู่ลำต้นและใบได้เร็วขึ้น   จึงมีส่วนช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชได้เป็นอย่างดี  และมีความต้านทานโรคแมลงได้ดี   บางส่วนยังมีประโยชน์ต่อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน   ทำให้ดินมีชีวิตมากขึ้น 



วัตถุดิบที่สำคัญ
1.กากถั่วเหลือง จำนวน 3 กิโลกรัม
2.สับปะรดทั้งเปลือก จำนวน 2 กิโลกรัม
3.กากน้ำตาล จำนวน 1 กิโลกรัม (1 ลิตร)
4.หัวเชื้อจุลินทรีย์จากสารเร่ง พด.1 จำนวน 1 ซอง

ขั้นตอนวิธีการทำ
ใช้กากถั่วเหลือง 3 กิโลกรัม+กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม+สับประรดที่หั่นเป็นชิ้นๆขนาดพอประมาณ 2 กิโลกรัม + หัวเชื้อจุลินทรีย์ จากสารเร่ง พด.1 จำนวน 1 ซอง คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักในถังทึบแสงทิ้งไว้ 1 วัน จากนั้นเติมน้ำเปล่าลงไป 5 กิโลกรัม (5 ลิตร) หมักต่อไปอีก 15 วัน ก็จะสามารถนำน้ำหมักกรดอะมิโนมาใช้งานได้

การนำไปใช้งาน
ใช้ผ้าขาวบางกรองเอาเฉพาะน้ำไปใช้งานโดยนำน้ำหมักกรดอะมิโน 1 ส่วนผสมกับน้ำเปล่า 500 ส่วน (2 ซีซี./น้ำ 1 ลิตร) ฉีดพ่นพืชผักในช่วงเช้าหรือเย็น 5-7 วัน/ครั้ง

การนำไปใช้ประโยชน์ของพืช
น้ำหมักกรดอะมิโนเป็นแหล่งธาตุไนโตรเจนที่ใช้ฉีดพ่นเพื่อเร่งราก เร่งใบ เร่งการเจริญเติบโตของพืช (หากเป็นไม้ผลไม่ควรใช้ในช่วงที่ติดผลแล้วเนื่องจากจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด) .......สำหรับกากของส่วนผสมทั้งหมดที่เหลือหลังจากกรองแล้วก็สารมารถนำไปผลิตเป็นปุ๋ยหมักใช้งานได้

ขอบคุณข้อมูลจาก : ชุมชนศรีษะอโศก ตำบลกระแชง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ที่มา :ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยกัน จ.อุบลราชธานี





หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©