-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 513 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร





กำลังปรับปรุงครับ


แนวทางการจัดการดินและปุ๋ยลำไย

ยุทธนา เขาสุเมรุ  ชิติ ศรีตนทิพย์  และสันติช่างเจรจา
สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล


********************************************************************************************************

บทนำ


ในปัจจุบันปัญหาเรื่องการออกดอกของลำไยได้หมดไป จากการที่มีการค้นพบโดยบังเอิญของเกษตรกร
ว่าโพแทสเซียมคลอเรตหรือสารประกอบคลอเรตสามารถกระตุ้นให้ลำไยออกดอกได้ตามที่เราต้องการ
ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ปัญหาการออกดอกของลำไย แต่ถึงแม้ว่าการแก้ปัญหาการออกดอกดังกล่าวได้แล้ว
จะมีปัญหาอื่นภายหลังจากการออกดอกตามมาอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น การติดผล โรคและแมลง รวมถึง
จะทำอย่างไรให้ลำไยมีผลผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งแนวทางหนึ่งที่จะผลิตลำไยให้มีคุณภาพคือการคือการ
จัดการด้านดินและปุ๋ย  เพื่อให้ดินนั้นคงความอุดมสมบูรณ์ หรือจัดการดินเพื่อให้มีความอุดมสมบูรณ์
ของดิน ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตลำไยมีคุณภาพต่อไป ดังนั้นข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความอุดม
สมบูรณ์ของดินจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เกษตรกรควรจะทราบเพื่อนำไปปฏิบัติในการจัดการดินและปุ๋ยอย่างมี
ประสิทธิภาพเพื่อการผลิตลำไยให้มีผลผลิตที่มีคุณภาพ  ในอดีตที่ผ่านมาการจัดการดินและปุ๋ยลำไย
ของเกษตรกร จะอาศัยข้อมูลจากประสบการณ์ที่เคยปฏิบัติกันมาเป็นหลัก หรือจากการสอบถามจากสวน
เพื่อนบ้านที่ต้นลำไยดูสมบูรณ์ดี ยิ่งไปกว่านั้นมีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่มีการจัดการปุ๋ยลำไยตามความ
เชื่อ เช่นเชื่อว่าการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสสูงจะช่วยให้ต้นไม้ออกดอกได้ดี ในกรณีการจัดการธาตุอาหารที่ผ่าน
มา  หากไม่เหมาะสมย่อมอาจจะส่งผลต่อสมดุลยของธาตุอาหารในดิน ซึ่งจะมีปัญหาต่อการจัดการ
ธาตุอาหารและการผลิตลำไยในอนาคตได้ รวมทั้งในปัจจุบันการผลิตต้องมีการแข่งขันมากยิ่งขึ้น ทำให้
ต้องมีการแข่งขันกันทั้งในเรื่องราคาและคุณภาพของผลผลิต ดังนั้นเพื่อให้มีการผลิตลำไยคุณภาพและ
มีประสิทธิภาพ ถูกต้องและแม่นยำกว่าในอดีต การจัดการด้านดินและปุ๋ยลำไยในปุจจุบันเกษตรกรจะ
ต้องใช้ข้อมูลจากงานวิจัยมาปฏิบัติมากยิ่งขึ้น



  ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
การปลูกพืชในดินดีหรือดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงย่อมให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพคุณภาพดีกว่าที่ปลูก
ในดินเลวหรือดินที่มีความอุดมสมบูรณต่ำ ซึ่งดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงนั้นหมายถึงดินที่สามารถให้ธาตุ
อาหารที่จำเป็นแก่พืชได้อย่างครบทุกธาตุอย่างเพียงพอ ซึ่งได้แก่ ธาตุอาหารหลัก 
 

ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ธาตุอาหารรองได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และซัลเฟอร์
และจุลธาตุอาหาร เช่น เหล็ก ทองแดง สังกะสี แมงกานีส โบรอน โมลิบดีนัม ครอรีน เป็นต้น  ซึ่งนอก
จากปริมาณธาตุอาหารในดินแล้วสมบัติด้านอื่นของดินก็มีความสำคัญ เช่น อินทรียวัตถุของดิน และ
ลักษณะทางกายภาพ เช่นเนื้อดิน ซึ่งจะส่งผลถึงความแน่นทึบ ความอุ้มน้ำ และการระบายน้ำระบาย
อากาศของดินว่าดีหรือไม่ เป็นต้น  ซึ่งธาตุอาหารพืชที่อยู่ในดินตามธรรมชาตินั้นมาจากส่วนประกอบ
ของดิน ซึ่งมาจาก 2 แหล่งด้วยกัน คือ


1. อินทรียวัตถุในดิน  ซึ่งสลายตัวและปลดปล่อยธาตุอาหารต่างๆ ออกมา   

2. อนินทรียสารซึ่งผุพังมาจากหินและแร่ต่างๆ  ส่วนนี้เป็นองค์ประกอบหลักของดินทั่วไป


เมื่อแร่เหล่านี้สลายก็จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นส่วนประกอบในแร่นั้นออกมา 

ดังนั้นความอุดมสมบูรณ์ของดินจึงขึ้นอยู่กับชนิดของหินแร่ที่เป็นต้นกำเนิดของดินนั้น ซึ่งในดินที่เป็นดิน
ร่วนปนทรายหรือดินทรายจะมีปริมาณธาตุอาหารน้อยกว่าดินเหนียว เนื่องจากส่วนใหญ่เกิดมาจากหิน
และแร่ที่มีธาตุอาหารน้อยกว่า  นอกจากนี้ดินที่มีอินทรียวัตถุสูง  จะเป็นดินที่มีลักษณะทางกายภาพ
ดี  ให้ธาตุอาหารอย่างครบถ้วน  และเพียงพอแก่การเจริญเติบโตของพืช ซึ่งธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน
ตามธรรมชาติจะเริ่มลดน้อยลงเมื่อเรามีการนำผลผลิตลำไยออกไปนอกพื้นที่หรือจำหน่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่ง
จะส่งผลทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง


 
จะรู้ได้อย่างไรว่าดินเริ่มขาดธาตุอาหาร
ภายหลังที่ได้มีการปลูกพืชไประยะหนึ่งดินจะเริ่มเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ลงไป ซึ่งหมายถึงปริมาณธาตุ
อาหารในดินมีปริมาณน้อยลงหรือธาตุอาหารสูญเสียไปจากดินได้นั้น ซึ่งมีหลายประการเช่น  สูญเสีย
เนื่องจากการติดไปกับผลผลิตที่เรานำเอาออกไปจากพื้นที่เพื่อจำหน่าย  สูญเสียไปกับน้ำที่ไหนบ่าไป
ตามผิวดิน หรือซึมลงใต้ดินลึก ซึ่งอาจเกิดจากฝนตกหรือการให้น้ำแบบท่วมแปลงที่เกษตรกรส่วนใหญ่
ปฏิบัติ  สูญเสียจากการที่น้ำชะพาเอาหน้าดินออกไปดินรวมทั้งปัจจัยต่างๆที่อาจชักนำให้ดินธาตุธาตุ
อาหารได้ดังตารางที่1 
        


ตารางที่
  1 สภาพของดินชักนำการขาดแร่ธาตุอาหารสำหรับพืช

แร่ธาตุอาหาร ปัจจัยที่ชักนำการขาดแร่ธาตุอาหารที่มี
N ฝนตกหนักชะล้างอย่างมาก  ส่วนประกอบที่มีอินทรียวัตถุในดินต่ำ  การเผา     เศษพืช
P ความเป็นกรด  การชะล้าง  และดินหินปูน  การให้ปูนอัตราสูง
K ดินทราย  การชะล้าง  และการพังทลายของดิน  การให้ปูนสูง  ระบบการปลูกพืช
Ca ความเป็นกรด  ความเป็นด่าง 
Mg คล้ายกับแคลเซียม
S ส่วนประกอบของอินทรียวัตถุในดินต่ำ  ใช้ปุ๋ยเคมี  N และ P  ที่ไม่มีกำมะถัน  การเผาเศษพืช
Fe ดินหินปูน  ดินที่มีแร่ธาตุสูงใน  P, Mn, Cu  หรือ  Zn;  อัตราการให้ปูนสูง
Zn ดินกรดที่มีการชะล้างสูง  ดินปูน  ระดับแร่ธาตุ  Ca, Mg  และ  P  ในดินสูง
Mn ดินร่วนจากหินปูนและดินเหนียว  ดินปูน
B ดินทราย  ดินที่ชะล้างกรดตามธรรมชาติ  ดินด่างที่มีหินปูนปะปน
Mo ดินด่าง   ดินปูนที่ระบายน้ำดี
 

ดังนั้นหากเราต้องการให้ผลผลิตดีอย่างต่อเนื่องจะเพิ่มเติมธาตุอาหารลงไปให้กับลำไยอย่างน้อยต้อง
เท่ากับปริมาณที่เราเอาผลผลิตออกไปนอกพื้นที่หรือที่สูญเสียไป แต่ถ้าหากปริมาณธาตุอาหารไม่เพียง
พอนั้น ลำไยก็จะเริ่มแสดงอาการขาดธาตุอาหารออกมา  ดังนั้นเราควรต้องมีการประเมินความ
อุดมสมบูรณ์ของดิน เพื่อจะทำให้ทราบว่าดินนั้นมีความอุดมสมบูรณ์เพียงใด มีปริมาณธาตุ
อาหารอยู่เท่าใด
โดยอาจจะกระทำได้ดังต่อไปนี้

1. การสังเกตอาการของพืช
เกษตรกรต้องมีการสังเกต ต้นไม้ในสวนมีอาการผิดปรกติไปจากเมื่อก่อนหรือไม่  หรือผลผลิตที่ได้มี
ปริมาณคุณภาพลดลงกว่า ปีก่อนๆหรือไม่  ซึ่ง ลักษณะการขาดธาตุอาหารในพืชหากดินขาดแคลน
ธาตุหนึ่งหรือหลายธาตุก็ตาม  พืชจะมีลักษณะที่ผิดปกติ  เช่นไม่ค่อยเจริญเติบโต  แคระแกรน 
ผลผลิตต่ำ  และถ้าขาดแคลนรุนแรงพืชก็จะตาย  อย่างไรก็ตามถ้าพืชเริ่มขาดธาตุใดธาตุหนึ่งเพียง
ธาตุเดียว  จะสังเกตอาการอันเป็นลักษณะเฉพาะสำหรับธาตุนั้น  ที่พืชหนึ่งจะแสดงออกมาให้
ปรากฏ  อย่างไรก็ตามเนื่องจากอาการที่พืชแต่ละชนิดแสดงออกเมื่อเริ่มขาดธาตุหนึ่งนั้น  แตกต่าง
กันมากในรายละเอียด  ดังนี้


1. เริ่มแสดงอาการครั้งแรกที่ใบแก่ซึ่งเป็นอาการขาดธาตุไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  โพแทสเซียม
และแมกนีเซียม


2. เริ่มแสดงอาการที่ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่ ได้แก่กลุ่มธาตุใดธาตุหนึ่งที่เหลือ  
อย่างไรก็ตาม
เมื่อพบอาการที่แสดงว่าพืชขาดธาตุอาหารใดแล้ว  ควรรีบจัดการดังต่อไปนี้   ถ้าเพิ่งเริ่มปรากฏ
อาการก็รีบใส่ปุ๋ยซึ่งให้ธาตุนั้น  จะใส่ทางดินหรือให้ทางใบก็ได้  ในกรณีเช่นนี้การฉีดพ่นทางใบจะ
แก้ไขอาการได้เร็วกว่า  แต่ก็ต้องใส่ทางดินเพิ่มเติมลงไปด้วย  เพื่อให้พืชได้รับธาตุนั้นอย่างเพียง
พอจนตลอดฤดู  แต่หากพบอาการดังกล่าวข้างต้นก็อย่าเพิ่งคิดทันทีว่าพืชกำลังขาดธาตุอาหารแล้วรีบ
หาปุ๋ยมาใส่  เพราะสาเหตุดังกล่าวอาจเกิดมาจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน  เพราะอาการคล้ายๆกันนั้น
อาจเกิดจากการแมลงรบกวน  น้ำท่วมราก  ดินแน่นเกินไป เป็นต้น นอกจากนี้สารกำจัดวัชพืชบาง
ชนิดเช่น 2-4 D, ไกลโฟเสท เป็นต้น ซึ่งจะมีผลต่ออาการผิดปรกติของใบลำไย ซึ่งหากไม่มีสาเหตุ
จากเรื่องดังกล่าว จึงพิจารณาสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับธาตุอาหารพืชต่อไป ซึ่งอาการผิดปรกติที่เกิดจาก
ธาตุอาหารอาจไม่ได้เกิดจากดินขาดธาตุอาหารแต่อาจเกิดจากดินมีสมบัติที่ไม่เหมาะสมเช่น ดินเป็นกรด
ซึ่งมีแนวโน้มที่จะขาดธาตุฟอสฟอรัส  แคลเซียม  แมกนีเซียม  และโมลิบดีนัม และดินที่เป็นด่างมี
แนวโน้มที่จะขาดฟอสฟอรัส  เหล็ก  ทองแดง  สังกะสี  แมงกานีส  และโบรอน  นอกจากนี้
อาจเกิดจากเกษตรกรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลัก(ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม) มากเกินไป
ทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ของธาตุอาหารในดินทำให้พืชแสดงอาการขาดจุลธาตุอาหารก็เป็นได้ เช่น
ดินที่มีฟอสฟอรัสมากเกินไปจะทำให้พืชมีอาการขาดธาตุสังกะสี และทองแดงเป็นต้น ดังนั้นจึงน่าจะมี
การประเมินธาตุอาหารในดินโดยวิธีอื่นต่อไป


2. การวิเคราะห์ดิน
การสังเกตอาการของพืชจะต้องใช้ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญซึ่งอาจทำให้การวินิจฉัยผิดพลาดได้ ดัง
นั้นวิธีการหนึ่งที่เกษตรกรควรจะทำทุก 1-2 ปี คือการวิเคราะห์ดิน จะทำให้เราทราบถึงปริมาณธาตุ
อาหารที่มีอยู่ในดิน ซึ่งทำได้โดยเก็บตัวอย่างดินบริเวณทรงพุ่มในสวนลำไย ส่งให้กับหน่วยงาน
ที่มีบริการวิเคราะห์ดิน ปัจจุบันมีหน่วยงานการศึกษาหลายแห่งที่มีบริการด้านนี้อยู่ ซึ่งอาจจะต้องมีการ
เสียค่าใช้จ่าย บ้างเพราะการวิเคราะห์ต้องอาศัยเครื่องมือและสารเคมีที่มีราคาแพง แต่เมื่อเทียบกับผลที่
จะได้รับนั้น ถือว่าคุ้มเกินคุ้ม เพราะว่าเราสามารถที่จะให้ธาตุอาหารที่เหมาะสมแก่พืช ซึ่งหากมีปริมาณ
ธาตุอาหารที่วิเคราะห์ได้มีปริมาณมากแล้ว เราอาจไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยชนิดนั้นเลยก็ได้ ซึ่งปริมาณธาตุ
อาหารในดินที่ควรจะมีในดินนั้น แสดงดังตารางที่ 2 
 




            ตารางที่ 2 ปริมาณธาตุอาหารที่เหมาะสมในดินทั่วๆไป


ธาตุอาหาร

ค่าที่เหมาะสม

ความเป็นกรด ด่าง(pH)

5.5-6.5

อินทรียวัตถุ (%)

2.0-3.0

ฟอสฟอรัส(มก/กก.)

35-60

โพแทสเซียม(มก/กก.)

100-120

แคลเซียม(มก/กก.)

800-1500

แมกนีเซียม(มก/กก.)

250-450

เหล็ก(มก/กก.)

60-70

สังกะสี(มก/กก.)

3-15

ทองแดง(มก/กก.)

3-5

โบรอน(มก/กก.)

4-6

แมงกานีส(มก/กก.)

20-60

                       



3. การวิเคราะห์พืช
การให้ธาตุอาหารแก่พืชนั้นถึงแม้ว่าเราให้ธาตุอาหารในปริมาณที่มาก แต่หากสภาวะอื่นในดิน เช่น
ความชื้น ความเป็นกรด ด่าง หรือรากถูกทำลายทำให้ไม่สามารถดูดธาตุอาหารได้ ต้นไม้ก็จะไม่สามารถ
ได้รับธาตุอาหารอย่างเพียงพอซึ่งอาจแสดงอาการขาดอาหารแสดงออกมา ซึ่งหากเราปล่อยให้พืชมี
อาการขาดจนกระทั่งพืชแสดงอาการนั้นเราอาจแก้ไขปัญหานั้นไม่ทัน ทำให้พืชไม่สามารถให้ผลผลิตที่
ดีเท่าทีควร ดังนั้นการใช้การวิเคราะห์พืชซึ่งเป็นการนำชิ้นส่วนพืช เช่น ใบ มาวิเคราะห์ ว่ามีปริมาณธาตุ
อาหารต่างๆอยู่ในปริมาณเท่าใด มีในปริมารที่เพียงพอหรือไม่ หรือในขณะนั้นพืชเริ่มได้รับธาตุอาหารไม่
เพียงพอ ซึ่งโดยสรุปแล้วการวิเคราะห์พืชจะมีวัตถุประสงค์ดังนี้


(1) วินิจฉัยการขาดธาตุอาหารของพืช เพื่อยืนยันการวินิจฉัยการขาดธาตุอาหารพืชโดยการสังเกต
และการวิเคราะห์ดิน


(2) ตรวจสอบระดับธาตุอาหารในพืชตลอดฤดูปลูกเพื่อประเมินความเพียงพอของปุ๋ยที่ใช้ และการ
จัดการอื่นๆที่มีผลต่อการใช้ธาตุอาหารของพืช เพื่อจะให้แน่ใจว่าพืชได้รับธาตุอาหารอย่างเพียงพอ
ตลอดฤดูปลูก


(3) เพื่อใช้คาดคะเนการการขาดธาตุอาหารและผลผลิตที่จะได้รับ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับคนแล้วจะ
เป็นการคล้ายๆกับการตรวจเลือเพื่อวินิจฉัยโรคในคน

   

ซึ่งการใช้การวิเคราะห์พืชจะต้องอาศัยความชำนาญของผู้วิเคราะห์และต้องมีค่ามาตรฐาน ของค่า
วิเคราะห์ใบที่เหมาะสมเป็นตัวเปรียบเทียบ ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้อย่างแพร่หลายกับพืชหลายในต่างประเทศ

สำหรับลำไยในประเทศไทยในขณะนี้นั้นยังไม่มีค่ามาตรฐานค่าวิเคราะห์ใบลำไยเหมือนกับพืชอื่น และมี
นักวิชาการที่ศึกษาทางด้านนี้ค่อนข้างน้อย แต่จากการดำเนินโครงการเรื่อง การแก้ปัญหาต้นโทรม
ของลำไย
: ความสัมพันธ์ระหว่างระดับาตุอาหารในดินและต้นลำไยกับการแสดงอาการต้น
โทรม ของสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งได้รับ
ทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ซึ่งเป็นการศึกษาถึงปริมาณธาตุ
อาหารในใบลำไยที่มีอาการโทรม ปรกติและจากต้นที่มีความสมบูรณ์มีประวัติการให้ผลผลิตดี ซึ่งพบว่า
อายุใบและตำแหน่งใบที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นมาตรฐานนั้น คณะนักวิจัยได้ทดลองและได้เสนอให้ใช้ใบ
รวมในตำแหน่งที่ 3, 4 ที่มีอายุ 6-8 สัปดาห์ หลังจากเริ่มแตกใบเพราะค่าที่ได้จะค่อนข้างคงที่ มี
การเปลี่ยนแปลงน้อย และจากการเก็บตัวอย่างจากใบลำไยที่มีอายุใบดังกล่าวข้างต้น ประมาณ 1000
ตัวอย่างจากสวนลำไยกว่า 10 สวนในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน มาวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในห้อง
ปฏิบัติการ  ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานค่าวิเคราะห์ใบลำไยต่อไปในอนาคต ดังตาราง
ที่ 3


 

ตารางที่ 3 ปริมาณธาตุอาหารในใบรวมตำแหน่งที่ 3 ,4 ที่อายุ 6-8 สัปดาห์ ที่เหมาะสม
 

ธาตุอาหาร

ค่าที่เหมาะสม

ไนโตรเจน(%)

1.88-2.42

ฟอสฟอรัส(%)

0.12-0.22

โพแทสเซียม(%)

1.27-1.88

แคลเซียม(มก/กก)

0.88-2.16

แมกนีเซียม(มก/กก)

0.20.0.31

เหล็ก(มก/กก)

68.11-86.99

                        สังกะสี(มก/กก)

16.99-24.29

ทองแดง(มก/กก)

16.32-18.45

แมงกานีส(มก/กก)

47.00-80.46

โบรอน(มก/กก)

22.30-45.58

   

ความต้องการธาตุอาหารและการจัดการปุ๋ยลำไย
ปัจจุบันการผลิตลำไยจะต้องมีการแข่งขันมากขึ้นดังนั้นการจัดการธาตุอาหารจะต้องมีการจัด การอย่างมี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ต้องมีข้อมูลต่างๆ เช่นข้อมูลการวิเคราะห์ดินและพืช เพื่อมาใช้ในการจัดการธาตุ
อาหารมากยิ่งขึ้น แต่ในปัจจุบันงานวิจัยด้านนี้ในประเทศมีน้อยมาก ซึ่งจากข้อมูลงานวิจัยด้านดินและปุ๋ย
ที่ได้ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน (2540-ปัจจุบัน) อาจนำมาใช้เป็นข้อมูลในการจัดการธาตุอาหารแก่
ลำไยได้ในระดับหนึ่ง  ซึ่งการจัดการธาตุอาหารลำไยนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบความต้องการ
ธาตุอาหารของลำไยในระยะการเจริญเติบโตต่างๆเช่น ความต้องการในช่วงการแตกช่อใบ ช่วงให้ผล
ผลิตเป็นต้น รวมทั้งทราบปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการธาตุอาหารลำไย
อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งจากการประเมินความต้องการธาตุอาหารลำไยนั้นพบว่าลำไยมีความต้องการ
ธาตุอาหารที่ระยะการเจริญต่างๆ ดังตารางที่ 4 และที่ 5 
 



            ตารางที่ 4 ปริมาณธาตุอาหารที่ลำไยใช้ในแต่ละระยะการแตกช่อใบ


ขนาดทรงพุ่ม(เมตร)

ปริมาณธาตุอาหาร

ไนโตรเจน(กรัม/ต้น)

ฟอสฟอรัส(กรัม)

โพแทสเซียม(กรัม)

1

6.0

0.5

3.8

2

11.7

0.9

7.3

3

28.3

2.3

17.7

4

55.3

4.4

34.6

5

96.4

7.7

60.3

6

156.5

12.5

97.8

7

241.4

19.3

150.9

       




ตารางที่ 5
ปริมาณธาตุอาหารในผลลำไย 1 กก.
 

ธาตุอาหาร ปริมาณที่ติดไปกับผลผลิต(น้ำหนัก/ผลผลิตลำไย 1 กก.)
ไนโตรเจน(g)ฟอสฟอรัส(g)โพแทสเซียม(g)แคลเซียม(g)แมกนีเซียม(g)เหล็ก(mg)สังกะสี(mg)ทองแดง(mg)แมงกานีส(mg) 3.710.423.731.530.2620.514.433.3515.12

           


จากการการประเมินจำนวนยอดของลำไยของลำไยทรงพุ่มต่างๆและปริมาณผลผลิต(ตารางที่ 4 และ
5) จะสามารถประเมินความต้องการธาตุอาหารลำไยในรอบ 1ปีได้ดังตารางที่ 6 (ใช้ค่าประเมินผล
ผลิตลำไย 400-500 กรัม ต่อ ช่อ ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วในช่วงติดผลนั้น เกษตรกรสามารถประเมินได้
ว่ามีการออกดอกเท่าไหร่ เป็นช่อใบเท่าไหร่และจะได้ผลผลิตที่ระยะเก็บเกี่ยวกี่กิโลกรัม)
  เมื่อเรา
ทราบถึงความต้องการธาตุอาหารของลำไย และปริมาณธาตุอาหารในดินเดิม โดยที่ปริมาณธาตุอาหารที่
วิเคราะห์ได้เมื่อคำนวนเป็นปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินความลึกต่างๆในพื้นนที่ 1 ตารางเมตร แสดง
ดังตารางที่ 7 ซึ่งขึ้นอยู่กับลำไยในสวนเราว่ามีขนาดทรงพุ่มเท่าไหร่ รากมีความลึกโดยประมาณเท่า
ไหร่(โดยทั่วไปรากลำไยกิ่งตอนจะมีความลึกประมาณ 50 เซนติเมตร)ก็จะสามารถทราบว่าในดิน
บริเวณทรงพุ่มลำไยมีธาตุอาหารอยู่เท่าไหร่



 ตารางที่  6. ปริมาณ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่ลำไยใช้ไปในรอบ 1 ปี

ขนาดทรงพุ่ม(เมตร) ไนโตรเจน(กรัมต่อต้น) ฟอสฟอรัส(กรัมต่อต้น) โพแทสเซียม(กรัมต่อต้น)
1-2 40-80 4-8 35-70
3-4 220-350 25-40 200-300
5-6 550-1000 70-120 500-900
7-8 1500-2500 200-300 1300-2000
 

     

ตารางที่ 7
ปริมาณธาตุอาหารในดิน(กรัม)ในพื้นที่ 1 ตารางเมตรที่ความลึกต่างๆ ในแต่ละระดับผล
การวิเคราะห์ดินต่างๆ
 

          ค่าวิเคราะห์ดิน (mg/kg)      
ความลึกราก(ซม.) 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100 150
20 2.4 4.8 7.2 9.6 12 14.4 16.8 19.2 21.6 24 36
30 3.6 7.2 10.8 14.4 18 21.6 25.2 28.8 32.4 36 54
40 4.8 9.6 14.4 19.2 24 28.8 33.6 38.4 43.2 48 72
50 6 12 18 24 30 36 42 48 54 60 90
60 7.2 14.4 21.6 28.8 36 43.2 50.4 57.6 64.8 72 108
          

            เมื่อทราบถึง
ความต้อง
การธาตุ
อาหารของ
ลำไยและ
ปริมาณธาตุ
อาหารในดิน
เดิมแล้วก็จะ
สามารถ
กำหนด
ปริมาณธาตุ
อาหารที่จะ
ให้แก่ลำไยที่ระยะต่างๆได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วปริมาณธาตุอาหารหรือปุ๋ยที่จะใส่ลงไปในดินนั้นไม่
ได้เป็นประโยชน์แก่ลำไยทั้งหมด เพราะอาจมีการสูญเสียหรือถูกดินดูดยึดไว้ดังนั้นจึงต้องมีการใช้ตัว
ปรับแก้ในการใช้ปุ๋ยดังตารางที่ 8 ดังนั้นปริมาณธาตุอาหารที่คำนวนได้จะต้องคูณด้วยตัวปรับแก้ดัง
ตารางที่ 8

 



            ตารางที่ 8 ตัวปรับแก้ปริมาณการใช้ธาตุอาหารหลัก

 

ธาตุอาหารหลัก

เมื่อปุ๋ยให้ทางดิน

เมื่อให้ปุ๋ยทางระบบน้ำ

ไนโตรเจน

1.2-1.25

1.1-1.2

ฟอสฟอรัส

1.8-2.2

1.6-1.9

โพแทสเซียม

1.4-1.6

1.2-1.4

                                   


ตัวอย่าง
การคำนวณปริมาณการใช้ฟอสฟอรัสในสวนลำไย

ลำไยขนาด 4 เมตร มีการออกดอก 80 เปอร์เซ็นต์ (ที่เหลือแตกใบ) ประเมินผลผลิตได้ประมาณ
35 กิโลกรัมต่อต้น มีค่าวิเคราะห์ ฟอสฟอรัสในดิน 10 ppm จะคำนวณปริมาณฟอสฟอรัสที่จะต้อง
ให้(คำนวณที่ระดับความลึกราก40 ซม.) คือ

 


ก. ความต้องการฟอสฟอรัส

ในการแตกใบ 2 ครั้ง  8.8 กรัม (ตารางที่ 4)

             
การสร้างผลผลิต  14.7 กรัม  (35x0.42)

                       
ช่อไม่ติดผล(20%) 0.88 กรัม  (4.4x20/100)

                       
รวมความต้องการธาตุอาหาร  104 กรัม

   

ข. ปริมาณธาตุอาหารในดิน (วิเคราะห์ได้ 10 ppm)

ลำไยขนาด 4 เมตรมี พท.ใต้ทรงพุ่มประมาณ 13 ตารางเมตรมีปริมาณธาตุฟอสฟอรัสที่บริเวณทรง
พุ่ม ประมาณ 62.4 กรัม (จากตารางที่  7 )

    
ค. ปริมาณธาตุอาหารที่จะต้องให้แก่ลำไย(ปริมาณที่ลำไยต้องการ-ปริมาณที่มีอยู่ในดินเดิม)

                                     
ดังนั้นธาตุอาหารที่ต้องให้คือ  104-62.4 = 41.6 กรัม
ซึ่งค่าที่ได้จะต้องคูณด้วยตัวปรับแก้ของฟอสฟอรัสจากตารางที่ 8 ดังนั้น

                                   
ปริมาณที่จะต้องให้ทางดินคือ           
83.2 กรัม (41.6
x 2)                          

ปริมาณที่จะต้องให้ทางระบบน้ำ คือ 72.8 กรัม (41.6x
1.75)

หมายเหตุ :
การประเมินความต้องการธาตุอาหารและการคำนวณการให้ปุ๋ยแก่ลำไยที่แสดงเ
เป็นงานวิจัยที่ได้จนถึงปัจจุบัน และตัวปรับแก้นั้น เป็นค่าที่ใช้กันทั่วไปในต่างประเทศ ซึ่งในงาน
วิจัยที่จะทำต่อไปคือการหาวิธีประเมินที่แม่นยำกว่าเดิม และหาตัวปรับแก้ของดินที่ปลูกลำไย
ทั่วไปในไทย ตลอดจนทดลองหาช่วงเวลาการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับความต้องการมากที่สุด
เพื่อการจัดการดินและปุ๋ยอย่างมีประสิทธภาพสูงสุดต่อไป

           
สำหรับจุลธาตุอาหารนั้นอาจคำนวณโดยวิธีข้างต้น หรือ มีการให้ทางดิน(พิจารณาตามค่าวิเคราะห์)ดิน
ดังตารางที่ 9 หรือให้ทางใบตามความจำเป็น ซึ่งหากเป็นไปได้เกษตรกรจะต้องมีการวิเคราะห็ดินและ
ใบเพื่อทราบสภาวะธาตุอาหารในดินและใบของสวนลำไยว่าเป็นอย่างไรเพื่อประกอบการพิจารณาในการ
ใช้ปุ๋ย



            ตารางที่ 9 ปริมาณจุลธาตุอาหารที่ให้ทางดินและการให้ทางใบ


         

แร่ธาตุอาหาร
การให้ทางใบ

  (กรัม/ลิตร)

          การให้ทางดิน 

กรัม/ม2ของพื้นที่ทรงพุ่ม/ปี

 Borax

1.0

2.0

Zinc  sulphate  heptahydrate

2.0

25

Copper sulphate (bluestone)

2.0

4.0

Iron  sulphate or chelate

1.0

10.0

Manganese sulphate

2.0

5.0

Magnesium  sulphate  (Epsom  salts)

2.0

4.0

 
ใช้ปุ๋ยทางเคมีอย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพสูง 

           
การใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพสูง  หมายถึงการใช้ปุ๋ยชนิดที่เหมาะสมโดยวิธีการที่ถูกต้อง  เพื่อให้
ได้ผลผลิตออกมามีมูลค่าสูงสุด ซึ่งหลักการปฏิบัติเพื่อให้ปุ๋ยเคมีที่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดมีดังนี้คือ  

1) ใช้ปุ๋ยให้ตรงกับที่พืชขาด ความจริงมีอยู่ว่า ถ้าคันที่ไหนให้เก่าที่นั่น หากเก่าไม่ถูกที่ย่อมไม่หาย
คัน พืชก็เช่นกัน เมื่อขาดธาตุไนโตรเจนก็ต้องให้ปุ๋ยไนโตรเจน และต้องให้จนถึงระดับที่เพียงพอ  
ถ้าขาดแคลน 3 ธาตุ ก็ให้จนครบ และเพียงพอทั้ง 3 ธาตุ จะทำเป็นประหยัดให้เพียง 2 ธาตุก็จะให้
ผลเหมือนกับไม่ให้อะไรเลย เพราะตัวที่ขาดอยู่จะเป็นตัวจำกัดการเจริญเติบโตของพืชอยู่


2) พยายามให้ดินร่วนซุยและมีความชื้นอย่างเหมาะสม เพราะโดยปกติรากพืชจะแผ่ขยายและไชชอน
ในดินร่วนซุยได้ดีมาก ก็ย่อมมีโอกาสดูดน้ำและธาตุอาหารจากดินมาใช้อย่างเต็มที่ เมื่อใส่ปุ๋ยลงไปพืชก็
ดูดอาหารจากปุ๋ยได้มาก ถ้าดินแน่นทึบก็ต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้พอเพียง รวมทั้งควรให้ความชื้นอย่าง
เพียงพอ เพราะนอกจากจะทำให้ปุ๋ยปุ๋ยละลายแล้ว พืชยังต้องการน้ำไปใช้ประโยชน์โดยตรงด้วย หาก
ความชื้นในดินต่ำเกินไป พืชจะแคระแกรนเพราะขาดน้ำ ดังนั้นเกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ดินแห้งหรือแฉะ
เกินไป เพราะหากดินแห้งหรือแฉะเกินไปจะไม่สามารถดูดธาตุอาหารได้ดี


3) ใส่ปุ๋ยให้ถูกที่ ถูกจังหวะและปริมาณที่เหมาะสม ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินจะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่าย
ถ้าปุ๋ยนั้นละลายในดิน ตรงบริเวณที่รากพืชเจริญเติบโตและแผ่ขยายอย่างหนาแน่น แต่ความเข้มข้นของ
ปุ๋ยในดินนั้นจะต้องไม่มากเกินไปจนเป็นพิษต่อรากพืช และต้องให้ในปริมาณที่เพียงพอ เพราะหากให้
ไม่พอแล้วก็อาจจะเหมือนกับไม่ได้ให้เลย ดังนั้นเกษตรกรควรวิเคราะห์ดินเป็นประจำ รวมทั้งให้ถูกเวลา
เช่น การใส่ปุ๋ยในช่วงก่อนเก็บเกี่ยวไม่นานจะไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย


4) ป้องกันการสูญหาย ซึ่งปุ๋ยอาจสูญหายไปจากดินได้ดังได้กล่าวมาแล้ว หากปุ๋ยที่ละลายน้ำง่าย
เช่น ปุ๋ยไนโตรเจน จะถูกน้ำชะลงไปในชั้นดินลึก ซึ่งรากพืชดูดมาใช้ไม่ได้ หลังจากใส่ปุ๋ยไนโตรเจน
ต้องรดน้ำแต่พอควรเท่านั้น และควรป้องกันน้ำเซาะกร่อนดินแล้วดินถูกพัดพาไปตามน้ำ ปัญหาอย่างนี้
มักเกิดขึ้นเมื่อปลูกพืชในพื้นที่ซึ่งมีความลาดเทมาก  สำหรับอีกกรณีหนึ่งคือการเสียปุ๋ยโดยปุ๋ยระเหย
ไปจากดิน มักเกิดขึ้นเสมอเมื่อใส่ปุ๋ยยูเรียหรือปุ๋ยแอมโมเนียในดินที่เป็นด่างจัด หรือการใส่ปุ๋ยยูเรียร่วม
กับการใส่ปูน ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการกระทำดังกล่าว 


5) การใส่ปุ๋ยไม่เหมาะสมอาจทำให้สมดุลย์ของธาตุอาหารในดินคลาดเคลื่อนได้
ปัญหานี้จะเกิดขึ้น
หากเกษตรกรใส่ปุ๋ยบางธาตุโดยเฉพาะปุ๋ยที่เป็นาตุอาหารหลักหรือปุ๋ยสูตร
ที่มีขายกันอยู่ทั่วๆไป เช่น
15-15-15, 8-24-24 มากเกินไปหรือให้ติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่มีการวิเคราะห์ดินเลยว่า
ตอนนี้ดินในสวนมีธาตุอาหารมากน้อยเท่าใด ซึ่งปริมาณธาตุอาหารหลักที่มากเกินจะทำให้ธาตุอื่นซึ่งพืช
ยังไม่น่าจะขาดแคลนกลับขาดแคลนได้ โดยเฉพาะฟอสฟอรัสที่มีปริมาณมากเกินไปจะมีผลทำให้พืช
ขาดจุลธาตุอาหารบางธาตุเช่นสังกะสีและทองแดง เช่น ในดินที่มีสังกะสีอยู่ไม่มากนัก แต่พืชยังไม่ขาด
สังกะสี ถ้าใส่ปุ๋ยฟอสเฟตค่อนข้างมากในดินประเภทนี้ จะทำให้พืชเริ่มขาดสังกะสีทันที รวมทั้งปริมาณ
โพแทสเซียมที่มากจะไปขัดขวางไม่ให้พืชดูด แคลเซียมและแมกนีเซียมได้  เป็นต้น

           
6) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยโดยการตัดแต่งกิ่ง  อีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องคำนึงก็คือ การตัดแต่งกิ่ง
ซึ่งนอกจากจะเป็นการตัดกิ่งที่ทึบ บังแสงซึ่งกันและกัน ทำให้ใบที่ถูกบังแสงมีประสิทธิภาพในการ
สังเคราะห์แสงลดลง(กินเท่ากันแต่ทำงานน้อย) แล้ว ถ้าเราเปรียบรากลำไยกิ่งตอน ซึ่งมีรากน้อย
เสมือน ปั๊มสูบน้ำที่มีแรงจำกัด และส่วนกิ่งและยอดลำไยเหมือนกับท่อน้ำ จะเห็นได้ว่าหากมีท่อน้ำอยู่
มากเกินไป จะทำให้ปั๊มที่มีแรงจำกัดไม่สามารถส่งน้ำไปปลายท่อได้ในปริมาณที่มากพอ ต้นลำไยก็เช่น
กัน รากที่มีอยู่จำกัดก็ไม่สามารถส่งอาหารไปเลี้ยง ทุกยอดได้อย่างดีพอ ทำให้ต้นลำไยอาจแสดง
อาการขาดธาตุอาหารได้ ดังนั้นจึงต้องทำการปิดหรือลดท่อแยกลงเพื่อให้น้ำจากปั๊ม ส่งถึงปลายท่อได้
แรงขึ้น หรือต้องตัดแต่งกิ่งลำไยออกบ้างเพื่อให้รากสามารถดูดธาตุอาหารไปเลียงส่วนยอดได้ทัน

 


เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง” โครงการสัมมนากลยุทธ์การจัดการธาตุอาหารพืชสู่รายได้ที่ยั่งยืน
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2544  ห้องประชุมเคยูโฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน


www.fruitboard.doae.go.th/.../การจัดการดินและปุ๋ยลำไยยุคใหม่6ส.ค.44.doc -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (908 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©