-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 496 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร





กำลังปรับปรุงครับ


  3. การให้น้ำพืชผักสวนครัว



การดูแลรักษาพืชผัก

น้ำ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชผักมาก เนื่องจากพืชผักเป็นพืชที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่สูง พืชผักต้องการน้ำตลอดฤดูกาลเพาะปลูกอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากน้ำเป็นองค์ประกอบของพืชผักถึงร้อยละ 80 หรือมากกว่า และยังมีหน้าที่สำคัญต่อขบวนการต่างๆภายในพืช เช่น กระบวนการสังเคราะห์แสง นอกจากนี้น้ำ ยังเป็นตัวทำละลายธาตุอาหารในดินให้อยู่ในรูปที่พืชผักต้องการ ช่วยลำเลียงธาตุอาหารที่รากได้มาจากดินสู่ใบและช่วยลำเลียงสารอาหารที่เป็นผลมาจากการสังเคราะห์แสง จากใบไปสู่ส่วนต่างๆของพืช ( เมืองทอง ทวนทวีและสุรีรัตน์ ปัญญาโตนะ.2532: 142)

   
4. หลักการให้น้ำแก่พืชผัก

4.1 อย่าให้น้ำแบบบ่อยๆทีละน้อย แต่ควรให้มากเต็มที่จนน้ำซึมทั่วตลอดหน้าตัดของดินถึง 8–12 นิ้ว ในแต่ละครั้งที่ให้ และไม่บ่อยครั้งนัก

         
4.2 ให้น้ำให้เพียงพอตามที่พืชต้องการ ในระยะการเจริญเติบโตแต่ละช่วง

         
4.3 หลีกเลี่ยงการให้น้ำในตอนเย็น เพราะจะทำให้ใบยังคงเปียกในเวลากลางคืน ทำให้เชื้อราระบาดทำลายได้ง่าย ถ้าเป็นไปได้ควรให้น้ำในตอนเช้า

         
4.4 พยายามลดการระเหยของน้ำโดยการคลุมผิวหน้าดิน

         
4.5 การให้น้ำกับพืชกินรากต่างๆ ภายหลังที่พืชนั้นกระทบแล้งพึงระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะสามารถทำให้รากขยายตัวทันทีและแตก ผลผลิตเสียหายได้

         
4.6 การให้น้ำมากเกินไปในบางครั้งทำให้ผลผลิตลดลงเนื่องจากอาจทำให้ การเจริญเติบโตทางใบ กิ่งก้านมากขึ้นโดยไม่สร้างผลผลิตเพิ่มขึ้น ( เมืองทอง ทวนทวีและสุรีรัตน์ ปัญญาโตนะ.2532: 152)

   

5. วิธีการให้น้ำพืชผัก

5.1 การให้น้ำแบบฉีดฝอย เป็นการฉีดน้ำจากหัวฉีดขึ้นไปบนอากาศแล้วให้ เม็ดน้ำตกลงมาบนพื้นที่ปลูก การให้น้ำแบบนี้สามารถใช้ได้กับพืชผักและดินทุกชนิด แต่ค่าลงทุนสูงมาก จึงมักเลือกใช้วิธีนี้เมื่อวิธีอื่นๆไม่สามารถจะใช้ได้ (สมภพ ฐิตะวสันต์. 2537 : 105)

         

5.2 การให้น้ำทางผิวดิน เป็นวิธีการให้น้ำที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในสภาพพื้นที่ แปลงปลูกที่เรียบหรือค่อนข้างเรียบ กระทำได้โดยให้น้ำขังหรือไหลไปบนผิวดินและ ซึมลงไปในดินตรงจุดที่น้ำนั้นขังหรือไหลผ่าน ซึ่งสามารถแบ่งได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมใช้กันมากได้แก่

                   
5.2.1 การปล่อยน้ำไปตามร่อง เป็นระบบการนำน้ำเข้าในแปลงปลูกพืชผักโดยนำเข้าไปตามร่องระหว่างแถว หรือตามร่องระหว่างแปลงปลูก แล้วปล่อยให้น้ำซึมขึ้นไปบนแปลง ใช้มากกับแปลงปลูกพืชผักพวก พริก มะเขือเทศ แตงโม ผักกาดหอม และกะหล่ำต่างๆ

                   
5.2.2 การปล่อยน้ำท่วมทั้งผืน เป็นระบบการนำน้ำเข้าไปในแปลงปลูก พืชผักโดยให้น้ำท่วมแปลงหมดทั้งผืน ใช้มากในการปลูกพืชผักพวก หอม กระเทียม

         

         
5.3 การให้น้ำแบบหยด เป็นวิธีการให้น้ำผิวดินวิธีใหม่ โดยน้ำจะหยดในจุดใด จุดหนึ่ง หรือหลายๆจุดบนผิวดินหรือบริเวณรากพืช โดยทั่วไปการให้น้ำแบบนี้ ควรใช้กับพื้นที่ดินมีเนื้อละเอียดจนถึงค่อนข้างหยาบและมีการไหลซึมทางด้านข้างดี เพราะการให้น้ำแบบนี้จะมีพื้นที่การให้น้ำแคบ ถ้าดินโปร่งมากจะทำให้น้ำไหลซึมลงไปในดินมากกว่าที่จะไหลซึมไปหารากพืชทางด้านข้าง ทำให้ความชื้นในดินแผ่กระจายไม่ทั่วถึงบริเวณราก

         
5.4 การให้น้ำทางใต้ผิวดิน เป็นการให้น้ำแก่พืชโดยยกระดับน้ำใต้ดินให้สูงขึ้นมาพอที่จะไหลซึมขึ้นมาสู่ระดับบริเวณรากได้ ซึ่งสามารถกระทำได้ 2 แบบคือ โดยการให้น้ำในคู และโดยการให้น้ำไหลเข้าไปในท่อซึ่งฝังไว้ใต้ดิน

        
5.5 การให้น้ำแบบใช้เรือติดเครื่องพ่นน้ำ เป็นการให้น้ำแปลงพืชผักโดยดึงน้ำจากท้องร่อง นิยมใช้มากในแปลงปลูกบริเวณท้องที่ภาคกลางเพราะเป็นเขตที่ลุ่ม แปลงปลูกเป็นแปลงยกร่องและมีร่องน้ำ โดยแปลงกว้างประมาณ 6 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1.5 – 2.00 เมตร ลึกประมาณ 1 – 1.5 เมตร

         
5.6 การให้น้ำแบบใช้แครงสาดและกระบวยน้ำเดินรด ใช้กับสวนผักขนาดเล็ก เช่นสวนครัว หรือสวนหลังบ้าน(สมภพ ฐิตะวสันต์. 2537 : 107)


   

6. การใส่ปุ๋ยพืชผักสวนครัว 
การให้ปุ๋ยพืชผักมีจุดประสงค์เพื่อให้ทดแทนธาตุอาหารส่วนที่พืชนำมาจากดินขึ้นไปใช้และส่วนที่ถูกชะล้างสูญเสียไปจากดิน รวมทั้งเพื่อรักษาระดับ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน (เมืองทอง ทวนทวีและสุรีรัตน์ ปัญญาโตนะ.2532:153) 

การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ หมายถึง เมื่อมีการใส่ปุ๋ยให้แก่พืชผักแล้วพืชสามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยนั้นได้มาก และให้ผลผลิตสูง ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้
         
6.1 ดินต้องมีความร่วนซุยและมีความชื้นเหมาะสม เพราะดินเป็นตัวทำละลาย ธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

         
6.2 ควรมีการป้องกันการสูญเสียปุ๋ยหลังจากใส่ลงดิน โดยการพรวนดินกลบปุ๋ยและรดน้ำตาม

         
6.3 ปรับปรุงคุณสมบัติของดินให้เหมาะสมต่อการนำปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ของ พืชผักอยู่เสมอ เช่น ถ้าดินเป็นกรดต้องใส่ปูนขาว ถ้าดินเป็นด่างต้องใส่กำมะถันผง เพื่อปรับปรุงดินให้มีสภาพเป็นกลาง

         
6.4 กำจัดวัชพืชออกจากแปลงปลูกบ้าง เพื่อไม่ให้แย่งปุ๋ยจากพืชที่ปลูก

         
6.5 เลือกวิธีการใส่ปุ๋ยให้เหมาะกับลักษณะการปลูกพืชผัก เช่น ถ้าปลูกโดยวิธี การหว่านก็ควรใส่ปุ๋ยไปพร้อมกับการหว่านเมล็ด (อรุณี ลิมศิริและปัญญาฉัตร กล่อมชุ่ม.2542:58)


   

7. หลักการให้ปุ๋ยแก่พืชผัก
 
พืชผักเป็นพืชอายุสั้น มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ดินที่ปลูกจึงควรมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างเพียงพอ (วสันต์ กฤษฎารักษ์.2544:18)โดยทั่วไปการใส่ปุ๋ยควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี จะช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อพืชสูงสุด การใส่ปุ๋ยให้กับพืชผักมีหลักปฏิบัติดังนี้

         
7.1 พยายามใส่ปุ๋ยทั้งชนิดและปริมาณ ให้ตรงกับช่วงระยะความต้องการของ พืชผักที่ปลูก ปุ๋ยที่ถูกชะล้างได้ง่ายจากน้ำฝนหรือการให้น้ำแบบพ่นฝอย เช่น ไนโตรเจน ปุ๋ยโพแทสเซียม ควรแบ่งใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นประมาณครึ่งหนึ่งของปุ๋ยทั้งหมด ส่วนที่เหลือให้ใส่เป็นปุ๋ยเสริมหยอดหน้าขณะพืชกำลังเจริญเติบโต

         
7.2 ปุ๋ยที่ไม่เคลื่อนย้ายในดินและไม่ถูกชะล้างในดิน เช่น ปุ๋ยฟอสฟอรัส ควรพยายามฝังให้ใกล้รากพืชมากที่สุด เพื่อรากพืชจะได้สามารถนำธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

         
7.3 การใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวมากเกินไป อาจก่อให้เกิดปัญหาดินเค็มและดินเป็นกรดจัดได้ (คำแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมีในพืชผักดูได้จากตาราง 14.1)

         
7.4 ควรให้ปุ๋ยมากขึ้นเมื่อใช้ระยะปลูกชิดขึ้น

         
7.5 ควรให้ปุ๋ยมากขึ้น ถ้าสามารถรักษาระดับความชื้นของดินได้เป็นอย่างดี (เมืองทอง ทวนทวี และ สุรีรัตน์ ปัญญาโตนะ ทวนทวี.2532:154)

        
7.6 การใส่ปุ๋ยควรแบ่งใส่หลายครั้ง ดีกว่าใส่ปริมาณมากแต่น้อยครั้ง (วสันต์ กฤษฎารักษ์.2544: 18) โดยปกติจะใส่ปุ๋ยรองพื้นหรือรองก้นหลุมก่อนปลูกและใส่อีกครั้งทุกๆ 15-20 วัน ซึ่งเรียกว่า ปุ๋ยแต่งหน้า

         
7.7 ผักกินใบ ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตนเจนสูงหรือใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลักทั้ง 3 ชนิดในสัดส่วนที่เท่ากัน เช่น สูตร 21-0-0 หรือ 15-15-15 ผักกินผลและกินราก ควรใช้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูงโดยเฉพาะในช่วงติดดอกออกผล เช่น สูตร13-13-21 แต่ในช่วงที่เจริญเติบโตทางลำต้นและใบ ควรใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น 21-0-0 หรือ 15-15-15 (วสันต์ กฤษฎารักษ์.2544:19)    

   

8. แบบและวิธีการใส่ปุ๋ย  แบบและวิธีการใส่ปุ๋ยแบ่งออกได้ดังนี้

8.1 การหว่านกระจายทั่วทั้งแปลง เป็นการใส่ปุ๋ยโดยหว่านปุ๋ยในรูปเม็ดให้ทั่ว ทั้งแปลง อาจกระทำในช่วงเตรียมดินเพื่อใส่เป็นปุ๋ยรองพื้น หรือใส่ในช่วงที่พืชกำลังเจริญเติบโตเป็นลักษณะปุ๋ยแต่งหน้า แต่การใส่ปุ๋ยในระยะนี้ต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะปุ๋ยที่ตกค้างบนส่วนต่างๆของพืชสามารถทำอันตรายแก่พืชได้ และควรให้น้ำตามทันทีหลังการหว่านปุ๋ยแล้วข้อดีของการใส่ปุ๋ยวิธีนี้ คือ สะดวกและง่ายในการปฏิบัติ แต่มีข้อเสียที่ มักเปลืองปุ๋ยและมีบางส่วนที่สูญเสียไปไม่ได้นำมาใช้

        
8.2 การใส่แบบเฉพาะจุดหรือเป็นแถบ วิธีนี้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการ ใส่ปุ๋ย โดยพยายามให้ปุ๋ยอยู่ในตำแหน่งที่พืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและ รวดเร็วลดการสูญเสียปุ๋ยลง แบ่งได้หลายวิธี ดังนี้

                   

8.2.1 การใส่ปุ๋ยเป็นแถบหรือจุดในดินบริเวณใต้เมล็ดพันธุ์และต้นกล้า เป็นการ ใส่ปุ๋ยรองพื้นในร่องหรือแปลงปลูก โดยอาจวางเป็นแถบๆหรือจุดๆ เฉพาะตรงที่หยอดเมล็ดพันธ์หรือที่ที่ต้นกล้าขึ้นอยู่ วิธีนี้ช่วยลดอันตรายจากปุ๋ยที่หว่านกระจายและตกอยู่ใกล้เมล็ดพันธุ์หรือต้นกล้ามากเกินไป โดยปกติควรวางปุ๋ยให้ห่างจากเมล็ดพันธุ์หรือรากต้นกล้าอย่างน้อยประมาณ 7.5–10 เซนติเมตร

                  
8.2.2 การใส่ปุ๋ยเป็นแถบหรือจุดในดินข้างแถวต้นกล้า เป็นการใส่ปุ๋ยพวกปุ๋ยเสริมเป็นแถบๆหรือจุดๆในร่องดินตื้นๆตลอดแนวขนานกับแถวปลูกพืช มักวางปุ๋ยในร่องลึกประมาณ 7.5–10 เซนติเมตร และห่างจากต้นพืชผักประมาณ 7.5–10 เซนติเมตร

                   
8.2.3 การใสปุ๋ยเป็นแถบบนดินรอบๆต้นพืชผัก เป็นการใส่ปุ๋ยพวกเสริม หยอดหน้าที่เรียกว่า ปุ๋ยแต่งหน้า โดยโรยเป็นแถบๆบนผิวดินรอบๆต้นพืชผักหรือเฉพาะด้านข้างตลอดแนวขนานกับแถวปลูก มักโรยให้ห่างจากต้นประมาณ 10–15 เซนติเมตร


         
8.3 การให้ปุ๋ยแบบพ่นฝอยทางใบ เป็นการให้ปุ๋ยในรูปสารละลายน้ำฉีดพ่นทางใบเพื่อให้พืชนำไปใช้ได้ทันที เป็นการให้ปุ๋ยเสริมหรือแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารเสริมต่างๆ จะไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจหากใช้วิธีการนี้ในการให้พวกธาตุอาหารหลัก การให้ปุ๋ยวิธีนี้ต้องระมัดระวังเรื่อง ความเข้มข้นของปุ๋ย ถ้าอัตราเข้มข้นมากเกินไปจะทำให้เกิดใบไหม้ตายได้


         
8.4 การใส่ปุ๋ยผสมไปกับระบบน้ำหยด เป็นการให้ปุ๋ยในรูปของสารละลาย โดยให้พร้อมกับน้ำหยด สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยได้อย่างมาก เพราะมีความสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทั้งยังประหยัดเวลาค่าใช้จ่ายในการให้ปุ๋ย แต่ต้องระมัดระวัง ต้องใช้ชนิดที่ถูกต้องและอัตราที่พอเหมาะ เพราะอาจไปเพิ่มปัญหาการสะสมของเกลือบริเวณรอบๆต้นพืชผักได้(เมืองทอง ทวนทวี และสุรีรัตน์ ปัญญาโตนะ.2532: 155-157


http://www.triamudomsouth.ac.th/07_g/31107_1_53/6/02/content09_1.html









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (1045 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©