-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 508 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร





กำลังปรับปรุงครับ


การจัดการวัชพืชในสวนไม้ผล

ความสำคัญของวัชพืช
วัชพืช (weeds) นับเป็นศัตรูพืชที่สำคัญกลุ่มหนึ่ง ที่มักทำความเสียหายให้กับสวนไม้ผล หาก ปล่อยให้งอกงามแพร่กระจายออกไปโดยไม่ได้อยู่ในการควบคุม

โทษ(harm aspects) วัชพืชที่ไม่อยู่ในการควบคุมอาจสร้างความเสียหายให้กับสวนไม้ผลได้หลายวิธี ที่สำคัญได้แก่

1.เป็นอุปสรรคต่อการเข้าไปดูแลจัดการสวนหรือการเก็บเกี่ยวผลผลิต สวนที่ขาดการดูแล อย่างสม่ำเสมอ วัชพืชจะเข้าปกคลุมพื้นดินและแม้แต่ต้นไม้ (เช่น ไมยราบเลื้อย)จะขีดขวาง ทิ่มแทง(เช่นหญ้าบุ้งดอกฝอย) ทำให้เกิดบาดแผล คัน จากขน หนาม หรือขอบใบ และเป็นที่หลบช่อนอาศัยของแมลงและสัตว์มีพิษ

2.เป็นที่หลบซ่อนหรือพักอาศัยของโรค แมลง หรือสัตรูของไม้ผลทำให้ยากต่อการป้องกันกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้น

3.แก่งแย่งน้ำธาตุอาหาร แสง และพื้นที่ไปจากพืชปลูก ซึ่งเป็นวิธีการทำความเสียหายโดย ตรงจากวัชพืชกับพืชที่ปลูกใหม่แคระแกรน ไม้สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ หรือถ้าเป็นต้นที่โตแล้ว ก็ทำให้ผลผลิตและคุณภาพลดลง

4.เป็นสาเหตุของไฟไหม้สวนในฤดูแล้ง ไม้ผลที่ปลูกในเขตอาศัยน้ำฝน เช่น ที่ดอนของภาคเหนือตอนบน วัชพืชจะแห้งตายเมื่อถึงปลายฤดูแล้งเดือนเมษายน และกลายเป็นเชื้อเพลิงทีมักทำให้สวนผลไม้เกิดความเสียหายในวงกว้างและอย่างรุนแรงทุกปี

5.การควบคุมวัชพืชเป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญของสวน ที่เกษตรกรหรือเจ้าของสวนต้องจัดเตรียมงบประมาณไว้ในแต่ละปี มากน้อยไปตามขนาดของสวน และระดับความรุนแรงของวัชพืช



วัชพืชที่สำคัญ
วัชพืชเป็นพืชที่ขึ้นตามธรรมชาติ ดังนั้น ชนิด (species) การแพร่กระจาย (distribution) และความหนาแน่น (intensity density) จึงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและสภาพสิ่งแวดล้อม ปัจจัยธรรมชาติที่สำคัญประการหนึ่งก็คือปริมาณและความเข้มของแสง ซึ่งเป็นผลจากร่มเงาพุ่มต้นของไม้ผล ที่แผ่ขยายกว้างออกตามการเจริญเติบโตของต้น ทำให้วัชพืชที่พบในสวนเก่าจึงอาจแตกต่างกับในสวนใหม่ นอกจากนั้นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้วัชพืชเกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น (weed shifts) ได้ชัดเจนก็คือการใช้สารฆ่าวัชพืช (herbicides) ชนิดเดิมต่อเนื่องกันหลายปี

วัชพืชในสวนใหม่
วัชพืชที่พบในสวนไม้ผลใหม่ 1-5 ปีแรกหลังปลูกโดยประมาณ (ขณะมีระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวยังห่างกัน) นับว่ามีความหลากหลายและรุนแรงยิ่ง อาจพบได้จนถึง 70 ชนิด (ธวัชชัยและแม๊กซ์เวล,2540) เพราะธรรมชาติของวัชพืชเป็นพืชที่มีวิวัฒนาการมานาน สามารถปรับตัวได้แม้ภายใต้ภาวะเครียดหรือแรงกดดันจากธรรมชาติ และปฏิบัติการรบกวนจากมนุษย์ได้เป็นอย่างดี พร้อมที่จะบุรุกเข้าครอบรองพื้นที่อย่างรวดเร็ว วัชพืชกลุ่มที่เจริญงอกงามได้เป็นอย่างดีในสวนใหม่ มักเป็นวัชพืชดั้งเดิมในพื้นที่ และเก็บตัวอยู่ในดินที่เรียกว่า เป็น seed bank ที่ใกล้ผิวดินก็ยิ่งจะมีมาก หน่วยขยายพันธุ์ (ropaqules) ที่ฝังตัวช่อนอยู่อาจเป็นเมล็ด (seeds) หรือลำต้นใต้ดิน ๅ (modified stems) การเตรียมดิน การปลูก และการบำรุงรักษาสวนใหม่ด้วยการเขตกรรม (tillage) จะพลิกฟื้นหน่วยขยายพันธ์ที่ถูกกลบผังไว้ขึ้นมา วัชพืชที่แพร่กระจายพันธ์โดยอาศัยเมล็ดซึ่งมักหมายถึง วัชพืชปีเดียว (annual weeds) มักจะเป็นกลุ่มที่สำคัญ (predominant species) เนื่องจากมีประชากรของเมล็ดในดินสูง เชน สาบแร้งสาบกา สวนที่ไม่มีการไถพรวนหรือมีการไถพรวนน้อย วัชพืชหลายปี ( perennial weeds) เช่นหญ้าคา จะค่อยๆ กลายมาเป็นกลุ่มที่สำคัญ ในสวนใหม่วัชพืชกลุ่มที่มีการสังเคราะห์แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเจริญงอกงามได้เร็วกว่ากลุ่มที่ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงต่ำ เพราะปัจจัยแสงยังไม่เป็นข้อจำกัด
วัชพืชในสวนเก่า

ปริมาณและความเข้มของแสงบนพื้นดินในสวนเก่าจะลดลงเป็นลำดับ เมื่อพุ่มต้นไม้ผลแผ่กว้างออกและชิดกันในที่สุด ทำให้พืชต้องการปริมาณและความเข้มของแสงมากมีจำนวนลดลง เหลือแต่กลุ่มที่อ่อนไหวต่อแสงน้อยกว่า ในสวนเก่าจึงมีประชากรและความหลากหลายของชนิดวัชพืชน้อยกว่าการมีปริมาณลดลงจึงควบคุมได้ง่ายกว่าในสวนใหม่มาก

หลักการจัดการ
ชาวสวนควรมีความเข้าใจในเองต้นเลยว่า วัชพืชและการควบคุมเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบนิเวศน์ในสวน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องหรือปฏิสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอื่น หรือกิจกรรมอื่นในระบบ การจัดการจำเป็นต้องมองให้เห็นภาพโดยรวมของระบบ แล้วการจัดภาพโดยรวมของสวนไปที่แต่ละสวน มากกว่าจะจะแยกส่วนที่เป็นวัชพืชออกมาโดยอิสระ หลักการที่สำคัญก็คือการทำให้ทุกชีวิต หรือทุกองค์ประกอบของระบบ ได้รับประโยชน์ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน อาจจะโดยการหมุนเวียนหรือนำกลับมาใช้อีกโดยมีคนเป็นศูนย์กลางที่จะกำหนดองค์ประกอบใดในระบบ ให้มีการเคลื่อนไปตามวัตถุประสงค์ อย่างเป็นลำดับตามความสำคัญ อย่างเหมาะสมทั้งกาละเทศะ ให้สอดคล้องกันมากที่สุด ไม่มีเศษเหลือ ส่วนเกินที่ต้องกำจัดตัดทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ หรือหากจะมีก็ให้มีน้อยที่สุด

วิธีการจัดการ
การจัดการวัชพืช เป็นศาสตร์ที่อาจต้องใช้แนวทางจากกรณีที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว แล้วมาปรุงแต่งเพิ่มเติมตามเงื่อนไขของแต่ละส่วนเอง
ในหลักการเดิมการควบคุมวัชพืชใน สวนไม้ผลนิยมทำได้หลายวิธีคือ

1. การใช้เครื่องมือ เช่นการไถ การใช้จอบหมุน การใช้รถตัดหญ้า และการใช้มีดฟันหญ้า เป็นต้น
2. การใช้ยากำจัดวัชพืช
3. การใช้พืชคลุมดิน

โดยทั่วไปมักจะใช้วิธีการ 2-3 วิธีร่วมกัน ที่นิยมทำกันมาก คือการใช้ยากำจัดวัชพืชใต้ต้นไม้ผล และใช้รถตัดหญ้าในระหว่างแถวปลูก สวนที่ขาดแคลนน้ำมักจะกำจัดวัชพืชให้หมดสิ้นเพื่อไม่ให้วัชพืชแย่งน้ำและอาหาร ส่วนสวนที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์และสวนที่มีพื้นที่ลาดเอียง จะใช้พืชคลุมดินช่วยในการควบคุมวัชพืช แล้วจึงใช้ยากำจัดวัชพืชในบริเวณที่รถตัดหญ้าเข้าไม่ถึง ร่วมกับการใช้รถตัดหญ้า
หรือใช้พืชคลุมดินมีอยู่ 2 พวกใหญ่ ๆ คือ ใช้พืชคลุมดินตระกูลหญ้า เช่นหญ้าลูกเห็บ และหญ้ามาเลเซีย เป็นต้น ใช้พืชคลุมดินตระกูลถั่ว เช่นถั่วเซนโตซิม่า ถั่วคาโลโบเนียม และ กรีนลีฟ สำหรับที่สูงบนภูเขา เป็นต้น

ส่วนไม้ผลที่ไม่มีการชลประทานส่วนใหญ่ มักจะประสบปัญหาวัชพืชที่แห้งตายในฤดูแล้งจะเป็นแหล่งของเชื้อเพลิงทำให้ได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ จนบางสวนต้องเลิกกิจการไป

ส่วนผู้ปลูกไม้ผลที่ตัดสินใจจะใช้ยากำจัดวัชพืช ควรจะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติและวิธีการใช้อย่างละเอียด เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น และเป็นการใช้ยากำจัดวัชพืชอย่างมีประสิทธิภาพ ยากำจัดวัชพืชที่นิยมใช้ในสวนผลไม้มีหลายอย่าง เช่น พาราควอท (Paraquot) ไดยูรอน (Diuron) ; 2,4 –D ; ดาลาพอน (Dalapon) หรือ เทอบาซิล (Terbacil)
อย่างไรก็ตามหลักการใหม่ ผู้เขียนได้เสนอแนวใหม่ในการจัดการวัชพืชในสวนโดยเสนอหลักการจัดการดังนี้

สวนขนาดเล็ก มักเป็นสวนที่พัฒนามาจากการทำฟาร์มแบบยังชีพ (subsistence farming) พื้นที่ถือครองมีขนาดเล็ก เช่นกรณีของภาคเหนือตอนบน มีขนาดต่ำกว่า 10 ไร่ลงมา ชาวสวนเป็นเกษตรกรค่อนข้างยากจน มักหารายได้นอกการเกษตรเป็นอาชีพเสริม การจัดการที่จะนำมาใช้โดยเฉพาะกับสวนใหม่ จึงจำเป็นที่ต้องพิจารณาถึงรายได้เพื่อการยังชีพในระยะแรกของชาวสวน ขณะที่ไม้ผลยังไม่ใช้ผลตอบแทน ใช้ปัจจัยการผลิต/การจัดการที่มีต้นทุนต่ำ และความยั่งยืน ระบบเกษตรแบบผสมผสานที่มีมะม่วงเป็นหลัก เป็นกรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นแนวทางการจัดการวัชพืช โดยการใช้พืชตระกูลถั่ว บำรุงดิน ถั่วฮามาด้า มาทำหน้าที่เป็นพืชคลุมดิน (cover crop) เพื่อควบคุมวัชพืชในสวนมะม่วง บนที่ดอนอาศัยน้ำฝนของภาคเหนือตอนบน (ธวัชชัยและคณะ, 2542)

สวนขนาดใหญ่ การทำสวนไม้ผลเป็นการค้าในประเทศไทย มีแนวโน้มที่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นจนถึงนับพันไร่ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นสวนส้มโซกุน (กระบี่) สวนส้มสีทอง (เชียงใหม่) ส่วนมะม่วงโชคอนันต์ (ประจวบคีรีขันธ์) มีการใช้ตลาดหรือธุรกิจเป็นตัวนำ เจ้าของเป็นนักธุรกิจ จึงพร้อมที่จะใช้ปัจจัยการผลิตมูลค่าสูงและให้ความสนใจกับเทคโนดลยีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผลตอบแทนสูง ความยั่งยืนของระบบอาจเป็นลำดับรอง ทำให้การจัดการสวนเน้นไปที่การใช้เลือกเครื่องจักรกลที่ใช้ประโยชน์รอบด้าน เหมาะสมกับปัญหาของแต่ละพื้นที่และกิจกรรมที่ไม่สามารถใช้แรงงานในบริเวณสวน กำหนดกิจกรรมและการใช้ทรัพยากรของฟาร์มที่มีอยู่อย่างจำกัดในรอบปีอย่างลงตัว วัชพืชและการจัดการก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งในนั้น

สรุป
วัชพืชเป็นปัญหาที่สำคัญของสวนไม้ผล หากไม่อยู่ภายใต้การควบคุมก็จะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าไปดูแลสวน เป็นที่หลบช่อนของ โรค แมลง สัตว์ศัตรูพืช แก่งแย่งปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืชหลักเป็นเชื้อเพลิงในพื้นที่แห้งแล้ง เป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญของสวน แต่เกษตรกรชาวสวนอาจใช้ความหลากหลายของวัชพืชที่เป็นพืชธรรมชาติเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะเป็นพืชคลุมดิน หรือพืชอาหารสัตว์ พืชอาหารมนุษย์และสมุนไพร วัชพืชเป็นปัญหาสำคัญในสวนใหม่ที่ยากต่อการเข้าควบคุมกว่าสวนเก่า เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมและปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการงอกงามของวัชพืช การจัดการวัชพืชในสวนไม้ผลมีหลักการอยู่ที่การมององค์รวมของสวน และให้เป้าหมายการควบคุมวัชพืชเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบที่ไม่แยกส่วนเป็นอิสระ ให้ทุกองค์ประกอบของระบบ ได้รับประโยชน์ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน อาจจะโดยการหมุนเวียนหรือนำกลับมาใช้อีก และเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกันมากที่สุด การใช้พืชตระกูลถั่วเป็นพืชคลุมดิน เพื่อควบคุมวัชพืช ใน "ระบบเกษตรแบบผสมผสานที่มีมะม่วงเป็นพืชหลัก บนที่ดอนอาศัยน้ำฝน" ได้เสนอให้พิจารณาเป็นกรณีศึกษา










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (2218 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©