-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 559 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร







เทคโนโลยีจัดการหลังการเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
สุเมษ เกตุวราภรณ์ (2537) กล่าวว่าในการศึกษาเกี่ยวกับการเก็บผลไม้จากต้น (harvesting) ควรเข้าใจคำว่า “maturity” ซึ่งเป็นสภาพของผลที่พร้อมจะเก็บได้ ความหมายของคำนี้ในทางพืชสวนหมายถึงผลไม้ซึ่งพร้อมที่จะเอาไปใช้เป็นประโยชน์ได้ คืออาจอยู่ในสภาพยังอ่อนอยู่จนถึงแก่เต็มที่ ส่วนในทางพฤกษศาสตร์นั้น หมายถึงผลที่เจริญจนเต็มที่ไม่เพิ่มขนาดอีกต่อไป ฉะนั้นในทางพืชสวนจึงทราบ maturity ได้ยากกว่าทางพฤกษศาสตร์

การเก็บเกี่ยวเป็นขั้นตอนอันหนึ่งที่เสียค่าใช้จ่ายสูง ไม้ผลบางชนิดจะเสียค่าใช้จ่าย ในการเก็บเกี่ยวสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ของราคาผลผลิต ความพยายามที่จะลดการสูญเสียผลผลิตในการเก็บเกี่ยว และการลดค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวจะช่วย ให้ได้รับผลตอบแทนสูงขึ้นอย่างมาก การเก็บเกี่ยว ผลไม้แบ่งออกได้ 2 อย่างใหญ่ ๆ คือ

1. การใช้มือเก็บเกี่ยว (hand picking) เป็นวิธีการเก็บเกี่ยวที่มีประสิทธิภาพดี สามารถคัดเลือกผลไม้ที่จะเก็บเกี่ยว และมีความเสียหายต่อผลผลิตไม่มากนัก แต่จะมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการบริหารแรงงานและเสียค่าใช้จ่ายสูง การเก็บเกี่ยวด้วยมือบางครั้งก็มีการใช้เครื่องมือช่วยบ้าง เช่น การเก็บเกี่ยวมะม่วง อาจจะใช้ตระกร้อสอย ไม้ผลบางชนิดมีขนาดต้นสูงมากจำเป็นต้องใช้บันไดช่วยในการเก็บเกี่ยว อุปกรณ์ที่ช่วยในการเก็บเกี่ยวด้วยมือมีมากมายหลายชนิด ผู้ผลิตจะต้องศึกษาวิธีการเก็บไม้ผลแต่ละชนิด แล้วตระเตรียมอุปกรณ์ช่วยในการเก็บเกี่ยวให้พร้อม

2. การใช้เครื่องจักรกล (harvesting machine)ในประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะมีปัญหาค่าแรงสูง ดังนั้นเพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวจึงมีผู้ผลิตเครื่องจักรแบบต่างๆ หลายชนิดเพื่อจะใช้ในการเก็บเกี่ยวไม้ผลแต่ละอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ผลที่จะนำไปส่งโรงงานแปรรูป เช่น บรรจุกระป๋องหรือทำแยม เป็นต้น


รูปที่ 3.1 องุ่นที่พร้อมเก็บเกี่ยวผลผลิต


การเก็บเกี่ยวผลไม้ถือหลักที่ว่าผลไม้บอบช้ำน้อยที่สุด เช่นการเก็บเกี่ยวกล้วยเราอาจใช้ถุงพลาสติกบาง ๆ คลุมเครือกล้วยเสียก่อนแล้วจึงตัดเครือออกจากต้นจะช่วยป้องกันรอยข่วน (bruise) บนผลกล้วยได้ หรือการเก็บเกี่ยวผลไม้ลูกโตๆ จากต้นสูงๆ อาจต้องใช้เชือกผูกลูกแล้วค่อยหย่อนลงมาเป็นต้น ผลไม้บางชนิดจะต้องปล่อยให้อยู่บนต้นจนมีคุณภาพที่ต้องการเสียก่อนจึงจะเก็บได้ เช่น องุ่น เงาะ เป็นต้น ถ้าเราเก็บผลไม้เหล่านี้ในระยะที่ยังไม่สุกจะทำให้รสเปรี้ยวหรือคุณภาพไม่เป็นที่พอใจของผู้บริโภค ทั้งนี้เพราะผลไม้ประเภทนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงให้เป็นน้ำตาลได้ หลังจากเก็บมาจากต้นแล้ว แต่ไม้บางประเภทเมื่อเก็บจากต้นแล้วสามารถเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาลได้เราก็อาจเก็บก่อนที่ผลจะสุกเต็มที่ได้ เช่น กล้วยและสับปะรด เพื่อส่งตลาดไกๆ ก็อาจเก็บในระยะ “mature green” เป็นต้น
การเจริญเติบโตของผลไม้ก่อนถึงระยะสุกเต็มที่ จะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งรวมอยู่ใน “ripening process” ผลไม้จะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

1. การเพิ่มขนาดของผล หลังจากติดผลแล้ว การเจริญเติบโตของผลไม้โดยทั่วไป จะมีการเพิ่มขนาดทั้งในทางเส้นผ่าศูนย์กลางและทางด้านยาว การเจริญของผลแบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนที่ว่าด้วยการเจริญของผล

2. การเปลี่ยนสีของส่วนต่างๆ ของผล สีเปลือกของผล แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ สีพื้น (ground color) เป็นสีพื้นของผิวก่อนที่จะเกิดสีทับ (over color) สีพื้นโดยทั่วไปแล้วจะมีสีเขียวแต่ผลไม้บางชนิด เช่น ชำมะเลียง (Otophora cambodiana) เปลือกผลขณะที่ยังอ่อนอยู่จะมีทั้งสีเขียวปนสีเหลืองแดง ส้ม หรือสีอื่นๆ แล้วแต่ชนิดของผลไม้ นอกจากเปลือกผิวของผลจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อผลแก่แล้ว เนื้อของผล และเมล็ดก็จะเปลี่ยนแปลงไปเช่นกันการที่ผลไม้มีสีต่างๆ กันนั้นจะเกี่ยวกับชนิดของเม็ดสี (pigments) ซึ่งมีอยู่ในเซลล์ของผล ที่เกิดในคลอโรฟิลล์ คลอโรฟิลล์ เอ (chlorophyll a) มีสี blue black คอลโรฟิลล์ บี มีสี greenish black นอกจากนี้มีเม็ดสี คาโรตินอยส์ (carotinoids) ซึ่งมีสีเหลืองซีดจนถึงสีแดงสด ประกอบด้วยสารหลายชนิดเป็น ไลโคฟิน (lycopene) มีสีแดงแอลฟา-คาโรติน (alfa-carotene) พบในดอกและที่รากแครอท เบตา-แคโรตีน (beta-carotene) พบในมะละกอ นอกจากนี้พบเม็ดสีอยู่ในเซลล์แซฟ เช่น แอนโธแซนทิน (anthoxanthins) ซึ่งมีสีเหลือง สารเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อผลแก่ขึ้น จึงทำให้ผลไม้มีสีต่างๆ นอกจากนี้สีของผลไม้จะเป็นผลที่เกิดจากอุณหภูมิและแสงแดดด้วย

3. การอ่อนตัวของผล (solftening) เมื่อผลไม้ยังไม่แก่ผลจะแข็งตัวมาก เมื่อแก่เข้าจะค่อยๆ อ่อนตัวลง ทั้งนี้เพราะมิดเดิล ลาเมลล่า (middle lamela) ซึ่งอยู่ในผนังเซลล์ เปลี่ยนแปลงและสลายตัวไป ทำให้เซลล์แต่ละเซลล์แต่ละเซลล์หลุดออกจากันกิ่งแก่เข้าการยึดเกาะของเมล็ดจะลดลงเรื่อยๆ จนในที่สุดจะสลายตัวหมดเมื่อผลสุกงอม

4. การเกิดนวล (bloom) ไม้ผลบางชนิดจะขับสารบางอย่างออกมาอาจเป็นพวกขี้ผึ้ง มีลักษณะเป็นผลอ่อนๆ เกาะอยู่ตามผิวของผลเมื่อผลไม้ผลใกล้จะแก่ ผลอันนี้เราเรียกว่า “นวล” หรือ bloom
5.จำนวนแป้งในผลลดลง เมื่อผลติดใหม่ๆ อาหารที่ส่งไปจากใบซึ่งปกติอยู่ในรูปของสารละลายพวกน้ำตาล เมื่อถึงผลจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นแป้งสะสมอยู่ พอแก่ขึ้นแป้ง (carbohydrates) จะค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อน้ำตาลเพิ่มขึ้นแป้งจะลดลงเรื่อย ๆ แต่ในพืชบางชนิด เช่น ข้าวโพดหวาน ถ้าเราเก็บไว้ในห้องธรรมดาหลังจากเก็บผักมาจากต้นแล้วเกิน 24 ชั่วโมง น้ำตาลในผลจะเปลี่ยนเป็นแป้งได้

6. ความถ่วงจำเพาะของผลเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะผลจะสะสมอาหารต่างๆ เพิ่มขึ้น จึงทำให้น้ำหนักของผลเพิ่มขึ้น

7. สารบางอย่าง เช่น กรดแทนนิน (tannin) จะลดลงเมื่อผลใกล้จะแก่เน่าผลไม้บางชนิดที่เรียกว่า “acid fruit” กรดภายในผลจะเพิ่มขึ้นทุกทีเมื่อแก่ขึ้น ปกติแทนนิน (tennin) จะลดลง จึงทำให้ผลไม้สุกมีรสฝาด (astringency) น้อยลงสารบางอย่าง เช่น ไขมัน (fat) และน้ำมัน (oil) จะเพิ่มขึ้น เช่น ในผลมะพร้าว ลูกเนย (avocado) ผลไม้บางชนิดเมื่อแก่จะมีเทนนินเพิ่มขึ้น

จากการเปลี่ยนแปลงของผลไม้ดังกล่าวมาแล้วนี้ เรานำมาใช้เป็นประโยชน์ในการเก็บ (picking) ผลไม้โดยตั้งเป็นมาตรฐานในการเก็บที่เรียกว่า “picking index” การเก็บเราอาจใช้มาตรฐานเก็บวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีดังต่อไปนี้

1. การใช้ขนาด การวัดขนาดของผลไม้นิยมใช้กับสวนทั่วๆ ไป โดยมากชาวสวนใช้ความชำนาญ ไม่มีอะไรเป็นมาตรฐาน ถ้าเราทำมาตรฐานสำหรับผลไม้แต่ละชนิดไว้เช่น ทำเป็นห่วงมีด้ามมีเส้นผ่าศูนย์กลางแปรไปตามชนิดของผลไม้ การใช้อาจทำได้ โดยการเก็บผลไม้ในสวนมา แล้วใช้ห่วงครอบดู เราจะทราบว่าผลไม้ชนิดต่างๆ ที่แก่พอจะเก็บได้นั้นโตขนาดไหน แล้วก็ทำเป็นมาตรฐานไว้

2. การเปลี่ยนแปลงทางรูปร่าง ผลไม้บางชนิดเมื่อแก่แล้ว บางส่วนของผลจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างไป เช่น กล้วยถ้าเหลี่ยมลบแสดงว่าแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ แต่ถ้าเก็บก่อนเหลี่ยมลบจะบ่มสุกช้า หรือทำให้คุณภาพเสียไป ในขนุนดูการเปลี่ยนแปลงของหนาม (stigma) ว่าหนามห่างก็แสดงว่าแก่แล้ว ผลระกำถ้าแก่ต้นขั้วจะขยายใหญ่ขึ้นเป็นต้น

3. ดูสีส่วนต่างๆ ของผล ผลไม้ส่วนมากถ้าสุกจะมีสีเหลือง เพราะเกิดสารบางอย่างขึ้น เช่น คาโรตีน (carotene) แอนโธแซนธิน (anthoxanthins) คาโรตินอยด์ (carotinoids) เป็นต้น ผลไม้บางชนิดมักจะมีสีเมื่อใกล้จะสุก อย่างไรก็ดีสีของผลไม้อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น อุณหภูมิ แสงแดด ฉะนั้นควรพิจารณาให้รอบคอบ เช่น ส้ม เขียวหวานทางภาคเหนือ จะเหลืองกว่าที่ปลูกในแถวภาคกลางเพราะอุณหภูมิทางเหนือเย็นกว่า ผลไม้บางชนิดเวลาโดนแดดจัด สีผิวของผลจะซีดลง เป็นต้น นอกจากนี้การดูสีเนื้อ และสีเมล็ดจะทำให้ทราบความแก่อ่อนของผลได้ สีของเนื้อมักจะไม่ใช่เป็นมาตรฐาน มีเพียงบางชนิดเท่านั้นแต่ส่วนมากไม่แน่นอน ปกติเมล็ดของผลเมื่อแก่จะมีสีคล้ำหรือดำ และชาวสวนนิยมใช้กัน

4. ขั้วผล ตรงส่วนขั้วที่ต่อมาจากกิ่งของผลไม้บางชนิด เมื่อแก่จะมีรอยหรือเกิด abscision zone ตาย แบ่งแยกผลออกจากกิ่ง เช่น แตงไทย เป็นต้น

5. จำนวนวัน การใช้จำนวนวันเป็นมาตรฐานในการเก็บเกี่ยวเราอาจทำได้โดยเริ่มจากจุดใดจุดหนึ่งของการเจริญเติบโต เช่น ตั้งแต่เริ่มออกดอก ปกติเราเริ่มตั้งแต่ระยะ “full bloom” คือเมื่อดอกในต้นบานประมาณ 70-75 % จากระยะนี้เราก็ศึกษาหรือนับดูว่าใช้เวลากี่วันจึงถึงเวลาเกี่ยวได้ แล้วทำเป็นมาตรฐานสำหรับผลไม้ชนิดหนึ่งในท้องถิ่นเฉพาะแห่งไป วิธีนี้เป็นวิธีง่ายและควรใช้เป็นไม้ผลที่ใช้เวลาแก่นาน อย่างไรก็ดีจำนวนวันที่แก่ของผลไม้บางชนิดอาจแตกต่างออกไป ถ้าเราเก็บเกี่ยวเพื่อส่งตลาดที่มีระยะทางต่างกัน เช่น การเก็บผลไม้เพื่อส่งไปตลาดต่างประเทศที่มีระยะทางไกลจำนวนวันอาจจะน้อยกว่าพวกที่จะส่งตลาดภายในเพราะต้องการให้ผลไม้เก็บอยู่ได้นานวันขึ้น การใช้มาตรฐานการเก็บแบบนี้อาจได้รับความกระทบกระเทือนได้ถ้าดินฟ้าอากาศแปรปรวน แต่ถ้าไม่มีปัญหาอะไรก็สามารถเตรียมแผนการเก็บล่วงหน้าได้

6. การใช้หน่วยความร้อน (heat unit) ในพืชบางอย่างเราอาจบอกระยะเก็บเกี่ยวได้ โดยใช้ความร้อนที่พืชนั้นได้รับ คือพืชจะค่อยสะสมความร้อนในแต่ละวันจนครบ heat unit ของพืชหาได้โดยการเอาอุณหภูมิต่ำสุดที่พืชจะขึ้นได้ (zero point) หรือ minimum หรือ best-line temperature ไปลบกับอุณหภูมิเฉลี่ยประจำวันผลต่างก็จะเป็นจำนวนความร้อนมีหน่วยเป็น “degreen day” และถ้าเอา 24 คูณ ก็จะเป็น “degree-hour” ตัวอย่าง เช่น ไม้ผลชนิดหนึ่งมีอุณหภูมิต่ำสุดที่จะขึ้นได้ 50 จF ถ้ามีอุณหภูมิเฉลี่ยประจำวัน 60 จF ในวันนั้นพืชจะได้รับความร้อนเท่ากับ 10 degree-day แต่ถ้าวันนั้นมีอุณหภูมิเฉลี่ย 40 จF ความร้อนที่พืชได้รับในวันนั้นจะเป็น 0 degree-day

พืชแต่ละชนิดจะมี heat unit ตายตัว ในพันธุ์ต่างๆ ของพืชชนิดเดียวกันอาจมี heat unit ต่างกัน เช่น ในองุ่นจะมี heat unit อยู่ในช่วง 1,500-3,000 degree-day พันธุ์คาดินัล (Cardinal) ต้องการความร้อนตั้งแต่ดอกบนจนถึงสุกประมาณ 1,800-2,000 degree-day พันธุ์ไวท์มาละกา (White Malaga) ต้องการความร้อนประมาณ 3,000 degree เป็นต้น

การใช้จำนวนความร้อน เป็นมาตรฐานในการเก็บเกี่ยวในเขตที่มีอุณหภูมิร้อนจัดเกินไป จะทำให้การคำนวณผิดพลาดได้ เพราะอุณหภูมิเฉลี่ยประจำวันมากเกินไป ในจำนวนนี้พืชจะเอาไปใช้เป็นบางส่วนเท่านั้น

7. การใช้จำนวนแป้งในผล การใช้จำนวนแป้งในผลเป็นเครื่องวัด อาศัยหลักที่ว่าผลไม้จะเปลี่ยนแปลงเป็นน้ำตาลเมื่อแก่ เราต้องทำการศึกษาดูว่าเมื่อผลแก่เต็มที่หรือสุกจะมีแป้งเหลือเท่าไร แล้วทำเป็นมาตรฐานเอาไว้

8. การใช้จำนวนน้ำตาล ปริมาณน้ำตาลจะเพิ่มขึ้นในขณะที่แป้งลดลงเมื่อผลแก่เพราะแป้งจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล เราควรศึกษาดูว่าไม้ผลชนิดใดมีน้ำตาลเท่าใด จึงควรจะเก็บและถือเป็นมาตรฐานว่าผลไม้นั้นแก่แล้ว น้ำตาลในผลไม้มีหลายอย่าง ถ้าเราจะทำการหาโดยละเอียดจะเป็นการยาก จึงใช้วัดในรูปของ soluble solids คือเป็นจำนวนของ solids ที่ละลายอยู่ในเซลล์แซบ จะเป็นน้ำตาล การวัดทำได้ 2 วิธีคือ

ก. วัดจากความแน่น (density) ของเซลล์หรือน้ำหวานของผลไม้โดยการนำเอาน้ำหวานที่เราคั้นมาจากผลไม้ใส่ลงไปในกระบอกหรือภาชนะที่เขามีไว้ให้ และใช้ Brix Hydrometer จุ่มลงไปก็จะทราบปริมาณน้ำตาลได้ การใช้ไฮโดรมิเตอร์จะต้องวัดตามอุณหภูมิที่เขากำหนดให้ หรือถ้าวัดอุณหภูมิที่แตกต่างออกไปก็อาจทำการแก้ไขให้ถูกต้องได้ วิธีนี้เหมาะสำหรับวัดผลไม้ที่มีน้ำหวานมากๆ

ข. ใช้ทำการหักเหของแสง โดยอาศัยการหักเหของแสงมากน้อยเป็นเกณฑ์ คือปกติแสงจะหักเหตามความหนาแน่นของสารละลาย วัดได้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “sugar refractometer”


9. การใช้อัตราส่วนของแป้งต่อน้ำตาล เป็นการหาทั้งปริมาณของแป้งและน้ำตาลเมื่อผลแก่พอจะเก็บได้ แล้วทำเป็นตัวเลขไว้สำหรับผลไม้แต่ละชนิด

10. การใช้จำนวนกรดในผล เป็นการหาปริมาณของกรดที่มีอยู่ในน้ำหวานผลไม้ โดยการ titrate น้ำหวานกับโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) แล้วเอาตัวเลขมาทำมาตรฐานไว้

11. ใช้อัตราส่วนระหว่างน้ำตาลต่อกรด (S/A ratio) ผลไม้บางชนิดจะใช้กรดหรือน้ำตาล แต่เพียงอย่างเดียวจะไม่เหมาะสม เพราะเราต้องการให้มีรสเปรียวกับหวานปนกัน เช่น ส้ม เวลาซิมดูจะรู้สึกว่ามีรสแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลและกรดรสเปรี้ยวหวานในน้ำส้มนั้นปกติใช้น้ำตาลต่อกรดในอัตรา 6:1 แต่อาจผิดไปจากนี้ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับรสนิยมของแต่ละคนหรือแต่ละชาติ ผลไม้บางชนิดเราต้องการรสหวานแก่เพียงอย่างเดียวเช่น มังคุด ทุเรียน มะม่วงสุก เราก็ใช้น้ำตาลเพียงอย่างเดียวเป็นมาตรฐานในการเก็บเกี่ยว

12. การอ่อนตัวของผล เราทราบว่าแล้วว่าเมื่อผลแก่ขึ้น การอ่อนตัวของผลจะมีมากขึ้น การวัดทำได้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “pressure tester” มีอยู่ 2 ขนาด คือขนาดใหญ่ใช้กับผลไม้ที่มีเนื้อแข็งมาก อีกอย่างหนึ่งขนาดเล็กกว่าใช้สำหรับการวัดการอ่อนตัวของผลไปที่มีเนื้ออ่อนๆ บนเครื่อง



การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
ธนัท ธัญญาภา(2537) กล่าวว่าหลังจากที่ทำการเก็บเกี่ยวผลไม้มาแล้ว จะต้องมีขั้นตอนอีกหลายอย่างที่จะต้องจัดการกับผลไม้ ผลไม้บางอย่างอาจมีขั้นตอนน้อยมากเพราะราคาต่ำมาก ส่วนผลไม้ที่มีราคาสูง จะมีขั้นตอนมาก หลังจากเก็บเกี่ยวผลไม้อาจถูกทำความสะอาด ผลไม้บางอย่างจะถูกล้างน้ำหรือนำไปคัดขนาดแบ่งแยกตามคุณภาพของผล เช่น สีของผล จากนั้นจึงถูกนำไปบรรจุในภาชนะการคัดขนาดและการบรรจุไม้ผลบางชนิดก็ใช้เครื่องจักร

โดยทั่วไปผลไม้จะถูกนำไปขายโดยทันที แต่ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการขนส่ง หรือมีปัญหาการตลาด เช่น จะต้องขนส่งระยะทางไกล หรือราคาผลผลิตตกต่ำ ก็จะต้องมีวิธีการยืดอายุของผลไม้ด้วยวิธีการต่างๆ วิธีการเหล่านี้ได้แก่

การใช้อุณหภูมิต่ำ เมื่อเก็บเกี่ยวผลไม้มาแล้ว และได้ดำเนินตามขั้นตอนต่างๆ จนกระทั่งบรรจุภาชนะแล้ว ผลไม้จะถูกนำไปลดอุณหภูมิลงซึ่งอาจจะใช้ลมเย็น น้ำเย็น หรืออาจใช้วิธีลดความดันอากาศในภาชนะปิดที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ เมื่อผลไม้มีอุณหภูมิต่ำตามที่กำหนดแล้ว จึงนำไปเก็บรักษาในห้องเย็น โดยขนส่งด้วยรถยนต์หรือเรือที่มีระบบห้องเย็น ซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ การเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำจะช่วยให้ผลไม้ลดอัตราการหายใจลงทำให้ผลไม้มีอายุยืนยาวนานขึ้น จากการศึกษาวิจัยพบว่าผลไม้ชนิดต่างๆ ควรจะเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ แตกต่างกัน ผลไม้เขตร้อนบางอย่าง เช่น กล้วยหอมทองถ้าเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส จะทำให้เปลือกผลเป็นสีดำไม่สามาถนำไปจำหน่ายได้ นอกจากอุณหภูมิที่เก็บรักษาจะเหมาะสมแล้ว การหมุนเวียนของอากาศจะช่วยให้อุณหภูมิในห้องเย็นมีคามสม่ำเสมอ และจะต้องมีความชื้นสัมพัทธ์สูงพอเหมาะกับความต้องการของผลไม้แต่ละชนิด ตัวอย่างสภาพการเก็บรักษาที่เหมาะสม และอายุการเก็บรักษาของผลไม้บางชนิดสามารถสรุป

การเก็บรักษาโดยควบคุมบรรยากาศรอบๆ ผลไม้ (Controlled Atmosphere storage)
การเก็บรักษาด้วยวิธีนี้จะต้องใช้โรงเก็บที่ปิดสนิทไม่ให้มีการรั่วไหลของอากาศ โดยทั่วไปจะใช้ร่วมกับอุณหภูมิต่ำ แล้วเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และลดปริมาณออกซิเจน ในโรงเก็บ วิธีการดังกล่าวเริ่มใช้ครั้งแรก กับการเก็บรักษาแอบเปิ้ลในประเทศอังกฤษ เนื่องจากแอปเปิลบางพันธุ์เก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ (ศูนย์องศาเซลเซียส) แล้วยังมีปัญหาเก็บได้ไม่นาน โดยทั่วไปมักจะควบคุมให้บรรยากาศในห้องเก็บมีออกซิเจน 2-3 เปอร์เซ็นต์ คาร์บอนไดออกไซด์ 1-8 เปอร์เซ็นต์ และใช้อุณหภูมิ 3-5 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามการเก็บรักษาด้วยวิธีนี้อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อผลไม้บางชนิดบางพันธุ์ ดังนั้นการศึกษาอย่างละเอียดก่อนใช้งานจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

การเก็บรักษาโดยการแปลงบรรยากาศรอบๆ ผลไม้ (Modified Atmosphere Storage)
เป็นการเก็บผลไม้ในถุงพลาสติกชนิดพิเศษ ซึ่งยอมให้ก๊าชและไอน้ำผ่านได้เป็นบางส่วน มีผลทำให้บรรยากาศในถุงพลาสติกที่มีผลไม้อยู่ฤดูดัดแปลงไป เมื่อผลไม้หายใจ ปริมาณออกซิเจนในถุงพลาสติกจะลดลง ในขณะที่ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จะสูงขึ้นทำให้การหายใจลดลง ผลไม้จะมีอายุการเก็บรักษายาวนานขึ้น การเก็บรักษาโดยลดความดันของบรรยากาศ (Hypobaric Storage)
ในสภาพความดันต่ำ ผลไม้จะมีอายุยืนยาวนานขึ้น และชะลอการสุกของผลไม้ ใช้ได้ผลดีกับผลไม้เขตร้อนและเขตกึ่งร้อน โดยไม่ต้องใช้อุณหภูมิต่ำมากนัก เพื่อช่วยในการเก็บรักษาเช่น การเก็บรักษาผลอะโวกาโดด้วยวิธีนี้จะเก็บได้นาน 3.5 เดือน โดยที่ผลไม่สุกเพราะมีการหายใจต่ำ



http://champtechno.blogspot.com/









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (965 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©