-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 572 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร








บทที่ 4 การแก้ไขปรับปรุงดินเค็มและดินโซดิก



ดินเค็มทำ ให้เกิดปัญหาบนพื้นที่เพาะปลูกขึ้นเนื่องจากสาเหตุต่างๆ เช่น การใช้นํ้าคุณภาพตํ่าใน

การชลประทาน การจัดการระบายนํ้าไม่ดี หรือมีนํ้าใต้ดินเค็มอยู่ใกล้ผิวดิน ความเค็มดินบริเวณรากพืช

จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นกับการเคลื่อนที่ขึ้นลงของเกลือในดิน การระเหยของนํ้าที่ผิวดินและการคายนํ้า

ของพืชเป็นแรงดึงทำ ให้นํ้าและเกลือเคลื่อนขึ้นสู่ผิวดิน ทำ ให้สารละลายดินมีเกลือเพิ่มขึ้น มักมองเห็น

คราบเกลือบนผิวดินเป็นหย่อมๆ เนื่องจากความไม่สมํ่าเสมอกันของเนื้อดิน แต่นํ้าก็เป็นตัวการสำ คัญที่

ช่วย ชะล้างเกลือออกไปจากดินได้เช่นกัน วิธีการแก้ไขปัญหาดินเค็มจึงทำ โดยการป้องกันการเคลื่อนที่

ของเกลือขึ้นสูผิ่วดินในแนวดิ่ง ด้วยระบบการระบายน้ำ การใช้น้ำ ส่วนเกินที่มีอยู่ในดิน การป้องกันไม่ให้

มีการเพิ่มเติมนํ้าลงไปในระบบ มักไม่แนะนำ ให้ระบายนํ้าโดยการขุดคูคลองเพราะจะทำ ให้เกลือแพร่

ออกไปทั้งในดินและนํ้า ควรเปลี่ยนวิธีการปลูก ไม่ปล่อยให้หน้าดินว่าง ปลูกพืชรากลึก มีระบบการชล

ประทานที่ดี ใช้สารปรับปรุงดินเพื่อไล่โซเดียมออกไปจากดิน ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพและเพิ่มความ

อุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน
 

4.1 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการจัดการแก้ไขปรับปรุงดินเค็มและดินโซดิก

การลดระดับความเค็มดินจะต้องพิจารณาว่า ดินนั้นเป็นดินเค็ม ดินโซดิก หรือดินเค็มโซดิก ขึ้น

อยู่กับปริมาณเกลือที่ละลายอยู่ในสารละลายดิน และเปอร์เซ็นต์โซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน ธาตุที่

เกี่ยวข้องกับปัญหาดินเค็มนั้นมีทั้งธาตุประจุลบ เช่น คลอไรด์ (Cl-) ซัลเฟต (SO4-2) ไบคาร์บอเนต (HCO3-) ไนเตรท (NO3-) และธาตุประจุบวก เช่น โซเดียม (Na+) แคลเซียม (Ca++) แมกนีเซียม (Mg++) โปแตสเซียม (K+) ปริมาณโซเดียมที่มากเกินไปทำ ให้สมบัติทางกายภาพของดินเสีย อนุภาคดินไม่เกาะตัวกันและฟุง้ กระจาย ดินแน่น และยุ่งยากในการชะล้างเกลือออกไป


4.1.1 การแก้ไขปรับปรุงดินเค็ม (saline soil reclamation)

ดินเค็ม (saline soil) มีเกลือที่ละลายนํ้าได้ปริมาณมาก มีโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ปริมาณน้อย นํ้าซึมผ่านดินได้ค่อนข้างดี การแก้ไขเพื่อลดปริมาณเกลือที่มีอยู่ในดินประเภทนี้จึงทำ ได้ง่าย โดยการใช้นํ้าจืดชะล้างเกลือ และระบายนํ้าที่มีเกลือละลายอยู่หลังจากการชะล้างออกไปจากดิน จำ เป็นต้องมี ระบบการให้นํ้าและการระบายนํ้า อาจเป็นคลองระบายนํ้าบนผิวดินหรือท่อระบายนํ้าใต้ดิน เพื่อระบาย นํ้าที่มีเกลืออยู่หลังจากชะล้างดินให้ออกไปจากดิน สามารถลดปริมาณเกลือในดินให้อยู่ในระดับที่ไม่ เป็นอันตรายหรือกระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่จะต้องคำ นึงถึงสถานที่และวิธีเก็บกักน้ำส่วนที่ระบายออกไม่ให้แพร่เกลือไปยังพื้นที่ข้างเคียง


4.1.2 การแก้ไขปรับปรุงดินโซดิก (sodic หรือ alkali soil reclamation)

เนื่องจากดินโซดิกมีเกลือต่างๆ ละลายอยู่น้อย แต่มีโซเดียมที่ถูกดูดซับอยู่ที่ผิวอนุภาคดินใน

ปริมาณที่มาก อนุภาคดินจะฟุ้งกระจายได้ง่าย ดังนั้น การแก้ไขดินโซดิกจำ เป็นต้องใส่สารปรับปรุงดิน

เพื่อให้เข้าไปแทนที่โซเดียมที่ดินดูดยึดไว้ และเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายนํ้าของดินด้วยการใส่ปุ๋ย

คอกหรืออินทรียวัตถุ สำ หรับสารที่ใช้ในการแทนที่โซเดียมนั้นก็เหมือนกับสารที่ใช้ในการปรับปรุงแก้ไข

ดินเค็มโซดิก (ตารางที่ 4.2) คือ สารพวกแคลเซียม


4.1.3 การแก้ไขปรับปรุงดินเค็มโซดิก (saline sodic หรือ saline alkali soil reclamation)ดินเค็มโซดิกมีทั้งเกลือที่ละลายได้อยู่มากแล้ว และมีโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ปริมาณมากด้วย ดังนั้นการจัดการดินเค็มประเภทนี้ต้องประกอบด้วยการใช้นํ้าจืดชะล้างเกลือที่มีอยู่มากในดิน และลดปริมาณโซเดียมที่ถูกดูดซับอยู่ที่ผิวของอนุภาคดิน ด้วยการแทนที่โซเดียมด้วยสารปรับปรุงดินบางชนิด เช่น แคลเซียม



4.2 เทคนิคในการจัดการพื้นที่มีปัญหาดินเค็ม มีดังนี้

4.2.1 การควบคุมความเค็ม ทำ ได้โดย

- การให้นํ้าถี่ขึ้น (more frequent irrigations)

- การเลือกชนิดพืชที่จะปลูก (crop selection)
-
การเพิ่มปริมาณนํ้าเพื่อการชะล้าง (additional leaching)

- การให้นํ้าปริมาณมากก่อนการปลูกพืช (preplant irrigation)
-
การเลือกตำ แหน่งหยอดเมล็ด (seed placement)

- การเปลี่ยนวิธีการให้นํ้าชลประทาน (changing irrigation method)
-
การเปลี่ยนแหล่งนํ้าชลประทาน (changing water supply)

- การปรับระดับพื้นที่ (land grading)
-
การปรับปรุงหน้าตัดดิน (soil profile modification)
- การระบายนํ้า (drainage)


4.2.2 การทำ ให้นํ้าซึมลงไปในดินได้เพิ่มขึ้น

- การเพิ่มการซึมของนํ้าโดยวิธีทางเคมี เช่น การใช้ยิบซัมไล่ที่โซเดียมที่มีมากเกินไป

- การเพิ่มการซึมของนํ้าโดยวิธีการทางกายภาพ เช่น การใช้วิธีทำ การเขตกรรม การไถ ทำ ลายชั้นดาน (sub soiling) ซึ่งเป็นการปรับปรุงการไหลซึมของนํ้าผ่านชั้นดินให้ดียิ่งขึ้น
 
4.2.3 การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน

ดินเค็มมีเกลือสะสมอยู่ทำ ให้อินทรียวัตถุในดินถูกชะล้างไปจากเนื้อดินได้ง่าย เมื่อแก้ไข ลดระดับความเค็มลงไปแล้ว ควรเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินด้วยการใส่อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด



 

4.3 การชะล้างเกลือ (salt leaching)

4.3.1 การทำ ให้เกลือที่ละลายได้ออกไปจากดินบริเวณรากพืช สามารถทำ ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

(DESCONAP, 1990)


ก. การขุดลอกเกลือที่สะสมอยู่บริเวณผิวหน้าดินโดยวิธีกล (scraping) เป็นการแก้ปัญหา

ได้ เพียงชั่วคราว เกลือที่มีปริมาณมากในดินจะขึ้นมาสะสมที่ผิวดินได้อีก

ข. การใช้นํ้าล้างคราบเกลือที่ผิวดิน (flushing) นํ้าจะไหลไปทางแนวราบไปสู่พื้นที่ตํ่ากว่า

หรือทางระบายนํ้า มีข้อเสียคืออาจเกิดการสะสมเกลือในพื้นที่ตํ่ากว่าที่อยู่ข้างเคียงได้

ค. การชะล้างเกลือออกไปจากเขตรากพืชลงไปในชั้นดินตามแนวดิ่ง (leaching) ให้ประสิทธิผลที่ดีที่สุดเมื่อมีการขังนํ้าจืดแล้วค่อยๆ ปล่อยให้นํ้าซึงลงไปในดิน เกลือถูกละลายและ

เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ที่ต้องการลดความเค็ม การชะล้างจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเมื่อมีระบบระบาย

นํ้าใต้ดินหรือระดับนํ้าใต้ดินอยู่ค่อนข้างลึก การระเหยของนํ้าในช่วงแล้งทำ ให้เกลือกลับขึ้นมาที่ผิวดินได้


4.3.2 ปริมาณนํ้าที่ต้องใช้ในการชะล้างเกลือ (water requirements for leaching) ปริมาณนํ้าที่ต้องใช้ในการชะล้างเกลือขึ้นกับปริมาณเกลือในดิน ระดับความเค็มที่ต้องการลดความลึกของชั้นดินที่ต้องการแก้ไข และลักษณะของดิน จะต้องมีการทดสอบเพื่อคำ นวณปริมาณนํ้าที่จะต้องใช้ในการล้างเกลือ เพื่อทำ ให้เกลือประมาณ 80% ถูกชะล้างออกไปจากความลึกของชั้นดินที่ต้องการ (Khosla et al., 1979)


การชะล้างเกลือที่มีประสิทธิภาพ คือ การใช้นํ้าปริมาณน้อยที่สุดซึ่งสามารถล้างเกลือออกไปได้

มากที่สุดในระดับความลึกของดินเดียวกัน ซึ่งปริมาณความต้องการนํ้าสำ หรับล้างเกลือต้องคำ นึงถึงสิ่ง

ต่าง ๆ (FAO, 1980) ดังนี้ คือ ปริมาณเกลือที่มีอยู่เดิมในดิน และในนํ้าใต้ดิน ชนิดของเกลือในดิน คุณ ภาพของนํ้าที่ใช้ล้างเกลือ ความสามารถในการไหลซึมผ่านได้ของดิน ความลึกของชั้นดินที่ต้องการล้างเกลือ วิธีการให้นํ้า และประสิทธิภาพของระบบระบายนํ้า ในสภาพพื้นที่ดินเค็มค่าความหนาแน่นรวม (bulk density) โดยเฉลี่ยพื้นที่ที่เป็นดินเค็มมีค่าโดยประมาณ 1.5-1.65 กรัม/ซม.3 และสภาพดินปกติโดยประมาณเท่ากับ 1.1-1.5 กรัม/ซม.3 ซึ่งค่าความหนาแน่นที่สูงกว่าปกตินี้จะส่งผลถึงความซาบซึมนํ้าและจะเป็นตัวกำ หนดการแพร่กระจายของช่องอากาศ ท้ายสุดผลผลิตของพืชก็จะตํ่ากว่าปกติ (Dargan et al., 1982)


ความลึกของดินที่ต้องการชะล้าง ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่ปลูกว่ามีระบบรากเป็นอย่างไร เพื่อให้

ระบบรากกระทบกระเทือนจากความเค็มน้อยที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ในพืชไร่ทั่ว ๆ ไปนิยมล้างดินในความ

ลึกเฉลี่ยแล้ว 1-1.5 เมตร แต่ในพวกไม้ผลและไม้ยืนต้นควรล้างดินในความลึกไม่ตํ่ากว่า 2 เมตร (FAO, 1971; 1976) ในการคำ นวณตามทฤษฎี เพื่อหาปริมาณนํ้าที่จะใช้ล้างดินอย่างพอเหมาะมักจะไม่ได้ผลในทางปฏิบัติ เนื่องจากนํ้าที่ใช้ล้างดินเมื่อใส่ลงไปในดินแล้วอาจจะซึมลงไปในดินไม่ได้ทั้งหมด ที่ได้ผลในการล้างดินจริงๆ จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของนํ้าล้างดินที่ใส่ลงไปทั้งหมด ดังนั้นการปฏิบัติในการล้างดินจึงต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติของดิน ชนิดพืช วิธีการให้นํ้า คุณภาพนํ้า และสิ่งแวดล้อมต่างๆ มากกว่าคำ นึงถึงปริมาณนํ้าที่ใช้อย่างเดียว นํ้าที่คุณภาพเลวอาจจะนำ มาใช้ในดินทราย หรือดินที่มีอัตราการซึมผ่านสูง


ข้อดีของดินทราย คือ สามารถใช้นํ้าล้างเอาเกลือออกจากบริเวณรากพืชได้ง่าย แต่ถ้าดินแน่นนํ้าจะไม่

สามารถซึมลงในดินแต่กลับยังอยู่บนผิวดิน นอกจากจะชะล้างเอาเกลือออกจากเขตรากพืชไม่ได้แล้วนํ้า

กลับทำ ให้รากพืชถูกนํ้าท่วมขังและขาดอากาศอีกด้วย (Schilfgaarde, 1974)


ปริมาณความต้องการนํ้าของพืชแต่ละชนิด ต้องการปริมาณนํ้าที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิด อายุ
ของพืชนั้น ๆ ระบบของราก ชนิดของดิน ความสามารถในการอุ้มนํ้าของดิน ลักษณะภูมิประเทศที่ขึ้นอยู่

กับอัตราการคายระเหยของพืชในบริเวณใกล้เคียง ปริมาณนํ้าฝนที่ตกลงในบริเวณนั้น ๆ อีกทั้งยังขึ้นอยู่

กับคุณสมบัติทางเคมี ชีวภาพ กายภาพของดินที่ทำ การปลูกพืช (Chapman and Turner, 1988) อย่างไรก็ตามปริมาณนํ้าที่จำ เป็นต้องใช้เพื่อล้างความเค็มของดินยังขึ้นอยู่กับคุณภาพของนํ้าชลประทานที่ใช้ล้างและชนิดของพืชทนเค็มที่เหมาะสมเพื่อปลูกหลังการล้างดิน (FAO, 1985)


การใช้นํ้าเพื่อทำ การล้างดินโดยอาศัยการผสมนํ้าจืด ในช่วงฤดูแล้งมีนํ้าเค็มปริมาณมากแต่มี

นํ้าจืดในปริมาณน้อยและจำ กัด จึงจำ เป็นต้องใช้นํ้าจืดอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้นํ้าเพื่อล้างดินขึ้นอยู่

กับปริมาณและคุณภาพของนํ้า อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับความมากน้อยของปฏิกิริยาการแลกเปลี่ยนประจุบวก

ซึ่งอาจแลกเปลี่ยนได้กับไอออนบวกจากภายนอก ขึ้นอยู่กับสามปัจจัย คือ

1)ความสามารถในการดูดซับและอำ นาจการแทนที่ของไอออนบวกต่าง ๆ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ

วาเลนซี ขนาดของไอออนเมื่อเปียกนํ้า ความสามารถที่จะมีโพลาไรซ์อันดับของความสามารถที่จะดูดซับได้สำ หรับไอออนบวกสามัญในดิน

2) ความเข้มข้นของสารละลาย

3) ธรรมชาติของสารคลอลอยด์ ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของคอล

ลอยด์ความไม่สมํ่าเสมอของผิวหน้าของคอลลอยด์ ความพอดีของไอออนกับช่องว่างบางแห่งในผลึก

และการเกิดคีเลตที่ซับซ้อนระหว่างไอออนบวกกับอินทรียสารในดิน นอกจากนี้แล้วยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น

ๆ อาทิเช่น ระดับความอิ่มตัวของไอออนบวก ความไวทางเคมีของโคไอออน ความสมดุลของการแลก

เปลี่ยนไอออนบวก ความเป็นกรดเป็นด่าง และความสมดุลของไอออนในดินเค็มและดินโซดิก (ไพบูลย์, 2528)

4.3.3
คุณภาพนํ้าที่ใช้ชะล้างเกลือ

ในบางพื้นที่การจัดการนํ้าที่มีคุณภาพดีนำ มาใช้ในการเพาะปลูกเป็นไปได้ยาก จำ เป็นจะต้องนำ

เอานํ้าเค็มมาใช้ในการชลประทาน จึงต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพื่อปฏิบัติอย่างรอบคอบระมัดระวัง มิ  

ให้เกิดเกลือสะสมอยู่ในดินจนเกิดอันตรายต่อพืช วิธีการหนึ่งในการลดอันตรายจากนํ้าเค็มก็คือ การนำ

นํ้าจืดมาผสมเพื่อให้นํ้านั้นมีคุณสมบัติที่จะใช้ในการปลูกพืชได้ ซึ่งคุณสมบัติของนํ้าที่ยอมรับในการใช้

เพื่อชลประทานจะมีระดับความเค็ม 0-3 dS/m ปริมาณ Ca++ 0-20 meq/l, Mg+++ 0-5 meq/l, Na+ 0-40 meq/l, CO=3 0-0.1 meq/l, HCO- 3 0-10 meq/l, Cl- 0-30 meq/l, และ SO = 4- 0-20 meq/l, (FAO, 1985)


คุณภาพนํ้าที่ใช้ชะล้างเกลือ มีผลต่อการสะสมเกลือในบริเวณรากพืช เมื่อยังไม่มีการชะล้าง

เกลือ ปริมาณเกลือที่สะสมบริเวณรากพืชเป็นสัดส่วนกับปริมาณเกลือในนํ้าชลประทานและความลึก

ของนํ้าที่ให้ ซึ่งมีผลจากขบวนการระเหยของนํ้าที่ผิวดินและการคายนํ้าของพืช (DESCONAP, 1990)


สมมุติว่าไม่มีการเพิ่มเกลือทางจากอื่นอีก จะสามารถคำ นวณค่าการนำ ไฟฟ้าของสารละลายดิน (Δ

ECe) ที่ระดับความลึกของดิน (Ds) ได้จากความลึกของนํ้าชลประทาน (Diw) ความเค็มนํ้าชลประทาน (ECiw) ดังนี้

Diw/Ds = (ds/dw)(SP/100)(ΔECe/ ECiw)

เมื่อ ds/dw คือ สัดส่วนของความหนาแน่นดินและนํ้า

SP คือ เปอร์เซ็นต์การอิ่มตัว ตัวอย่างเช่น ECiwx 106 = 1000

ds = 1.2 g cm-3

dw = 1.0 g cm-3

SP = 40


ความเค็มดินที่เปลี่ยนแปลง (ECex 106) ของ 4000, Diw/Ds = 1.9 หมายความว่า เกลือเพียง
เล็กน้อยในนํ้าชลประทานที่มีคุณภาพดี ทำ ให้ดินร่วนที่ไม่มีเกลือที่ความลึก 1 ฟุต กลายเป็นดินเค็มได้
เมื่อไม่มีการเพิ่มเกลือจากวิธีอื่น ปัญหานี้จะยิ่งรุนแรงขึ้นเมื่อใช้นํ้าที่มีเกลือในการชลประทาน



4.3.4 ความต้องการนํ้าในการชะล้าง (leaching requirement) เพื่อป้องกันการสะสมเกลือบริเวณรากพืช เมื่อใช้นํ้าคุณภาพไม่ดีในการชลประทาน จะต้องให้ นํ้าปริมาณมากเกินกว่าที่พืชใช้ จำ เป็นจะต้องมีการระบายนํ้าในดินเพียงพอ และระบายตํ่ากว่ารากพืชที่ ปลูก (USSL, 1954)

LR = Ddw/Diw

เมื่อ LR คือ ปริมาณนํ้าที่ใช้ในการชะล้างดิน

D คือ ความลึกของนํ้า

dw คือ นํ้าระบายออก

iw คือ นํ้าชลประทาน


มีข้อจำ กัดในการปฏิบัติในดินที่มีอนุภาคดินเหนียว เกิดปัญหาการซึมผ่านของนํ้าในดินไปได้

ยากและการระบายอากาศในดินเลว ต้องการนํ้าปริมาณมากและมีเกลือถูกละลายออกมามาก

Bernstein และ Francois (1973) มีความเห็นว่า leaching fraction มีผลเล็กน้อยกับความเค็มที่ดินบน ใช้การคำ นวณจากวิธีแรกจะมีประสิทธิภาพกว่า


4.3.5 วิธีการชะล้างเกลือ (leaching method)

เกลือที่มีอยู่ในดินสามารถกำ จัดออกไปได้โดยใช้นํ้าชะล้าง ปริมาณนํ้าที่ใช้ต้องเพียงพอในการ

ละลายเกลือออกไปสู่ระบบระบายนํ้าหรือออกไปนอกเขตรากพืช มีปริมาณมากกว่านํ้าที่พืชใช้ในการ

เจริญเติบโตและที่ระเหยจากดิน (Hillel, 1983)


วิธีการขังนํ้าที่นิยมใช้มี 2 วิธี คือ

. การขังนํ้าสำ หรับล้างดินแบบต่อเนื่อง (continuous ponding) โดยการขังนํ้าท่วมผิวดิน

ตลอดเวลา ลึกประมาณ 10 ซม. เพื่อทดแทนนํ้าส่วนที่ระบายออกและที่สูญเสียโดยการคายระเหย

(evapotranspiration) ใช้ได้ดีกับดินที่มีการไหลซึมของนํ้าดี ส่วนมากมีเนื้อดินเป็นทราย นํ้าใต้ดินที่เค็มอยู่ตื้นและดินมีอัตราการระเหยนํ้าสูง วิธีการนี้ถ้าไม่มีระบบระบายนํ้าหรือใช้นํ้าคุณภาพตํ่าจะทำ ให้การสะสมเกลือเพิ่มขึ้น . การขังนํ้าสำ หรับล้างดินแบบเป็นช่วงเวลา (intermittent ponding หรือ periodic water application) วิธีการนี้เหมาะสมสำ หรับดินที่มีการไหลซึมของนํ้าตํ่า นํ้าใต้ดินอยู่ลึก นํ้าใต้ดินไม่เค็ม หรือเค็มเล็กน้อย และช่วงเวลาของการระเหยนํ้าจากดินตํ่า โดยการใช้นํ้าชลประทานประมาณ 200 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ เพื่อละลายเกลือ และให้นํ้าอีกประมาณ 300 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ เพื่อล้างเกลือออกจากพื้นที่ วิธีนี้จะใช้เวลาในการล้างดินมากกว่าแบบให้นํ้าต่อเนื่องประมาณ 40% เพื่อล้างเกลือให้ออกจากดินบนในความลึก 60 ซม. (FAO, 1971)


การชะล้างดินแบบต่อเนื่อง เหมาะสำ หรับพืชที่ทนทานต่อการขังนํ้าเป็นเวลานาน เช่น ข้าว ซึ่งมี

ข้อดี คือ ใช้เวลาในการแก้ไขดินเค็มรวดเร็ว แต่ต้องมีการใช้ปริมาณนํ้าเพื่อการชะล้างมาก และต้องดูแล

มากกว่า ส่วนการชะล้างแบบเป็นช่วงเวลาเหมาะสำ หรับพื้นที่ที่ปลูกพืชไร่และผักต่าง ๆ ซึ่งมีข้อดี คือ

ประหยัดนํ้าได้มากกว่า แต่มีข้อเสีย คือ ใช้เวลาในการล้างดินนานกว่า (FAO, 1971; 1985)

Hansen และคณะ (1979) ได้แนะนำ การล้างดินเค็มให้ใช้เพาะปลูกได้อย่างถาวร 3 ขั้นตอน คือ

- มีระบบระบายนํ้าที่สามารถรักษาระดับนํ้าใต้ดินให้อยู่ตํ่ากว่าผิวดิน 2.5–3.0 เมตร

- ลดความเข้มข้นของเกลือในบริเวณรากพืชให้เหลือไม่เกิน 0.3-0.4% ส่วนในนํ้าใต้ดินให้มี

เกลือไม่เกิน 2-3 กรัม/ลิตร โดยการชะล้างและระบายนํ้า

- ป้องกันเกลือที่ชะล้างไม่ให้กลับมาสะสมในบริเวณรากพืช โดยระบายนํ้าที่ชะล้างเกลือออก

ไปยังบริเวณอื่น


ตามปกติการชะล้างเกลือจะประกอบด้วย การทำ คันดินเพื่อขังนํ้าให้มีระดับความลึกตามที่

ต้องการ ทำ ให้เกิดแรงกดให้นํ้าเคลื่อนลงไปในดิน ประสิทธิภาพของการชะล้างเกลือขึ้นอยู่กับความ

สมํ่าเสมอของการให้นํ้าผ่านลงไปในดิน การชะล้างแบบเป็นช่วงเวลาในดินที่ไม่อิ่มตัวด้วยนํ้าสามารถ

ชะล้างเกลือออกไปเพิ่มมากขึ้นต่อหนึ่งหน่วยของนํ้าที่ใช้ การให้นํ้าแบบ intermittent sprinkle มีประสิทธิภาพกว่าการขังนํ้า โดยการให้นํ้าแบบ sprinkle 25 ซม. ลดความเค็มดินในชั้นบน (0-60 ซม.) ได้เท่ากับการขังนํ้า 75 ซม. (Miller et al., 1965; Nielsen et al., 1966; Oster et al., 1972) ในการเลือกวิธี การให้นํ้าแก่พืช จำ เป็นต้องพิจารณาลักษณะธรรมชาติและความต้องการนํ้าของพืช ดังตารางที่ 4.1

(FAO, 1977) ดังนี้


การเลือกวิธีการให้นํ้าแก่พืช (FAO, 1977) ให้นํ้าบ่อยครั้ง ไม่จำ เป็นต้องให้นํ้าบ่อยครั้ง

1. พืช

1.1 มีรากตื้น ไม่หนาแน่น การแผ่ขยายน้อย

1.2 มีการเจริญเติบโตมากในช่วงที่ไม่มีฝน หรือช่วงที่มีการระเหย และคายนํ้ามาก

1.3 ผลผลิตที่ต้องการคือ ลำ ต้น ใบ ดอก หรือผลสด

1.1 มีรากลึก หนาแน่น การแผ่ขยายมาก

1.2 สามารถทนต่อการขาดนํ้าสูง

1.3 มีการเจริญเติบโตมากในฤดูฝน มีการระเหยและคายนํ้าน้อย

1.4 ผลผลิตที่ต้องการเป็นเมล็ดหรือผลแห้ง


2. ดิน

2.1 ชั้นดินตื้น โครงสร้างดินไม่ดี ทำ ให้รากแผ่ขยายได้แคบ

2.2 ผิวดินมีอัตราการซึมผ่านนํ้าตํ่า การระบายนํ้าและการถ่ายเท อากาศในดินไม่ดี

2.3 มีโรคที่เป็นอันตรายต่อรากพืชอยู่ในดิน

2.4 ดินระบายนํ้าออกมาให้พืชได้น้อย เมื่อใช้แรงดึงความชื้นตํ่า

2.5 ดินเค็มและ/หรือนํ้าชลประทานมีเกลือละลายอยู่ปริมาณมาก

2.6 มีปุ๋ยในดินปริมาณมาก หรือปุ๋ยส่วนใหญ่อยู่ในดินชั้นบน

2.7 ดินมีอุณหภูมิสูงมาก และพืชมีรากตื้น

2.1 ชั้นดินลึก โครงสร้างดินดี

2.2 ผิวดินมีอัตราการซึมผ่านนํ้าพอเหมาะ การระบายนํ้าและการถ่ายเท อากาศในดินดี

2.3 ดินระบายนํ้าออกมาให้พืชได้มาก เมื่อใช้แรงดึงความชื้นตํ่า

2.4 ดินและนํ้าชลประทานมีเกลือน้อย

2.5 มีปุ๋ยในดินอยู่ไม่มาก และมีกระจายตัวอยู่ตลอดชั้นความลึกของดิน

2.6 นํ้าใต้ดินอยู่ในระดับที่พืชสามารถดูดมาใช้ได้บ้าง


3. ภูมิอากาศ

3.1 มีลักษณะที่ส่งเสริมให้อัตราการระเหยและการคายนํ้าสูง

3.2 ไม่มีฝนตกในฤดูกาลเพาะปลูก

3.1 มีลักษณะที่ส่งเสริมให้อัตราการระเหยและการคายนํ้าตํ่า

3.2 มีฝนตกในฤดูกาลเพาะปลูก


4. การจัดการเพาะปลูก

4.1 ปลูกพืชต้นฤดูแล้ง

4.2 ต้องการผลผลิตสูง แม้ว่าจะทำ ให้ต้องเก็บเกี่ยวล่าช้าออกไปบ้าง

4.3 ราคาผลผลิตขึ้นกับนํ้าหนักสด หรือขนาดของส่วนที่เก็บเกี่ยว

4.1 ปลูกพืชและพืชมีการเจริญเติบโตในฤดูฝน และ/หรือในช่วงที่มีการระเหยและคายนํ้าน้อย

4.2 ปลูกพืชและพืชมีการเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนถึงฤดูแล้ง

4.3 ต้องการให้ผลผลิตแก่หรือสุกเร็ว เพราะตลาดกำ ลังมีความต้องการถึงแม้ว่าปริมาณและคุณภาพจะด้อยกว่าปกติก็ยอม

4.4 วิธีการระบายนํ้า (drainage method)

ความลึกของนํ้าใต้ดินมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการระเหยนํ้าที่ผิวดิน จะต้องรักษาระดับนํ้า ใตดิ้นใหอ้ ยูใ่นระดับลึกพอที่จะไม่เกิดเกลือในชั้นดินจากการระเหยของน้ำ ระดับน้ำ ใต้ดินวิกฤตอยู่ที่ 1.5 ถึง 3.0 เมตร ขึ้นกับความลึกของรากพืชที่ปลูก ความลึกนํ้าใต้ดิน และสมบัติของดิน การระบายนํ้ามี

ปัญหาเมื่อเกิดการขังนํ้าบนผิวดินของนํ้าฝนหรือนํ้าชลประทานที่มากเกินไป ความลาดเทของพื้นที่น้อย

เกินไป และการยอมให้นํ้าซึมผ่านของดินตํ่า จากการมีมีชั้นดานจากการสะสมของดินเหนียว ชั้นหิน หรือ

การเปลี่ยนแปลงเนื้อดินในชั้นดิน (DESCONAP, 1990)


การระบายนํ้าที่เหมาะสมจะช่วยควบคุมรักษาระดับนํ้าใต้ดินได้ และช่วยลดการสะสมของเกลือ

ที่ชั้นดินบนได้ ซึ่งอาจทำ ได้โดยวิธีต่างๆ (DESCONAP, 1990) ดังนี้ก. การระบายนํ้าผิวดิน (surface drainage) ทางระบายนํ้าต้องมีความจุพอที่จะรับปริมาณนํ้า


ฝนที่ตกลงมา ความเร็วของนํ้าที่ไหลลงมาในคูระบายนํ้าขึ้นกับอัตราฝนตก ความลาดเทของพื้นที่ และ

สภาพผิวดิน รวมทั้งพืชคลุมดิน โดยทั่วไปพื้นที่มีความลาดเทน้อยกว่า 2 สร้างคลองระบายนํ้ารูปตัววี

(V-shape) ขนานกันในระยะห่าง 20-60 เมตร ลึก 30-45 ซม. ข้อดีของการระบายนํ้าผิวดินคือ สามารถเคลื่อนย้ายนํ้าปริมาณมากที่ผิวดินในกรณีที่นํ้าใต้ดินอยู่ตื้น และพื้นที่มีความลาดเทน้อยกว่าที่จะวางท่อระบายนํ้า ใช้การระบายนํ้าที่ผิวดินเป็นที่รวมของนํ้าที่ระบายออกมาจากท่อระบายนํ้าได้ในระดับความลึกที่เหมาะสม ข้อเสียคือ ต้องใช้พื้นที่มาก ไม่สะดวกในการจัดการฟาร์ม เป็นอันตรายต่อวัวควาย ต้องใช้ทุนสูงในการดูแลรักษาเป็นระยะๆ เนื่องจากวัชพืชขึ้นขวางทางนํ้าหรือการพังทลายของดิน


ข. การระบายนํ้าใต้ผิวดิน (subsurface drainage) มีหลายวิธี เช่น

- การสร้างรูระบายนํ้าใต้ดิน (mole drains) ใช้ได้ดีสำ หรับการระบายนํ้าตื้นๆ ในพื้นที่เป็น

ดินเหนียวที่ชื้น ไม่เหมาะที่จะทำ ในดินเนื้อหยาบ ลงทุนน้อยแต่มีอายุใช้งานเพียงสองสามปี ใช้ไม่ได้ผลกับพื้นที่มีปัญหาจากนํ้าใต้ดินเค็ม

- การระบายนํ้าใต้ดินแบบท่อ (tile drains) เป็นท่อฝังเชื่อมกันที่สามารถพานํ้าส่วนเกินออก

จากดิน วัสดุที่ทำ ท่ออาจเป็นดินเหนียว คอนกรีต พลาสติก หรือวัสดุสังเคราะห์


. การระบายนํ้าแนวดิ่ง (vertical drainage) การระบายนํ้าทางแนวราบไม่สามารถลดระดับนํ้า
ใต้ดินได้ลึก มากเท่าที่ต้องการ การสูบนํ้าออกไปเป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการลดระดับนํ้าใต้ดินในพื้นที่นํ้าใต้ดินไม่เค็มหรือเค็มเล็กน้อย การสูบนํ้าช่วยลดระดับนํ้าใต้ดินได้ และยังนำ ไปใช้เป็นนํ้าชล ประทานได้ด้วย ถ้าอยู่ใกล้ทะเลและนํ้าใต้ดินมีเกลือมาก ใช้ tube well ควบคุมระดับนํ้า แล้วสูบออกไปทิ้งทะเลได้ ควรระวังการนำ นํ้าจืดมาใช้ในการชลประทานอาจทำ ให้เกิดการแพร่หรือการป้องกันการเกิด ดินเค็มได้ จะต้องมีคลองระบายนํ้าร่วมกับบ่อสำ หรับสูบนํ้าออก (well drainage) ประสิทธิภาพการระบายนํ้าแนวดิ่งขึ้นกับความสามารถในการออกแบบทางวิศวกรรม การวางแผนและการจัดการระดับพื้นที่

4.5 สารปรับปรุงบำ รุงดิน (soil amendments)

ในการชะล้างเกลือออกไปจากดินเค็มโซดิกมักพบปัญหาการระบายนํ้าของดิน โซเดียมเป็นพิษ

ต่อพืชและมีผลต่อสมบัติทางกายภาพของดิน ดินที่เป็นทั้งดินเค็มและโซดิกเมื่อระบายนํ้าในครั้งแรก

จะง่าย เพราะในขณะที่ดินยังมีเกลือที่ละลายได้อยู่มากนั้น อนุภาคดินยังคงเกาะตัวกันดี แต่เมื่อทำ การ

ชะล้างไปต่อไประยะหนึ่งก็จะระบายนํ้าออกไปได้ยาก เพราะเกลือที่ละลายได้พวกประจุบวกสอง

(divalent cation) ได้แก่ แคลเซียมและแมกนีเซียม ถูกชะล้างออกไปจากดินได้ง่ายกว่าเกลือโซเดียมหลังจากการชะล้างดินเพียง 2-3 ครั้ง ปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียมในดินลดลง แต่ปริมาณโซเดียมยังคงสูงอยู่ ทำ ให้อัตราส่วนระหว่างโซเดียมต่อแคลเซียมและแมกนีเซียมเพิ่มขึ้น โซเดียมเป็นตัวทำ ให้อนุภาคดินแตกตัวและฟุ้งกระจาย การซาบซึมนํ้าของดินลดลง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการชะล้างเกลือครั้ง ต่อไป (USSL, 1954) ดังนั้นจึงจำ เป็นต้องใส่สารปรับปรุงดินบางชนิดลงไปเพื่อให้แทนที่โซเดียมที่อนุภาคดินดูดยึดไว้ และเพื่อเพิ่มความสามารถของดินในการให้นํ้าซึมผ่าน (http://ag.arizona.edu.)


สารปรับปรุงดินที่นิยมใช้ในการแทนที่โซเดียมที่อนุภาคดินดูดยึดไว้นี้ได้แก่ ยิบซัม แคลเซียมคลอไรด์

และกรดกำ มะถัน สารเคมีพวกแคลเซียมที่ใส่ลงไปในดินนั้น นอกจากเข้าไปแทนที่โซเดียมที่ดินดูดยึดไว้ แล้วยังทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้นด้วย เช่น ทำ ให้เม็ดดินเกาะตัวกันเป็นเม็ดดินที่มีความคงทนมากขึ้น การระบายนํ้าและการถ่ายเทอากาศของดินดีขึ้น (Bower, 1971) สำ หรับการใส่สารปรับปรุงดินนั้นถ้าใส่คลุกเคล้าให้เข้ากับดินอย่างทั่วถึง หรือใส่ร่วมกับแอมโมเนียมไนเตรท จะช่วยทำ ให้ปฏิกิริยาแทนที่โซเดียมเกิดได้เร็วขึ้น การชะล้างเกลือออกไปจากดินก็เร็วขึ้น (USSL, 1954)


วิธีการแก้ไขปรับปรุงดินเค็มโซดิก ขึ้นกับลักษณะการซึมของนํ้าในดิน (soil infiltration) และ
เกลือในนํ้าชลประทาน โดยดินเนื้อโปร่งมีอัตราการซึมนํ้าดีไม่ค่อยตอบสนองต่อการใส่ยิบซัม และไม่จำเป็นต้องใส่สารปรับปรุงดินในดินเค็มโซดิกที่มีการสะสมของแคลเซียมคาร์บอเนตหรือยิบซัมอยู่แล้ว

สารปรับปรุงดินที่ใช้ไล่ที่โซเดียมที่อนุภาคดินดูดยึดไว้ในการชะล้างเกลือจากดิน มีดังนี้

- เกลือแคลเซียมที่ละลายนํ้าได้ดี (soluble calcium salt) ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์ และ ยิบซัม
- กรดหรือสารที่ก่อให้เกิดกรด (acid or acid former) ได้แก่ กำ มะถันผง กรดกำ มะถัน เหล็ก ซัลเฟต และอลูมินัมซัลเฟต

- เกลือแคลเซียมที่มีความสามารถในการละลายนํ้าได้น้อย (calcium salt of low solubility) ได้แก่ หินปูนบดและปูนอื่น ๆ

- สารอินทรีย์สังเคราะห์ (organic polymer) เช่น Polymaric anhydride (PMA) เป็นสาร

สังเคราะห์ประเภท hydrolized polymer มีนํ้าหนักโมเลกุลประมาณ 350-500 มีประจุไฟฟ้าเป็นลบทำ ให้ดินเกิดสภาพจับตัวเป็นก้อน (flocculation) สาร PMA จะทำ ปฎิกิริยากับแคลเซียมและแมกนีเซียม ที่อยู่ในสภาพไม่ละลายนํ้า ทำ ให้แคลเซียมและแมกนีเซียมละลายออกมาในรูป colloidal ไปไล่ที่โซเดียมที่ถูกดูดยึด ทำ ให้โซเดียมถูกปลดปล่อยออกมาในสารละลายดิน และถูกนํ้าชะล้างลงไปในแนวดิ่ง ทำ ให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้นและความเค็มลดลง (Dubin, 1982) ตารางที่ 4.2 สารปรับปรุงดินที่ใช้แก้ไขดินเค็มและดินเค็มโซดิก (FAO, 1985)

สารปรับปรุงดิน สูตรเคมี ความบริสุทธิ์ (%)
ยิบซัม CaSO4.2H2O 100
แคลเซียมคลอไรด์ CaCl2.2H2O 100
กำมะถันผง S 100

กรดกำ มะถัน H2SO4 95

เหล็กซัลเฟต FeSO4.7H2O 100

อลูมินัมซัลเฟต Al(SO4)3.18H2O 100

สารละลายปูน-กำ มะถัน Calcium polysulfide 24


4.6 ค่าความต้องการยิบซัมของดิน (Gypsum requirement)

ปริมาณของสารเคมีที่ใช้ในการแทนที่โซเดียมที่ดินดูดไว้นั้น ต้องพิจารณาจากเปอร์เซ็นต์ โซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ (ESP) และความสามารถของดินในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (cation exchange capacity; CEC) ของดิน คือ ต้องใส่สารนั้น ๆ ลงไปให้มีจำ นวนสมดุล (equivalent) เท่ากับ จำนวนสมดุลของโซเดียมที่ต้องการลดระดับลง (USSL, 1954)

สูตรที่ใช้ในการคำ นวณค่าความต้องการยิบซัมของดิน ดังนี้

1) ESP = Na x 100 CEC

CEC มีหน่วยเป็น มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อดิน 100 กรัม

Na มีหน่วยเป็น มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อดิน 100 กรัม

2) Gypsum requirement (meq/100g soil) = (ESP initial - ESP final) x CEC 100

3) SAR = Na

√(Ca+Mg)/2

Na, Ca และ Mg ของสารละลายดิน มีหน่วยเป็น meq/l


ตัวอย่างเช่น ดินชุดท่าจีน มีค่าโซเดียม 13.6 meq/l CEC 38 meq/ดิน100 กรัม ความเค็ม 6.5 dS/m

pH6.8


จากสูตรที่ 1; ESP = (Na/CEC).100 = 13.6 x 100 = 35.69

แสดงว่าเป็นดินเค็มโซดิก ต้องลดโซเดียมจาก 35 ให้เหลือ 10 จึงจะพ้นอันตรายจากโซเดียม

ดังนั้น ต้องลดโซเดียมลง 35 -10 = 25

จากสูตรที่ 1; Na = ESP x CEC = 25 x 38 = 9.5 มิลลิกรัมสมมูลย์ 100 100

ยิบซัม 1 มิลลิกรัมสมมูลย์ หนัก 86 มิลลิกรัม/ดิน 100 กรัม ยิบซัม 9.5 มิลลิกรัมสมมูลย์ หนัก 86 x 9.5 = 817 มิลลิกรัม/ดิน 100 กรัมจากการคำ นวณ ทำให้ทราบว่า ดิน 100 กรัม ต้องใส่ยิบซั่ม 817 มิลลิกรัม ดิน 1 ไร่ ลึก 1 ฟุต มีนํ้าหนัก 725,000 กิโลกรัม


ดังนั้นต้องใส่ยิบซัม 725,000 x 817x10-2x10-3 = 5,923.25 กิโลกรัมต่อไร่


4.7 การเปลี่ยนแปลงของดินเมื่อมีการชะล้างดินเค็มประเภท
saline soil ก่อนการชะล้างดินมีสมบัติทางกายภาพดี อนุภาคของดินเกาะตัว
กันเป็นเม็ดดินดี ความสามารถของดินในการยอมให้นํ้าซึมผ่านดี ดังนั้นเมื่อทำ การชะล้างเกลืออกไปจากดินแล้ว ดินเค็มประเภทนี้จะเปลี่ยนเป็นดินปกติที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ สมบัติทางกายภาพของดิน เหมือนกับดินโดยทั่วไปที่ไม่มีปัญหาเรื่องความเค็ม สำ หรับดินเค็มโซดิก (saline sodic soil) เมื่อชะล้างเกลือออกไปจากผิวดิน ปริมาณเกลือในดินลดลงแต่โซเดียมที่อาจแลกเปลี่ยนได้ในดินยังคงอยู่เท่าเดิม


สมบัติทางกายภาพของดินจะเปลี่ยนไปคล้ายกับดินโซดิก กล่าวคืออนุภาคดินไม่เกาะตัวกัน ฟุ้งกระจาย

ได้ง่าย ทำ ให้ความสามารถของดินในการให้นํ้าซึมผ่านลดลง โซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้บางส่วนทำ

ปฏิกิริยากับนํ้า (hydrolyse) เกิดเป็น sodium hydroxide ซึ่ง sodium hydroxide บางส่วนจะทำปฏิกิริยากับคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดเป็นโซเดียมคาร์บอเนต ทำ ให้ pH ของดินสูงขึ้น อนุภาคดินที่ฟุ้ง กระจายไปอุดช่องว่างในดิน ทำ ให้นํ้าซึมลงไปในดินได้ลดลง ดังนั้นดินเค็มโซดิกที่มีการใส่สารปรับปรุงดิน เช่น ยิบซัม แคลเซียมจากยิบซัมจะละลายออกมา และเข้าแทนที่โซเดียมที่ดินดูดยึดไว้ตลอดเวลาที่มี


การชะล้างเกลือ ทำให้ปริมาณโซเดียมที่ดินดูดยึดไว้ลดลง อนุภาคดินไม่ฟุ้งกระจาย การชะล้างเกลือก็

ง่ายขึ้น (USSL, 1954) การชะล้างเกลือนี้นอกจากต้องใส่สารปรับปรุงดินเพื่อลดปริมาณโซเดียมแล้ว ควรมีระบบการระบายนํ้าที่ดีด้วย (DESCONAP, 1990) เช่น มีการขุดคูระบายนํ้ารอบ ๆ แปลง การยกแปลงให้สูง หรือมีการฝังท่อระบายนํ้าใต้ดิน เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

Bernstein, L., and L.E. Francois. 1973. Leaching requirement studies: sensitivity of alfafa to

salinity of irrigation and drainage waters. Soil Sci. Soc. Amer. Proc. 37: 931-943.

Bower, C.A. 1970. Growth of sudan and tall fescue grass as influenced by irrigation water

and leaching fraction. Agron. J. 62:793-795.

Dubin, L. 1982. The effect of organophosphorous compound and polymer on CaCO3 crystal

morphology. J. of the Cooling Tower Institute. 3:17-25.

DESCONAP. 1990. Waterlogging and salinity control in Asia and the Pacific. ESCAP/UNDP

Project (RAS/88/005/A-005/A-01/53). United Nations. 60 pp.

FAO, 1971. Irrigation and Drainage Paper 7: Salinity Seminar Baghdad. Rome. P. 55-70.

FAO. 1977. Irrigation and Drainage Paper 24: Crop Water Requirements. Rome. 144 pp.

FAO. 1980. Irrigation and Drainage Paper 28: Drainage design factors. Rome. P. 5-27.

FAO. 1985. Irrigation and Drainage Paper 29: Water Quality for Agriculture. Rome. 174 pp.

Hansen, V.E., O.W. Israesen, and G.E. Stringhan. 1979. Irrigation Principles and Practices

(Fourth Edition). John Wiley and Sons. USA. 471 pp.

Hillel, D. 1983. Advances in Irrigation. Vol. 2. Academic Press. USA. 429 pp.

Khosla, B.K., R.K. Gupta, and I.P. Abrol. 1979. Salt leaching and the effect of gypsum

application in a saline-sodic soil. Agricultural Water Management. 2:193-202.

Miller, R.J., J.W. Biggar, and D.R. Nielsen. 1965. Chloride displacement in Panoche clay loam

in relation to water movement and distribution. Water Resources Res. 1:63-73.

Nielsen, D.R., J.W. Biggar, and J.N. Luthin. 1966. Desalinization of soils under controlled

unsaturated conditions. International Commission on Irrigation and Drainage, Sixth

Congress, New Delhi, India.

Oster, J.D., L.S. Willardson, and G.L. Hoffman. 1972. Sprinkling and ponding techniques for

reclamating saline soils. Trans. ASCE 15(6):1115-1117.

Schilfgaarde, J.V. 1974. Drainage for Agriculture. Amer. Soc. of Agron. Wisconsil. 700 p.

U.S. Salinity Laboratory Staff. 1954. Diagnosis and Improvement of Saline and Alkali Soils.

USDA Handbook No.60. Washington DC.

http://www.ag.arizona.edu.

http://www.statlab.iastate.edu

www.ldd.go.th/Lddwebsite/web_ord/.../P_Technical03001_4.pdf -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (4406 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©