-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 495 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

กล้วยไข่




หน้า: 3/3



กล้วยไข่


กล้วยไข่เป็นผลไม้ที่นิยมผู้บริโภคกันทั่วไป เนื่องจากมีรสชาติดี ลักษณะการเรียงตัวของผลและสีผลสวยสะดุดตา ปัจจุบันส่งออกจำหน่ายต่างประเทศมากขึ้น ตลาดที่สำคัญคือ จีน และฮ่องกง

กล้วยไข่เป็นพืชที่สามารถปลูกได้แทบทุกภาคของประเทศ ในพื้นที่ปลูกที่มีการจัดการการผลิตเพื่อให้ได้ทั้งปริมาณ และผลผลิตตรงตามมาตรฐานคุณภาพ ตลาดต้องการ ปัญหาสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของผลผลิตคือ การปนเปื้อนของ สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาต่อสุขอนามัยของผู้บริโภค ตลอดจนการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมในระยะยาว ดังนั้นกระบวนการผลิตจึงต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม

แหล่งปลูกที่เหมาะสม
สภาพพื้นที่:
- พื้นที่ดอน หรือพื้นที่ราบ ไม่มีน้ำท่วมขัง
- ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,200 เมตร
- มีแหล่งน้ำธรรมชาติ หรืออยู่ในเขตชลประทาน
- การคมนาคมสะดวก

ลักษณะดิน:
- ดินร่วน, ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนปนทราย
- มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี
- ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร
- ค่าความเป็นกรดด่างของดินระหว่าง 5.0-7.0

สภาพภูมิอากาศ:
- อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ระหว่าง 25-35 องศาเซนเซียส
- ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตรต่อปี
- ไม่มีลมแรงพัดผ่านเป็นประจำ
- มีแสงแดดจัด

แหล่งน้ำ:
- มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูปลูก
- เป็นแหล่งน้ำสะอาด ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำระหว่าง 5.0-9.0

พันธุ์
กล้วยไข่มี 2 สายพันธุ์ คือ กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร และกล้วยไข่พระตระบอง
พันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้าคือ กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร
1. กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร
ลักษณะกาบใบเป็นสีน้ำตาลหรือช๊อกโกแลต ร่องก้านใบเปิดและขอบก้านใบขยายออก ใบมีสีเหลืองอ่อน ไม่มีนวล ก้านเครือมีขนขนาดเล็ก ผิวเปลือกผลบาง ผลเล็ก เนื้อมีสีเหลือง รสชาติหวาน

2. กล้วยไข่พระตะบอง
ลักษณะกาบใบเป็นสีน้ำตาลปนดำ สีของใบเข้มกว่าสายพันธุ์กำแพงเพชร รสชาดจะออกหวานอมเปรี้ยว และผลมีขนาดใหญ่กว่ากล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร


การปลูก

การเตรียมดิน:
- วิเคราะห์ดิน เพื่อประเมินค่าความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชในดิน และความเป็นกรดด่างของดิน ปรับสภาพดินตามคำแนะนำก่อนปลูก
- ไถพรวน ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อลดการระบาดของศัตรูพืช
- คราดเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลง

ฤดูปลูก:
- ช่วงเวลาการปลูก ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประมาณเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน

วิธีการปลูก:
- ปลูกด้วยหน่อใบแคบที่มีความสมบูรณ์ดี
- เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร
- รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกอัตรา 5 กิโลกรัมต่อหลุม คลุกเคล้ากับหน้าดินรองก้นหลุมปลูกถ้ามีการไว้หน่อ (ratoon) เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไปอีก 1-2 รุ่น ควรรองก้นหลุมด้วย หินฟอสเฟต อัตรา 100-200 กรัม/หลุม
- ระยะปลูก (1.5-1.75) x2 เมตร เป็นการปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเพียงครั้งเดียว แล้วรื้อปลูกใหม่ 2x2 เมตรเป็นการปลูกสำหรับไว้ตอหรือหน่อ (ratoon) เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตของหน่อ (ratoon) อีก 1-2 รุ่น
- การปลูก วางหน่อพันธุ์ที่หลุมปลูกให้ลึก 25-30 เซนติเมตร โดยจัดวางหน่อพันธุ์ให้ด้านที่ติดกับต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน กลบดินลงหลุมปลูกและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม


การดูแลรักษา

การพรวนดิน:
ภายหลังปลูกกล้วยไข่ประมาณ 1 เดือนควรรีบทำการพลิกดินให้ทั่วทั้งแปลงปลูก เพื่อให้ดินเก็บความชื้นจากน้ำฝนไว้ให้มากที่สุด และเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วย ขณะที่รากกล้วยยังขยายไปไม่มากนัก

การกำจัดวัชพืช:
ควรกำจัดวัชพืชปีละ 3 ครั้ง ครั้งแรกพร้อม ๆ กับการพลิกดิน ส่วนครั้งที่ 2 และ 3 ให้พิจารณา จากปริมาณวัชพืช แต่จะทำก่อนที่ต้นกล้วยตกเครือ

การให้ปุ๋ย:
ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ครั้ง เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนปลูกอัตรา 3-5 กิโลกรัมต่อหลุม ใส่ปุ๋ยเคมี 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 และ 2 เป็นระยะที่กล้วยมีการเจริญเติบโตทางลำต้น ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-10 หรือ 15-15-15 อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง หลังจากปลูก 1 และ 3 เดือน การให้ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 3 และ 4 จะให้ปุ๋ยเคมีภายหลังจากปลูก 5 และ 7 เดือน ซึ่งเป็นระยะที่กล้วยใกล้จะให้ผลผลิต จะให้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-24, 13-13-21 หรือ 14-14-21 อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง
วิธีการใส่ปุ๋ยเคมี โรยห่างจากต้นประมาณ 30 เซนติเมตร หรือใส่ลงในหลุมลึกประมาณ 10 เซนติเมตร 4 ด้าน แล้วพรวนดินกลบ

การให้น้ำ:
ในฤดูฝน เมื่อฝนทิ้งช่วง เมื่อสังเกตหน้าดินแห้งและเริ่มแตก ควรรีบให้น้ำ
ในฤดูแล้งเริ่มให้น้ำตั้งแต่หมดฝน ประมาณปลายเดือนมกราคม-พฤษภาคม

วิธีการให้น้ำ:
ใช้วิธีปล่อยให้น้ำไหลเข้าไปในแปลงย่อยเป็นแปลง ๆ เมื่อดินมีความชุ่มชื้นดีแล้ว จึงให้แปลงอื่นต่อไป

เทคนิคที่ควรทราบ

การพูนโคน:
โดยการโกยดินเข้าสุมโคนกล้วย ช่วยลดปัญหาการโค่นล้มของต้นกล้วยเมื่อมีลมแรง โดยเฉพาะต้นตอที่เกิดขึ้นระยะหลังโคนจะลอยขึ้นทำให้กล้วยโค่นล้มลงได้ง่าย

การแต่งหน่อ:
เครื่องมือที่ใช้ในการแต่งหน่อ คือ มีดยาวปลายขอ ชาวบ้านเรียกว่า มีดขอ การแต่งหน่อทุกครั้ง โดยเฉือนเฉียงตัดขวางลำต้นเอียงทำมุม 45 องศากับลำต้นโดยครั้งแรก เฉือนให้รอบเฉือนด้านล่างอยู่สูงจากโคนต้นประมาณ 4-5 นิ้ว หลังจากนั้นอีกประมาณ 20-30 วัน จึงเฉือนหน่อครั้งที่ 2 ให้รอบเฉือนครั้งใหม่อยู่ทิศทางตรงข้าม กับรอยเฉือนครั้งก่อน และให้รอยเฉือน มุมล่างสุดครั้งใหม่อยู่สูงจากรอยเฉือนมุมบนครั้งก่อน 4-5 นิ้ว แต่งหน่อเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนถึงเวลาที่เหมาะสม ก็จะปล่อยหน่อให้เจริญเติบโตเป็นกล้วยตอต่อไป หรืออาจขุดหน่อไว้ สำหรับปลูกใหม่หรือขายก็ตาม

การตัดแต่งและการไว้ใบ:
การไว้ใบกล้วยไข่ในระยะต่าง ๆ มีผลอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโต การปฏิบัติดูแลรักษาปัญหาโรค และแมลง ตลอดจนผลผลิต และคุณภาพผล

ในช่วงแรกระยะการเจริญเติบโต ควรไว้จำนวน 12 ใบ ถ้ามากกว่านี้ จะมีปัญหาทำให้การปฏิบัติดูแลรักษาทำได้ยากลำบาก โรคแมลงจะมากขึ้นเกิดการ แย่งแสงแดด ลำต้น จะสูงบอบบางไม่แข็งแรง เกิดการหักล้มได้ง่าย ในทางตรงข้ามถ้าจำนวนใบ มีน้อยเกินไปจะทำให้การเจริญเติบโต ไม่ดี ลำต้นไม่สมบูรณ์ ดินสูญเสียความชื้นได้เร็ว ปัญหาวัชพืชจะมากขึ้นภายหลัง

กล้วยตกเครือแล้ว ควรตัดแต่งใบออก เหลือไว้เพียงต้นละ 9 ใบก็พอ ถ้าเหลือใบไว้มากจะทำให้ต้นกล้วยรับน้ำหนักมาก จะทำให้เกิดการหักล้มได้ง่าย ระยะกล้วยมีน้ำหนักเครือ มากขึ้น และถ้าหากตัดแต่งใบออกมากเกินไป เหลือจำนวนใบไว้น้อย จะทำให้บริเวณคอเครือและผลกล้วยถูกแสงแดดเผา เป็นเหตุให้กล้วยหักพับบริเวณ คอเครือก่อนเก็บเกี่ยว และผลเสียหายไม่สามารถนำไปขายได้

การค้ำเครือ:
เมื่อกล้วยตกเครือจะมีน้ำหนักมาก จึงควรป้องกันลำต้นหักล้ม ซึ่งกระทำได้โดยการปักหลัก ผูกยึดติดกับลำต้น การปักหลักต้องปักลงไปในดินให้แน่นทิศทางตรงข้ามกับเครือกล้วยให้แนบชิดกับลำต้นกล้วยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผูกยึดลำต้นกล้วยให้ตรึงกับไม้หลักสัก 3 ช่วง ดังนี้ คือบริเวณช่วงโคนต้น กลางต้น และคอเครือ โดยใช้ปอกล้วยหรือปอฟางก็ได้ ถ้าใช้ไม้รวกสำหรับค้ำเครือควรจะนำไปแช่น้ำ 15-20 วัน เสียก่อนแล้วนำมาตากแดดให้แห้งจึงค่อยนำไปใช้

การตัดปลี:
กล้วยไข่ที่มีการเจริญเติบโตและสมบูรณ์ หลังจากปลูก 7-8 เดือนก็จะแทงปลี แต่ถ้าการเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ไม่ดี การแทงปลีก็จะช้าออกไปอีก ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มแทงปลีจนถึงปลีคล้อยตัวลงมาสุดจะใช้เวลาประมาณ 7 วัน หลังจากนั้นปลีจะบาน ระยะเวลาตั้งแต่ปลีเริ่มบานหวีแรกจนสุด หวีสุดท้ายจะใช้เวลาอีกประมาณ 7 วัน รวมระยะเวลาตั้งแต่ออกปลี จนสามารถตัดปลีทิ้งประมาณ 15 วัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นกล้วยและช่วงฤดูที่กล้วยตกปลี

การเก็บเกี่ยว
ปกติหลังจากตัดปลีแล้วประมาณ 45 วัน เป็นเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยว ถ้าปล่อยไว้นานกว่านี้ผลกล้วยอาจแตก และสุกคาต้น หรือที่ชาวสวนเรียกว่ากล้วยสุกลม รสชาติไม่อร่อย สีและผิวกระด้างไม่นวลสวยเหมือนที่นำไปบ่ม

กล้วยไข่ที่ตกเครือในช่วงฤดูหนาว ซึ่งผลจะแก่ช้ามีผลทำให้อายุการเก็บเกี่ยวต้องยาวนานออกไปถึง 50-55 วัน หลังตัดปลี


it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=1 -







กล้วยไข่เป็นผลไม้ที่นิยมผู้บริโภคกันทั่วไป เนื่องจากมีรสชาติดี ลักษณะการเรียงตัวของผลและสีผลสวยสะดุดตา ปัจจุบันส่งออกจำหน่ายต่างประเทศมากขึ้น ตลาดที่สำคัญคือ จีน และฮ่องกง กล้วยไข่เป็นพืชที่สามารถปลูกได้แทบทุกภาคของประเทศ ในพื้นที่ปลูกที่มีการจัดการการผลิตเพื่อให้ได้ทั้งปริมาณ และผลผลิตตรงตามมาตรฐานคุณภาพ ตลาดต้องการ ปัญหาสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของผลผลิตคือ การปนเปื้อนของ สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาต่อสุขอนามัยของผู้บริโภค ตลอดจนการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมในระยะยาว ดังนั้นกระบวนการผลิตจึงต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม

แหล่งปลูกที่เหมาะสม
สภาพพื้นที่:
- พื้นที่ดอน หรือพื้นที่ราบ ไม่มีน้ำท่วมขัง
- ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,200 เมตร
- มีแหล่งน้ำธรรมชาติ หรืออยู่ในเขตชลประทาน
- การคมนาคมสะดวก

ลักษณะดิน:
- ดินร่วน, ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนปนทราย
- มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี
- ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร
- ค่าความเป็นกรดด่างของดินระหว่าง 5.0-7.0

สภาพภูมิอากาศ:
- อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ระหว่าง 25-35 องศาเซนเซียส
- ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตรต่อปี
- ไม่มีลมแรงพัดผ่านเป็นประจำ
- มีแสงแดดจัด

แหล่งน้ำ:
- มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูปลูก
- เป็นแหล่งน้ำสะอาด ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำระหว่าง 5.0-9.0

พันธุ์
กล้วยไข่มี 2 สายพันธุ์ คือ กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร และกล้วยไข่พระตระบอง
พันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้าคือ กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร
1. กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร
ลักษณะกาบใบเป็นสีน้ำตาลหรือช๊อกโกแลต ร่องก้านใบเปิดและขอบก้านใบขยายออก ใบมีสีเหลืองอ่อน ไม่มีนวล ก้านเครือมีขนขนาดเล็ก ผิวเปลือกผลบาง ผลเล็ก เนื้อมีสีเหลือง รสชาติหวาน

2. กล้วยไข่พระตะบอง
ลักษณะกาบใบเป็นสีน้ำตาลปนดำ สีของใบเข้มกว่าสายพันธุ์กำแพงเพชร รสชาดจะออกหวานอมเปรี้ยว และผลมีขนาดใหญ่กว่ากล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร

การปลูก
การเตรียมดิน:
- วิเคราะห์ดิน เพื่อประเมินค่าความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชในดิน และความเป็นกรดด่างของดิน ปรับสภาพดินตามคำแนะนำก่อนปลูก
- ไถพรวน ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อลดการระบาดของศัตรูพืช
- คราดเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลง

ฤดูปลูก:
- ช่วงเวลาการปลูก ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประมาณเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน

วิธีการปลูก:
- ปลูกด้วยหน่อใบแคบที่มีความสมบูรณ์ดี
- เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร
- รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกอัตรา 5 กิโลกรัมต่อหลุม คลุกเคล้ากับหน้าดินรองก้นหลุมปลูกถ้ามีการไว้หน่อ (ratoon) เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไปอีก 1-2 รุ่น ควรรองก้นหลุมด้วย หินฟอสเฟต อัตรา 100-200 กรัม/หลุม
- ระยะปลูก (1.5-1.75) x2 เมตร เป็นการปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเพียงครั้งเดียว แล้วรื้อปลูกใหม่ 2x2 เมตรเป็นการปลูกสำหรับไว้ตอหรือหน่อ (ratoon) เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตของหน่อ (ratoon) อีก 1-2 รุ่น
- การปลูก วางหน่อพันธุ์ที่หลุมปลูกให้ลึก 25-30 เซนติเมตร โดยจัดวางหน่อพันธุ์ให้ด้านที่ติดกับต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน กลบดินลงหลุมปลูกและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

การดูแลรักษา
การพรวนดิน:
ภายหลังปลูกกล้วยไข่ประมาณ 1 เดือนควรรีบทำการพลิกดินให้ทั่วทั้งแปลงปลูก เพื่อให้ดินเก็บความชื้นจากน้ำฝนไว้ให้มากที่สุด และเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วย ขณะที่รากกล้วยยังขยายไปไม่มากนัก

การกำจัดวัชพืช:
ควรกำจัดวัชพืชปีละ 3 ครั้ง ครั้งแรกพร้อม ๆ กับการพลิกดิน ส่วนครั้งที่ 2 และ 3 ให้พิจารณา จากปริมาณวัชพืช แต่จะทำก่อนที่ต้นกล้วยตกเครือ

การให้ปุ๋ย:
ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ครั้ง เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนปลูกอัตรา 3-5 กิโลกรัมต่อหลุม ใส่ปุ๋ยเคมี 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 และ 2 เป็นระยะที่กล้วยมีการเจริญเติบโตทางลำต้น ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-10 หรือ 15-15-15 อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง หลังจากปลูก 1 และ 3 เดือน การให้ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 3 และ 4 จะให้ปุ๋ยเคมีภายหลังจากปลูก 5 และ 7 เดือน ซึ่งเป็นระยะที่กล้วยใกล้จะให้ผลผลิต จะให้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-24, 13-13-21 หรือ 14-14-21 อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง

วิธีการใส่ปุ๋ยเคมี โรยห่างจากต้นประมาณ 30 เซนติเมตร หรือใส่ลงในหลุมลึกประมาณ 10 เซนติเมตร 4 ด้าน แล้วพรวนดินกลบ

การให้น้ำ:
ในฤดูฝน เมื่อฝนทิ้งช่วง เมื่อสังเกตหน้าดินแห้งและเริ่มแตก ควรรีบให้น้ำ
ในฤดูแล้งเริ่มให้น้ำตั้งแต่หมดฝน ประมาณปลายเดือนมกราคม-พฤษภาคม

วิธีการให้น้ำ:
ใช้วิธีปล่อยให้น้ำไหลเข้าไปในแปลงย่อยเป็นแปลง ๆ เมื่อดินมีความชุ่มชื้นดีแล้ว จึงให้แปลงอื่นต่อไป
เทคนิคที่ควรทราบ

การพูนโคน:
โดยการโกยดินเข้าสุมโคนกล้วย ช่วยลดปัญหาการโค่นล้มของต้นกล้วยเมื่อมีลมแรง โดยเฉพาะต้นตอที่เกิดขึ้นระยะหลังโคนจะลอยขึ้นทำให้กล้วยโค่นล้มลงได้ง่าย

การแต่งหน่อ:
เครื่องมือที่ใช้ในการแต่งหน่อ คือ มีดยาวปลายขอ ชาวบ้านเรียกว่า มีดขอ การแต่งหน่อทุกครั้ง โดยเฉือนเฉียงตัดขวางลำต้นเอียงทำมุม 45 องศากับลำต้นโดยครั้งแรก เฉือนให้รอบเฉือนด้านล่างอยู่สูงจากโคนต้นประมาณ 4-5 นิ้ว หลังจากนั้นอีกประมาณ 20-30 วัน จึงเฉือนหน่อครั้งที่ 2 ให้รอบเฉือนครั้งใหม่อยู่ทิศทางตรงข้าม กับรอยเฉือนครั้งก่อน และให้รอยเฉือน มุมล่างสุดครั้งใหม่อยู่สูงจากรอยเฉือนมุมบนครั้งก่อน 4-5 นิ้ว แต่งหน่อเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนถึงเวลาที่เหมาะสม ก็จะปล่อยหน่อให้เจริญเติบโตเป็นกล้วยตอต่อไป หรืออาจขุดหน่อไว้ สำหรับปลูกใหม่หรือขายก็ตาม

การตัดแต่งและการไว้ใบ:
การไว้ใบกล้วยไข่ในระยะต่าง ๆ มีผลอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโต การปฏิบัติดูแลรักษาปัญหาโรค และแมลง ตลอดจนผลผลิต และคุณภาพผล ในช่วงแรกระยะการเจริญเติบโต ควรไว้จำนวน 12 ใบ ถ้ามากกว่านี้ จะมีปัญหาทำให้การปฏิบัติดูแลรักษาทำได้ยากลำบาก โรคแมลงจะมากขึ้นเกิดการ แย่งแสงแดด ลำต้น จะสูงบอบบางไม่แข็งแรง เกิดการหักล้มได้ง่าย ในทางตรงข้ามถ้าจำนวนใบ มีน้อยเกินไปจะทำให้การเจริญเติบโต ไม่ดี ลำต้นไม่สมบูรณ์ ดินสูญเสียความชื้นได้เร็ว ปัญหาวัชพืชจะมากขึ้นภายหลังกล้วยตกเครือแล้ว ควรตัดแต่งใบออก เหลือไว้เพียงต้นละ 9 ใบก็พอ ถ้าเหลือใบไว้มากจะทำให้ต้นกล้วยรับน้ำหนักมาก จะทำให้เกิดการหักล้มได้ง่าย ระยะกล้วยมีน้ำหนักเครือ มากขึ้น และถ้าหากตัดแต่งใบออกมากเกินไป เหลือจำนวนใบไว้น้อย จะทำให้บริเวณคอเครือและผลกล้วยถูกแสงแดดเผา เป็นเหตุให้กล้วยหักพับบริเวณ คอเครือก่อนเก็บเกี่ยว และผลเสียหายไม่สามารถนำไปขายได้

การค้ำเครือ:
เมื่อกล้วยตกเครือจะมีน้ำหนักมาก จึงควรป้องกันลำต้นหักล้ม ซึ่งกระทำได้โดยการปักหลัก ผูกยึดติดกับลำต้น การปักหลักต้องปักลงไปในดินให้แน่นทิศทางตรงข้ามกับเครือกล้วยให้แนบชิดกับลำต้นกล้วยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผูกยึดลำต้นกล้วยให้ตรึงกับไม้หลักสัก 3 ช่วง ดังนี้ คือบริเวณช่วงโคนต้น กลางต้น และคอเครือ โดยใช้ปอกล้วยหรือปอฟางก็ได้ ถ้าใช้ไม้รวกสำหรับค้ำเครือควรจะนำไปแช่น้ำ 15-20 วัน เสียก่อนแล้วนำมาตากแดดให้แห้งจึงค่อยนำไปใช้

การตัดปลี:
กล้วยไข่ที่มีการเจริญเติบโตและสมบูรณ์ หลังจากปลูก 7-8 เดือนก็จะแทงปลี แต่ถ้าการเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ไม่ดี การแทงปลีก็จะช้าออกไปอีก ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มแทงปลีจนถึงปลีคล้อยตัวลงมาสุดจะใช้เวลาประมาณ 7 วัน หลังจากนั้นปลีจะบาน ระยะเวลาตั้งแต่ปลีเริ่มบานหวีแรกจนสุด หวีสุดท้ายจะใช้เวลาอีกประมาณ 7 วัน รวมระยะเวลาตั้งแต่ออกปลี จนสามารถตัดปลีทิ้งประมาณ 15 วัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นกล้วยและช่วงฤดูที่กล้วยตกปลี

การเก็บเกี่ยว
ปกติหลังจากตัดปลีแล้วประมาณ 45 วัน เป็นเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยว ถ้าปล่อยไว้นานกว่านี้ผลกล้วยอาจแตก และสุกคาต้น หรือที่ชาวสวนเรียกว่ากล้วยสุกลม รสชาติไม่อร่อย สีและผิวกระด้างไม่นวลสวยเหมือนที่นำไปบ่ม กล้วยไข่ที่ตกเครือในช่วงฤดูหนาว ซึ่งผลจะแก่ช้ามีผลทำให้อายุการเก็บเกี่ยวต้องยาวนานออกไปถึง 50-55 วัน หลังตัดปลี

http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=1
it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=1 -





กล้วยไข่

เงินลงทุน

ครั้งแรกประมาณ 9,000 บาท/ไร่ (ไม่รวมค่าที่ดิน) (ค่าจ้างไถ 2 ครั้ง 1,000 บาท/ไร่ ค่าแรง 1,000 บาท/ไร่  ค่าปุ๋ย 5,000 บาท/ไร่ หน่อกล้วย 3-3.50 บาท/ต้น)

รายได้
70,000 บาท/ไร่/ปี

วัสดุ/อุปกรณ์
จอบ เสียม เครื่องฉีดพ่นสารเคมี อุปกรณ์รดน้ำ มีด

แหล่งจำหน่ายต้นพันธุ์
ร้านขายวัสดุอุปกรณ์การเกษตรทั่วไป


วิธีดำเนินการ

1. เตรียมดิน โดยใช้รถไถผาน 7 ไถ ทำลายหญ้า ทิ้งไว้ 10 วัน ครั้งที่ 2 ใช้รถไถผาน 3 ไถ เพื่อปรับหน้าดินให้พร้อมปลูก ทิ้งไว้อีก 10 วัน เพื่อให้แสงแดดฆ่าเชื้อโรคในดิน ในช่วงการไถ ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก คลุกเคล้าลงไปในดินพร้อมกัน

2. เตรียมหน่อกล้วยสำหรับปลูกหน่อที่ดีให้ผลผลิตสูงจะต้องเป็นหน่อ “หูกวาง” ที่มีความสูง 50 เซนติเมตร มีใบ 2 - 3 ใบ ใบจะแคบยังไม่คลี่ออกเต็มที่คล้ายกับหูกวาง ก่อนปลูกให้ใช้ยาฟูราดาน 3 ช้อนแกง ปุ๋ยเกล็ด 2 ช้อนแกง ยาเร่งราก 1 ช้อนแกง ผสมน้ำ 50 ลิตร ละลายให้เข้ากัน แล้วเอาหน่อกล้วยจุ่มลงไปก่อนนำไปปลูก

3. ปลูกกล้วย โดยพูนดินขึ้นมากลบโคนต้น 1 คืบ หรือขุดหลุมปลูกกว้างและลึก 1 ศอก ระยะปลูก 1 x 1 วา พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 400 ต้น จากนั้นรดน้ำ 5 วัน/ครั้ง ประมาณ 1 เดือน จะเริ่มแตกยอดอ่อน ซึ่งยาฟูราดานจะเริ่มหมดฤทธิ์พอดี

4. การใส่ปุ๋ย ครั้งแรกเมื่อกล้วยอายุ 15 วัน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46 – 0 - 0 อัตราครึ่งกำมือ/ต้น ครั้งที่ 2 เมื่อกล้วยอายุ 1 เดือน ใส่สูตร 15-15-15 อัตรา 1 กำมือ/ต้น ครั้งที่ 3 และ 4 ใส่ปุ๋ยสูตรเดียวกันและอัตราเท่ากัน ระยะห่างครั้งละ 1 เดือน ครั้งที่ 5 และ 6 เปลี่ยนเป็นสูตร 20-0-0 ผสมกับสูตร 15-15-15ในอัตราส่วนเท่ากัน ใส่ 1 กำมือ/ต้น ห่างกันอีกครั้งละ 1 เดือน เมื่อกล้วยไข่อายุ 7 เดือนครึ่ง จะเริ่มออกปลี ช่วงนี้จะใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 15 – 3 - 15 อัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดเข้าไปบริเวณก้านของปลี เพื่อให้ปุ๋ยเข้าไปตามกาบกล้วย

5. ระยะที่กล้วยเริ่มเจริญเติบโต จะเริ่มมีหน่อแทงออกมา ต้องใช้มีดตัดเพื่อไม่ให้แย่งอาหารจากต้นแม่ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง และตัดแต่งใบกล้วยเหลือไว้ 10 ใบต่อต้น เมื่อหัวปลีออกมาได้ 10 วัน ให้ตัดหัวปลีออก จากนั้นอีก 45 – 50 วัน กล้วยจะเริ่มแก่จึงตัดเครือลงมาเพื่อขายส่งให้ลูกค้า ซึ่งโดยทั่วไปจะมีลูกค้ามารับซื้อถึงที่แล้วนำไปตัดขายเป็นหวีต่อไป

6. การปลูกกล้วยไข่ 1 ครั้ง เก็บผลผลิตได้ประมาณ 3 ปี กล้วยปีที่ 2 ผลผลิตจะดีที่สุด ดังนั้นจึงควรใช้หน่อกล้วยที่อายุไล่เลี่ยกัน กันไว้กอละ 1 หน่อ การดูแลรักษาก็จะเหมือนกันทั้งหมด แต่การใส่ปุ๋ยจะน้อยลงกว่าปีแรก

ตลาด/แหล่งจำหน่าย
ขายส่งพ่อค้า แม่ค้า บริษัทที่ส่งขายต่างประเทศ โรงงานแปรรูป

ข้อแนะนำ
เพื่อเป็นการประหยัด และลดต้นทุน ควรจะผลิตปุ๋ยชีวภาพแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้มะม่วงสุก หอยเชอรี่ หญ้าขนและกากน้ำตาลหรือโมลาส (วัตถุดิบต่าง ๆ เหล่านี้ควรซื้อในช่วงราคาถูก) หมักไว้ 3 เดือน แล้วกรองเอากากออก นำน้ำปุ๋ยที่ได้ 3 ช้อนแกง ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 10–15 วัน


http://www.nanagarden.com/Content.aspx?ContentID=10405
http://www.nanagarden.com/Content.aspx?ContentID=10177






อภิวัฒน์ คำสิงห์

"จันทบุรี" ส่งเสริมปลูกกล้วยไข่ (ผสมผสาน-เชิงเดี่ยว) ได้ผลผลิตสูง คุณภาพดี มาตรฐานส่งออก

"กล้วยไข่" เป็นผลไม้ที่ผู้บริโภคนิยมกันทั่วไป เนื่องจากมีรสชาติดี มีลักษณะการเรียงตัวของผลและสีผลสวยสะดุดตากว่ากล้วยชนิดอื่นๆ ปัจจุบันมีการส่งออกจำหน่ายต่างประเทศมากขึ้น โดยตลาดที่สำคัญคือ จีน และฮ่องกง กล้วยไข่เป็นพืชที่สามารถปลูกได้แทบทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการจัดการการผลิตกล้วยไข่เพื่อให้ได้ทั้งปริมาณและผลผลิตตรงตามมาตรฐานคุณภาพที่ตลาดต้องการ

ว่าที่พันตรีพิษณุ มครเพศ นายกเทศมนตรีตำบลพลวง กล่าวว่า กล้วยไข่ ได้เข้ามาในจังหวัดจันทบุรี เมื่อปี 2548 เนื่องจากในช่วงนั้นผลไม้ ทั้ง เงาะ ทุเรียน มังคุด ขายไม่ได้ราคา ส่งผลกระทบต่อรายได้ของครอบครัวเกษตรกรเลยต้องหาพืชเสริมมาปลูกช่วย และกล้วยไข่ก็เป็นพืชที่เกษตรกรเลือกปลูก เนื่องจากกล้วยไข่เป็นพืชที่ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ อีกทั้งปลูกแล้วดูแลรักษาง่าย ให้ผลผลิตเร็ว เจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย

กล้วยไข่ สามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารได้หลากหลายอย่าง เช่น แป้งจากกล้วย ขนมจากกล้วย รวมทั้งตลาดยังมีความคล่องตัวสูง ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออก กล้วยไข่จึงเป็นไม้ผลที่เกษตรกรเลือกปลูกเป็นการค้าทั้งในลักษณะพืชหลักและแซมพืชอื่นๆ เป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง



จันทบุรี ทุ่มปลูกกล้วยไข่ส่งออก

จังหวัดจันทบุรี โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ได้มองเห็นศักยภาพของกล้วยไข่ว่าเป็นผลไม้ที่ทำแล้วคุ้มทุน เพราะปลูกอย่างไรก็มีผลผลิตแน่นอน เป็นผลไม้ที่น่าลงทุน ทำแล้วขายได้ จึงได้จัดสรรงบประมาณส่งเสริมการปลูกกล้วยไข่พันธุ์กำแพงเพชรแทนการปลูกเงาะที่มีราคาตกต่ำและต้นทุนการผลิตสูง ด้วยงบประมาณ 6 ล้านบาท ให้กับเกษตรกรเพื่อพัฒนาและส่งเสริมอาชีพทางเลือกให้กับเกษตรกรนอกเหนือจากการปลูกไม้ผล โดยแบ่งเป็นการจัดซื้อพันธุ์กล้วยไข่ เป็นเงิน 4.5 ล้านบาท และปุ๋ยอินทรีย์อีก 1.5 ล้านบาท

ดร.ชัยวัฒน์ มครเพศ อาจารย์สาขาเทคโนโลยีการผลิตพืชและภูมิทัศน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี กล่าวว่า สำหรับพื้นที่การผลิตทั้งจังหวัดจันทบุรีจะมีทั้งหมด 18,701 ไร่ โดยมีพื้นที่เก็บเกี่ยว 16,574 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 1,602 กิโลกรัม ต่อไร่ มีผลผลิตโดยรวม 26,552 ตัน มูลค่า 330 ล้านบาท มีเกษตรกรจำนวน 5,165 ราย โดยเฉลี่ยแล้วจะได้ต้นทุนในการทำ 6.85 กิโลกรัม เป็นต้นทุนต่อกิโลกรัม (ข้อมูล ปี 2552)

พื้นที่ปลูกกล้วยไข่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่อำเภอมะขาม และอำเภอโป่งน้ำร้อน ชาวสวนส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยการปลูกกล้วยไข่แบบเชิงเดี่ยวและปลูกมะนาวเสริมเข้าไป พอได้ระยะเวลาหนึ่งมะนาวโตขึ้นก็จะปรับเปลี่ยนเป็นการปลูกแบบผสมผสาน โดยปลูกมะนาวเป็นหลักและปลูกกล้วยไข่เสริมแทน



ชาวสวนเมืองจันท์

ปลูกกล้วยไข่ เพิ่มรายได้เป็นเท่าตัว

คุณอนุศิษ ธรรมเกษร เกษตรกรชาวสวนกล้วยไข่ อำเภอเขาคิชฌกูฏ เล่าถึงวิธีปลูกล้วยไข่ให้ได้คุณภาพตามที่ตลาดต้องการนั้น ต้องใช้ความอดทน ความเข้าใจ ศึกษาวิธีปลูกให้ได้ผลสวยงาม ทั้งลงทุนลงแรง ผลที่ได้กลับมาคุ้มค่า และสร้างแรงงานให้กับผู้ปลูกอย่างมหาศาล

ชาวสวนที่นี่จะปลูกแซมมังคุด ทุเรียน และเงาะเป็นส่วนใหญ่ เพราะการปลูกแซมจะปลูกในสวนผลไม้อยู่แล้ว ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก เป็นการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ซึ่งคุณภาพของรสชาติและสีสัน ผลที่ออกมาก็จะเหมือนกันกับปลูกเชิงเดี่ยว สาเหตุเพราะว่าการจัดการน้ำในเขตจันทบุรีจะดีกว่าในเขตจังหวัดอื่นๆ ทำให้กล้วยไข่ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี



เทคนิคปลูกกล้วยไข่

ได้ผลใหญ่ ราคาดี


คุณอนุศิษ เล่าต่อว่า วิธีการปลูกกล้วยไข่จะมีด้วยกัน 2 วิธี คือ ปลูกแซมกับสวนไม้ผล ประมาณ 100-200 ต้น ต่อไร่ และปลูกเชิงเดี่ยว ประมาณ 400 ต้น ต่อไร่ ซึ่งผลผลิตก็จะออกมาเหมือนกัน แต่ปลูกเชิงเดี่ยวจะได้ผลผลิตที่เร็วกว่า ประมาณ 2-4 เดือน แต่ถ้าปลูกลักษณะแซมในสวนผลไม้ เนื้อดินไม่มีการไถและพลิกหน้าดินก็จะทำให้ผลผลิตออกช้ากว่าทำให้เป็นกล้วยปี ซึ่งจะให้ผลผลิตประมาณ 8-12 เดือน

การดูแลจะต้องเริ่มตั้งแต่ต้นพันธุ์ต้องผ่านการแช่น้ำยากำจัดเชื้อราก่อนจะนำมาปลูกในหลุมที่รองก้นด้วยปุ๋ยขี้ไก่แกลบ ปัจจัยสำคัญคือ น้ำ ต้นกล้วยจะสมบูรณ์และผลใหญ่ เฉลี่ยหวีละ 7-8 ขีด เพราะกล้วยเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก ปุ๋ยอินทรีย์และขี้ไก่แกลบถือว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ต้องให้เดือนละครั้ง ยิ่งช่วงกล้วยกำลังแทงลำเพื่อออกปลีเป็นทางยาวขึ้นมาใช้ถุงคลุมและต้องมีใบกล้วย 1 ทาง อยู่ข้างใน เพื่อป้องกันความร้อนที่ทำให้ผิวเสีย จากนั้นจะพ่นยาเฉพาะที่ลำต้นเท่านั้น วิธีนี้ประหยัด ปลอดภัยทั้งเจ้าของสวนและผู้บริโภค และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การให้น้ำ วิธีนี้จะทำให้ผลของกล้วยไม่เบียดกันจนเป็นรอยราสนิมแม้ผิวผลจะสวย แต่มีรอยราสนิมแดงหรือตกกระ จะทำให้เป็นกล้วยตกไซซ์ ถูกคัดออกขายไม่ได้ราคา

เมื่อต้นกล้วยแทงลำเพื่อออกปลี ในช่วงเวลานั้นเราก็เลี้ยงหน่อใหม่ขึ้นไปพร้อมๆ กัน ใน 1 กอ จะเลี้ยงหน่อไว้เพียงหน่อเดียวเท่านั้น เหตุผลที่ไว้หน่อเดียวก็เพื่อป้องกันการแย่งอาหารกันของต้นกล้วย ซึ่งส่งผลทำให้ออกเครือช้า ผลเล็ก และเมื่อต้นกล้วยให้ผลผลิตแล้วก็จะตัดต้นที่ให้ผลผลิตทิ้งไป และเลี้ยงหน่อใหม่ขึ้นมาแทน ทำอย่างนี้ประมาณ 2-3 ปี เราก็จะต้องยกแปลงใหม่

ในการให้น้ำเราจะใช้ระบบน้ำสปริงเกลอร์ เปิดวันเว้นวัน โดยใช้เวลาเปิดประมาณ 40 นาที แต่บางสวนอาจจะให้ถึง 1 ชั่วโมง ซึ่งจะเปิดช่วงเช้าหรือเย็นก็ได้ เพราะช่วงนี้จะเป็นช่วงที่สูญเสียน้ำน้อยกว่าช่วงกลางวัน สำหรับตลาดที่ส่ง จะอยู่ในเขตจันทบุรี โดยจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงสวน และจัดส่งไปขายต่อยังต่างประเทศ ราคาส่งออกจะอยู่ที่ 25 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม ซึ่ง 1 เครือ จะให้ผลผลิตมากถึง 5-6 กิโลกรัม คิดเป็นตัวเงินก็ประมาณ 600-700 บาท ต่อเครือ

"สำหรับปัญหาของชาวสวนที่ปลูกกล้วยเชิงเดี่ยว-ผสมผสาน คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของลม ซึ่งเป็นปัญหาทางธรรมชาติ ทำให้ใบแตก ส่งผลต่อการปรุงอาหารของต้นกล้วยได้ไม่เต็มที่ ทำให้ผลผลิตที่ได้เกิดปัญหา ทำให้เครือเล็ก ผลโตไม่เต็มที่ แต่ถ้าปลูกแซมในสวนผลไม้ก็ทำให้เกิดความเสียหายน้อยกว่าปลูกเชิงเดี่ยว เพราะลมที่เข้ามาไม่รุนแรง" คุณอนุศิษ กล่าว

ในปีนี้ทางจังหวัดจันทบุรีก็มีการจัดประกวดกล้วย ในงานรักษ์เหลืองจันท์ ครั้งที่ 10 ที่มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ระหว่าง วันที่ 10-14 กุมภาพันธ์ 2554 สาเหตุที่มีการจัดการประกวดกล้วยขึ้น เนื่องมาจากนโยบายจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ถือว่ากล้วยเป็นผลไม้ยุทธศาสตร์อันหนึ่ง ประกอบกับคนนิยมรับประทานและยังสามารถแปรรูปได้หลากหลาย จึงมีการจัดประกวดขึ้น

โดยการประกวดจะแบ่งออกเป็น การประกวดผลสด (กล้วยไข่ส่งออกและกล้วยหอมส่งออก) ผลิตภัณฑ์จากกล้วยหรือนวัตกรรมจากกล้วยใหม่ๆ ทั้งผล เปลือก ใบ อะไรก็แล้วแต่ที่ทำมาจากกล้วย เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ในวงการกล้วย ซึ่งสามารถติดต่อเข้าร่วมการประกวดได้ที่ เทศบาลตำบลพลวง โทรศัพท์ (039) 309-282-4 www. Pluan.go.th

ท่านที่สนใจเรื่องของการปลูกกล้วยไข่ ก็สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ชาวสวนคนเก่ง คุณอนุศิษ ธรรมเกษร บ้านเลขที่ 22/2 หมู่ที่ 5 ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี 22210 โทรศัพท์ (080) 824-4121 สำนักงานเทศบาลตำบลพลวงั้www.pluangcity.go.th เลขที่29/5 หมู่ที่ 10 ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี 22210




http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05024010254&srcday=2011-02-01&search=no





หน่อกล้วยไข่   สำคัญไฉน

          
ดิฉันมีโอกาสได้ไปดูการขุดหน่อกล้วยไข่จำหน่ายในพื้นที่สวนของเกษตรกร   ในแต่ละสวนมีการขุดหน่อลักษณะที่แตกต่างกันไป    บางสวนก็ขุดหน่อขายเพราะตัดต้นแม่แล้วเพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ผลผลิตกล้วยไข่เริ่มออกกันแล้ว    แต่บางสวนก็เลี้ยงหน่อกล้วยไข่ไว้ขาย 

       
กล้วยไข่ ก็เป็นพืชที่คนนิยมปลูกกันในช่วงนี้ถึงเดือนตุลาคม ก่อนฝนหมดเพื่อที่จะได้ไม่ต้องรดน้ำ การเลือกลักษณะของหน่อมาปลูกถือว่าสำคัญมากต่อผลผลิตที่จะออกมา การคัดเลือกหน่อควรเลือกมาจากต้นสมบูรณ์ ปราศจากโรคและแมลง หน่อโคนโต ปลายเรียว   ใบแคบ หน่อควรมีอายุ 3-6 เดือน เมื่อนำไปปลูกจึงจะเจริญเติบโตดี  

          
แต่กล้วยไข่ที่นำไปปลูกในแต่ละพื้นที่จะมีรสชาติแตกต่างกันไป กล้วยไข่ที่ปลูกในชุดดินเหนียวและเหนียวปนทรายกล้วยไข่จะมีผลโตสวยงาม แต่เปลือกค่อนข้างหนา ไส้ค่อนข้างโต เนื้อไม่แน่น มีรสอมเปรี้ยว          

กล้วยไข่ที่ปลูกในดินน้ำไหลทรายมูล จะมีผลขนาดเล็กเปลือกค่อนข้างบาง ไส้มีขนาดเล็ก เนื้อแน่น รสหวาน กล้วยไข่ที่ปลูกดินชุดกำแพงเพชร ผลของกล้วยไข่จะมีขนาดเล็กเปลือกค่อนข้างบาง ไส้มีขนาดเล็ก เนื้อแน่น รสหวานกลมกล่อม เป็นที่ต้องการของตลาด

                  
อยากได้กล้วยไข่ลักษณะแบบไหนก็เลือกเอานะค่ะ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ค่ะ 083-6278636 
 



http://www.gotoknow.org/blog/kitikantkpp/382226






วิจัยกล้วยไข่ให้ผิวสวย ใช้อุณหภูมิควบคุมการตกกระ 
 

กล้วยไข่...หนึ่งในปัญหาที่ทำให้ถูกกดราคา หรือหนักสุดคือส่งขายไม่ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ส่งออกมักประสบบ่อยครั้ง คือผิวของเปลือกเป็นกระ


เพื่อที่จะลดปัญหานี้ลง ศ.ดร.สายชล เกตุษา ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เมธีวิจัยอาวุโส ได้รับทุนสนับสนุน การวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้ทำการศึกษาวิจัยกล้วยไข่ทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อหาสาเหตุ


ในการศึกษาเก็บข้อมูลได้ใช้ถุงพลาสติกคลุมเครือกล้วย ควบคู่กับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อโรคทั้งก่อน-หลังการเก็บเกี่ยว อีกทั้งยังเก็บรักษาผลกล้วยให้สุกในสภาพปลอดเชื้อ-โรค แต่ก็ยังพบการตกกระของผลกล้วยไข่อยู่


ศ.ดร.สายชล...จึงสันนิษฐานว่า การตกกระของกล้วยไข่สุก สาเหตุเบื้องต้นไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคอย่างแน่นอน และ คงเกิดจากการที่ปล่อยทิ้งไว้ให้กล้วยงอมเต็มที่
ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่เกิดรอยตกกระเกิดรอยบุ๋ม ส่งผลให้น้ำบริเวณรอบข้างไหลเข้ามาทดแทน อันเป็นเหตุทำให้เนื้อเยื่อติดเชื้อได้ง่าย กระทั่งผิวของกล้วยไข่กลายเป็นสีดำ


ด้วยเหตุนี้ทางคณะวิจัยฯ จึงได้เริ่มศึกษาเปรียบ เทียบกับการเกิดสีน้ำตาล (browning) ของเนื้อเยื่อพืชชนิดต่างๆ อาทิ สีขาวของผลแอปเปิลที่ตากลมไว้เกิดสีน้ำตาล การเกิดสีผิดปกติของผลิตผลเขตร้อน เมื่ออยู่ภายใต้อุณหภูมิต่ำเหนือจุดเยือกแข็ง (chilling injury; 0-12 C) และการเกิดจุดสีน้ำตาลของผักกาดหอมห่อ (rusett spotting)


ผลที่ได้พบว่าเมื่อได้รับเอทิลีนที่อุณหภูมิต่ำ สีน้ำตาลที่เกิดขึ้นมาเกิดจากการทำปฏิกิริยาของเอนไซม์ กับสารฟีนอลิก ในสภาวะที่มีออกซิเจน โดยเม็ดสีเหล่านี้จะรวมตัวกันเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่และตกตะกอนอยู่ตามเนื้อเยื่อของพืช
และ...เมื่อนำกลับมาไว้ในห้อง กล้วยไข่จะยังคงตกกระเช่นเดิม หากนำไปไว้ที่อุณหภูมิ 42 ํC นาน 6-24 ชม.ก็จะสามารถยับยั้งการตกกระของกล้วยไข่ได้อย่างถาวร อีกทั้งความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศ จะช่วยให้การตกกระเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีความชื้นมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์


เมื่อทราบถึงปัจจัยเหล่านี้ จึงได้คิดวิธีการชะลอการตกกระขึ้น ด้วยวิธีการเก็บรักษากล้วยไข่สุกในบริเวณที่มีอุณหภูมิ 12-18 C หรือช่องแช่เย็นปกติ ซึ่งจะช่วยลดการตกกระได้นาน 5 วัน ใช้พลาสติกฟิล์มพีวีซี (PVC Film) หรือพลาสติกที่ยอมให้อากาศถ่ายเท ห่อผลกล้วยไข่เพื่อควบคุมปริมาณออกซิเจนให้เหลือน้อยที่สุด การใช้สารเคลือบผิว เพื่อลดการหายใจด้วยออกซิเจนของผลกล้วยไข่


จากการวิจัยและศึกษาการตกกระของกล้วยไข่ ได้ถูกนำมาใช้ป้องกันผิวของผลกล้วย โดยมีการนำกล้วยไข่ไปบรรจุในภาชนะ จานโฟมและห่อด้วยพลาสติก หรือแช่เก็บในชั้นวางของที่มีอุณหภูมิ 12-18 C เหล่านี้ก็ “เพื่อชะลอการตกกระของกล้วยไข่และดึงดูดใจผู้บริโภค”


นอกจากจะลดปัญหาการตกกระแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดที่คณะวิจัยได้รับรู้ ต้องการ คือความเข้าใจในธรรมชาติของกล้วยไข่ว่าจุดตกกระเกิดขึ้น เมื่อกล้วยไข่นั้นสุกมิใช่เกิดจากโรคแต่อย่างใด.




http://www.kasetvirul.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=416270&Ntype=6








หน้าก่อน หน้าก่อน (2/3)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (22352 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©