-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 579 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

กล้วยไข่




หน้า: 1/3



ที่มา: http://student.nu.ac.th/sanz/mai/maket.html

กล้วยไข่

 

              
คุณลักษณะเฉพาะ
        - สายพันธุ์แนะนำ คือ  กล้วยไข่กำแพงเพชร (ดีที่สุด).  ทองร่วงหรือค่อมเบา (ผลใหญ่/รสหวานติดเปรี้ยวเล็กน้อย).  เคบี-2   และ เคบี-3
        - ปลูกช่วงปลายฝนต้นหนาว (ส.ค.-ก.ย.) นอกจากช่วยให้ต้นโตเร็วแล้วยังเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้ออกเครือช่วงหน้าแล้งได้อีกด้วย
        - ชอบดินร่วนปนทราย   มีอินทรีย์วัตถุมากๆ  โปร่ง   ไม่ชอบอากาศร้อนจัดหรือหนาวจัดเกินไป
        - ค่อนข้างอ่อนแอต่อน้ำขังแฉะโคนต้นและดินเหนียวอุ้มน้ำ  เพราะฉะนั้นนอกจากต้องเตรียมแปลงปลูกสูงๆแล้วยังต้องมีระบบระบายน้ำจากแปลงปลูก และระบบสะเด็ดน้ำไม่ให้ขังค้างในเนื้อดินโคนต้นอีกด้วย
        - ปลูกในพื้นที่อากาศหนาวเย็นจะออกเครือช้า  ปลูกในพื้นที่อากาศร้อนเกินไปจะเกิดอาการใบไหม้ โตช้า บางครั้งถึงแคะแกร็น หรือต้นชะงักการเจริญเติบโต
         - จัดแปลงปลูกแบบลูกฟูกยกร่องแห้ง แล้วให้น้ำโชกๆผ่านไปตามร่องระหว่างสันลูกฟูกจะช่วยให้ดินมีน้ำ และความชื้นพอดีต่อความต้องการของกล้วยไข่
         - ช่วงที่ต้นกำลังเจริญเติบโตถ้าเกิดอาการใบสลดแสดงว่าขาดน้ำ
         - ระยะปลูกที่พอดี  2.5 X 2 ม.  พื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ 320 ต้น  ไม่ควรปลูกห่างหรือชิดกว่านี้เพราะแต่ละต้นต้องการอาศัยบังแดดและลมซึ่งกันและกัน
         - ปลูกแบบขุดหลุมปลูกตื้น หรือให้บริเวณหัวเหง้าต่อกับลำต้นเสมอผิวดิน (ลึก 20-25ซม.) แล้วใช้ดินปลูกถมพูนโคนต้นจะช่วยให้โตเร็วกว่าการปลูกลึกๆ  การมีเศษหญ้าแห้งคลุมหนาๆโคนต้นกว้างเต็มพื้นที่ทรงพุ่มจะช่วยเก็บความชุ่มชื้นหน้าดินส่งผลให้หน่อแตกรากใหม่เร็ว
         - ปลูกหน่อลงหลุมแล้วกดดินพอกระชับราก  พูนโคนต้นด้วยอินทรียวัตถุ   และเศษพืชแห้งหนาๆแผ่ทั่วบริเวณทรงพุ่ม
         - อายุต้นหลังปลูก 3-4 เดือนเริ่มแทงหน่อ  เมื่อหน่อสูง 50-80 ซม.ให้ตัดหน่อเหลือตอสูงจากพื้น 15-20 ซม. และตัดซ้ำทุกครั้งที่หน่อสูง 50-80 ซม.  โดยให้รอยตัดครั้งหลังสูงกว่ารอยตัดครั้งก่อน 5-10 ซม.เสมอ  จนกระทั่งต้นแม่อายุ 7-8 เดือนให้เลือกหน่อชิด 1-2 หน่อเพื่อแทนต้นแม่หลังจากตัดเครือและล้มต้นแม่แล้ว  หน่อที่เลือกไว้นี้ไม่ต้องตัดต้นอีก ส่วนหน่อตามหรือหน่ออื่นๆให้ตัดต้นตามปกติ
         - ช่วงแทงปลียาวออกมาแล้ว (ยังไม่ตัดหัวปลี) ใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 15-45-15 (200 กรัม)/น้ำ 20 ล. ฉีดเข้าที่ก้านของปลีพอเปียก 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ  5-7 วันจะช่วยให้การติดผลได้จำนวนหวีมากขึ้น
         - การไว้หน่อเพื่อแทนต้นแม่หลังตัดเครือแล้วสำหรับรุ่นปีต่อไปนั้น หน่อ
แต่ละรุ่นควรมีอายุห่างกัน 4-5 เดือนเสมอ
         - แยกหน่อจากต้นแม้ด้วยความประณีตให้คงมีรากเดิมติดเหง้ามามากที่สุดเท่าที่จะมากได้และอย่าให้รากที่ติดมานั้นกระทบกระเทือนมากนัก การมีดินเดิมห่อหุ้มรากขณะเคลื่อนย้ายจะช่วยให้รากชุ่มชื้นอยู่เสมอ  เมื่อนำลงปลูกจะยืนต้นได้เร็ว

         * ได้หน่อมาแล้วควรนำลงปลูกโดยเร็วไม่ควรทิ้งไว้นาน ถ้าจำเป็นต้องทิ้งไว้นานให้พรมน้ำแล้วห่อหุ้มเหง้าและรากด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์  รากเดิมที่ติดมากับเหง้าไม่ควรตัดทิ้งแต่ให้ปลูกพร้อมรากเดิมเลย กับทั้งต้องระวังการขุดแยกจากต้นแม่ ขณะเคลื่อนย้าย  นำลงปลูก อย่าให้รากที่ติดอยู่กับเหง้าช้ำหรือกระทบกระเทือนมากนัก  เพราะรากของกล้วยไข่สามารถเจริญต่อจากรากเดิมได้
          - เลือกหน่อพันธุ์ลักษณะโคนใหญ่ ปลายเรียว ใบแคบ  อายุ 3-4 เดือน
          - อายุต้นตั้งแต่เริ่มปลูกถึงออกปลี 190-200 วัน  หลังจากตัดปลีแล้ว 45-50 วันเก็บเกี่ยวได้ หรือตั้งแต่ออกปลีถึงเก็บเกี่ยว 60-70 วัน
          - ผลผลิตทั่วๆไปอกสู่ตลาดช่วงเดือน ส.ค.- พ.ย.
          - ช่วงที่ยังไม่ออกเครือให้ไว้ใบ 10-12 ใบ  และช่วงที่ออกเครือแล้วให้ไว้ใบ 8-9 ใบ  จะทำต้นไม่เฝือใบ  ไม่โทรม  และให้ได้ผลผลิตดี
          - หลังจากตัดปลีแล้ว 20-30 วัน ให้ห่อเครือด้วยถุงสีฟ้าขนาดใหญ่ เปิดก้นถุง เพื่อให้ลมผ่านและอากาศถ่ายเทสะดวก หรือห่อด้วยใบของเขาเอง
          - ช่วงที่ต้นกำลังออกเครือระบบรากค่อนข้างอ่อนแอจึงไม่ควรให้ปุ๋ยทางรากเพราะนอกจากอาจจะทำให้รากเน่าแล้ว ยังทำให้ผลแก่เร็วกว่ากำหนดทั้งๆที่ขนาดผลยังเล็ก และหลังจากเก็บเกี่ยวแล้วยังบ่มให้สุกช้าอีกด้วย  เมื่อให้ปุ๋ยทางรากไม่ได้ก็ต้องให้ทางใบแทน
          - ปกติหวีที่ปลายเครือ 1-2 หวี มักมีขนาดเล็ก เรียกว่า "ตีนเต่า" แก้ไขโดย หลังจากตัดปลีแล้ว 1-2 อาทิตย์ ให้ตัดทิ้ง 1-2 หวีสุดท้ายที่ปลายเครือ วิธีนี้จะช่วยให้ทุกผลของทุกหวีในเครือที่เหลืออยู่เป็นผลและหวีขนาดใหญ่ทุกหวี 
          - หลังจากห่อผลแล้ว 30 วัน  ใบบางส่วนจะเริ่มแห้ง  ผลกลมไม่มีเหลี่ยม  แสดงว่าผลแก่จัดเก็บเกี่ยวได้แล้ว
          - ช่วงติดผลขนาดใหญ่  นำหนักเพิ่มขึ้น  ถ้าต้นรับน้ำหนักไหวก็อาจจะไม่ต้องมีไม้ค้ำต้นแต่ถ้าเห็นว่าต้นคงรับน้ำหนักไม่ไหวแน่ก็ให้ค้ำต้น
          - ไม่ควรปล่อยให้แก่จนสุกคาต้นเพราะจะทำให้กลิ่นและรสด้อยลง
          - กล้วยไข่แจ็คพอต หมายถึง กล้วยไข่ที่แก่จัดใกล้สุก (ห่าม) หรือสุกพอดีตรงหรือก่อนเล็กน้อยกับช่วงวันสารทไทย การปลูกกล้วยไข่ให้ได้ผลผลิตตรงกับช่วงเทศกาลดังกล่าว สามารถทำได้โดยการนับระยะอายุจากวันตัดเครือย้อนหลังมาถึงวันที่ยืนต้นได้ 9 เดือน ให้ลงมือปลูกหน่อกล้วยก่อนวันที่ยืนต้นได้ 1-2 เดือน  จากนั้นให้ปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนปกติ  หรือลงมือปลูกหน่อก่อนวันสารทไทย 11-12 เดือน กล้วยไข่ต้นนั้นก็จะมีเครือให้ตัดได้ในวันสารทไทยพอดี



ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร

***********************************************************************

กล้วยไข่กำแพงเพชร
 

หากจะเปรียบเทียบกล้วยชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ในเมืองไทยแล้ว กล้วยไข่ก็นับว่าเป็นหนึ่งในกล้วยยอดฮิตที่คนไทยชอบกิน และปลูกกันมากในหลายจังหวัด เช่น ในอดีต จ.กำแพงเพชร ก็ได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองกล้วยไข่ ราคาของกล้วยไข่ก็ค่อนข้างสูง และตอนนี้อาจขยับไปถึงกิโลกรัมละมากกว่า 20 บาท เพราะเป็นช่วงที่ผลผลิตออกมาน้อย



 ถึงแม้กล้วยไข่จะเป็นที่รู้จักของคนไทยทั่วไป แต่นักวิจัยที่ให้ความสนใจในการพัฒนาเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับกล้วยไข่มีค่อนข้างน้อยมาก ก็เลยเป็นผลทำให้การปลูกกล้วยไข่ไม่ยั่งยืนเท่าที่ควร เพราะหลายครั้งเมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็ไม่มีวิชาความรู้มาช่วยแก้ปัญหาได้ ผลก็คือผู้ผลิตหลายรายอาจต้องเลิกปลูกแล้วหันไปปลูกอย่างอื่นแทน


งานวิจัยที่เกี่ยวกับกล้วยไข่เท่าที่มีและใช้ประโยชน์ได้ตอนนี้ก็คงเป็นเรื่องของพันธุ์ และการปลูกดูแลรักษาในแง่มุมต่างๆ เช่น การให้ปุ๋ยพร้อมน้ำและเรื่องของโรคและแมลง เป็นต้น งานวิจัยเกี่ยวกับพันธุ์ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยของ ศ.เบญจมาศ ศิลาย้อย จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้พันธุ์ใหม่ออกมา มีลักษณะเด่นคือผลอ้วนป้อมและเปลือกหนา โดยตั้งชื่อว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 ซึ่งตอนนี้มีการปลูกแพร่หลายใน หลายพื้นที่ของประเทศไทย ส่วนพันธุ์เดิมๆ ที่มีปลูกกันอยู่ก็ได้แก่พันธุ กำแพงเพชร หรือสุโขทัย ซึ่งก็ปลูกกันมากทางภาคเหนือ


 การปลูกกล้วยไข่ก็เหมือนการปลูกไม้ผลทั่วๆ ไป มีการเตรียมหลุมปลูก โดยใช้ระยะปลูกที่เหมาะสม ให้ปุ๋ย ให้ยา และให้น้ำ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติทั่วไป แต่มีการวิจัยเกี่ยวกับการให้ปุ๋ยพร้อมน้ำ ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างใหม่ และเป็นการนำผลงานวิจัยมาใช้ประโยชน์โดยตรง ซึ่งเรื่องนี้เป็นผลงานวิจัยของ รศ. ดร.อิทธิสุนทร นันทกิจ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งได้ทดลองวางระบบน้ำหยดในแปลง
กล้วยไข่ แล้วมีการใช้ปุ๋ยผสมลงไปในน้ำเพื่อให้ต้นกล้วยได้รับปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ ผลที่ได้รับคือกล้วยไข่มีคุณภาพดีขึ้น รวมทั้งประหยัดทั้งปุ๋ยและน้ำ เพียงแต่การลงทุนขั้นต้นค่อนข้างสูงเท่านั้น แต่ในระยะยาวแล้วน่าจะคุ้มค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกกล้วยไข่เพื่อการส่งออก ซึ่งต้องการความสม่ำเสมอและคุณภาพดี


 นอกจากจะมีการศึกษาเรื่องการให้ปุ๋ยพร้อมน้ำแล้ว ก็ยังมีการศึกษาระบบการให้น้ำ การให้ปุ๋ย และการจัดการศัตรูพืช โดยนักวิจัยอีกหลายคน แต่ที่สำคัญก็คือ เมื่อได้ความรู้เหล่านี้มาแล้ว ก็มีกระบวนการถ่ายทอดความรู้สู่ผู้ปลูกและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยทีมวิจัยซึ่งนำโดย รศ.ดร.จริยา วิสิทธิ์พานิช จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้ร่วมกันจัดอบรมกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตกล้วยไข่เพื่อการส่งออก และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการ
เกษตร โดยได้จัดทำคู่มือการผลิตกล้วยไข่คุณภาพขึ้นมา 1 เล่ม เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการอบรมดังกล่าว โดยได้รวบรวมผลงานวิจัยแล้วนำมาเรียบเรียงเป็นขั้นตอนการผลิตกล้วยไข่คุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยรูปภาพแสดงขั้นตอนอย่างละเอียด เหมาะที่จะใช้เป็นคู่มือสำหรับเกษตรกรทั่วไป โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ในคู่มือนี้มาจากผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก สกว. ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน


คราวหน้าจะนำเรื่องการให้ปุ๋ยกล้วยไข่พร้อมระบบน้ำมาเล่าให้ฟังต่อ เพราะเป็นประเด็นที่น่าสนใจและมีผู้นำไปใช้แล้วได้ผลดี เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางการผลิตกล้วยไข่คุณภาพสูงต่อไปครับ


รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ



ที่มา  :  คม ชัด ลึก

******************************************************************************

เริ่มรายการ  เพลงบรรเลง (เปิดเพลงดอกไม้ให้คุณ เริ่มจากไตเติ้ลจนถึง
ขอมอบดอกไม้ในสวน.. จากนั้นลดเสียงเพลงลงให้คลอเบาๆ)
 
ผู้ดำเนินรายการ  สวัสดีค่ะคุณผู้ฟังที่รักทุกท่านคะ พบกับรายการสาระความรู้ทาง
การเกษตร จากคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กันอีกครั้งนะคะ สำหรับวันนี้ขอเสนอ
เรื่อง กล้วยไข่ ค่ะ
 
  เมื่อดิฉันเอ่ยคำว่า "กล้วยไข่" คุณผู้ฟังทุกท่านก็จะคิดถึงจังหวัด
กำแพงเพชรใช่มั้ยคะ เพราะจังหวัดกำแพงเพชร เป็นแหล่งปลูก
กล้วยไข่ที่มีชื่อเสียงมาก ทั้งทางด้านรสชาติที่หอมหวาน และ
อร่อยจนติดลิ้นนักกินทั่วไป แม้กล้วยไข่ที่แปรรูปแล้ว ก็ยังเป็นที่
ยอมรับไม่แพ้กัน และในปัจจุบันกล้วยไข่ก็ยังมีตลาดรองรับสม่ำ
เสมออีกด้วย ดังนั้นกล้วยไข่จึงน่าจะเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ
ค่ะ
 
  โดยทั่วไปในสภาพธรรมชาติ กล้วยไข่ จะเป็นพืชที่ชอบดินร่วนปน
ทรายสามารถระรายน้ำได้ดีมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางจนจนถึง
ระดับสูง ไม่ชอบอากาศร้อนจัดหรือหนาวจัดจนเกินไปนะคะ
สำหรับช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูก ควรเป็นช่วงระยะ
ปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว คือ ช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม
ส่วนช่วงเดือนพฤศจิกายนก็พอจะปลูกได้ในบางพื้นที่ที่ฝนทิ้งช่วง
ไม่มากนัก เพราะการปลูกกล้วยไข่ในช่วงระยะดังกล่าวนั้น เป็นวิธี
การหลีกเลี่ยงไม่ให้กล้วยไข่ตกเครือในช่วงฤดูแล้งของปีต่อไปนั่น
เองนะคะ เพราะหากกล้วยไข่ตกเครือในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีผล
ต่อการสุกง่าย และราคาที่ไม่ค่อยดี ค่ะ
 
  เทคนิคในการปลูกกล้วยไข่ให้มีรสชาติดี ได้มีคำแนะนำจากผู้เชี่ยว
ชาญว่า มี 3 วิธีใหญ่ๆ ดังนี้ค่ะ เทคนิคแรก คือ การคัดเลือกหน่อ
ปลูก ควรดูหน่อที่ค่อนข้างสมบูรณ์ นั่นคือ เป็นหน่อที่มีโคนโต
ปลายเรียว ใบแคบ ไม่มีโรคและแมลงศัตรูเข้าทำลาย มีอายุ
ประมาณ 3-4 เดือน 
 
  เทคนิคที่สอง คือ เทคนิคในการปลูก ในการปลูกกล้วยไข่ควรวาง
ให้เหง้าของหน่อพันธุ์อยู่ใต้ดินประมาณ 6-8 นิ้ว หลังจากกลบดิน
บริเวณโคนต้นจะอยู่ระดับผิวดินพอดี แล้วเหยียบดินกลบบริเวณ
โคนต้นให้แน่นปานกลาง เพราะกล้วยไข่ที่ปลูกใหม่จะต้องการ
การขยายตัวด้านข้างลำต้นค่ะ และควรปลูกให้มีระยะห่างระหว่าง
แถวต้นละ สองเมตรถึงสองเมตรครึ่ง ดังนั้นในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้
หน่อกล้วยไข่ประมาณ 350-400 หน่อ ให้ขุดหลุมปลูกกว้าง
ประมาณ 50-60 ซม. มีความลึก 50 มม. และในช่วงหลังการปลูก
หากยังมีฝนตกก็ไม่ต้องให้น้ำ เพราะสามารถอาศัยน้ำฝนได้ แต่
ช่วงหน้าแล้งควรเริ่มให้น้ำนะคะ เพื่อเป็นการป้องกันดินแห้ง ใน
บางพื้นที่ที่แล้งมาก ความถี่ในการให้น้ำนั้นอาจจะถึงประมาณ 5-
20 วันต่อครั้งค่ะ
 
  เทคนิคที่สาม เป็นเทคนิคการให้ปุ๋ย หลังจากขุดหลุมปลูกแล้ว
ควรย่อยดินก้นหลุมและรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกอีกชั้นหนึ่ง ให้มี
ความหนาประมาณ 1-2 ซม.แล้วจึงปลูกนะคะ เมื่อกล้วยอายุได้
ประมาณ 1-2 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 3-1-1 หรือ 3-2-1 และเมื่อกล้วย
อายุได้ 3-4 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ คือ 15-15-15 ต่อจากนั้นเมื่อ
กล้วยอายุ 5-6 เดือน ก็ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 โดยการแบ่งใส่ให้
สองครั้งระยะเวลาห่างกันประมาณ 15-20 วัน ในอัตราต้นละ
ประมาณ 30-50 กรัม โดยขุดหลุมห่างจากโคนต้นประมาณ 30 ซม.
ตรงกันข้าม 2 หลุม จากนั้นก็กลบ และถ้าจะให้ดี ควรใส่ปุ๋ยเคมี
ควบคู่กับปุ๋ยคอก เช่น มูลไก่ที่ย่อยสลายแล้วต้นละ 1 กิโลกรัม ค่ะ
 
  เทคนิคที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการปลูกกล้วยไข่ ก็คือ การคัด
แต่งต้นกล้วย เพื่อให้ต้นกล้วยเจริญเติบโตสมบูรณ์ มีคำแนะนำว่า
ควรตัดแต่งต้นกล้วยในช่วงเดือน พ.ค.หรือ มิ.ย.โดยการดำเนินการ
3 ลักษณะนะคะ คือ การแต่งหน่อ การตัดใบลอกกาบ และการตัด
ปลีค่ะ
 
  สำหรับวิธีสังเกตว่า กล้วยไข่แก่มากน้อยแค่ไหน ก็ให้นับวันดู
จากระยะเริ่มปลูกลงหลุมไปประมาณ 320 วัน หรือนับจากกล้ว
ยออกปลี 50-60 วัน หรือนับหลังจากตัดปลี 45 วัน กล้วยไข่จะ
เจริญเติบโตเต็มที่และเริ่มแก่นะคะ หรือหากจะใช้การสังเกตุสีผล
กล้วยก็ได้ค่ะ หากกล้วยออกออกสีนวลก็ตัดได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ
การดูแลด้วยนะคะ หากต้องการให้กล้วยแก่เร็ว ก็ต้องเร่งการใส่
ปุ๋ยและให้น้ำค่ะ สิ่งสำคัญที่ควรระมัดระวัง คือ ไม่ควรให้กล้วยสุก
คาต้นนะคะเพราะผลกล้วยจะขาดรสชาติและไม่อร่อย นอกจากนั้น
สีผิวผลจะมีลักษณะกระด้างทำให้เสียราคาได้ค่ะ
 
  จากเรื่องราวและเทคนิคต่างๆ ที่นำเสนอนี้ หากท่านเกษตรกรผู้
ปลูกกล้วยได้มีการนำไปปรับประยุกต์ใช้ ท่านเกษตรกรก็จะได้
กล้วยไข่ที่มีความสมบูรณ์ มีคุณสมบัติพร้อม ที่จะเป็นกล้วยไข่ที่มี
คุณภาพ ดังเช่นกล้วยไข่จังหวัดกำแพงเพชร ก็ย่อมมีความเป็นไป
ได้สูงนะค่ะ ซึ่งก็จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการผลิตไม้ผลออก
จำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้เป็นอย่างดีค่ะ

 
  คุณผู้ฟังที่รักค่ะ หากคุณผู้ฟังต้องการได้รายละเอียดเกี่ยวกับ
รายการสาระความรู้ทางการเกษตรเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ
หรือมีปัญหาทางการเกษตรต้องการคำปรึกษา แนะนำ หรือต้อง
การให้คำแนะนำ ติชม แก่ทางรายการฯก็ตาม ขอเชิญติดต่อเข้า
มาได้ค่ะ ทั้งทางจดหมายและโทรศัพท์นะคะ ทางจดหมายจ่าหน้า
ซองถึง คุณดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ หัวหน้างานศูนย์บริการ
วิชาการและฝึกอบรม คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด
สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90112 ส่วนทางโทรศัพท์กรุณาติดต่อมาที่
หมายเลขโทรศัพท์ (074) 212849 ต่อ 14 ในวันและเวลาราชการ
ค่ะ
 
  วันนี้เวลาของรายการสาระความรู้ทางการเกษตรหมดลงอีกแล้วนะ
คะ คุณผู้ฟังจะติดตามรับฟังรายการสาระความรู้ทางการเกษตรได้
ใหม่ ณ สถานีวิทยุมอ. เอฟเอ็ม แปดสิบแปดเม็กกะเฮิร์กซ์ ทุกวัน
จันทร์ เวลาประมาณ สิบห้านาฬิกาสี่สิบห้านาที สำหรับวันนี้ดิฉัน
ขอลาคุณผู้ฟังไปก่อนค่ะ สวัสดีค่ะ

 




 


******************************************************************************




หน้าถัดไป (2/3) หน้าถัดไป


Content ©