-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 573 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ปุ๋ยเคมี








รายละเอียด : เราใส่ปุ๋ยเพื่ออะไร ?
ทำไมถึงต้องใส่ปุ๋ย ?
ใส่ปุ๋ยอย่างไรถึงจะคุ้มทุน !

ปุ๋ย คือ วัสดุที่มีธาตุอาหารพืชเป็นองค์ประกอบ หรือสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดธาตุอาหารพืช เมื่อใส่ลงไปในดินแล้วจะปลดปล่อยหรือสังเคราะห์ธาตุอาหารที่จำเป็นให้แก่พืช

ดิน เป็นแหล่งให้อากาศ ธาตุอาหาร และน้ำ เพื่อการเจริญเติบโตของพืช และเป็นที่ยึดเกาะของราก เมื่อมีการเพาะปลูกพืช พืชจะดูดธาตุอาหารในดินไปใช้ใน การเจริญเติบโตและสร้างผลผลิต ธาตุอาหารจะถูกเก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆของพืช ได้แก่ ใบ ลำต้น ดอก ผล เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชออกไปจากพื้นที่ ธาตุอาหารพืชย่อมถูกนำออก ไปจากพื้นที่ด้วยรวมถึงปัจจัยอื่นอีกมากมาย ถ้าใช้ดินปลูกพืชเป็นระยะเวลานาน โดยไม่มีการเพิ่มเติมธาตุอาหารลงไปในดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินก็จะลดลง จนในที่สุดจะไม่สามารถให้ผลผลิตสูงได้ ธาตุอาหารพืชในดินสูญเสียไปกับผลผลิตพืชมากที่สุด

ดังนั้นในการเพาะปลูกพืช ควรเพิ่มเติมธาตุอาหารลงไปในดินให้เพียงพอ ซึ่งการใส่ปุ๋ยเป็นวิธีหนึ่งในการเพิ่มธาตุอาหารในดิน ดังนั้นก่อนจะใส่ปุ๋ยจะต้องรู้คุณสมบัติของดินที่จะปลูกพืชเสียก่อน เช่น ต้องรู้สภาพความเป็นกรดเป็นด่าง ความชื้น ธาตุอาหารในดิน เป็นต้น


ประโยชน์ของปุ๋ย
(จากหนังสือหลักการพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในหัวข้อบรรยายเรื่องปุ๋ย โดย ผศ.สมพร ทรัพยสาร)

ปุ๋ย คือ วัสดุที่มีธาตุอาหารพืชเป็นองค์ประกอบ หรือสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดธาตุอาหารพืช เมื่อใส่ลงไปในดินแล้วจะปลดปล่อยหรือสังเคราะห์ธาตุอาหารที่จำเป็นให้แก่พืช

พืชอาจสร้างอาหารส่วนใหญ่ได้จากแสงและอากาศผ่านขบวนการสังเคราะห์แสง อย่างไรก็ตาม พืชยังต้องการธาตุอาหารอีกกว่า 10 ชนิดจากภายนอกเพื่อให้ขบวนการเจริญเติบโตสามารถดำเนินไปได้อย่างปกติ และหากต้องการให้พืชมีการเจริญเติบโตผิดไปจากธรรมชาติ เราก็อาจใช้ปุ๋ยและ/หรืออาหารเสริมควบคุมได้ ดังที่ผู้ผลิตโป๊ยเซียนได้กระทำกัน

ปกติแล้ว พืชต้องการธาตุอาหาร 16 ชนิด เพื่อการเจริญเติบโต แต่ได้ คาร์บอน ออกซิเจน และไฮโดรเจน จากน้ำและอากาศ ธาตุอีก 6 ธาตุ เป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณมาก คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน โดย 3 ธาตุแรกนั้นพืชต้องการมาก ดังนั้น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแทสเซียม จึงถูกเรียกว่าธาตุปุ๋ย ซึ่งต้องถูกระบุและรับรองอัตราส่วนไว้ที่ฉลาดปุ๋ยเสมอ ส่วนธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชอีก 10 ชนิดนั้น อาจถูกผสมไว้ในปุ๋ยโดยไม่ได้ระบุรับรองไว้ในฉลากปุ๋ยด้วย

สำหรับ ธาตุปุ๋ย 3 ชนิด ซึ่งมักถูกเรียกย่อๆ ว่า N-P-K(เอ็น-พี-เค) นั้นมีบทบาทต่อการเจริญเติบโตของพืชต่างกันคือ ไนโตรเจนหรือเอ็นนั้นช่วยให้ต้นและใบของพืชมีการเจริญเติบโตดี ถ้าได้รับน้อยเกินไปจะทำให้ใบมีสีซีดเหลือง ไม่ค่อยเติบโต ถ้าได้รับมากเกินไปจะทำให้ใบมีสีเขียว อวบ เปราะ ขาดความแข็งแรง ไม่ค่อยออกดอก ส่วนฟอสฟอรัสหรือพีนั้นช่วยให้ระบบรากเติบโตได้ดี พืชมีดอกได้ง่ายขึ้น ถ้าพืชได้รับน้อยเกินไปจะทำให้มีการสร้างสารสีม่วงแดงขึ้นบริเวณต้นและใบ และไม่ออกดอก แต่ถ้าได้รับมากเกินไป จะทำให้ต้นแคระแกรน พืชออกดอกเร็วผิดปกติ ขณะที่โปแทสเซี่ยมหรือเคนั้น เป็นธาตุที่ทำให้กลไกทางเคมีภายในพืชดำเนินไปได้ตามปกติ ถ้าพืชได้รับน้อยเกินไป จะอ่อนแอต่อโรค ต้นเปราะ หักง่าย แต่ถ้าพืชได้รับมากเกินไป จะแคระแกรน


ทำไม ต้องเป็นปุ๋ย N-P-K
เคยสงสัยกันไหมว่าปุ๋ยที่เราซื้อมาใส่ต้นไม้ โดยทั่วไปมักจะระบุเอาว่าเป็นสูตรเร่งใบ เร่งดอก หรือสูตรเร่งผล ซึ่งสังเกตกันง่ายๆ ที่มีเลขระบุเป็นแถวๆเช่น 16-16-16 หรือ 16-32-16 หรือ 16-32-32 บางคนอาจจะพอรู้มาบ้างแล้วว่าตัวเลขดังกล่าวอธิบายถึงอะไร แต่อาจจะยังไม่ทราบถึงหน้าที่ของมันอย่างชัดเจนน

สูตรปุ๋ย หมายถึงปริมาณธาตุอาหารแต่ละชนิดที่มีอยู่ในปุ๋ยน้ำหนัก 100 กิโลกรัม เช่นปุ๋ยสูตร
16-16-16 คือตัวแทนของธาตุอาหารหลัก ตรงกับตำแหน่ง N-P-K (ไนโตรเจน-ฟอสฟอรัส-โปแทสเซียม) หมายความว่าปุ๋ยน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ให้ธาตุไนโตรเจนหนัก 16 กิโลกรัม ธาตุฟอสฟอรัสในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้ (P2O5) หนัก 16 กิโลกรัม และธาตุโพแทสเซียมในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้ (K2O) หนัก 16 กิโลกรัม

เมื่อสังเกตจะพบว่าปริมาณปุ๋ยดังกล่าวสามารถบอกเป็นอัตราส่วนของธาตุอาหารได้ เช่น ปุ๋ยสูตร
16-16-16 เป็นแบบอัตราส่วน 1:1:1 เป็นอัตราส่วนสำหรับต้นไม้ที่กำลังเจริญเติบโตทางใบและกิ่งหรือที่เรานิยมเรียกกันว่า "สูตรเร่งใบ" ในขณะเดียวกันปุ๋ยสูตร 16-32-16 เป็นแบบอัตราส่วน 1:2:1 ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพการออกดอกจึงเรียกกันว่า "สูตรเร่งดอก" และปุ๋ยสูตร 16-32-32 เป็นแบบอัตราส่วน 1:2:2 ทำหน้าที่ทำให้ดอกที่เกิดขึ้นมาแล้วกลายเป็นดอกที่สุขภาพดี และทำให้ผลที่ได้มีความสมบูรณ์ จึงมักเรียกกันว่า "สูตรเร่งผล"

กลไกทางสรีระวิทยา สามารถอธิบายได้ว่า
- ไนโตรเจน เป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของเซลล์พืชทำหน้าที่หลายอย่างทั้งการสร้าง ซ่อมแซม
และการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักสำหรับการเจริญเติบโตทางกิ่งและใบของต้นพืช
- ฟอสฟอรัส เป็นธาตุสำคัญในการผลิตหน่วยให้พลังงานที่เรียกว่า ATP ซึ่งจำเป็นสำหรับระยะที่พืชจะกระตุ้นเซลล์เนื้อเยื่อเจริญพื้นฐานให้พัฒนาเป็นตาดอก ทำให้เกิดดอกจำนวนมากได้
- ส่วนโปแทสเซียม เป็นธาตุที่สำคัญในกระบวนการลำเลียงสารระหว่างเซลล์ ดังนั้นเมื่อเร่งจนได้ดอกปริมาณมากแล้ว การที่จะทำให้สารอาหารที่พืชสร้างไว้มาหล่อเลี้ยงดอกและผลได้เต็มที่ทำให้ดอกสวยงาม หรือกลายเป็นผลไม้คุณภาพดีนั้น จำเป็นจะต้องเสริมธาตุโพแทสเซียมเพื่อสนับสนุนกระบวนการดังกล่าว

ประเภทของปุ๋ย
ปุ๋ยโดยทั่วไป แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากซากหรือมูลสิ่งมีชีวิต เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ย กทม. ปุ๋ยมูลค้างคาว ปุ๋ยมูลไก่ ปุ๋ยมูลวัว และปุ๋ยปลา เป็นต้น ปุ๋ยพวกนี้มีธาตุปุ๋ยอยู่มากน้อยแตกต่างกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งปุ๋ยคอกซึ่งมีความเข้มข้นของธาตุปุ๋ยต่างกันตามชนิดของอาหารและปริมาณน้ำที่สัตว์ดื่ม เช่น ปุ๋ยมูลไก่ จะมีธาตุปุ๋ยมากกว่าปุ๋ยมูลวัว ปุ๋ยอินทรีย์มักถูกใช้เป็นส่วนผสมของวัสดุปลูก เนื่องจากจะช่วยปรับสภาพวัสดุปลูกและค่อย ๆ สลายตัวปลดปล่อยธาตุอาหารแก่พืช ปุ๋ยปลาเป็นปุ๋ยที่มีธาตุปุ๋ยน้อย แต่มีผลกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้ดี สันนิษฐานว่าอาจมีสารควบคุมการเจริญเติบโต หรือ กรดอมิโนบางชนิดอยู่ อย่างไรก็ตาม การใช้ปุ๋ยปลากับพืชในช่วงฤดูฝน อาจทำให้พืชอ่อนแอเป็นโรคง่าย จึงต้องระมัดระวังในการใช้

2. ปุ๋ยอนินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมี เป็นปุ๋ยที่ได้จากเกลือแร่ต่าง ๆ มักมีธาตุปุ๋ยในปริมาณมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยประเภทนี้มี 2 กลุ่มใหญ่ คือ
2.1 ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย เป็นปุ๋ยที่มีธาตุปุ๋ยไม่ครบ 3 ธาตุ เช่น ปุ๋ยยูเรีย ซึ่งมีไนโตรเจนเพียงธาตุเดียว ปุ๋ยดินประสิว ซึ่งมีไนโตรเจนและโปแทสเซี่ยม ปุ๋ยกลุ่มนี้มักจะถูกนำมาผสมกันเป็นปุ๋ยผสม แต่บางครั้งอาจถูกนำมาใช้โดยตรงเพื่อปรับการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งการใช้จะต้องกระทำอย่างระมัดระวัง
2.2 ปุ๋ยผสม เป็นปุ๋ยที่มีธาตุปุ๋ยครบ 3 ธาตุ โดยเป็นผลจากการผสมปุ๋ยเดี่ยวหลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยแบ่งตามสูตรปุ๋ยได้ เป็น 4 ประเภทคือ

(ก) ปุ๋ยสูตรเสมอ คือ ปุ๋ยที่มีธาตุทั้ง 3 ในปริมาณที่เท่ากัน ใช้เมื่อไม่ต้องการเร่งส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ คือให้พืชเจริญเติบโตตามปกติ เช่นสูตร 15-15-15, 20-20-20 เป็นต้น
(ข) ปุ๋ยหน้าสูง คือ ปุ๋ยที่มีธาตุ ไนโตรเจนมากกว่าธาตุฟอสฟอรัสและธาตุโปรแตสเซียม ใช้เมื่อต้องการเร่งการเจริญเติบโตทางต้น มักให้ในระยะกล้า จะทำให้พืชมีใบเขียวขึ้น ต้นโตขึ้น เช่นสูตร 30-20-10, 20-10-10 เป็นต้น
(ค) ปุ๋ยสูตรกลางสูง คือ ปุ๋ยที่มีธาตุฟอสฟอรัสมากกว่าธาตุไนโตรเจนและธาตุโปรแตสเซียม ใช้เมื่อต้องการเร่งการเจริญเติบโตทางราก หรือเร่งให้ออกดอกเร็วขึ้น เช่น ปุ๋ย สูตร 15-30-15, 12-24-12
(ง) ปุ๋ยหลังสูง คือ ปุ๋ยที่มีธาตุโปรแตสเซียมมากกว่าธาตุไนโตรเจนและธาตุฟอสฟอรัส ใช้เร่งสีให้เข้มขึ้น หรือเพิ่มความหวานให้มากขึ้น เช่นสูตร 12-12-27, 10-20-30 เป็นต้น


ปุ๋ยผสมนี้ยังแบ่ง ตามลักษณะ เป็น 3 กลุ่มย่อย คือ
1. ปุ๋ยเม็ด
เป็นปุ๋ยที่มักคลุกเคล้าดินกับธาตุปุ๋ยจากการผสมของปุ๋ยเดี่ยว เป็นปุ๋ยที่ปลดปล่อยธาตุอาหารแก่พืชได้ค่อนข้างรวดเร็วตามการละลายของเม็ดปุ๋ย ซึ่งมีขนาดต่าง ๆ กัน ปุ๋ยกลุ่มนี้มักมีราคาถูก เป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไป มักใส่ให้พืชทุก 1-4 สัปดาห์

2. ปุ๋ยเม็ดละลายช้า
เป็นปุ๋ยที่ธาตุปุ๋ยได้จากการผสมของปุ๋ยเดี่ยว ถูกปั้นให้เป็นเม็ด แล้วเคลือบผิวด้วยสารที่ยอมให้น้ำผ่านเข้าไปภายในได้ทีละน้อย ทำให้การปลดปล่อยธาตุอาหารผันแปรตามอุณหภูมิ และ/หรือความชื้นของวัสดุปลูก ปุ๋ยจึงอาจให้อาหารแก่พืชได้อย่างต่อเนื่อง 3-12 เดือน ปุ๋ยกลุ่มนี้มักมีราคาแพง จึงใช้กันในวงจำกัด เฉพาะที่ปลูกพืชเป็นเวลานาน โดยมีแรงงานให้ปุ๋ยไม่เพียงพอ

3. ปุ๋ยเกล็ด
เป็นปุ๋ยที่มีความบริสุทธิ์ค่อนข้างสูง สามารถละลายน้ำได้ดี เกิดจากการนำปุ๋ยเดี่ยวคุณภาพสูงมาคลุกเคล้ากัน ซึ่งบ่อยครั้งจะมีการเพิ่มไวตามินบี และสารควบคุมการเจริญเติบโตเข้าไปด้วย ปุ๋ยกลุ่มนี้ต้องละลายน้ำรดให้แก่พืช หรือผสมไปในระบบน้ำก็ได้ ปุ๋ยกลุ่มนี้อาจถูกเรียกว่าปุ๋ยใบ เพราะพืชดูดไปใช้ได้ทั้งทางรากและใบ มักนิยมใช้กับกล้วยไม้ หรือพืชที่ต้องการปุ๋ยอย่างเร่งด่วน การที่ต้องให้ปุ๋ยกลุ่มนี้บ่อยจึงทำให้เป็นปุ๋ยที่มีค่าใช้จ่ายในการใช้ค่อนข้างสูง

เมื่อเลือกชนิดของปุ๋ยได้ตามความเหมาะสมแล้ว เราต้องเลือกสูตรและตราของปุ๋ยที่จะใช้ด้วย การเลือกในกรณีหลังนี้คงต้องมีการศึกษาทดลองกับพืชที่เราปลูกเลี้ยงอยู่ เนื่องจากการเลือกสูตรนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุปลูกที่ใช้อยู่ เพราะวัสดุปลูกที่ต่างกันจะมีธาตุอาหารพืชในปริมาณที่ต่างกัน ความต้องการธาตุปุ๋ยจึงต้องต่างกันไป นอกจากนี้ปุ๋ยแต่ละตรายังมีธาตุอาหารอื่น ๆ แตกต่างกันไป จึงเหมาะกับวัสดุปลูกที่ต่างกันด้วย อย่างไรก็ตาม การเลือกซื้อปุ๋ยควรต้องคำนึงเรื่องราคาไว้ด้วย


การให้ปุ๋ย
วิธีการให้ปุ๋ยไม้ดอกกระถางนั้นค่อนข้างง่าย แต่ก่อนการให้ปุ๋ยทุกชนิดใบ ต้องไม่เหี่ยว วัสดุปลูกต้องชื้น ไม่แห้ง ใบต้องแห้ง ควรให้เวลาเช้าหรือเย็น และใช้หลัก ให้จำนวนน้อยแต่บ่อยครั้ง ดีกว่าให้จำนวนมากแต่น้อยครั้ง การให้ปุ๋ยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ตามชนิดของปุ๋ยคือ

1. การให้ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ (ปุ๋ยใบ) ปุ๋ยชนิดนี้มีลักษณะเป็นเกล็ดขนาดเล็ก หรือเป็นผง ต้องนำมาละลายน้ำให้เจือจางก่อนใช้ อัตราการใช้ 50 ถึง 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ระยะใบเลี้ยง ถึง 6 ใบจริง ให้ใช้อัตราต่ำคือ 50 กรัม/20 ลิตร ต่อจากนั้นใช้อัตรา 60 ถึง 100 กรัม/20 ลิตร รดตอนเช้า และรดน้ำล้างอีกเล็กน้อยในตอนสายเพื่อป้องกันการตกค้างของปุ๋ยบนใบหรือดอก

ปุ๋ยใบ 1 ช้อนโต๊ะปาด มีน้ำหนักประมาณ 15 กรัม ผสมน้ำ 3 ลิตร มีความเข้มข้นเท่ากับ 100 กรัม/20 ลิตร ปุ๋ยใบควรละลายน้ำแล้วพ่นให้เปียกทั่วต้นพืช เพราะปุ๋ยใบสามารถซึมเข้าทางใบเป็นประโยชน์กับพืชได้อย่างรวดเร็ว ถ้าพ่นกับพืชที่ใบติดน้ำยากต้องผสมสารจับใบ (ยาเปียกใบ) ต้นละประมาณ 5 ถึง 20 ซีซี. แล้วแต่ขนาดของกล้า จึงจะได้ผลดี แต่ในระยะกล้าควรใส่บัวฝอยละเอียดราดให้ถูกทั้งใบ และให้ไหลลงดินด้วย รากพืชจะได้ปุ๋ยด้วย

2. การให้ปุ๋ยเม็ด ปุ๋ยชนิดนี้มีลักษณะเป็นเม็ด ใช้หว่าน หรือโรย โดยหว่านรอบ ๆ ของกระถางด้านใน หรือให้เป็นจุดบนดิน หรือฝังเป็นจุดบนวัสดุปลูก หรือรองก้นกระถางตอนย้ายปลูกถ้าเป็นปุ๋ยเม็ดจะใช้ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง

ปุ๋ยเม็ดแบ่งได้ 2 อย่างคือ ปุ๋ยเม็ดปกติ และปุ๋ยเม็ดละลายช้า (ปุ๋ยละลายช้า)
2.1 ปุ๋ยเม็ดปกติ 1 ช้อนโต๊ะมาตรฐานปาด หนักประมาณ 12 ถึง 14 กรัม
2.2 ปุ๋ยเม็ดละลายช้า จะใช้ครั้งละมาก แต่นาน ๆ ครั้ง เพราะต้องให้เนื้อปุ๋ยเท่ากันในเวลาที่เท่ากัน (การให้ปุ๋ยเม็ดละลายช้าไม่ช่วยให้ประหยัดปริมาณการใช้ปุ๋ย)

ระยะกล้าถึง 6 ใบจริง ไม่ควรให้ปุ๋ยเม็ดปกติ แต่ให้ปุ๋ยเม็ดละลายช้าได้ หลังจากนั้นให้ปุ๋ยเม็ดปกติได้ประมาณ 3 ถึง 20 เม็ด ต่อกระถาง เมื่อต้นยังเล็ก ให้ 3 เม็ด และเพิ่มขึ้นเมื่อกล้ามีอายุมากขึ้น
ข้อระวังคือ ไม้ดอกบางชนิดโตช้า เช่น พังพวย และผีเสื้อ ต้องให้ปุ๋ยน้อยกว่าไม้ดอกที่โตเร็ว เช่น ดาวเรือง และบานชื่น

นอกจากการใช้ปุ๋ยที่กล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ปลูกเลี้ยงไม้ดอกอาจให้อาหารเสริม ธาตุรอง ไวตามิน น้ำตาล สารเร่งราก หรือยาโด๊ปชนิดต่าง ๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพของต้นไม้อีกก็ได้ แต่สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มักไม่คุ้มทุนในเชิงการค้า จึงไม่กล่าวถึงในที่นี้


หลักการใช้ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดี (โดย นายสรสิทธิ์ วัชโรทยาน)
ปุ๋ยเคมีเมื่อใส่ลงไปในดินจะมีโอกาสสูญเสียไปมากกว่าครึ่งหนึ่งสำหรับธาตุไนโตรเจน และโพแทสเซียม ส่วนฟอสฟอรัสนั้น พืชดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้เพียงไม่เกิน 10% ของปริมาณที่ใส่ลงไปในดิน ฟอสฟอรัสที่เหลือทั้งหมดจะทำปฏิกิริยากับดินกลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยากพืชดึงดูดไปใช้ไม่ได้

ดังนั้นการใส่ปุ๋ยลงไปในดินเพื่อให้พืชสามารถดึงดูดไปใช้ได้มากที่สุดและสูญเสียน้อยที่สุด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง หากปุ๋ยชนิดเดียวกัน สูตรเดียวกันใส่ลงไปในดินโดยวิธีแตกต่างกัน พืชจะใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ไม่เท่ากัน อาทิ ปุ๋ยที่ใส่แบบฉีดพ่นจะให้ผลแตกต่างจากปุ๋ยที่ใส่แบบหว่าน และแบบโรยเป็นแถวหรือเป็นจุดใกล้ต้นพืช ฉะนั้นการใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพจึงควรมีหลักเกณฑ์ในการใส่ปุ๋ยที่ควรจะยึดถือเป็นแนวทางดังนี้คือ
(1) ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้อง
(2) ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม
(3) ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ
(4) ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึง ดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด

1. ชนิดของปุ๋ยที่ถูกต้อง หมายถึง สูตรเรโช และรูปของธาตุอาหารในปุ๋ย ปุ๋ยเคมีจะมีทั้งสามอย่างนี้แตกต่างกันออกไปอย่างกว้างขวาง

สูตรปุ๋ย หรือบางทีเรียกว่า เกรดปุ๋ย หมายถึงตัวเลขเขียนบอกปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมี โดยบอกเป็นค่าของเปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (N) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P (, 2) O (, 5) และปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (K (, 2) O) สูตรปุ๋ยจะเขียนไว้ที่ภาชนะบรรจุปุ๋ยเห็นได้อย่างชัดเจน

2. ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม พอเหมาะ พอดี จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการต่างๆ หลายประการมาประกอบการพิจารณา อาทิ ชนิดของพืชที่ปลูก ระดับความชื้นและความอุดมสมบูรณ์ของดิน วิธีการปลูก การดูแลและการบำรุงรักษาและพืชที่ปลูกประกอบของชาวเกษตรกร ตลอดจนราคาของปุ๋ย จำนวนหรืออัตราปุ๋ยที่ใช้ต่อไร่หรือต่อต้นที่พืชจะได้รับ ความพอเหมาะนี้มีอยู่ 2 ลักษณะคือ
2.1 พอเหมาะในแง่ของปริมาณที่พืชควรจะได้รับเพื่อให้ได้ผลิตผลสูงสุด ถ้าน้อยกว่านั้นก็จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโตและให้ผลิตผลสูงเท่าที่ควร หรือถ้าให้มากเกินกว่านั้นก็อาจเป็นพิษแก่พืชหรือจะไม่ทำให้พืชเติบโตและให้ผลิตผลเพิ่มขึ้นแต่ทำให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ และอีกประการหนึ่งก็คือ
2.2 พอเหมาะในแง่ของหลักเศรษฐกิจ คือ ปริมาณของปุ๋ยที่ใช้จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาของปุ๋ย และราคาของผลิตผลที่จะขายได้เสียก่อน การใช้ปุ๋ยที่พอเหมาะในแง่นี้เป็นการใส่ปุ๋ยจำนวนหนึ่ง (ต่อไร่หรือต่อต้น) ซึ่งจะมีผลทำให้ผลิตผลสูงขึ้นที่ระดับหนึ่ง (ไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตผลสูงสุด) อันจะทำให้ได้กำไรต่อเงินลงทุนในการซื้อปุ๋ยมาใช้มากที่สุด
 
3. ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ การให้ปุ๋ยแก่พืชจึงต้องแบ่งใส่ จังหวะการใส่ควรให้พอเหมาะกับระยะที่พืชต้องการ จะทำให้ประสิทธิภาพของปุ๋ยที่ใส่สูง ความเหมาะสมของจังหวะเวลาการให้ปุ๋ยกับพืชได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง พืชแต่ละชนิดจะมีช่วงที่ควรจะแบ่งใส่ปุ๋ยเพื่อให้มีผลดีแก่พืชมากที่สุดแตกต่างกันออกไป แต่อาจจะถือเป็นหลักเกณฑ์กว้างๆ ได้คือ
3.1 การแบ่งใส่ปุ๋ยมักจะให้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยจำนวนเดียวกันนั้นเพียงครั้งเดียวตอนปลูก ยกเว้นเมื่อใช้ปุ๋ยในอัตราต่ำมาก ๆ
3.2 การใส่ครั้งแรกคือใส่ตอนปลูก ควรใส่แต่น้อย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ส่วนปุ๋ยฟอสเฟตและปุ๋ยโพแทสเซี่ยมนั้นจะใส่ทั้งหมดในตอนปลูกก็ได้
3.3 การใส่ครั้งที่สองควรใส่ระยะที่พืชกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น ระหว่างระยะแตกกอสูงสุดถึงใกล้ออกดอก ส่วนใหญ่การใส่ครั้งที่สองจะเป็นปุ๋ยไนโตรเจน ถ้าอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้สูงมากๆ การแบ่งใส่ควรเป็นสามครั้งคือ ตอนปลูก ตอนเริ่มการเติบโตอย่างรวดเร็วและตอนระยะใกล้ออกดอก และจะไม่ช้าไปกว่าระยะหลังจากพืชออกดอกแล้ว หรือระยะที่พืชเริ่มแก่

4. ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด นอกจากจังหวะการใส่แล้ว วิธีการใส่เพื่อให้พืชดึงดูดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในทันทีทันใดที่ปุ๋ยลงไปอยู่ในดิน ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนย้ายของปุ๋ยจะเกิดขึ้นทันที


วิธีการเลือกซื้อปุ๋ยสูตรต่าง ๆ
ให้พิจารณาเรโช และธาตุอาหารรับรองในสูตรปุ๋ยรวมทั้งราคาขาย ดังนี้
1. ปุ๋ยที่มีเรโชเหมือนกัน แต่สูตรต่างกัน เช่น 15-15-15 กับ 19-19-19 จะเลือกอย่างไร?
1.1 ถ้าราคาเท่ากัน ให้เลือกซื้อปุ๋ยที่มีผลรวมของธาตุอาหารรับรองในสูตรปุ๋ย สูงกว่าในตัวอย่างนี้ ให้เลือกซื้อปุ๋ยสูตร 19-19-19
1.2 ถ้าราคาไม่เท่ากัน เช่นสูตร 15 -15 -15 ราคากระสอบละ 300 บาท สูตร 19-19-19 ราคากระสอบละ 350 บาท จะเลือกซื้อสูตรอะไรถึงจะได้ราคาถูกกว่า
วิธีพิจารณาเรื่องราคา ให้รวมธาตุอาหารรับรองในแต่ละสูตร แล้วเอาไปหารราคาแต่ละกระสอบ จะได้ราคาเปรียบเทียบต่อ 1/2 หน่วยของน้ำหนักของสูตรอาหารรับรองของแต่ละสูตร ราคาสูตรใดต่ำกว่า(ถูกกว่า) ให้เลือกสูตรนั้น

2. สูตรปุ๋ยที่มีเรโชไม่เหมือนกัน และสูตรแตกต่างกัน จะเลือกซื้ออย่างไร
ในการพิจารณานั้น ต้องเข้าใจเสียก่อนว่า ทำไมถึงมีสูตรปุ๋ยออกมามากมายเกินความจำเป็น อย่างเช่นในปัจจุบัน ก็เพื่อประโยชน์ในการขายให้ได้กำไรมากที่สุด โดยลงทุนต่ำที่สุด

ธาตุอาหารหลัก หรือ ธาตุอาหารรับรองแต่ละตัวมีราคาไม่เท่ากัน ธาตุอาหารหลักฟอสฟอรัส (P)แพงที่สุด ธาตุอาหารไนโตรเจน (N) รองลงมา และธาตุอาหารหลัก โปแทสเซียม (K) ถูกที่สุด
ดังนั้นผู้ผลิตสูตรต่าง ๆ จึงพยายามหลีกเลี่ยงการผลิตปุ๋ย ที่มี P สูง เพราะต้นทุนสูงกว่า

การตัดสินใจเลือกซื้อปุ๋ย โดยพิจารณาสูตรที่มีสัดส่วนธาตุอาหารใกล้เคียงกัน หรือตามวัตถุประสงค์ในการใช้ โดยใช้ราคาขาย และคุณค่าของสูตรจากคำนวณเป็นหลักในการตัดสินใจเลือกซื้อสูตรที่เหมาะสมที่สุด และมีความคุ้มค่ามากที่สุด เลือกตามการเปรียบเทียบ โดยพยายามหาสูตรปุ๋ยจากหลาย ๆ แห่ง ที่มีสัดส่วนธาตุอาหารใกล้เคียงกัน แล้วเปรียบเทียบโดยใช้ ค่าคุณค่า ความคุ้มค่า เป็นตัวกำหนดการซื้อของเกษตรกรเอง


การใช้ปุ๋ยกับพืชอะไรถึงจะดี
- นาข้าวบ้านเราใช้ปุ๋ยเคมีมานาน ทำให้ดินเสื่อม เปลืองปุ๋ย เพราะในดินจุลินทรีย์น้อยทำให้ดินไม่สมบูรณ์
- ใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดี่ยว ก็เห็นผลช้า เพราะมีธาตุอาหารหลัก(NPK)ไม่เพียงพอ
- ปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์ มีข้อดี ข้อด้อยต่างกัน เราเอาสองอย่างนี้มารวมกันก็จะได้ข้อดีของทั้งสองอย่างร่วมกัน
- ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อชาวเกษตรกร (NPK)+ อินทรีย์(จุลินทรีย์)+ ชีวภาพ (สารเติมเต็ม เช่น กากอ้อย ฮิวมิกซ์ฯ)มีธาตุอาหารครบถ้วน ทำให้ได้ผลผลิตดีกว่าปุ๋ยอินทรีย์ และดีกว่าปุ๋ยเคมี เพราะมีราคาถูกกว่า ทำให้ดินดีมีคุณภาพ ดินไม่เสีย ในระยะยาวจะทำให้เราใช้ปุ๋ยน้อยลงเพราะคุณภาพของดินดีขึ้น และปราศจากสารพิษที่เป็นอันตรายต่อชาวเกษตรกร และสิ่งแวดล้อม


ฮอร์โมนพืช (เรียบเรียงโดย :ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น)
ฮอร์โมนพืช เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สร้างขึ้นภายใต้ต้นพืช เพื่อใช้ควบคุมการเจริญเติบโต ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถ เปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาทางเคมีภายในต้นพืชได้
ฮอร์โมนพืชมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดมีผลต่อการเจริญ เติบโตของพืชแตกต่างกัน พอจำแนกออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้
1. ออกซิน (auxins)
พืชจะสร้างขึ้นมาที่บริเวณยอดอ่อนและลำเลียง ไปใช้ในส่วนอื่นๆ ของพืช เช่น IAA (indole acetic acid) ทำหน้าที่ เร่งความเจริญเติบโต โดยจะกระตุ้นการขยายตัวของเซลล์ ควบคุมการแตกตา ข้าง การเจริญเติบโตของกิ่งข้าง การเจริญเติบโตของผล การร่วงของใบ ดอก และผล เร่งการออกดอกของพืชบางชนิด

2. จิบเบอเรลลิน (gibberellins)
สร้างขึ้นมาจากพวกเชื้อราและ จากพืชชั้นสูงบางชนิด นิยมเรียกชื่อย่อว่า GA ปัจจุบันมีมากกว่า 40 ชนิด ทำหน้าที่ทำลายการพักตัวของเมล็ด ส่งเสริมการออกดอกของพืช กระตุ้น การยืดตัวของเซลล์ ใช้มากในสวนองุ่นเพื่อยืดช่อให้ยาวและทำให้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้น

3. ไซโตไคนิน (cytokinins)
สร้างขึ้นในบริเวณปลายราก พบในเมล็ด ข้าวโพด และในน้ำมะพร้าว เช่น ซีอาติน (zeatin) ทำหน้าที่กระตุ้นการเกิดตา การแบ่งเซลล์ การเจริญเติบโตของลำต้น ใช้กันมากในการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อกล้วยไม้

4. เอทิลีน (ethylene)
เป็นฮอร์โมนที่อยู่ในรูปก๊าซ พืชสร้างได้มาก ในช่วงผลไม้ใกล้จะสุก ทำหน้าที่ควบคุมการแก่ของพืช เร่งการสุกของผลไม้ เร่งการหลุดร่วงของใบ ดอก และผล เร่งการออกดอกในพืชบางชนิด

5. สารยับยั้งการเจริญเติบโต
พืชสร้างขึ้นมาเพื่อยับยั้งมิให้ฮอร์โมนชนิดอื่นๆ กระตุ้นให้พืชเจริญเติบโตรวดเร็วเกินไป สารกลุ่มนี้จะควบคุมการพักตัวการหลุดร่วงของใบ ดอกและผล ควบคุมการออกดอก เช่น ABA (abscisic acid)

ฮอร์โมนที่ได้จากพืชนี้จะมีจำนวนน้อยมาก เมื่อสกัดออกมาจากพืชแล้ว จึงมีราคาสูงมากและมักจะอยู่ในรูปที่เสื่อมสภาพหรือเปลี่ยนไปเป็นสารอื่นได้ง่าย  จึงไม่สะดวกต่อการจะนำไปใช้

ปัจจุบันมีการสังเคราะห์สารอินทรีย์หลายชนิดขึ้นมาเพื่อใช้ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และมีคุณสมบัติ คล้ายคลึงกับฮอร์โมนพืชทั้ง 5 กลุ่มที่กล่าวมาแล้ว รวมเรียกว่า สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (plant growth regulator) นำมาใช้ประโยชน์ในทางการผลิตพืช ไม่ว่าจะเป็นพืชไร่ พืชสวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผัก ไม้ดอกไม้ ประดับ และผลไม้

ในบรรดาสารที่สังเคราะห์ขึ้นมานี้ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมี คุณสมบัติเป็นสารควบคุมหรือชะลอการเจริญเติบโตของพืช นำมาใช้กำจัดความสูงของพืช ทำให้ทรงต้นกะทัดรัด แข็งแรง เช่น ในไม้กระถาง ช่วยเร่งการออกดอกและติดผลนอกฤดู เช่น ในมะม่วงที่นิยม ใช้สารพาโคลบิวทาโซลฯ


banlek.com/diary_show.php?fmb_id=28030&diaD=11...10 -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (7154 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©