-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 369 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ระบบน้ำ





การออกแบบและประดิษฐ์ระบบน้ำหยด

. หินตั้ง อ. เมือง จ. นครนายก

ภูมิปัญญาในการออกแบบและประดิษฐ์ระบบน้ำหยดสำหรับให้น้ำพืชในสวนผสม ที่มีไม้ผลหลากชนิดขึ้นอยู่ปะปนกัน โดยการประยุกต์ประสบการณ์ ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของไม้ผลชนิดต่างๆ ทั้งในด้านปริมาณและช่วงเวลาที่ต้องการน้ำ ซึ่งประสบการณ์และความรู้ดังกล่าวสั่งสมจากการทำสวนนับสิบปี


ความเป็นมา

คุณลุงไสว ศีรยา ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการใช้น้ำอย่างประหยัด จึงได้เปลี่ยนวิธีการให้น้ำพืชโดยการใช้สายยางมาใช้ระบบน้ำหยด แต่เนื่องจากสวนผลไม้มีขนาดค่อนข้างใหญ่ประมาณ 35 ไร่ การสูบน้ำบาดาลซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญ เพื่อแจกจ่ายน้ำให้กับไม้ผลทุกแปลงพร้อมกันจึงไม่สามารถทำได้ เพราะปริมาณและแรงดันน้ำไม่เพียงพอ อีกประการหนึ่งคือ ไม้ผลที่ปลูกไว้นั้นมีหลากหลายชนิดปะปนกัน เช่น ส้มโอ มังคุด มะนาว ขนุน มะยงชิด ทุเรียน ยาง มะไฟ มะปราง เป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกันในด้านปริมาณและช่วงเวลาของการต้องการน้ำ หากให้น้ำไม่เหมาะสมไม้ผลบางชนิดอาจได้รับผลกระทบและเกิดความเสียหายได้ ด้วยเหตุนี้ลุงไสว ศีรยา จึงได้ออกแบบระบบน้ำหยด และการวางแนวท่อส่งน้ำสำหรับไม้ผลชนิดต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขของปริมาณและแรงดันน้ำที่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประยุกต์ใช้ประสบการณ์ และความรู้จากการทำสวนนานนับสิบปี


ลักษณะภูมิปัญญา

ระบบน้ำหยดมีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ระบบท่อส่งน้ำ และหัวน้ำหยด ระบบท่อส่งน้ำจะประกอบด้วยท่อเมน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว และท่อแยกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 หุน ส่วนหัวน้ำหยด ทำมาจากท่อพลาสติกชนิดบาง โดยนำมาบิดให้งอแล้วต่อเข้ากับท่อแยก พร้อมกับวาล์วปิด-เปิดน้ำ เมื่อเปิดวาล์ว น้ำจะไหลอย่างช้าๆ เป็นหยดๆ ซึ่งปริมาณน้ำและความถี่ของหยดน้ำ สามารถปรับได้ตามความต้องการ โดยการปรับวาล์วปิด-เปิดน้ำ


หลักการ

เนื่องจากความต้องการน้ำของไม้ผลแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน เช่น ในช่วงแตกช่อของมะไฟมะปราง มะยงชิด จะต้องการน้ำมากๆ ขณะที่มะม่วงไม่ต้องการน้ำ ดังนั้นหากจะเร่งการแตกช่อของมะไฟ มะปราง มะยงชิด จึงต้องให้น้ำเพิ่มขึ้นหรืออัดน้ำ แต่ถ้าจะเร่งให้มะม่วงแตกช่อ ต้องให้น้ำน้อยลง หรืองดน้ำ ลุงไสวจึงวางท่อส่งน้ำของต้นมะม่วงแยกออกจากมะไฟ มะปราง มะยงชิด หากต้องการเร่งให้มะม่วงและมะไฟแตกช่อพร้อมกัน ก็สามารถทำได้โดยเปิดวาล์วของต้นมะไฟ และปิดวาล์วของต้นมะม่วง


ข้อดี/ข้อจำกัด
ระบบน้ำหยดนี้มีข้อดี คือ เป็นวิธีการให้น้ำพืชที่ประหยัด ลดการสูญเสียน้ำโดยเปล่าประโยชน์สร้างขึ้นจากวัสดุอุปกรณ์ราคาย่อมเยา มีความทนทาน และใช้งานได้นาน หากชำรุดก็สามารถแก้ไขซ่อมแซมได้ไม่ยาก เพราะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นเองและไม่ได้ใช้อุปกรณ์ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนแต่อย่างใด



www.sut.ac.th/im/data/3.pdf -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-08 (8981 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©