-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 505 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชสวนครัว








การทำสวนครัวผสม



ทำสวนกระถาง หรือกระบะ สำหรับการปลูกพริก ปลูกผักที่ใช้กินประจำ เช่น สะระแหน่ โหระพา กระเพรา ผักชี ใบหอม ลงในกระถางหรือกระบะ กระถางหรือกระบะ เราสามารถหาที่วางไว้ทีระเบียงอพาร์ทเม้นท์ คอนโดหรือข้างบันได ขอบระเบียงบ้านได้หรือใช้เนื้อที่มี่มีแสงส่องถึงได้โดยไม่เสียพื้นที่ใช้สอย


ปลูกต้นพริก ขุดหลุมตื้นๆ ลึกประมาณ 1 นิ้ว แล้วหยอดเมล็ดพริกลงไปกลบดิน แล้วก็รดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่ตลอด ไม่นานพริกก็เริ่มงอกมาให้เห็น ส่วนพวกโหระพา กะเพราะ สะระแหน่ ก็ใช้ก้านที่เราเด็ดใบแล้วมาปัก ตะไคร้นี่ง่ายสุดๆ แค่เอาต้นตะไคร้มาปัก (ด้านหัวลงดิน) ไม่กี่วันจะกลายเป็นกอเลย



การทำสวนครัวแบบผสมผสาน

การปลูกผักบุ้งในกระถางก็ทำได้ หรือการปลูกผักบุ้งบนต้นกล้วยก็สามารถทำได้ ผักบุ้งเป็นไม้ที่ปลูกได้ในดินทุกชนิด ตั้งแต่ในดินที่แห้งแล้งไปจน ถึงที่ที่มีน้ำมาก และหากมีน้ำมากก็จะทำให้ลำต้นเจริญงอกงามดี มีความกรอบมากกว่าผัก บุ้งที่เจริญในที่แห้งแล้ง นอกจากนี้ผักบุ้งยังเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายและรวดเร็วสามารถปลูกหรือขยายพันธุ์ได้โดยการแยกกิ่งแก่ไปปักชำเท่านั้น


การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้แบบ
สวนครัวผสม นี้ ยังได้รับการสนับสนุนจากเกษตรอำเภออีกด้วย ดังเช่น ที่วัดคู้ธรรมสถิติ์วราราม อำเภอเมืองสมุทรสงคราม ได้มีการโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราช ซึ่งนายวีระยุทธ เอี่ยมอำภา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นประธานเปิดงานโครงการฯ โดยมีเกษตรกรทั้งสามอำเภอเข้าร่วมงานกว่า 600 คน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ได้มอบพันธุ์กล้าไม้ ให้กับเกษตรกรตามแนวนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง



การทำสวนครัวแบบแขวน ผสมผสานศิลปะเข้าด้วยกัน

การนำพืชผักสวนครัว เช่น พริก ตะไคร้ มะกรูด ผักชีฝรั่ง ต้นหอม มาดัดแปลงปลูกลงในวัสดุเหลือใช้ในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถแขวนไว้แถวชายคา หรือข้างๆ บ้านได้ ซึ่งนอกจากผู้ปลูกเลี้ยงจะได้ประโยชน์ คือสามารเก็บรับประทานได้แล้วยังสามารถใช้ประดับประดาบ้านเรือนให้สวยงามแทนไม้ดอกไม้ประดับทั่วไปได้อีกด้วย

ในการปลูกผักหรือพืช จำเป็นต้องมีดินหรือวัสดุให้ต้นพืชยึดเกาะรวมทั้งมีน้ำ แหล่งธาตุอาหารและสิ่งที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของพืชซึ่งพิจารณาจากส่วนประกอบดังนี้


สภาพแสงและร่มเงา มีความจำเป็นในขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชเพื่อสร้างอาหารโดยทั่วไปแล้วอาจแบ่งความต้องการแสง ในการปลูกผัก ดังนี้

  • สภาพที่ไม่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ควรปลูกพืชผักที่สามารถเจริญเติบโตในร่มได้ เช่น ต้นชะพลู สะระแหน่ ตะไคร้ โหระพา ขิง ข่า และกะเพรา
  • สภาพที่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ควรเลือกปลูกผักที่สามารถเจริญเติบโตได้ในแสงปกติ เช่น ถั่วฝักยาว คะน้า ผักกาดเขียว กวางตุ้ง พริกต่างๆ ยกเว้น พริกขี้หนูสวน


ดินและธาตุอาหารพืช

ดินที่เหมาะสมแก่การปลูกผัก คือ ดินที่มีลักษณะร่วนซุย ถ่ายเทอากาศได้ดี ระบายน้ำดี อุดมด้วยอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืช การปลูกผักในภาชนะ ควรจะพิจารณาถึงการหยั่งรากของพืชผักชนิดนั้นๆ พืชผักที่หยั่งรากตื้นสามารถปลูกได้ดีในภาชนะปลูกชนิดต่างๆ และภาชนะชนิดห้อยแขวนที่มีความลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร คือ ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกวางตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กระเทียมใบ (Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน่ แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด) พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช)


วัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า กะละมัง ปลอกซีเมนต์ สำหรับภาชนะแขวนอาจใช้ กาบมะพร้าว กระถาง หรือเปลือกไม้

  • เพาะเมล็ดด้วยการหว่านแล้วถอนแยกหรือหยอดเป็นแถวแล้วถอนแยก ซึ่งพืชที่ควรปลูกด้วยวิธีนี้ ได้แก่
    • ผักบุ้งจีน
    • คะน้าจีน
    • ผักกาดขาวกวางตุ้ง
    • ผักชี
    • กุยฉ่าย
    • ผักกาดเขียวกวางตุ้ง
    • ผักฮ่องเต้ (กวางตุ้งไต้หวัน)
    • ตั้งโอ๋
    • ปวยเล้ง
    • ผักกาดหอม
    • ผักโขมจีน
    • ขึ้นฉ่าย
    • โหระพา
    • ผักชีฝรั่ง
    • กระเทียมใบ
    • หัวผักกาดแดง
    • กะเพรา
    • แมงลัก
    • หอมหัวใหญ
    • ปักชำด้วยต้น และด้วยหัว ได้แก่
    • หอมแบ่ง (หัว)
    • ผักชีฝรั่ง
    • กระเทียมหัว (ใช้หัวปลูก)
    • หอมแดง (หัว)
    • บัวบก (ไหล)
    • ตะไคร้ (ต้น)
    • สะระแหน่ (ยอด)
    • ชะพลู (ต้น)
    • โหระพา (กิ่งอ่อน)
    • กุยช่าย (หัว)
    • กะเพรา (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน)
    • แมงลัก (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน)
 www.vwander.com/save/2010/05/สารเคมี-สีของผักผลไม้/









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (1942 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©