-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 222 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





กำลังปรับปรุงครับ

ข้าววัชพืช หรือ ข่าวดีด    


ปัจจุบันปัญหาข้าวดีดกำลังระบาดพบเจอตามภาคต่่างๆ ระบาดไปหลายพื้นที่ ชาวนากำลังประสบกับวัชพืชชนิดใหม่ที่มีลักษณะเหมือนต้นข้าวจนแยกไม่ออกในระยะต้น กล้า วัชพืชชนิดนี้มีชื่อเรียกต่างๆกันในแต่ละท้องถิ่นตามลักษณะภายนอกที่ปรากฏ ว่า “ข้าวหาง ข้าวนก ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวลาย หรือ ข้าวแดง” ซึ่งข้าวเหล่านี้จัดเป็นวัชพืชร้ายแรงในนาข้าว มีชื่อสามัญ ว่า “ข้าววัชพืช” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “weedy rice” ในระยะเริ่มต้นของการ ระบาด ข้าววัชพืชจะแฝงตัวเข้ามาในนาข้าวเพียงไม่กี่ต้น หากไม่มีการกำจัดในระยะเวลา 2-3 ฤดู เท่านั้น ข้าววัชพืชสามารถเพิ่มจำนวนเป็นหลายล้านต้นปกคลุมจนมองไม่เห็นต้นข้าว



ประวัติการระบาดของข้าววัชพืช

พบการระบาดรุนแรงครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ปีพ.ศ. 2544 ในนาหว่านน้ำตม ที่ตำบลเขาสามสิบหาบ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และในนาหว่านข้าวแห้ง ในเขตจังหวัดนครนายกและปราจีนบุรี การระบาดเริ่มขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันปี พ.ศ. 2548 ข้าววัชพืชกลายเป็นปัญหาร้ายแรงที่พบในพื้นที่ทำนาหว่านน้ำตมจำนวนหลายแสน ไร่ ทั้งในเขตภาคกลางจนถึงเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี ชัยนาท นนทบุรี สิงห์บุรี นครนายก ปราจีนบุรี อ่างทอง อยุธยา และพิษณุโลกทำความเสียหายต่อผลผลิตข้าวได้ตั้งแต่ 10-100%


ข้าววัชพืช...มาจากไหน ?
ข้าววัชพืช เกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวป่าที่พบทั่วไปในธรรมชาติ กับข้าวปลูก เกิดเป็นลูกผสมที่มีการกระจายตัวของลูกหลานออกเป็นหลายลักษณะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลักษณะที่ชาวนาไม่ต้องการ คือ เปลือกเมล็ดสีดำหรือลายน้ำตาลแดง เมล็ดข้าวสารมีสีแดง ปลายเมล็ดมีหางและเมื่อสุกแก่เมล็ดจะร่วงก่อนเก็บเกี่ยวข้าว

            
ข้าววัชพืชสามารถจำแนกตามความแตกต่างทางลักษณะภายนอกเป็น 3 ชนิด คือ ข้าวหาง ข้าวดีด และข้าวแดง ชนิดที่เป็นปัญหาร้ายแรงของชาวนาคือ ข้าวหาง และ ข้าวดีด เพราะเป็นข้าววัชพืชชนิดร่วงก่อนเกี่ยว เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และสูงข่มข้าวปลูกในระยะแตกกอ ข้าวหางและข้าวดีดจะออกดอกและเมล็ดจะสุกแก่ก่อนก่อนปลูกข้าวประมาณ   2 สัปดาห์ ชาวนาไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้เพราะเมล็ดร่วงเกือบหมด ทำให้ผลผลิตข้าวเสียหาย ระดับความเสียหายนั้นขึ้นอยู่กับความหนาแน่น ของข้าวหาง และข้าวดีด บางแปลงที่มีความหนาแน่นมาก ใน 1 ตารางเมตร มีข้าวหาง 800 ต้น เหลือต้นข้าวจริงเพียง 2 ต้น ชาวนาไม่สามารถ เก็บเกี่ยวได้ ทำให้ผลผลิตเสียหาย 100% ส่วนข้าวแดงนั้นเป็นข้าววัชพืชชนิดเมล็ดไม่ร่วง ชาวนาสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ผลผลิตจึงไม่เสียหาย แต่คุณภาพข้าวลดลงเพราะเมล็ดขาวสารแดงที่ปนอยู่ ชาวนาถูกโรงสีตัดราคาเกวียนละ 200-500 บาท ตามความมากน้อยของข้าวแดงที่ปนเพื่อเป็นการชดเชยผลผลิตที่จะต้องเสียไปบาง ส่วนเพื่อจะขัดเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงออกให้เป็นเมล็ด ข้าวสารสีขาว


ข้าวหาง

ข้าวหาง หรือ มีชื่อเรียกในบางท้องถิ่นว่า ข้าวนก ข้าวป่า หรือข้าวละมาน เมล็ดมีหางยาว ร่วงเกือบหมดก่อนเกี่ยว เมล็ดข้าวสาร มีทั้งสีขาว และแดง





ลักษณะที่ไม่ดีของข้าววัชพืช

• เจริญเติบโตได้เร็วกว่าจนสูงล้มทับต้นข้าว |  

• มีความสามารถในการปรับตัวให้รอดพ้นจากการกำจัดได้ดี เช่นปรับต้นให้เตี้ยลงเท่าข้าวปลูก เพื่อให้รอดพ้นจากการตัด ออกดอก และสุกแก่เร็วกว่าข้าวปลูก

• สามารถผลิตเมล็ดได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเมล็ดส่วนใหญ่ร่วงหล่นสะสมอยู่ในแปลง เมล็ดที่ไม่ร่วงจะถูกเกี่ยวไปพร้อมกับข้าวปลูก จึงแพร่กระจายไปยังแปลงอื่นได้ง่าย โดยอาจติดไปกับรถเกี่ยวข้าว หรืออาจปะปนไปกับเมล็ดที่ใช้ทำพันธุ์ ส่วน|  

• เมล็ดที่หล่นสะสมอยู่ในดินก็พร้อมที่จะงอกเป็นวัชพืชในฤดูต่อๆไป |  

• ปลายเมล็ดมีหางยาว ทั้งสีขาวและแดง |  

• เปลือกเมล็ดสีดำ หรือ น้ำตาลลายแดง|   

• เมล็ดข้าวสารมีสีแดง ขาวขุ่น และมีท้องไข่มาก | 

• เมล็ดข้าววัชพืชสามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นานตั้งแต่ 2-12 ปี และเมล็ดที่หล่นลงบนดินไม่ได้งอกขึ้นมาพร้อมกันทีเดียวกันทั้งหมด การกำจัดข้าววัชพืชจึงต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและติดต่อกัน





สาเหตุการระบาดข้าววัชพืช
1. เมล็ดพันธู์ข้าวที่ไม่ได้มาตรฐาน มีการปนเปื้อนของข้าววัชพืช
2. เมล็ดข้าววัชพืชติดไปกับอุปกรณ์ทำนา เช่น รถเกี่ยวนวดข้าว


แนวทางแก้ไขปัญหาข้าววัชพืช
1. หากมีการระบาดเล็กน้อย ควรรีบกำจัด โดยการถอนต้นออกจากแปลง

2. หากมีการระบาดรุนแรงควรปลูกพืชหมุนเวียนชนิดอื่น หรืองดปลูกข้าว 1 ฤดู เพื่อปล่อยให้ข้าววัชพืชงอกและกำจัดโดยไถทิ้งอย่างน้อย 2 ครั้ง หากจำเป็นต้องปลูกข้าว ควรปล่อยให้เมล็ดข้าววัชพืชที่ร่วงบนผิวดินงอกให้หมดก่อนจึงกำจัดทิ้ง จากนั้นให้ไถเตรียมดินล่อให้ข้าววัชพืชงอกและกำจัดทิ้งอย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนหว่านข้าว

3. การตัดรวงข้าววัชพืช ควรเริ่มทำตั้งแต่ระยะตั้งท้องและระยะเริ่มออกดอก โดยตัดชิดโคนต้นเพื่อป้องกันการแตกต้นใหม่ ในระยะที่เริ่มติดเมล็ดแล้ว ควรนำไปกำจัดทิ้งนอกแปลง

4. ใช้ตะแกรงกรองเมล็ดข้าววัชพืชที่มีลักษณะเหมือนข้าวลีบลอยน้ำมาจากแปลงที่ มีการระบาดทิ้งไปเพราะข้าววัชพืชสามารถงอกได้จากเมล็ดที่ยังไม่สุกแก่เต็ม ที่

5. หากมีการระบาดรุนแรงแต่ไม่สามารถงดปลูกข้าวได้ จำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดข้าววัชพืช ซึ่งแนะนำให้ใช้ตั้งแต่ระยะทำเทือก หลังหว่านข้าว และลูบรวงให้เมล็ดลีบในระยะที่ข้าววัชพืชเริ่มออกดอก




ที่มา กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่มา ข้าววัชพืช จรรยา มณีโชติ กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร











สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (1364 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©