-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 421 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





กำลังปรับปรุงครับ


ชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมือง

ข้าวที่เป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมไทยคือ ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ที่ปลูกกันในประเทศนี้มีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามลักษณะพันธุ์อีกมาก จากผลการสำรวจพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของกรมส่งเสริมการเกษตร พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้กล่าวถึงชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ปลูกในบริเวณต่างๆ ของประเทศไทยไว้หลายร้อยชื่อ ดังนี้

ข้าวเจ้า
ข้าวเจ้า เมื่อดูจากชื่อที่เรียกกันแล้ว อาจแบ่งตามชื่อได้เป็น ๓ พวกใหญ่ๆ คือ

๑. ชื่อพันธุ์ข้าวที่ขึ้นต้นด้วย "ขาว" ได้แก่ ขาวตาแห้ง ขาวเศรษฐี ขาวต่อ ขาวตามล ขาวมะลิ ขาวอำไพ ขาวหลวง ขาวกอเดียว ขาวเพชรบูรณ์ ขาวสุพรรณ ขาวตารัตน์ ขาวคัด ขาวแก้ว ขาวตาแป๋ขาวสูง ขาวนวลทุ่ง ขาวตาเจือ ขาวมานะ ขาวห้าร้อย ขาวเมล็ดเล็ก ขาวตาโห ขาวสะอาดนัก ขาวเหลือขาวดอเดียว ขาวใบลด ขาวปลุกเสก ขาวหลุกหนี้ ขาวตาไป่ ขาวเลือก ขาวมะนาว ขาวปลาไหล ขาวลอดช่อง ขาวประกวด ขาวลำไย ขาวสะอาด ขาวบุญมา ขาวเกษตร ขาวอุทัย ขาวล่ม ขาวปากหม้อ ขาวตาอ๊อด ขาวสงวน ขาวดอกมะลิ ขาวงาช้าง ขาวเม็ดยาว ขาวอากาศ ขาวละออ ขาวเสวย ขาวตาเพชร ขาวเขียว ขาวประทาน ขาวคุณแม่ ขาวเมืองมัน ขาวหลง ขาวเมือง ขาวนางจีน ขาวประเสริฐ ขาวขวา ขาวเก็บได้ ขาวมะแขก ขาวพวง ขาวกาบแก้ว ขาวมาเอง ขาวไม้หลัก ขาวตาโอ๊ต ขาวน้ำค้าง ฯลฯ


๒. ชื่อพันธุ์ข้าวที่ขึ้นต้นด้วยคำ "เหลือง" ได้แก่ เหลืองควายล้า เหลืองประทิว เหลืองปลากริม เหลืองระยอง เหลืองเศรษฐี เหลืองพวงล้า เหลืองหลวง เหลืองร้อยเอ็ด เหลืองตากุย เหลืองสงวน เหลืองอ่อนเหลืองพ่อ เหลืองระแหง เหลืองมัน เหลืองพานทอง เหลืองตาต๋อง เหลืองตาเอี่ยม เหลืองตาปิ้ง เหลืองทอง เหลืองสะแก เหลืองเตี้ย เหลืองในถัง เหลืองตาน้อย เหลืองใหญ่ เหลืองพระ เหลืองใบลด เหลืองเจ็ด เหลืองพวงหางม้า เหลืองชะเอม เหลืองตาหวน เหลืองทุเรียน เหลืองประทาน เหลืองลาย เหลืองสองคลอง เหลืองอีด้วน เหลืองหอม เหลืองสุรินทร์ เหลืองสะอิ้ง เหลืองควายปล้ำ เหลืองกอเดียวเหลืองทน เหลืองไร่ เหลืองสร้อยทอง เหลืองเบา ฯลฯ


๓. ชื่อพันธุ์ข้าวอื่น ๆ ได้แก่ พานทอง พญาชม สามรวง สายบัว สองรวง หลงมา แม่พัด เปลือกไข่ รวงดำ พวงมาลัย แตงกวา ยาไฮ ทองระย้า ลูกผึ้ง ข้าวใบตก งาช้าง ทุ่งแหลม ข้าวหอม แก่นประดู่ หอมดง หอมมะลิ เขียวหนัก ดอกไม้จีน พลายงาม ใบลด พระยาลืมแกง หางหมาจอก เขียวนางงามสำรวง พวงนาค เขียวนกกระลิง กระดูกช้าง วัดโบสถ์ รากไผ่ หอมพระอินทร์ อบเชย แขนนาง นางระหงส์ กาบหมาก ทูลฉลอง ตับบิ้ง น้ำดอกไม้ ล้นครก สาวงาม นางงาม มะไฟ ช่อมะกอก ดอนเมือง นายยวน จำปา หลงประทาน เจ๊กเชย จำปาแป๋ พวงทอง สามรวงวัฒนา สายบัวหนัก แก่นจันทร์ หอมแก่นจันทร์ เทวดา พวงเงิน เขียวใหญ่ มะลิเลื้อย บางสะแก บางกะปิ บางเขียว หอมการเวก นาสะแกรอดหนี้ ข้าวมะตาด ข้าวหาง พวงหนัก ตามน นครนายก พวงหวาย ข้าวเขียว สองทะนาน นางพญารวงใหม่ ก้นจุด ล้นยุ้ง มะลิ เศรษฐีหนัก เหลือสะใต้ หลวงแจก ห้ารวง พวงหางหมู จำปาเทียม ร้อยสุพรรณ พวงพยอม เจ๊กสกิด (หนัก ) เทโพ นางดม จำปาขาว นางมล ทองพยุง พญาเททอง ห้ารวงเบาเจ็ดรวงเบา สระไม้แดง จำปาหนัก ก้นแก้ว เจ้ารวง ทองมาเอง สาหร่าย ก้อนแก้ว ปิ่นแก้ว ก้อนทอง ข้าวทุ่ง เจ็ดร่วง เก้ารวง พันธุ์เบื่อน้ำ จำปาสัก กาบเขียว ศรีนวล ท้องบะเอ็ง พระตะบอง พญาหยุดช้าง นางดำ ยาดง ยาบูกูนิง บูแม กาเยาะ โย๊ะกูนิง ลูกแก้วยือลาแป รีบกันตัง ช่อมะลิ เบาหอม บ้ากอ ไทรบุกหญ้า ไทรหอม ไทรขาว ทรายแดง นวลหมี รวงยาว เจ๊ะสัน รายทราย ปิ่นตัง เลือก ขาวปลอด พันธุ์ยะลา ลูกขาว ลูกอ่อน ดอกสน กลีบเมฆ จีนขาว ลูกขาว ลูกปลา นางเอก โป๊ะหมอ วัวเปียก ข้าวจังหวัดฯลฯ
ข้าวเหนียว
ข้าวเหนียว ชื่อพันธุ์ข้าวเหนียวมีน้อยกว่าพันธุ์ข้าวเจ้า เมื่อแบ่งประเภทตามชื่อจะแบ่งเป็น ๓ พวก ได้แก่
๑. ข้าวที่ขึ้นต้นด้วยคำ "ขาว” ได้แก่ ขาวขาวกรุง ขาวตับแรด ขาวนางแจ่ม ขาวภูเขา ขาวสุราษฏร์ ฯลฯ

๒. ข้าวที่ชื่อพันธุ์มีคำ "ดำ" เพื่อบอกว่าเป็นข้าวเหนียวดำ เช่น เหนียวดำ ดำทรง เหนียวดำวัว เหมยนองดำเป็นต้น

๓. ชื่ออื่น ๆ ได้แก่ เขี้ยวงู ท้องพลู ข้าวกากหมาก ฟ้ามืด งาช้าง เกวียนหัก ประดู่ เหนียวประดู่ กาบยาง หางหมาจอก เหนียวกะทิ สันป่าตอง ประหลาด รอดหนี้ อีหม่อม โพธิ์เงิน เหลือง ป้องแอ้ว มักม่วย บางกอก ช่อไม้ไผ่ ข้าวเหนียวน้ำ ข้าวเหนียวเข้มเงิน เหลืองทอง เหนียวแดง ข้าวเหนียวกากน้อย ข้าวเหนียวหอยโข่ง ข้าวเหนียวดอกพร้าว ข้าวเหนียวละงู ข้าวเหนียวเบา ข้าวเหนียวสงขลา เหนียวลูกผึ้ง ตาล เหนียวเขมร เหนียวไทย เหนียวพม่า แม่โจ้ แก้ว ผา แก้วแม่โจ้ ดอเหล็ก ลายแก้ว ผาผึ้ง ผาเลิศ กันสัตว์ แก้วลาย ลายดอแพร่ ลายที่ ๑ กล้วยสาย ๑ ลอด มันเป็ด ดอลาย กล้วยขาว กาบทอง ผามืด สายหลวง ผาปลุก ผาแดง ดอเหลือง ผาด่าง ผาเหล็กดั่งหยวก เหมยนองพื้นเมือง ลายมะเขือ เหลือง เหลืองทอง หลาวหัก ผาเหนียว ดอกพุด สามรวง ข้าวดอก บุญมา จำปาทอง ข้าวนางราช ข้าวดอกหอม ดอกจันทร์ ดอนวล แดงน้อย อีมุม เขียวนอนทุ่ง ฯลฯ

จำแนกรูปแบบการตั้งชื่อ

เมี่อดูจากรายชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมืองแล้ว จะเห็นได้ว่า ชื่อพันธุ์ข้าวเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นอย่างง่ายๆ เข้าใจว่าส่วนมากชาวบ้านเป็นผู้ตั้ง เราอาจจัดจำแนกรูปแบบการตั้งชื่อได้ดังนี้

๑. ตั้งตามชื่อชาวนาหรือชาวบ้าน เช่น ขาวตาแห้ง ขาวตารัตน์ ขาวตาเป๋ ขาวตาเจือ เหลืองตากุย นายยวน เป็นต้น

๒. ตั้งตามชื่อสถานที่ เช่นขาวเพชรบูรณ์ ขาวสุพรรณ เหลืองร้อยเอ็ด สันป่าตอง เป็นต้น

๓. ตั้งตามลักษณะเด่นของเมล็ดข้าว เช่นขาวเมล็ดเล็ก ขาวมะลิ ขาวอำไพ ขาวคัด ขาวเม็ดยาว ข้าวหอม หอมพระอินทร์ เป็นต้น

๔. ตั้งตามธรรมชาติของการได้ผลผลิต คือ ข้าวหนักซึ่งได้ผลผลิตช้ากว่าข้าวเบาก็เรียกชื่อตามนั้น เช่น ขาวสะอาดหนัก เศรษฐีหนัก เจ๊กสกิด (หนัก) จำปาหนัก ห้ารวงเบา เหลืองเบา เบาหอม เป็นต้น

๕. ตั้งชื่อที่มีความหมายในทางที่ดีเป็นสิริมงคล บ่งบอกถึงความร่ำรวย หรือการได้ผลผลิตมากๆ เช่น ขาวเศรษฐี ล้นยุ้ง ขาวหลุดหนี้ ก้อนแก้ว เกวียนหัก เหลืองควายล้า ขาวทุ่งทอง เป็นต้น

๖. ตั้งชื่อตามธรรมชาติของพันธุ์ข้าว เช่น ขาวสูง เหลืองพวงล้า ข้าวใบตก เหลืองเตี้ย ขาวพวง เจ็ดรวงเบา พันธุ์เบื่อน้ำ หางหมาจอก สามรวง เป็นต้น

๗. ตั้งชื่อตามสีที่เกี่ยวข้องกับพันธุ์ข้าวหรือเมล็ดข้าว เช่น เขียวนางงาม เหลืองปลากริม เขียวหนัก แก้วลาย รวงดำ เป็นต้น

๘. ตั้งชื่อตามพืชชนิดอื่น เช่นขาวดอกมะลิ จำปา ดอกพุด ขาวมะนาว จำปาทอง ดอกจันทร์ แตงกวา ไทรขาว อบเชย เป็นต้น

๙. ชื่ออื่นๆ เช่น ข้าวจังหวัด ขาวห้าร้อย ขาวเกษตร เหลืองสองคลอง เหลืองไร่ นางงาม นางเอก ตับบิ้ง หลวงแจก เป็นต้น


เมื่อดูจากชื่อพันธุ์ข้าวแล้วจะพบว่า การตั้งชื่อพันธุ์ข้าวนอกจากจะตั้งตามชื่อคน ชื่อสถานที่ และลักษณะตามธรรมชาติของข้าวซึ่งเป็นพืชชนิดหนึ่งแล้ว ชื่ออื่นๆ มักเป็นไปในทางดี เป็นมงคลทั้งนั้น ทั้งนี้เป็นเพราะคนไทยส่วนมากมีอาชีพในทางทำไร่ทำนา ข้าวเป็นทั้งอาหารหลักและพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้แก่ชาวบ้าน พืชที่เพาะปลูกจึงถือว่าเป็นสิ่งดี เป็นมงคล เป็นคุณประโยชน์แก่ชาวบ้าน ความรู้สึกของชาวนาที่มีต่อข้าวจึงเป็นความรู้สึกสำนึกถึงบุญคุณของข้าวที่มีต่อชีวิตของตน เมื่อต้องการตั้งชื่อพืชที่มีความสำคัญยิ่งต่อตัวเอง จึงต้องตั้งชื่อที่ดีและเป็นมงคลเพื่อผลผลิตที่ได้ จะได้ดีตามไปด้วย


ข้าวกับมาตราวัด
หนังสือมูลบทบรรพกิจที่ใช้เป็นหนังสือเรียนในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวถึงมาตราวัดของไทยไว้ว่า

" อนึ่งโสดนับมีสามแท้ นับด้วยวัดแล ด้วยตวงด้วยชั่งเป็นสาม

โยชน์หนึ่งสี่ร้อยเส้นตาม เส้นหนึ่งโดยความ ยี่สิบวาอย่าสงไสย

วาหนึ่งสี่สอกบอกไว้ สอกหนึ่งท่านใช้ สองคืบไซร้ตามมีมา

คืบหนึ่งสิบสองนิ้วหนา นิ้วหนึ่งท่านว่า สี่กระเบียดจงจำเอา

กร ะเบียดหนึ่งสองเมล็ดเข้า เมล็ดเข้าหนึ่งเล่า แปดตัวเหาจงรู้รา ..."

มาตราวัดความยาวของไทยแต่เดิมใช้เมล็ดข้าว (คำ ”ข้าว” โบราณเขียน "เข้า”) คือ เป็นมาตราวัดด้วย คือ

๑ กระเบียด = ๒ เมล็ดข้าว

๑ เมล็ดข้าว = ๘ ตัวเหา

เพราะข้าวเป็นของสามัญ และเป็นสิ่งที่ชาวบ้านรู้จักกันดี ความสำคัญของข้าวจึงสะท้อนออกมาในภาษา

ข้าวกับมาตราตวง

ในเรื่องของการตวงสิ่งของ อาจกล่าวได้ว่าสิ่งที่ชาวบ้านมีมากจนต้องมีการตวงปริมาณ ได้แก่ ข้าว จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่มาตราตวงจะใช้ข้าวเป็นมาตรฐาน ดังมูลบทบรรพกิจเขียนไว้ว่า

นับด้วยตวงไป จงนับใช้ดังนี้นา


ข้าเกวียนหนึ่งนั้นท่านว่า ห้าตะล่อมหนา ตะล่อมหนึ่งยี่สิบสัด

สัดหนึ่งยี่สิบทะนานชัด ทะนานหนึ่งสังกัด สองจังออนจงจำไว้

จังออนหนึ่งสี่กำมือได้ กำมือหนึ่งไซร้ สี่ใจมือตามมีมา

ใจมือหนึ่งนั้นท่านว่า ร้อยเมล็ดเข้าหนา นับด้วยตวงเพียงนี้แล……"


อย่างไรก็ตามในหนังสือสำนวนไทย กาญจนาคพันธุ์ ได้พูดถึงการตวงข้าวที่กำหนดด้วยมาตราตวงของไทยแตกต่างจากมูลบทบรรพกิจ คงเป็นเพราะใช้ในช่วงเวลาที่ต่างกัน จึงทำให้การกำหนดมาตรฐานการตวงแตกต่างกันออกไปด้วย มาตราตวงในหนังสือสำนวนไทยมีดังนี้


๑๕๐ เมล็ดข้าว เท่ากับ ๑ หยิบมือ , ๔ หยิบมือ เท่ากับ ๑ กำมือ , ๔ กำมือ ๑ เท่ากับ ๑ ฟายมือ , ๒ ฟายมือ เท่ากับ ๑ กอบ , ๔ กอบ เท่ากับ ๑ ทะนาน , ๒๕ ทะนาน เท่ากับ ๑ สัด , ๘๐ สัด เท่ากับ ๑ เกวียน


แม้มาตราวัดทั้ง ๒ สมัยแตกต่างกัน แต่ข้าวเป็นสิ่งที่ใช้เป็นมาตรฐานในการตวงเหมือนกัน แสดงว่าคนไทยอยู่กับข้าว และแสดงออกถึงความสำคัญของข้าวทางภาษา สำนวนในภาษาไทยที่ว่า “เป็นกอบเป็นกำ ” นั้น ก็ได้มาจากการตวงข้าว คือได้มาจากคำ หยิบมือ กำมือ ฟายมือ ซึ่งเป็นเรื่องของการใช้มือ สิ่งที่เกิดจากมือแสดงว่าตนได้ทำด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเอง การปลูกข้าวและการได้ผลผลิตข้าวจึงเป้นสิ่งที่คนไทยได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรง (มือ) ของตนอย่างแท้จริง คำว่า “ กอบ ” และ ” กำ ” ได้กลายมาเป็นสำนวนพูดในภาษาว่า " เป็นกอบเป็นกำ

http://www.culture.go.th/knowledge/story/rice/file05.htm









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (1162 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©