-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 171 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว




หน้า: 2/3



ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องข้าวหอมมะลิ
 

ชื่อผู้แต่ง: 
ฝ่ายข้อมูล มูลนิธิชีววิถี


1. ความเป็นมา
- วันที่ 2 กรกฏาคม 1994 บริษัทไรซ์เทค แห่งเมืองอัลวิน รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ยื่นจดสิทธิบัตรข้าวบัสมาติ
- วันที่ 2 กันยายน 1997 บริษัทดังกล่าวได้รับสิทธิบัตรในข้าวบัสมาติตามรายละเอียดหนังสือสิทธิบัตรอเมริกา หมายเลข 5663484  สิทธิบัตรนี้ครอบคลุม สายพันธุ์ที่ปรับปรุงใหม่ ( novel rice lines) ต้นพืช (plants) และเมล็ดข้าว (grains) รวมทั้ง กระบวนการผสมพันธุ์ข้าวดังกล่าว (a method for breeding these lines) และเทคนิคในการแบ่งคุณสมบัติของแป้งและคุณสมบัติในการหุงต้ม (a novel means for determining the cooking and starch properties of rice grains)


2. การตอบโต้ของอินเดีย
- 15 กุมภาพันธ์ 1998 กระทรวงพาณิชย์ของอินเดียประกาศยื่นเรื่องต่อสำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกาให้ถอนสิทธิบัตรดังกล่าวของไรซ์เทค
- 5 มีนาคม 1998 Research Foundation for Science, Technology and Ecology  ยื่นคำร้องต่อศาลสูงอินเดียให้เพื่อให้รัฐบาลอินเดียต่อสู้เรื่องนี้ทั้งในศาลของสหรัฐและยื่นคำร้องต่อองค์การค้าโลก และให้นำข้อตกลงเกี่ยวกับสิทธิของชุมชนท้องถิ่นในอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพเข้ามาต่อรองกับสหรัฐอเมริกา
- 3 เมษายน 1998 ชาวนาอินเดียและองค์กรอื่นอีก 17 องค์กรเดินขบวนในนิวเดลฮีเพื่อประท้วงบริษัทไรซ์เทค รัฐบาลสหรัฐ และเรียกร้องให้รัฐบาลอินเดียดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังยิ่งขึ้น


3.
ขนาดของตลาดข้าวบัสมาติ
อินเดียส่งออกข้าวบัสมาติ 400,000-500,000 ตันต่อปี ข้าวบัสมาติส่วนใหญ่ส่งออกไปขายในประเทศตะวันออกกลาง และยุโรป เพียง 10 % เท่านั้นที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา


4. อินเดียทำอะไรไปบ้างแล้วเกี่ยวกับการปกป้องข้าวบัสมาติ
- รัฐบาลกรีซปฏิเสธการจดชื่อการค้า (trademark ) ข้าวบัสมาติ 3 ชื่อ คือ TEXMATI, KASMATI, JASMATI ที่ยื่นโดยไรซ์เทค เนื่องจากแรงกดดันของรัฐบาลอินเดีย- ที่อังกฤษ รัฐบาลอังกฤษร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวอินเดีย(All Indian Rice Exporters Assoc)เจรจายอมความกับไรซ์เทค โดยไรซ์เทคยินยอมที่จะไม่ใช่ชื่อบัสมาติในคำโฆษณาและผลิตภัณฑ์ใดๆของบริษัทในอีก 5 ปีข้างหน้า และอินเดียยอมที่จะชดใช้ค่าใช้จ่ายในศาลและชดเชยค่าเพคเกจจิ้งซึ่งไรซ์เทคเตรียมไว้สำหรับการทำตลาดในอังกฤษ

5. ข้าวหอมมะลิของไทยเกี่ยวข้องอะไรกับบริษัทไรซ์เทคและการจดสิทธิบัตรพันธุ์ข้าว
- ขณะนี้ไรซ์เทคขายข้าวที่มีชื่อการค้าว่า JASMATI โดยอ้างว่าเป็นข้าวหอมมะลิเมืองไทยที่ปลูกในเท็กซัส ("the Texas-grown copy of Jasmine rice from Thailand")
- จิม สไตรกี้ (Jim Strikey) นักปรับปรุงพันธุ์ของบริษัทอ้างว่าข้าว JASMATI ไม่ได้ใช้พันธุ์ข้าวหอมมะลิของไทยมาผสม ฐานพันธุกรรมของข้าวพันธุ์นี้มาจากพันธุ์  Della  ซึ่งพัฒนามาจากข้าวพื้นเมืองที่ชื่อ Delitus ของอิตาลีอีกทอดหนึ่ง ทั้งยังกล่าวหาว่าข้าวหอมมะลิและข้าวพันธุ์อื่นๆของไทยขโมยพันธุกรรมมาจากมาดากัสการ์
- ขณะนี้ไรซ์เทคกำลังปรับปรุงข้าวหอมมะลิของไทยเช่นเดียวกันเนื่องจากความต้องการข้าวหอมมะลิของไทยมีสูงมากในอเมริกาและตลาดในเอเชีย เมื่อปีที่แล้ว (1997) ประเทศไทยส่งออกข้าวหอมมะลิประมาณ 250,000 ตันไปยังสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ความต้องการข้าวหอมมะลิจากประเทศจีนนั้นอาจสูงถึง 5 ล้านตันต่อปี
- ไรซ์เทคกำลังร่วมมือกับ Hunan Hybrid Rice Research Center ในประเทศจีนเพื่อผลิตพันธุ์ข้าวลูกผสมสำหรับขาย และปลูกในจีนและประเทศอื่นๆ
- จีนได้ติดต่อขอเช่าพื้นที่และลงทุนการผลิตข้าวหอมมะลิในประเทศไทย และขณะนี้กำลังดำเนินโครงการนำร่องอยูที่ภาคอีสาน


6. ข้าวหอมมะลิในฐานะเป็นฐานพันธุกรรมสำคัญของการปรับปรุงพันธุ์ข้าวจากทั่วโลก
- ไทยส่งข้าวหอมมะลิไปยังสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ(IRRI)เมื่อปี 1961 จนถึงขณะนี้ข้าวหอมมะลิได้ถูกใช้ผสมเป็นพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ต่างๆ ในสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติถึง 1480 สายพันธุ์  นอกเหนือจากนี้ยังได้ส่งพันธุ์ข้าวหอมมะลิไปใช้สำหรับการผสมพันธุ์ในประเทศต่างๆถึง 22 ประเทศ
- นักวิจัยที่ IRRI ได้ใช้ข้าวพันธุ์นี้ผสมกับข้าว IR 262 ได้พันธุ์ที่เรียกว่า Jasmine 85 หรือ IR841-85-1-1-3  เมื่อปี 1966
- Jasmine 85 ได้ถูกเผยแพร่เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปี 1989 ทั้งนี้เพื่อแข่งขันกับข้าวหอมมะลิจากประเทศไทย





ไบโอไทย เตือนรัฐบาลไทย เตรียมรับมือผลกระทบจากข้าวแจสแมน

ชื่อผู้แต่ง: 
ฝ่ายข้อมูล มูลนิธิชีววิถี


"ที่จริงแล้วรัฐบาลไทยต้องยืนยันจุดยืนที่ว่าชื่อของ "จัสมินไรซ์" นั้น คือชื่อของสายพันธุ์ข้าวหอมมะลิของไทย ดังนั้นการที่สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายค้าของสหรัฐ ถือว่า "จัสมินไรซ์" เป็นชั้นคุณภาพข้าวที่มีเมล็ดยาว และปล่อยให้มีการขายข้าวเมล็ดยาวพันธุ์ใดก็ได้ในนามจัสมินไรซ์เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง





กลุ่มนักวิจัยในโครงการ
Step Wise Program

Sha Xueyan นักวิจัยที่พัฒนาข้าวแจสแมน

จากกรณีมหาวิทยาลัยหลุยส์เซียน่าประกาศเปิดตัวข้าวแจสแมนซึ่งอ้างว่ามีคุณสมบัติใกล้เคียงเทียบเท่ากับข้าวหอมมะลินั้น นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถีหรือไบโอไทยเห็นว่า รัฐบาลไทยไม่ควรนิ่งนอนใจ เนื่องจากอุตสาหกรรมข้าวในสหรัฐพยายามช่วงชิงตลาดข้าวหอมของไทยมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การนำข้าวหอมมะลิของไทยไปผสมกับพันธุ์ข้าวต้นเตี้ยของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ และตั้งชื่อว่า "จัสมิน85"


เมื่อปี 2510 และต่อมาในปี 2540 มีการนำพันธุ์ข้าวซึ่งคาดว่าจะเป็นพันธุ์ข้าวเดลล่า(Della)ของอิตาลีหรือไม่ก็ข้าวสายพันธุ์ RT ของสหรัฐเองไปจดเครื่องหมายการค้า "จัสมาติ" แล้วอ้างว่าเป็น "ข้าวหอมมะลิที่ปลูกในเท็กซัส"  และก่อนหน้านี้ไม่นานในปี 2545 กลุ่มนักวิจัยของสหรัฐที่นำโดยสถาบันวิจัยข้าวแห่งชาติที่อาร์คันซอส์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยอาร์คันซอส์ และมหาวิทยาลัยฟลอริดา จัดทำโครงการ "Step Wise Program" เพื่อพัฒนาข้าวหอมมะลิให้ปลูกได้ในสหรัฐ จนเกิดการประท้วงของชาวนาไทยเพราะเกรงว่าสหรัฐจะนำข้าวที่ปรับปรุงขึ้นไปจดสิทธิบัตร ซึ่งจะกระทบต่อการส่งออกข้าวของไทย


ข้าวสายพันธุ์ RT ในชื่อเครื่องหมายการค้า “จัสมาติ

นายวิฑูรย์ กล่าวว่า " ประเด็นที่ควรกังวลคือ อุตสาหกรรมข้าวในสหรัฐอาจนำข้าวแจ สแมนไปจดเครื่องหมายการค้า (Trade Mark)  คล้ายกับกรณีที่บริษัทไรซ์เทค จดเครื่องหมายการค้า "จัสมาติ" โดยอ้างว่าเป็นข้าวหอมมะลิที่ปลูกในเท็กซัส  (American Grown Jasmine Rice) ซึ่งจะสร้างความสับสนให้กับผู้บริโภคได้ โดยในกรณีที่อุตสาหกรรมข้าวของสหรัฐนำข้าว แจสแมน ไปจดเครื่องหมายการค้า และอ้างว่าเป็นข้าวหอมมะลิ (Jasmine) นั้นจะส่งผลกระทบยิ่งกว่ากรณีบริษัทไรซ์เทคเสียอีก เพราะข้าวแจสแมนมีลักษณะใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิมากกว่าข้าวของไรซ์เทค และชื่อ Jassman นั้น เขียนและออกเสียงใกล้เคียง Jasmine ยิ่งกว่า Jasmati เสียอีก"

นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการชีววิถี กล่าวว่า  "หากประเมินว่าการจดเครื่องหมายการค้าของอุตสาหกรรมข้าวสหรัฐทำให้เกิดความสับสนหรือหลงผิด ก็ต้องรีบคัดค้าน เพราะกฎหมายสหรัฐนั้นอนุญาตให้มีการคัดค้านได้ภายในระยะเวลา 5 ปีนับตั้งแต่ยื่นคำขอ และการต่อสู้ในเรื่องนี้แม้จะไม่สำเร็จ แต่จะเป็นโอกาสในการตอกย้ำคุณภาพและชื่อเสียงของข้าวหอมมะลิไทย แปรผลกระทบให้กลายเป็นโอกาสในการประชาสัมพันธ์ความพิเศษของข้าวหอมมะลิ"






"ที่จริงแล้วรัฐบาลไทยต้องยืนยันจุดยืนที่ว่าชื่อของ "จัสมินไรซ์" นั้น คือชื่อของสายพันธุ์ข้าวหอมมะลิของไทย  ดังนั้นการที่สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายค้าของสหรัฐ ถือว่า "จัสมินไรซ์" เป็นชั้นคุณภาพข้าวที่มีเมล็ดยาว และปล่อยให้มีการขายข้าวเมล็ดยาวพันธุ์ใดก็ได้ในนามจัสมินไรซ์เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ประเทศอื่นทั่วโลกล้วนแต่ยอมรับว่าจัสมินไรซ์คือข้าวหอมมะลิของไทย และบัสมาติคือข้าวหอมของอินเดีย แต่อเมริกาซึ่งกล่าวหาประเทศอื่นว่าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา กลับเป็นผู้ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเสียเอง  การประชาสัมพันธ์ชื่อ "หอมมะลิไรซ์" ก็ทำไป แต่ต้องไม่ลืมปกป้องชื่อ "จัสมินไรซ์" ให้สหรัฐฉกฉวยไปโดยนั่งดูอยู่เฉยๆ" นายวิฑูรย์กล่าว


ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถียังกล่าวว่า ควรตรวจสอบพันธุกรรมของพันธุ์ข้าวแจสแมนด้วย โดยอย่าเพิ่งปักใจเชื่อว่าเป็นพันธุ์ข้าวที่พัฒนาจากพันธุ์ข้าวหอมของจีน เนื่องจากในระยะยาวหากข้าวหอมพันธุ์ใหม่นี้ ถูกนำไปจดสิทธิบัตร และพบว่าเกี่ยวข้องกับข้าวหอมมะลิของไทยอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการส่งออกข้าวหอมมะลิ และปัญหาอื่นๆที่กระทบสิทธิในพันธุกรรมของชาวนาไทยได้





สหรัฐ ซุ่มวิจัย ก๊อปปี้หอมมะลิ พานิชย์หวั่นคู่แข่งสำคัญของไทย


ชื่อผู้แต่ง: 
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


พาณิชย์ เผยสหรัฐเตรียมปลูกข้าวสายพันธุ์ใหม่ มีคุณสมบัติหอม นิ่ม ใกล้เคียงข้าวหอมมะลิไทย แถมตั้งชื่อ JAZZMAN เลียนแบบทูตพาณิชย์ไทย


นางสมรรัตน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์วิจัยและค้นคว้าเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยลุยเซียนา มลรัฐลุยเซียนา ประเทศสหรัฐได้ประกาศอย่างเป็นทางการ ว่า ได้ค้นคว้าและพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ LA2125 มีคุณภาพทัดเทียมกับข้าวหอมมะลิไทย และตั้งชื่อคล้ายคลึงกันว่า JAZZMAN เพื่อแข่งขันกับข้าวหอมมะลิไทย ส่วนข้าวหอมมะลิไทยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า JASMINE ซึ่งในฤดูกาลผลิตปี 2552/2553 ได้นำเมล็ดพันธุ์ไปให้ชาวนาเพาะปลูกเพื่อการค้าแล้ว


สำหรับข้าว JAZZMAN ศูนย์วิจัยฯ ได้เริ่มการทดลองผสมพันธุ์ตั้งแต่ปี 2509 โดยนำข้าวกลิ่นหอมของจีนสายพันธุ์ 96a-8 มาผสมกับข้าวเมล็ดยาวของรัฐอาร์คันซอ ใช้เวลา 12 ปี จึงเป็นผลสำเร็จ และอ้างว่ามีคุณภาพ ความหอมทัดเทียมกับข้าวหอมมะลิไทย สามารถแข่งขันกับข้าวหอมมะลิไทยได้แน่นอน เพราะข้าวมีความหอมและนิ่ม ที่สำคัญให้ผลผลิตโดยเฉลี่ยไร่ละ 1,265 กิโลกรัม


ขณะที่ข้าวไทยได้ผลผลิตไร่ละ 400 กิโลกรัม ชาวนาผู้ปลูกข้าวดังกล่าว ยืนยันว่าชาวนาในรัฐลุยเซียนา จะหันมาปลูกข้าวนี้มากขึ้น และช่วยทดแทนการนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยได้


อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์คริสโตเฟอร์ ดาเรน ประจำสถาบันวิจัยข้าว มหาวิทยาลัยอาร์คันซอ ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการวิจัยข้าวหอมมะลิให้ข้อคิดเห็นว่า ข้าวดังกล่าวเป็นข้าวหอมพันธุ์ดีที่สุดของสหรัฐ แต่ยังไม่สามารถเทียบเท่ากับข้าวหอมมะลิไทย เพราะข้าวหอมมะลิไทยมีคุณสมบัติพิเศษเป็นของตัวเอง และเป็นธรรมชาติ ซึ่งข้าวพันธุ์อื่นๆ ไม่สามารถให้พัฒนาได้ทัดเทียม หรือมาแข่งขันได้ เชื่อว่าข้าวหอมมะลิไทยมีคุณภาพดีที่สุดในโลก


หากชาวนาสหรัฐปลูกข้าวมากขึ้น จะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดข้าวหอมมะลิไทยในสหรัฐได้ และทำให้สหรัฐนำเข้าข้าวหอมมะลิไทยลดลงในอนาคต ส่งผลให้ราคาข้าวหอมมะลิไทยตกต่ำลงได้ ผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิไทยควรเตรียมกลยุทธ์ป้องกัน และต่อสู้กับข้าว JAZZMAN เพื่อรักษาตลาดข้าวไทยในสหรัฐ" นางสมรรัตน์ กล่าว


ด้าน นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่น่าเป็นห่วงว่าข้าวดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อตลาดข้าวหอมมะลิไทยในสหรัฐ มีปริมาณส่งออกเฉลี่ยปีละ 4 แสนตัน แต่กว่าข้าวแต่ละชนิดจะเป็นที่ยอมรับจากตลาด ต้องใช้เวลาหลายปี ต้องยอมรับว่าข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้าพรีเมียมที่ตลาดยอมรับมานานและมีคุณค่าทางตลาด แต่ต้องจับตามองว่ามีลักษณะทางกายภาพเหมือนหรือต่างจากข้าวหอมมะลิของไทยอย่างไร หากใกล้เคียงกันอาจต้องระวังว่าจะมีการนำมาผสมกับข้าวหอมมะลิไทยก่อนวางจำหน่าย หากไม่เหมือนกันก็ถือว่าเป็นคนละตลาด


?ต้องยอมรับว่าเรายังไม่รู้ว่าข้าวชนิดใหม่นี้ มีลักษณะทางกายภาพและคุณภาพหลังการหุงต้มเป็นอย่างไร แต่เบื้องต้นไม่น่าเป็นห่วง เพราะตลาดข้าวหอมมะลิไทย เป็นสินค้าพรีเมียมที่มีจุดยืนในตลาดชัดเจน ขณะที่สินค้าใหม่ๆ หรือข้าวชนิดใหม่กว่าจะได้รับการยอมรับจากตลาดจะใช้เวลานาน เช่น ข้าวปทุมธานี เป็นต้น  นายชูเกียรติ กล่าว


ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 28 กันยายน 2552





มะกันผลิตข้าวเทียบ  "หอมมะลิ"



ชื่อผู้แต่ง: 
หนังสือพิมพ์มติชน


สหรัฐ พัฒนาพันธุ์ข้าว คุณภาพทัดเทียม"หอมมะลิ" แถมให้ผลผลิตสูงกว่า ตั้งชื่อการค้า"Jazzman" ใกล้เคียง"Jasmine" หากปลูกแพร่หลายหวั่นกระทบตลาดส่งออก ส่งผลราคาข้าวหอมมะลิตกต่ำ แนะผู้ส่งออกไทยเตรียมหากลยุทธ์รับมือ


นางสมรรัตน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก สหรัฐ เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและค้นคว้าเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยหลุยส์เซียนา มลรัฐหลุยส์เซียนา สหรัฐ ประกาศอย่างเป็นทางการว่า ได้ค้นคว้าและพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ LA2125 มีคุณภาพทัดเทียมกับข้าวหอมมะลิไทย ที่สำคัญให้ผลผลิตโดยเฉลี่ยประมาณไร่ละ 1,265 กิโลกรัม ขณะที่ข้าวไทยมีผลผลิตประมาณไร่ละ 400 กิโลกรัมเท่านั้น และตั้งชื่อว่า Jazzman เพื่อแข่งขันกับข้าวหอมมะลิไทย ซึ่งตั้งชื่อคล้ายคลึงข้าวหอมมะลิไทยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Jasmine ซึ่งได้นำเมล็ดพันธุ์ไปให้ชาวนาเพาะปลูกในฤดูการผลิตปี 2552/53 เพื่อการค้าแล้ว


"ข้าว Jazzman ได้เริ่มการทดลองผสมพันธุ์ตั้งแต่ปี 2539 โดยใช้เวลา 12 ปี จึงเป็นผลสำเร็จ และอ้างว่ามีคุณภาพ ความหอมทัดเทียมกับข้าวหอมมะลิไทย และสามารถแข่งขันกับข้าวหอมมะลิไทยได้ เพราะข้าวดังกล่าวมีความหอมและนุ่ม ขณะนี้ชาวนาในหลุยส์เซียนาจะหันมาปลูกข้าวนี้มากขึ้น และอาจทดแทนการนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยได้"


นางสมรรัตน์กล่าวว่า ผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิไทยจึงควรเตรียมกลยุทธ์ป้องกันและแข่งขันกับข้าว Jazzman เพื่อรักษาตลาดข้าวไทยในสหรัฐ ได้แก่ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลผู้บริโภคทราบถึงข้อดีเด่น ทั้งในด้านคุณภาพและความหอมของข้าวหอมมะลิไทย นอกจากนี้ยังต้องทำการค้าแบบสากล ด้วยการเข้าไปซื้อกิจการโรงสี หรือกิจการจำหน่ายข้าวในสหรัฐ เพื่อประโยชน์ในการขยายตลาดในระยะยาว และระบบการกระจายสินค้า


นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวยังไม่น่าเป็นห่วงในขณะนี้ เพราะไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไปสหรัฐ ยังมีปริมาณเพียง 4 แสนตัน และในทางปฏิบัติกว่าข้าวชนิดใดจะเป็นที่ยอมรับต้องใช้เวลาหลายปี อีกทั้งข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้าพรีเมียม และตลาดยังเป็นที่ต้องการ


" แต่ต้องจับตาว่าข้าวดังกล่าวมีลักษณะทางกายภาพเหมือนหรือต่างจากข้าวหอมมะลิ ของไทย หากใกล้เคียงกันอาจต้องระวังว่าจะมีการนำมาผสมกับข้าวหอมมะลิไทยก่อนวาง จำหน่าย แต่หากไม่เหมือนกันก็ถือว่าเป็นคนละตลาด" นายชูเกียรติกล่าว


นาง สาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมจะเสนอที่ประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการตลาดในสัปดาห์นี้ ที่มีนางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ให้ตั้งอนุบริหารจัดการนำเข้าสินค้าเปิดเสรีอาเซียน (อาฟต้า) เพื่อกำหนดแนวทางและติดตามการแก้ปัญหาหลังลดภาษีนำเข้าสินค้าอาเซียน 0% ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2553


"ไม่กังวลว่าจะมีการไหลข้าว ของสินค้าชายแดนโดยเฉพาะข้าว เพราะคุณภาพข้าวและการผลิตข้าวของไทยยังเป็นที่ยอมรับของไทยและต่างชาติ แต่ที่น่ากังวลน่าจะเป็นเรื่องมีการแข่งขันเป็นผู้ส่งออกข้าวแข่งกับไทย มากกว่า เพราะหลายประเทศในอาเซียนที่มีชายแดนติดไทยเปิดให้ต่างชาติลงทุนเพาะปลูก ข้าวและสินค้าเกษตร"







พัฒนาพันธุ์ข้าว "หอมมะลิ"
หวังยกระดับราคาขายเทียบชั้น "บาสมาติ"

ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มก. เร่งพัฒนาข้าวใหม่ ให้ดัชนีน้ำตาลต่ำ หวังยกระดับราคาขายเทียบชั้นข้าวบัสมาติ หลังปล่อยให้ชาติอื่น ทำข้าวเลียนแบบหอมมะลิมาหลายปี พร้อมปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ รับมือข้าวแจ๊สแมนจากสหรัฐฯ แย่งพื้นที่ในตลาดโลก กลางปีเตรียมทดลองปลูกข้าวหอมมะกันเปรียบเทียบข้าวหอมไทย หวังให้ได้กลิ่นกันจะจะว่าข้าวใครหอมกว่าใครแน่


รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวและ การค้นหาและใช้ประโยชน์จากยีนข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมมะลิให้มีคุณสมบัติดีและสามารถขาย ได้ในราคา สูงเทียบเท่าข้าวบาสมาติ (Basmati rice) ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวหอมของอินเดีย
 

"ข้าวหอมมะลิของไทยขายได้ราคาประมาณ 30-40 บาทต่อกิโลกรัม หากเป็นข้าวไม่ขัดสีอย่างมากสุดก็ขายได้ไม่เกินกิโลกรัมละ 90 บาท แต่ ข้าวบาสมาติมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 300 บาท หากเราสามารถพัฒนาข้าวหอมมะลิให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นและสามารถ ขายได้ราคา เท่ากับข้าวบาสมาติได้ จะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของข้าวไทยในตลาด โลกได้ หลังจากที่เราปล่อยให้ชาติอื่นๆ พัฒนาสายพันธุ์ข้าวเลียนแบบข้าวหอมมะลิของไทยมาหลายปี" รศ.ดร.อภิชาติ กล่าว


ขณะนี้ รศ.ดร.อภิชาติ ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัย การ เกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) จำนวน 41 ล้านบาท ในการปรับปรุง พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิให้เมล็ดมีความยืดตัวสูงขึ้นเมื่อหุงต้ม และมีดัชนีน้ำตาลต่ำ เพื่อให้เหมาะแก่ผู้บริโภคที่เป็นเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องการบริโภคข้าวเพื่อสุขภาพ และสามารถจำหน่ายได้ ในราคา สูงเช่นเดียวกับข้าวบาสมาติของอินเดีย โดยคาดว่าจะได้ข้าวหอมมะลิพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวในอีก ไม่เกิน 3 ปีข้างหน้า


"เราไม่ได้ต้องการพัฒนาพันธุ์ใหม่ที่ขายได้ราคาดีเหมือนบาสมาติขึ้น มาเพื่อเป็นคู่แข่งของข้าวหอมมะลิเดิมของเรา แต่ต้องการทำให้ทั้งสองอย่างควบคู่กันไป เพื่อเป็นการเสริมตลาดข้าวหอมมะลิที่มีอยู่เดิม" รศ.ดร.อภิชาติ กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ภายในงานสัมมนาพิเศษเรื่องข้าว "งานวิจัยข้าวไทย : วิกฤตและโอกาส" ที่มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 53 ณ อาคารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน


นอกจากนั้น ภายใต้ทุนวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก สวก. รศ.ดร.อภิชาติ ยังมีโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาข้าวขาวดอกมะลิที่มีคุณสมบัติดีหลาย ประการรวม อยู่ด้วยกัน ทั้งความสามารถทนต่อโรค แมลง สภาพแวดล้อม และให้ผลผลิตสูง เพื่อเตรียมรับมือกับข้าวแจ๊สแมน (Jazzman rice) ที่สหรัฐฯ พัฒนาขึ้นให้มีความหอมเทียบเท่าข้าวหอมมะลิของไทย และเตรียมที่จะปลูกเชิงพาณิชย์ในอีกไม่กี่ปีนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวหอมมะลิของไทยได้


ขณะเดียวกัน รศ.ดร.อภิชาติ ยังมีโครงการศึกษาวิจัยเปรียบ เทียบคุณสมบัติของข้าวขาวดอกมะลิของไทยกับข้าวหอมแจ๊สแมน ในพื้นที่ปลูกในประเทศไทย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับมหาวิทยาลัยรัฐหลุยส์เซียนา (Louisiana State University) ซึ่งเป็นเจ้าของพันธุ์ข้าวแจ๊สแมน ภายหลังจากที่ได้มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนนัก ศึกษาและ บุคลากรเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะเริ่มศึกษาได้ราวกลางปีนี้ และใช้เวลาอีกอย่างน้อยหนึ่งปีจึงจะรู้ผล


"เราต้องการพิสูจน์ว่า หากนำข้าวแจ๊สแมนมาปลูกในประเทศ ไทย จะให้กลิ่นหอมเทียบเท่าข้าวขาวดอกมะลิของไทย และให้ผลผลิตสูงกว่าตามที่ได้มีการอ้างไว้หรือไม่ เพราะแม้แต่ข้าวหอมมะลิที่ปลูกในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย ยังให้ค่าความหอมไม่เท่ากันเลย และโดยปกติข้าวที่มีสารหอมมากมักให้ผลผลิตต่ำ" รศ.ดร.อภิชาติ เผย ซึ่งผลจากการวิจัยเปรียบเทียบข้าวทั้งสองสายพันธุ์ จะเป็นข้อมูลให้ประเทศไทยเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต ได้ ซึ่งข้าวแจ๊สแมนเป็นข้าวไม่ไวแสง มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น และเวียดนามก็สนใจที่จะนำมาปลูกด้วยเช่นกัน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทยแน่ เพราะเวียดนามเป็นคู่แข่งอันดับหนึ่งของไทย

Content ©