-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 555 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว








ข้าวหอมมะลินาปรัง

ทางรอดและทางเลือก ของชาวนาสุรินทร์
 
นายสุรพล ใจดี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์
          

ในฤดูกาลผลิตข้าวนาปรังปี ๒๕๕๒/๒๕๕๓ ข้อมูล ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ของจังหวัดสุรินทร์ พบว่ามีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังถึง ๑๓๒,๗๐๔ ไร่ ซึ่งคาดว่าจะได้ผลผลิตถึง ๙๔,๙๘๔.๒๖ ตัน โดยพันธุ์ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์                  
๑. ปทุมธานี๑ พื้นที่ปลูก ๙๕,๐๒๙.๗๕ ไร่                  
๒. ข้าวพันธุ์ที่ทางราชการรับรองอื่นๆ จำนวน ๗๙,๒๓๓.๒๕ ไร่         

โดยพันธุ์ข้าวที่ทางราชการรับรองส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ข้าวชัยนาท๑ และพันธุ์อื่นๆ โดยในพันธุ์อื่นๆ นั้น จะมีข้าว กข๑๕ และขาวดอกมะลิ ๑๐๕ รวมอยู่ด้วย         

จากการออกสำรวจสุ่มผลผลิตของข้าวหอมมะลิ (ประกอบด้วย กข๑๕ และขาวดอกมะลิ ๑๐๕) ในฤดูนาปรัง ช่วงตั้งแต่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ถึง ๘ เมษายน ๒๕๕๓ ในเขตพื้นที่อำเภอชุมพลบุรี ซึ่งได้รับความร่วมมือและร่วมดำเนินงานจาก นายเพิ่ม สังข์ศักดา เกษตรอำเภอชุมพลบุรี และที่อำเภอรัตนบุรี ซึ่งได้รับความร่วมมือและร่วมปฏิบัติงานจาก นายเทอดพงษ์ แสนกล้า นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรของตำบลเบิด  ในทุกๆ แปลงที่ทำการเก็บผลผลิตซึ่งสรุปผลในเบื้องต้นดังนี้

๑. อำเภอชุมพลบุรี เนื่องจากเป็นการทำนาปรังพันธุ์ข้าวหอมมะลิเป็นปีแรก ชาวนายังไม่ค่อยชำนาญเท่าใด พบว่ารายของนางสำรวย เอกสุข ชาวนาบ้านตลุง ตำบลหนองเรือ ได้ผลผลิตที่ความชื้น ๑๔% สูงถึง ๓๒๔.๒๖ กิโลกรัมต่อไร่ โดยปลูกพันธุ์ข้าว กข๑๕ คาดว่าในฤดูนาปรังหน้าทุกคนคงจะมีความชำนาญ และจัดการผลผลิตได้ดีขึ้น

๒. อำเภอรัตนบุรี ชาวนามีความชำนาญในการทำนาปรังข้าวหอมมะลิมาหลายปีแล้ว พบว่าชาวนาปลูกข้าวได้ผลผลิตสูงมาก ดังนี้
๒.๑ นางสุภัค ทำดี ชาวนาบ้านผือน้อย หมู่ ๗ ตำบลรัตนบุรี ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ ได้ผลผลิตที่ความชื้น ๑๔% สูงถึง ๖๖๙.๓๓ กิโลกรัมต่อไร่ โดยมีเปอร์เซ็นต์ต้นข้าว ๔๗.๗๒ และพบว่าข้าวมีความหอมมาก (อยู่ในระดับ ๓ จากการตรวจสอบความหอมจากศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี)

(ระดับความหอมคือ ๐ = ไม่หอม, ๑ = หอมอ่อน, ๒ = หอม, ๓ = หอมมาก)

๒.๒  นายหาญ ประคองสุข ชาวนาบ้านผือน้อย หมู่ ๗ ต.รัตนบุรี ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ ให้ผลผลิตที่ความชื้น ๑๔ % สูงถึง ๕๒๑.๑ กิโลกรัมต่อไร่ มีเปอร์เซ็นต์ต้นข้าว ๕๐.๘๓ และมีความหอมในระดับ ๓                   

๒.๓  นายจรัส ธรรมนาม ชาวนาบ้านผือน้อย หมู่ ๗ ต.รัตนบุรี ปลูกข้าว กข๑๕ ให้ผลผลิตที่ความชื้น ๑๔ % สูงถึง ๕๘๙.๐๖ กิโลกรัมต่อไร่ มีเปอร์เซ็นต์ต้นข้าว ๔๕.๕๔ และมีความหอมระดับ ๒                  

๒.๔ นางสุรพี จันทร์อ่อน ชาวนาบ้านหมกเต่า หมู่ ๘ ต.เบิด ปลูกข้าว กข๑๕ ให้ผลผลิตที่ความชื้น ๑๔ % สูงถึง ๔๙๒.๒๗  กิโลกรัมต่อไร่ มีเปอร์เซ็นต์ต้นข้าว ๕๑.๘๙         

ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการออกไปสุ่มตรวจวัดผลผลิตของทั้ง ๒ อำเภอ รวม ๑๔ ราย  (อำเภอชุมพลบุรี จำนวน ๖ ราย อำเภอรัตนบุรี จำนวน ๘ ราย)           

๓. การทดสอบการปลูกข้าวหอมมะลิ (กข๑๕) ฤดูนาปรังภายในกรงกันนก ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ โดยมีการทดสอบ ดังนี้                  
๓.๑ เริ่มปลูกแบบหว่านน้ำตมครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ และปลูกทุก ๑๕ วัน  ครั้งสุดท้ายปลูกวันที่  ๑๘  เมษายน ๒๕๕๓                  
๓.๒ ใช้น้ำหมักอินทรีย์ในการให้ปุ๋ยทุก ๆ ๑๐ วัน                  
๓.๓ ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ปลูก ๑๕ กก./ไร่                  
๓.๔ ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างข้าว พร้อมวัดองค์ประกอบผลผลิตเช่นเดียวกับแปลงเกษตรกร 

๓.5 จากการสุ่มเก็บตัวอย่างปรากฏผลดังนี้                            
๓.๕.๑ ข้าวที่ปลูกเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๓ ให้ผลผลิตที่ความชื้น ๑๔ % ที่ ๓๗๗.๖๐  กิโลกรัม/ไร่ โดยมีเปอร์เซ็นต์ต้นข้าว ๔๖.๓๕                             ๓.๕.๒ ข้าวที่ปลูกเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๓ ให้ผลผลิตที่ความชื้น ๑๔ % ที่ ๓๔๗ กิโลกรัม/ไร่ โดยมีเปอร์เซ็นต์ต้นข้าว ๕๑.๑๘                            
๓.๕.๓ พบว่าข้าวที่ปลูกหลังวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๓  เป็นต้นไป คือวันที่ ๑ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๓ ให้ผลผลิตเพียง ๑๗๗.๒๘ กิโลกรัมต่อไร่ เปอร์เซ็นต์ต้นข้าว ๒๗.๘๙ และข้าวที่ปลูกวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ การออกดอกระหว่างข้าวขอบแปลงและข้าวกลางแปลงจะมีระยะเวลาห่างกันมาก  และข้าวจะมีจำนวนเมล็ดในรวงลีบมาก                            

- ข้าวที่ปลูกในวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๓ ข้าวจะออกดอกที่ขอบแปลงก่อน ส่วนกลางแปลงไม่ออกดอก เช่นเดียวกับข้าวที่ปลูกวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๓ พบว่าข้าวที่ปลูกวันที่ ๑ เมษายน   ๒๕๕๓ และวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๓ ข้าวเจริญเติบโตเป็นปกติเช่นเดียวกับการปลูกในฤดูนาปี  

๔.  การตรวจสอบทางด้านกายภาพของข้าวหอมมะลินาปรังและนาปี จากรายงานผลสำรวจคุณภาพทางกายภาพของข้าวหอมมะลิจากแปลงเกษตรกรของกัญญา เชื้อพันธุ์ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ในปี ๒๕๕๒  ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๐  จังหวัด รวมถึงจังหวัดสุรินทร์ 


เปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพดังนี้ 

ที่ รายการ ข้าวเปลือกยาว(มม.) ข้าวกล้องยาว(มม.) ข้าวสารยาว(มม.) ค่าท้องไข่ อัตราส่วนความยาว : ความกว้าง ข้าวกล้อง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๐.๖๒-๑๐.๗๖ ๗.๕๑-๗.๖๓ ๗.๒๑-๗.๓๓ ๐.๙๕-๒.๓๘ ๓.๔๘-๓.๕๔
จังหวัดสุรินทร์ - - ๗.๒๗ ±๐.๐๕๑ ๑.๓๕±๐.๓๓ -
จังหวัดศรีสะเกษ - - ๗.๒๔±๐.๐๙ ๒.๒๗±๑.๑๔ -
จังหวัดนครราชสีมา - - ๗.๑๘±๐.๑๑ ๑.๙๕±๑.๘๐ -
จังหวัดมหาสารคาม - - ๗.๒๓±๐.๐๙ ๑.๕๖±๑.๒๔ -
นายบุญยัง  เมืองสุข(ขาวดอกมะลิ ๑๐๕) ๑๐.๗๔ ๗.๕๑ ๗.๒๖ ๐.๑๘ ๓.๕๑
นายบุญเลิศ  บุตรดี(ขาวดอกมะลิ ๑๐๕) ๑๐.๘๐ ๗.๔๖ ๗.๒๕ ๐.๕๘ ๓.๕๗
นางสุภัค  ธรรมดี(ขาวดอกมะลิ ๑๐๕) ๑๐.๗๖ ๗.๕๔ ๗.๓๔ ๐.๔๙ ๓.๕๔
นายหาญ  ประดาสุข(ขาวดอกมะลิ ๑๐๕) ๑๐.๖๘ ๗.๕๑ ๗.๓๓ ๐.๔๕ ๓.๕๓
๑๐ นายสลัย  ภูแก้ว (กข๑๕) ๑๐.๘๓ ๗.๕๔ ๗.๔๒ ๐.๐๒ ๓.๕๔
๑๑ นายชวน  แก้วหอม (กข๑๕) ๑๐.๙๓ ๗.๗๒ ๗.๔๖ ๐.๐๓ ๓.๖๔
๑๒ นางกุหลาบ  บุตรดี (กข๑๕) ๑๐.๘๓ ๗.๕ ๗.๒๐ ๐.๑๕ ๓.๕๗
๑๓ นายจรัส  ธรรมนาม(กข๑๕) ๑๐.๘๑ ๗.๕๓ ๗.๓๑ ๐.๒๘ ๓.๕๗
          

ข้าวหอมมะลิของจังหวัดสุรินทร์  คุณภาพและชื่อเสียงจะกลับมายิ่งใหญ่อีกต่อไป  ถ้าชาวนาและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้การส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกข้าวหอมมะลิในฤดูนาปรัง  โดยพยายามลดพื้นที่ปลูกข้าวพันธุ์อื่นลง (ปทุมธานี ๑ และชัยนาท

๑) เพราะพบว่าข้าวหอมมะลิที่ชาวนาปลูกให้ผลผลิตสูงไม่ต่างจากข้าวพันธุ์อื่น  เมื่อคิดผลตอบแทนต่อการปลูกใน ๑ ไร่แล้วจะให้ผลตอบแทนได้สูงกว่า   


ทั้งนี้การที่จะปลูกข้าวหอมมะลินาปรังให้ประสบผลสำเร็จ คือ ทำได้และทำให้ดี  ต้อง
๑. น้ำดี  มีพอเพียงตลอดฤดูปลูก
๒. พื้นที่ปลูกต่อรายไม่ควรมาก เพื่อสะดวกในการดูแลรักษาและจัดการโดยพื้นที่ปลูกต้องปรับให้ราบเรียบสม่ำเสมอ
๓. อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการปลูกจะต้องสูงกว่าในฤดูนาปี คือ อาจต้องใช้เมล็ดพันธุ์ ๒๕ ๓๐ กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้เพราะนาปรังต้นข้าวจะเล็ก จะต้องเพิ่มจำนวนต้นต่อพื้นที่ปลูกให้มากที่สุด๔. การใส่ปุ๋ย ควรใส่ให้น้อยแต่บ่อยครั้ง เนื่องจากฤดูปลูกในนาปรังข้าวอยู่ในนาระยะสั้น ไม่ควรใส่ปุ๋ยครั้งเดียว อย่างน้อยควรใส่ ๒-๓ ครั้ง
๕. ต้องปล่อยน้ำออกจากแปลงนาก่อนเก็บเกี่ยวข้าว ๑๐ ๑๕ วัน คือเมื่อข้าวเริ่มโน้มรวงเป็นแป้งแข็งแล้วให้ปล่อยน้ำออกจากนา  เพื่อรักษาคุณภาพข้าวทั้งหลายทั้งปวง เป็นแนวทางในเบื้องต้นที่จะผลิตข้าวหอมมะลินาปรังของจังหวัด
สุรินทร์ ให้ประสบผลสำเร็จได้  ร่วมด้วยช่วยกันครับ


www.mumuumarket.com/index-42980-ข้าวกล้องหอมมะลิ
-









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (1249 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©