-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 576 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารสมุนไพร









การใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรควบคุมแมลงโรคศัตรูพืช

          
เกษตรกรที่ต้องการลดสารเคมีอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนประชากรของแมลงศัตรูธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ให้เพิ่มขึ้นภายในสวนไร่นา ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีและหันมาใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ที่หาง่ายมาทดแทนซึ่งสารสกัดดังกล่าวก็มีพิษทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติด้วย แต่มีพิษทำลายน้อยกว่าสารเคมี เนื่องจากความเป็นพิษสลายตัวได้รวดเร็ว สำหรับเกษตรกรที่สนใจใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรทำใช้เองเป็นเรื่องที่น่าสนใจเพราะมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากและที่สำคัญช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและลดต้นทุนลงด้วยผลที่ได้รับคือ เกษตรกรมีกำไรเพิ่มขึ้น มีสุขภาพดีขึ้น ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษปนเปื้อนและผู้บริโภคปลอดภัยจากสารพิษด้วย
ผลจากการใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรลดการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรทำให้ผลผลิตของเกษตรกรผู้เข้าโครงการ Food Safety ในยุทธศาสตร์ด้านการผลิตระดับฟาร์มจดทะเบียนและรับรองแหล่งผลิตพืช 27 ชนิด วิเคราะห์ ตรวจสอบและออกใบรับรองฟาร์มในระบบ GAP พืช ตามเป้าที่รัฐบาลตั้งไว้คือ เกษตรกรต้องได้รับรองคุณภาพ : GAP พืช 325,000 แปลง ในปี 2547/48 เพื่อให้ประเทศไทยเป็นครัวโลก ในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งจากข้อมูลวิจัยพืชสมุนไพรที่จะนำมาผลิตสารสกัดธรรมชาติจากพืชมีดังนี้



พืชสมุนไพรที่จะนำมาผลิตสารสกัดธรรมชาติจากพืช

        
1. สะเดา
มี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สะเดาอินเดีย (Azadivachta indica A. Juss) สะเดาไทย (A. indica A. Juss var siamensis) และสะเดาช้าง หรือสะเดาเทียม (A. excelsa Jack.) สารสกัดที่พบในสะเดาและมีฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดแมลง ได้แก่ สารอะซาดิแรคติน A (Azadivachta A) พบมีปริมาณมากในเนื้อเมล็ด (Seed Kernel) ในสะเดา 3 สายพันธุ์ พบว่าสายพันธุ์อินเดียให้ปริมาณสารอะชาดิแรคตินสูงกว่าสายพันธุ์อื่น พบประมาณ 4.7 – 7.8 ม.ก./กรัม เนื้อเมล็ด รองลงมาคือสะเดาไทยให้สารสารอะซาดิแรคติน 0.5 – 4.6 มก./กรัมเนื้อเมล็ดในเมล็ด

สารสารอะซาดิแรคติน มีฤทธิ์ในการยับยั้งการลอกคราบของแมลงยับยั้งการวางไข่และยังเป็นสารขับไล่แมลง โดยใช้ได้ผลดีกับหนอนชนิดต่างๆ เช่น หนอนเจาะยอดกะหล่ำปลี หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ฝัก หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนเจาะดอกมะลิ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่น และเพลี้ยไก่แจ้ สำหรับเพลี้ยไฟและไรแดงได้ผลปานกลาง
          
วิธีการใช
 
1. ใช้เมล็ดสะเดาแห้งบดหรือตำอัตรา 1 กก./น้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้ 1-2 คืน กรองเอากากออกนำไปฉีดพ่นได้
2. ใบสะเดาแห้ง บดให้ละเอียดคลุมเมล็ดข้าวโพดอัตรา 1:10 โดยน้ำหมักป้องกันแมลงศัตรูในโรงเก็บ เช่น มอดแป้ง ด้วงงวงถั่ว ผีเสื้อข้าวเปลือก ด้วงงวงข้าวโพด
3. ใบสะเดาแก่ใบสด อัตรา 2 กก. ตำให้ละเอียดหมักในน้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 2 คืน กรองเอากากแล้วนำไปฉีดพ่น
          
          
2. โล่ติ้น
(Derrid elliptica Benth)
มีชื่อทั่วๆไปว่า หางไหล หางไหนแดง กะลำเพาะ (เพชรบุรี) เครือไหลน้ำ อวดไหลน้ำ (ภาคเหนือ) โพตะโก้ส้า (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เป็นไม้เลื้อยชนิดเนื้อแข็งใบออกเป็นช่อมีใบย่อย 7 ใบ ได้แก่ หางไหลแดง (Derrid elliptica Benth) และชนิดที่มีใบย่อย 5 ใบ เรียกว่าหางไหลขาว (D. malaccensis Prain) แต่ชนิดที่นิยมปลูกกันมากคือ หางไหลแดง สารสกัดที่ได้มีชื่อว่า สารโรติโนน (Rotinon) เป็นพิษต่อแมลง ปลา แต่ไม่เป็นพิษต่อคน สารโรติโนนจะออกฤทธิ์เหมือนสารกำจัดแมลงชนิดไม่ดูดซึมเข้าสู่ต้นพืช (Non – Systemic insecticide) โล่ติ้นสามารถนำมาใช้ป้องกันกำจัดแมลงได้หลายชนิด ได้แก่ แมลงวัน เพลี้ยอ่อน ด้วงงวงถั่ว ตั๊กแตน ตัวอ่อนเพลี้ยจั๊กจั่นฝ้าย หนอนกระทู้ฝักและหนอนใยฝัก
          
วิธีการใช

นำส่วนของรากหรือลำต้นของโล่ติ้นที่มีอายุ 2-3 ปี มาบดหรือตำให้แหลกละเอียด โดยใช้รากหรือลำต้น 0.5 – 1 กก./น้ำ 20 ลิตร ร่วมกับใส่กากน้ำตาล (Molasses) 100 กรัม ช่วยเสริมประสิทธิภาพของสารสกัดให้ดียิ่งขึ้นหมักทิ้งไว้ 2 วัน ระหว่างหมักควรกวน 3-4 ครั้ง เมื่อครบ 2 วันแล้ว กรองเอากากนำน้ำสกัดไปฉีดพ่นป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
     
ข้อควรระวัง
ในการใช้สารสกัดโล่ติ้น ไม่แนะนำให้ใช้กับแปลงผักหรือผลไม้ที่มีบ่อเลี้ยงปลาอยู่ใกล้ๆ เช่น แปลงที่ขุดเป็นร่องน้ำล้อมรอบแล้วเลี้ยงปลาไว้ นอกจากนี้ยังทำลายแมลงที่มีประโยชน์พวกด้วงเต่า ตัวห้ำด้วย

            

3. บอระเพ็ด
(Tinospora Rumphii)
ชื่ออื่นๆ เรียกว่า เจตมูล(ใต้) จุ่งจะลิง (เหนือ) เครือเขาฮอ (ฮีสาน) มีรสขม เป็นไม้เลื้อยขึ้นพันตามต้นไม้ใหญ่ปลูกง่ายใช้สะดวกสารออกฤทธิ์ที่พบในเถาบอระเพ็ดพืชสามารถดูดซึมเข้าไปในส่วนต่างๆของพืชได้ จัดเป็นสารประเภทดูดซึม ใช้ได้ดีในเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว
          
วิธีการใช้
นำส่วนของลำต้น (เถา) อัตรา 400 – 500 กรัม ตำให้ละเอียดผสมน้ำ 4 ลิตร แชาทิ้งไว้ 1 คืน กรองกากทิ้งแล้วนำไปพ่นในแปลงปลูกพืช

             

4. ยาสูบ
(Nicotiana Tabacum N. Rustica N.glutinosaX
เป็นสารออกฤทธิ์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชที่พบในยาสูบ คือสารนิโคติน (Nicotin) พบสารนิโคตินมากในส่วนของใบและก้านใบ นิโคตินเป็นสารที่สารตัวได้ง่าย มีพิษกับมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หลังฉีดต้องรอให้สลายตัวประมาณ 3-4 วัน จึงจะเก็บผลผลิตมาบริโภคได้ ยาสูบใช้ได้ผลดีกับด้วงหมักฝัก ด้วงเจาะเมล็ดฝ้าย แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่น มวน ไรแดง หนอนกอ หนอนกระหล่ำปลี หนอนชอนใบ และหนอนทั่วไป
          
วิธีการใช้

1. ใชยาฉุนอัตรา 1 กก./น้ำ 2 ลิตร ต้มนาน 1 ชั่วโมง หรือหมักทิ้งไว้ 1 คืน หลังจากนั้นกรองเอาแต่น้ำยาฉุน นำไปผสมน้ำ 100 ลิตรเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีด้วยการใส่น้ำปูนใสหรือสบู่เหลวลงไป2 ลิตร เมื่อเตรียมเสร็จแล้วต้องนำไปฉีดพ่นทันที อย่าทิ้งไว้นานเพราะสารนิโคตินจะเสื่อมประสิทธิภาพ
2. นำนำใบยาสูบสด อัตรา 1 กก. ตำให้ละเอียดผสมน้ำ 15 ลิตรไว้นาน 1 วัน กรองเอากากทิ้ง แล้วเติมน้ำสบู่หรือสบู่เหลวน้ำปูนใสประมาณ1 ลิตร นำไปฉีดพ่นทันที
3. ในการฉีดพ่นสารละลายยาสูบให้ได้ผลดีต้องฉีดพ่นในช่วงเวลาที่มีอากาศร้อนจัด (30 องศาเซลเซียสขึ้นไป)
           


5. สาบเสือ
(Eupatorium Odoratum L.X
สาบเสือมีชื่อเรียกว่า ช้าผักคราด, ยี่ลั่นเถื่อน, เปญจมาศ, หญ้าฝรั่งเศส, หญ้าคอกขาว, หญ้าเหมัน และใบเสือหมอบ เป็นวัชพืชล้มลุก นำมาสกัดเป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีสารออกฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดและขับไล่แมลงศัตรูพืชที่ชื่อว่า Pinene Limonene และ Neptha Guinone พบมากในดอกและใบ โดยเฉพาะในใบจะมีปริมาณสารออกฤทธิ์สูง ใช้ไดผลมีในหนอนชนิดต่างๆ เช่น หนอนกระทู้ผัก เพลี้ยอ่อน และด้วงเขียว
วิธีการใช้ : นำส่วนของใบสาบเสือแห้งอัตรา 400 กรัม ตำให้ละเอียดผสมน้ำ 3 ลิตร ต้ม 10 นาที ทำให้เย็นแล้วกรองเอากากทิ้งแล้วนำไปฉีดพ่นในมะเขือเปราะสามารถกำจัดเพลี้ยอ่อนได้ดีและฉีดพ่นในแปลงผักสามารถป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ผักได้ดี

           

6. ตะไคร้หอม 
(Cymbopogon Nasolus L. RendleX
ตะไคร้หอมมีชื่ออื่นที่เรียกว่า ตะไคร้แดง ตะไคร้มะกรูด จะไคมะขูด เป็นไม้ล้มลุกเกิดจากหัวหรือเหง้าที่อยู้ใต้ดิน เจริญแตกเป็นกอเหมือนตะไคร้พืชสวนครัวแต่มีลำต้นใหญ่กว่า เจริญเติบโตดีในดินร่วยซุย การระบายน้ำดีมีแสงแดดมาก

สารที่ออกฤทธิ์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชที่พบในตะไคร้หอม ได้แก่ Geraniol Citronellal, Linalool, Neral, Limonene สารออกฤทธ์มากน้อยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เช่น ตะไคร้หอมไทย พันธุ์ศรีลังกา พันธุ์ชวา รวมถึงองค์ประกอบด้านอายุในการเก็บเกี่ยว แหล่งปลูก และวิธีการสกัดเอาสารมาใช้ จากผลการวิเคราะห์พบว่า ในใบตะไคร้หอมจะมีสารฤทธิ์มากกว่าในส่วนของลำต้น อายุในการเก็บเกี่ยว ควรอยู่ในช่วง 7-11 เดือน ตะไคร้หอมใช้ได้ผลดีในการขับไล่หนอนกระทู้ผัก หนอนใยผัก ด้วงถั่วเขียว และเพลี้ย จั๊กจั่น
           
วิธีการใช้ :

1. ใช้ในรูปแบบผงบดละเอียด แล้วนำมาคุกเคล้าเมล็ด
2. ใช้ตระไคร้หอมบด แล้วหมักด้วยน้ำเป็นเวลา 24 ชั่วโมงในอัตราความเข้มข้น 400 กรัม/น้ำ 8 ลิตร
3. ใช้ต้มที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ใช้อัตราความเข้มข้น 400 กรัม/น้ำ 8 ลิตร
4. ใช้สกัดด้วยไอน้ำ (กระบวนการกลั่น) โดยใช้ตะไคร้หอม 400 กรัม/น้ำ 3 ลิตร กลั่นออกมาได้ 2 ลิตรแล้วนำไปใช้

               

7. ขมิ้นชัน
 
(Curcuma Longa L.X
ขมิ้นชันเป็นพืชล้มลุกข้ามปีมีหัวอยู่ใต้ดิน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นแท้จริงเรียกว่าเหง้าอยู่ใต้ดิน สารออกฤทธิ์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชที่พบในขมิ้นชั้น ได้แก่ Pinene Phellandsene, Borncol และ Turmerone พบว่าพันธุ์ อายุ และแหล่งปลูกเป็นปัจจัยที่ทำให้ปริมาณสารออกฤทธิ์มีค่าแตกต่างกันขมิ้นชันอินเดียมีสารออกฤทธิ์มากกว่าขมิ้นชันไทยอายุเก็บเกี่ยวอยู่ในระหว่าง 10-16 เดือน

ขมิ้นชันมีประสิทธิภาพทั้งขับไล่และกำจัดแมลง ได้แก่ ด้วงงวง ด้วงถั่วเขียว มอดข้าวเปลือก มอดแป้ง ขับไล่หนอนใยผัก หนอนหลอดหอม หนอนกระทู้ผัก และแมลงวัน
            
วิธีการใช้ :
 
1. นำแง่งขมิ้นชันมาบดเป็นผงอัตรา 0.5 กก./น้ำ 2 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 คืน คั้นเอาแต่น้ำ นำน้ำคันที่ได้ 400 มิลลิตร/น้ำ 2 ลิตร นำไปฉีดพ่นขับไล่หนอน
2. ใช้แง่งขมิ้นชันมาผึ่งลมให้แห้ง บดให้ละเอียดนำไปคลุกกับเมล็ดพืช เช่น ถั่วเขียว โดยอัตราผงขมิ้นชันบด 10 กรัม/ถั่วเขียว 100 กรัม สามารถป้องกันกำจัดค้างถั่วเขียวได้ โดยออกฤทธิ์เป็นสารขับไล่ได้นาน 3 เดือน

          

คำแนะนำเพิ่มเติม
วิธีการหมักพืชสมุนไพร  ป้องกันกำจัดและขับไล่แมลงศัตรูพืชได้หลายวิธี การนำเสนอที่ผ่านมาใช้น้ำหมัก แต่ยังหมักได้วิธีอื่นอีกหลายวิธี ได้แก่
              
1. น้ำสกัดสมุนไพรโดยใช้อัตราพืชสมุนไพร 3 ส่วน/กากน้ำตาล 1 ส่วน หมักไว้เวลา 1 เดือน นำมาฉีกพ่นได้ด้วยอัตรา 2-3 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7-10 วันต่อครั้ง วิธีการนี้นอกจากจะได้สารออกฤทธิ์แล้วยังได้ ธาตุอาหารพืช โปรตีน (กรดอมิโน) คาร์โบไฮเดรต และฮอร์โมนด้วย
2. สารสกัดสมุนไพรหมักด้วยเอธิลแอกอฮอร์ 95% พืชสมุนไพรอัตรา 30 กก. ผสมด้วยเอธิลแอลกอฮอร์ 95 หรือ สุราเถื่อน 10 ลิตร+ น้ำสะอาด 10 ลิตร + สบู่เหลว 2 ลิตร หมักไว้ 7 วัน นำไปใช้ฉีดพ่นในอัตรา 50-70 ซีซี (3-5 ช้อนโต๊ะ)/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7-10 วัน/ครั้ง







อัครินทร์ ท้วมขำ
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5
กรมวิชาการเกษตร
สิงหาคม 2547

 

 
 
   
   


เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800x600 Text Size Medium
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 ต.บางหลวง อ.สรรพยา จังหวัดชัยนาท 17150 โทร. 0-5641-3044-5
E-mail : oard5@yahoo.com ; gapchainat@yahoo.co.th









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-09 (3697 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©