-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 448 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารสมุนไพร









เคล็ด(ไม่)ลับเรื่องสารสกัดสมุนไพร

      การ  "สกัด"  สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรให้ออกมาได้ปริมาณมากที่สุด  เข้มข้นทีสุดนั้น  กรรมวิธี หรือ วิธีการ สกัดถือว่ามีความสำคัญไม่ใช่น้อย  หากใช้สกัดผิดวิธีนอกจากจะได้สารออกฤทธิ์น้อยหรือไม่ได้เลยแล้ว  เมื่อนำไปใช้อาจจะเป็นพิษต่อพืช  คน  สัตว์  และสิ่งแวดล้อม  ก็ได้

      พืชสมุนไพร ชนิดกลิ่น .......... สกัดด้วยวิธี   กลั่น
      พืชสมุนไพร ชนิดรสขม/เผ็ด ...... สกัดด้วยวิธี   ต้ม
      พืชสมุนไพร ชนิดรสฝาด ......... สกัดด้วยวิธี   หมัก

      และวิธีการสกัดในแต่ละวิธีก็ต้องมีเทคนิคเฉพาะ แหล่งข้อมูลเรื่องเทคนิคเฉพาะสามารถสอบถามได้ที่  องค์การเภสัชกรรม หรือหน่วยงานแพทย์แผนไทยชื่อของพืชสมุนไพรต่างๆที่ได้กล่าวไปแล้ว หรือที่จะกล่าวต่อไป  เป็นชื่อที่ใช้ในหลักฐานทางวิชาการ ไม่ใช่ชื่อพื้นเมืองหรือท้องถิ่น การที่จะรู้ว่าพืชสมุนไพรตัวใดมีชื่อทางวิชาการว่าอย่างไรนั้น ให้พิจารณาเปรียบจากรูปถ่ายของจริง หรือสอบถามจากผู้รู้จริงเท่านั้นสารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรกำจัดหนอนไม่อาจทำให้หนอนตายอย่างเฉียบพลันได้เหมือนสารเคมีประเภทยาน็อค แต่จะทำให้หนอนเกิดอาการทุรนทุรายจนต้องออกมาจากที่หลบซ่อน ไม่ลอกคราบและไม่กินอาหาร (ทำลายพืช)ไม่ช้าไม่นานหนอนตัวนั้นก็จะตายไปเอง.......มาตรการขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้ามาวางไข่ หรือการทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อจนไม่อาจฟักออกมาเป็นตัวหนอนได้สำเร็จก็ถือว่าเป็นการกำจัดหนอนได้อีกวิธีหนึ่ง สารสกัดสมุนไพรที่ใช้ในอัตราเข้มข้นเกินจะทำให้ใบพืชไหม้หรือกร้านได้ ทั้งนี้สารออกฤทธิ์ที่ได้จากพืชสมุนไพรแต่ละชนิด จากแต่ละแหล่ง แต่ละฤดูกาล แต่ละอายุ  แต่ละส่วนที่ใช้ แต่ละวิธีในการสกัด และแต่ละครั้ง จะมีความเข้มข้นและปริมาณไม่เท่ากัน  ดังนั้นก่อนใช้งานจริงจำเป็นต้องทดสอบอัตราใช้สูตรของตนเองก่อนว่า ใช้อัตราเท่าใดจึงจะทำให้ใบพืชไหม้หรือหยาบกร้าน จากนั้นจึงยึดถืออัตราใช้นั้นประจำต่อไปสารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรรสฝาด เผ็ด ร้อน ขม และกลิ่นจัด มีประสิทธิภาพทำให้แมลงปากกัด/ปากดูด เช่น  เพลี้ย  ไร  ไม่เข้ากัดกินพืชและจากกลิ่นจัดของสมุนไพรนี้ยังทำให้แมลงประเภทผีเสื้อไม่เข้าวางไข่อีกด้วยสารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรประเภทรสฝาดจัด ในความฝาดมีสารเทนนินที่สามารถทำให้ รา  แบคทีเรีย  ไวรัส  ตายได้

      สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรไม่ต้านทานต่อแสงแดด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้หรือฉีดพ่นช่วงไม่มีแสงแดด  หรืออากาศไม่ร้อนสารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรสลายตัวเร็ว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องฉีดพ่นบ่อยๆน้ำสารสกัดสมุนไพรที่ไหลอาบลำต้นผ่านลงถึงพื้นดินโคนต้นกระจายทั่วบริเวณทรงพุ่มนั้น นอกจากช่วยกำจัดหนอนที่พื้นดินโคนต้นโดยตรงแล้ว ยังทำให้ไข่ของแมลงแม่ผีเสื้อฝ่อ และสภาพแวดล้อมบริเวณโคนต้นเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพปกติ จนเป็นเหตุให้แม่ผีเสื้อไม่เข้าวางไข่ได้ ส่วนตัวแมลงแม่ผีเสื้อที่หลบอาศัยอยู่ก็จะหนีไปอีกด้วย   

      น้ำสารสกัดสมุนไพรที่ได้จากการหมักครั้งแรก เรียกว่า "น้ำแรก หรือ น้ำหนึ่ง" ให้ใช้ในอัตราใช้ปกติ เมื่อใช้น้ำแรกหมดแล้วเหลือกาก สามารถหมักต่อด้วยวิธีการเดิมเป็น "น้ำสอง" ได้ กรณีน้ำสองเมื่อจะใช้ แนะนำให้เพิ่มอัตราการใช้หรือใช้เข้มข้นขึ้น........อย่างไรก็ตาม น้ำสอง มีสารออกฤทธิ์น้อยกว่า น้ำหนึ่ง ทางเลือกที่ดีก็คือ ใช้น้ำหนึ่งหมดแล้วให้ทิ้งไปหรือนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ไม่ควรหมักเป็นน้ำสองแล้วใช้อีก เพราะจะไม่ได้ผลไม่ควรใช้สารสกัดสมุนไพรตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียวเดี่ยวๆประจำๆ ติดต่อกันหลายๆรอบ เพราะจะทำให้แมลง/หนอน ปรับตัวเป็นดื้อยาได้ ควรเปลี่ยนหรือสลับใช้สารสกัดสมุนไพรชนิดอื่นๆ บ่อยๆ หรือใช้ "สูตรเฉพาะ" แต่ละตัวสลับกันไปเรื่อยๆ หรือสลับกับสูตรอื่นๆ (สูตรรวมมิตร  สูตรข้างทาง  สูตรเหมาจ่าย)ก็ได้ สารสกัดสมุนไพรที่ได้ หรือผ่านกรรมวิธีสกัดมาแล้ว มีกลิ่นและรสจัดรุนแรงมากๆ ย่อมหมายถึงประสิทธิภาพหรือสรรพคุณของ

      สารออกฤทธิ์นั้นพืชสมุนไพรประเภทหมักด้วย "น้ำ + แอลกอฮอร์" ยิ่งหมักนานจะยิ่งได้สารออกฤทธิ์เข้มข้นมากขึ้น ทั้งนี้ ช่วงระหว่างการหมักนั้นจะต้องถูกวิธีด้วยแมลงกลางวันจะมองเห็นพืชเป้าหมายขณะเคลื่อนที่ด้วยการ "มองเห็น" ถ้ามีสารเคลือบใบหรือส่วนต่างของพืชให้เป็นมันวาว จะทำให้ภาพการมองเห็นของนัยตาแมลงผิดเพี้ยนไป จนทำให้แมลงเข้าใจผิดว่านั้นไม่ใช่พืชเป้าหมายที่ต้องการจึงเลี่ยงไปหาที่อื่นแทน (นัยตาของแมลงมีเลนส์ 200,000 เลนส์ ลูกนัยตาของแมลงจึงกลอกกลิ้งไปมาไม่ได้ หรืออยู่นิ่งตลอดเวลา แต่สามารถมองเห็นได้จากเลนส์ใดเล็นส์หนึ่งนั่นเอง  ...... (สารคดีดิสคัฟเวอรี่)

      แมลงกลางคืนเคลื่อนที่เข้าหาพืชเป้าหมายด้วยประสาทดมกลิ่น ถ้ามีกลิ่นอื่นหรือกลิ่นพืชสมุนไพรซึ่งไม่ใช่กลิ่นพืชเป้าหมายเคลือบอยู่ แมลงก็จะไม่เข้าหาพืชเป้าหมายนั้น แต่จะค้นหาพืชเป้าหมายจากแหล่งอื่นต่อไป (ประสาทการรับรู้กลิ่นของแมลงสูงกว่าคน 600,000 เท่า / สารคดีดิสคัฟเวอรี่) 

      สารสกัดสมุนไพรไม่เป็นอันตรายต่อแมลงธรรมชาติ จึงทำให้ยังคงมีแมลงธรรมชาติคอยช่วยผสมเกสร  นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริม หรือดึงดูดแมลงธรรมชาติอื่นๆ ให้เข้ามาอยู่ในแปลงเกษตรเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย  

      สารสกัดสมุนไพรทุกสูตร สามารถใช้ร่วมกับ ปุ๋ย ฮอร์โมน ปุ๋ยน้ำชีวภาพ และสารเคมีทุกชนิด  

      ไม่ควรใช้สารสกัดสมุนไพรร่วมกับ จุลินทรีย์ทุกชนิด  เชื้อโรคของศัตรูพืช  เช่น  บีที.  บีซี.  บีเอส.  เอ็นพีวี.  ฯลฯ  เพราะสารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรจะยับยั้งหรือทำลายจุลินทรีย์เหล่านี้

      พืชสมุนไพรประเภทหัว มีแป้งเป็นองค์ประกอบ  เมื่อนำมาหมักมักเกิดอาการบูดเน่า กลิ่นเหม็นรุนแรง  วิธีการแก้ไข คือ  เพิ่มอัตราส่วนแอลกอฮอร์ให้มากขึ้น 2-3 เท่าจากอัตราปกติ และอาจจะเพิ่มได้อีกในระหว่างการหมักเมื่อเห็นว่าลักษณะไม่ค่อยน่าพึงพอใจ

      สารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" ใช้สลับกันบ่อยๆ ได้ผลสูงกว่า "สูตรรวมมิตร" หรือเพื่อความแน่นอนควรใช้ทั้งสองสูตรสลับกัน

      พืชสมุนไพรที่ให้สารออกฤทธิ์รุนแรงเทียบเท่ายาน็อคสารเคมี คือ หัวกลอย. เมล็ดมันแกว. เมล็ดน้อยหน่า.  เปลือกต้นซาก. ซึ่งให้สารออกฤทธิ์ทั้งในรูปของ "กลิ่นไล่" และสารออกฤทธิ์ประเภท "กินตาย  ไม่ลอกคราบ"  

      สารออกฤทธิ์ในบอระเพ็ดเป็น "สารดูดซึม" เมื่อฉีดพ่นให้แก่พืชแล้วสารออกฤทธิ์จะซึมเข้าไปอยู่ในเนื้อพืช ทำให้เกิดรสขมอยู่นาน 7-10 วัน จึงไม่ควรให้แก่พืชประเภทกินสด เช่น ผักสวนครัว  ผลไม้ใกล้เก็บเกี่ยว.........สารออกฤทธิ์ใน "ลางจืด" สามารถถอนฤทธิ์รสขมในบอระเพ็ดได้

      ใช้สารสกัดสมุนไพรอย่างทันเวลา เช่น ฉีดพ่นช่วงเช้ามืดของคืนที่น้ำค้างลงแรงๆ ฉีดพ่นก่อนที่น้ำค้างจะแห้ง หรือฉีดพ่นเพื่อล้างน้ำค้างออกจากต้น จะช่วยป้องกันและกำจัดเชื้อโรคที่มากับน้ำค้าง เช่น ราน้ำค้าง ราแป้ง  ราสนิม ได้ดี หรือฉีดพ่นหลังฝนหยุดช่วงกลางวันเพื่อล้างน้ำฝนออกจากส่วนต่างๆ ของต้นก่อนที่น้ำฝนนั้นจะแห้งคาต้นจะช่วยป้องกันและกำจัดเชื้อโรคที่มากับน้ำฝน เช่น ราโรคขอบใบไหม้ ราโรคปลายใบไหม้ ราโรคใบจุด  ราโรคใบติด  ได้ดี 

      หมายเหตุ :
      ราน้ำค้าง  ราแป้ง  ราสนิม  เกิดจากพื้นดินแล้วล่องลอยปลิวไปตามอากาศ  เมื่อพบหยดน้ำค้างก็จะแฝงตัวเข้าไปอาศัยอยู่ในหยดน้ำค้างนั้น  เมื่อน้ำค้างแห้ง ราเหล่านี้ก็จะซึมแทรกเข้าไปสู่ภายในของพืชแล้วแพร่ขยายพันธุ์ต่อไป.......ราโรคขอบใบไหม้  ราโรคปลายใบไหม้  ราโรคใบจุด  ราโรคใบติด  ก็มีพฤติกรรมเหมือนราน้ำค้าง  ราแป้ง  ราสนิม  แต่เข้าไปแฝงตัวอาศัยในหยดน้ำฝน  เมื่อนำฝนแห้งก็จะซึมแทรกเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของพืช...... กรณีราที่มากับน้ำฝน  หากฝนตกช่วงกลางคืน  ก็ควรฉีดพ่นตอนเช้าตรู่  เป็นการฉีดล้างก่อนที่หยดน้ำฝนจะแห้ง

      หลักนิยมของเกษตรกรในการกำจัดเชื้อโรคราดังกล่าว  มักใช้สารเคมีประเภท  "ดูดซึม"  บางครั้งก็ได้ผลบางครั้งก็สูญเปล่า  แม้ว่าจะได้ผลสามารถเข่นฆ่าเชื้อราเหล่านั้นให้ด่าวดิ้นสิ้นใจไปได้  แต่ส่วนของพืชที่ถูกซึมแทรกเข้าไปก็ถูกทำลายไปแล้ว  ไม่อาจทำให้ดีคืนเหมือนเดิมได้  นั่นเท่ากับเสียทั้งเงินและเสียทั้งพืช 

      วิธีกำจัดที่นิยมกันก็คือ  ใช้สารเคมีประเภทดูดซึม ก่อนตัดสินในเลือกใช้สารสกัดสมุนไพรควรรู้ให้แน่ก่อนว่า  ศัตรูพืชที่ต้องการกำจัดนั้น  ชื่ออะไร มีวงจรชีวิตอย่างไร แล้วเลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ (ผ่านงานวิจัยมาแล้ว) ตรงกับชนิดของศัตรูพืชนั้นๆ  กับใช้อย่างถูกวิธีก็จะได้ประสิทธิผลสูงสุด  ใช้สารสกัดสมุนไพรแบบ  "ป้องกัน"  จะได้ผลดีกว่าใช้แบบ  "กำจัด"  หรือ  ใช้แบบ  "กันก่อนแก้"  นั่นเอง

      ไม่มี  "สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพร"  ใดๆ  และไม่มี  "สารออกฤทธิ์ในสารเคมี"  ใด  อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวเดี่ยว สามารถป้องกันและกำจัดโรค แมลง ศัตรูพืชอย่างได้ผล   วิธีการที่ได้ผลที่สุด คือ  ไอ.พี.เอ็ม.


      เมื่อพบลักษณะหรืออาการผิดปกติในพืช  อย่ารีบด่วนตัดสินใจว่านั่นเป็นสาเหตุเกิดจาก  "โรค"  โดยเฉพาะ  ในบางครั้งลักษณะอาการนั้นอาจจะเกิดจากการ  "ขาดสารอาหาร  หรือ "ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก" ไม่ถูกต้องก็ได้....แนวทางแก้ปัญหา คือ ให้ทั้ง "ยา" และ "อาหาร" ไปพร้อมกันในเวลาเดียวกันเลย
      สารออกฤทธิ์ในสารสกัดสมุนไพรสามารถเป็นพิษแก่คนฉีดพ่นได้ ดังนั้น การใช้ทุกครั้งจึงต้องระมัดระวังเหมือนการใช้สารเคมี













สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-09 (5751 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©