-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 510 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร







 

คีเลต.....

คีเลต (
Chelate) เป็นคำมาจากภาษากรีกครับ แปลว่า "กรงเล็บ" หรือ "กรรไกร" ในความหมายของทางการเกษตร จะหมายถึงสารอินทรีย์เคมี หรือปุ๋ยที่เป็นธาตุอาหารเสริมสำหรับพืชซึ่งมีลักษณะเป็นโลหะประจุบวกอยู่ในโครงสร้างครับ ได้แก่ เหล็ก สังกะสี ทองแดง และแมงกานีส เป็นต้น

การเชื่อมโยงของอินทรีย์สารเหล่านี้จะเชื่อมโยงทำให้คีเลตมีโครงสร้างของตัวเขาเป็นวงแหวนรูปเกือกม้าโดยในโครงสร้างตัวคีเลตจะมีธาตุอาหารเสริมเป็นโครงสร้างตัวเขาเองครับ

คีเลตที่ดีต้องมีขนาดที่เล็กพอให้ปากใบพืชสามารถดูดซึมเข้าไปได้ และต้องมีโครงสร้างภายในที่ประกอบด้วยโลหะต่างๆที่กล่าวมาแล้ว  ไม่ตกตะกอนในตัวคีเลตเอง  และที่สำคัญธาตุโลหะต้องไม่เกาะตัวกันแน่นเกินไป เพราะเมื่อคีเลตถูกพืชดูซึมเข้าไปแล้ว  ธาตุอาหารเสริมเหล่านั้นควรจะแตกตัวให้พืชดูดซึมไปใช้งานได้ครับจึงจะเรียกว่าคีเลตที่ดี

แค่นี้ก่อนนะครับ ต้องรีบไปทำงาน
เดี๋ยวจะมาเล่าต่อถึงความสำคัญของธาตุโลหะต่างๆที่อยู่ในโครงสร้างของคีเลตครับ


board.212cafe.com/view.php?user=fernkorat&id=302






ในหมู่ผู้ปลูกผักไฮโดรฯ ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับเหล็กคีเลตกันเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นส่วนผสมในแม่ปุ๋ยที่ใช้กันในระบบปลูก แต่หลายคนยังไม่ทราบความหมายของคำว่าคีเลต และอาจยังไม่ทราบว่ายังมีอาหารเสริมในรูปคีเลตอีกหลายตัวที่เราใช้ในระบบไฮโดรฯ และทำไมต้องอยู่ในรูปของคีเลตด้วย   
สารคีเลต คือสารอินทรีย์เคมีซึ่งสามารถจะรวมกับจุลธาตุอาหารที่มีประจุบวกได้แก่ เหล็ก
,สังกะสี,ทองแดง,แมงกานีส เป็นต้น ปฏิกิริยาการรวมนี้เรียกว่า chelation จะได้คีเลต โดยสารคีเลตจะล้อมแคตไอออนของธาตุที่เป็นโลหะไว้ไม่เปิดโอกาสให้ประจุลบจากที่อื่น(ดินที่มีปัญหากรด)เข้าทำปฏิกิริยาได้ ทำให้จุลธาตุคีเลตนี้ไม่เกิดการตกตะกอนเป็นไฮดรอกไซด์ของโลหะ จึงเป็นประโยชน์ต่อพืชได้มากขึ้น

คีเลตที่เกิดขื้นส่วนใหญ่ละลายน้ำได้ดี พืชจึงสามารถดูดซึมผ่านรากนำธาตุอาหารรองเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้ และต้องมีโครงสร้างภายในที่ประกอบด้วยโลหะต่างๆที่กล่าวมาแล้วไม่ตกตะกอนในตัวคีเลตเอง และที่สำคัญธาตุโลหะต้องไม่เกาะตัวกันแน่นเกินไป เพราะเมื่อคีเลตถูกพืชดูดซึมเข้าไปแล้ว ธาตุอาหารเสริมเหล่านั้นควรจะแตกตัวให้พืชดูดซึมไปใช้งานได้จึงจะเรียกว่า เป็นคีเลตที่ดี

ดังนั้น ปุ๋ยคีเลต จึงหมายถึง ปุ๋ยอาหารเสริมหรือปุ๋ยจุลธาตุ
สารคีเลตที่ใช้ทำปุ๋ยจุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริมมีอยู่ 2 ประเภทคือ
 
1. สารอินทรีย์ธรรมชาติ เช่น กรดฮิวมิก กรดฟีโนลิก กรดซิตริก   และ กรดอะมิโน
 
2. สารคีเลตสังเคราะห์ มีสมบัติในการจับธาตุเหล็ก ทองแดง สังกะสี และแมงกานีส ตัวอย่าง เช่น EDTA ย่อมาจากเอทิลีนไดอามีน เตตราอะเซติก แอซิด
 
การดูดธาตุอาหารเสริมในรูปคีเลตมักใช้ทางใบ เนื่องจากโมเลกุลของคีเลตซึ่งเป็นวงแหวนเมื่อจับธาตุเหล็ก ทองแดง แมงกานีส หรือสังกะสี ธาตุใดธาตุหนึ่งไว้ภายในโครงสร้างนั้น  คีเลตจะปกป้องไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เมื่อฉีดพ่นไปที่ผิวใบ จะแทรกซึมผ่านเข้าสู่ภายในใบพืช บางส่วนจะเคลื่อนย้ายลงไปสู่รากได้อีกด้วย  หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยคีเลตให้สูงขึ้น ควรผสมสารจับใบในอัตราที่พอเหมาะกับปุ๋ยคีเลต
 

www.higreenfarm.com/hydrowork/index.php?...task...
  




เหล็กคีเลตสังเคราะห์ต่อการเจริญเติบโตของต้นคะน้าที่ปลูกในสารละลาย

Iron Synthetic Chelates Affect on Growth of Chinese Kale Grown in Hydroponics


มนูญ ศิรินุพงศ์
1 อมรรัตน์ หาญสุราษฎร์ 1 และ สุจริต ส่วนไพโรจน์ 1

Manoon Sirinupong1 Amonrat Hansurat 1 and Sucharit Suanphairoch1

Abstract


บทคัดย่อ

การให้เหล็กคีเลตสังเคราะห์ต่างชนิดในสารละลายที่มีธาตุอาหารครบทุกธาตุที่มีต่อการเจริญเติบโตของคะน้าที่ปลูกในสารละลาย แบบ Nutrient Film Technique (NFT) โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design จำนวน 4 ซ้ำ ทำการทดลองที่แผนกวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ระหว่างเดือน มิถุนายน 2549 ถึงเดือน เมษายน 2550 พบว่า ต้นคะน้าที่ปลูกในแบบ NFT ซึ่งได้รับเหล็กในสารละลายในรูป Wesco-Rexolin APN® (FeDTPA 5.6%) Librel® (Fe EDTA 13.2 %) Wesco-Rexolin D12 ® (FeDTPA 11.6%), FeSO4(Fe 20%) มีการเจริญเติบโตด้านความสูงของต้น จำนวนใบ พื้นที่ใบ เส้นผ่านศูนย์กลางต้น สัดส่วนต้นต่อรากน้ำหนักสด (FW) และ น้ำหนักแห้ง (DW) ที่เพิ่มมากกว่าต้นที่ละเว้นการให้ธาตุเหล็ก (-Fe) และในต้นที่ได้รับ FeDTPA 5.6 % มีการเจริญเติบโตสูงสุด ซึ่ง ต้นที่ได้รับเหล็กในรูป FeSO 4และ -Fe จะมีการแสดงอาการขาดของธาตุเหล็ก


คำสำคัญ
:
คะน้า การปลูกพืชในสารละลาย ธาตุเหล็กคีเลต


คำนำ

ปัญหาการตกตะกอนของเหล็กซัลเฟตในระบบการปลูกพืชในสารละลาย (Hydroponics) ทำให้ต้นพืชแสดงการขาดธาตุเหล็ก จึงแก้ปัญหาโดยนำธาตุเหล็กในรูปเหล็กคีเลตมาใช้ ซึ่งธาตุเหล็กคีเลตมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ มีคีเลตเป็นองค์ประกอบคุณสมบัติทำหน้าที่เป็นตัวห่อหุ้มธาตุเหล็กเอาไว้ไม่ให้ทำปฏิกิริยากับสารอื่น พืชสามารถดูดธาตุเหล็กไปใช้ได้โดยธาตุเหล็ก คีเลตแตกตัวก่อนดูดเข้าไปในเซลล์หรือเซลล์ดูดธาตุเหล็กคีเลตเข้าไปทั้งโมเลกุล (ยงยุทธ, 2547) ซึ่งเหล็กคีเลตที่นำมาใช้ในปัจจุบันมีอยู่หลายรูปด้วยกัน เช่น FeEDTA, FeEDDHA และFeDTPA ดังนั้นจึงทดลองจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปการใช้ประโยชน์ของธาตุเหล็กคีเลต ในการเพิ่มประสิทธิภาพของธาตุเหล็กคีเลตแต่ละรูปที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของผักคะน้าในระบบการปลูกพืชในสารละลายแบบ Nutrient Film Technique (NFT)

1 ภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ. เมือง จังหวัดปัตตานี 94000
Department of Technology and industries Faculty of Science and Technology Prince of Songkla University Pattani 94000 THAILAND


.วิทยาศาสตร์การเกษตร ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 (พิเศษ) กันยายน – ธันวาคม 2551 405

อุปกรณ์และวิธีการเพาะเมล็ดคะน้าในถ้วยปลูกที่มีส่วนผสมระหว่าง Perlite กับ Vermiculite อัตราส่วน 1:1 โดยปริมาตร ประมาณ 1 สัปดาห์ ติดตั้งระบบการปลูกพืชพร้อมวางระบบรางปลูกแบบ NFT ใช้ปั๊มน้ำในการหมุนเวียนธาตุอาหารและเพิ่มออกซิเจน วางแผนการทดลองแบบ CRD แบ่งเป็น 5 ทรีทเมนท์ ทรีทเมนท์ละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 16 ต้น โดยทุก ๆ ทรีทเมนท์จะให้สารละลายธาตุอาหารครบทุกตัว (มนูญ, 2544) ยกเว้นส่วนแหล่งของธาตุเหล็กที่จะให้แตกต่างกันดังนี้ คือ ให้ FeSO4 ซึ่งมีเหล็กอยู่ในรูป(FeSO4 20%) Librel® ซึ่งมีเหล็กอยู่ในรูป (FeEDTA (Fe13.2%)) Wesco-Rexolin D 12® ซึ่งมีเหล็กอยู่ในรูป(FeDTPA(Fe11.6%)) Wesco-Rexolin APN®ซึ่งมีเหล็กอยู่ในรูป (FeDTPA(Fe5.6%))และไม่เติมธาตุเหล็ก (Control) โดยบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตจำนวนใบ พื้นที่ใบและความสูง โดยความสูงจะวัดทุก ๆ สัปดาห์ ภายหลังย้ายลงรางปลูก 1 สัปดาห์บันทึกน้ำหนักสด น้ำหนักแห้งของต้นและราก วัดค่าการเปลี่ยนแปลงสี ใบ โดยใช้เครื่อง (Colorimeter) Ultra scan XE Hunter Lab® ข้อมูลสภาพแวดล้อม อุณหภูมิของอากาศและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศอุณหภูมิ การเปลี่ยนแปลงของ EC และการเปลี่ยนแปลงของ pH ในสารละลายธาตุอาหาร


ผลและวิจารณ์

จากการศึกษาการให้เหล็กคีเลตสังเคราะห์ต่างชนิดในรูปแตกต่างกันที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นคะน้าที่ปลูกในสารละลาย โดยต้นคะน้าที่ให้ Wesco-Rexolin APN® (FeDTPA(Fe5.6%) จะมีค่าความสูง เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นจำนวนใบ พื้นที่ใบ น้ำหนักสดของต้นและอัตราส่วนต้น/ราก สูงกว่าทรีทเมนท์อื่น ๆ รองลงมาคือ ทรีทเมนท์ที่ให้ Librel®(FeEDTA (Fe13.2%) และทรีทเมนท์ที่ไม่มีการเติมธาตุเหล็กจะให้ผลผลิตต่ำสุด (Table 3) จากการศึกษาของ Lucena et al.(1988) ได้ทดสอบประสิทธิภาพของเหล็กคีเลต 4 ตัว ได้แก่ FeEDTA, FeEDDHA, FeDTPA และ Rexene® พบว่า การใช้ Rexene® ซึ่งเป็น FeEDDHA ชนิดหนึ่งพืชจะให้ผลผลิตสูงที่สุด รองลงมาคือ FeEDDHA และการใช้ FeEDTA พืชจะให้ผลผลิตต่ำสุด ส่วนต้นคะน้าที่ให้ Wesco-RexolinD12® (FeDTPA(Fe11.6%)) ให้ผลผลิตต่ำกว่า Wesco- RexolinAPN® (FeDTPA(Fe5.6%)) และ Librel®(FeEDTA (Fe13.2% ))

เนื่องจากในผลิตภัณฑ์มีการเพิ่มธาตุจุลภาคเพิ่มเติม
ในขณะ Wesco-Rexolin D 12® (FeDTPA(Fe11.6%)) ไม่มีจุลภาคเพิ่มเติมอยู่ในผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ค่า pH ของสารละลาย ธาตุอาหารยังมีผลต่อการนำธาตุเหล็กไปใช้ภายในพืช ซึ่งพบว่าในช่วงสัปดาห์ที่ 4-6 สารละลายธาตุอาหารมีความเป็นด่างมากขึ้น  ทำให้ต้นคะน้ามีความสามารถในการนำธาตุเหล็กไปใช้ภายในต้นได้ลดลง เนื่องจากต้นคะน้ามีการเจริญเติบโตมากขึ้น ปริมาณการดูดใช้น้ำก็มากขึ้น จึงต้องมีการเติมน้ำซึ่งมีสภาพเป็นกลางค่อนข้างด่างลงในถังสารละลายธาตุอาหารเป็นประจำ ซึ่งการให้เหล็กในรูปคีเลตต่างชนิดกันสามารถทนสภาพความเป็นด่างได้แตกต่างกัน โดย Fe ในรูป DTPA สามารถทนสภาพได้ถึง pH 7.5 ส่วน Fe ในรูป EDTA สามารถทนสภาพได้เพียง 6.5 (วีรพล, 2547) ดังนั้นประสิทธิภาพในการดูดธาตุเหล็กในรูป DTPA มีประสิทธิภาพสูงกว่า EDTA ต้นคะน้าที่ได้รับธาตุเหล็กในรูป DTPA จึงให้ผลผลิตสูงกว่าต้นคะน้าที่ได้รับ
ธาตุเหล็กในรูป
EDTA ในด้านสีผิวของใบคะน้า พบว่าคะน้าที่ไม่มีการเติมธาตุเหล็กและให้ธาตุเหล็กในรูป FeSO4(Fe 20%) มีการแสดงอาการขาดธาตุเหล็ก เนื่องจากธาตุเหล็กมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ เมื่อพืชขาดธาตุเหล็กจะแสดงอาการใบเหลืองซีด (มนูญ,2544) โดยเหล็กซัลเฟตจะละลายน้ำได้ง่ายแต่ตกตะกอนได้ง่าย (จิราวุฒิ,2546) โดยจับกับออกไซด์เกิดเป็นเฟอรัสไฮดรอกไซด์ [Fe(OH)2] หรือ เฟอริกไฮดรอกไซด์ [Fe(OH)3] (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541)


www.agi.nu.ac.th/proceeding/Poster/3.../CP_404_407.pdf
-




สารคีเลต      

Written by RASBIT.HYDRO   


ในหมู่ผู้ปลูกผักไฮโดรฯ ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับเหล็กคีเลตกันเป็นอย่างดี

เนื่องจากเป็นส่วนผสมในแม่ปุ๋ยที่ใช้กันในระบบปลูก

แต่หลายคนยังไม่ทราบความหมายของคำว่าคีเลต

และอาจยังไม่ทราบว่ายังมีอาหารเสริมในรูปคีเลตอีกหลายตัวที่เราใช้ในระบบไฮโดรฯ

และทำไมต้องอยู่ในรูปของคีเลต


สารคีเลต คือ สารอินทรีย์เคมีซึ่งสามารถจะรวมกับจุลธาตุอาหารที่มีประจุบวก ได้แก่

เหล็ก, สังกะสี, ทองแดง, แมงกานีส เป็นต้น ปฏิกิริยาการรวมนี้เรียกว่า chelation จะได้คีเลต โดยสารคีเลตจะล้อมแคตไอออนของธาตุที่เป็นโลหะไว้ไม่เปิดโอกาสให้ประจุลบจากที่อื่น (ดินที่มีปัญหากรด) เข้าทำปฏิกิริยาได้ ทำให้จุลธาตุคีเลตนี้ไม่เกิดการตกตะกอนเป็นไฮดรอกไซด์ของโลหะ จึงเป็นประโยชน์ต่อพืชได้มากขึ้น


คีเลตที่เกิดขื้นส่วนใหญ่ละลายน้ำได้ดี

พืชจึงสามารถดูดซึมผ่านรากนำธาตุอาหารรองเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้ และต้องมีโครงสร้างภายในที่ประกอบด้วยโลหะต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วไม่ตกตะกอนในตัวคีเลตเอง และที่สำคัญธาตุโลหะต้องไม่เกาะตัวกันแน่นเกินไป เพราะเมื่อคีเลตถูกพืชดูดซึมเข้าไปแล้ว ธาตุอาหารเสริมเหล่านั้นควรจะแตกตัวให้พืชดูดซึมไปใช้งานได้จึงจะเรียกว่า เป็นคีเลตที่ดี


ดังนั้น ปุ๋ยคีเลต จึงหมายถึง ปุ๋ยอาหารเสริมหรือปุ๋ยจุลธาตุ  สารคีเลตที่ใช้ทำปุ๋ยจุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริมมีอยู่ 2 ประเภท คือ

1. สารอินทรีย์ธรรมชาติ เช่น กรดฮิวมิก กรดฟีโนลิก กรดซิตริก และ กรดอะมิโน

2. สารคีเลตสังเคราะห์ มีสมบัติในการจับธาตุเหล็ก ทองแดง สังกะสี และแมงกานีส

ตัวอย่างเช่น EDTA  ย่อมาจากเอทิลีนไดอามีน เตตราอะเซติก แอซิด


การดูดธาตุอาหารเสริมในรูปคีเลตมักใช้ทางใบ

เนื่องจากโมเลกุลของคีเลตซึ่งเป็นวงแหวนเมื่อจับธาตุเหล็ก ทองแดง แมงกานีส หรือสังกะสี

ธาตุใดธาตุหนึ่งไว้ภายในโครงสร้างนั้น คีเลตจะปกป้องไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย

เมื่อฉีดพ่นไปที่ผิวใบ จะแทรกซึมผ่านเข้าสู่ภายในใบพืช บางส่วนจะเคลื่อนย้ายลงไปสู่รากได้อีกด้วย


หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยคีเลตให้สูงขึ้น ควรผสมสารจับใบในอัตราที่พอเหมาะกับปุ๋ยคีเลต




http://www.rasbithydro.com/index.php?option=com_content&view=article&id=87:2010-05-04-07-32-44&catid=34:hydroponic-tech&Itemid=60









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (2849 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©