-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 265 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร




หน้า: 1/2


.....นาโนเทคโนโลยี.....


 
ประเภท :
วิศวกรรม/เทคโนโลยี
ผู้นำเสนอ :
thitipath  khruthram
Rating :
ที่มา :
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ-http://www.nanotec.or.th
 
ความรู้เกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยี - นาโนเทคโนโลยีในธรรมชาติ
 
เมื่อพูดถึงนาโนเทคโนโลยี คนทั่วไปได้ยินแล้วอาจจะนึกภาพไม่ออกและดูเหมือนจะไม่ได้สัมผัสกับมัน แต่จริง ๆ แล้ว นาโนเทคโนโลยนั้นมีอยู่แล้วในธรรมชาติ อยู่ในสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา เพียงแต่บางคนอาจจะไม่ได้สังเกตหรือไม่ได้ให้ความสนใจ ตัวอย่างนาโนเทคโนโลยีที่มีอยู่ในธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น ตีนตุ๊กแก สัตว์เลื้อยคลานอย่างตุ๊กแกและจิ้งจกสามารถปีนกำแพงหรือเกาะติดผนังที่ราบเรียบและลื่นได้อย่างมั่นคง และในบางครั้งก็สามารถห้อยตัวติดเพดานอยู่ด้วยนิ้วตีนเพียงนิ้วเดียว ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะบริเวณใต้อุ้งตีนของตุ๊กแกจะมีขนขนาดเล็กที่เรียกว่าซีเต้ (setae) จำนวนนับล้านเส้นเรียงตัวอัดแน่นอยู่ โดยที่ส่วนปลายของขนซีเต้แต่ละเส้นนี้ก็ยังมีเส้นขนที่มีขนาดเล็กกว่าที่เรียกว่าสปาตูเล่ (spatulae) ประกอบอยู่อีกหลายร้อยเส้น โดยที่สปาตูเล่แต่ละเส้นจะมีขนาดเล็กประมาณ 200 นาโนเมตรและที่ปลายของสปาตูเล่แต่ละเส้นจะสามารถสร้างแรงดึงดูดทางไฟฟ้าที่เรียกว่าแรงวานเดอวาลส์ (van der Waals force) เพื่อให้ในการยึดติดกับโมเลกุลของสสารที่เป็นส่วนประกอบของผนังหรือเพดานได้ ถึงแม้ว่าแรงวานเดอวาลส์จะเป็นแรงยึดเหนี่ยวที่อ่อนแอมาก แต่การที่ตีนตุ๊กแกมีเส้นขนสปาตูเล่อยู่หลายล้านเส้นจึงทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวทางไฟฟ้าขึ้นอย่างมหาศาลจนสามารถทำให้ตีนตุ๊กแกยึดติดกับผนังได้อย่างเหนียวแน่น ด้วยหลักการนี้เองจึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นเทคโนโลยีแถบยึดตุ๊กแก (Gecko Tape) ขึ้นมาจากวัสดุสังเคราะห์ชนิดใหม่ที่มีลักษณะเป็นขนขนาดนาโน (nanoscopic hairs) เลียนแบบขนสปาตูเล่ที่อยู่บนตีนตุ๊กแกในธรรมชาติ เพื่อนำไปผลิตแถบยึดที่ปราศจากการใช้กาว และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่าง ถุงมือ ผ้าพันแผล ตลอดจนสามารถพัฒนาไปเป็นล้อของหุ่นยนต์ที่สามารถไต่ผนังหรือเคลื่อนที่ขึ้นลงในแนวดิ่งได้อีกด้วย ใบบัว (สารเคลือบนาโน) การที่ใบบัวมีคุณสมบัติที่เกลียดน้ำก็เพราะว่าพื้นผิวของใบบัวมีลักษณะคล้ายกับหนามขนาดเล็กจำนวนมหาศาลเรียงตัวกระจายอยู่อย่างเป็นระเบียบโดยที่หนามขนาดเล็กเหล่านี้ก็ยังจะมีปุ่มเล็กๆ ที่มีขนาดในช่วงระดับนาโนเมตรและเป็นสารที่มีคุณสมบัติคล้ายขี้ผึ้งซึ่งเกลียดน้ำเคลือบอยู่ภายนอกอีกด้วย จึงทำให้น้ำที่ตกลงมาบนใบบัวมีพื้นที่สัมผัสน้อยมาก และไม่สามารถซึมผ่านหรือกระจายตัวแผ่ขยายออกในแนวกว้างบนใบบัวได้ ดังนั้นน้ำจึงต้องม้วนตัวเป็นหยดน้ำขนาดเล็กกลิ้งไปรวมกันอยู่ที่บริเวณที่ต่ำที่สุดบนใบบัว นอกจากนี้สิ่งสกปรกทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นผงฝุ่น เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ก็ไม่สามารถเกาะติดแน่นอยู่กับใบบัวได้เช่นเดียวกันเพราะว่ามีพื้นที่สัมผัสกับใบบัวได้แค่เพียงบริเวณปลายยอดของหนามเล็กๆ แต่ละอันเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเวลาที่มีน้ำตกลงมาสิ่งสกปรกที่เกาะอยู่บนใบบัวก็จะหลุดติดไปกับหยดน้ำอย่างง่ายดายจึงทำให้ใบบัวสะอาดอยู่ตลอดเวลา นักวิทยาศาสตร์จึงได้นำหลักการของน้ำกลิ้งบนใบบัว (Lotus effect) มาใช้ในการสังเคราะห์วัสดุชนิดใหม่เลียนแบบคุณลักษณะของใบบัว หรือการนำไปประยุกต์ใช้เป็นสีทาบ้านที่สามารถไม่เปียกน้ำและสามารถทำความสะอาดตัวเองได้ รวมไปถึงการพัฒนาเป็นเสื้อผ้ากันน้ำไร้รอยคราบสกปรก เปลือกหอยเป๋าฮื้อ (นาโนเซรามิกส์) สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบหลักของเปลืยกหอยเป๋าฮื้อคือ แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกันกับชอล์คเขียนกระดาน อย่างไรก็ตาม ลักษณะทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของเปลือกหอยและชอล์คมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยที่ชอล์คจะเปราะ หักง่าย เป็นผงฝุ่นสีขาว แต่เปลือกหอยจะมีลักษณะเป็นมันวาวและมีความแข็งแรงสูงมาก ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการจัดเรียงตัวในระดับโมเลกุลของแคลเซียมคาร์บอเนตที่พบในชอล์คและเปลือกหอยมีความแตกต่างกันมาก โดยเมื่อใช้กล้องขยายกำลังสูงส่องดูโครงสร้างระดับโมเลกุลของเปลือกหอยเป๋าฮื้อพบว่าการจัดเรียงตัวของโมเลกุลแคลเซียมคาร์บอเนตมีลักษณะคล้ายเป็นกำแพงอิฐก่อที่เรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ โดยที่ก้อนอิฐขนาดนาโนแต่ละก้อนนี้จะเชื่อมติดกันด้วยกาวที่เป็นโปรตีนและพอลิแซคคาไรด์ จากโครงสร้างที่จัดเรียงกันอย่างเป็นระเบียบนี้จึงทำให้เปลือกหอยเป๋าฮื้อทนทานต่อแรงกระแทกมาก ยกตัวอย่างเช่น ให้ค้อนทุบไม่แตก เป็นต้น เปลือกหอยเป๋าฮื้อ เป็นตัวอย่างที่ดีในการอธิบายคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของวัสดุต่างๆ ที่มีองค์ประกอบเป็นสารเคมีชนิดเดียวกันทุกประการแต่มีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไปตามการจัดเรียงตัวของโครงสร้างในช่วงนาโน เช่นอะตอมและโมเลกุล ดังนั้นนักนาโนเทคโนโลยีจึงสามารถใช้ความรู้นี้ในการสร้างวัสดุใหม่ๆ ให้มีคุณสมบัติต่างไปจากเดิมได้ ผีเสื้อบางชนิด (Polyommatus sp.) สามารถดึงดูดเพศตรงข้ามหรือหลบหนีศัตรูได้โดยการเปลี่ยนสีปีก เช่นจากสีน้ำเงินไปเป็นสีน้ำตาล ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสีปีกนี้ไม่ได้อาศัยสารมีสีชนิดต่างๆ ที่อยู่ในปีกผีเสื้อ แต่กลับอาศัยหลักการหักเหและการสะท้อนของแสงแดดที่มาตกกระทบลงบนปีก โดยถ้ามุมที่แสงตกกระทบมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย สีที่ปรากฎบนปีกผีเสื้อก็จะแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าแสงแดดมาตกกระทบกับโครงสร้างที่อยู่ในปีกผีเสื้อในมุมใดมุมหนึ่งจะสะท้อนแสงสีน้ำเงินออกมา แต่ในขณะเดียวกันก็ดูดซับแสงสีอื่นๆ ไว้ทั้งหมด ทำให้เราเห็นผีเสื้อมีปีกสีน้ำเงิน เมื่อนักวิทยาศาสตร์ใช้กล้องขยายกำลังสูงส่องดูปีกผีเสื้อชนิดที่สามารถเปลี่ยนสีก็พบรูพรุนที่มีขนาดในช่วงนาโนจำนวนมหาศาลเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนผลึกโฟโต้นิกส์ในธรรมชาติ นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังได้ตั้งสมมุติฐานว่าการเปลี่ยนสีของปีกผีเสื้อชนิดนี้ยังเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิได้อีกด้วย ซึ่งจากการค้นพบนี้ทำให้นักวิทยาศ่าสตร์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างผลึกโฟโต้นิกส์สังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้ดีและเปลี่ยนคุณสมบัติไปตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป ซึ่งสามารถนำไปใช้ผลิตเสื้อผ้าป้องกันความร้อนที่ใช้ในทะเลทรายหรือห้วงอวกาศ ใยแมงมุม (เส้นใยนาโน) แมงมุมเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวที่สามารถสร้างและปั่นทอเส้นใยได้ โดยที่ใยแมงมุมเป็นเส้นใยที่มีความแข็งแรงและเหนียวมาก ใยแมงมุมสามารถหยุดแมลงที่บินด้วยความเร็วสูงสุดได้โดยที่ใยแมงมุมไม่ขาด นักวิทยาศาสตร์พบว่าแมงมุมมีต่อมพิเศษที่สามารถหลั่งโปรตีนที่ละลายในน้ำได้ชนิดหนึ่งชื่อว่า ไฟโบรอิน (Fibroin) โดยเมื่อแมงมุมหลั่งโปรตีนชนิดนี้ออกมาจากต่อมดังกล่าวโปรตีนดังกล่าวจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปเป็นของแข็ง หลังจากนั้นแมงมุมก็จะใช้ขาในการถักทอโปรตีนเหล่านี้เป็นเส้นใยที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งก็คือใยแมงมุมนั่นเอง บริษัทในต่างประเทศแห่งหนึ่งสามารถสร้างใยแมงมุมเลียนแบบแมงมุมได้โดยการตัดต่อยีนที่ควบคุมการสร้างโปรตีนไฟโบรอินจากแมงมุมแล้วนำไปใส่ไว้ในโครโมโซมของแพะ เพื่อให้นมแพะมีโปรตีนใยแมงมุม ก่อนที่จะแยกโปรตีนออกมาแล้วปั่นทอเป็นเส้นใยเพื่อใช้ในการผลิตเสื้อเกราะกันกระสุนที่แข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา โดยเส้นใยที่สร้างขึ้นนี้มีความแข็งแรงมากกว่าเหล็กถึงห้าเท่าเมื่อมีน้ำหนักเท่ากัน นอกจากนี้ยังสามารถนำใยแมงมุมไปใช้เป็นเส้นใยผ้ารักษาแผลสดได้อีกด้วย
 
www.azooga.com/content_detail.php?cno=369 -



เทคโนโลยีชีวภาพกับการเกษตร

เทคโนโลยีชีวภาพที่มีการใช้เพื่อการเกษตรมีหลากหลายชนิดที่เกิดขึ้น เช่น การพัฒนาพันธุ์พืชให้มีความต้านทานต่อศัตรูพืช โรคพืช การเพิ่มความทนทานของพืชต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมของภูมิประเทศ เช่นความแห้งแล้ง อุทกภัย การพัฒนาผลไม้ให้สุกงอมช้ากว่าปกติเพื่อลดความเสียหายในระหว่างการขนส่ง การเพิ่มผลผลิตพืชโดยไม่ต้องขยายพื้นที่เพาะปลูก การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อใช้ในการขยายพันธุ์พืชให้ได้จำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว การผลิตท่อนพันธุ์พืชที่ปราศจากโรคเพื่อการลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค การเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อการขยายพันธุ์กล้วยไม้ การปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกเพื่อให้มีอายุการปักแชกันให้ยาวนานขึ้นและมีกลิ่นหอม การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ให้มีลักษณะที่ดี การขยายพันธุ์โคนมที่ให้น้ำนมสูงโดยการปฏิสนธิในหลอดแก้ว และการย้ายฝากตัวอ่อน การพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคในกุ้งเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค การนำจุลินทรีย์มาเปลี่ยนวัตถุดิบด้านการเกษตรที่มีราคาถูกเป็นพลังงานทดแทน การใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอตรวจสอบพันธุ์พืชและสัตว์เศรษฐกิจ เป็นต้น นอกจากนี้สำหรับการเกษตรด้านที่มีการกล่าวถึงความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมได้มีการนำเอาจุลินทรีย์เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี การลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยการพัฒนาพันธุ์พืชที่มีความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช หรือกระทั่งการใช้เชื้อจุลินทรีย์มาใช้สำหรับการกำจัดแมลงศัตรูพืช เช่นแบคทีเรียบีที หรือไวรัส เอ็นพีวี

การเกษตรที่อาศัยความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพในการปรับปรุงพันธุ์หรือการพัฒนาพันธุ์ให้มีคุณสมบัติตามต้องการ สามารถทนต่อดินฟ้าอากาศได้ดีขึ้น ต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืชได้ดีขึ้น หรือมีคุณค่างทางโภชนาการมากขึ้น ทุกขั้นตอนในการศึกษาจะต้องสามารถอ้างอิงได้ตามมาตรฐานสากล และมีระบบการดูแลอย่างใกล้ชิด และเมื่อมีข้อสรุปได้ว่าสิ่งที่ทดลองนั้นมีความปลอดภัยเท่ากับพืชเปรียบเทียบต่อสิ่งมีชีวิต คน และสิ่งแวดล้อม จึงจะได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ เช่นกรณีไวรัสใบด่างของมะละกอซึ่งมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ อันส่งผลให้ผลผลิตลดลงอย่างมากไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค จึงมีการใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านพันธุวิศวกรรมเพื่อการดัดแปรมะละกอให้มีความต้านทานต่อโรคไวรัส แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อยุติในเรื่องที่ว่ามะละกอพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคไวรัสนั้นจะมีผลกระทบต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม อย่างไรหรือไม่ ซึ่งไม่สามารถได้ข้อสรุปมาเนื่องจากไม่สามารถดำเนินการในขั้นตอนของการทดสอบในสภาพปลูกจริงได้ เนื่องจากความเห็นที่ขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มผู้ปฏิบัติงานกับกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับเทคโนโลยีชีวภาพ (ดรุณี, 2546)

นาโนเทคโนโลยีคือ วิทยาการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีขนาดเล็ก 10-9 เท่าโดยมีความเกี่ยวข้องและครอบคลุมในทุกสาขาวิชาทางด้านการเกษตร สำหรับประเทศไทยแล้วมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่าควรที่จะเร่งให้มีการพัฒนาทางด้านนาโนเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตสินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหาร และมีความหลากหลายทางชีวภาพ กอปรกับเพื่อให้สอดคล้องกับกรอบนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2547-2554 ในการที่จะมีการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลก ซึ่งเราจะต้องมุ่งเน้นเพื่อการพัฒนาคุณภาพของสินค้าการเกษตรให้ตรงกับมาตรฐานสากล เพื่อที่จะได้เร่งการส่งออกและไม่ถูกกีดกัน และเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในเวลาเดียวกันในภาพรวมของนาโนเทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตรที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย

ข้าว นาโนเทคโนโลยีสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีลักษณะที่ดีตรงตามความต้องการทางเศรษฐกิจ เช่นคุณภาพการหุงต้น หอม ต้านทานโรคไหม้ ต้านทานเพลี้ยชนิดต่าง ๆ ทนต่อน้ำท่วม และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง

การเพาะเลี้ยงกุ้งและการประมง การที่กุ้งแช่แข็งมีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ของการส่งออกของประเทศไทย ทำรายได้ให้ไม่ต่ำหว่าแสนล้านบาทในแต่ละปี แต่เพราะปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสทำให้มีความสูญเสียผลผลิต ดังนั้นจึงมีการนำเอานาโนเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส และยังค้นพบวิธีการสร้างฟองอากาศนาโนที่มีความคงตัวสูง แตกตัวได้ยาก เก็บกักโอโซฯไว้ได้นาน ทำให้เป็นแหล่งออกซิเจนให้กับสัตว์น้ำ ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้เพื่ออุตสาหกรรมประมงต่อไปได้

ยางพารา เนื่องจากความต้องการยางธรรมชาติในตลาดโลกนั้นมีความต้องการที่สูง แต่อาจจะมีการลดลงได้ หากอุตสาหกรรมหันไปให้ความสนใจกับยางเทียม ซึ่งประเทศที่ส่งออกยางธรรมชาติจะต้องได้รับผลกระทบแน่นอน ในประเทศไทยจึงได้มีการเพิ่มมูลค่าของยางธรรมชาติโดยใช้นาโนเทคโนโลยี ได้แก่ การสร้างถุงมือยางธรรมชาติที่สามารถป้องกันเชื้อโรคได้โดยการบรรจุนาโนแคปซูลของยาฆ่าเชื้อไว้ในเนื้อถุงมือยาง

การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ปัญหาดินเค็มมากกว่า 17 ล้านไร่ใน 17 จังหวัดที่กำลังขยายตัวออกไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตลดลง 2-3 เท่า จึงได้มีการนำเอานาโนเทคโนโลยีมาปรับปรุงสภาพดินเค็มโดยการนำสารละลายคาร์โบเนียมที่สังเคราะห์ขึ้นโดยนาโนเทคโนโลยีไปฉีดพ่นที่ดิน จะเกิดปฏิกิริยาดูดซับเกลือออกจากดิน ทำให้ดินร่วนขึ้น pH เปลี่ยนเป็นกลางเหมาะกับการปลูกพืช รวมทั้งอาจจะสามารถใช้นาโนเทคโนโลยีในการใช้การเกษตรแบบควบคุมสภาวะแวดล้อมที่มีระบบการตรวจวัดสภาพของพืชผลที่ดี ทำให้สามารถประเมินลักษณะของพืชผล และสามารถบริหารจัดการพืชปลูกจนประสบความสำเร็จนั่นเอง


ปศุสัตว์ มีการติดตั้งนาโนไบโอเซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับเชื้อแบคทีเรียที่โรคในนมไว้กับเครื่องรีดนมวัว ทำให้สามารถลดการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรคในน้ำนมดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ





การเพิ่มมูลค่าวัสดุทางการเกษตร มีการย่อยสลายวัสดุที่เหลือใช้ในการเกษตรให้มีขนาดเล็กลงจนเป็นอนุภาคนาโนเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์พอลิเมอร์ชีวภาพที่สามารถปรับแต่งรสชาติให้เหมือนไขมัน ซึ่งสามารถนำมาใช้ทดแทนไขมันในอาหารสุขภาพ สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก (ณัฐพันธุ์, 2547)

ในสภาวะที่ทั่วโลกกำลังร่วมมือกันรักษาสภาพแวดล้อมของโลก ปัจจัยหนึ่งที่มีผลทำลายสภาพแวดล้อมให้เต็มไปด้วยสารพิษตกค้าง คือการใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลงฉีดพ่นไปบนพืชผักเศรษฐกิจ ซึ่งสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงเหล่านั้น นอกจากจะเป็นอันตรายต่อเกษตรกรผู้ใช้แล้ว บางส่วนยังตกค้างอยู่บนส่วนต่าง ๆ ของพืช บางส่วนตกค้างอยู่ในดิน หรือถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำลำธารใกล้เคียง แนววางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชแทนการใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลงคือการควบคุมด้วยชีววิธี (Biocontrol) โดยการนำเอาสิ่งมีชีวิตเข้ามาควบคุมสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง แบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีการนำมาใช้กำจัดแมลงศัตรูพืชอย่างแพร่หลายในประเทศคือ บาซิลลัส ทูริงจิเอนซิส (Bacillus thuringiensis) หรือเรียกสั้น ๆ ว่าบีที (Bt) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบได้ในดินทั่วไป ไป สามารถสร้างผลึกโปรตีนที่มีความเป็นพิษต่อหนอนแมลง และลูกน้ำยุงอย่างมีความจำเพาะเจาะจง ไม่มีผลข้างเคียงต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง ในต่างประเทศมีบริษัทหลายบริษัทดำเนินการผลิตบีทีในรูปผลิตภัณฑ์ออกมาจำหน่าย สำหรับประเทศไทย บริษัททีเอฟไอ กรีนไบโอเทค เป็นบริษัทหนึ่งที่ริเริ่มดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์บีทีในระดับอุตสาหกรรมเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ (ฝ่าย พัฒนาธุรกิจและกฎหมายเทคโนโลยีชีวภาพ, 2548)

การปลูกหอมตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ จะได้ผลผลิตประมาณ 2-3 ตันต่อไร่ คิดเป็นมูลค่ากว่า 400 ล้านบาท แต่หนอนกระทู้หอมก็สร้างปัญหาให้เป็นอย่างมาก จากวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิมคือการใช้สารเคมีแทบจะทุกชนิดที่มีประกาศโฆษณาว่าใช้ได้ดี แต่กลับพบว่าหนอนมีกระทู้หอมมีการดื้อยามากยิ่งขึ้น จึงต้องมีการเปลี่ยนชนิดสารเคมีที่มีความรุนแรงยิ่งขึ้น จึงต้องจ่ายแพงขึ้นและเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นด้วย หน่วยบริการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท ไบโอเทคร่วมกับกรมวิชาการเกษตรแนะนำให้เกษตรกรใช้เชื้อไวรัสเอ็น พี วี เพื่อควบคุมหนอนกระทู้หอม ไวรัสเอ็น พี วี (Nuclear Polyhedrosis Virus, NPV) เป็นไวรัสในรรมชาติที่ทำให้หนอนเป็นโรคและตายเมื่อหนอนกินไวรัสที่เราพ่นไว้บนใบหอมเข้าไป เชื้อจะเข้าสู่กระเพาะอาหารของหนอน อนุภาคไวรัสจะเริ่มทำลายเซลล์ผนังกระเพาะอาหารก่อน แล้วจึงขยายพันธุ์ทวีจำนวนมากขึ้น และแพร่กระจายเข้าสู่ภายในลำตัวของหนอน ทำลายอวัยวะภายในส่วนต่าง ๆ เช่น เม็ดเลือก ไขมัน กล้ามเนื้อ และผนังลำตัว เป็นต้น กระทั่งทำให้หนอนตายในที่สุด ซึ่งไวรัสนี้ได้รับการทดสอบแล้วว่ามีความปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งนี้เชื้อไวรัส เอ็นพีวี นั้นมีความเจาะจงกับเป้าหมายมาก โดยจะเลือกทำลายเฉพาะหนอนกระทู้หอม โดยไม่มีผลต่อแมลงศัตรูพืชชนิดอื่น อย่างไรก็ตามต้องเริ่มที่การเปลี่ยนแนวคิดของเกษตรกรว่าชีวินทรีย์สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง และต้องชี้ให้เกษตรกรเห็นถึงประโยชน์ระยะยาวของการใช้เชื้อชีวินทรีย์ โดยเฉพาะความปลอดภัยต่อสุขภาพของเกษตรกร และผู้บริโภค (สัมฤทธิ์, 2546)

การที่นักวิจัยของไบโอเทคได้เข้ามาช่วยเหลือผู้ผลิตขิงของไทย โดยการใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเข้ามาเพื่อการผลิตท่อนพันธุ์ขิงปลอดโรค เป็นขิงที่มีหัวขนาดเล็กกว่าเดิม และใช้เวลาในการเก็บเกี่ยวเพียง 3 เดือน จากเดิมที่เกษตรต้องใช้เวลา 8 เดือนกว่าที่จะเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งถือเป็นมูลค่าใหม่ที่ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามา ทั้งยังสามารถส่งขายต่างประเทศเป็นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ (มติชนสุดสัปดาห์, 2545)
ในการวิจัยเพื่อการเกษตรโดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพนั้นเพื่อการเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการ เช่นการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังให้ได้หัวมากมีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง หรือข้าวโพดฝักอ่อนให้มีจำนวนฝักต่อต้นมากกว่าหนึ่ง และให้มีความหวานและฝักน้ำหนักดี(ที่มา : Piyawuti et al., 2003 and Chokchai et al.,, 2003)



กุ้งของประเทศไทยถือได้ว่ามีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับ และราคาสามารถแข่งขันได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากประเทศไทยได้มีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำในหลากหลายด้าน อย่างหนึ่งที่มีความสำคัญคือการนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพช่วยในการสร้างศักยภาพในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยง เริ่มจากการพัฒนาพ่อแม่พันธุ์กุ้ง จนสามารถได้พ่อแม่พันธุ์ในรุ่นที่ 7 ที่มีลักษณะคล้ายกับกุ้งในธรรมชาติ และสามาถนำไปสู่การเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในเชิงพาณิชย์ได้ ต่อมาก็มีโครงการที่เกี่ยวกับการตรวจสอบการติดเชื้อไวรัสในกุ้งกุลาดำที่มีประสิทธิภาพทำให้สามารถหยุดยั้งปัญหาดรคระบาดได้ทันที ก่อนที่สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศชาติ และการวิจัยที่เกี่ยวกับการวิจัยยีนในระบบภูมิคุ้มกันในกุ้งกุลาดำเพื่อแก้ปัญหาโรคระบาดอย่างยั่งยืน เพื่อช่วยให้การแก้ปัญหาการเกิดโรคระบาดกับกุ้งเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม นำไปสู่การพัฒนาวิธีการควบคุม และป้องกันโรคในกุ้งได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต (กองบรรณาธิการ, 2547)



ประเทศไทยได้อะไรจากเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร จากพื้นฐานความเข้มแข็งทางด้านการเกษตรและทรัพยากรที่มีความหลากหลายในประเทศไทย เทคโนโลยีชีวภาพจึงกลายเป็นความสำคัญสำหรับการปรับปรุงพันธุ์พืช และสัตว์ ให้มีคุณสมบัติได้ตามที่ต้องการ เพื่อการเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ รวมทั้งเพื่อการเปลี่ยนวัตถุดิบที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดมูลค่าสูงสุด เพื่อเป็นการเพิ่มสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในตลาดโลก เช่นข้าว ที่ต้องมีการเร่งผลิตให้ได้พันธุ์ที่สามารถให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูงขึ้น ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและมีความต้านทานต่อโรค ซึ่งหากประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันในจุดนี้ได้แล้ว ผลเสียก็จะมาตกอยู่กับภาคการเกษตรอย่างหลีกไม่พ้น เทคโนโลยีชีวภาพนั้นเข้ามามีบทบาทต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเป็นครั้งคราว ดังจะเห็นได้จากโครงการเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง โดยการวินิจฉัยโรคกุ้ง ทำให้สามารถป้องกันการระบาดของโรคไวรัสในกุ้งอย่างรุนแรงในปี 2540 ได้สำเร็จ และสามารถคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์กุ้งที่ปลอดจากเชื้อมาเพาะเลี้ยงส่งผลให้เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศไทยดีขึ้น คิดเป็นกำไรกว่าปีละ 10,000 ล้านบาท หมายความว่าในปีหนึ่ง ๆ ชาติได้กำไรคิดเป็น 1,000 เท่าต่อจำนวนเงินวิจัยในโครงการเทคโนโลยีชีวภาพกุ้งในแต่ละปี และในด้านสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีชีวภาพได้เข้ามามีบทบาทในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อคัดเลือกพันธุ์พืชทนเค็ม ทำให้พลิกฟื้นพื้นที่ที่เสื่อมโทรมจากการทำเกลือสินเธาร์ให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียว และคืนความชุ่มชื้นให้กับชุมชนได้สำเร็จ




การที่ประสิทธิภาพในการผลิตข้าวของประเทศไทยอยู่ที่ 70% ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามูลเหตุของความตกต่ำอยู่ที่โรค แมลงและสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่นกรณีโรคใบไหม้ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาใช้เพื่อการรวบรวมเชื้อสาเหตุโรคใบไหม้ในประเทศไทย รวมทั้งลักษณะและความรุนแรงเพื่อที่จะได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวให้มีความทนทานต่อโรคนี้ หรือในกรณีที่ได้มีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวมีความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้สำเร็จ และนักวิจัยกำลังใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อมองหายีนที่เกี่ยวข้องกับการทนแล้ง เพื่อจะพัฒนาสายพันธุ์ข้าวให้สามารถทนแล้ง (Drought tolerance) และให้ผลผลิตที่ดีได้ รวมทั้งการหายีนที่เกี่ยวข้องกับการทนน้ำท่วม (Submergence tolerance) เพื่อใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ทนน้ำท่วมต่อไป (วัชริน และศิริพร, 2546)

ในด้านการเกษตรนั้นการที่สามารถปรับปรุงพันธุ์ข้าวลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ ที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (การเพาะเลี้ยงอับละอองเรณู) ของข้าวหอมดอกมะลิ 105 กับข้าวเจ้าหอมนิล ทำให้ได้ข้าวลูกผสมที่มีวิตามัน แร่ธาตุ และโรตีนสูงเหมือนข้าวเจ้าหอมนิล แต่มีกลิ่นหอม รสชาตินุ่มนวลเหมือนข้าวหอมมะลิในระยะเวลาที่สั้นกว่าหลายเท่าตัว ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไม่ใช่น้อย ซึ่งหมายถึงการสร้างรายได้ให้กับประเทศชาติเช่นเดียวกัน (ศิรศักดิ์ , 2546)

เมื่อเกิดคำถามว่า สถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกซึ่งมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมากทุกที ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีทางเลือกหรือการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเข้ามาหรือไม่ ขณะที่ประเทศไทยกำลังเหงื่อเข้าตาอยู่นั้น สถาบันวิจัยซุนยัดเซ็นจากประเทศจีนได้เข้ามาใช้พื้นที่ในประเทศไทยทดลองปลูกสบู่ดำเพื่อพัฒนาศักยภาพในการผลิตพืชพลังงานทดแทนไปโอดีเซล โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการคัดเลือกหาพื้นที่ที่เหมาะสม ในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตรเองก็ได้เริ่มที่จะส่งเสริมและทดลองสบู่ดำหลายสายพันธุ์ในแปลงของเกษตรกร แต่ยังต้องรอผลสรุปของการหาสายพันธุ์ที่เหมาะสมต่อไป เพราะการใช้สบู่ดำเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงนั้นจะต้องให้ได้ผลผลิตสูงถึงไร่ละ 1 กิโลกรัมต่อปีจึงจะมีความคุ้มค่า นอกจากนี้เกษตรกรได้ให้ความสนใจในการปลูกเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่มีความมั่นใจด้านราคาและการรับซื้อ นอกจากนี้ภาคเอกชนที่จะเข้ามาลงทุนโรงงานผลิตไบโอดีเซลสบู่ดำก็ยังไม่มีความชัดเจนด้านปริมาณวัตถุดิบเพียงพอที่จะทำให้คุ้มทุน

(
http://www.manager.co.th/, 2548)


กุ้งแห้งไทยจะมีคุณภาพและความปลอดภัยมากขึ้น หากนำความรู้จากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ เป็นคำกล่าวที่เกิดขึ้นเมื่อพบว่าการผลิตกุ้งแห้งของไทยมีปัญหาเรื่องคุณภาพในกระบวนการผลิต เช่น สี เนื้อสัมผัสของกุ้งแห้งไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ตลอดจนลักษณะกุ้งแห้งไม่ได้มาตรฐานหลังจากการอบแล้ว ไบโอเทคจึงได้จัดการสัมมนาขึ้นในหัวข้อ “การพัฒนาคุณภาพการผลิตกุ้งแห้งสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก” เพื่อมุ่งเน้นที่จะยกระดับกระบวนการผลิตกุ้งแห้งของไทยให้มีประสิทธิภาพ เพื่อการแก้ปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมสีกุ้งแห้งให้เป็นธรรมชาติโดยการใช้กรดซิตริก การยืดอายุการเก็บรักษากุ้งแห้งโดยใช้ถุงลามิเนต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกุ้งแห้งโดยเจสเปาท์เตดเบด ซึ่งเป็นเครื่องทำแห้งในรูปแบบใหม่ ซึ่งต่างจากแบบเดิมที่จะเป็นการตากแดด ทั้งนั้นและทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถประยุกต์ใช้วิธีการเหล่านี้ในการยกระดับคุณภาพของกระบวนการผลิตกุ้งแห้ง เพื่อให้อุตสาหกรรมการผลิตกุ้งแห้งของไทยนั้นมีประสิทธิภาพ (เสาวภา, 2547)

ภาคเอกชนกับการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในวงการเกษตร เมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ลงนามร่วมกับกลุ่มบริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด เพื่อการพัฒนาขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีในด้านการผลิต โดยมีการพัฒนางานวิจัยร่วมกันตั้งแต่เรื่องพันธุ์อ้อย การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การขนส่ง และกระบวนการผลิตน้ำตาลและผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง เพื่อให้ชาวไร่อ้อยและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถที่จะปลูกอ้อย และกระบวนการผลิตน้ำตาลก็มีความยั่งยืน “ที่ผ่านมาปริมาณอ้อยที่เพิ่มขึ้นมาจากการเพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อย และอาศัยปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอเท่านั้น แต่ไม่ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านชีวภาพเข้ามาใช้เพื่อช่วยในการบริหารจัดการ เมื่อเกิดภัยแล้งจึงทำให้ผลผลิตอ้อยทั้งประเทศในปีการผลิต 2547/2548 ลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 25 และส่งผลให้รายได้ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยลดลงอย่างมาก การได้ร่วมมือกับ สวทช. จึงเป็นลู่ทางในการพัฒนาให้เกิดประสิทธิผลและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ” นายอิสระ ว่องกุศลกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มบริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด กล่าว (หนังสือพิมพ์แนวหน้า, 2548)

(ที่มา : วารสารเทคโนโลยีชีวภาพปริทรรศน์ 1(4):8-9)

joomjim-51010812076.blogspot.com/ -



หยั่งรากผลิใบ นาโนเทคโนโลยียางพารา

        ขณะที่เกษตรกรชาวสวนยางพาราไทยกำลังยิ้มจากราคายางกิโลละ 100 บาท รัฐบาลเองก็พลอยได้หน้าโหนกระแสรับเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดยางโลกในเดือนกรกฎาคมนี้
เป็นความรู้สึกว่า ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยางโลกทำนองนั้น เพราะออกข่าวว่าจะเป็น(โก)Hubโหวกเหวกเชียว
ดร.ณัฐพันธ์ ศุภกา จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ บอกว่า นาโนเทคโนโลยีชีวภาพเกี่ยวข้องกับการเกษตรไทยแยกไม่ออก เป็นแต่ว่าเราสนใจมันไหม และให้ความสำคัญกับมันหรือเปล่า
แต่ไม่ว่ายังไง เทคโนโลยีก็พัฒนาของมันไปและตรงนี้แหละจะกระทบต่อประเทศไทย
กระทบยังไง ประเทศที่เคยนำเข้าสินค้าเกษตรไทยพัฒนาเทคโนโลยีจนถึงขั้นลดการนำเข้าสินค้าจากไทยตลอดจนเลิกนำเข้าก็เป็นได้
ยางพาราเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้เห็นว่า ท่ามกลางความสุขจากราคายางกิโลละ 100 บาทก็มีปัญหาใหญ่ชวนขนหัวลุกรออยู่เบื้องหน้า
สหรัฐอเมริกาสามารถสังเคราะห์วัสดุนาโนที่ใช้ทดแทนยางธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์แล้ว ตัวอย่างคือบริษัทกู๊ดเยียร์ใช้นาโนเทคโนโลยีพัฒนายางสังเคราะห์ชนิดใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมือนกันหรือดีกว่ายางธรรมชาติซึ่งจะทำให้ลดปริมาณการนำเข้ายางธรรมชาติได้ 15 %ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
บริษัทอินแม็ตใช้นาโนเทคโนโลยีผลิตสารเคลือบผิวยางที่สามารถป้องกันการรั่วซึมของอากาศออกมาจำหน่ายเชิงพาณิชย์ภายใต้ชื่อการค้า Air-D-Fense สารตัวนี้นำไปปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติ เช่นลูกเทนนิส ลูกฟุตบอลตลอดจนยางรถยนต์ รถบรรทุกให้ทนทานมากขึ้น
นี่เป็นน้ำจิ้มที่ผมเองได้แต่ตะลึง ตึง ตึง และไม่ใช่สหรัฐฯจะเพิ่งมาวิจัยและพัฒนาเอาตอนนี้ตอนที่ราคายางพารากิโลละ 100 บาทซะเมื่อไหร่ เขาเตรียมการทำมานานก่อนหน้านี้แล้ว โดยไม่ต้องรอให้ไฟไหม้บ้านเสียก่อนแล้วค่อยขุดบ่อหาน้ำมาดับไฟ
ที่สำคัญน้ำจิ้มที่ผมยืมมาจากดร.ณัฐพันธ์นั้นเป็นข้อมูลในวารสารเทคโนโลยีชีวภาพปริทรรศน์ฉบับเดือนกรกฎาคม 2547 หรือ 2 ปีก่อนครับ
ขอสุขสวัสดีจงมีแด่รัฐบาลไทยและขอให้สุขสุดยอดกับยางโลกตลอดไปเทอญ

ฉบับวันที่ 21 กรกฎาคม 2549



ที่มา หนังสือพิมพ์ แนวหน้า

http://www.naewna.com/news.asp?ID=17695#news
www.news.cedis.or.th/detail.php?id=3227&lang=en&group_id...


คุณใช้นาโนเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตพืช ?

batting นักวิทยาศาสตร์สำหรับอินเดีย Nano Farming

อินเดียเป็นเศรษฐกิจการเกษตร ดังนั้นจะธรรมชาติสำหรับนักฟาร์มในอินเดียชักคิ้วได้ถ้าลดลงมากในอินเดียพบ productionis การเกษตร นักวิทยาศาสตร์อินเดียฟาร์มล่วงรู้ความขาดแคลนอาหารในปีที่ใกล้ที่สามารถพิสูจน์ให้เป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่อินเดียและเศรษฐกิจโลก ตามที่พวกเขาทางเดียวที่จะ counter ปัญหานี้คือการให้อย่างรวดเร็วในด้านเทคโนโลยีชีวภาพ nano ที่ อินเดียนักฟาร์มด้านบนที่มีชุมนุมที่มหาวิทยาลัยอินเดียการเกษตร Association (IAUA) Meet สำหรับรอง Chancellors จัดที่ National Dairy Research Institute, Karnal ได้แสดงความกังวลเกินขาดแคลนอาหารที่ตามที่พวกเขาจะเติบโตเป็นปัญหาระดับโลกอย่างที่ต้องการ จะ tackled หัวบน

มีประชากรติดในเอเชียและภูมิภาคแอฟริกาประชากรโลกคาดว่าจะติดต่อ 7500000000 ในปี 2020 และ 9000000000 by 2050 จำเป็นต้องพูดมีความจำเป็นมากขึ้นในการใช้เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร, แจ้ง Dr B Mishra, รองอธิการบดีของ Shere - e - Kashmir มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร, จัมมู

อินเดียเป็นที่รู้จักกันในการผลิต 230 ล้านเสียงของธัญพืช, 149mt ผลิตภัณฑ์พืชสวน 51000000000 ไข่ 7000000000 เสียงของปลาและ 105 mt ของนมกระนั้นข้าวยากหมากแพงของหลังการเก็บเกี่ยวใบไม้เทคโนโลยีการขาดทุนปี Rs.76, 000 crore ของนี้ Rs.52 รอบ, 000 core หายไปรายงานในการสูญเสียของนมปลาผักและผลไม้ alone, Dr AK Srivastava กรรมการแห่งชาติ Dairy Research Institute (NDRI) Karnal แจ้ง

ตามสถิติที่มีกว่า 1 พันล้านคนทั่วอินเดียและส่วนที่เหลือของโลกอยู่ที่วันละมื้อ, ของที่เกือบ 250 ล้านมาจากอินเดียคนเดียว และด้านบนของมันที่หนึ่งพวกเขาได้รับอาหารจาก overs ซ้ายและกระป๋องขยะซับซ้อน ดร. Srivastava ในปี 2020 อุตสาหกรรมการเกษตรจะต้องน้ำเพิ่มเติมเพื่อการยังชีพของ แต่ว่างน้ำจะไปลดลงร้อยละ 12 ท่านต่อมา แก้ไขเท่านั้นคือการเลือกใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเพิ่มปริมาณธาตุอาหารในดินเพื่อเสริมสร้างดินที่สูญเสียความแข็งแรงในการผลิต

สภาพเสื่อมโทรมได้รับแจ้ง Punjab การเกษตร University (Pau), Ludhiana, เพื่อเริ่มการวิจัย มหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้แล้วขั้นตอนที่เคาน์เตอร์วิกฤตโดยการตั้งค่าหนึ่งที่ดีที่สุดที่ห้องปฏิบัติการนาโนเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศและได้รับบางงานพื้นทำลายในไส้เดือนฝอยในดิน ตาม Pau รองอธิการบดี Dr MS Kang ว่า Nematoda เป็นผู้ร้ายสำคัญที่ทำให้เกิดการทำลายพืชผลและนำไปสู่การลดผลผลิตพืช Pau ได้ดำเนินการวิจัยในนั้นเชื้อราจะใช้กับล็อคในไส้เดือนฝอย

พยายามสรุป - อย่างต่อเนื่องทำให้มีการใช้นาโนเทคโนโลยีเพื่อการใช้งานที่ดีและรอบคอบปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืช เทคโนโลยีสามารถนำมาใช้สำหรับการตรวจสอบอย่างรวดเร็วของโรคและการส่งมอบ fungicides in maneer เหมาะสม นี้จะช่วยในการผลิตพืชเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกันในภาคใต้อินเดีย, Karnataka สัตวศาสตร์สัตว์และประมงมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ที่ Bidar คือการใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิตของปลาและสัตว์ทะเลอื่น ๆ ใช้เป็นอาหาร
          

www.techtext.net/.../quot-are-you-using-nano-biotechnology-to-increase.html -




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©