-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 163 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร






เรียนรู้ “ซีเอ็น เรโช” (คาร์บอน : ไนโตรเจน , C : N ratio) เพื่อกำหนดการออกดอกติดผลของพืช

มีสมาชิกของชมรมเกษตรปลอดสารพิษหลาย ๆ ท่านมีข้อสงสัยและสอบถามมากับทางผู้เขียนในเรื่องของการเปิดตาดอก การเร่งตาใบ ซึ่งผู้เขียนได้ตอบคำถามเหล่านั้นในเรื่องของ “ซีเอ็น เรโช” ซึ่งหลาย ๆ ท่านไม่เข้าใจว่า ซีเอ็น เรโช คืออะไร

วันนี้ผู้เขียนจึงขออธิบายให้กับสมาชิกรวมถึงเกษตรกรที่เข้ามาแวะเวียนเยี่ยมเยียนเว็บไซต์ของชมรมฯ ให้มีความเข้าใจในเรื่อง “ซีเอ็น เรโช” อย่างง่าย และนำไปปฏิบัติกับสวนของตัวเอง นำไปบังคับดอกและใบ รวมไปถึงการใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธี เพื่อให้ง่ายในการบังคับให้ติดดอกออกผล หรืออาจจะรวมไปถึงการบังคับผลผลิตออกนอกฤดูโดยไม่ต้องใช้สารที่หยุดกระบวนการไนโตรเจนเพื่อประโยชน์ในเรื่องของต้นทุนการผลิต และสภาพต้นของพืชที่ตนเองปลูกครับ

ความหมายของซีเอ็นเรโช C = ซี ย่อมาจากคาร์บอน (Carbon), N = เอ็น ย่อมาจากไนโตรเจน (Nitrogen) และ ratio = เรโช หมายถึง สัดส่วน รวมแล้ว คือ สัดส่วนของคาร์บอน ต่อ ไนโตรเจน ถ้าตัวเลขอยู่ใกล้กัน เรียกว่า ซีเอ็น เรโช แคบ  ถ้าตัวเลขอยู่ห่างกันหรืออยู่ต่างกันมากกว่า เรียกว่า ซีเอ็น เรโช กว้าง  เช่น 15:1 คือคาร์บอน 15 ส่วน ต่อ ไนโตรเจน 1 ส่วน ซี.หรือคาร์บอนได้มาจากค่าวิเคราะห์คาร์โบฮัยเดรทในพืช ซึ่งก็คือน้ำตาลและแป้ง ทั้งที่พืชสร้างขึ้นหรือได้รับจากการฉีดพ่นก็ตาม แต่มีอยู่ในต้นพืชแล้ว เอ็น. หรือไนโตรเจน ได้มาจากการวิเคราะห์หาไนโตรเจนรวมในพืช ไม่ว่าจะได้จากการดูดขึ้นมาจากดินหรือการฉีดพ่นให้ทางใบก็ตาม

ผลที่พืชจะได้รับและแสดงออก ซีเอ็น เรโช แคบ คือ เมื่อตัวเลขของคาร์บอน และ ไนโตรเจน อยู่ห่างกันไม่มาก ซึ่งสามารถทำให้เกิดสภาพเช่นนี้ได้โดยการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนโดยไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี หรือฉีดพ่นทางใบที่มีปุ๋ยไนโตรเจนละลายอยู่  ปกติพืชจะได้รับไนโตรเจนที่ละลายน้ำได้ง่ายและรวดเร็วกว่าปุ๋ยอื่น ๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของไนโตรเจน, แอมโมเนีย, ยูเรีย หรือที่ละลายน้ำอยู่ในรูปอื่นๆ ก็ตาม  แล้วทำให้ค่าไนโตรเจนเพิ่มขึ้นทันที ในขณะที่คาร์บอน หรือ คาร์โบฮัยเดรท ในต้นพืชเท่าเดิม หรืออาจถูกใช้ไปบ้างเพื่อเป็นพลังงานในการดึงปุ๋ยเข้าสู่รากพืชมีผลให้ค่า ซีเอ็น เรโช แคบ อย่างรวดเร็ว ลักษณะดังกล่าวมีผลทำให้พืชเกิดการเจริญทางใบ คือ แตกยอดและใบอ่อนง่าย ทำให้ดอกออกยาก ทำให้คุณภาพผลผลิตใกล้แก่ต่ำลง ถ้าพืชยังไม่เริ่มขบวนการแก่ก็จะทำให้แก่ช้าออกไปซึ่งการแก่ช้าอาจจะเป็นผลดีสำหรับพืชผลไม้ที่รอราคา แต่เป็นผลเสียสำหรับพืชที่ต้องการขนาดของผล หากแก่ช้าผลก็ใหญ่เกินกว่าขนาดที่ตลาดต้องการ ซึ่งหาก ซีเอ็น เรโช แคบ อย่างต่อเนื่องแม้แต่ใบก็ยังแก่ช้าออกไปด้วย

ซีเอ็น เรโช กว้าง คือ เมื่อตัวเลขของคาร์บอนและไนโตรเจนอยู่ห่างกันกว่า ซึ่งการทำให้เกิดสภาพเช่นนี้กับพืชที่มีใบรุ่นใหม่สมบูรณ์และมากพอแล้ว โดยการหยุดให้ปุ๋ยไนโตรเจนทุกชนิดทั้งทางดินและทางใบ พืชก็ยังจะสังเคราะห์แสงสะสมอาหารมากขึ้นตามลำดับ โดยสร้างเด็กซ์โทรส (หรือกลูโคส) จากนั้นเปลี่ยนเป็นซูโครส (น้ำตาลทราย) ซึ่งเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่า แล้วเปลี่ยนเป็นแป้งหรือคาร์โบฮัยเดรทอื่นสะสมอยู่ในกิ่ง, ก้าน, ลำต้น, รากหรือหัว ในธรรมชาติเมื่อฝนหยุดตก งดการให้น้ำ น้ำในดินจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนละลายไนโตรเจนออกมาได้น้อย และในที่สุดแทบจะไม่ได้ดูดไนโตรเจนเข้าลำต้นเลย แต่พืชยังคงสังเคราะห์แสงที่ใบทุกวันเมื่อมีแสงแดด ซีเอ็น เรโช จึงกว้างขึ้นเป็นลำดับ ใบพืชจึงมีบทบาทที่สำคัญมากเพราะทำหน้าที่เป็นโรงงานผลิตอาหารสะสมให้ต้นพืช ผลของการมีอาหารสะสมมาก ซีเอ็น เรโช กว้าง ทำให้พืชออกดอกได้ง่าย ผลอ่อนร่วงน้อย โตเร็ว ผลแก่มีคุณภาพดี เมื่อผลแก่แล้วก็สุกได้ง่าย (จากเอกสารแจกสมาชิก ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)

จากที่กล่าวข้างต้น สมาชิกของชมรมฯ หลาย ๆ ท่านคงจะเริ่มเข้าใจความหมายของ “ซีเอ็น เรโช” กันบ้างแล้วนะครับ ซึ่งผู้เขียนได้เขียนเรื่องการบังคับมะนาวให้ออกดอกในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม เพื่อให้ผลผลิตออกมาในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งบทความดังกล่าวที่เขียน ๆ ไว้ก็อิงจาก “ซีเอ็น เรโช” นี่แหละครับ ซึ่งระบบดังกล่าวนี้ไม่ได้ใช้เฉพาะมะนาวนะครับ แต่รวมถึงพืชทุกชนิดที่ต้องการให้ออกดอก การบังคับดอกโดยไม่ให้พืชอดน้ำ บังคับกันที่ระบบ “ซีเอ็น เรโช” จะทำให้พืชที่เราปลูกไม่โทรมเมื่อมีดอกออกผลดกมาก การให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจะทำให้พืชมีการเจริญเติบโตดี ดอกและผลที่ออกมาไม่หลุดร่วงง่ายเพราะปริมาณไนโตรเจนที่มากับน้ำฝนและไนโตรเจนในดินที่ตกค้างเมื่อทำละลายกับน้ำในช่วงที่ฝนตกหนัก

หากสมาชิกหรือเกษตรกรท่านใดมีปัญหาสงสัยในเรื่องของ “ซีเอ็น เรโช” และการบังคับการแตกใบ แตกดอกของพืชผักไม้ผลทุกชนิดก็สามารถสอบถามมาที่ผู้เขียนโดยตรงได้ที่โทร. 08-1646-0212 ยินดีให้คำแนะนำสำหรับสมาชิกหรือเกษตรกรทุกท่านครับ


เขียนและรายงานโดย นายสามารถ บุญจรัส (นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
email : thaigreenagro@gmail.com
www.thaigreenagro.com/aticle.aspx?id=6922 -





นอกกรอบ – นอกฤดู
with 7 comments

นับจนถึงวันนี้เกือบจะเต็มเดือนแล้วครับ ที่ถูกเพรสซิ่งจากดีเปรสชั่นไม่รู้กี่ลูกต่อกี่ลูก จนโงหัวแทบไม่ขึ้น ลำไยของผมซดไนโตรเจนจากฝนซะจนพุงกาง เลยทะลึ่งแตกใบออกมาเขียวไปทั้งสวน แปลงที่กะจะทำนอกฤดูต้องกลับมาเริ่มสะสมอาหารกันใหม่อีกรอบ

‘สภาพดินฟ้าอากาศ’ นับเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของเกษตรกร นอกเหนือไปจากความเสี่ยงทางการตลาดจากราคาผลผลิตที่ขึ้นลงไม่แน่นอน

พูดถึงการบังคับให้ไม้ผลออกนอกฤดู เกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้วิธีทรมานต้นไม้ อาทิ การควั่นกิ่งเพื่อตัดท่อลำเลียงน้ำและอาหาร การรัดกิ่ง การรมควัน การงดน้ำ การสับราก ไปจนถึงการใช้สารเคมีราด-รดเพื่อทำลายราก หรือฉีดพ่นทำให้ใบร่วง ต่างๆ เหล่านี้ทำให้ต้นไม้รู้สึกว่ากำลังจะตาย ต้องรีบออกดอกเตรียมสร้างผลเพื่อขยายพันธุ์

ลองมองในมุมกลับ ถ้าเราบำรุงให้ต้นไม้สมบูรณ์มากๆ ล่ะ ให้ต้นไม้รู้สึกอัดอั้น จนทนไม่ไหวต้องผลิดอกออกมา ไม้ผลบางชนิดถ้าบำรุงดินดี ต้นสมบูรณ์ จะให้ผลตลอดปี เช่น ส้ม ทุเรียน จะมีผลเล็กๆ ผลโต ผลแก่ คละกันในต้นเดียว เก็บเกี่ยวได้ตลอดปี ไม่มีฤดูกาล

ผมกำลังลองทำลำไยนอกฤดูแบบธรรมชาติอยู่ครับ ใช้การบำรุงต้นให้สมบูรณ์แทนการราดสารโปแตสเซียมคลอเรต แต่เจอฝนชุดนี้ไปทำเอาจุกเลยทีเดียว ไม่ทันได้กระตุ้นตาดอกเจอฝนเข้าไปกลายเป็นใบหมด ไม่เป็นไรเดี๋ยวเอาใหม่ เสียแค่เวลาเท่านั้น โดยทั่วไปไม้ผลจะออกดอกได้จะต้องสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคแมลงรบกวน ได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอต่อเนื่อง มีอัตราส่วนระหว่างคาร์บอน (หรือคาร์โบไฮเดรต) ต่อไนโตรเจนที่ห่างมากๆ ที่เรียกว่า ซี-เอ็น เรโช (C/N Ratio) และมีสภาพอากาศที่เหมาะสม

ลำไยเป็นไม้ผลที่ผลิดอกเมื่อช่อแก่ อาศัยหลักการนี้ ที่ผ่านมาผมเน้นสะสมธาตุอาหารในกลุ่มที่สร้างตาดอกมากกว่าตาใบ ลดไนโตรเจนลงให้มากที่สุดเพื่อถ่างซี-เอ็น เรโชให้กว้างมากขึ้น แต่ปัญหา คือ ความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ โดยเฉพาะฝนและความชื้นที่ทำให้ ปริมาณ N หรือไนโตรเจนเพิ่มขึ้น จนเท่ากันหรือมากกว่า C หรือคาร์บอน เมื่อ C/N Ratio แคบลง เปอร์เซ็นการออกดอกก็ลดลงด้วย

นอกจากความสมบูรณ์ของต้นจากการสะสมอาหารมาอย่างเต็มที่แล้ว ลำไยต้องกระทบหนาวครับ ถึงจะออกดอก นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมการทำลำไยนอกฤดูจึงต้องราดสาร ในช่วงฤดูฝนอย่างนี้ ต้นไม้เกือบทุกชนิดจะเจริญเติบโตทางลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ เป็นไปตามธรรมชาติ ในลำไย การราดสารจะเป็นการทำลายราก (เหมือนโดนน้ำร้อนลวกหรือน้ำกรดสาด) ความสามารถในการดูดซึมอาหารและน้ำก็ลดลง ซึ่งจะส่งผลในการควบคุมการเจริญเติบโตของต้นลำไย จนติดดอกได้ในที่สุด ไม่จำเป็นต้องผ่านหนาว

ส่วนตัวแล้วเห็นว่า การทรมานต้นไม้อาจจะมีผลดีในวันนี้ แต่ในระยะยาวไม่น่าจะดีนัก เหมือนอาการดื้อยา ต้องเพิ่มปริมาณยา เปลี่ยนชนิดยาที่แรงขึ้น แม้อาการจะทุเลา แต่สุขภาพก็ทรุดโทรมลงเช่นกัน

ลองมาดูกันครับว่า การบังคับด้วยการบำรุงแทนการทรมาน ผลลัพภ์จะเป็นอย่างไร สำหรับผมแล้วไม่มีอะไรเสียหาย ถ้าลองแล้วไม่สำเร็จ ไม่ติดดอก ไม่ออกผล ผมก็ยังจะได้ต้นลำไยที่ผ่านการบำรุงจนสมบูรณ์พร้อมสำหรับการออกดอกตามธรรมชาติในหน้าหนาวที่กำลังจะมาถึง แม้จะเป็นลำไยในฤดู แต่ถ้าทำคุณภาพได้ ลูกใหญ่ ไซซ์จัมโบ้ เกรด AA ก็อยู่ได้สบายๆ เป็นอีกโจทย์นึงที่ต้องแก้ให้ตกต่อไป

ปัญหาของชาวสวนลำไยทุกวันนี้อยู่ที่ ‘การทำคุณภาพ’ ครับ เรื่องการทำนอกฤดู จะให้ออกช่วงไหน เวลาใด ออกมาก ออกน้อย ทำได้ กำหนดได้ ไม่เป็นปัญหา แต่ออกมาแล้วทำอย่างไรให้ได้ขนาดที่ต้องการ นี่ต่างหากที่เป็นปัญหา ทำนอกฤดูแล้วยังขาดทุน ก็มาจากเหตุนี้เป็นสำคัญ

ที่ลองทำเพราะอยากรู้และอยากแสดงให้เห็นว่า เกษตรธรรมชาติจะสามารถบังคับให้ต้นไม้ออกดอกผลนอกฤดู รวมไปถึงช่วยทำคุณภาพให้กับผลผลิต ได้หรือไม่ … อย่างไร

‘วิทยาศาสตร์’ แสดงให้เห็นแล้วว่า ไม่สามารถสร้างคุณภาพไปพร้อมๆ กับการลดต้นทุนการผลิตได้ แต่กับ ‘ธรรมชาติ’ จะตอบโจทย์นี้ได้หรือไม่ ยังเป็นเรื่องให้ต้องค้นคว้า เสาะหา และพิสูจน์กันต่อไป

Baansuan in the mist เกือบเดือนเต็มๆ
จะกดใบอ่อนก็ไม่ได้เพราะฝนโปรยตลอด เลยเขียวอย่างที่เห็น
แตกกันให้เขียวพรึบ ยิ่งกว่ารบพิเศษยึดกรุงซะอีก

ปล.๑
ผมไม่ปฏิเสธวิทยาศาสตร์ครับในบางกรณี คนเราขึ้นทางด่วนเพื่อย่นระยะเวลา ลำไยของผมก็น่าจะเหมือนกัน ต้นไม้ต้องสังเคราะห์แสงเพื่อปรุงอาหาร แต่ในภาวะที่มีแดดน้อยอย่างนี้ ผมต้องย่นเวลาในการสะสมอาหารด้วยการเพิ่มปริมาณคาร์โบไฮเดรตให้เร็วที่สุด ต้นไม้ก็เหมือนคนที่ต้องเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล จึงจะได้ประโยชน์จากสารอาหารได้เต็มที่ วิธีที่ง่ายและเร็วที่นิยมทำกัน คือ พ่นน้ำตาลให้พืชโดยตรง ผมใช้ ‘กลูโคส’ ครับ เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือโมโนแซคคาไรด์ (Monosaccharides) พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที

ปล.๒
อยากจะเปรียบเทียบให้เห็นครับ เดิมผมเคยใช้ปุ๋ยเคมีทางดิน เสียค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย ๑๕ บาท/ต้น/ครั้ง ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ค่าใช้จ่ายลดลงเหลือ ๘ บาท/ต้น/ครั้ง

ในส่วนปุ๋ยทางใบ ฮอร์โมน และยาฆ่าแมลงต่างๆ ตามท้องตลาดโดยเฉลี่ยราคาจะตกอยู่ประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ บาท/ลิตร ที่สวนบางตัวเราหมักใช้เอง บางตัวจ้างเค้าหมักให้ หลักๆ ที่ใช้อยู่ก็มี ปุ๋ยปลาหมัก ฮอร์โมนผลไม้สุก น้ำหมักสมุนไพร ทั้งหมดนี้ต้นทุนเฉลี่ย ๑๕-๒๐ บาท/ลิตร

สวนผมอยู่ได้เพราะต้นทุนที่ต่ำนี่ล่ะครับ

baansuan.wordpress.com/2007/05/23/นอกกรอบ-นอกฤดู/ -





ฮอร์โมนไข่เร่งดอก

ชมรม มสธ.ระยอง
สังคมแห่งการแบ่งปันเพื่อชาว มสธ.ระยอง

มีองค์ประกอบต่อไปนี้
1. ไข่ไก่สดทั้งเปลือก (ไข่เป็ดไข่นกกระทาหรือไข่หอยเชอรี่ก็ได้) 5 กิโลกรัม
2. กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 5 กิโลกรัม
3. ลูกแป้งข้าวหมาก 1 ก้อน
4. ยาคูลท์หรือนมเปรี้ยวก็ได้ 1 ขวด/กล่อง
(ถ้าใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ผลิตด้วยเปลือกสับปะรด 200 ซีซี ก็ได้)

วิธีทำ
นำไข่ไก่ทั้งฟองปั่นให้ละเอียด ด้วยเครื่องปั่น ถ้าไม่มีเครื่องปั่นให้ตอกไข่ขาวไข่แดงออกจากเปลือกใส่ภาชนะแล้ว ใช้ไม้หรือเครื่องมือตีไข่ขาวไข่แดงให้เข้ากัน เปลือกไข่ใส่ครกตำให้ละเอียดตักใส่ลงไปในภาชนะไข่ขาวปนไข่แดงแล้วเพื่อต้องการธาตุ Ca จากเปลือกไข่แล้วนำกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดงมาผสม นำลูกแป้งข้าวหมากมาบี้โปรยลงไป แล้วใช้ยาคูลท์หรือน้ำเปรี้ยวหรือหัวเชื้อจุลินทรีย์หรือกระเพาะหมูก็ได้ ซึ่งมีจุลินทรีย์ที่ชื่อว่าแลกโตบาซิลลัล(Lactobacillus sp.) ผสมใส่ลงไปแล้วคนคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปบรรจุในภาชนะที่มีฝาปิด เช่น ถังพลาสติกให้มีช่วงว่างอากาศประมาณ 10% ของภาชนะ เพื่อให้จุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจนเจริญเติบได้ด้วย ประมาณ 7 วัน ทิ้งไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทได้ดีอย่าให้ถูกแสงแดดจึงนำไปใช้ได้

ข้อควรระวังในการใช้มี 2 ข้อสำคัญๆ คือ
1. อัตราการใช้ 2-3 ช้อนกาแฟ (5-10 ซีซี)/น้ำ 20 ลิตร (1 บีบ) ฉีดพ่นในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น ประมาณ 7-10 วัน/ครั้ง
2. เริ่มฉีดพ่นตั้งแต่ใบอ่อนออกมารุ่นที่ 3 เป็นใบ “เพสลาด” จนกระทั้งพืชออกดอก ประมาณ 50-80 % จึงหยุดพ่นด้วยฮอร์โมนไข่ทันที (ถ้าพ่นต่อไปดอกจะร่วงล่น เนื่องจากสูตรนี้มีความเข้มข้นและมีความเค็มสูง) หลังจากนั้นพ่นด้วยน้ำหมักชีวภาพสูตรฮอร์โมนผลไม้ต่อ ประมาณ7-10 วัน/ครั้ง

ราดฮอร์โมนไข่ โดยใช้ฮอร์โมนไข่ 200 ซีซี.ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นหรือราดให้ทั่วทรงพุ่ม ทุก ๆ 5-7 วัน

การฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนไข่เป็นการเพิ่มคาร์โบไฮเดรต หรือธาตุคาร์บอน(C)ให้กับต้นไม้ทำให้ค่าของ ซีเอ็น เรโช (C/N Ratio) กว้างหรือสูงขึ้นมีผลทำให้ไปกระตุ้นตาดอกสามารถเปิดตาดอกได้ ไม่เป็นการทรมานต้นไม้อีกด้วย แต่ต้องจำไว้เสมอว่า การทำให้ต้นไม้ออกดอกหรือออกดอกนอกฤดูต้องเน้นการบำรุงต้นให้สมบูรณ์ที่สุดและพืชมีใบอ่อนรุ่นที่สามที่มีใบ “เพสลาด” จึงทำการฉีดพ่นฮอร์โมนไข่ จากนั้นไม่เกิน 30 วันพืชจะแตกดอกเต็มต้น (ไม่เชื่ออย่าลบหลู่)

stou-rayong.thai-forum.net/forum-f13/topic-t285.htm -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (4047 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©