-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 573 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร





กำลังปรับปรุงครับ



การปลูกไม้ผลยืนต้น


          การทำการเกษตรในประเทศไทยนั้น  ส่วนใหญ่ยังขาดการจัดทำที่เป็นระบบแบบแผน  ขาดการบันทึกและค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม  รวมถึงขาดการประเมินถึงต้นทุน และสภาวะการณ์ของราคาในวงกว้าง  ซึ่งรายละเอียดที่กล่าวมานั้นล้วนจำเป็นอย่างยิ่งในการกำหนดต้นทุนค่าใช้จ่ายและยังช่วยทำนายได้ถึงแนวโน้มการลงทุนได้อีกด้วย  ดังคำกล่าว “เราเขา รู้เรา รบร้อยชนะร้อย” แต่เราไม่ต้องเอาถึงร้อยแค่เก้าสิบโอกาสสำเร็จก็ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว โดยขอให้จำแนกรายละเอียดเป็นขั้นตอนคร่าว ๆ ดังนี้

ขั้นตอนที่ วางแผนจัดหาและตรวจสอบที่ดิน  การเลือกทำเลและแหล่งที่จะลงทุนเพาะปลูกนั้นมีความสำคัญเป็นอันดับแรก  ดังคำกล่าวที่ว่า “ชัยภูมิดี มีชัยไปกว่าครึ่ง”  ก่อนที่เราจะซื้อหรือเช่า พื้นที่นั้น ควรเลือกพืชที่จะปลูกไว้ในใจก่อนว่าเราจะเลือกพืชประเภทไหนไว้สัก 3 หรือ 4 ชนิด  จากนั้นสิ่งที่ต้องเข้าไปสำรวจเบื้องต้นในพื้นที่ คือ

1.  เจ้าของเดิมมีการขุดหน้าดินเดิมไปขายหรือไม่  พื้นที่ที่ดีควรมีหน้าดินลึกเพียงพอกับระบบรากของพืชที่เราจะปลูก

2.  เป็นพื้นที่ ๆ ปลูกพืชที่บางประเภทที่ทำให้หน้าดินเสื่อมสภาพหรือเป็นแหล่งเพาะโรคไม่  หรือมีเคยโรคพืชระบาดรุนแรงในพื้นที่นั้นหรือไม่  เช่นพืชจำพวก ยูคาลิปตัส,มันสำปะหลัง ฯลฯ  จะทำให้ต้นทุนการปรับปรุงดินของเราสูงขึ้น , ฯลฯ

3.  มีแหล่งน้ำเพียงพอที่จะใช้หรือไม่  โดยเฉพาะหากเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก  ก็ต้องการระบบชลประทานที่ดี มีน้ำตลอดปี เช่น คลองชลประทานขนาดกลาง-ใหญ่ ไม่ใช่แค่ทางน้ำเล็ก ๆ สำหรับทำนา

4.  สภาพอากาศเหมาะที่จะปลูกพืชหรือพันธุ์พืชประเภทนั้น ๆ หรือไม่  เช่น  ส้มโอปลูกในเขตหนาว(ทางเหนือ) รสชาติจะติดขม, ยางพาราปลูกในพื้นที่ความชื้นต่ำ จะให้น้ำยางน้อยกว่าในพื้นที่ความชื้นสูง ฯลฯ

5.  ระยะทางการขนส่งจากพื้นที่ปลูก ถึงตลาดขายสินค้า มีระยะทางไกลเกินไปหรือไม่ หากไกลมาก ควรปลูกพืชราคาหรือไม่ หรือพืชที่ทนต่อการขนส่งดีกว่า

6.  ตลาดของพืชชนิดที่เราจะปลูกนั้น เป็นตลาดจำเพาะหรือเป็นตลาดที่มีผู้ซื้อมากและกว้าง เช่น พืชบางชนิดมีราคาดีแต่ความต้องการของตลาดน้อย หรือผู้ซื้อปลายทางน้อย  หากเราไม่มั่นใจในตลาดเลยก็ไม่ควรเสี่ยงปลูก

7.  ความยากง่ายของการดูแลพืชชนิดนั้น ๆ ที่จะปลูก  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชำนาญของเกษตรกรเอง และสภาพอากาศซึ่งมีความสัมพันธ์กับโรคและแมลงในพื้นที่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ต้นทุนสารกำจัดศัตรูพืชสูงมาก

ในขั้นตอนที่  1  นี้ สามารถสังเกตได้จากการเข้าดูพื้นที่ , ถามผู้รู้ หรือพาผู้มีประสบการณ์ไปด้วย , หรือถามชาวบ้านพื้นที่ข้างเคียงได้  โดยเฉพาะหากเรามีผู้ที่มีประสบการณ์เข้าไปด้วยกันแล้ว จะดีเป็นอย่างยิ่ง  ซึ่งเมื่อหากไม่พิจารณาและวิเคราะห์ให้ดีก่อนตัดสินใจ  อาจทำให้ต้นทุนของเราเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว

ขั้นตอนที่ 2  เลือกพืชที่จะปลูก วิเคราะห์พื้นที่และลงมือทำ  เมื่อเราสังเกตพื้นที่ด้วยตาและการสอบถามแล้ว  ก็ถึงขั้นตอนต่อไปที่จะต้องทำ คือ

1.  เจาะดิน หรือเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์หาธาตุอาหาร  เพื่อเป็นแนวในการจัดการใส่ปุ๋ยและปรับปรุงดิน ในส่วนที่เราไม่สามารถรู้ได้  หากในข้อนี้สามารถทำได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกก็เป็นเรื่องดี แต่ส่วนใหญ่คงต้องวิเคราะห์จากตาก่อน เมื่อตกลงเช่าซื้อแล้วเราจึงสามารถทำได้  ซึ่งขั้นตอนนี้(ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน)อาจทำในช่วงที่เราเตรียมพื้นที่เสร็จ อยู่ในขั้นตากดิน หรือเตรียมหลุมปลูก

2.  เลือกพืชที่จะปลูก  จากในขั้นตอนที่ 1 ที่เราได้คิดไว้ในใจแล้วนั้น  เราก็มาจัดเรียงลำดับความเป็นไปได้ และลำดับการปลูก(สำหรับพืชอายุสั้นและยาว)  เช่น สมมติว่าเราต้องการปลูกไม้ผลยืนต้น เช่น ส้ม  ในช่วงแรกที่ยังไม่ให้ผลผลิต เราก็หาพืชอายุสั้นมาแซมที่ดูแลง่าย เพื่อนำรายได้จากผลผลิตมาเลี้ยงพืชหลักในอนาคต ซึ่งหากเป็นเกษตรมือใหม่ อาจต้องหาผู้รู้ช่วยแนะนำ ว่าควรปลูกพืชประเภทไหนเพื่อให้ไม่ส่งผลกระทบกับพืชหลัก 

3.  เลือกระบบน้ำที่จะใช้ให้เหมาะกับพื้นที่และพืชที่จะปลูก  และดำเนินการติดตั้งรวมถึงการลงกล้าหรือต้นพันธุ์  ระบบน้ำที่ใช้นั้นควรเลือกให้เหมาะสม  เช่น ในพื้นที่ดินทรายมีแหล่งน้ำจำกัด  อาจใช้ระบบไร่การให้น้ำแบบสปริงเกอร์ หรือแบบหยด(ดูตามความเหมาะสมของพืชที่ปลูกด้วย)  หรือในพื้นที่ดินเหนียวร่วน  ที่ต่ำ มีน้ำเพียงพอ อาจใช้เป็นระบบยกร่องการให้น้ำโดยใช้เรือรดน้ำ

4.  ร่างแผนงานทำตารางและบันทึกการใช้ปุ๋ยทางดินและทางใบ, ฮอร์โมน, สารเคมีกำจัดแมลง  เพื่อง่ายในการควบคุมต้นทุนการผลิตและปรับเปลี่ยนการใช้ในแต่ละช่วง   ในส่วนนี้จะสำคัญมาก เพราะจะทำให้เกษตรกรสามารถเปรียบเทียบต้นทุน และผลลัพธ์ที่ได้หลังการใช้  เพื่อเพิ่มหรือลดปริมาณการใช้แต่ละชนิด ยี่ห้อ หรือราคา ให้เหมาะสมกับต้นทุนได้  ในข้อนี้ หากยังไม่ชำนาญ ควรหาผู้มีประสบการณ์เพื่อช่วยเป็นพี่เลี้ยงในการเลือกใช้ปุ๋ยหรือยา ที่มีคุณภาพดีเหมาะสมกับราคาต้นทุน

5.  ทำแผนงานการใช้แรงงาน บันทึกค่าใช้จ่าย ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น เครื่องจักร, น้ำมัน, สำนักงาน ฯลฯ  เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุม  ปรับเพิ่มหรือลด รวมถึงการคาดการณ์หรือดำเนินการในอนาคตได้

ขั้นตอนที่ พัฒนาคุณภาพ จัดหาตลาดรับซื้อ  เมื่อพืชเริ่มมีผลผลิต ในช่วงแรกอาจมีปัญหาบ้างในเรื่องผลผลิตที่คุณภาพยังไม่ดีพอหรือไม่นิ่งพอ(มีดีมีไม่ดีปนกัน)  ซึ่งเกษตรกรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงเพื่อให้เป็นที่ต้องการและเพื่อให้ผลผลิตได้ราคา  ซึ่งขั้นตอนนี้หากได้รับคำแนะนำจากผู้รู้หรือพี่เลี้ยงที่ดีในช่วงเริ่มอย่างต่อเนื่องแล้ว  ก็จะไม่ค่อยพบปัญหามากนัก

1.  การดูแลต้นพืชที่ปลูก  ในส่วนนี้ที่สำคัญ คือ เจ้าของแปลง ต้องดูแลเอาใจใส่  หมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของการเจริญเติบโตทั้งในทางที่ดีหรือไม่ดี  ปัญหาเรื่องโรคแมลง   และรีบปรับปรุงแก้ไข โดยหากไม่ทราบวิธีแก้ไขควรปรึกษาพี่เลี้ยงหรือผู้รู้  หากปล่อยทิ้งไว้  อาจมีผลต่อเนื่องไปถึง ความสามารถในการให้ผลผลิต  คุณภาพผลผลิต  รวมถึงอายุการให้ผลผลิต ฯลฯ  ซึ่งล้วนเป็นผลเสียต่อการลงทุนทั้งสิ้น

2.  เมื่อเริ่มให้ผลผลิต  ในช่วงแรกของการให้ผลผลิตนั้น  ไม่ควรให้มีมากจนเกินไป เนื่องจากอายุต้นยังน้อย  หากให้ผลผลิตเร็ว หรือมากเกินไปในช่วงแรก  จะทำให้ต้นโทรมและตายเร็ว  ดังนั้น ควรปล่อยให้มีอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีการควบคุมปริมาณการให้ผล ในปีหรือสองปีแรกที่ต้นเริ่มให้ผลผลิต

3.  ตรวจสอบคุณภาพผลผลิตในชุดแรก  ในข้อนี้จะสัมพันธ์กับตารางการให้ปุ๋ยที่เราบันทึกไว้  ผลผลิตจะได้คุณภาพดี หากเราให้อาหารหรือการจัดการที่เหมาะสมกับพืชในแต่ละช่วง  ซึ่งวิธีการให้หรือจัดการเราควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง  และปรับเปลี่ยนนำส่วนที่ดีหรือเหมาะกับสภาพพื้นที่ของเรามาปฏิบัติ  อาจต้องมีการลงทุนเพิ่มหรือลดในส่วนของวัสดุบ้าง แต่เมื่อเราพิจารณาแล้วว่าการลงทุนที่เพิ่มขึ้นของเรานั้นคุ้มค่า ก็สมควรที่จะทำเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิต

4.  พยายามเสาะหาตลาด  เมื่อเรามั่นใจในคุณภาพผลผลิตแล้ว  ให้พยายามเสาะหาตลาดและหาวิธีเพิ่มมูลค่าของผลผลิตเรา เช่น ทำแบรนด์ หรือตราสินค้า การนำเสนอผลผลิตกับตลาดส่งออก หรือระดับบน(ห้างสรรพสินค้า,ไฮเปอร์มาร์ท) เพื่อยกฐานราคาของผลผลิตและเพิ่มพูนกำไร

บทสรุป

          หากเกษตรกรได้อ่านและจับสังเกตมาจนถึงตอนนี้  จะเห็นได้ว่าส่วนที่เน้นในเรื่องการเกษตรนั้น คือ การมีพวกพ้องหรือเพื่อนร่วมอาชีพหรือที่ปรึกษาที่ดี  เพราะอย่าลืมว่าเราอาจถนัดปลูกพืชบางชนิดแต่บางชนิดเราไม่ถนัด หรือปัญหาบางอย่างเราแก้ได้ แต่เราก็ไม่สามารถแก้ปัญหาทุกเรื่องได้ทันท่วงที  บางครั้งอาจเกิดความเสียหายจนเกินแก้แล้วกว่าจะหาวิธีแก้ได้  ดังนั้นการมีเพื่อนช่วยเหลือ หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเทคนิคดี ๆ ต่อกันนั้นจะช่วยให้สังคมเกษตรที่เราอยู่พัฒนาได้มาก โดยไม่ต้องสูญเสียต้นทุนที่ไม่ควรจะเสีย และยังร่วมกันเป็นกำลังต่อรองกับพ่อค้าหรือผู้รับซื้อได้  อีกทั้งการทำเกษตรนั้นโดยเฉพาะไม้ผลยืนต้นถือเป็นการลงทุนระยะยาว ดังนั้นก่อนที่เราจะตัดสินใจลงมือทำ ควรมีข้อมูลที่แน่ชัด หรือให้มีความมั่นใจได้ซัก 70-80 % ก่อนจึงตัดสินใจลงทุน  อย่าใช้อารมณ์หรือความชอบส่วนตัว หรือตามกระแสเกินไป ไม่เช่นนั้นเราเองก็อาจน้ำตาตกได้  ขอให้เกษตรกรยึดหลักง่าย ๆ คือ  ช่างสังเกต  เปิดใจกว้าง  หาข้อมูล  ถามผู้รู้  กล้าปฏิบัติและเอาใจใส่  ก็จะประสบกับผลกำไร(สูง) ได้ไม่ยาก

 

ไม้ผลยืนต้น มีหลายลักษณะดังนี้

   1.ไม้ผลที่ให้ผลผลิตได้ทั้งปีโดยไม่จำกัดฤดูกาล  หมายความว่า ไม้ผลชนิดนั้นสามารถที่จะออกดอกได้ตลอดทั้งปี โดยไม่จำกัดว่าเป็นฤดูกาลใด ตัวอย่างไม้ผลที่คุ้นเคยกันดี ได้แก่ กล้วย มะละกอ และมะพร้าว ดังนั้น เราจึงสามารถหาซื้อผลไม้เหล่านี้มารับประทานได้ตลอดทั้งปี โดยมีราคาที่ใกล้เคียงกันตลอดทั้งปีเช่นเดียวกัน

 

  2.ไม้ผลที่ให้ผลผลิตได้ในบางช่วงของปี หมายความว่า ไม้ผลชนิดนั้นสามารถออกดอกและติดผลได้มากกว่า ๑ ครั้งในรอบปี แต่ไม่ได้ให้ผลผลิตต่อเนื่องกันดังเช่นไม้ผลที่สามารถให้ผลผลิตได้ทั้งปี ตัวอย่างไม้ผลประเภทนี้ ได้แก่ องุ่น ส้ม ไม้ผลเหล่านี้มีการออกดอกและติดผลได้เป็นช่วงๆในรอบปี แต่เนื่องจากไม้ผลเหล่านี้ สามารถบังคับให้ออกดอกได้ง่าย จึงทำให้มีผลิตผลออกจำหน่ายได้ตลอดปีเช่นเดียวกัน โดยราคาของผลไม้จะสูงหรือต่ำ ขึ้นอยู่กับความสมดุลระหว่างปริมาณของผลไม้นั้นกับความต้องการของตลาดเป็นสำคัญ

 

  3.ไม้ผลที่ให้ผลผลิตได้ปีละครั้งในฤดูกาลที่จำเพาะ หมายความว่า ไม้ผลเหล่านี้สามารถออกดอกได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น โดยมีการออกดอกและติดผลในช่วงเดือนใดเดือนหนึ่งเป็นประจำในรอบปี ไม้ผลส่วนมากจัดอยู่ในประเภทนี้ เช่น ทุเรียน มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ และมะม่วงส่วนใหญ่ เป็นต้น ราคาของผลไม้เหล่านี้มักต่ำมากเมื่อถึงช่วง ฤดูกาลปกติ เนื่องจากมีผลไม้เหล่านี้ออก สู่ตลาดพร้อมๆกัน ในขณะที่ผู้บริโภคยังมีจำนวนเท่าเดิม ดังนั้น หากใครสามารถทำให้ไม้ผลเหล่านี้ออกดอกได้ในช่วงเวลาที่แตกต่างไปจากปกติได้ก็จะสามารถจำหน่ายผลไม้ชนิดเดียวกันนั้นในราคาที่สูงขึ้นได้

 

อายุพืช

  ไม้ผลยืนต้นหลายชนิดที่ขยายพันธุ์มาจากการเพาะเมล็ดมักใช้เวลาหลายปีก่อนที่จะเริ่มออกดอกครั้งแรกได้ เช่น มะม่วงอาจใช้เวลาถึง ๖ ปี มังคุดอาจใช้เวลาถึง ๑๐ ปี ส่วนมะพร้าวน้ำหอมอาจเริ่มออกดอกครั้งแรก ได้เมื่ออายุ ๓ ปี อย่างไรก็ตาม ไม้ผลเหล่านี้ บางชนิดสามารถขยายพันธุ์โดยใช้ชิ้นส่วนอื่น ที่ไม่ใช่เมล็ด เช่น มะม่วงอาจขยายพันธุ์โดยการติดตาหรือทาบกิ่ง การขยายพันธุ์โดยไม่ใช้เมล็ดนี้ทำให้อายุเริ่มการออกดอกครั้งแรกลดลง เช่น ในกรณีของมะม่วง อาจใช้เวลาเพียงแค่ ๒ - ๓ ปี เท่านั้น ก่อนที่จะเริ่มออกดอก ครั้งแรก ซึ่งเร็วกว่ามะม่วงที่เกิดจากการเพาะเมล็ดที่ต้องใช้เวลานานถึง ๖ ปี เมื่อไม้ผลยืนต้นเหล่านี้เริ่มออก ดอกครั้งแรกได้แล้ว ก็จะสามารถออกดอกเป็นปกติได้ ในปีต่อๆไปในช่วงเวลาเดิมของทุกปี

 

สายพันธุ์

  ไม้ผลแต่ละชนิดมักมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น มะม่วงในประเทศไทยมีสายพันธุ์ต่างๆมากกว่า ๒๐๐ สายพันธุ์ แต่ที่เรารู้จักกันดีมีไม่กี่สายพันธุ์ เช่น อกร่อง น้ำดอกไม้ เขียวเสวย แก้ว แรด มะม่วงสายพันธุ์เหล่านี้มีความสามารถในการออกดอกได้ยากง่ายแตกต่างกันไป เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ออกดอกได้ง่ายกว่ามะม่วงเขียวเสวย โดยทั่วไปไม้ผลหลายชนิดมีการออกดอกได้ในบางช่วงฤดูกาลที่จำเพาะในรอบปี แต่มีบางชนิดที่มีสายพันธุ์ซึ่งสามารถที่จะออกดอกได้ โดยไม่จำกัดฤดูกาล เช่น มะม่วงบาง สายพันธุ์มีความสามารถออกดอกได้ ตลอดทั้งปี โดยไม่ต้องอาศัยเทคนิค พิเศษใดๆเข้าช่วย ได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้ทะวาย มะม่วงพิมเสนมันทะวาย โชคอนันต์ เป็นต้น คำว่า “ทะวาย” เป็นคำที่ต่อท้ายชื่อไม้ผลสายพันธุ์เดิม ที่โดยปกติแล้วมีการออกดอกเป็นฤดูกาลเหมือนไม้ผลทั่วๆไป แต่เมื่อพบว่าสายพันธุ์เหล่านั้นมีการกลายพันธุ์หรือเปลี่ยนแปลงไป จนกระทั่งสามารถออกดอกได้โดยไม่จำกัดฤดูกาล จึงเรียกสายพันธุ์ที่ได้ใหม่นั้นตามชื่อสายพันธุ์เดิม และต่อท้ายด้วยคำว่า ทะวาย เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ ซึ่งเดิมไม่สามารถออกดอกนอกฤดูกาลได้ ต่อมามีการกลายพันธุ์โดยที่มีลักษณะต่างๆเหมือนต้นเดิม แต่สามารถออกดอกได้โดยไม่จำกัดฤดูกาล จึงเรียกสายพันธุ์ใหม่นี้ว่า มะม่วงน้ำดอกไม้ทะวาย ส่วนมะม่วงสาย-พันธุ์ใหม่ๆที่เกิดขึ้นมาและมีลักษณะที่ออกดอกได้โดยไม่จำกัดฤดูกาล อาจไม่จำเป็นต้องเติมคำว่า “ทะวาย” ต่อท้าย เช่น มะม่วงโชคอนันต์ เป็นต้น

 

แหล่งที่มา : http://cid-703c19808a3ab860.mobile.spaces.live.com/ent.aspx?h=cns!703C19808A3AB860!233&fp=%2Farc.aspx

http://www.phkaset.com/plan.php 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (912 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©