-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 439 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร







 

เทคโนโลยีชีวภาพ...การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา...ป้องกันกำจัดศัตรูพืช


“ไตรโคเดอร์มา” เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในจำพวกของเชื้อราชั้นสูง เส้นใยมีผนังกั้นแบ่ง มีประโยชน์สำหรับใช้ควบคุมโรคพืชที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราได้อย่างกว้างขวาง ทั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่เป็นเชื้อราชั้นสูงและชั้นต่ำ

ในประเทศไทยได้มีการศึกษาค้นคว้าประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเพื่อควบคุมโรคเมล็ดเน่า โรคเน่าระดับดิน  โรคกล้าไหม้ โรครากเน่า โรคโคนเน่า บนพืชหลายชนิด เช่น มะเขือเทศ ถั่วเหลืองฝักสด พริก ฝ้าย ข้าวบาร์เลย์ ส้ม ทุเรียน พบว่ามีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคต่าง ๆ ดังกล่าวได้ดี

สำหรับรูปแบบหรือวิธีการของเชื้อราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมเชื้อราโรคพืช คือ
1. แข่งขันกับเชื้อราโรคพืชในด้านแหล่งของที่อยู่อาศัย อาหาร อากาศ และปัจจัยอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต 2. เส้นใยของไตรโคเดอร์มาจะพันรัดและแทงเข้าไปในเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืช
3. เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ที่มีศักยภาพสูงมากชนิดหนึ่ง

ก่อนที่จะนำเชื้อราไตรโคเดอร์มาไปใช้ จำเป็นที่จะต้องนำมาผสมกับรำข้าว (รำใหม่ละเอียด) และปุ๋ยอินทรีย์เสียก่อน ตามอัตราส่วนโดยน้ำหนัก  ดังนี้ หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม : รำข้าว 5 กิโลกรัม : ปุ๋ยอินทรีย์ 25 กิโลกรัม

ปัจจุบันมีชนิดที่จำหน่ายเป็นชุดให้ใช้อัตราตามคำแนะนำของผู้จำหน่ายได้ โดยผสมหัวเชื้อไตรโคเดอร์มา คลุกเคล้าให้เข้ากับรำข้าวให้ดีเสียก่อน แล้วจึงนำไปผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับปุ๋ยอินทรีย์ ก็จะได้ส่วนผสมที่พร้อมจะนำไปใช้โดยแนะให้
1. ใช้รองก้นหลุมก่อนปลูก
2. ใช้โรยรอบโคนต้น
3. ใช้ทั้งรองก้นหลุมและโรยรอบโคนต้น



ข้อจำกัดและข้อควรระวังในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช มีข้อจำกัดดังต่อไปนี้

1. pH ของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไตรโคเดอร์มา อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 คือเป็นกรดอ่อน ๆ ซึ่งเป็นช่วง pH ที่พืชปลูกส่วนใหญ่ เจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน จึงจำเป็นต้องมีการวัด pH ของดิน และปรับให้เหมาะสมก่อน

2. เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราชั้นสูง จึงถูกทำลายได้ด้วยสารเคมีที่ใช้ในการป้องกัน และกำจัดเชื้อราชั้นสูงโดยเฉพาะสารเคมีในกลุ่มเบนซิมิดาโซล (benzimidazole) ได้แก่ เบนโนมิล (benomyl) และคาร์เบนดาซิม (carbendazim) ซึ่งเป็นกลุ่มสารเคมีชนิดดูดซึม หากจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมี ควรจะทิ้งช่วงประมาณ 2 สัปดาห์เป็น  อย่างต่ำ

3. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง คือต้นฝน และปลายฝน ห่างกัน 6 เดือน เพราะถ้าอาหาร สภาพแวดล้อม และปัจจัย อื่น ๆ ในดินไม่เหมาะสม เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะหยุดการเจริญเติบโต



ไตรโคเดอร์มาสามารถควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในดิน เช่น เชื้อราพิเทียม (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า) เชื้อราไฟทอฟธอรา (โรคโคนเน่า) เชื้อราฟิวซาเรียม (โรคเหี่ยว) เชื้อราสเคลอโรเทียม (โรคโคนเน่า เหี่ยว)เชื้อราไรซ็อคโทเนีย (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า)

วิธีการนำเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดไปใช้ให้คลุกเมล็ดพืชผสมปุ๋ยอินทรีย์แล้วหว่านหรือรองก้นหลุม ผสมกับวัสดุปลูก ผสมน้ำฉีด



เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด คือ เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่กำลังเจริญเติบโตอยู่บนวุ้น    สำหรับเลี้ยงเชื้อ หรือบนอาหารจำพวกเมล็ดพืช โดยอยู่ในรูปสปอร์สีเขียวปกคลุมวัสดุอาหารอย่างทั่วถึง ไม่มีการปนเปื้อนที่ทำให้เห็นสปอร์เป็นสีอื่นมีเมือกเยิ้ม หรือมีกลิ่นเหม็น ในการผลิตเชื้อรา ไตรโคเดอร์มาชนิดสดเพื่อใช้ควบคุมโรคพืชนั้น  จะมีหัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่มีประสิทธิภาพสูง เลี้ยงบนปลายข้าว หรือข้าวสุก โดยมีอุปกรณ์ คือ

1. หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา
2. หม้อหุงข้าวไฟฟ้า  
3. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8x12 นิ้ว
4. ปลายข้าว
5. ยางวง


ด้วยวิธีการ เตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ ดังนี้...
1. หุงปลายข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ใช้ข้าว 3 ส่วน ต่อน้ำ 2 ส่วน
2. ตักข้าวสุกที่ยังร้อนอยู่ใส่ถุงพลาสติกทนร้อนที่เตรียมไว้จำนวน 2 ทัพพี (พูน) หรือประมาณ 250 กรัมต่อถุง 3. กดข้าวให้แบน รีดเอาอากาศออกให้ถุงพลาสติกแนบกับข้าวเพื่อลดการเกิดหยดน้ำทิ้งไว้ให้อุ่นหรือเย็น
4. ใส่หัวเชื้อไตรโคเดอร์มาลงในถุงเพียงเล็กน้อย ประมาณ 1-1.5 กรัม ต่อถุง
5. รัดยางปากถุงให้แน่น แล้วเขย่าหรือบีบข้าวเบา ๆ เพื่อให้เชื้อกระจายทั่วถุง
6. รวบถุงให้บริเวณปากถุงพอง แล้วใช้เข็มเย็บผ้าแทงรอบ ๆ ปากถุง 10-15 แผล
7. กดข้าวในถุงให้แผ่กระจายไม่ซ้อนทับกัน ดึงบริเวณกลางถุงขึ้นเพื่อไม่ให้พลาสติกแนบกับข้าวและเพื่อให้อากาศเข้าไปในถุงเพียงพอ
8. บ่มเชื้อเป็นเวลา 2 วัน โดยวางถุงเชื้อในห้องที่ปลอดจากมด ไร และสัตว์อื่น ๆ อากาศไม่ร้อน และไม่   ถูกแสงแดด แต่ได้รับแสงวันละ 6-10 ชั่วโมง/วัน หากแสงไม่พอ ใช้แสงจากหลอดนีออนช่วยได้
9. เมื่อครบ 2 วัน บีบขยำก้อนข้าวที่มีเส้นใยของเชื้อเจริญอยู่ให้แตกแล้ววางถุงไว้ที่เดิมดึงถุงให้อากาศเข้าอีก  ครั้ง บ่มไว้อีก 4-5 วัน
10. เชื้อสดที่ผลิตได้ควรนำไปใช้ทันที เก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ 1 เดือน



การใช้เชื้อไตรโคเดอร์มามีวิธีดังนี้
1. คลุกเมล็ดเชื้อสด 10 กรัม/เมล็ดพันธุ์ 1 กก.
2. ผสมน้ำฉีด ใช้เชื้อสด 1 กก./น้ำ 200 ลิตร
3. ผสมปุ๋ยหมัก ใช้เชื้อสด 1 กก. ผสมรำละเอียด 5-10 กก. ผสมปุ๋ยอินทรีย์ 40 กก.


หากสนใจข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดระยอง โทร. 0-3861-1578 ศูนย์บริหารศัตรูพืช จังหวัดชลบุรี โทร. 0-3823-1271.



ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (950 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©